วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Osteoarthritis( OA) and Type 2 diabetes T2DM) (3)

เนื่องจากทั้งโรคไขข้อเสื่อม (osteoarthritis) และโรคเบาหวาน มักจะเกิดร่วมกัน
เมื่อพบเห็นคนไข้ ที่เป็นโรคทั้งสอง เราจะพบเห็นอะไรหลายอย่างเหมือนกัน
เช่น

Age: โรคข้ออักเสบแบบเสื่อมสลายตามอายุ หรือโรค OA เป็นโรคของความสึกหรอ ที่เกิดขึ้นกับคนเรา
คนยิ่งมีอายุมาก ย่อมมีโอกาสใช้ข้อมาก ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดโรคข้อเสื่อมขึ้น เหมือนกับล้อรถยนต์ที่ใช้กันเป็นเวลานาน
ส่วน Type 2 DM อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค คืออายุที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้เพราะคนสูงอายุ มักจะไม่ค่อยออกแรง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มน้ำหนักตัว เป็นเหตุให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เบาหวานขึ้น และคนเป็นโรคเบาหวาน T2DM มักจะเป็นในคนมีอายุมากว่า 55 ขึ้นไป

Weight: น้ำหนักตัวที่มากขึ้น จะเพิ่มแรงกดดันที่ข้อขึ้น น้ำหนักทุกหนึ่งปอนด์ที่คุณเพิ่มขึ้น
จพมีผลกระทบกับการทำงานของข้อที่รองรับน้ำหนัก นั่นคือ ทุกหนึ่งปอนด์ของน้ำหนักที่คุณมีเพิ่มขึ้น
จะเพิ่มแรงกดดันที่ข้อสี่เท่าตัว
ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านเป็นเวลานาน จะเกิดผลกระทบต่อข้อ...
ทำให้มีการสึกหรอเร็วกว่าปกติ

ในทำนองเดียวกัน คนทีอ้วนมาก ๆ มักจะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายในหลายอย่าง
เนื้อเยื้อที่ไขมันสูง จะสร้างสารเคมี ซึ่งทำให้เกิดภาวะ “ต่อต้านอินซูลิน” (insulin resistance)เพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้เกิดมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ยากต่อการรักษา

ที่กล่าวมาทั้งหมด พอสรุปได้ว่า โรคไขข้อ ไม่ได้ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
และโรคเบาหวาน ก็ไม่ทำให้เกิดโรคไขข้อหรอก
เป็นเพียงเกิดร่วมกันเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม คนเป็นโรคเบาหวาน มักจะมีปัญหาเรื่องไขข้อด้วยเสมอ เช่น คนมีชีวิตนั่งโต๊ะ มักจะอืดอาด
ร่วมกับความอ้วน จะมีผลกระทบต่อโรคทั้งสอง (โรคข้อเสื่อม และเบาหวาน)

สุดท้าย โรคเบาหวานเอง มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ซึ่งทำให้เราพบเห็นภาวะหลาย ๆ เกิดขึ้น เช่น คนไข้มีอาการชาตามมือตามเท้า
นิ้วติด (trigger finger) มือชา (carpal tunnel syndrome) ปวดไหล่ และอื่น ๆ

นั่นคือเรื่องราวของคนที่เป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับโรคไขข้อ
ซึ่งอาจมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

www.arthritis.org/arthritis-and-diabetes.pth

Guide to Arthritis Pain: Treatment of pain relief

Short term pain relief:

ในการรักษาคนไข้โรคไขข้อ ซึ่งแพทย์สามารถให้การรักษาระยะสั้น กระทำได้ดังนี้

Medications:

สำหรับคนไข้ทีเป็นโรคไขข้อเสื่อม ซึ่งพบเห็นในคนสูงอายุนั้น พบว่า การอักเสบมีได้น้อยมาก
ยาที่นำมาใช้ในการรักษา เพื่อลดอาการเจ็บปวด เช่น acetaminophen
สามารถความเจ็บปวดลงได้ในระยะสั้น ๆ ส่วนคนไข้ที่เป็นโรค rheumatoid arthritis นั้น
พบว่า ความเจ็บปวดยังมีสาเหตุจากการอักเสบ
ดังนั้น การรักษาจึงมุ่งไปที่ ลดการอักเสบ และยาที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ aspirin หรือพวก NSAIDs

นอกเหนือจากยาแล้ว ยังมีวิธีการรักษาอย่างอื่น ซึ่งนำมาใช้ลดความเจ็บปวดได้ในระยะสั้นได้ เช่น

o Heat and cold?
จะใช้ความร้อน หรือความเย็นในการรักษา แพทย์หรือนักกายภาพบำบัด จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเอง

การอาบน้ำอุ่น หรือการประคบด้วยความร้อน วางบนบริเวณอักเสบของข้อ ประมาณ 15 นาที
สามารถลดความเจ็บปวดลงได้

o Ice
การใช้น้ำแข็งห่อด้วยผ้าเช็ดตัว วางบนตำแหน่งที่เจ็บปวดประมาณ 15 นาที อาจช่วยลดอาการบวม
และลดความเจ็บปวดลงได้
มีข้อควรระวัง คือ ในรายที่มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือดไม่ดี ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบเป็นอันขาด...

o Transcutaneous electrical nerve stimulation (TENS)
เป็นเครื่องมือ ที่นำมาใช้ในการลดความเจ็บปวด โดยใช้คลื่นกระแสไฟฟ้า (mild direct electrical impulse) กระตุ้นปลายประสาทตรงตำแหน่งที่เจ็บปวด สามารถลดอาการเจ็บปวดจากโรคไขข้อลงได้
การทำงานของ TENS ดูเหมือนว่า มันจะทำหน้าที่บล็อกคลื่นความเจ็บปวด ไม่ให้ส่งไปยังสมองนั่นเอง

o Massage
การนวดก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่สามารถลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อลงได้...

Long-Term Pain Relief:

ในการรักษาคนไข้โรคข้อในระยะยาว ประกอบด้วยการรักษาด้วยยา และวิธีการอย่างอื่น ดังนี้ :

Medications

o NSAIDs ถูกนำมาใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบ ซึ่งสามารถลดความเจ็บปวด
และลดการอักเสบไปพร้อมๆ กัน
เป็นการรักษารักษาได้ทั้งระยะสั้น แลระยะยาว

o Disease-modifying anti-rheumatic drugs (DMARDs)
เป็นยาที่ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้โรค “รูมาตอยด์” ที่ไม่ตอบสนองต่อพวก NSAIDs และในการใช้ยากลุ่มนี้
แพทย์จะต้องมั่นตรวจดูผลข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง

o Corticosteroids
เป็นยาที่ใช้รักษาคนไข้โรคไขข้อ ได้ผลดีมาก แต่มันสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง
ยาในกลุ่มนี้มีทั้งยาเม็ดสำหรับรับประทาน และยาฉีด

Weight Control
หากปล่อยให้มีน้ำหนักเกิน สามารถทำลายข้อสะโพก และข้อเข่าได้ จึงเป็นหน้าที่ของคนไข้จะต้องระมัดระวัง
น้ำหนัของตนเอง
จงจำเอาไว้ น้ำหนักตัว หนึ่งกิโลกรัม จะมีแรงกดลงที่ข้อประมาณ 4 กิโลกรัม (สี่เท่าตัว)

Exercise
การออกกำลังกาย ชนิดมีแรงกระแทกต่อข้อน้อย (low-impact motion exercise)
สามารถลดความเจ็บปวด และ ลดข้อแข็งลงได้ ซึ่งได้แก่-

o Swimming
o Walking
o Yoga
o Tai Chi
o Stretching
o Cycling

Surgery:
คนไข้บางราย อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อการรักษาโรคที่คนไข้เป็น

o Remove the synovium
o Realign the joint
o Replacement the damaged joint with artificial one

การรักษาทางศัลยกรรม ถูกนำมาใช้เมื่อข้อเสื่อมมาก
การรักษาที่พบเห็นเป็นประจำ
ได้แก่ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ (ข้อสะโพก และข้อเข่า)เป็นต้น


www.arthritis.about.com/od/painmanage/ss/painqa-8htm.

Guide to Arthritis Pain: How is arthritis treated ?

Short-term management

ผู้ให้การรักษาเป็นทีมนั้น เราจะพบเห็นได้เฉพาะในสถานบันใหญ่ ๆ เช่น โรงพยาบาล
โดยทีมงานเหล่านั้น จะเป็นผู้วางแผนการทำงาน ให้เหมาะสมกับคนไข้เป็นรายๆ ไป
ในคนไข้ที่เป็นไขข้ออักเสบก็เช่นกัน

ทีมงานที่ช่วยกันทำให้คนไข้หายจากความเจ็บปวด ได้แก่

 Rheumatologists (หมายถึงแพทย์ ที่ทำการรักษาคนไข้โรคข้อโดยเฉพาะ)
 Surgeon (แพทย์สาขาโรคข้อ และกระดูก)
 Physical therapists
 Occupational therapists

เป้าหมายของการรักษา อยู่ที่การรักษาทุกแง่มุมของปัญหา ที่คนไข้มี และที่สำคัญ
ผู้ให้การรักษาจะช่วยแนะนำให้คนไข้ ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจวิธีการรักษาชนิดต่าง ๆ
ตลอดรวมถึงบทบาทของตัวคนไข้เอง ต่างมีความสำคัญต่อการทำให้ความเจ็บปวดทุเลาเบาบางลง

การรักษา (Treatment of arthritis pain)

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่มีวิธีการรักษาใดเป็นการเฉพาะ
ที่สามารถนำไปใช้รักษาคนไข้โรคไขข้อได้ทุกคน
แต่ละคนได้รับการรักษาไม่เหมือนกัน แม้ว่าโรคที่เป็นจะเป็นโรคเดียวกันก็ตาม
มันเป็นหน้าที่ของแพทย์เอง ที่ต้องวางแผนที่เหมาะสม เพื่อลดความเจ็บปวด
และช่วยทำให้การทำงานของข้อดีขึ้น

มีวิธีการรักษาหลายอย่าง ที่สามารถลดความเจ็บปวดในระยะสั้นลงได้ เช่น

o Biofeedback
o Massage therapy
o Exercise
o Relaxation/Meditation
o Ultrasound treatment
o Warm water therapy
o Yoga
o Music therapy
o และอื่น ๆ

ในคนไข้ที่เป็นโรค osteoarthritis และ Rheumatoid arthritis
ต่างเป็นโรค ที่ทำให้คนทรมานเป็นเวลานาน ซึ่งอาจอยู่กับคนไข้ไปตลอดชีวิตก็ได้
ความเจ็บปวดจากโรคดังกล่าว ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน
มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบได้แตกต่างกัน

การเรียนรู้เรื่องการรักษาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในระยะยาว
เป็นปัจจัยสำคัญต่อการควบคุมโรค และเป็นการทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

สุดท้าย วิธีการรักษา หรือการควบคุมความเจ็บปวดได้ดี เป็นหน้าที่ของคนไข้จะต้องมีส่วนร่วมในการหา
และทดลองดู ว่าวิธีไหนดี และเหมาะสมกับสำตน
ความสำเร็จ และความล้มเหลวของการรักษาในแต่ละวิธี เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนไข้แต่ละรายไป
วิธีหนึ่งอาจดีสำหรับคนไข้รายหนึ่ง แต่เมื่อนำไปใช้กับอีกบุคคลอื่น ปรากฏว่าไม่ได้ผล
จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้การรักษา รวมทั้งคนไข้ ต้องเข้าใจ อดทน และเปลี่ยนการรักษา
จนกว่าจะพบวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับตน

นั่นคือความเป็นจริง


WWW.arthritis.about.com/od/painmanage/ss/painqa-6htm

guide to Arthritis Pain: Chronic Pain

Chronic pain

ความเจ็บปวดเรื้อรัง ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของคนที่เป็นโรคไขข้อ
และเป็นหนึ่งในผลเสีย ที่เกิดขึ้นกับโรคไขข้ออักเสบทั้งหลาย

เราไม่ทราบว่า จะมีคนไทยเรากี่เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคไขข้ออักเสบ
แต่เห็นในคลินิกคนสูงอายุ มีให้พบเห็นทุกวัน...เป็นเรื่องปกติ ไม่มีสถิติชัดเจน จึงงดการอ้างถึง
แต่สำหรับสหรัฐฯ มีสถิติรายงานว่า มีคนชาวอเมริกามากว่า 40 ล้านคน ที่ได้รับความทรมานจาก
โรคไขข้ออักเสบ และมีเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเขา

Osteoarthritis:

Osteoarthritis เป็นโรคไขข้อที่พบมากที่สุด ทีปรากฏในโรคไขข้อทั้งหลาย
เป็นโรค ซึ่งจะเกิดขึ้นในคนสูงอายุ
จากข้อมูลของคนในสหรัฐฯพบว่า มีคนเป็นโรคชนิดนี้มากกว่า 20 ล้านคน
มันมีอิกชื่อ คือ degenerative arthritis หรือโรคข้อเสื่อมนั่นเอง
เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนสูงอายุ

โรคข้ออักเสบจากความเสื่อมตามอายุ เป็นความเสื่อมสลาย (degeneration)ที่เกิดขึ้นกับกระดูกอ่อน
ซึ่งทำหน้าที่ครอบคลุมปลายกระดูก ที่ทำหน้าที่เป็นข้อสำหรับการเคลื่อนไหว
โดยทำให้การเคลื่อนไหว ลื่นไหลได้ง่าย
เมื่อเกิดความเสื่อมขึ้น การเคลื่อนไหวย่อมลดลง พร้อมกับมีความเจ็บปวดเกิดขึ้น

Rheumatoid arthritis:

Rheumatoid arthritis จะเกิดขึ้นกับคนชาวอเมริกันมากกว่า 2 ล้านคน และ ประมาณ 75 %
จะเกิดขึ้นกับสตรีเพศ จัดเป็นโรค ที่ทำให้คนเกิดความพิการได้มากที่สุดโรคหนึ่ง

Rheumatoid arthritis เป็นโรคไขข้อ ซึ่งสามารถกระทบกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้

มันจะเริ่มเกิดขึ้นในคนที่อายุยังน้อย เมื่อเทียบกับคนที่เป็นโรค osteoarthritis ซึ่งเกิดในคนแก่
มันเป็นโรคที่ทำให้ข้อเกิดการอักเสบ ข้อบวม แดง

ทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบาย เหนื่อยเพลีย และบางรายมีความรู้สึกเหมือนเป็นไข้

>> continue
www. arthritis.about.com/od/painmanage/ss/painqa.htm

Guide to Arthritis Pain (1)

Arthrittis
ตามความเป็นจริงแล้ว หมายถึงข้ออักเสบเท่านั้นเอง
แต่ถูกนำไปใช้ครอบคลุมกลุ่มโรค "รูมาติสซั่ม" ซึ่งมีมากกว่า 100...สามารถก่อให้เกิด
อาการต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น ความเจ็บปวดที่ข้อ ข้อแข็ง ร่วมกับอาการข้อบวม

โรคทั้งหลายเหล่านี้ อาจไม่กระทบต่อข้อแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจมีส่วนอื่นเกี่ยวข้องด้วย

• กล้ามเนื้อ
• กระดูก
• เอ็น
• พังผืด และ
• อวัยวะภายใน

What is pain ?
ความเจ็บปวด (pain) เป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย เตือนให้เราได้ทราบถึงความผิดปกติ
องค์การ.IASP.(International.Association for the Study of Pain)
ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปวด” เอาไว้ว่า มันหมายถึง
ความรู้สึกไม่สบาย ซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับบาดเจ็บของกาย
เซลล์ประสาทเฉพาะที่ทำหน้า ที่ส่งความเจ็บปวดสู่สมอง มีกระจายอยู่ทั่วทุกส่วนของร่างกาย
ยกเว้นเฉพาะสมองเท่านั้น เซลล์เหล่านี้ จะตอบสนองต่อ “บาดเจ็บ” หรือ “เนื้อเยื้อที่ถูกทำลาย”

ยกตัวอย่าง เมื่อมีสาร หรือวัตถุที่เป็นอันตราย เช่น มีดบาดมือ
ตรงบริเวณได้รับบาดเจ็บจะหลั่งสารเคมีออกมาหลายตัว ซึ่งทำให้เกิดคลื่นกระแสไฟฟ้าขึ้น
ที่ปุ่มประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด คลื่นประสาทจะวิ่งไปตามเส้นประสาท สู่ ประสาทสันหลัง
ขึ้นสู่สมอง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มันแปลเป็นความรู้สึกถึงความเจ็บปวดต่อไป

Acute vs chronic pain
คนไข้ที่เป็นข้ออักเสบทุกชนิดมาพบแพทย์ มักจะมาด้วยอาการเจ็บปวดด้วยเสมอ
และความเจ็บปวดสามารถแบ่งออกเป็น สองชนิด คือ แบบเฉียบพลัน (acute apin)
และแบบเรื้อรัง (chronic pain)

ความเจ็บปวดเฉียบพลัน (Acute pain)
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นชั่วเวลาไม่กี่วินาทีก็จางหายไป
หรืออาจจะนานกว่านั้น กล่าวคือ ความเจ็บปวดก็จะหายไป เมื่อบาดแผลได้หายไป
บาดเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ได้แก่ แผลถูกน้ำร้อนลวก ถูกมีดบาด กระดูกแตกหัก...

ความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic pain)
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น ในคนที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ (osteoarthritis) และ โรครูมาตอยด์
(rheumatoid arthritis)
ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น มีความรุนแรงต่างกัน จากน้อยไปหามาก (mild to severe)
และจะคงปรากฏอยู่ เป็นเวลานาน เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน เป็นปี
หรืออาจตลอดชีวิตเลย

>> cont.

Neuropathic pain : Management

ในการรักษาคนไข้ที่มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดเรื้อรัง
หลายท่านมีความเชื่อว่า ยาแก้ปวดทั่วไปที่เราใช้กันเป็นประจำ น่าจะช่วยเหลือคนไข้ได้
เช่นยาในกลุ่มต่อไปนี้

o Non-opiods ซึ่งได้แก่ acetaminophen, non-steroidal anti-anflammatory agent (NSAIDs),
o Opiods และ co-analgesics

โดยทั่วไป ยาในกลุ่ม non-opiods ใช้ได้ผลดีในรายที่ได้รับบาดเจ็บตามธรรมดา (acute pain)
แต่จะไม่ค่อยได้ผลในรายที่เป็นการอาการจาก neuropathic pain

ในคนไข้ที่เป็น neuropathic pain จะตอบสนองต่อยาแก้ปวดในกลุ่ม opioids และ co-analgesicsเพียง 30 % เท่านั้นเอง

ปัจจุบัน FDAได้ยอมรับยา 5 ตัว ให้นำมาใช้รักษาคนไข้ neuropathic pain
ซึ่งได้แก่:

o Carbamazepine (Tegretol) ใช้รักษาโรค trigeminal neuralgia

o Gabapentin (neurontin) และ Transdermal lidocaine ใช้รักษาพวก postherpetic neuralgia

o Duloxetine (cymbalta) สำหรับ diabetic neuropathy และ

o Pegabalin (Lyrica) ใช้รักษา diabetic neuropathy

และ prosthetic neuropathic neuralgia


ในปัจจุบัน มียาหลายตัวที่ถูกพิจารณาว่า เป็นยา First-line ที่รับการยอมรับว่า เป็นยาที่ใช้รักษาคนไข้
ที่มีอาการneuropathic pain ซึ่งได้แก่:

o Gabapentin
o 5% lidocaine transdermal patch
o Opiod analgesics
o tramadol hydrochloride
o Tricyclic antidepressants
o Serotonin norepinephrine re-uptake inhibitor (SNRIs)
o Anti-depressant และ
o Pegabalin

ทั้งหมด จัดเป็น first-line drugs ที่นำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็น neuropathic pain

Gabapentin
เป็นยาที่ใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคลมชัก (antiepilectic drugs) ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็น
Neuropathic pain ใช้ได้ผลดีในหลาย ๆ กรณี เช่น postherpetic neuralgia, painful diabetic neuropathy,
Meixed neuropathic pain syndrome, phantom pain, Guillain-Barre syndrome, และพวก spinal cord Injury pain
.
Pegabalin. เป็นยาในกลุ่มเดียวกับ gabapentin (Alpha2 Dela Ligand) ใช้ได้ผลคล้าย ๆ กัน
Recommeded started dose 50 mg 3 time a day หรือ 75 mg BID

Opiod analgesics.
ยาในกลุ่มนี้ ถือเป็นยาหลัก สำหรับรักษาคนไข้ที่มีความเจ็บขนาดกลางถึงรุนแรง
ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ เพือลดความเจ็บปวด เป็นเวลานับพันปีแล้ว
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับยาในกลุ่มนี้ คือ ถูกกล่าวว่า เป็นยาที่ไม่เหมาะกับคนไข้ที่เป็น neuropathic pain
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว พวก opiods เป็นยาที่ถูกนำมาใช้ในคนไข้ทีเป็น neuropathic pain
ในหลายกรณี เช่น คนไข้เป็น postherpetic neuralgia, painful diabetic neuropathy
และพวก mixed peripheral and central neuropathic pain syndromes

หลักการใช้ยา คือใช้ขนาดน้อย ร่วมกับยาลดปวด (analgesics) อย่างอื่น
จัดเป็นวิธีการลดความเจ็บปวดได้อย่างดี

ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ท้องผูก คลื่นไส้ ง่วงนอน และเกิดความสับสน

Tramadol:
การใช้ยาตัวนี้ ต้องระวังเรื่อง มันจะทำให้ระดับของ serotonin เพิ่มขึ้นได้ มีโอกาสเกิด
Serotonin syndrome
ขนาดยาที่ใช้รักษา neurpathic pain: ให้ 50 mg OD หรือ BID ขนาดสูงสุด 400 mg OD

5% Lidocaine Trandermal Patch:
มีรายงานว่า นอกจากจะใช้ได้ผลดีในคนไข้เป็น postherpetic neuralgia แล้ว เขายังนำไปใช้
รักษาคนไข้โรคไขข้ออักเสบ osteoarthritis ได้ด้วย

Tricyclic Antidepressants (TCAs)
TCAs ถือว่าเป็นยาที่นำมาใช้ร่วมกับยาลดความเจ็บปวด เป็น “co-analgesics” หรือ “adjuvants”
ยาที่นำมาใช้ตั้งแต่แรก คือ Amitriptyline ในขนาด 10 mg (old adults) หรือ 25 mg ก่อนนอน
ผลข้างเคียง คือ ปากแห้ง เห็นภาพซ้อน ท้องผูก ความรู้สึกนิกคิดแปรปรวน
โดยทั่วไป ผลจากการลดความเจ็บปวด จะได้รับเมื่อเราเพิ่มขนาดยาถึง 75-100 mg/day
(การเพิ่มขนาดของยา ควรเพิ่มทุก 3- 7 วัน)

www.medscape.org/viewarticle/530606

Neuropathic pain: central sensitization (4)

Central sensitization

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบสมองส่วนกลาง (plasticity)
ซึ่งก่อเกิดคลื่นประสาทที่มากเกินกว่าปรกติ เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรัง (neuropathic pain)ขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบประสารทส่วนกลาง ได้แก่:

• เหมือนกับที่กล่าวในระบบประสาทส่วนปลาย ภายหลังการเกิดบาดเจ็บขึ้นกับประสาท ความเจ็บปวดทิ่เกิดขึ้นจากการแรงกระตุ้นปลายประสาทด้วย สิ่งเร้านิดเดียว สามารถทำให้มีความเจ็บปวดได้

• จากบาดเจ็บที่เกิดขึ้นที่ประสาทส่วนปลาย จะทำให้ประสาทส่วนกลางมีความไว (sensitizaion) ซึ่งสามารถเพิ่ม และสนับสนุนคลื่นประสาทตรงบริเวณ dorsal horn ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า
wind up ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ผิดธรรมดา เช่น ถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ไม่น่าทำให้เกิดความเจ็บปวด
มันก็เกิด ตัวอย่างที่เห็น ในตอนใส่เสือผ้า หรือพลิกตัวบนที่นอน หรือลูบเบา ๆ ก็เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก
แถมยังปวดนานอีกด้วย...
เพื่อความเข้าใจ ให้นึกถงภาพที่เราหมุนลาน (wind up) ตุกตา หมุนครั้งเดียว มันเดินซะนาน

ปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นการสนองตอบของเซลล์ประสาทสันหลัง ที่มีต่อคลื่น (input) ที่มาจาก C fibers
เป็นการตอบสนองที่มากผิดปกติ ต่อคลื่นที่วิ่งเข้ามาแบบต่อเนื่อง (repeated)
เป็นเหตุให้ประสาทไขสั้นหลังไวต่อสิ่งเร้าได้ง่าย (excitabity)

• มีการศึกษา พบว่า มีปฏิกิริยาของ glutamate ภายในประสาทสันหลัง และในระดับเหนือไขประสาท ตรงตำแหน่ง excitatory amino acid receptors จะทำให้มีการเพิ่มกระแสประสาทจากประสาทส่วนปลายเพิ่มขึ้น

• เส้นทางของ gamma amino butylic acid (GABA) ที่มีต่อ inhibitory neurotransmitter system จะทำให้สาร GABA ยับยั้งคลื่นประสาทที่ทำหน้าที่ยับยั้งจากสมองส่วน(CNS) ลดลง เมื่อไม่มีเบรกจากสมอง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวด neuropathic pain เพิ่มขึ้น

ภายหลังประสาทได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้น ปรากฏว่า มีการจัดระเบียบของประสาทในไขประสาทกันใหม่ เพื่อไม่ให้สับสน จะสรุปให้เห็นในตอนสุดท้ายว่า ภายหลังการจัดระเบียบของประสาทขึ้นใหม่ พบว่า ตรงบริเวณที่ประสาทได้รับบาดเจ็บ จะมีประสาทเกิดขึ้นใหม่....เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ทำหน้าที่รับการกระตุ้นต่อสิ่งเร้า ซึ่งมีระดับที่ต่ำมาก ( low threshold)

นั่นคือเหตุผลที่ว่า การสัมผัสเฉย ๆ สามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้

>> Neuropathic pain : Treatment

Neuropathic pain: Pathophysiology (3)

Pathophysiology

ปัญหาเกิดขึ้นว่า อะไร ที่ทำให้คนไข้เกิดมีอาการดังที่กล่าวมา?
เช่น มีอาการปวดเรื้อรัง ปวดแสบปวดร้อน โดยสิ่งเร้านั้นน้อยมาก
เช่นเกิดในขณะสรวมใส่เสื้อผ่า หรือนอนพลิกตัวไปมา
มันเกิดได้อย่างไร ?

การเกิดอาการดังกล่าว ปรากฏว่า มีการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนปลาย
หลายประการ เช่น

o Ectopic and Ephaptic conduction:
ภายหลังจากเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บขึ้น
เยื้อหุ้มประสาท (axon) ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวน ถูกทำลายไปด้วย ทำให้เกิดภาวะทีเราพบเห็นในไฟฟ้าลัดวงจร
ภายในประสาทก็เช่นเดียวกัน
นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า จะมีปุ่มเกิดขึ้นบนประสาทเหล่านั้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของ sodium channel มีเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย
และปุ่มดังกล่าว จะทำให้เกิดมีคลื่นกระแสประสาทขึ้นตามกระบวนการของ depolarization &repolarization

จากกรณีดังกล่าว จะมีมีคลื่นกระแสไฟฟ้าถูกผลิตขึ้นจากปุ่มดังกล่าว ซึ่ง ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะ ๆ
และจะก่อให้เกิดมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรระหว่างเส้นประสาทขึ้น...
นั่นคือ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแบบ neuroipathic pain ขึ้น

o Alteration in ions channel. เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า sodium channel
บนเยื้อหุ้มเซลล์ประสาท จะมีบาทบาทสำคัญต่อการเกิดคลื่นประสาท (โดยปรากฎการณ์ Depolarization
และ repolarization) เมื่อมีบาดเจ็บเกิดขึ้นบนใยประสาท ปรากฏว่า sodium channel ดังกล่าว
จะเกิดขึ้นอย่างมากมายตลอดความยาวของเส้นประสาทที่ไดรับบาดเจ็บ
ดังนั้น การเกิดคลื่นประสาทจากปุ่มมี่เกิดขึ้นใหม่ (ectopic placemaker)
จึงเป็นต้นตอของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นใน neuropathic pain

สาเหตุอย่างอื่นนอกเหนือจากปุ่ม (sprout) ของ sodium channel แล้ว ยังปรากฏว่า เส้นประสาทที่ถูกทำลาย มีปุ่มประสาทงอกขึ้นมา (neuroma)
ซึ่งพบได้ทั้งของ primary afferent neuroma และ sympathetic neuroma
ซึ่งทั้งปุ่มประสาท ที่เกิดขึ้นนั้น ไวต่อกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งนั้น
เมื่อรวมกับสารเคมีที่ถูกปล่อยออกจากประสาทที่ถูกทำลาย...จะเป็นเหตุให้ปลายประสาท
มีความไวต่อการกระตุ้นได้อย่างมากมาย (sensitization)

นั่นแหละ คือกลไกที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแบบ Neuropathic pain ล

>> cont.

Neuropathic pain (2): Nociceptive process

Norciceptive process

กระบวนการณ์ทางเคมีของความเจ็บปวด nociceptive pain มี 4 ขั้นตอนด้วยกัน

• Transduction: เป็นกระบวนการณ์ที่เกิดขึ้นจาก ตัวเร้าที่เป็นอันตราย (noxious stimulus)
ถูกเปลี่ยนแปลงไป ให้กลายเป็นคลื่นประแสไฟฟ้าในประสาทนำเข้า (afferent primary peripheral neurons)
• Transmission: เป็นกระบวนการณ์การเดินทางของคลื่นประสาทจากตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ (transduction) สู่มอง
• Perception: เป็นการแปลผลของคลื่นประสาท โดยสมอง ...

• Modulation: หมายถึงกระบวนการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรือการยับยั้งความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

ความเจ็บปวดจากการอักเสบ (inflammatory pain) จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคนเรา
ต้องการเปลี่ยนแปลงให้กลับสู่สภาพเป็นปกติเหมือนเดิม หายจากอาการบาดเจ็บ
ยกตัวอย่าง ตรงบริเวณได้รับบาดเจ็บแล้ว จะอยู่ในลักษณะที่ไวเพิ่มต่อบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นอีก
ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนไข้มีความระมัดระวัง และปกป้องบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ

ยกตัวอย่าง คนที่ได้รับกระดูกแขนหัก เขาจะปกป้องแขนที่กระดูกแตกหัก ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีก
โดยจะมีความไวต่อสิ่งเร้าทุกชนิด แม้กระทั้งการสัมผัส หรือกดเบา ๆ เขาจะสดุ้ง หรือร้อง หรือถอยหนี
นั่นคือกลไกการปกป้องตนเองที่เห็นได้ชัดเจน

Maladaptive pain: (mal- ไม่ปกติ adaptive- ปรับตัว หรือเปลี่ยนแปลงได)

Neuropathic pain เป็นตัวอย่างที่ดีของ Maladaptive pain
The international Association for the study of Pain (IASP)
ได้ให้คำจำกัดความของ neuropathic pain ว่า
เป็นความเจ็บปวดที่เริ่มขึ้น หรือ มีสาเหตุมาจากบาดเจ็บเป็นเบื้องต้น หรือเป็นเพราะระบบประสาท
ทำงานผิดปกติไป บาดแผลดังกล่าว อาจปรากฏที่ระบบประสาทส่วนปลาย หรือประสาทส่วนกลาง
และส่วนใหญ่จะมีรอยโรคปรากฏทั้งสองระบบ (PNS & CNS)

คนไข้หลายรายที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความเจ็บปวด “เรื้อรัง” อาจมีเพียงบางส่วน (partially)
หรือทั้งหมด จะเป็นอาการเจ็บปวดแบบ meuropathic แทบทั้งนั้น
ยกตัวอย่าง ได้แก่ phantom pain, spinal cord injury, painful diabetic neuripathy, potherpetic neuralgia,
Sciatica, trigeminal neuralgia และผลจากยารักษา drug-induced neuropathy.

นาย Backonja ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ Neuropathic pain เอาไว้ ดังนี้:

o เป็นความเจ็บปวด และความรู้สึก ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ภายหลังจากแผลได้หายไปแล้ว

o เป็นความรู้สึกที่ผิดปกติ ที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกาย ซึ่งมีอาการเจ็บปวด เมื่อมีการกระตุ้น จากสิ่งเร้า ที่ไม่น่าจะทำให้เกิดความเจ็บปวด เช่น การสัมผัสอย่างแผ่วเบา จากการใส่เสื้อผ้า
หรือ จากการพลิกตัวไปมาบนที่นอน และอื่น ๆ
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านี้ แล้วก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น เรียก allodynia

o มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นเอง เป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่มีความตั้งใจให้เกิด ไม่สามารถพบได้
แต่เป็นการบอกเล่าจากตัวคนไข้เอง ว่า มีอาการปวดแสบปวดร้อน
เหมือนไฟฟ้าช็อต หรือถูกไฟฟ้าดูด

o จะพบเห็นในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ที่เป็นโรค diabetic neuropathy เขาจะเล่าให้ฟังว่า
เขาจะมีความรู้สึกเจ็บปวดที่ฝ่าเท้า เหมือนกับเดินเหยียบเศษแก้วแตก

>> continue

Neuropathic pain (1)

ความเจ็บปวด เป็นประสบการณ์ของทุกคน
บางท่านมีความเจ็บปวดน้อย บางท่านเป็นมาก แล้วแต่สถานการณ์ของแต่ละคน
เมื่อเกิดมีความเจ็บปวดขึ้น มันจะกระทบต่อกาย และจิตใจ การงานถดถอย รวมไปถึงการขาดงาน
หรือ งานไม่ขาดแต่ผลงานไม่มี รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่เลวลง

มีเงือนไขทางการแพทย์หลายอย่าง ที่เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น เช่น มะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ
ปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังส่วนล่าง (low back pain) โรเบาหวาน ปวดศีรษะ ไวรัส (งูสวัด)
และอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ อาการเจ็บปวด ยังสามารถทำให้คนไข้มีอาการร่วมอย่างอื่นเกิดขึ้น
เช่น ความเครียด ความกังวล ความหดหู่
และคนไข้ที่ได้รับความเจ็บปวด มักจะไม่สนใจในสุขภาพของตัวเองเหมือนคนอื่นเขา

แพทย์ และเภสัชกรมีโอกาสได้ใกล้ชิดคนไข้ทีมีความเจ็บปวดเรื้อรัง ดังกล่าว
ดังนั้น พวกเขาจึงอยู่ในตำแหน่งที่สามารถวางแผนการรักษาคนไข้แต่ละรายได้ดีที่สุด

ประเภทของความเจ็บปวด
(categorizing pain)

ความเจ็บปวด สามารถแบ่งเป็นประเภทได้หลายรูปแบบ เช่น
ความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน VS ความเจ็บปวดแบบเรื้อรัง
หรือ malignant vs non-malignant pain
หรือจะพิจารณาในแง่ของการอาการเจ็บปวดเช่น adaptive pain เป็นความเจ็บปวด
ที่เกิดเพื่อป้องกันร่างกายจากอันตราย และไม่ให้เป็นอีก
หรือเป็นพวก Mal-adaptive pain ซึ่งมีอาการปวด เสมือนกับเป็นโรคชนิดหนึ่ง

Adaptive pain: ประกอบด้วย nocieptive pain และ inflammatory pain
ซึ่งเกิดขึ้นที่ปุ่มประสาท (receptors) ที่รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า

อย่างไรก็ตาม ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นแก่คนเรา ยังมีประโยชน์ต่อคนเราอยู่บ้าง
ในประเด็นที่ ทำหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยให้ทราบถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเรา

>> Nociceptive process

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Antimalarial drugs may help Rheumatoid Arthritis and Diabetes

เมื่อเรามองดูเหตุการณ์รอบตัว...
จะพบว่า มีอะไรหลายอย่างเกิดขึ้น แล้วพบว่ามีประโยชน์..
แต่เราก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
และนี่ คือตัวอย่างหนึ่งในหลายๆ ร้อยเรื่อง:

มียาเก่าแก่ตัวหนึ่งคือ Hydroxychloroquine ซึ่งเป็นยาใช้รักษาคนเป็นโรคมาลาเรีย
ได้ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้เป็นโรค Rheumatoid arthritis แล้วพบว่า ยาตัวนี้อาจปกป้องคนเรา
ให้พ้นอันตรายจากโรคน่ากลัวอีกโรคหนึ่งได้ นั่น คือ โรคเบาหวาน?

จากการศึกษารายหนึ่ง มีคนไข้เป็นโรค RA ได้รับการรักษาด้วย hydroxychloroquine
ซึ่งเป็นยาที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรักษาโรคมาลาเรียโดยเฉพาะ ได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคบางอย่างที่เกิดจาก
ระบบภูมิคุ้มกัน...

พบว่า 53 % ในคนไข้เหล่านั้น มีแนวโน้มที่จะไม่เกิดเป็นโรคเบาหวาน
ทำให้ผู้ทำการศึกษารายนี้ เข้าใจว่า ยารักษาโรคมาลาเรีย - Hydroxycholorquine
อาจมีประโยชน์ต่อการรักษา หรือป้องกันไม่ให้คนเป็นโรคเบาหวานกระมัง ?

ที่เขากล่าวเช่นนั้น เขาเหตุผลว่า คนที่เป็นโรค RA มักจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ (RA) มักจะได้รับ steroid และส่วนใหญ่คนไข้พวกนี้
มักจะมีน้ำหนักเกิน (อ้วนมาก...ฝรั่งมักจะเป็นเช่นนั้น) ซึ่งเกิดจากโรค และไม่ได้ออกออกกำลังกาย...

การศึกษารายที่สอง พบว่า คนไข้ที่เป็นโรค RA ได้รับยา Hydroxychloroquine เพียงอย่างเดียว
มีแนวโน้มไม่เกิดโรคเบาหวานได้น้อยกว่า คนที่เป็นโรคชนิดเดียวกัน
แต่ได้รับยา methotrexate เพียงอย่างเดียว ถึง 33 %

หลังจากนั้น ก็มีการคาดเดากันยกใหญ่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย เช่น
Daniel Solomon, MD,MPH, of Brigham and Women’s Hospital and Harvard Med. School
กล่าวว่า ไม่ต้องพึงพาพวกลูกขุนให้เสียเวลาหรอก...
เหตุที่ยารักษา “มาลาเรีย” ที่ใช้รักษาโรค RA นั้น ทำให้ลดอัตราเสี่ยงในคนไข้
ไม่ให้เกิดเป็นโรคเบาหวานได้นั้น เป็นเพราะมันทำให้สารฮอร์โมน “อินซูลิน”
ทีอยู่ในกระแสเลือดทำงานดีขึ้น...
ซึ่งก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้...เป็นเพียงคาดเดาเท่านั้นเอง

อินซูลิน จะทำหน้าที่ช่วยร่างกายของเราให้ได้รับน้ำตาล “กลูโกส” เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน
โดยที่เซลล์ทุกตัว ต้องการ “กลูโกส” และเป็นหน้าที่ของ “อินซูลิน” ต้องนำน้ำตาล กลูโคสให้แก่เซลล์
ถ้าอินซูลินไม่ทำงาน หรือไม่มีอินซูลิน.หรือเซลล์ไม่ยอมรับ..เซลล์จะอยูไม่ได้ ตายสถานเดียว

ถ้าร่างกายของคนเราต่อต้านการทำงานของสาร “อินซูลิน”
ร่างกายก็จะเพิ่มการชดเชย (overcompensate) ผลิตสารอินซูลินออกมาให้มากขึ้น
แต่เซลล์อาจต่อต้านสารอินซูลินก็ได้ ไม่ยอม อ้าปากรับน้ำตาล ซึ่งสารอินซูลินมอบให้
เหมือนเด็กเกเรไม่ยอมกินข้าวอย่างนั้นแหละ...
เป็นเหตุให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น....นั่นจึงเป็นที่มาของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

เมื่อมีการค้นพบอะไร ที่น่าเป็นผลดีกับคนไข้ ดังปรากฏในตัวอย่างที่กล่าว
ก็มีการเสนอ และแนะนำให้มีการศึกษา และวิจัยต่อไป
พิสูจน์ให้ได้ว่า ยา hydroxychloroquine สามารถกำจัดโรคเบาหวานไม่ให้เกิดขึ้นได้จริง
นั่นคือความเป็นไปในความคิดของมนุษย์...
ที่มีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

www.arthritistoday.org/conditions/rheumatoid-arthritis/news-and-research/antimalarial-drug.php

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Anti-seizure’s drugs: How do it help ? (2)

How do anti-seizure drugs help ?

เราไม่สามารถทราบกลไก (mechanism) ที่แน่ชัดว่า ยาที่ใช้รักษาโรคชักมันทำงานอย่างใด
แต่ยาในกลุ่มดังกล่าว มีผลกระทบต่อคลื่นกระแสไฟฟ้าที่ให้เกิดความเจ็บปวด
ซึ่ง เป็นคลื่นกระแสไฟฟ้า ที่มีมากผิดปกตินั่นเอง

มียาบางตัวในกลุ่ม (anti-seizure drugs) เหมาะสำหรับโรคบางโรค
ยกตัวอย่าง เช่น

o Carbamazepine (Tegretol, Carbatrol) ใช้ได้ผลดีในคนไข้
ที่เป็นโรค Trigeminal neuralgia ซึ่งคนไข้พวกนี้ จะมีอาการคล้ายถูกไฟช็อต
หรือไฟฟ้าดูด (Lancinating pain)ที่ใบหน้า
อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวัง คือ ยาทุกตัวในกลุ่ม anti-seizure drugs
สามารถเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อการทำให้คนไข้ มีความรู้สึกยากทำลายชีวิตตนเอง
(suicidal thoughts and actions)

เนื่องจากมีผลเสียดังกล่าว จึงได้มียาใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ซึ่งผลข้างเคียงน้อยกว่า
และจากการศึกษาในปัจจุบัน สนับสนุนการใช้ยาในกลุ่มดั้งกล่าว สำหรับรักษาพวกเจ็บปวดเรื้อรัง
มากกว่าที่จะใช้ยาในกลุ่มเดิม

ยาตัวใหม่ ๆ ในกลุ่ม anti-seizur drugs ที่นำมาใช้ได้แก่

o Gabapentin(neurontin)
o Pregabalin (lyrica)
o Lamotrigine (Lamictal)

ยาทั้งสองตัว gabapentin และ pregablin เหมาะสำหรับรักษาคนไข้ที่ปวดประสาทจากสาเหตุ
ต่าง ๆ เช่น การเป็นโรค “เบาหวาน” (diabetic neuropathy)
โรคปวดประสาทภายหลังเกิดโรคงูสวัด (postherpetic neuropathy)
และจากอาการปวด ซึ่งเกิดตามหลังโรคที่เกิดกับระบบประสาททั้งหลาย

Pregabalin (Lyrica) ถูกนำมาใช้รักษาโรค fibromyalgia ได้ผลดี
Lamotrigine ได้ผลดีในการรักษาคไข้โรค Trigeminal neuralgia
นอกจากนั้น ยังนำไปใช้ในรายที่ปวดประสาทจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน (stroke)
และในคนไข้ที่เป็น HIV (โดยเฉพาะที่ได้รับยา antiviral drugs)
และยังได้ผลดีในรายที่เป็น diabetic neuropathy อีกด้วย

ข้อควรระวัง หากพบว่าหลังรับประทานยากลุ่มนี้ เกิดมีผืนที่ผิวหนัง
ท่านต้องหยุดยาทันที เพราะมันมีโอกาสก่อให้เกิด Steven-Johnson Syndrome ได้.

ยาในกลุ่ม Anti-seizur drugs ถูกนำมาใช้ในรายมีความเจ็บปวด neuropathic pain
มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว แต่ถูกจำกัดด้วยผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
จึงต้องระมัดระวังให้มากไว้

ยากลุ่มเดิม (anti-seizur drugs) ที่ถูกใช้ในการรักษา ได้แก่

o Carbamazepine
o Oxcarmazepine
o Phenytoin
o Valproic acid

ผลข้างเรียงที่เกิดจากการใช้ยาในกลุ่มนี้ (Old anti-seizer drugs) ได้แก่

o Liver damage
o Nausea
o Vomiting
o Double vision
o Loss of co-ordination
o Drowsiness
o Headache

ถ้าหากท่านรับประทานยาในกลุ่ม Old anti-seizure drugs
เพื่อรักษาอาการปวด neuropathic pain สิ่งที่จะต้องทำ
คือ ให้มั่นตรวจอาการอันไม่พึงประสงค์เป็นระยะ
(blood dyscrasia, liver dysfunction)

เนื่องจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาในกลุ่มเดิม ดังนั้นเขาจึงแนะนำให้ใช้ในในกลุ่มใหม่
(pregabalin, neurontin และlamotrigine)
ยกเว้นกรณีที่คนไข้ไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มใหม่

www.mayo clinic.com/help/pain-medications/pn00045

Anti-seizure’s medications: In neuropathic pain

เกิดมีคำถามว่า:
“ยาที่ใช้ในการรักษาคนไข้เป็นโรคลมชัก (seizure)
ใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังได้ด้วยหรือ ?”

ความจริงมีว่า ยาที่ใช้รักษาคนไข้เป็นโรคชัก (epilepsy) ได้ถูกนำมาใช้รักษา
ผู้ป่วย ที่ มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุจากเส้นประสาทถูกทำลาย
นั่นเป็นเรื่องที่แพทย์เขาใช้ยาประเภท anti-seizure’s medication
กันมานานแล้ว...เป็นเรื่องปกติ

ยากลุ่มนี้ จะใช้ได้ผลดีในรายที่มีอาการ ปวดแสบ ปวดร้อน ปวดเหมือนถูกไฟฟ้าดูดเอา
ปวดเหมือนมีของแหลมทิ่มตำเอา หรือมีอาการปวดเสียวซ่าตามผิดหนัง...

Causes:

สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เป็นเพราะเส้นประสาทที่ได้รับบาดเจ็บ
ได้ผ่านไปเป็นเวลานาน(บาดแผลหายแล้ว) แต่บริเวณที่เคยได้รับบาดเจ็บมาก่อน
เมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า ซึ่งไม่น่าก่อให้เกิดความเจ็บปวดเช่น จากการสัมผัสเบาๆ
มันก็สนองตอบสนอง (allodynia) ด้วยเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงขึ้น

นั่นเป็นเพราะระบบประสาททำงานผิดปกติไปเอง หลังการได้รับบาดจ็บ ระบบประสาทเกิดการ
เปลี่ยนแปลง (plasticity) ทำให้มันไวต่อสิ่งเร้า (hypersensitive)
และถูกกระตุ้นได้ง่ายกว่าปกติ (low threshold) ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า
ที่ไม่น่าทำให้เกิดความเจ็บปวด มันก็เกิด เช่น การสัมผัสเบาๆ...

ที่แปลกกว่านั้น พบว่า ระบบประสาทมันสูญเสียความสมดุลไป (windup)
ถูกกระตุ้นเพียงครั้งเดียว ก็ตอบสนองเสียนานเป็นชั่วโมง บางทีเป็นเดือน
เหมือนกับเราทำการไขลาน (wind up)ตุ๊กตาเพียงครั้งเดียว ตุ๊กตาก็เดินไม่หยุด
นั่นแหละ คือ ภาวะของระบบประสาทถูกไขลาน (windup) เป็นเหตุให้คนไข้มีอาการปวดเรื้อรังขึ้น
(neuropathic pain)

ส่วนใหญ่แล้ว คนไข้จะรายงานว่า ไม่พบสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดหรอก
มันเกิดขึ้นเอง ทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติ

สาเหตุหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาท (neuropathic pain) ดังกล่าว ได้แก่

• Diabetes. การที่เราปล่อยให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูง สามารถทำลายประสาท
ได้ทั่วร่างกาย
• Shingles. โรคงูสวัด คนที่เป็นโรคอีสุกอีใส (chicken pox) มีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัด
อาการปวดประสาทตรงบริเวณที่เคยมีผื่นเป็นแผลที่ผิวหนัง แม้ว่าผื่นจะหายไปนานแล้วก็ตาม
อาการปวดชนิดนี้ เรียก postherpetic pain
• เนื่องจากโรคชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดในคนมีอายุมากขึ้น การได้รับ zoster vaccine
สามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้
• Chemotherapy. ยาที่นำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง “เคมีบำบัด” มีบางตัวสามารถทำลายเป็นประสาท
และทำให้เกิดอาการปวดประสาทได้
ทำให้คนไข้มีอาการเจ็บปวด และมีอาการชาที่ปลายน้ำมือ และนิ้วเท้า
• Herniated disc. คนไข้ที่เป็นโรคเส้นประสาทถูกกดโดยหมอนรองกระดูก
เช่นที่บริเวณกระดูกคอ และบริเวณเอว หากไม่ได้รบการรักษาที่เหมาะสม
สามารถก่อให้เกิดอาการปวดประสาทได้
• Inherited neuropathy. โรคปวดเส้นประสาท สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
อาการปวดประสาท สามารถเกิดในที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของพันธุกรรมที่ผิดปกติ
• ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ โรค Charcot-Marie-Tooth disease
ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นทั้ง motor และ sensory

>> How do anti-seizure drugs help ?

Anti-seizure’s medications: In neuropathic pain

เกิดมีคำถามว่า:
“ยาที่ใช้ในการรักษาคนไข้เป็นโรคลมชัก (seizure)
...ใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังได้ด้วยหรือ ?”

ความจริงมีว่า ยาที่ใช้รักษาคนไข้เป็นโรคชัก (epilepsy) ได้ถูกนำมาใช้รักษา
ผู้ป่วย ที่ มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุจากเส้นประสาทถูกทำลาย
นั่นเป็นเรื่องที่แพทย์เขาใช้ยาประเภท anti-seizure’s medication กันมานานแล้ว...
เป็นเรื่องปกติ

ยากลุ่มนี้ จะใช้ได้ผลดีในรายที่มีอาการปวดแบบ ปวดแสบ ปวดร้อน ปวดเหมือนถูกไฟฟ้าดูดเอา
ปวดเหมือนมีของแหลมทิ่มตำเอา หรือมีอาการปวดเสียวซ่าตามผิวหนัง...

Causes:

สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เป็นเพราะเส้นประสาทที่ได้รับบาดเจ็บ
ได้ผ่านไปเป็นเวลานาน(บาดแผลหายแล้ว) แต่บริเวณที่เคยได้รับบาดเจ็บมาก่อน
เมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า ซึ่งไม่น่าก่อให้เกิดความเจ็บปวดเช่น จากการสัมผัสเบาๆ
มันก็สนองตอบสนอง ด้วยความเจ็บปวดอย่างรุนแรงขึ้น

นั่นเป็นเพราะระบบประสาททำงานผิดปกติไปเอง
หลังการได้รับบาดจ็บ ระบบประสาทเกิดการเปลี่ยนแปลง (plasticity)
ทำให้มันไวต่อสิ่งเร้า (hypersensitive) และถูกกระตุ้นได้ง่ายกว่าปกติ
(low threshold) จากสิ่งเร้าที่ไม่น่าทำให้เกิดความเจ็บปวด มันก็เกิด
เช่น การสัมผัสเบาดังกล่าว...

ที่แปลกกว่านั้น พบว่า ระบบประสาทมันสูญเสียความสมดุลไป (windup) ถูกกระตุ้นเพียงครั้งเดียว
ก็ตอบสนองเสียนานเป็นชั่วโมง บางทีเป็นเดือน เหมือนกับเราทำการไขลาน (wind up)
ตุ๊กตาเพียงครั้งเดียว ตุ๊กตาก็เดินไม่หยุด
นั่นแหละ คือ ภาวะของระบบประสาทถูกไขลาน (windup)
เป็นเหตุให้คนไข้เกิดมีอาการเจ็บปวดแบบเรื้อรังขึ้น
(neuropathic pain)

ส่วนใหญ่แล้ว คนไข้จะรายงานว่า ไม่พบสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดหรอก
มันเกิดขึ้นเอง ทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติ

สาเหตุหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาท (neuropathic pain) ดังกล่าว
ได้แก่:

• Diabetes. การที่เราปล่อยให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูง สามารถทำลายประสาท
ได้ทั่วร่างกาย
• Shingles. โรคงูสวัด คนที่เป็นโรคอีสุกอีใส (chicken pox) มีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัด
อาการปวดประสาทตรงบริเวณที่เคยมีผื่นเป็นแผลที่ผิวหนัง แม้ว่าผื่นจะหายไปนานแล้วก็ตาม
อาการปวดชนิดนี้ เรียก postherpetic pain
• เนื่องจากโรคชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดในคนมีอายุมากขึ้น การได้รับ zoster vaccine สามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้
• Chemotherapy. ยาที่นำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง “เคมีบำบัด” มีบางตัวสามารถทำลายเป็นประสาท
และทำให้เกิดอาการปวดประสาทได้
ทำให้คนไข้มีอาการเจ็บปวด และมีอาการชาที่ปลายน้ำมือ และนิ้วเท้า
• Herniated disc. คนไข้ที่เป็นโรคเส้นประสาทถูกกดโดยหมอนรองกระดูก
เช่นที่บริเวณกระดูกคอ และบริเวณเอว หากไม่ได้รบการรักษาที่เหมาะสม
สามารถก่อให้เกิดอาการปวดประสาทได้
• Inherited neuropathy. โรคปวดเส้นประสาท สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
อาการปวดประสาท สามารถเกิดในที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของพันธุกรรมที่ผิดปกติ
• ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ โรค Charcot-Marie-Tooth diseaseซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นทั้ง motor และ sensory

>> How do anti-seizure drugs help ?

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Restless leg syndrome:- Treatment

อย่างที่เราได้กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่า
เราไม่สามารถทราบได้ว่า
อะไรเป็นตัวการที่ให้เกิดกลุ่มอาการ “ขาอยู่ไม่เป็นสุข”

เราทราบเพียงแต่ว่า มีโรค หรือมีภาวะบางอย่างเกิดร่วมกับอาการของ “ขาอยู่ไม่เป็นสุข” เท่านั้น
ดังนั้น การรักษาจึงมุ่งสู่จุดนั้น พร้อมกับการแก้ไขปัญหานั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น

 ถ้าจากการตรวจเลือด พบว่า คนไข้เป็นโรคโลหิตจางจากขาดเหล็ก (iron deficiency anemia)

การรักษาก็มุ่งไปที่ชดเชยสิ่งที่ขาดไป

 หากตรวจพบว่า เส้นเลือดที่ขาเกิดโป่งพอง (varicose vein) การรักษาที่คนไข้ควรได้รับ คือการ

ผ่าตัดเองเส้นเลือดที่โป่งพองออก

 ให้ลด หรือยุติการดื่มกาแฟ (caffeine) และเลิกดื่มเหล้า อาจช่วยภาวะขาอยู่ไม่เป็นสุขได้

 เลิกสูบบุหรี่ (smoking) สามารถป้องกัน และลดอาการลงได้

 นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ สามารถช่วยคนไข้ที่มีอาการดังกล่าวได้บ้าง

 ในสตรีที่ตั้งครรภ์ ที่นอนไม่หลับ และคนที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ (sleep disorders)

อาจเกิดภาวะขาอยู่ไม่เป็นสุขได้

Medications ?

ยาที่พบว่า ถูกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มี “ขาไม่ชอบอยู่เป็นสุข” ซึ่งได้รับผลดี ได้แก่:

o อาหารเสริม เช่น พวกเหล็ก
o Cabidopa-levodopa (Sinemet)
o Opioids เช่น Tramdol แก้อาการปวด
o Carbamazepine ( Tegretol)
o Diazepam
o Baclofen (lioresal)

ยาทุกชนิดที่เสนอมา อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงปรารถนาได้
หากเกิดมีการแพ้ยาขึ้นมา ท่านควรหยุดยาตัวนั้น และปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาท่านทันที
ความเครียดอาจทำให้เกิดอาการ “ขาอยู่ไม่เป็นสุข”ได้ ดังนั้น การคลายเครียด
จะด้วยวิธีใดก็ตามสามารถช่วยได้ เช่น การทำสมาธิ-เจริญสติ หรือการเล่นโยคะ
สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้
เคยมีรายงานว่า การฝังเข็มก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นในบางคน

Complementary/Alternative Treatment

นอกจากยาที่เสนอมา ยังมีการรักษาที่ผู้ป่วยสามารถเสริมการรักษาที่ตนได้รับอยู่ เช่น

o อาบน้ำอุ่น หรือประคบด้วยน้ำแข็ง
o กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
o ฝังเข็ม
o คลายเครียดด้วยการภาวนา ฝึกจิต

กล่าวโดยสรุป คนไข้ที่เป็นโรค “ขาอยู่ไม่เป็นสุข” นั้น เป็นภาวะที่ทำให้คนเป็นโรคดังกล่าว
มีความรู้สึกไม่สบายที่ขา ซึ่งมักเกิดในตอนกลางคืน
เป็นเหตุให้คนไข้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้เหมือนคนปกติเขา
และเนื่องจากเราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เพียงแต่ทราบว่า มีโรคหลายอย่างเกิดร่วมด้วยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ก็ปรากฏว่า มียาหลายตัวที่เราสามารถนำมารักษาได้ผลเป็นที่นาพอใจ


http://www.medicinenet.com/restless_leg_syndrome/page4.htm

Restless leg syndrome: symptoms & Diagnosis

Symptoms:

คนไข้ที่เป็นโรค “ขาไม่ชอบอยู่เป็นสุข”
ต้องมีการคลื่อนไหว เช่น การลุกขึ้นเดินไปมา จึงจะทำให้เขารู้สึกสบายขึ้น
บางครั้งเราจะพบว่า โรคชนิดนี้พบเห็นในสมาชิกของครอบครัว
มีหลายคนมีอาการเช่นเดียวกัน

จากการศึกษาในระยะเร็วๆ นี้ พบว่า โรคนี้มักจะเกิดขึ้นในคนสูงอายุ
นอกเหนือไปจากนี้ คนที่เป็นโรคเส้นเลือดดำโป่งพอง (varicose vein)
มีโอกาสที่จเกิดอาการปวดขาชนิดดังกล่าวได้ด้วย

อาการที่พบเห็นในคนไข้ที่เป็น “ขาอยู่ไม่เป็นสุข (นิ่ง)” ได้แก่:

o ปวดขา Pain)
o กล้ามเนื้อปั้น (cramp)
o ปวดเสียว ซ่า (Tingling๗
o คัน (itch)
o ออกแสบออกร้อน (burning)
o ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (aching)

ลักษณะเฉพาะของคนไข้ที่เป็นโรค "ขาอยู่ไม่เป็นสุข" ส่วนมากจะมีอาการที่แย่ลง
โดยเฉพาะจะเกิดในตอนกลางคืน
เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไข้นอนไม่หลับ (insomnia)
และเป็นธรรมดาของคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เมื่อไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ
จะเป็นเหตุให้คนพวกนี้ เป็นคนขี้หงุดหงิด โมโหง่าย ง่วงเหงาหาวนอน
และมักเป็นคนก้าวร้าว

โรคขาไม่ชอบอยู่นิ่ง จะพัฒนาอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
อาจเกิดขึ้นกับแขนได้อีกด้วย (พบได้แต่ไม่มาก)

How is restless leg syndrome diagnosed?
เราจะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร ?

The National Institute of Health ได้ตั้งเงื่อนไขเอาไว้ว่า
คน ๆ นั้น
จะเป็นโรค “ขาอยู่ไม่เป็นสุข” เขา จะมีต้องมีอาการ 4 อย่างต่อไปนี้:

o มีความอยากอย่างมาก ที่จะต้องขยับขาให้ได้ แต่ก็ไม่เสมอไปหรอก
มันมักจะเกิดขึ้นร่วมกับความไม่สบายของขา ในรายที่เป็นมาก ๆ
คนไข้จะมีอาการอยากจะขยับแขนด้วย
o อาการจะเริ่มเกิดขึ้น หรือ มีอาการเลวลงเมื่อคนไข้อยู่นิ่ง ๆ
หรือเกิดขึ้นขณะนอนพักผ่อน
o อาการปวดขาจะหายเมื่อมีการเคลื่อนไหวขาด้านที่ปวด โดยเฉพาะเมื่อเดิน
o อาการต่างๆ จะเริ่มเกิด หรือเลวลงในตอนเย็น หรือตอนกลางคืน

มีโรคอยู่มากมาย ที่อาจมีลักษณะอาการเหมือนโรคขาไม่อยู่สุข ได้แก่:

o Parkinson’s disease
o Fibromalgia
o Muscle diseases
o โรคไขข้อ (Joint diseases)
o Peripheral neuropathy จากโรคเบาหวาน

ในเด็กเล็กที่มีอาการของโรคปวดขาดังกล่าว มักจะวินิจฉัยผิด
คิดว่าเป็นอาการปวดขามีสาเหตุมาจากเด็กกำลังเจริญเติบโต
แต่แท้จริงไม่ใช่ เขาเป็นโรคปวดขาจาก “ขาอยู่ไม่เป็นสุขนั้นเอง”

Restless leg syndrome (1) Introduction

Restless leg syndrome

เห็นชื่อกลุ่มอาการชนิดนี้ขึ้น ทำให้นึกถึงเพื่อนสมัยเป็นนักเรียน
เพื่อนแกเป็นคนชอบใช้ปากอย่างชนิดไม่ถูกกาลเทศะเอาซะเลย...
คนอื่นเขาจะนอน...มันก็ไม่ยอมให้เพื่อนนอน

เราจึงได้ตัวฉายานามให้เป็น “เจ้าปากไม่อยู่เป็นสุข”
เพราะหากเขาไม่ได้พูด...ดูเหมือนเขาจะใจขาดตายอย่างนั้นแหละ

Retless leg syndrome ก็มีลักษณคล้ายอย่างที่กล่าว
แทนที่ขาจะพักผ่อนในตอนกลางคืน มันกลับต้องมีการขยับ เคลื่อนไหว
เพื่อให้อาการปวดที่บริเวณขาทุเลาลง...

หากเราไม่เข้าใจ เราจะกล่าวหาคนไข้ว่า เขาเป็นโรคประสาท ไป?
เป็นโรคอีกอย่างหนึ่ง ที่ที่ยังความทรมานให้แก่คนไข้ได้อย่างมาก

เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุ และอาการจะเป็นมากขึ้น
เมื่ออายุย่างเข้าวัยชราอาการปวดขา ในกลุ่มอาการ “ขาอยู่เป็นสุข”
จะเกิดมีอาการขึ้นในขณะที่คนไข้อยู่ในเวลาได้พักผ่อน
แต่อาการไม่สบายที่ขา กระตุ้นให้คนไข้เกิดความอยาก ที่จะต้องทำการขยับขา
ด้านที่ปวด หรือลุกขึ้นเดิน..
ซึ่ง เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว อาการที่ปวด จะทุเลาเบาบางลง

จากปรากฎการณ์ดังกล่าว เขาจึงตั้งชื่อให้มันว่า
"ขาอยู่ไม่เป็นสุข" หรือ "Restless leg syndrome"

จัดเป็นโรคประหลาดชนิดหนึ่ง ซึ่งมักจะปรากฏในช่วงหัวค่ำ หรือกลางดึก
ทำให้มีปัญหาต่อการนอนหลับพักผ่อน
เป็นเหตุสำคัญ คนไข้มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย กลายเป็นคนก้าวร้าวไป...


>>Restless leg syndrome: causes

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Neuralgia: Diagnosis & treatment

การวินิจฉัยโรค neuralgia นับเป็นเรื่องยากมาก
และอาจทำให้การวินิจฉัยโรคผิดได้สูงเช่นกัน

การวินิจฉัยโรคดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับการตรวจหาตำแหน่ง ของเส้นประสาทที่ถูกทำลาย (damage) ไป
ด้วยวิธีการกระตุ้นส่วนของประสาทที่ได้รับบาดเจ็บ หรือหาร่องรอยของความรู้สึก
ที่สูญหายไป (missing sensory function) ไป

วิธีการตรวจที่นำมาใช้ในการวินิจฉัยได้แก่ nerve conduction test
เช่นการทำ microneurography
........

Treatment:

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคปวดประสาทจะเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อคนไขไปพบแพทย์
หรือผู้บริการด้านสุขภาพแล้ว
แพทย์จะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดการรักษา โดยคำนึงถึงสาเหตุ ระยะเวลา และความรุนแรงของโรค
โดยมีเป้าหมายของการรักษา มุ่งตรงไปที่บริหารจัดการกับอาการปวด รวมไปถึงการรักษาโรคที่
อยู่เบื้องหลังที่ทำให้เกิด (ถ้ามี) หรือโรคที่มีส่วนร่วมกับการทำให้เกิดอาการปวดประสาท?

การรักษาประกอบด้วย การรักษาด้วยยา (medications) รักษาทางศับยกรรม (surgery)
และการฉีดยาชาเฉพาะที่ และการรักษาทางเลือก

การรักษาที่คนไข้ได้รับ ขึ้นกับสาเหตุ และ (หากรู้) ระยะเวลา และความรุนแรงของอาการ
ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็น ซึ่งแพทย์นำไปพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เป้าหมายของการรักษาโรค อยู่ที่การลดความปวด และรักษาโรคที่อยู่เบื่องหลัง (ถ้ามี)
หรือโรคที่เกิดร่วมกับการเกิดอาการ ถ้าเป็นไปได้
การรักษาประกอบด้วย medications surgery local injection และ การรักษาทางเลือก
เช่น acupuncture, biofeedback, massage

Medications:

ยาที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดประสาท ประกอบด้วย

o Narcotid nalgesics เช่น codeine, fentanyl และ oxycontin
o Antiseizer medications เช่น gabapentin phenytoin cabarmazepine pregablin
o Antidepressant โดยเฉพาะ tricyclic antidepressant เช่น emitriptylline
o Antiviral Medication ( เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัส Herpes zoster เกิดซ้ำขึ้นมาอีก)
o Topical creams containing capsaicin
o ยาที่คนไข้สามารถหาซื้อเองได้(Over-the-counter analgesics) เช่น aspirin acetaminophen หรือ ibuprofen

การรักษาอย่างอื่นที่อาจช่วยให้อาการปวดดีขึ้น เช่น

o Control blood sugar (เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคของเส้นประสาท Neuropathy ในรายที่เป็นโรคเบาหวาน)
o ฉีดยาชาเฉพาะที่ตรงบริเวณที่เส้นประสาทที่เป็นต้นเหตุ เพื่อลดความเจ็บปวด(Local injection of anesthetics)
o Nerve Block
o กายภาพบำบัด (Physical therapy)
o ทำลายเส้นประสาทที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ด้วยคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงใช้(Radiofrequency) ความร้อน (heat) หรือฉีดทำลายด้วยสารเคมี เป็นต้น
o ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอก หรือเส้นเลือดที่กดทับเส้นประสาท Complementary treatment
บางคนมีความประสงค์เลือกการรักษาทางเลือก ร่วมกับการรักษาอย่างอื่น เช่น

o การฝังเข็ม
o การนวด
o โยคะ หรือการปฏิบัติธรรม ดูกายและใจ

นั่นคือการรักษาคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดประสาทอย่างย่อ ๆ

Neuralgia: Peripheral & Central nervous injury

ถ้าเราเข้าใจผลที่เกิดขึ้นจากเส้นประสาท หรือเซลล์ประสาท ที่ได้รับบาดเจ็บ
จะทำให้เราเข้าใจ “กลไก” การเกิดอาการปวดประสาท (neuralgia ) ได้...

Peripheral nerve injury:

เมื่อเส้นประสาทถูกทำลาย
การตอบสนองของเซลล์ประสาทต่อบาดเจ็บ (injury) ที่เกิดขึ้น
สามารถบ่งบอกได้จากความรุนแรงของบาดเจ็บ (severity) ที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท
ซึ่งนาย Seddon ได้ทำการแบ่งการบาดเจ็บของเส้นประสาทเป็น 3 รูปแบบ:

o Neurapraxia เส้นประสาทได้รับบาเจ็บไม่รุนแรง เช่น เป็นแค่ความชอกช้ำจากแรงที่มากระแทก
o Axonotomesis ใยประสาททั้งหมดถูกตัดขาด แต่เยื่อหุ้มของเส้นประสาทยังอยู่ในสภาพเดิม
o Neurotmesis เส้นประสาทถูกตัดขาโดยตลอดทั้งเยื้อหุ้มและใยประสาท

หลังจากเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ จะเกิดคลื่นประสาทในชั่วเวลาสั้น ๆ เรียก“Inury discharge”
กว่ามันจะหายไป กินเวลาหลายนาที
คลื่นประสาทดังกล่าว (injury discharge) จะมีความสัมพันธุ์กับการเกิดอาการปวดประสาท
(neuropathic pain) ซึ่งจะเกิดในเวลาต่อมา

เมื่อเส้นประสาทถูกตัดขาด อะไรเกิดขึ้นกับเส้นประสาทที่ถูกตัดขาด?

ส่วนที่อยู่ด้านไกลออกไปจากรอยตัดขาด (distal segment) จะสลายตัวไป และถูกจัดการโดยเซลล์ที่มีชื่อว่า Schwann”s cells
ส่วนต้นของเส้นประสาท จะหดตัว บวม และรวมตัวเป็นกระจุก ประหนึ่งสายลวดสะปริงที่ถูกตัด
เมื่อเส้นประสาทถูกตัดขาด การทำงานของประสาทหลายอย่างจะหายไป
เช่น งานตรงบริเวณเชื่อมต่อ (synaptic terminal function) การส่งคำสั่งของกระแสประสาท
และ ไม่มีการสร้างสารสื่อประสาทอีกต่อไป

เกิดมีกระบวนการที่เรียกว่า Chromatolysis ภายใน Nucleus ของเซลล์ประสาทของเส้นที่ถูกตัด
เป็นการเตรียมพร้อมให้เส้นประสาท (axon) งอกขึ้นมาใหม่ (regeneration)….
บางรายไมสามารถซ่อมแซมได้เหมือนปกติ ปลายประสาทจะรวมตัวกันเป็นก้อน neuroma ขึ้น
และการซ่อมแซม (regeneration) ของเส้นประสาที่เกิดใหม่ จะต้องเซื่อมประสานกับส่วนที่ทำ
หน้าที่รับความรู้สึก (receptor)ได้เหมือนปกติ

ถ้าหากมันไม่สามารถซ่อมแซมได้...สิ่งที่เกิดขึ้น จะทำให้การทำงานของเซลล์ประสาทตัวที่
เกี่ยวข้องสูญเสียการทำงานไป
และคลื่นประสาท (signals) ที่เกิดขึ้น และส่งไปยังสมอง อาจเป็นคลื่นที่ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวด
ขึ้นก็ได้

Central neuronal injury:

บาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับประสาทสมองส่วนกลาง (central neural system)
เมื่อมีบาดเจ็บเกิดขึ้นที่ประสาทส่วนกลาง สิ่งที่ตามมา คือ มีการเสื่อมสลายตัวของเซลล์ประสาท (neurone)
และเยื้อหุ้มประสาท Myelin sheath) และจะถูกเมล็ดเลือดขาว (macrophage) กำจัดซากของมันไป

ในกรณีเซลล์ประสาทจากส่วนกลางได้รับบาดเจ็บ และตายไป จะถูกแทนที่ด้วยเซลล์ที่เรียกว่า Glial cell
และเป็นเกิดเป็นแผลเป็น (scar) แทนที่เซลล์ประสาท
และแผลเป็นที่เกิดขึ้นนั้น จะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้มีการติดต่อสื่อสารภายในระบบประสาทส่วนกลางได้ตามปกติ

ในกรณีเส้นประสาท trigeminal ได้รับบาดเจ็บ เส้นประสาท และเซลล์- glial cell จะบวมขึ้น
และทำให้ส่วนปลายของแขนงเส้นประสาท (axon) หลุดจากรอยเชื่อมต่อ (synapses) กับเซลล์ประสาท (neurons) ตัวอื่นไป...
เป็นเหตุให้เกิดมีอาการปวดประสาทเกิดขึ้น

นั่นคือต้นเหตุที่ทำให้การส่งคลื่นประสาทผิดเพี้ยนไปจากปกติ
และเชื่อว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาท (neuralgia) ขึ้น

>>

Neuralgia: Classifacation

Cont.

อาการปวดประสาท Neuralgia ซึ่งเรามีโอกาสพบได้ ได้แก่:

Atypical trigeminal neuralgia (ATN)

อาจเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคปวดประสาท ที่เราพบน้อย
และอาจทำให้แพทย์ผู้ทำการรักษาวินิจฉัยผิดได้บ่อยสุดอาการแสดงอาจทำให้หลงเข้าใจผิดว่า
คนไข้เป็นโรคปวดศาษะไมเกรน (migraines), ปัญหาทางช่องปาก เช่น โรคที่เกิดขึ้นกับข้อ temporomandibular joint , เป็นปัญหาของโรคกล้ามเนื้อ , และ hypochodriasis

ATN อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการที่มีความรุนแรงต่างกัน
จากน้อยไปหามากถึงขั้นมีอาการออกแสบออกร้อน (burning)
บางรายมีอาการปวดแสนสาหัส เหมือนกับที่พบในรายที่เป็น trigeminal neuralgia
ที่เกิดตามปกติ

คนไข้ที่เป็น ATN มักจะมีอาการ ปวดหนัก ๆ หรือมีอาการปวดแสบปวดร้อน
ผู้ปวยอาจมีอาการปวดอยู่ตลอดเวลาเหมือนปวดศีรษะไมเกรน
และปวดตามแขนงทั้งสามของประสาท trigeminals ซึ่งหมายถึง อาการปวดฟัน ปวดหู
มีอาการปวดตื้อที่บริเวณช่อง sinuses, ปวดยริเวณแก้ม หน้าผากม กระหมับ กลาม
และบริเวณลูกตา

บางครั้งคนไข้จะมีอาการเหมือนถูกกระตุกด้วยไฟฟ้า
บางครั้งมีอาการปวดร้าวปางด้านหลังของท้ายทอย และต้นคอ
และอาการมักจะเลวลงขณะที่คนไข้พูดจา , เคี้ยวอาหาร หรือถูกของเย็นจัด

อะไรคือสาเหตุที่ททำให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ?
เขาเชื่อว่า เส้นประสาท trigeminal nerve อาจถูกเส้นเลือดกดทับ
หรือ มีการอักเสบของฟัน ของ sinuses ได้รับบาดเจ็บ
หรือเกิดภายหลังไวรัสอักเสบ....

Glosopharyngial neuralgia

Neuralgia หรือการปวดประสาทชนิดนี้ ได้แก่อาการปวดที่บริเวณด้านหลังของคอ
บริเวณโดยรอบต่อมทอลซิล ด้านหลังของโคนลิ้น และหู

อาการปวดที่เกิดขึ้น เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติ (malfunction) ของเส้นประสารทเส้นที 9th
ของ cranial nerve (Glossopharyngeal nerve)
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อภายในคอ (throat)
และส่งข้อมูลจากคอ ลิ้น ต่อมทอลซิล ไปยังสมอง

Glossopharyngeal neuralgia:
เป็นการปวดประสาท ที่พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเกิดในชาย อายุหลัง 40

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ไม่สามารถทราบได้
แต่บางที่....เส้นประสาทเส้นที 9Th อาจถูกกดทับโดยเส้นเลือดตรงบริเวณทางออกจากก้านสมอง
หรืออาจเกิดจากก้อนเนื้องอกในบริเวณสมอง หรือคอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นได้น้อยมาก...

Occipital

Occipital neuralgia เราอาจได้ยินในชื่อ C2 neuralgia หรือ Arnold’s neuralgia
เป็นอีกภาวะหนึ่งที่มีลักษณะของอากาปวดที่บริเวณต้นคอส่วนบน ปวดทางด้านหลังของศาษะ
และหลังลูกตา

อาการที่เกิด เป็นเหตุทำให้คนไข้นอนไม่หลับ ไม่ได้รับการพักอ่อนเพีบพอ

การเข้าใขการเปลี่ยนแปลงในเส้นประสาทหลังจากที่มันได้รับบาดเจ็บ
ทำให้มันไวต่อการกระตุ้น (hyperexcitability) ในระบบประสาทเอง
ซึ่งเป็นต้นตอที่ทำให้เกิดอาการ "ปวดประสาท"ขึ้น

>> Peripheral nerve injury

Topic: Neuralgia : Basics (1)

นี้คือส่วนหนึ่งของบทสนทนา ระหว่างแพทย์ - คนไข้สตรีผู้สูงวัย ...
“คุณหมอขา....อิฉันเป็นโรคอะไรคะ ?”
สตรีวัย 65 ถามคุณหมอหนุ่ม ผู้วางมาตรของผู้คงแก่เรียน
ซึ่งได้ตอบคำถามคนไข้ โดยปราศจากการยั้งคิดว่า...
“โรคประสาท”

พูดเสร็จหมอผู้ตอบ ต้องชะงักลงฉับพลัน
เพราะเจอสายตาของคนไข้จ้องมองหน้าเขม็ง บ่งบอกให้รู้ถึงความไม่พอใจ...
คุณหมอ...ต้องรีบเปลี่ยนคำพูดโดยเร็วว่า
“ผมหมายถึงเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทนะครับ
....เป็นอาการปวดตามเส้นประสาท...”
พูดเสร็จ พร้อมกับความรู้สึกโล่งอก เมื่อสายตาของคนไข้เปลี่ยนไป

Neuralgia
มันเป็นโรคอะไร ?

Neuralgia หมายถึงอาการ “ปวด” ที่เกิดขึ้นในเส้นประสาทหนึ่งเส้น หรือหลายเส้น
ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ตัวรับการกระตุ้น (pain receptor) ไม่ได้รับการกระตุ้นจากตัวกระตุ้นแต่ประการใด
อาการปวดที่เกิดขึ้น เป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงภายในเส้นประสาทเอง มากกว่าที่จะเกิดจากการ
กระตุ้นที่ตัวรับ (nocireceptor) ซึ่งทำให้เกิดความปวดตามปกติ
โดยมีสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเส้นประสาท (damage)หลายประการด้วยกัน เช่น

• สารเคมี (chemicals) ทำให้เกิดการละคายเคืองต่อเส้นประสาท
• การอักเสบ(Inflammation)
• บาดเจ็บ (trauma & surgery)
• ถูกกดทับ (compression) : จากก้อนก้อนเนื้องอก หนอง หรือเส้นเลือด

Neuralgia ถูกแบ่งเป็นสองประเภท central neuralgia และ peripheral neuralgia
การปวดประสาท (neuralgia) แบบนี้ มักจะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุมากว่า 50
บางครั้ง เราเรียกชื่อตามเส้นประสาทที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น trigeminal neuralgia
ซึ่งรู้ในอีกชื่อหนึ่งว่า Tic rouloureux (tig = spasm, rouloureux= painful)
เป็นผลเนื่องมาจากมีรอยโรคเกิดขึ้นที่เส้นประสาทสมองเส้นที่ 5th (trigeminal nerve)
เป็นเส้นประสาทของใบหน้า ทำให้เกิดอาการปวดตามใบหน้าซีกเดียวกัน
พร้อมกับมีอาการปวดที่ริมฝีปาก คาง เหงือก และแก้ม
มีส่วนน้อยที่มีอาการรอบๆ ลูกตา

นอกจากนั้น เรายังพบในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ อาการที่เกิดตามหลังโรคงูสวัส (postherpetic)
เป็นอาการปวดแบบปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาจปรากฏเป็นเวลานานเป็นเดือน หรือเป็นปี

การปวดของใบหน้า (facial pain) อาจเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรค multiple sclerosis
และโรคปวดศีรษะข้างเดียว (migraine)

โรคพวกนี้ ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต

สาเหตุที่ทำให้เกิด:

o ส่วนใหญ่เราไม่ทราบสาเหตุ
o บางรายเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับโดยเส้นเลือด หรือก้อนมะเร็ง
o เป็นโรคเกิดตามหลังการอักเสบจากเชื้อไวรัส- Herpes zoster
o โรค multiple sclerosis สามารถทำให้เกิดโรค neuralgia ในคนทีมีอายุต่ำว่า 50

Pathophysiokogy:

เป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรค หรืออาการปวดตามเส้นประสาทได้
และการรักษาที่แพทย์หยิบยื่นให้แก่คนไข้ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ผล
ในการวินิจฉัย มักจะมุ่งไปที่ การหาตำแหน่งรอยโรคของเส้นประสาทที่ทำให้เกิดอาการขึ้นมา
โดยระบุตำเหน่งที่ไม่มีความรู้สึก หรือที่ไม่มีการเคลี่อนไหว (missing sesory or motor function)
ซึ่งอาจบอกได้ด้วยการตรวจ EMG หรือการทำตรวจการชักนำของคลื่นประสาท (Nerve conduction test)

อาการปวดประสาท เป็นภาวะที่ยากต่อการรักษา เพราะมันไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดตามปกติที่เราเคยใช้กัน
ดังนั้น การรักษาจึงมุ่งไปที่ membrane stabilizing drugs
หรือพวก antidepressants เช่น Cymalga.
นอกจากนั้น ปรากฏว่า ยาที่เราใช้รักษาโรคชัก (antiepileptic medications)
เช่น pregalin tegretol, neurontin ปรากฎว่าได้ผลดี

Neuralgia ถือกันว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการปวดเรื้อรัง (chronic pain)
ซึ่งเป็นภาวะที่ยากแก่การวินิจฉัยเป็นอย่างมาก
บางชนิดก็วินิจฉัยได้ง่าย เพราะเราเป็นภาวการณ์เกิดโรคมาก่อน เช่น การเป็นโรคงูสวัส
มักจะตามด้วยอาการปวดประสาท (postherpetic neuralgia)

สุภาพสตรี มีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวได้มากกว่าชาย
ในคนไข้ที่เป็นโรค multiple sclerosis แล้วเกิดมีอาการปวดเส้นประสาท
ส่วนใหญ่จะได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นกับเส้นประสาท

เนื่องจากโรค neuralgia ไม่สามารถตรวจพบทาง brain scans
ดังนั้น การวินิจฉัยโรคซึ่งขึ้นกับคำบอกเล่าของคนไข้ และการตอบสนองต่อกรรมวิธีการรักษา


>>cont. Classification

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

What are the treament for Pneumococcus & Mycoplasma ?

ได้มีโอกาสเจอคนไข้หลายราย กลับจากต่างประเทศ ได้บอกเล่าว่า
เวลาที่เกิดเป้นไข้ ไม่สบายขึ้นมา โอกาสที่จะได้พบกับแพทย์ยากเหลือเกิน
พบแล้วยังพูดกันคนละภาษา...
เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ.

สิ่งที่สามารถแนะนำได้ คือ เมื่อเรามีโอกาสอยู่ต่างแดน
สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราต้องรู้ว่า ตัวเราเท่านั้น... เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุด นั่นหมายความ
เราจะต้องรักตัวเราให้มาก และต้องรักให้เป็น
ด้วยการรับประทานที่ให้สุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้...ลดอาหารเป็นเภทไขมัน ลดเค็ม ลดหวานจัด
หลีกเลี่ยงจากสิ่งมึนเมาทั้งหลาย ดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (7-8 ชั่วโมง)
หากท่านทำได้ โรคภัยทั้งหลาย มันจะไม่ชอบที่จะอาศัยในร่างของท่านแล้วละ...

เชื้อโรคที่เราอาจไปสัมผัสในต่างแดน มีไม่กี่ตัว ทีพบบ่อย คือ โรคที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ mycoplasma pneuminae และ pneumococcus pneumoniae บางทีเราเรียกว่า pneumococcus
(ซึ่งมักจะพบในเด็กเล็กได้ประมาณ 60 % ของโรคเด็กที่เกิดโรคปอดอักเสบ ที่ได้รับเชื้อจากชุมชน )

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองโรคสามารถเกิดร่วมกันได้
อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และมีอาการไออย่างรุนแรง
ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ หนึ่งอาทิตย์

ยาที่นำมาใช้ในการรักษา คือ ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics):
ปัญหาที่พวกเรามักจะถามกันเสมอ คือ เราจะใช้ยาตัวไหน?

การที่เราจะบอกได้ว่า เชื้อโรคที่ทำให้เกิดปอดอักเสบเป็นตัวไหน ? จะต้องใช้เวลาพอสมควร
ดังนั้น การรักษาในระยะเริ่มต้นของการเกิดโรค ท่านควรได้รับยาที่เป็น broad- spectrum
เป็นยาที่สามารถครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้หลายๆ ตัว
ยกตัวอย่าง หากสงสัยว่า ท่านเป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อ “ไมโคพาสมา” ยาที่ท่านต้องใช้ คือยาราคาถูก ๆ เช่น tetracycline หรือยาราคาแพงขึ้นมาหน่อย คือกลุ่ม macrolides
ซึ่งได้แก่ยา erythromycin และ roxithomycin

หากสงสัยว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อ streptococcus หรือ pneumococcus
ยาที่ท่านจะต้องได้รับ คือพวก penicillins

เมื่อผลจากห้องทดลองออกมา และพบว่า โรคที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากทั้งสองชนิด
ท่านจะต้องได้รับยาที่สามารถฆ่าเชื้อเหล่านั้น
ในการรักษาด้วยยา ท่านจำเป็นต้องรับประทานยาประมาณ 2- 3 อาทิตย์
ซึ่งส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน มีน้อยรายที่จำเป็นต้องให้ทางฉีด

ในปี 1997 จาก Journal antimicrobial chemotherapy
ได้มีการเสนอยากลุม ketolides และ quinolone เช่น
Temafloxacin ,trovafloxacin และ grevafloxacin
โดยกล่าวว่า เป็นยาที่มีผลต่อการรักษาพวกอักเสบที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ ไมโคพลาสมา ได้ดีมาก
นอกจากนั้น ยังใช้รักษาพวกอักเสบที่เกิดจาก pneumoccocus ได้ดีอีกด้วย

นั่นคือยาปฏิชีวนะที่ท่านควรรู้เอาไว้

www.livestrong.com/article/234384-what- are -the -treament-
for- pneumococcus- and -mycoplama

Mycoplasma pneumonia: Symptoms

เมื่อมีปอดอักเสบ จากเชื้อไมโคพลาสมา เกิดขึ้นกับท่าน
ท่านจะรู้ได้อย่างไร?

เราสามารถรู้ได้ โดยสังเกตจากอาการของมันซิ...
การอักเสบของปอดจากเชื้อไมโคพลาสมา ถูกตั้งชื่อว่าเป็น เป็น “walking pneumoania”
หรือเป็น “ atypical pneumonia”

เป็นการอักเสบของปอดที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถเดินไปมา สามารถทำงานได้ตามปกติ
อาการที่เกิดจะดำเนินไปอย่างช้าๆ กินเวลาประมาณ 1 – 3 อาทิตย์
มีลักษณะอาการเหมือนกับเป็นไข้หวัดอย่างหนัก (bad cold)
โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ ชุ่มชนที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด
เช่น โรงเรียน สถานที่กักกันนักโทษ และสถานที่อื่น ๆ ที่มีคนมาก ๆ
เป็นเหตุให้มีการแพร่กระจายโรคได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงทางด้านอายุ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยกว่า 40 และเป็นสูงสุดในช่วง 5 – 20 ปี
เมื่อเกิดการอักเสบของปอดจากเชื้อไมโคพลาสมา พบว่า มีเพียง 5 ถึง 10 %
ที่พัฒนาถึงขั้นอักเสบเต็มที่ (fulled-brown)
คนไข้ส่วนใหญ่จะหายจากโรค โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด
อาการที่เกิดจากการอักเสบของปอด ที่เกิดจากเชื้อตัวนี้ได้แก่:

o ไอแห้งๆ (dry cough)  อาการจะค่อยๆ เลวลงไปเรื่อยๆ  คนที่เป็นโรคจะบอกว่า
เป็นการไอไม่แตก....ทำให้เขาไอตลอดเวลา   บางคนกล่าวว่า  "ไอจนเยี่ยวราด"
นั่นเป็นอาการสำคัญของคนไข้ที่เป็นโรค mycoplasma pneumonia

คนไข้รายใด ไม่มีอาการไอแห้งดังที่กล่าวมา ไม่น่าจะเป็นโรค mycoplasma pneumonia

คนไข้ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการมากในตอนกลางคืน
ทั้งนี้เพราะเวลานอนหงาย จะก่อให้มีน้ำคั่งที่ปอดได้มากกว่าการเดินไปมา
อย่างไรก็ตาม โรคชนิดนี้ ไม่ทำให้คนไข้ต้องล้มหมอนนอนเสื่อ สามารถเดินไปไหนมาไหนได้
คนไข้สามารถทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นเขาจึงตั้งชื่อให้มันว่า Walking Pneumonia

o มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ (Flu-like symptoms and pain)
เช่น  มีไข้ (fever) หนาวสั่น (chill) และปวดเมื่อยตามตัว (malaise)
น้ำมูกไหล (running nose) และ เจ็บคอ (sorethroat)

อาการต่างต่างๆ ที่กล่าวมาจะปรากฏในระยะแรกๆ ของโรค เมื่อโรคพัฒนาไป
คนไข้จะมีอาการไอแห้ง ๆ (dry cough) อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ปวดท้อง ปวดหู และปวดตา
บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะจากน้อยไปหามาก

o อาการอย่างอื่น ๆ
นอกจากอาการที่กล่าวมา คนไข้อาจมีเสียงของลมหายใจ (wheezing) หายใจตื้น และถี่
ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่คนไข้ตกอยู่ในภาวะเหนื่อยเพลีย (fatigue)
และอ่อนแรงจากอาการไอที่ติดต่อกัน

และสุดท้าย คนไข้อาจมีอาการปวดหน้าอกจากเยื้อหุ้มปอดอักเสบ (pleuritic pain)
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นอาการซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคนเป็นโรค mycoplasma pneumonia

www.livestrong.com/article/16113-symptoms-mycoplasma-pneumonia/

What are the characteristics of Mycoplasma?

ศูนย์ควบคุมโรค และการป้องกัน (CDC) ในประเทศสหรัฐฯ
พบว่า ในแต่ละปี จะมีคนไข้ประมาณ สองล้านคน เป็นโรคปอดอักเสบจาก
เชื้อสายพันธุ์ mycoplasma pneumoniae
ในจำนวนนี้จะมีคนไข้ประมาณ 100,000 ที่เกิดการอักเสบดังกล่าว
ซึ่งจำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล

เชื้อ mycoplasma pneumoniae จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อยที่สุด
ที่เกิดขึ้นในคนหนุ่ม-สาว และเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

What are Mycoplasma?
ไมโคพลาสมา จัดเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีทั้งหมด 14 สายพันธุ์
มีเพียง 4 สายพันธุ์เท่านั้น ที่มีความสำคัญทางการแพทย์

o M. pneumonia เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ (pneumonia)
o M. genitalium ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
o M. hominis ทำให้เกิดการอักเสบหลังกำเนิดบุตร (postpartum ever)
o Ureaplasma urealyticum เป็นเชื้อที่พบในครอบครัว
สามารถทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะได้ และการอักเสบของต่อมลูกหมาก

เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ เป็นเชื้อโรคที่ไม่มีผนังห่อหุ้มผนังเซลล์เหมือนเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเขา
ดังนั้นยาปฏิชีวนะทั้งหลาย ที่มีฤทธิ์ทำลายผนังห่อหุ้มเซลล์ จึงไม่สามารถทลายเชื้อโรคตัวนี้ได้
เป็นเชื้อโรคที่มีสาร cholesterol ที่เยื้อ membrane หุ้มเซลล์

How do mycoplasma cause disease ?
เป็นที่รู้กันว่า เชื้อ M. pneumonia จะกระจายจากคนหนึ่งสู่คนได้ โดยผ่านทางระบบหายใจ
ดังนั้น เราจึงพบเห็นการแพร่ระบาดในสถานที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ๆ
เช่น โรงเรียน กองทหาร และอื่น ๆ

ผู้เชี่ยวชาญจากสถานบันทาง microbiogy และ immunolofy..ของมหาวิทยาลับ California
กล่าวว่า เชื้อแบคทีเรียไมโคพลาสมา ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง มีส่วนที่ยื่นออกมาจากตัวเชื้อโรค (tip)
ซึ่งทำด้วยโปรตีน เป็นส่วนที่ทำหน้าที่จับขน(เส้นเล็ก) ที่อยู่บนเซลล์บุผิวของทางเดินหายใจ

ปกติ เซลล์ที่บุผิวของทางเดินหายใจ จะมีขนเส้นเล็ก ๆ ทำหน้าที่ผลักดันสิ่งแปลกปลอมออกจากปอด
เมื่อเชื้อโรคไมโคพลาสมาเข้าสู่ปอด ส่วนที่ยื่นออกมาจะเรียกว่ามือ หรือขาก็แล้วแต่
จะไปจับกับขนที่อยู่บนผิวของเซลล์บุทางเดินลมหายใจ
หลังจากนั้น ขนดังกล่าวจะยุติการทำงานทันที

จากนั้น เชื้อไมโคพลาสมา จะสร้าง Hydrogen peroxide,enzymes,และ superoxide radicals.
ซึ่งสารเหล่านี้ จะทำลาย (damage)เซลล์ที่อยู่บนผิวของทางเดินหายใจ
และทำให้เกิดกระบวนการอักเสบดำเนินต่อไป

ปอดอักเสบ (pneumonia) ที่เกิดจากเชื้อ M. pneumoniaeเป็นการอักเสบของปอดของปอด
ที่เกิดขึ้นจากเชื้อดังกล่าว ถูกเรียกว่า atypical pneumonia
บางคนตั้งชื่อว่า walking pneumonia ซึ่งหมายถึงคนที่เป็นโรคปอดอักเสบชนิดนี้แล้ว
สามารถเดินเหิน และสามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล

อาการของโรค จะดำเนินไปอย่างช้าๆ
เริ่มต้นด้วย อาการไอ ไอจนกระทั้งปวดหู
ท่านอาจมีอาการเจ็บคอ ตามด้วยอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อ

www.livestrong.com/article/16113-symptoms-mycoplasma-pneumonia/

About Mycoplasma

เวลาเราเห็นพวกหมอ หรือพยาบาลเขาไม่สบาย เช่นเป็นไข้เจ็บคอ และไอ...
เขาสามารถทำการรักษาตัวเอง ได้โดยไม่ลำบากอะไรเลย
นั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ใช่เรื่องแปลก

แต่ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะพูดต่อไปนี้ ก็คือ
หมอที่เก่งที่สุด คือตัวคนไข้นั้นเอง
และการที่คนไข้จะเป็นหมอที่เก่งได้....

มันก็เป็นเรื่องไม่ยากเท่าใด....สิ่งท่านต้องทำ คือ เรียน เรียน และเรียนรู้เท่านั้นเอง
โดยเฉพาะเรื่องง่าย ๆ ที่พวกเราเป็นกันบ่อย ๆ
เราเพียงแต่เรียนให้รู้ด้วยการถาม และอ่าน...
โรคนั้นมันคืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? มีอาการอย่างไร? และเขารักษาอย่างไร?

โรคที่เราพบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง คือ “ Mycoplasma”
โรคนี้แต่ก่อน คิดว่าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ต่อมาภายหลัง มันถูกจัดกลุ่มขึ้นใหม่
เป็น “แบคทีเรีย” ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ห่อหุ้ม
เชื้อ “ไมโคพลาสมา” ที่เป็นตัวทำให้เกิดโรคในมนุษย์เรานั้น มีหลายตัวด้วยกัน
รวมทั้ง mycoplasma Pneumonia และ mycoplasma genitalium
ซึ่งทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ (pneumonia)
และโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (urinary tract infections) ตามลำดับ

Characteristics:
เชื้อ “ไมโคพลาสมา” จัดเป็นเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งมีความสามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพา host
(free living organism) แม้ว่า ส่วนใหญ่มันจะเป็นพวก parasitic ก็ตาม
ไมโคพลาสมา เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งมี ขนาด 1/10 ของเชื้อ E. coli

เชื้อ “ไมโคพลาสม่า” จะมีเยื่อ memraneหุ้มเซลล์ที่มีลักษณะพิเศษ
มีโมเลกุลของโปรตีนเป็นพวก sterols เช่น cholesterol ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปได้
ทำให้ยากแก่การตรวจพบ...

Antibiotic Resistance:
ยาปฏิชีวนะทั้งหลายที่เราได้ยินชื่อว่า เช่น Penicillins, cephalosporins และยาตัวอื่นๆ
ทีอยู่ในกลุ่มตระกูล beta lactam
ซึ่ง มีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรคด้วยการทำลายกระบวนการณ์สร้างผนังหุ้มเซลล์ของเชื้อโรค
ก็ในเมื่อเชื้อ “ไมโคพลาสมา” ไม่มีผนังหุ้มเซลล์เลย
ดังนั้น ยากลุ่มดังกล่าวจึงไม่สามารถทำอะไรต่อเชื้อไมโคพลาสมาได้...

Pathophysiology
Pathophysiology หมายถึงการศึกษากลไกการเกิดโรค โดยใช้พื้นฐานความผิดปกติทางสรีรวิทยา
มีเชื้อไมโคพลาสมาบางชนิด สามารถทำให้เกิดการอักเสบในมนุษย์เราได้
โดยเชื้อดังกล่าว จะจับเซลล์บุผิว (erpitherial cells) ของทางเดินหายใจ (respiratory tract)
และทางเดินของน้ำปัสสาวะ และอวัยวะเพศ (urinary and genital tract)

เชื้อโรคตัวนี้จะทำลายร่างกายของเรา ด้วยการปล่อยสารพิษ (hydrogen peroxide)
ออกมาทำลายเซลล์ของเรา โดยผ่านกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกันของเราเอง
(antibody mediated autoimmunity)

Mycoplasma pneumonia:
เชื้อโรคในสายพันธุ์ไมโคพลาสมา ที่สามารถทำให้เกิดโรคในมนุษย์เราได้
คือเชื้อ mycoplasma pheumonia ซึ่งแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายของเราทางการหายใจ
โดยที่เชื้อดังกล่าวมีกระจายอยู่ในอากาศ จากคนเป็นโรค ไอ หรือจามขับเชื้อโรคออกมา
ในรูปของ infected water droplets

เมื่อเชื้อโรคตัวนี้เข้าสู่ร่างกายของเราแล้ว จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 – 3 อาทิตย์
จะเริ่มมีอาการปวดกล้ามเนื้อ (muscle pain) เจ็บคอ (sore throat)
มีอาการไอบ่อย ๆ (persistent cough) มีไข้ (high temperature)
มีเพียงประมาณ 10 % เท่านั้นที่มีโอกาสกลายเป็นโรคปอดอักเสบ (pneumonia)

Mucoplasma Genitalium:
โรคของทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะเพศ ซึ่งเกิดจากเชื้อ mycoplasma genitalium
อาจเกิดจากไมโรพลาสมาสายพันธุ์อื่นได้
เชื้อโรคเหล่านี้ จะแพร่เข้าสู่คนในระหว่างที่มีเพศสัมพันธุ์ ที่ไม่ได้ป้องกันตน
เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอวัยวะเพศ
หรือทำให้เกิดการอักเสบในช่องเชิงกราน และมีอาการคันในช่องคลอดของสตรี

www. Livestrong.com/article/100424-mycoplasma/

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Morgellons Disease

ไม่ว่าเราจะเป็นใคร มีอาชิพอะไร
เรามีสิทธิในการเรียนรู้ทุกเรื่อง...ที่เราต้องการ
โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพแล้ว ยิ่งต้องศึกษาให้มาก
เพราะเราไม่มีทางที่จะทราบได้ว่า มันจะเกิดขึ้นกับเรา คนที่เรารู้รัก
หรือคนที่เรารู้จักเมื่อได?

มีแต่การเรียน เรียน และ เรียนรู้เท่านั้น
เราจึงจะสามารถเอาชนะมันได้ด้วยความปลอดภัย

นี้คือโรคหนึ่ง ทีคนไข้สูงอายุนำมาให้เราพบเห็น ได้ ศึกษา และ แบ่งปัน
“morgellons disease”

มันเป็นโรคอะไร ?

Morgellons disease เป็นโรค หรือความผิดปกติอย่างหนึ่งของผิวหนังของคนเรา
จากการวิจัยของ Morgellon Disease Research เป็นโรคทีพบมานาน
อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Morgellons syndrome
เขาพบโรคนี้นาน กว่า 300 ปีแล้ว โดยไม่สามารถบอกได้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร
แถมยังกล่าวออกมาว่า เป็นโรคประหลาด มีความลึกลับ (mysterious) ซับซ้อน

อาการ (symptoms)

โรค morgellons จะปรากฏด้วยผื่นบนผิวหนัง (rash) และมีอาการเจ็บปวด (sore)
ซึ่งเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันอย่างแสนสาหัส (extremely itching)
นอกเหนือจากอาการ “คัน” ดังกล่าว คนไข้จะมีอาการเหมือนมีแมลง (insects)
คลานหรือมุดอยู่ภายใต้ผิวหนัง มีความรู้สึกเหมือนถูกกัด แถมยังมีความรู้สึกเห็นเป็นเส้นสีดำ
อยู่ในผิวหนัง..พร้อมกันนั้น คนไข้มีอาการเหนื่อยเพลีย สูญเสียความจำ ใจลอย
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีอาการปวดตามข้อต่าง และมีความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาอีกด้วย

Mayo Clinic ยังกล่าวต่อไปอีกว่า โรคตัวนี้มีลักษณะเหมือนกับโรคอีกหลายอย่าง
เช่น Lyme Disease,liver and kidney disease, schizophrenia,
drug หรือ alcohol abuse และ delusional parasitosis
ซึ่งมันจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ผิดๆ ว่า ตนเองถูกรบกวนจากโรคพยาธิที่มีอยู่ภายตัวของเขา

จากสถิติของสหรัฐฯ กล่าวว่า โรคชนิดนี้ สามารถพบได้ในทุกรัฐฯ และพบได้ทั่วโลก...

Controversy:

ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแตกต่างกันไป
แพทย์บางคนเห็นว่า โรค Morgellons มันเป็นโรค ๆ หนึ่ง
ซึ่งควรได้รับการศึกษาวิจัยกันต่อไป
บางท่านมีความเห็นว่า อาการ และอาการแสดงต่าง ๆ ที่ปรากฏ
มันเป็นอาการของโรคอื่น ๆ เช่น โรคทางจิตประสาท
(psychological disorders)

Mayo Clinic เจ้าตำรับก็ยอมรับว่า แพทย์ที่พบเห็นคนไข้ที่มีอาการอย่างนี้
จะไม่ยอมรับว่า
คนไข้เป็นโรค Morgellon จนกว่า เราจะมีข้อมูลมากกว่านี้

มีการกล่าวว่า อาการแสดงต่าง ๆ ของคนไข้ ที่คนไข้พยายามบอกให้แพทย์ได้รับรู้นั้น
บางครั้งจะถูกเพิกเฉย ไม่รายงานทั้งหมด แล้วตัดสินด้วยอคติว่า
สิ่งที่คนไข้รายงานต่อแพทย์เป็นความรู้สึกที่หลอกหลอนคนไข้เอง
หรือไม่ก็กล่าวหาว่า คนไข้สร้างเรื่องขึ้นทั้งนั้น

แต่แพทย์จาก Mayo Clinc กลับอ้างว่า การทีเขาวินิจฉัยว่า
คนไข้เป็นโรค Morgellons disease
เนื่องจากอาการแสดงของคนไข้เอง ไม่สามารถที่จะเข้ากับโรคใด ๆ ได้ นั่นเอง

Coping

เราจะจัดการกับโรคนี้กันอย่าไร ?

ต้องยอมรับว่า โรค Morgellons เป็นโรคที่ยากต่อการรักษา
จะไม่ยากได้อย่างไรละ...ในเมื่อเรามีข้อมูลเกี่ยวกับมันน้อยเหลือเกิน
แม้ว่าจะมีความเห็นขัดแย้งในเรื่องโรคดังกล่าวก็ตาม
แต่แพทย์ควรให้การรักษาคนไข้ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใช้ตัดสินใจตามความรู้สึกของเรา

การรักษาจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เราพบคนไข้
ควรรับฟังคนไข้ที่เขาบอกอาการ ด้วยความอดทน เปิดใจให้กว้าง
ขณะเดียวกัน อย่าได้ละเลยที่จะมองหาสาเหตุของโรคที่อาจเป็นได้
ตลอดรวมถึงติดตามข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรค Morgellons ให้มากที่สุด
ซึ่งเราอาจพบอะไรบางอย่าง ที่เราสามารถนำช่วยเหลือคนไข้ได้ดีขึ้น

Center for Disease Control (CDC)

Center for Disaease Control (CDC) รายงานว่า
เขาไม่สามารถทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ และจากการที่มีคนไข้
ที่มีอาการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการศึกษาต่อไป
เพื่อเรียนรู้ที่จะเข้าใจโรคที่ไม่สามารถอธิบายได้กัน
เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกลาว ยังมีจำกัด
CDC ไม่แนะนำ หรือสนับสนุนการรักษาใดๆ ในการรักษา
โรคนี้เป็นการเฉพาะ....

นั่นคือเรื่องราวเกี่ยวกับ โรค Morgellons

www. Livesstrong.com/article/106191-morgellon-disease/

Seventh age Itch

โรคคันที่เกิดขึ้นในช่วงอายุ 7th รอบ
Shakespeare รู้ว่า ความคมชัดของรู้สึกของคนสูงอายุในสมัยหนุ่ม ได้หายไปนั้น
เป็นเครื่องบ่งบอก (hallmarks) ให้คนเราได้ทราบว่า คนเราได้แก่แล้วนะ
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มีสิ่งหนึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลง หรืออ่อนแรงลงแม้แต่น้อย
นั่นคือ อาการคันของคนสูงอายุ ดูเหมือนจะสวนทางกับความชราภาพไปซะนี่

คำว่า Pruritus หรือ Itch เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ มันหมายถึง อาการคันนั่นเอง
เราจะใช้คำๆ นี้เมื่อ คนไข้มีอาการคันเกิดขึ้น
โดยไม่มีโรคผิวหนัง (primary disease) ปรากฏให้เห็น
แต่ คนสูงอายุส่วนใหญ่ เขามองไม่ค่อยเห็นผิวหนังของเขาเท่าไหร่หรอก เพราะสายตาไม่ค่อยจะดี

และการที่จะบอกว่า คนสูงอายุไม่มีโรคผิวหนังในขณะที่กำลังมีอาการคัน
บางครั้งก็ยากที่จะบอกได้ทั้งนี้เป็นเพราะ ผิวหนังของคนสูงอายุจะเต็มไปด้วยรอยเกา (scatches)

คำว่า Prurigo ก็เป็นอีกคำหนึ่งซึ่งไม่สามารถบ่งบอกความเจาะจงล'ไปได้ (ill-defined)
ซึ่งหมายถึงผิวหนังที่มีรอยแตกจากการเกา

ส่วนคำว่า lichenification หมายถึงหนังที่หนา เหมือนกับแผ่นหนัง Morocco
ซึ่งเกิดจากการเกา หรือขัดถูกบ่อย ๆ

ถึงกระนั้นก็ตาม คนไข้ที่มาด้วยอาการคันที่ผิวหนัง ได้ทำการตรวจอย่างละเอียดแล้วก็ตาม
มีบางคน ที่มีอาการคันตามตัว ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติใด ๆ ทางผิวหนังแม้แต่น้อย

จากสถิติพบว่า คนไข้ที่มีอาการคันที่ผิวหนัง จะพบโรคที่เกี่ยวกับระบบร่างกายทั้งหมด (systemic)
ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการคันตามผิวหนังได้ในระหว่าง 16 % ถึง 50 %
สาเหตุที่ตรวจพบได้นั้น ได้แก่โรคต่อไปนี้

o Obstrucitve jaundice
o Chronic renal failure
o Pregnancy
o Thyroid disease s
o Lymphoma
o Carcinomatosis
o Iron deficiency
o Intestinal parasites
o Diabetes
o Polycythaemhia
o Haemochromatosis
o Brain tumor (especially those infiltrating thel floor offourth ventricle)
o Drugs such ad cocaine, morphine and choloroquine

ในการวินิจฉัยโรค แพทย์จำเป็นต้องอาศัยประวัติของของคนไข้
และตามด้วยการตรวจร่างกาย
หากผลจากการตรวจร่างกาย ไม่สามารถพบโรคดังที่กล่าวมา
แพทย์จำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ และอื่น ๆ เพื่อยืนยันว่า
คนไข้ไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคไต โรคตับ และโรคพยาธินำไส้
รวมไปถึงการตรวจทางาเอกซเรย์

หากผลจากการตรวจดังกล่าว ไม่พบอะไรเลย และคนไข้ไม่เป็นโรค xerosis (ผิวหนังแห้ง)
การวินิจฉัยของบโรค น่าจะเป็นโรค idiopathic prurisis ที่เกิดในคนสูงอายุแล้วละ
และคงต้องยอมรับว่า โรคดังกล่าวน่าจะเป็นอีกโรคหนึ่ง
โดยที่ บางทีอาจมีส่วนสัมพันธ์ระหว่าง อายุที่แก่มากขึ้น กับมีการเสื่อมของปลายประสาท
(peripheral nerve endings)
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันในคนสูงอายุขึ้น

นั้นคือเรื่องราวเกี่ยวกับ Seventh age itch
ซึ่งมีอีกชื่อที่ควรทราบ คือ Willan’s itch

www.ncbi.nlm.nih.gov./pmc/articles/pmc1416725/pdf/.......

Topic: Itch in elderly: Introduction (1)

Itch….คัน ใครว่าไม่สำคัญ
วันหนึ่ง ๆ มีคนไข้สูงอายุมาพบแพทย์ด้วยอาการคันตามผิวหนัง
บางรายรายเห็นรอยผื่นบนผิวหนัง....นั่นไม่เป็นปัญหาในด้านการวินิจฉัย
แต่ที่เป็นปัญหา คือรายที่เป็นทั้งตัว จากหัวจรดเท้า
แต่ไม่มีรอยผื่นปรากฏให้เห็นนี่ซิแปลก ?
จะบอกว่า คันเพราะผิวหนังแห้งของคนแก่นะ....
อาจจะถูก....หรืออาจจะไม่ถูกก็ได้

ก่อนที่เราจะพูดถึงโรคคันของคนสูงอายุ
ลองมาดูซิว่า-
เวลาที่ท่านเกิดมีอาการ “คัน” ขึ้นมา...มันมีอะไรเกิดขึ้นภายใต้ผิวหนังของท่าน
ให้ท่านมองดูมันประหนึ่งว่า ท่านกำลังปฏิบัติธรรม
เจริญสติปัฐถาน ดูลมหายใจเข้าออกตามที่เป็นจริง...

ตัวคนเราจะถูกคลุมด้วยผิวหนัง มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางฟุต หรือ 2 ตารางเมตร
และผิวหนังของคนเราจะถูกละคาย (irritated) จากสิ่งที่อยู่นอกร่างกายอยู่ตลอดเวลา
มีหลายอย่างที่มาสัมผัสกับผิวหนังของเรา และอาจมีหนึ่ง หรือสองอย่าง
ที่จะทำให้เราเกิดมีความรู้สึกคันขึ้นที่ผิวหนัง

เราจะไม่พูดถึงอาการคันอย่างรุนแรง จาก อาการแพ้ (allergy) คันจากโรค
คันจากอารมณ์ หรือคันจากการอักเสบ
แต่เราจะพูดกลไกที่ทำให้เกิดอาการคันขึ้น ทีเกิดขึ้นกับเราทุก ๆ วันนั้น มันเป็นอย่างไร?

คัน (itching) บางทีเราพูดว่า pruritus
มันจะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อมีอะไรบางอย่างนอกกาย มากระทบ และกระตุ้นร่างกายเข้า
เช่น ตัวหมัด ฝุ่นละออง ใยของเสื้อผ้า และเส้นผม และ...

อาการคัน (itching) เป็นกลไกภายใน... ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันร่างกาย
ส่งสัญญาณให้สมองได้ทราบว่า มีบางอย่างกำลังรุกล้ำกายของเรา
ในกรณีดังกล่าว อาจเป็นแมลงกัดเอาก็ได้

เมื่อมีตัวกระตุ้น (stimuli) จะเป็นอะไรก็ตาม
ในระยะแรก มันอาจไม่รบกวนตัวท่านแต่อย่างใด แต่ภายหลังจากตัวกระตุ้นอันนั้นมันเสียดสี
ผิวหนังของท่าน ยกตัวอย่าง เช่น ขน หรือฝุ่นละออง ที่สัมผัสผิวหนังของท่าน
เมื่อมันเสียดสีไปมา (scatches) ประสาทรับความรู้สึก (receptors) ที่อยู่ในผิวหนัง (dermis)
จะถูกละคายเคือง (irritated)
และภายในเสี้ยวของวินาที มันจะส่งคลื่นประสาท (signals) ไปตามเส้นใยประสาท
เดินทางสู่ไขประสาทสันหลัง เคลื่อนสู่สมองส่วนที่เรียก cerebral cortex

และใยประสาท( fiber)ใยเดียวกันนี้แหละ (unmyelinated C fibers)
ทำหน้าที่นำความรู้สึกเกี่ยวกับอาการปวด (pain)เข้าสู่สมองด้วย
ความรู้สึกทั้งสองที่กล่าว จะมีการตอบสนองที่ต่างกัน
การตอบสนองต่ออาการปวด จะเป็นแบบถอยหนี (withdrawal)
ส่วนอาการคัน จะตอบสนองด้วยการเกา (scatching)

เมื่อเรารู้สึกคันขึ้นมา การตอบสนองอันแรกที่เกิดขึ้น คือ “เกา” ตรงตำแหน่งที่คันด้วยเล็บของเราทันที
เป็นการตอบสนองง่ายๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อขจัดเอาสิ่งที่ทำให้เกิดอาการคันออกไป
เมื่อคุณ "เกา"ตรงบริเวณที่คัน คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการคันทันที
ไม่ว่าสิ่งที่ทำหคันถูกขจัดออกไปหรือไม่

สมมุติว่า มันยังคงอยู่ที่เดิม แต่ท่านจะไม่คันอีกต่อไป
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะคลื่น (signal) ที่ส่งไปยังสมอง ถูกแทนที่ด้วยคลื่น( signal)ใหม่
ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากการเกา (scatches)เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับอาการปวด(pain)

ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะ สิ่งที่ทำให้เกิดอาการคัน เช่น ฝุ่นละออง มีขนาดเล็กมาก (ขนาดไม่กี่ไมครอน)
ละคายปลายประสาทรับความรู้สึก (receptors) จำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเกา
ซึ่งกินเนื้อที่เป็นบริเวณที่กว้างกว่าหลายพันเท่า และการเกาจะกระตุ้นความรู้สึกเจ็บปวด (pain)ขึ้น
และคลื่นที่ส่งไปยังสมองด้วยความรู้สึกที่เกิดจากการเกา (scatches) ย่อมมีมากว่าคลื่นที่ส่งจากอาการคัน...
เป็นเหตุให้สมองไม่รับรู้เกี่ยวกับอาการคันต่อไป

นั่นคือปรากฏการณ์อาการคันที่เกิดขึ้นตามปกติ

>>Seventh age itch

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Prostatic Cancer : status post treament


จะมีชายสูงวัยสักกี่คน  ที่ย่อมรับความเสี่ยงต่อการ “เกิดผลอันไม่พึงประสงค์” 
อันอาจเกิดขึ้น  หลังการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทิ้ง
ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด...

แต่ที่รู้แน่ ๆ  คือกลัวการผ่าตัดกันทุกคน

ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก  ความจริงมีว่า   จะมีผลอันไม่พึงประสงค์บางอย่างเกิดขึ้น 
กว่าจะหายก็กินเวลานาน  หรือไม่หายเลย
ปัญหาที่เราพบเสมอ ๆ ได้แก่  การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ (incontinence) 
ปัญหาเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ (erectile dysfunction) 
และไร้ความสามารถที่ผลิตลูกได้ (infertility)
Incontinence:
Incontinence  หมายถึงการที่เราไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ 
มันสามารถเกิดขึ้นได้  โดยกระเพาะปัสสาวะได้รับบาดเจ็บ (damage) ในระหว่างการผ่าตัด 
ซึ่งอาจเป็นกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเอง  หรือ เส้นประสาทของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ 
หรือทั้งสองอย่าง
ท่านอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาท่านจาม  ไอ หัวเราะ  หรือออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
บางครั้งปัสสาวะไหลออกมาเอง
เมื่อกระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะเต็ม 
หรือเกิดอาการปวดปัสสาวะ  ไหลออกมาอง  โดยท่านไม่สามารถควบคุมได้เลย
หลังการผ่าตัด  ท่านจะสังเกตเห็นอาการดังกล่าวทันที 
เมื่อร่างกายของท่านฟื้นตัว  อาการดังกล่าวอาจฟื้นตัวสู่สภาพปกติได้
บางรายไม่ฟื้น  ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนเดิม
เรามีวิธีสำหรับแก้อาการดังกล่าว 
ด้วยกรรมวิธี Kegel maneuver หรือวิธี ขมีบอย่างมีศิลป์ (ที่ผู้เขียนเคยเล่าให้ฟังมาก่อนแล้ว)
ส่วนมาก  จะใช้เวลา 6 เดือนฟื้นตัว
Electile Dtsfusfunction (ED):
ED เป้นภาวะที่ใคร ๆ ต่างกลัวกัน  สามารถเกิดตามหลังการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด และการฉายแสง
เป็นภาวะที่ทำให้อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว
เป็นผลจากการที่ได้รับบาดเจ็บ long lasting damage
เป็นเรื่องปกติที่แพทย์เขาจะติดตามผลการฟื้นตัว  ซึงต้องใช้เวลานานก่อนที่จะพิจารณาช่วยเหลือกันต่อไป
เท่านที่เห็น...บางรายไม่มีอะไรดีขึ้น  คนไข้ต้องทำใจ  รับผลที่เกิดขึ้น 
เหมือนกับจำเลยถูกท่าน...พิจารณาตัดสินคดีความนั่นแหละ...
หลังการผ่าตัด  โดยทั่วไปฟื้นตัวภายในเวลา 2- 3 ปี
ประมาณ 10- 60 % จฟิ้นตัวได้บางส่วน
Infertility:
การรักษามะเร็งของต่อมลูกหมาก  ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด  มักลงเองด้วยปัญหาที่ไม่สามารถมีบุตรได้
ฉะนั้น  ในกรณีที่ท่านต้องการมีบุตร  ท่านต้องปรึกษาแพทย์เตรียมพร้อมก่อนการรักษา 
เช่น  เก็บรักษาสะเปิร์มเอาไว้เมื่อท่านต้องการมีบุตร (sperm banking-freezing spern for use in the future)

นั่นคือผลอันไมีพึงประสงค์  ซึ่งสามารถเกิดตามหลังการรักษได้

Prostatic Cancer: Treatment (5)


อาวุธของคนเล่นกอล์ฟ  มีไว้เพื่อจัดการกับลูกกอล์ฟ ให้ลงหลุม...มี 14 ชิ้น
ส่วนอาวุธของแพทย์ที่มีไว้เพื่อการรักษาโรคงมะเร็ง ก็มีสามวิธีใหญ่ ๆ
เป็นสามวิธีหลัก  ที่เราใช้ในการรักษาคนไข้จนกระทั้งปัจจุบัน 
นั่นคือ  การผ่าตัด (sugery)  การรักษาด้วยรังสี (radiation) และ เคมีบำบัด (chemotherapy)
สำหรับการรักษาอย่างอื่น ๆ   อาจจำเป็นต้องนำมาใช้ในบางราย   เช่น
 
การรักษาด้วยฮอร์โมน 
การบำบัดทางชีวะ (Biological therapy) 
และการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplant)

ในการรักษามะเร็งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญทาวเนื้องอกโดยเฉพาะ (oncologists) 
ซึ่งบางท่านชำนาญในทางศัลยกรรม  บางท่านชำนาญทางเอกซเรย์  และบางท่านชำนาญทางยา
ท่านเหล่านี้  มีหน้าที่วางแผนการณ์  ตัดสินใจในการรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็ง
การรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็ง  เป็นการรักษาคนไข้เป็นราย ๆ ไป โดยอยู่บนพื้นฐานของคนไข้รายนั้น ๆ เองว่า 
มะเร็งที่เกิดขึ้นกับเขานั้น  เป็น

§  มะเร็งชนิดใด (type of cacer)
§  รูปลักษณ์ของมะเร็ง (cancer’s  characteristics)
§  ระยะของมะเร็งมันพัฒนาไปถึงใหนแล้ว (stage f cancer)      และ
§  สถานการณ์ของตัวคนไข้เอง  รวมถึงความต้องการของเขาด้วย (personal situation and wish)

ขอให้ทราบไว้เถิดว่า  บางครั้งคนไข้ที่เป็นมะเร็งเหมือนกัน  อาจได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน
เป้าหมายของการรักษา
(Treatment goals)
แพทย์ผู้ให้การรักษามะเร็ง  เขาอาจมีเหตุผลมากมาย  ซึ่งจะทำให้เราที่ไม่รู้เรื่องงุนงงกับการตัดสินใจของเขา 
ซึ่งบางครั้ง  เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า  เป้าหมายของการรักษาของเขาจะเปลี่ยนไป...
ไม่มีคำว่าตายตัว 
นั่นแหละคือ ความมีชีวิตชีวาของการรักษาละ...
เป้าหมาของการรักษาได้แก่:

§  การป้องกัน (prevention)   การรักษาที่ให้ไปนั้น  เป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญขึ้น 
หรือกำจัดเนื้อเยื้อที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็ง (precancerous…)  ออกทิ้งไป
§  รักษาให้หายขาด (cure)-  เป็นการรักษาหลัก  หวังให้ผลการรักษานั้น  ทำใหดรคหายขาด
§  ควบคุม (control)- การรักษาที่ให้ไปนั้น  เป็นการหยุดยั้งเซลล์มะเร็งจาก  การเจริญขึ้น 
และไม่ให้มีการแพร่กระจาย  นอกนั้น  ยังลดอัตราเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของแซลล์มะเร็งอีกด้วย (recurring)
§  บรรเทาอาการของคนไข้ (palliation)- เมื่อเราไม่สามารถรักษาโรดหายขาดได้ 
การรักษาที่เราจะให้ได้ คือ
-ทำให้มะเร็งหดเล็กลงได้ชั่วขณะ
-ลดอาการต่าง ๆ ลง เช่น เลือดออก  เจ็บปวด  และอาการที่เกิดจากการกดทับ
-แก้ปัญหาที่เกิดจากมะเร็ง  หรือที่เกิดจากการรักษา  สุดท้าย
-ช่วยทำให้คนไข้อยู่กับโรคอย่างมีความสุข (อยู่ได้อย่างสบาย  ไม่ทรมาน)
พร้อมกับทำให้คุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้น

แผนการรักษา
(Treament plans)

อย่างที่กล่าว  การรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งนั้น  จำเป็นต้องขึ้นกับตัวคนไข้เป็นหลัก
มีบ่อยครั้ง  ที่พบว่า ในการรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งนั้น  เราใช้เพียงวิธีเดียวเท่านั้นก็เพียงพอ 
และการรักษาวีดังกล่าวเรียกว่า “การรักษาแบบปฐมภูมิ” หรือ primary treatment
ส่วนรายอื่น ๆ   การรักษาเพียงอย่างเดียว  ไม่เพียงพอเสียแล้ว 
เราต้องให้การอย่างอื่นๆ  เพิ่มเข้าไป  จึงจะทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น 
และสามารถควบคุมมะเร็งได้

§  Neoadjuvant-  การรักษาชนิดนี้  ได้แก่  “เคมีบำบัก”  และ “การฉายแสงรัสี” 
เราจะให้ก่อนที่การรักษาหลัก (primary treatment) จะเริ่มขึ้น  เป็นการทำให้ก้อนมะเร็งหดเล็กลง 
ทำให้ง่ายต่อการผ่าตัด  ซึ่งจะกระทำขึ้นในภายหลังจากการทีได้รับการรักษาด้วยวีดังกล่าวแล้ว
§  Adjuvant-  เป็นการรักษที่เราให้ภายหลังจากการรักษาหลักได้กระทำไปแล้ว 
โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการรักษนั้นประสบผลดี  เป็นการทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือ
หรือป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดซ้ำขึ้นมาได้

เมื่อเราพูดถึงการรักษาแล้ว  เราอาจแบ่งการรักษาอย่างกว่างได้ ดังนี้:

Local therapy:
Local therapy  เป็นการรักษาที่มุ่งไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นการเฉพาะ 
และมักจะใช้ในกรณีที่มะเร็งมีจำกัดตัวของเองอยู่ในบริเวณนั้น  ไม่ได้แพร่กระจายไปที่อื่น
การรักษาชนิดนี้ได้แก่  “การผ่าตัด”  และ  “การฉายแสงรังสีเพื่อการรักษา”
ทั้งสองวิธีที่กล่าวมา  ต่างเป็นการรักษาเฉพาะที่ด้วยกันทั้งนั้น

Systemic Therapy:
เป็นการรักษาเกี่ยวกบร่างกายทั้งร่าง  โดยยาที่ให้เพื่อการรักษานั้น 
จะเดินทางไปตามกระแสเลือดบรรลุถึงเซลล์มะเร็งได้  โดยที่มะเร็งนั้นจะอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
ยาที่ใช้ในเคมีบำบัด (chemotherapy) จำนวนมากที่แพทย์ใช้  ต่างเป็น systemic therapy  ทั้งนั้น 
ซึ่งยาจะถูกดูดซับโดยเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
การรักษาแบบนี้  ส่วนใหญ่เราใช้ในกรณีที่มะเร็งได้กระจายไปทั่วตัว (several parts of the body) 
และใช้เพื่อลดโอกาสไม่ให้มะเร็งย้อนกลับมาอีก
Targeted therapy:
เป็นการรักษาที่น่าสนใจอีกวีหนึ่ง  เป็นการักษาที่มุ่งเป้าไปที่ตัวเซลล์มะเร็งโดยตรง 
โดยไม่ไปกระทบกระเทือนต่อเซลล์ปกติแต่ประการใด
การรักษาแบบมุ่งเป้า  มีการใช้สารทางชีวิเคมี (biological agent)  ซึ่งสามารถจัดการกับเซลล์มะเร็ง

ผลอันไม่พึงประสงค์จากการรักษา
(Side effects of treatment)
หลายท่านอาจไม่ทราบว่า การรักษาทุกชนิดที่เราให้แก่คนไข้ 
ต่างมีผลอันไม่พึงประสงค์ได้ทั้งนั้นในการรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งก็เป็นเช่นเดียวกัน 
ผลข้างเคียงสามารถเกิดขึ้นกับการรักษาทุกชนิด  ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบใด  ชนิดใด 
การแพ้ของแต่ละคน  ไม่เหมือนกัน  บางคนเกิดอาการแพ้ในระหว่างให้การรักษา 
อีกคนจะเกิดอาการแพ้หลังการรักษา
อาการแพ้อาจหายไปอย่างรวดเร็ว   หรือคงสภาพของอาการแพ้ยาเป็นเวลานานได้
อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งได้พัฒนาไปเรื่อยๆ  มีวิธีการหลายอย่างที่เรามี 
 และนำมาใช้จัดการกับอาการแพ้ หรือผลอันไม่พึงปราถนาได้ดี  ตลอดรวมไปถึงการทำให้
คุณภาพชีวิตของคนไข้ที่เป็นมะเร็งดีขึ้น