วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

Valvular Heart Disease: Guideline (continued

GOALS FOR RISK FACTOR MANAGEMENT



เป้าหมายสำหรับการจัดการกับปัจจัยเสี่ยง:

 Hypertension
 Excess body weight
 C holesterol level

Hypertesnion ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจบางชนิด
ดังนั้น การจัดการกับปัจจัยดังล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการลดปัจจัยเสี่ยงลง
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลาย ๆ อย่าง
เช่น ลดระดับความดันลงสู่ระดับ 120/80 mm Hg,
ลดน้ำหนักตัว (ถ้าน้ำหนักเกิน),
รับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
รวมถึงลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว และ ไขมันทรานซ์
และ ลดอาหารที่มีรสเค็ม
(วันหนึ่งไม่ควรเกิน 2.4 กรัม)

ความดันโลหิตในขณะพักผ่อน จะต้องมีรดับต่ำกว่า 140/90 mm Hg
สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน และเป็นโรคไต
จะต้องให้ระดับความดันลดต่ำกว่า 130/80 mm Hg.
คนไข้ส่วนใหญ่ทีเป็นโรคความดันโลหิตสูง มักจะได้รับยาสองชนิด หรือ มากกว่า
เพื่อควบคุมให้ระดับความดันลดลงได้ตามเป้าหมาย

Excess weight: การปล่อยให้มีน้ำหนักเกิน หรือ ปล่อยให้ตัวเองอ้วน
จะเป็นการเพิ่มงานให้หัวใจทำงานมากเกิน
ยิ่งคนไข้มีโรคลิ้นหัวใจด้วย ยิ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นไปอีก
ดังนั้น จึงเป็นการดีที่เราจะต้องคงสภาพ body mass index
ให้อยู่ระหว่าง 18.5 และ 24.9 kg/sq.meter,
รอบเอวควรต่ำกว่า 35 นิ้ว สำหรับหญิง, และ 40 นิ้ว สำหรับผู้ชาย
ถ้าเมื่อใดที่พบว่า รอบเอวสูงกว่าระดับที่กล่าว
ท่านจะต้องทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันที

Cholesterol level: ท่านจะต้องรักษาระดับไขมัน cholesterol
และ ระดับนำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และ จะเนผลดีสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจแล้ว

DRUG THERAPIES การรักษาด้วยยา มีประเด็นที่เราควรควรรู้ดังนี้:
1. คนที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ อาจได้รับยารักษาจากแพทย์ หลายขนาน
เพื่อทำการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว, ลดความดันโลหิตสูง, ลดระดับไข
มัน และยา เพื่อ ใช้รักษาเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ (anti-arrhythmic.)

2. มียาหลายตัว ที่ใช้ลดระดับความดัน โลหิตสูง
ซึ่งในอดีตได้รับการแนะนำให้ใช้ ในคนไข้ที่เป็นโรค aortic regurgitation
ที่มีระดับความรุนแรงสูง โดยที่คนไข้รายนั้น มีระดับความดันอยู่ในระดับปกติ...
ในกรณีอย่างนี้ มีคนไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า
การรักษาด้วยยาดังกล่าว ไม่มีประโยชน์ต่อการวิธีดังกล่าว

คนที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ หรือ มีความบกพร่องในตัวลิ้นหัวใจหลายชนิด
มีโอกาสเกิดมีก้อนเลือดขึ้น ดังนั้น แพทย์จึงแนะนำให้ใช้ยาที่
ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด (blood thinner) แก่คนไข้
นอกจากนั้น ในคนไข้ทุกรายที่ได้รับการผ่าตัดรักษาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ
เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือเส้นเลือด มักจะได้รับยาประเภทนี้

3. ในสมัยก่อน คนที่เป็นรคลิ้นหัวใจ เมื่อจำต้องผ่านการรักษาทางฟัน
จะได้รับคำแนะนำให้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการเกิดอักเสบของลิ้นหัวใจ (endocarditis)
แต่ในปัจจุบัน คำแนะนำดังกล่าวได้เปลี่ยนไป และมีคนไข้จำนวนน้อย
มากที่จำเป็นต้องได้รับ prophylactic antibiotics

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีเท่านั้น ที่จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อป้องกันการอักเสบ
นั้นคือ คนไข้ที่จำป็นต้องได้รับ ลิ้นหัวใจเทียม, มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจแต่กำเนิด ,
และ ในรายที่เคยเกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจมาก่อน

ในกรณีที่ท่านเป็นโรคลิ้นหัวใจ และท่านไม่แน่ใจว่า ก่อนไปทำฟัน ควรได้รับ
ยาปฏิชีวนะหรือไม่...ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่าน

OTHER CONSIDERATIONS
โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นโรคที่ไม่ทำให้คนอายุของคนไข้สั้นลงเลย
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาอาจเลวลง และอาจจำเป็นต้องได้รับยารักษาเพิ่มขึ้น
เช่น เมื่อท่านได้รับการซ่อมแซมลิ้นหัวใจ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ท่านอาจได้รับยาต่อไป และ ต้องได้รับการตรวจเช็คเป็นระยะตลอดไปอีกด้วย

Technical considerations
เมื่อท่านเป็นโรคลิ้นหัวใจ และแพทย์บอกว่า ท่านต้องได้รับการรักษา
สิ่งทีทท่านควรรู้:

1. การรักษาโรคลิ้นหัวใจ ด้วยวิธีการซ่อมแซม หรือผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซึ่งมักจะทำเมื่อ โรคลิ้นหัวใจมีความรุ้นแรง หรือมีความเสี่ยงต่อการถุกทำงาย
ไม่ว่า ท่านจะได้รับการรักษาด้วยวิธีใด มีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน
ว่าจะเลือกวิการรักษาใด เช่น อายุของคนไข้ และ สุขภาพโดยรวม

2. มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ที่โรคลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้นนั้น ไม่อยู่ในสามารถซ่อมแซมได้
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ก็เป็นทางเลือกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป้นไปได้ แพทย์ชอบที่จะทำการซ่อมแซมมากกว่าใส่ลิ้นหัวใจเทียม
ยกตัวอย่าง คนไข้ที่เป็นโรค mitral regurgitation การรักษาด้วยการซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
จะได้รับผลดีกว่า การผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจ (replacement)

3. ในรายที่คนไข้เป็นโรคลิ้นหัวใจ ซึ่งไม่สามารถซ่อมแซมได้ คนไข้จะได้รับ
คำแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยใช้ลิ้นหัวใจทีทำจากโลหะ
(metal valve –bioprosthetic) หรือ ใช้ลิ้นหัวใจที่เป็นเนื้อเยื่อ
( Tissue valve ที่ได้จากหมู หรือ จากคนตาย)

กล่าวกันว่า ลิ้นหัวใจที่ได้จากหมู หรือจากศพ จะดีกว่าลิ้นหัวใจทำจากโลหะ
เพราะไม่ต้องใช้ยาป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน (thinner)
แต่ผลเสียก็มีเช่นกัน พวก tissue valve มันอยู่ได้ไม่นาน
ต้องทำการผ่าตัดซ้ำอีก

ดังนั้น การที่จะตัดสินใจเลือก ระหว่าง tissue valve หรือ mechanical valve
จำเป็นต้องต้องนำเอาปัจจัยบางอย่างเข้ามาร่วมพิจารณา
เช่น อายุของคนไข้ วิถีชีวิตของเขา
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเขาต้องการเป็นนักกีฬา โอกาสมีเลือดออกมีได้สูง
ดังนั้น การผ่านัดที่จำเป็นต้องได้รับยาป้องกันการจับตัวของก้อนเลือด
(mechanical vavle) จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับคนชนิดนี้
โดยทั่วไป เขาแนะนำให้ใช้ bioprothesis (ลิ้นหัวใจที่ได้จากหมู หรือจากศพ)
สำหรับคนไข้ที่มีอายุต่ำกว่า 65

4. มีคนไข้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจบางชนิด ที่ตีบแข็ง (stenosis)
อาจทำการรักษาด้วยวิธีทำให้ลิ้นหัวใจเปิดด้วย balloon
เรียกว่า balloon valvuloplasty ซึ่งมีลักษณะคล้ายการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
โดยการทำ balloon angioplasty

การทำ valvuloplasty อาจดีกว่าการใส่ลิ้นหัวใจเทียม...เพราะเป็นวิธีที่ง่าย
ซึ่งสามารถเปิดลิ้นหัวใจให้กว้างขึ้น ทำให้เลือดไหลผ่านได้ดีขึ้น
สามารถลดอาการของโรคลิ้นหัวใจได้

โดยสรุป แนวทางที่นำเสนอ เป็นเพียงช่วยให้ท่านในฐานะคนไข้
ได้รับทราบข้อมูลบางอย่าง ที่ท่านอาจใช้เป็นข้อมูลสอบถามแพทย์
ซึ่ง อาจจำเป็นต่อการตัดสินใจในการรับการรักษา ที่จะมีขึ้นต่อไป...

http://www.cardiosmart.org/ManageCondition/Default.aspx?id=822

Valvular Heart Disease: Guideline

คนที่เกิดมาบนโลกมนุษย์นี้
บางคนมีความสมบูรณ์พร้อมทางร่างกาย ไม่มีโรคใด ๆ ติดตัวมา
แต่มีบางคน...เกิดมาพร้อมกับความพิการ
เมื่อ เกิดขึ้นกับใคร หรือ กับคนที่เขารัก ไม่ว่าจะเป็นภารยา ลูก หรือ มิตรสหาย
ย่อมก่อความกังวล ความทุกข์ใจ ไปตลอดชั่วอายุขัยของเขา...

บางคนเกิดมา บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่โรคใดติดตัวมา
แต่พออายุมากเข้า โรคภัยไข้เจ็บต่างรุมล้อม ไม่ทราบว่าจะไปโทษใคร
บางคนปลอบใจตัวเองว่า...เป็นกรรมเก่าของเขา
ซึ่งเขาจำเป็นต้องชดใช้กรรมเก่านั้นไป ก็เป็นวิธีการคลายความทุกข์ และความกังวลลงได้บาง

แต่ก็มีบางคนกระทำกรรมที่ไม่ดีให้แก่ตัวเอง...เช่นหาโรคให้แก่ตัวเองซะนี้
กรณีเช่นนี้ เขาต้องรับในสิ่งที่เขากระทำไป เราคงไทษใครไม่ได้กระมัง
เพราะนั่น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล จะกล่าวแบบกำปั้นทุบดินว่า "ใคราทำได้ดี ผลดีคงเกิดเป็นของท่านนั้น"
....

ชีวิตต้องดำเนินต่อไป แต่มีประเด็นให้เราฉุกคิดขึ้นมา ว่า:.
เราจะป้องกัน หรือดำเนินชีวิตร่วมกับโรคของเขาได้อย่างไร ?

เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกับโรคได้ สิ่งสำคัญที่สุด
คือ เรียนรู้เกี่ยวกับโรค (ธรรมชาติ) นั้น ๆ ให้ได้ในทุกแง่ทุกมุม รู้ให้มากที่สุด
จากนั้น เราจึงดำเนินชีวิต ให้คล้อยตามธรรมชาติของมัน...

โรคเกี่ยวกับ “ลิ้นหัวใจ” (valvular diseases)
เป็นโรคที่เราจะกล่าวถึง




หัวใจของมนุษย์ประกอบด้วยลิ้นหัวใจ (heart valves) จำนวน 4 อัน
ซึ่งได้แก่ aortic, mitral, pulmonary และ tricuspid valves
โรคที่เกิดขึ้นลิ้นหัวใจ สามารถกับลิ้นหัวใจ ลินใด ๆ ก็ได้ และอาจเกิดได้มากกว่าหนึ่งลิ้น
เมื่อมีโรคเกิดขึ้น มันย่อมทำให้การทำงานของมัน เกิดผิดปกติไป

โดยปกติแล้ว ลิ้นหัวใจเหล่านั้น จะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อ (tissue flabs)
ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูปิด-เปิด เพื่อให้เลือดจากหัวใจไหลผ่านออกสู่เป้าหมาย
เมื่เลือดไหลผ่านไปมดแล้ว มันจะปิดตัวลง ไม่ยอมให้เลือดไหลย้อนกลับได้
ซึ่งการทำงานในลักษณะดังกล่าว จะประสานสอดคล้องเป็นอย่างดี กับการทำงาน (บีบตัว)ของหัวใจ

ดังนั้น เราจะเห็นว่า หน้าที่หลักของลิ้นหัวใจ คือ ทำให้เลือดไหลไปในทิศทางเดียวโดยผ่านห้องหัวใจ
ทั้งสี่ห้อง

ปัญหาเกิดมีขึ้น เมื่อลิ้นหัวใจไม่ทำงานตามที่กล่าว
หรือทำงานได้ไม่เหมาะสม อะไรจะเกิดขึ้น ?


 เลือดสามารถไหลย้อนกลับในทิศตรงข้ามกับทิศทางทิศทางเป้าหมาย เรียกว่า regurgitation
หนึ่งในลิ้นหัวใจทั้งสี่ คือ mitral valve ไม่สามารถปิดได้สนิท แพทย์ได้
ตั้งชื่อ “mitral valve prollapse” จัดเป็นโรคลิ้นหัวใจ ที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคลิ้นหัวใจ

 Stenosis (ลิ้นหัวใจตีบแคบ) มันเกิดขึ้น เมื่อแผ่นลิ้นหัวใจมีสารแลเซี่ยมมาเกาะ นอกจากจะทำ
ให้มันแข็งตัวแล้ว ยังเพิ่มความหนาให้เกิดขึ้น เป็นเหตุให้มันทำหน้าที่ในการเปิด เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้ไม่เหมือน
ปกติ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้น ด้วยการออกแรงดันดเลือดให้ไหลผ่านลิ้นหัวใจที่ตีบแคบ

 Congenital valve disease. เป็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ที่เกิดมาพร้อมกับตัวคนไข้ตั้งแต่
แรกเกิด ซึ่งหลายรูปแบบ เรียกว่า congenital valve disease
เช่น ลิ้นหัวใจไม่สามารถปิดได้เหมือนปกติ; เนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจไม่สมบูรณ์ ซึ่ง อาจมีขนาดผิดปกติไป
หรือ รูปร่างผิดปกติ เป็นเหตุให้การปิด-เปิด ของลิ้นหัวใจ ไม่สามารถทำงานได้ตาปกต

โรคลิ้นหัวใจ เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ประมาณ 5 ล้านคน (ในสหรัฐฯ)
คนบางคน จะมีชีวิตอยู่ร่วมกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ
ส่วนบางคน พบว่า ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ปัญหาของลิ้นหัว จะใจเลวลง จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ซึ่ง อาจเป็นการรักษาด้วยยา (medications) หรือ รักษาทางด้านการแพทย์ชนิดต่าง ๆ
เช่น ทำการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยน (ใส่)ลิ้นหัวใจเทียม

ในโรคลิ้นหัวใจดังกล่าว หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำการรักษา
สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ต่างต่างๆ นานา :
เช่น หัวใจล้มเหลว (heart failure), มีก้อนเลือดเกิดในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะสมอง
และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่ง สามารถทำลายชีวิตของคนไข้ได้

นอกจากโรคที่ติดตัวมาแต่กำเนิดแล้ว พอแก่ตัวเข้า

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น โรคที่เกิดจากการเสื่มสลายก็ปรากฏขึ้น และหนึ่งในนั้น คือ โรคลิ้นหัวใจจากการเสื่อมสลาย
(degenerative valve disease) เป็นโรคที่พบเห็นในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม
ซึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอย่างกว้างขวางขึ้น

กล่าวกันว่า ในสหรัฐฯ มีการผ่าตัดเกี่ยวกับลิ้นหัวใจอย่างเดียวถึง 95,000 ราย ต่อปี
และมีคนเสียชีวิต จากโรค aortic valve disease ถึง 25,000 ราย ต่อปี
จากสถิติพบว่า คนยิ่งมีอายุแก่ขึ้น จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ้นหัวใจเพิ่มขึ้น

ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นข้อสรุปเกี่ยวกับคำแนะนำ สำหรับแนวทางการรักษาคนไข้ ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ
คำแนะนำเหล่านี้ อาจไม่เหมาะสมสำหรับคนไข้ทุกคนได้
แต่ อาจทำให้ท่านได้เข้าใจอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจช่วยให้ สามารถตั้งคำถามกับแพทย์ของท่านได้...

LIFESTYLE MODIFICATIONS
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม:
ในปัจจุบัน ไม่มียาใด ๆ สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคลิ้นหัวใจได้เลย
แต่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และยารักษาที่เหมาะสม สามารถบรรเทาอาการ และชะลอภาวะแทรกซ้อนได้หลายปี
ยกตัวอย่าง ในคนไข้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ aortic stenosis อาจจำเป็นต้องกินเวลาเป็นหลายทศวรรษ
เพื่อให้โรคเปลี่ยนแปลงจากระดับที่ตรวจพบ ไปจนถึงระดับที่จำเป็นต้องรับการรักษา
ดังนั้น เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถชะลอการดำเนินของโรคลงได้

นอกเหนือจากอายุที่เพิ่มขึ้น (แก่ขึ้น) ยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นอีกหลายอย่างสำหรับทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ
(acquired disease) เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบแข็ง (coronary artery disease),
ความดันโลหิตสูง, ระดับไขมันcholesrerol สูง, สูบบุหรี่, เบาหวาน, ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน,
น้ำหนักตัวสูง และ อ้วน, ไม่ออกกำลังกาย , และ มีประวัติครอบครัวมีคนเป็นโรคลิ้นหัวใจ

 Aortic stenosis (narrowing of the aortic valve):
เป็นโรคลิ้นหัวใจในคนสูงอายุ ซึ่ง พบได้บ่อย และอาจเป็นข้อชี้บ่งให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ผลจากการศึกษา พบว่า มันมีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ และการเสื่อมสลายของลิ้นหัวใจ

นอกจากนั้น ยังพบว่า การสูบบุหรี่ยังเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ รวมทั้งโรคหลอดเลือดของหัวใจ
(coronary artery disease) ดังนั้น การเลิกสูบบุหรี่ จึงสามารถปัองกันไม่ให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ
และ ทำให้ลิ้นหัวใจ มีสุขภาพดีดีขึ้นด้วย

 บรรเทาอาการของโรคหัวใจ ที่เกิดจากโรคลิ้นหัวใจ:
ท่านสามารถลดอาการที่เกิดจากโรคดังกล่าวได้ ด้วยการดำเนินชีวิต ตามแบบ “Cardiosmart manner”

Cardiosmart manner: ได้แก่- การควบคุมน้ำหนักตัว; ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น; ลดการดื่มแอลกอฮอล์;
จำกัดอาหารทานหารประเภทเกลือ (sodium); รับ...อาหารประเภทเมล็ดธัญพืช, ผลไม้, ผัก,
ลดอาหารประเภทไขมัน และอาหารที่ได้จากนมสัตว์ และ ลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว
และงดไขมัน “ทรานซ์” , ลดอาหารที่มีไขมัน cholesterol และสุดท้าย Cardiosmart manner ยัง
แนะนำให้รับประทาน omega 3 fatty acid

 Physical activity โดยทั่วไป เขาแนะนำให้ทุกคนที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ
ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในคนที่มีโรคเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery disease)

ซึ่งโดยทั่วไป ในกรณีที่เป็นโรค aortic stenosis ที่เป็นไม่มาก สามารถออกกำลังกายได้
และสามารถเข้าร่วมกับการแข่งขันได้

ส่วนในกรณีที่เป็นมาก (moderate-severe aortic stenosis)
ควรหลีกเลี่ยงจากการออกกำลังกาย ที่ต้องออกแรงด้วยการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้วยความเข็มข้นสูง
ที่สำคัญ ก่อนออกกำลังกาย ท่านควรขอคำแนะจากแพทย์ เป็นดีที่สุด

Continued > Goal for Risk Factor Management

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

What Is the Significance of Right Bundle Branch Block? (Continued)

เมื่อเรามาพูดถึง RBBB ...
RBBB เป็นปราฏการณ์ที่พบได้บ่อยที่สุด ที่เห็นได้ในการตรวจ EKG
ในขณะที่เราพบความผิดปกติดังกล่าว พบว่า หัวใจของเขาอยู่ในสภาพปกติอีก
การเกิด RBBB จะไม่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์แต่ประการใด

ในกรณีที่มันเกิดในคนไข้ มันมีผลกระทบต่อหัวใจห้องล่างด้านขวา หรือกระทบต่อการทำงานของปอด
ดังนั้น เมื่อใดที่แพทย์เขาตรวจพบ RBBB ในคนไข้ของเขา จะกระตุ้นใหเขามองหาโรคอื่น ๆ
ที่ซ้อนตัวในคนไข้ต่อไป เช่น โรคทางเดินลมหายใจอุดตันเรื้อรัง (COPD),
โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดแดงของหัวใจ (coronary artery),
ผนังกั้นห้องหัวใจสองห้องบนบกพร่อง (atrial septal defect),
และ โรคลิ้นหัวใจ (valvular Disease)

เมื่อใดก็ตาม ที่มีคนบอกว่า ท่านมี (โรค) RBBB ...
จงจำไว้ว่า RBBB ที่เราพบเห็นใน EKG สามารถเกิดขึ้นในคนปกติ. ที่มีสุขภาพดีได้
และจากการตรวจร่างกายพบว่า สุขภาพของท่านเป็นปกติดี
แต่กลับพบ RBBB ใน EKG ซึ่งไม่มีปัญหาทางด้านการแพทย์เลย
ในกรณีเช่นนี้ ท่านจะได้รับการบอกกล่าวจากแพทย์ว่า ท่านไม่เป็นอะไร...ไม่ต้องรับการรักษาใด ๆ

โดยสรุป ในขณะที่เป็นมี RBBB นั้น มันหมายความว่า
หัวใจห้องล่างด้านขวา จะเกิดการบีบตัว ซึ่งเกิดขึ้นหลังหัวใจห้องล่างซ้าย บีบตัวก่อนเล็กน้อย
สามาราถพบเห็นในคน ที่มีหัวใจเป็นปกติ และการทีหัวใจห้องล่างด้านซ้ายเต้นช้านั้น
ไม่มีความสำคัญ ไม่มีปัญหาต่อการทำงานของหัวใจ

What Is the Significance of Left Bundle Branch Block?LBBB
แขนงเส้นประสาทด้านซ้าย (LBBB) ถูกบล็อก เกิดขึ้นได้น้อยกว่าแขนงด้านขวา RBBB
เมื่อมันเกิดขึ้น ย่อมบ่งบอกให้ทราบว่า มีอะไรผิดปกติในกล้ามเนื้อหัวใจขึ้นแล้ว
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขยายตัว (dilated cardiomopathy), กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น (hypertrophy cardiomyopath), โรคความดันโลหิตสูง (hypertension), โรคลิ้นหัวใจ (valvular disease),
โรคเส้นเลือดแดงของหัวใจ (coronary artery disease), และ โรคอื่น ๆ ของหัวใจ

บางครั้ง คนที่เป็นโรค LBBB แม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ เลย
คนที่มีความผิดปกติดังกล่าว แม้ว่า เขาจะมีสุขภาพสมบูรณ์ดี ก็ไม่ควรชะล่าใจ
ควรทำการตรวจหาโรคที่ซ้อนเร้นอยู่ให้ได้ โดยเฉพาะที่เกิดในคนอายุน้อย
ถ้าการตรวจประเมินได้ผลเป็นปกติ ความสำคัญของ LBBB จะมีน้อยมาก

ในบางราย โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว และหัวใจห้องล่างด้านซ้ายบีบตัวได้ช้า
มักจะก่อให้เกิดผลการทำงานของหัวใจลดลงไป
ดังนั้น ถ้าคนไข้ที่เป็นหัวใจล้มเหลว (heart failure) ร่วมกับ LBBB เมื่อใด
เขาควรได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เรียกว่า Resynchronizatio therapy (CRT)
ซึ่งเป็นกรรมวิธีการรักษา ด้วยการช่วยทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายดีขึ้น

What If Both Bundle Brances Are Blocked?
ถ้าทั้งแขนงประสาท (Bundle branches) ทั้งสองถูกบล็อก หรือถูกสะกัด (Bilateral BBB)
ซึ่ง คลื่นกระแสไฟฟ้าไม่สามารถวิ่งเล็ดรอดผ่านแขนงประสาททั้งสอง(bundle branches)
สู่หัวใจสองห้องล่างได้เลย

ในกรณีดังกล่าว คลื่นประสาทที่เกิดขึ้น เป็นคลื่นที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเท่านั้น
แต่ไม่สามารถทำหน้าที่บีบเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญได้ คนไข้ก็เสียชีวิตไปในที่สุด
โชคดีที่ภาวะดังกล่าว เรามักจะไม่ค่อยได้พบเห็น

ที่พบบ่อยคือ แขนงประสาทั้งสอง ซ้าย และขวา ถูกทำลายถึงระดับที่ทำคลื่นกระแสประสาทผ่านได้บ้าง
แต่ไม่ถูกบล็อก หรือสะกัดไว้ได้หมด ยังมีคลื่นไฟฟ้าผ่านไปได้บ้าง
จากการตรวจ EKG จะพบว่า QRS complex จะกว้างกว่าปกติ
แต่รูปแบบ (pattern) ที่เกิดขึ้นจะไม่เหมือนกับที่เกิดใน RBBB และ LBBB
ความผิดปกติชนิดนี้ เขาเรียกว่า Intraventricular conduction delay หรือ IVCD
ซึ่งมีความสำคัญเท่า ๆ กับ LBBB

When Does Bundle Branch Block Need to Be Treated?
การที่หัวใจสามารถทำงานตามปกติได้นั้น จำเป็นต้องขึ้นกับแขนงประสาท Bundle branches ทั้งสอง
ซึ่งสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยให้คลื่นกระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านไปได้
ถ้าทั้งสองแขนงไมสามารถใช้งานได้ คลื่นประสาทไม่สามารถผ่านไปได้
กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่างทั้งสอง ไม่ได้รับคลื่นกระแสไฟฟ้า มันจะหยุดการบีบตัวทันที ...
หัวใจหยุดต้น

โชดยังทีที่ ทั้ง RBBB และ LBBB จะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นcomplete heart block
ดังนั้น แม้ว่า ภาวะคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจถูกบล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยก็ตาม
แต่มีน้อยรายมาก ที่จำเป็นต้องไดรับการรักษาด้วยการใช้ pacemaker.
อย่างไรก็ตาม คนไข้ที่เป็น BBB อาจจำเป็นต้องได้รับ pacemakers:

1) เมื่อคนไข้เกิดโรค RBBB และ LBBB โดยเกิดภายหลังหัวใจถูกทำลาย heart attack
เพราะคนไข้พวกนี้ มีโอกาสเกิด complete heartBlock ได้สูงมาก
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่อาทิตย์ หรือภายในไม่กี่เดือน หลังการเกิด heart attack
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้ pacemakers ในคนไข้เหล่านี้

2) เมื่อคนไข้เกิดโรค BBB ร่วมกับอาการหมดสติ (loss of consciousness)
ในคนไข้ ที่เกิดโรค BBB โดยเฉพราะคนที่เป็นโรค LBBB เมื่อเกิดมีอาการจะเป็นลม (syncope)
คนไข้ประเภทนี้มีโอกาสเกิด complete heart block ได้สูงมาก

โดยทั่วไป คนไข้ควรได้รับการศึกษา electrophysiology
เป็นการตรวจสรีระไฟฟ้าของหัวใจ เพื่อวินิจฉัยส่าเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจ
ซึ่งสามารถทราบแนวโน้มทีจะเกิด comlete heart block
ในกรณีดังกล่าว เพื่อป้องกันปัญหา คนไข้ควรได้รับ pacemakers เสีย

เป็นที่น่าสังเกตุ ว่า คนที่เป็น LBBB แล้วเกิดอาการหมดสติ
เป็นผลเนื่องมาจาก ventricular tachycardia

3) เมื่อคนไข้เป็นโรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure) และเกิด BBB
จะพบว่าการบีบตัวส่งเลือดออกจากหัวใจจากห้องล่างซ้ายลดลง พร้อมกับ QRS complex กว้างกว่าปกติ
ในกรณีเช่นนี้ คนไข้ควรได้รับการรักษา ด้วย cardiac resynchonization therapy (CRT)
เพราะ CRT จะทำให้การบีบตัวของของหัวใสองห้องล่าง สามารถประสานการทำงานได้ดีขึ้น

Summary
ถ้าท่านได้รับการบอกกล่าวว่า ท่านเป็นโรค RBBB หรือ LBBB...
แพทย์ของท่านควรทำการตรวจร่างกาย ทำการประเมินตัวท่านว่า ท่านมีโรคหัวใจ หรือ โรคปอด หรือไม่
ซึ่งมีคนที่เป็นโรค BBB เกิดร่วมกับโรคทั้งสอง (โรคหัวใจ และโรคปอด)

ถ้าการตรวจร่างกายพบว่า หัวใจ และปอดของ่านปกติ...และท่านมีโรค RBBB
ท่านไม่จำเป็นต้องกังวลใด ๆ เพราะมันไม่มีอันตราย

ถ้าท่านมีโรค LBBB ท่านจะต้องแน่ใจว่า แพทย์ได้ทำการตรวจหัวใจของท่านอย่างละเอียด
ถ้าท่านเคยมีประวัติว่าเป็น heart attack มาไม่ก่อน หรือเคยมีประวัติหมดสติ
หรือ เคยมีหัวใจล้มเหลว ท่านจะต้องได้รับการรักษา

ถ้าท่านไม่เคยมีประวัติว่าเคยเป็น heart attack, syncope หรือ heart failure มาก่อน
การที่ท่านเป็นโรค BBB ท่านไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ

โดยสรุป ถ้าท่านเป็นโรคหัวใจวาย การเป็นโรค BBB สามารถทำให้การทำงานของหัวใจทำงานแย่ลง มีอาการเลวลง
ดังนั้น ใครก็ตามที่มีโรค BBB ร่วมกับ โรคหัวใจล้มเหลว
ควรได้รับการรักษาด้วยการใส่ CRT (cardiac resynchonization therapy)
เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ไม่ใหเกิด complete heart block ขึ้นได้

http://heartdisease.about.com/cs/arrhythmias/a/BBB_4.htm

Bundle Branch Block

Causes and Treatment



ถ้าท่านได้รับการบอกกล่าวว่า ท่านเป็นโรคหัวใจ- bundle branch block
บางท่านคงอยากจะทราบว่า... มันคืออะไรกัน อันตรายแค่ใหน ?

Buncle branch block (BBB) หมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น และพบเห็นจากผล
การตรวจคลื่นหัวใจ (electrocardiogram-ECG)
ซึ่ง มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ บ่งบอกให้ทราบอย่างชัดเจนว่า คลื่นกระแสไฟฟ้าถูกสะกัดเอาไว้

ระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ ประกอบด้วยทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าสองเส้น
เรียก Bundle branches- ซ้าย และ ขวา
ในคนไข้ที่เป็นโรค BBB พบว่า ทางเดินของกระแสไฟฟ้าเส้นใดเส้นหึ่ง หรือทั้งสอง
เส้นไม่สามารถทำงาน ให้คลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไปได้

คนไข้ที่เป็นโรค BBB นั้น อาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งระหว่าง แขนงซ้าย หรือแขนงด้านขวา
ที่ถูกสกัดไม่ให้คลื่นผ่าน โดยที่มีความรุนแรงแตกต่างกันในคนไข้แต่ละราย
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของท่าน และ แพทย์ผู้ทำการรักษา จะเป็นผู้ร่วมถกปัญหาดังกล่าว

จุดมุ่งหมายของบทความนี้ จะช่วยทำให้ท่านสามารถพูดคุย กับแพทย์ผู้ทำการรักษาท่าน
ซีงจะทำไห้ท่านเข้าใจในตัวโรคของท่านมากขึ้นได้

What Are the Bundle Branches, and What Do They Do?
เส้นทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ (bundle branches)
เป็นส่วนสำคัญสำหรับหัวใจ
ซึ่งเป็นระบบ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมจังหวะการเต้นของกล้ามเนือหัวใจ
โดยการประสานกับการบีบตัว (pumping action) เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยการส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าผานไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง ได้อย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น มันจึงสามารถทำให้การทำงานของหัวใจประสานกันอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ

The Normal Cardiac Electrical System

เพื่อเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ...
คลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ จะเริ่มเกิดขึ้นที่ปุ่มประสาท
ที่อยู่ในส่วนบนของกล้ามเนื้อหัวใจหัองขวา ถูกเรียกชือว่า sinus node
คลื่นกระแสประสาทจากปุ่ม ที่ก่อกำเนิดคลื่นประสาทดังกล่าว
จะกระจายไปไปทั่วกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องบน ต่อจากนั้น มันจึงเคลื่อนผ่านปุ่มประสาทอีกปุ่ม
ซึ่งมีชื่อว่า AV node จากนั้น คลื่นกระแสประสาทจะเคลื่อนผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
โดยผ่านลุ่มของทางเดินของกระแสประสาท(bundle) ที่มีชื่อว่า His bundle
จาก His Bundle คลื่นประสาทจะวิ่งผ่านไปตามแขนงซ้าย และขวา
และ กระจายไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง-ซ้าย และขวาพร้อม ๆ กัน

ภาพที่พบเห็นใน EKG... QRS complex เป็นสิ่งพบเห็นใน ผลการตรวจคลื่นหัวใจ EKG
ซึ่ง บอกให้เราทราบถึงคลื่นกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนผ่านกล้ามเนื้อหัวใจโดยตลอด
โดยที่ QRS complex เป็นส่วนที่แสดงถึง คลื่นกระแสไฟฟ้าที่กระจายผ่านกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
พร้อม ๆ กัน โดยอาศัยทางเดินของกระแสไฟฟ้า ที่เราเรียกว่า Bundle branch system
ดังนั้น ภาพที่เห็นจึงได้ภาพของ QRS complex ที่มีลักษณะแคบน้อยกว่า 0.1 วืนาที
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการหดตัว หรือ เต้นพร้อม ๆ กัน

Bundle Branch Block
ภาวะ BBB เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งในแขนงประสาท (bundle braches) เกิดเป็นโรค
หรือ มันถูกทำลายลง เป็นเหตุให้มันหยุดทำงาน ไม่สามารถให้คลื่นกระแสไฟฟ้า (คลื่นประสาท)วิ่งผ่านได้
นั้น คือภาวะที่เราเรียกว่า bundle branch block ซึ่งผลที่เกิดขึ้น
จะทำให้การเต้นของสองหัวใจสองห้องล่าง ไม่สามารถเต้นได้พร้อมกัน

หัวใจห้องล่างด้านที่คลื่นไฟฟ้าถูกการสกัดกั้น จะบีบตัวช้ากว่ากล้ามเนื้อห้องล่างของอีกด้าน

The Right bundle branch block (RBBB)



ใน RBBB ประสาทแขนงขวา (rt bundle branch) ไม่สามารถทำหน้าทึ่ให้
คลื่นกระแสะประสาทเคลื่อนผ่านไปได้ตามปกติ ดังนั้นกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
จะรับคลื่นกระแสประสาทจากแขนงประสาท ที่ยังทำงานได้อยู่ คือแขนงด้านซ้าย
ซึ่ง จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายมีการบีบตัวก่อน
ต่อจากนั้น คลื่นประสาทจึงส่งจากหัวใจช่องล่างซ้ายไปยังหัวใจห้องล่างขวา
จึงเป็นเหตุให้การบีบตัวของหัวใจห้องล่างเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน

Left Bundle Branch Block (LBBB)



เมื่อแขนงประสาทด้านซ้ายเกิดการสกัด (block)
กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านแขนงด้านขวาเท่านั้น (ไม่สามารถผ่านด้านซ้าย)
เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านหัวใจด้านขวาเรียบร้อยแล้ว คลื่นประสาทจึง
จะวิ่งผ่านไปทางด้านหัวใจด้านซ้าย ทำให้การบีบตัวของหัวใจสองห้องล่าง
เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน- ห้องขวาบีบตัวก่อน แล้วตามด้วยหัวใจห้องล่างซ้าย

ไม่ว่าท่านจะเป็นโรค BBB ชนิดใด ซ้าย (LBBB) หรือขวา (RBBB)
การกระจายของคลื่นประสาทจะเกิดขึ้นได้ไม่พร้อมกัน มันจะผ่านห้องใดห้องหนึ่งก่อนเสมอ
เช่น เส้นประสาท (brundle branch) ถูกสกัดที่แขนงซ้าย คลื่นประสาทจะวิ่งผ่าน
ด้านวาก่อน มีการบีบตัวก่อน แล้วคลื่นประสาทจึงวิ่งไปที่ด้านตรงข้าม
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวตาม เป็นการบีบตัวของสองหัวใจด้านล่าง ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน

ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็น RBBB หรือ LBBB จะทำให้ QRS complex ใน EKG
กว้างกว่าปกติ

Continued - What is the significance of right bundlebranch block

Exercise intensity: Why it matters, how it's measured(continued)

เรามีอีกวิธีหนึ่งสำหรับวัดความเข็มข้นของการออกกำลังกาย
คือ การดูว่าหัวใจของท่านเต้นอย่างไรในขณะออกกำลังกาย ในการใช้วิธีนี้ เราต้องรู้เสียก่อนว่า
อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจของท่านมีค่าสูงเท่าใด (Maximal heart rate)
อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ เป็นระดับที่ระบบหัวใจ และเส้นเลือดของท่าน
สามารถจัดการกับการออก แรง) กำลังกายนั้นได้ โดยไม่เป็นอันตราย

การคำนวณหาค่าของ maximal heart rate กระทำได้ด้วยการเอาอายุเป็นปี หักออกจาก 220
ยกตัวอย่าง สมมุติท่านมีอายุ 45 ปี อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของท่าน
สามารถคำนวณได้จากสูตร: (220 minus Age in year)
อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของท่าน = 220 – 45 = 175

175 คือ ตัวเลข ที่หัวใจของท่านสามารถเต้นได้ในหนึ่งนาทีขณะที่ท่านออกกำลังกาย
เมื่อท่านรู้ระดับการเต้นของหัวใจสูงสุดแล้ว จากนั้น ท่านสามารถคำนวณหาค่าเป้าหมาย
ของการเต้นของหัวใจ (target heart rate)
ซึ่งเป็นระดับที่หัวใจของท่านสามารถทำงานได้โดยที่ไม่หนักเกิน (not overwork)

การออกกำลังกายโดยให้หัวใจเต้นในระดับเป้าหมาย (target heart rate)
ตลอดระยะเวลาการออกกำลังกาย ท่านสามารถได้รับประโยชน์จากการเผาผลาญไขมัน
และลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

ถ้าท่านออกกำลังกายแรงน้อยกว่าระดับเป้าหมาย (target heart rate)
ด้วยการลดความเข็มข้นของการออกแรงลง จะทำให้การเผาผลาญอาหารที่มีอยู่ในร่างกายลดลง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านออกแรงเกินเป้าหมาย (target heart rate)
อาจทำให้ท่านไม่สามารถออกกำลังกายได้ครบเวลา ตามที่ท่านได้วางแผนเอาไว้

ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ “อัตราการเต้นของหัวใจ”
กับ ระดับความเข็มข้นของการออกกำลังกาย:

• Light exercise intensity: การออกกำลังกายด้วยระดับความเข็มข้น
โดยที่ระดับการเต้นของหัวใจจะมีค่า 40-50 % ของ MHR
• Moderate exercise intensity: เป็นระดับการออกกำลังกาย ที่ระดับ
การเต้นของหัวใจอยู่ที่ 50 – 70 % ของ MHR
• Vigorous exercise intensity: เป็นระดับการออกกำลังกาย ที่ระดับ
การเต้นของหัวใจอยู่ที่ 70 – 85 % ของ MHR

ถ้าสุขภาพของท่านไม่สมบูรณ์ (not fit) สิ่งที่ท่านควรกระทำ
คือ เลือกออกกำลังด้วยความเข็มข้นแบบเบา แล้วค่อย ๆ เพิ่มความเข็มข้นขึ้น
แต่หากท่านมีสุขภาพดีอยู่แล้ว ท่านต้องการออกกำลังกายในระดับที่มีความเข็มข้นพอประมาณ

การหาค่า target heart rate สามารถใช้สูตรจาก online คำนวณให้ท่านได้
หรือท่านสามารถคำนวณได้เอง ดังนี้:

ถ้าเป้าหมายการออกกำลังกายของท่านอยู่ที่ 70 – 85 % ของ MHR
ซึ่งเป็นการออกกำลังกายด้วยความเข็มข้นสูง (high intensity)
Maxiaml Heart rate = 220 minus Age
เมื่อนำเอาค่าของ MHR คูณด้วย 0.7 (70 %) เราจะได้ค่าของ Target Heart Rate

สมมุติท่านมีอายุ 45 ปี ค่าของ MHR = 220 – 45 = 175
Target heart rate ของท่าน 175 x 07 = 123
นั้นเป็นตัวเลขที่บอกถึงอัตราการเต้นของหัวใจ (123 ครั้ง ต่อนาที)
สำหรับการออกกำลังกายที่มีความเข็มข้นสูงสุด (vigorous activity)

How to tell if you're in the zone
ท่านจะบอกได้อย่างไรว่า การออกกำลังกายของท่านบรรลุเป้าหมาย
ของการให้หัวใจเต้นได้ในระดับที่ตั้งเอาไว้ (target heart rate)?

ท่านสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้
1. หยุดการออกกำลังกายทันที
คลำ และ วัดชีพจรที่บริเวณเส้นเลือด carotid ที่บริเวณคอ ที่อยู่ข้างๆหลอดลม
หรือ วัดชีพจรที่บริเวณข้อมือ โดย ใช้ปลายนิ้วชี้ และนิ้วกลาง วางตรงบริเวณระหว่างกระดูก
และเสนเอ็นเหนือเส้นเลือด Radial artery ซึ่งอยู่ทางด้านของหัวแม่มือ
ถ้าวัด 15 นาที ก็คูณด้วย 4 จะได้ค่าของการเต้นของหัวใจในหนึ่งนาที

Reap the rewards of exercise intensity
ท่านสามารถรับผลประโยชน์จากการออกกำลังกายของท่านได้ ถ้าท่านออก
กำลังกายในระดับที่มีความเหมาะสม สำหรับสุขภาพของท่าน
ในการออกกำลังกายของท่าน ถ้าท่านมีความรู้สึกว่า ท่านไม่ได้ออกแรงเลย
หรืออัตราการเต้นของหัวใจ เต้นช้าเกินไป สิ่งทีท่านควรทำ คือ เพิ่มอัตรา
การออกแรงของท่าน

ถ้าท่านรู้สึกว่า ในการออกกำลังกายนั้น ท่านออกแรงมากเกินไป
หรือหัวใจของท่านเต้นเร็วเกินไป สิ่งที่ท่านควรทำ คือ ผ่อนการออกกำลังกายลง
ถ้าท่านมีโรคประจำตัว ท่านอาจไม่แน่ใจในระดับการออกกำลังกายของท่าน
สิ่งที่ทานควรกระทำ คือ ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการประเมินสภาพของหัวใจของท่านเสียก่อน...

http://www.mayoclinic.com/health/exercise-intensity/SM00113/NSECTIONGROUP=2

Exercise intensity: Why it matters, how it's measured

มีการกล่าวกันว่า การออกกำลังกายอย่างเหมาสม
สามารถช่วยให้ท่านได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายนั้นได้
ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่านเองว่า ท่านควรออกแรงมากน้อยแค่ใด ... ?

เพื่อความเข้าใจว่า ท่านควรออกกำลังกายด้วยความเข็มข้น
หรือ ความหนักเบาขนาดใด ท่านลองพิจารณาข้อความเหล่านี้ดู:

Understanding exercise intensity

เมื่อท่านออกกำลังกายที่ต้องการออกซิเจน (aerobic) เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน
ความเข้มข้น (intensity)จะมีความสัมพันธ์ กับความรู้สึกที่ท่านสัมผัสได้ในขณะที่ท่านมีการออกแรง

จากการออกแรง ความเข็มข้นของการออกแรง
จะสะท้อนให้เราทราบว่า หัวใจของท่านทำงานได้มากน้อยแค่ใด
เรามีแนวทางพื้นฐาน ที่สามารถวัดความเข็มข้นของการออกกำลังได้ 2 ทางด้งนี้:

 ท่านรู้สึกอย่างไร (How you feel). ความเข็มข้นของการออกแรง
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางกายภาพ ที่ท่านสามารถรู้สึกได้จากการออกกำลังกายนั้น...
คุณสามารถรับ หรือสัมผัสกับแรงที่เกิดขึ้น
ท่านสามารถสัมผัสกับแรงที่เกิด ซึ่ง อาจแตกต่างจากคนอื่น ที่ออกกำลังกายชนิดเดียวกัน
ยกตัวอย่าง ท่านจะรู้สึกว่าในขณะที่ท่านกำลังวิ่งอยู่นั้น ท่านจะรู้สึกว่า มันหนักหนาสาหัสจริง ๆ ...
ถึงกับเหนื่อยหอบ ไม่สามารถพูดจากับใครได้
ส่วนคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ดี (fit) การวิ่งแบบเดียวกันนั้น เขาจะรู้สึกเบาสบาย
แถมยังพูดจาในขณะวิ่ง หรือร้องเพลงในขณะวิ่งได้อีกต่างหาก

 ท่านสามารถวัดระดับการเต้นของหัวใจของท่าน (Your heart rate).
เช่น วัดการเต้นของหัวใจว่า เต้นเร็วในขณะออกแรงเท่าใด
โดยทั่วไป เมื่อท่านออกแรงด้วยความเข็มข้นสูง อัตราการเต้นของหัวใจของท่านย่อมสูงกว่าปกติ
นั่นเป็นความรู้สึก ที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้
จากการศึกษา แสดงให้เราได้เห็นว่า ท่านสามารถสัมผัสกับแรง
ซึ่งมีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับอัตราการเต้นของหัวใจ

ท่านสามารถวัดขนาดของความเข้มข้น(intensity) ของการออกกำลังกายด้วยการวัดชีพจร
หรือ สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย
ถ้าท่านชอบสนใจเกี่ยวกับตัวเลข การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ อาจเหมาะสำหรับท่าน
แต่ ถ้าท่านต้องการสัมผัสกับความรู้สึกของตัวของเอง
ท่านไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือใด ๆ เลย

Choosing your exercise intensity
ท่านรู้ได้อย่างไรว่า การออกกำลังกายของท่าน ควรมีความเข็มข้นขนาดใด ?
สำหรับ ผู้ใหญ่ทีมีสุขภาพดี...the Department of Health and Human service (DHHS)
ได้ให้แนวทางการออกกำลังกายไว้ดังนี้:

 Aerobic activity.
เป็นการออกกำลังกายที่ต้องใช้ออกซิเจน อย่างน้อยตองได้ 150 นาทีต่อหนึ่งอาทิตย์
ต่อการออกกำลังกายที่หนักพอประมาณ (moderate exercise) เช่น การเดินเร็ว (brisk walking)
ว่ายน้ำ (swimming) ตัดหญ้า (mowing the lawn)
หรือถ้าออกกำลังด้วยความเข้มข้นที่หนักขึ้น (vigorous exercise)
ท่านสามารถออกกำลังกายเพียง 70 นาที ต่อหนึ่งอาทิตย์ก็พอ
เช่น การวิ่ง (running) หรือ การเต้นรำ (dancing)
นอกจากนั้น ท่านสามารถออกกำลังกายแบบผสมผสานระหว่างความเข็มหนัก (vigorous exercise )
และ ขนาดพอประมาณ (moderate) โดยการออกแรงเกือบทุกวันตลอดอาทิตย์
หรืออย่างน้อย 5 วัน ในหนึ่งอาทิตย์

 Strength training exercise
การออกกำลังกายชนิดนี้ ควรกระทำอาทิตย์ละสองคร้งเป็นอย่างน้อย
เช่น การยกน้ำหนัก หรือเอาชนะน้ำหนักตัวเอง ด้วยการปีนเขา หรือ ทำสวน
ในการออกกำลังกาย มันขึ้นกับตัวท่านว่า ท่านออกกำลังกายทำไม?
ถ้าท่านต้องการออกกำลงกาย เพื่อให้สุขภาพของท่านดีขึ้น
การออกกำลังนั้นควรเป็นแบบเข็มข้นพอประมาณ (moderate exercise)
หรือเข็มข้นแบบรุนแรง (vigorous exercise)

ถ้าท่านต้องการลดน้ำหนักตัว ความเข็มข้นของการออกแรงควรเป็นชนิดที่มีความเมข้นสูงขึ้น
และใช้เวลานานขึ้น เพราะการออกกำลังกายโดยใช้เวลานานขึ้น
โอกาสในการเผาผลาญไขย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ถ้าท่านไม่เคยออกกำลังกายเลย และการออกกำลังกายนั้นเป็นเรื่องใหม่สำหรับท่าน
สิ่งทีท่านควรทำ คือออกกำลังกายขนาดมีความเข็มข้นน้อย ๆ ก่อน
แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นชนิดที่มีความเข้มข้นพอประมาณ แล้วตามด้วยความเข็มข้นสูงสุด
เรามีแนวทางให้ท่านนำไปพิจารณาเลือกว่า จะออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นระดับใดดี :

Light exercise intensity
เป็นการออกกำลังกายด้วยความเข็มข้นขนาดเบา ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกสบาย ๆ
โดยท่านจะสัมผัสกับสิ่งต่อไปนี้:

 ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในระดับการหายใจ
 ไม่มีเหงื่อ ยกเว้นในกรณีที่มีอากาศร้อน หรือความชื้นสูง
 ท่านสามารถเจรจา หรือ ร้องเพลงในขณะออกกำลังกายได้

Moderate exercise intensity
เป็นการออกกำลังกาย โดยแรงที่ท่านใช้ไปนั้นจะทำให้ท่านมีความรูสึกว่า :

 การหายใจของท่านจะเร็วขึ้น แต่ยังสามารถหายใจได้ตามปกติ
 จะมีเหงื่อออกภายหลังการออกกำลังกายได้ประมาณ 10 นาที
 ท่านสามารถพูดคุยได้ แต่ไม่สามารถร้องเพลงได้

Vigorous exercise intensity
เป็นการออกกำลังกายที่มีความเข็มข้นสูงความรู้สึกระหว่างการออกกำลังกายในระดับนี้
ซึ่งจะทำให้ท่านมีความรู้สึกต่อไปนี้:

 หายใจลึก และเร็ว
 มีเหงื่อออกเมื่อคุณออกกำลังกายเพียง 2-3 นาที
 ท่านจะไม่สามารถเจรจาได้ในขณะออกกำลังกายระดับนี้

อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกาย ระวังอย่าออกมากจนเกินไป
เมื่อใดก็ตามที่ท่านออกกำลังกายจนเกิดอาการหายใจเหนื่อยหอบ (shortness of breath)
เกิดความเจ็บปวดd]hk,gonhv หรือไม่สามารถออกแรงได้ตามที่วางแผนเอาไว้
แสดงว่า การออกกำลังกายนั้นมีความเข็มข้นมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของท่านได้
สิ่งที่ท่านควรทำ ท่านควรผ่อนแรงลง...แจนั้น ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ...

continued:

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

ARRHYTHMIA- Continued

What types of abnormal heart rhythms are more common in children?

การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในเด็ก เป็นการเต้นแบบใดมากที่สุด?

โดยทั่วไป การเต้นของหัวใจที่เต้นผิดปกติจะไม่มีความรุนแรง หรือ
ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตเลย ซึ่ง บางครั้งเราจะพบเห็นการเต้นหวใจที่ผิดปกติเกิดในเด็กได้

มีคำ “ sinus arrhythmia” หมายถึงการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
ซึ่ง จะสัมพันธ์กับการหายใจเข้า และหายใจออก โดยพบเห็นในเด็ก และผู้ใหญ่
เป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีความผิดปกติอต่อย่างใด

นอกเหนือจากนั้น เรายังมีการเต้นของหัวใจที่เต้นเพิ่มขึ้น (extrabeats)
โดยเป็นการเต้นของหัวใจ ห้องบน (atrium) และหัวใจห้องล่าง (ventricle)
ซึ่งมีชื่อเรียกวย่อ ๆ ว่า PACs (Premature atrial contractions )
และ PVCs( Premature ventricular contractions)
เป็นการเต้นของหัวใจ ที่เกิดก่อนเวลา (premature)จากหัวใจห้องบน และหัวใจห้องล่าง
โดยเด็กที่มีการเต้นผิดปกติดังกล่าวแทบไมรู้ตัวด้วยซ้ำว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้น
และมักจะตรวจพบในขณะทำการตรวจร่างกายตามปกติ

เมื่อแพทย์ตรวจการเต้นของหัวใจผิดของเด็ก เพื่อความแน่ใจว่า
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกตินั้น ไม่ใช้การเต้นผิดปกติที่มีอันตรายรุนแรง
แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจ EKG (electrocardiogram), Holster monitor,
หรือการตรวจ exercise testing

ในเด็กปรากฏว่า มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ ที่มีความรุนแรง และควรระมัดระวัง
เช่น supraventricula tachycardia (SVT)
ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากคลื่นกระแสไฟฟ้าที่เพิ่ม (extra) ใกล้ามเนื้อหัวใจ
และนำไปสู่การเกิดอาการใจสั่น หายใจลำบาก และรู้สึกวิงเวียน
ถ้าเมื่อใดที่เด็ก ๆ ของท่านมีอากากรเหล่านี้
เด็กควรได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหัวใจ

ถ้าเด็กมีการเต้นของหัวใจผิดปกติ เช่น supraventricular tachycardia เกิดขึ้น
เด็กอาจได้รับการรักษาด้วยยา anti-Arrhythmic medications
ซึ่งสามารถช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และจังหวะการเต้นของหัวใจได้ หรือ
เด็กอาจได้รับการรักษาด้วยการทำ catheter ablation
เพื่อแก้ไขเยียวยาความผิดปกติหัวใจเต้นผิดปกติได้

มีส่วนน้อย ที่เด็กอาจเกิดภาวการณ์เต้นของหัวใจ ที่รุนแรงถึงระดับอันตรายต่อชีวิตได้
เช่น เด็กอาจมีอาการ “เป็นลม” หรือ มีอาการ “ชักกระตุก” หรือมีอาการเฉียดความตาย
คนไข้พวกนี้ ควรได้รับการตรวจทั้งครอบครัว
เพื่อตรวจให้ทราบว่า ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

What causes an abnormal heart rhythm?
สาเหตุของการเต้นผิดปกติของหัวใจ...คนที่เกิดมามีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
มีสาเหตุมากมาย บางคนเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด (genetics)
หรือ มีความผิดปกติทางกายภาพของหัวใจเอง ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ
Wolf-Parkinson-White syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ตัวกำเนิดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ
โดยที่มันมีระบบการสร้างคลื่นของหัวใจเพิ่มขึ้น (extra conducting system)
เป็นตัวทำให้กำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าในหัวใจเพิ่มขึ้น ทำให้ตัวใจเต้นเร็วขึ้น
และภายใต้กรณีเช่นนี้ สามารถทำการรักษาด้วยการขจัดเส้นทางของคลื่นกระแสไฟฟ้า
ที่มีมากเกินออกทิ้งไป ด้วยวีที่เรียกว่า ablation

ความผิดปกติอีกชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความบกพร่องที่มีมาแต่กำเนิด
ได้แก่ความผิดปกติในสาร K หรือ calcium หรือ sodium ที่อยู่ในกระแสเลือด
ซึ่ง เป็นมีส่วนรับผิดชอบต่อการเกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ

นอกเหนือจากนั้น ยังมีความผิดปกติอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นทีหลัง (acquired abnormalities)
ยกตัวอย่าง กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย สามารถก่อให้เกิดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
หรือ อาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจเมื่อขาดเลือดแล้ว เซลล์เกิดกล้ามเนื้อใจเกิดตายขึ้น
เมื่อเกิดแผลขึ้น ที่กล้ามเนื้อหัวใจ จะมีผลกระทบต่อทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
เป็นเหตุให้หัวใจเกิดการเต้นที่ผิดปกติไป

What is the difference between a heart attack
and heart rhythm problems? Can one cause the other?
ข่าวจากต่างประเทศ นักข่าวเขารายง่ายว่า- มีชายคนหนึ่งกำลังตักสะโนวออกจากถนนหน้าบ้าน
เสียชีวิตอย่างระทัน โดยมีสาเหตุจากด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย- massive heart attack...

ความจริงมีว่า... สิ่งที่นักข่าวรายงานให้ประชาชนทราบนั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริง
เพราเมื่อใครบางคนเกิดตายอย่างกระทันหัน เหมือนกับที่นักข่าวเขาเสนอนั้น
ส่วนใหญ่ เป็นผลมาจาก มีการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ
ซึ่งมีต้นตอมาจากห้องล่างของหัวใจ (ventricle) มีการบีบตัวอย่างเร็วมาก 400-600 ครั้ง ต่อนาที
ซึ่งเราเรียกว่า ventricular fibrillation(VF).

นั้นคือกลไกที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจถูกทำลายอย่างมโหฬาร
จนกระทั้งทำให้คนที่เกิดภาวะดังกล่าว เสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้

คำถามมีว่า อะไรทำให้เกิดภาวการณ์เต้นของหัวใจห้องล่าง (VF) ละ?

ที่จริง แล้ว...มันอาจเกิดจากภาวะ heart attack ก็อาจเป็นได้
แต่ก็ยังมีสาเหตุอย่างอื่นอีกมากมาย ที่ทำให้เกิดเชนนั้นได้

Heart attack หมายถึงภาวะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเส้นหนึ่ง (หนึ่งในสองเส้น)
เกิดตีบแคบ และ อุดตัน เป็นเหตุให้กส่วนของล้ามเนื้อของหัวใจ ที่ขาดเลือดเกิดตายไป

สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือด ส่วนใหญ่ เป็นผลมาจากเส้น
เป็นโรคตีบแข็ง(atherosclerosis)- ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่พอกับความต้องการ
จึงเป็นเหตุให้เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดตายไป ทำให้เกิดภาวะ heart attack ตามมา

เมื่อเกิดมีภาวะ heart attack ขึ้นเมื่อใด มันสามารถเป็นทำให้เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ
ซึ่งอาจเป็น ventricular fibrillation หรือ ventricular tachycardia
อย่างใดอย่างหนึ่ง

นอกจากที่กล่าวมา ยังมีสาเหตุทีทำให้เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ
เช่น หัวใจล้มเหลว และ โรคอื่น ๆ อีกมากมาย
ดังนั้น เราจึงพอสรุปได้ว่า heart attack เป็นคนละเรื่องกับ
การเต้นผิดปกติของหัวใจ (arrhythmia) และการตายอย่างเฉียบพลัน (sudden death)

http://abcnews.go.com/Health/HeartRhythmOverview/story?id=5212538

ARRHYTHMIAS

เมื่อเช้าได้พบสตรีนางหนึ่ง มาพบแพทย์ด้วยปัญหาของการเต้นหัวใจผิดปกติ
เธอกล่าวว่า บางครั้งเธอจะมีความรู้สึกว่า
ที่บริเวณหน้าอกของเธอ (หัวใจ) จะรู้สึกว่ามันเต้นตุบ ๆ และก็หายไป
บางครั้ง...เธอจะมีความรู้สึกเหมือนอะไรก็ไม่รู้ “สั้นระริก” ที่บริเวณหน้าอก
มันคืออะไร ? ทำไมเป็นจึงเป็นเช่นนั้น...? และคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย...

เพื่อเป็นการเรียนรู้ด้วยกัน...ลองติดตามคำถาม และคำอธิบายความของผู้เชี่ยวชาญ
ทางหัวใจต่อไปนี้ดู อาจทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เราสงสัยนั้นได้บ้าง...?

What are the different types of abnormal heart rhythms?

 การเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ มีกี่ชนิด ?

หัวใจของคนเรามีสี่ห้อง สองห้องบน (atrium) และสองห้องล่าง(ventricle)
และ ชนิดของความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ จะเริ่มขึ้นที่หัวใจห้องใดห้องหนึ่งตามที่กล่าว
ถ้าการเต้นของหัวใจผิดปกติเกิดจากหัวใจห้องบน เขาเรียกว่า
Supraventricuar arrhythmias
ซึ่งมันหมายความถึงว่า การเต้นที่ผิดปกตินั้น เกิดเหนือหัวใจสองห้อง
ล่างนั้นเอง โดยมันสามารถเต้นได้เร็วถึง 200 – 300 ครั้งต่อนาที
หรือมันสามารถเต้นด้วยจังวะที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งทำให้การเต้นของหัวใจนั้น
เป็นการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น (extrabeats)
ถ้าการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ (arrhythmias) เริ่มเกิดจากหัวใจห้องล่าง
เราจะเรียกมันว่า ventricular arrhythmias
ซึ่งมันอาจเต้นด้วยอัตราความเร็วสูง เขาจึงเรียกว่า
ventricular tachycardia

สุดท้าย การเต้นของหัวใจสามารถเต้นอย่างช้า ๆ นั้น
สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องมาจากจุดกำเนิดของคลื่นประแสไฟฟ้าภายในหัวใจ
ซึ่งเราเรียกว่า sinus node โดยที่คลื่นกระแสะไฟฟ้าที่ปล่อยออกมานั้น
ไมได้ทีให้หัวใจเต้นเร็วจนเกินไป หรือบางครั้ง การเต้นของหัวใจนั้น เต้นในระดับปกติ
แต่คลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจหัองบน ถูกสกัดกั้น (block)
ไม่ให้คลื่นผ่านไปยังหัวใจสองห้องล่างได้ตามปกติ ถูกเรียกว่า Heart block
ซึ่งสามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเต้นช้าลงถึงระดับ 20, 30 ครั้ง ต่อนาที

What is an arrhythmia (abnormal heart rhythm)?

ในคนปกติ หัวใจจะเต้นประมาณ 70 ครั้ง ต่อนาที ซึ่งวัดขณะพักผ่อน
แต่หัวใจไมใช้นาฬิกา ซึ่งจะต้องเต้นด้วยความสม่ำเสมอ ไม่ผิดพลาด
บางครั้ง การเต้นของหัวใจ เกิดการเต้นผิดปกติ โดยมีการเต้นที่เพิ่มขึ้น
ทำให้เราสัมผัสการเต้นเป็นคู่ ๆ (extrabeats) หรือบางครั้งมันหายไปเฉย ๆ
เป็นเหตุให้การเต้นของหัวใจเต้นช้าลง หรืออาจเต้นเร็วขึ้น
และบางครั้ง การเต้นของหัวใจอาจเต้นด้วยจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอได้

ผลกระทบจากการเต้นผิดปกติของหัวใจ-arrhythmia
อาจมีผลกระทบน้อยมาก หรือ อาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เกิดความตายได้
ดังนั้น การเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ
จึงเป็นคำที่ใช้เรียกภาวะการเต้นของหัวใจด้วยจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ

continued 2

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

The Truth About Heart Rate and Exercise (continued)

การออกกำลังการพอประมาณ (moderate exercise) จะทำให้มีการ
ลดน้ำหนักได้ดีกว่าการออกกำลังกายอย่างหนัก (vigorous exercise)


น้ำหนักตัว เป็นเพียงเรื่องของตัวเลข ที่ปรากฏบนตาชั่งวัดน้ำหนัก...
ถ้าท่านต้องการกำจัดหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ให้ลดลดสักหลายกิโลนั้น สิ่งที่ท่านต้องกระทำ คือ
ท่านจำเป็นต้องเผาผลาญอาหารที่อยู่ในร่างกาย ที่อยู่ในสภาพเปลี่ยนเป็นพลังงานได้
ให้ได้มากกว่าอาหาร ที่ท่านจะต้องรับประทานเข้าไป

ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ตามธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งพายาแต่อย่างใด
โดยการออกกำลังการให้ได้ประมาณ 60 % ถึง 75 % ของ maximal heart rate ของท่าน
จะทำการเผาผลาญปริมาณของอาหารได้น้อยกว่าการออกแรงให้ได้ 75 % ถึง 85 %
ของ maximal heart rate ซึ่งถูกเรียกว่า aerobic หรือ cardio zone

ในการเผาผลาญอาหารในรูปของพลังงาน จากการออกกำลังกาย จะขึ้นกับระยะเวลาของการออกกำลังกาย
และความหนัก-เบา หรือความเข็มข้น(intensity) ของการออกกำลังกาย

การคำนวณค่า Maximal Heart Rate: สูตรทางคณิตศาสตร์
มันเป็นค่าของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจของท่าน

บางท่าน อาจไม่คุ้นเคยกับสูตรในการหาค่าของ MHR มันเป็นสูตรเลขง่าย ๆ ดังนี้
Maximal Heart Rate = 220 – age in years
เป็นสูตรที่ปรากฏออกมา เมื่อประมาณ ปี 1960s และใช้ได้ผลดีกับคน
ที่มีอายุน้อยกว่า 40 แต่ปรากฏว่า มันใช้ได้กับคนสูงอายุเช่นกัน

ในปี 2001 Tanaka ได้เสนอสูตรที่มีความแม่นยำสำหรับคนสูงอายุเอาไว้
ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน the Journal of the American College of Cardiololgy
สูตร ที่เขาเสนอไว้ คือ:

Maximal Heart Rate = 208 - (Age x 0.7)
ยกตัวอย่าง ท่านมีอายุ 40 ท่านมี maximal Heart rate = (208-40x0.7)

เราสามารถวัดระดับ maximal heart rate ของเราได้ โดยการวิ่ง หรือปั่นจักรยาน
ให้ถึงจุดเหนื่อยหล้า (exhaustion) แล้ววัดการเต้นของหัวใจ
แต่การกระทำดังกล่าว ไม่ควรกระทำ เพราะมันอันตราย โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 45 (สำหรับหญิง 55 ปี)
หรือ คนที่มีโรคหัวใจ หรือ ในคนที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
ยกเว้นเฉพาะในรายที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หรือ ได้ผ่านปรึกษาแพทย์เป็นที่เรียบร้อยมาแล้ว

การใช้ระดับการเต้นของหัวใจ สามารถช่วยทำให้สุขภาพของท่านดีขึ้น...
จริงหรือ ?


การใช้เครื่องตรวจวัดการเต้นของหัวใจด้วย electronic monitors
ซึ่งติดไว้ที่หน้าอกของนักวิ่งมาราธอน, นักกีฬาปั่นจักรยาน ที่ใช้ตรวจวัดในขณะแข่งขัน
สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจได้อย่างแม่นยำ ช่วยนักกีฬาให้วัดชีพจรของตนเอง
ผลที่ได้จะ ถูกต้อง และแม่นยำ

แต่สำหรับท่าน ที่ไม่เป็นนักวิ่งมาราธอน การใช้เครื่องตรวจวัดชีพจร หรือการเต้นของหัวใจ
สามารถกระตุ้นให้ท่านอยากออกกำลังกายได้

แม้ว่า ท่านไม่ได้เตรียมตัวเป็นนักกีฬาเพื่อเตรียมแข่งในสนามแข่งก็ตามที
การตรวจวัดการเต้นของหัวใจ สามารถช่วยกระตุ้นให้ท่านออกำลังกายได้

ตามความเป็นจริง ไม่มีใครจำเป็นต้องใช้เครื่องมือดังกล่าวในการตรวจวัดหรอก
แต่มีบางคน ชอบที่จะเล่นกับเครื่องตรวจวัดการเต้นของหัวใจดังกล่าว
เพราะมันกระตุ้น และจูงใจให้เขาอยากออกกำลังกาย...
มันก็เท่านั้นเอง!

http://www.webmd.com/fitness-exercise/features/the-truth-about-heart-rate-and-exercise?page=3

The Truth About Heart Rate and Exercise

การที่เราสามารถเรียนรู้ได้ว่า หัวใจของเราเต้นได้เร็วแค่ใด
ทั้งในขณะที่เราพักผ่อน , ออกกำลังกาย และ ภายหลังการออกกำลังกาย
อาจเป็นประโยชน์สำรับคนบางคน ตลอดรวมไปถึง คนที่เป็นโรคหัวใจ
และ คนที่นักกีฬาทีมชาติได้...

แต่ก็อีกนั้นแหละ สิ่งที่คนทั่วไปมีความเชื้อในเรื่องเกี่ยวกับ อัตราการเต้นของหัวใจ
และ การออกกำลังกายนั้น อาจไม่จริงเสมอไป

ลองดูคำถาม และความคิดเห็น ต่อไปนี้ดู อาจทำให้เราเข้าใจอะรไรบางอย่างได้


จำเป็นด้วยหรือ...ที่เราจะต้องตรวจวัดดูการเต้นของหัวใจในระหว่างการ
ออกกำลังกาย ?


ไม่จำเป็น:
การที่เราจะตรวจเช็คดูการเต้นของหัวใจของเราหรือไม่ มันขึ้นกับตัวของเราเอง
และ เหตุผลของการออกกำลังกายของท่าน

ถ้าท่านเป็นโรคหัวใจ แพทย์จะสั่งห้ามไม่ให้ท่านออกกำลังที่มีความเข็มข้นสูง
การวัดการเต้นของหัวใจของท่านในขณะออกกำลังกาย จะเป็นวิธีการที่ดี ที่จะช่วยให้ท่าน
สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้หัวใจของท่าน ทำงานในระดับ หรือ ช่วงที่เป็นอันตราย (danger zone)
การวัดการเต้นของหัวใจ มีประโยชน์สำหรับนักวิ่งเร็ว นักปั่นจัรยาน และการออกกำลังกายชนิดอื่นได้จริง
ซึ่ง เขาเหล่านั้น ต้องการให้ร่างกายของเขาสมบูรณ์ที่สุด
พร้อมที่จะลงสนามแข่งขันได้ทุกเมื่อ

นอกเหนือจากนั้น การวัดการเต้นของหัวใจ จะไม่ประโยชน์ใด ๆ เลย

ถ้าการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพของท่านดีขึ้น สิ่งที่ท่านต้องทำ คือ ปิดโทศน์ แล้วลุกจากหน้าจอทีวี
แล้วหาความสนุกจากการออกกำลังกายแทน
และ ทำให้การออกกำลังกายนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน

จริงหรือที่ว่า เมื่อท่านออกกำลังกายแบบแอโรบิค แล้ว
อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักผ่อน เป็นข้อบ่งบอกว่า ท่านมีสุขภาพอสมบูรณ์ (fitness)


ไม่จริงเสมอไป:
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้หัวใจ
ของเราแข็งแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งหมายความว่า หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เป็นการการบีบตัวที่น้อยครั้ง และแต่ละครั้งมีการบีบตัวแรงขึ้น

คนส่วนใหญ่ ระดับการเต้นของหัวใจในขณะพักผ่อน ระดับการเต้นของหัวใจ 60 – 90 ครั้งต่อนาที
สำหรับนักกีฬา หรือคนทีออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดระดับการ
เต้นของหัวใจขณะพักได้ถึง 10 -20 ครั้ง ต่อนาที

ถ้าระดับการเต้นของหัวใจของท่านต่ำกว่าคนอื่นเขา ท่านอย่าได้โมเมเอา ว่า
ตัวท่านมีสุขภาพดีกว่า หรือเลวกว่าคนอื่นเป็นอันขาด
เพราะมีคนอยู่สองคนต่างมีสุขภาพดีเท่ากัน แต่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

เคยมีคนที่นั่งโต๊ะ ทำงานทั้งวัน ไม่เคยออกกำลังกายเลย กับอีกคนที่ออกกำลังกายอย่างสำม่เสมอ
พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจมีค่า ระหว่าง 50- 60 ครั้ง ต่อนาที

Maximal Heart Rate (อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด) จะลดลงตามอายุ
จริงหรือ ?


จริง:
เท่าที่เราทราบ การออกแรงจะทำใหหัวใจเต้นเร็วขึ้น ยิ่งออกแรงมากการเต้นของหัวใจย่อมมีมากขึ้น
แต่ ระดับสูงสุดของการเต้นของหัวใจ ที่สามารถเต้นได้เร็วที่สุด จะจำกัดโดยอายุของคนเป็นสำคัญ

“การเต้นของหัวใจได้เร็วสูงสุด (maximal heart rate) จะไม่สัมพันธ์กับ
การออกกำลังกาย”
นั้นเป็นความเห็นของ Hirofumi Tanaka, PhD. Professor of Kinesiology
And Health education at the University of Texas...

เขายังกล่าวต่อไปอีกว่า ไม่ว่า บุคคลนั้นจะเป็นคนนั่ง-นอนอยู่กับที่ หรือ คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
พบว่า ทุก ๆ 10 ปี ที่ผ่านไป จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง 7 ครั้งต่อนาที”
ซึ่งหมายความว่า ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจลดลง...

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพัก (resting heart rate)
และ จะไม่สัมพันธ์กับระดับการเต้นของหัวใจสูงสุด และ อายุที่แก่ขึ้น

Continued >

Heart Disease & Abnormal Heart Rhythm (continued).

เราจะวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดปกติได้อย่างไร?

มีวิธีการตรวจมากมาย ที่นำมาใช้ในการวินิจฉัยภาวะการณ์เต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
หรือ วินิจฉัยหาสาเหตุของโรค เช่น:

• Electrocardiogram
• Holter monitor
• Event monitor
• Stress test
• Echocardiogram
• Cardiac catheterization
• Electrophysiology study (EPS)
• Head-up tilt table test

How Are Arrhythmias Treated?

การรักษาหัวใจเต้นผิดปกติ ขึ้นกับชนิดของความผิดปกติ และความรุนแรงที่เกิดขึ้น
บางรายที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องรับรักษาแต่อย่างใด
ส่วนรายอื่น ๆ อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ยา, ปรับเปลี่ยนพฤติก, หรือ ทำการผ่าตัด

ยาที่ใช้ในการรักษา:
มียาหลายกลุ่ม ที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาภาวะการณ์เต้นที่ผิดปกติของหัวใจ
เช่น:

• Anti-arrhythmic drugs. ยาเหล่านี้ ใช้ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ
รวมถึงพวก beta-blockers
• Anti-coagulant or anti-platelet therapy.

ยาพวกนี้ถูกนำมาใช้ เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้มีก้อนเลือดเกิดขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสมองขาดเลือด
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ warfarin (blood thinner) หรือ aspirin
นอกจากนั้น ยังมี blood thinner ตัวอื่น ๆ อีก เช่น Pradaxa (dabigatran) และ Xeralta (rivaroxaban)
เป็นยาที่ได้รับรองว่า สามารถใช้ป้องกันภาวะ ไม่ให้เส้นเลือดในสมองอุดตัน จากโรค atrial fibrillation
เนื่องจากคนแต่ละคน มีความแตกต่างกัน จึงอาจด้องใช้ยาหาย ๆ ขนาน หลายขนาด
เพื่อหายา และขนาดที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ในแต่ละรายได้

คำถาม:
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถช่วยการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้จริงหรือ ?

o ถ้าพฤติกรรมบางอย่าง ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือเกิดบ่อย ท่านควรหลีกเลี่ยงเสีย
o ถ้าท่านสูบหรี่...เลิกเสีย
o จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
o จำกัด การดื่มกาแฟง บางคนพอดื่มกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มบางอย่าง จะทำให้เกิดอาการขึ้น
o ให้หลีกเลี่ยงจากการใช้สารกระตุ้นบางอย่าง ที่ใช้รัก โรคหวัด หรือยาแก้ไอ

การปรับเปลี่ยนการเต้นขอหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า (electrical cardiversion)
ในรายที่ท่านไม่สามารถควบคุมการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจได้ด้วยยา
เช่น ในคนไข้ที่เป็น Atrial fibrillation จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วย วิธี cardioversion
ซึ่งกระทำด้วยการกระตุกคนไข้ที่บริเวณหน้าอกด้วยกระแสไฟฟ้า (ทำในขณะดมยาสบ)
สามารถทำให้การเต้นของหัวใจกับสู่ปกติได้

Pacemaker เป็นเครื่องมืออะไร ?
Pacemaker เป็นเครื่องมือ ที่ทำหน้าที่ส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ
เพื่อทำให้หัวใจคงสภาพการเต้นในอัตราที่เหมาะสม
Pacemaker คือ เครื่องกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีแบตเตอรี่ และ คอมพิวเตอรขนาดเล็ก
มีเส้นลวดส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าจากเครื่องดังกล่าวไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ

มีเครื่องมือที่ผลิตออกมาใหม่ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรักษาการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจได้

Implantable Cardioverter Defibrillator (ICD)?
ICD เป็นเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการรักษาการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจห้องล่าง
ซึงเป็นทั้ง ventricular tachycardia และ ventricular fibrillation
เป็นสภาวะหรือโรคที่สามารถทำลายชีวิตของคนไข้ได้

ICD เป็นเครื่องมือ ที่สามารถตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจตลอดเวลา เมื่อมีการเต้นที่ผิดปกติ
เช่น เต้นเร็วไป หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ มันจะส่งคลื่น (energy)
ไปจัดการแก้ไขการทำงานของหัวใจให้ทำงานได้เป็นปกติทันที
ซึ่ง สามารถทำหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน เช่น

• Anti-tachycardia pacing (ATP).
เมื่อหัวใจมีการเต้นที่เร็วไป เครื่องมือจะสงคลื่นเป็นขบวน (series of electrical impulse) ไป
ยังกล้ามเนื้อหัวใจ...จัดการให้กลับมาเต้นเหมือนเดิม

• Cardioversion.
เป็นการกระตุกด้วยคลื่นไฟฟ้า (energy shock)ในขณะมีการทำให้การเต้นของหัวใจ
ทำให้การเต้นกลับสู่การเต้นที่เป็นปกติได้

• Defibrillation.
ในกรณีที่มีการเต้นที่ผิดปกติ ที่เต้นด้วยความเร็วสูง และสม่ำเสมอ การใช้พลังงานที่สูงขึ้น
ซึ่งเมื่อปล่อยไปยังกล้ามเนื้อหัวใจแล้ว สามารถทำให้การเต้นกลับเป็นปกติได้

• Anti-bradycardia pacing.
ปรากฏว่า มีเครื่อง ICDs จำนวนมาก ทีสามารถสำรองข้อมูล ( back-up pacing)
การเต้นตามปกติของหัวใจเอาไว้ เมื่อมีการเต้นผิดปกติ มันสามารถจัดการแก้ไขได้

Catheter Ablation?
เป็นวิธีการรักษาภาวะการณ์เต้นผิดปกติของหัวใจ ชนิด PSVTs, atrial flutter ,
atrial fibrillation และในบางรายที่เป็นทั้ง atrial & ventricular tachycardis.
การรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว เขาใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ส่งผ่านไปตามสาย
Catheter ไปยังเนื้อเยื่อภายในหัวใจ ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่ก่อให้เกิดคลื่นที่ไม่ปกติ
เป็นการทำลายการติดต่อของคลื่นที่ผิดปกติลง

Heart Surgery?
บางครั้งศัลยกรรมทรวงอก หรือการผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ ก็อาจมีบทบาทต่อการรักษาการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจได้
โดยวิธีการหนึ่ง เรียกว่า Maze procedure
เป็นกระบวนการใช้มีดผ่าตัด “กรีด”เนื้อเยื่อของหัวใจ ตรงส่วนที่ทำหน้าที่นำคลื่นกระแสไฟฟ้าในหัวใจสองสองห้องบน
การรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว พบว่าคนไข้บางรายอาจจำเป็นต้องใช้ Pacemaker ต่อไปก็ได

http://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-abnormal-heart-rhythm?page=3

Heart Disease and Abnormal Heart Rhythm

หัวใจเต้นผิดปกติ! หรือ ปกติ!

การที่หัวใจของคนเราเต้นผิดปกติไป เขาเรียกว่า arrhythmia
มันจะแตกต่างจากอัตราการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (irregular heart rate)
ซึ่ง ตามจริงทั้งสองภาวะ ไม่จำเป็นต้องเกิดพร้อมกันเสมอไป

ปกติอัตราการเต้นของหัวใจ จะเต้นอยู่ที่ 50 – 100 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่หัวใจเต้นด้วยอัตราการเต้นที่ปกติได้
หรือ เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจเต้นเร็ว หัวหัวใจเต้นช้าก็ได้

ในสหรัฐฯ เคยมีคนไข้ทีหัวใจเต้นผิดปกติ
ถูกรับไว้ในโรงพยาบาลปีหนึ่งมากกว่า 850,000 คน

อะไรคือสาเหตุของหัวใจเต้นที่ผิดปกติไป:

หัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น:

o โรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ (coronary artery disease)
o การเปลี่ยนแปลงในกล้ามเนื้อของหัวใจ
o มีความไม่สมดุลในสารที่มีไอออน (อีเล็กโตรไลท์) เช่น sodium หรือ potassium
o กล้ามเนื้อ หัวใจถูกทำลาย (injury) จากการขาดเลือด & ออกซิเจน (heart attack)
o ภายหลังการผ่าตัดหัวใจ

ชนิดของความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ: (Types of arrhythmia)

o Premature atrial contractions.
เป็นการเต้นของหัวใจห้องบนก่อนเวลาอันควร ยกตัวอย่าง
เช่น การเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วขึ้นหลายครั้งก่อนเวลาอันควร
ซึ่งเป็นผลจากคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบน (atria) ทำให้เราจับชีพจรได้เป็นคู่ ๆ
การเต้นของหัวใจผิดปกติดังกล่าว ไม่น่าตกใจอะไร
ไม่มีอันตรายอะไรเลยมันเป็นการตอบสนองของระบบหัวใจ และเส้นเลือด
ที่มีต่อความสมบูรณ์ของร่างกาย

o Premature ventricular contractions(PVCs).
เป็นการเต้นของหัวใจที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่คน ๆ นั้น มี หรือไม่มีโรคหัวใจเลย
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติชนิดนี้ เป็นความรู้สึกที่คนเราสามารถสัมผัสได้
ในบางคน การเต้นแบบนี้ (PVCs) จะสัมพันธ์กับความเครียด
หรือ เกิดจากการดื่มกาแฟ หรือ สูบหรี่มากเกินไป
หรือแม้กระทั้งออกกำลังกายมากเกิน ก็สามารถทำให้เกิดการเต้นของหัวใจแบบนี้ได้

PVCs สามารถเกิดจากคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือ เกิดจาการเสียความสมดุลในสารอีออน(อีเลกโตรไลท์)
ในกรณีที่มี PVCs หรือ มีอาการร่วมกันการเต้นผิดปกติดังกล่าวมากเกินปกติ
ท่านควรได้รับการตรวจ และประเมินจากแพทย์...
อย่างไรก็ตาม ภาวะ PVCs ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายใด ๆ
ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรือถ้าจะมี...ก้น้อยมาก!

o Atrial fibrillation. AF
เป็นการเต้นของหัวใจที่มีจังหวะผิดปกติ (irregularRhythm) พบได้บ่อย
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติไป

o Atrial Flutter. เป็นการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
ซึ่งเกิดจากวงจรของคลื่นกระแสไฟฟ้าในหัวใจสองห้องบน ปล่อยคลื่นออกมาเร็วกว่าปกติ
โดยอาจเกิดได้ครั้ง หรือหลายครั้ง

ในรายที่เป็น atrial flutter โรคหัวใจ มักจะเกิดกับคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ
ซึ่งมักจะเกิดภายในอาทิตย์แรกหลังการผ่าตัด และมันสามารถแปรเปลี่ยนไปเป็น AF ได้

o Paroxysmal supraventricular tachycardia. (PSVT)
เป็นการเต้นของหัวใจ ที่มีอัตราการเต้นที่เร็ว และมักจะมีอัตราการเต้นที่สม่ำเสมอ
โดย เกิดจากคลื่นกระแสไฟฟ้าจากตำแหน่งที่อยู่เหนือหัวใจสองห้องล่าง
ซึ่งมักจะเกิด และดับลงอย่างรวดเร็ว

PSVT มีสองชนิดใหญ่ ๆ Accessory path tachycardia และ AV node
Reentrant tachycardia

 Accessory pathway tachycardias. หัวใจมีการเต้นเร็ว เนื่องมาจาก
มีทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น (extra abnormal pathway)
หรือมีทางติดต่อของคลื่นระหว่างหัวใจสองห้องบน และสองห้องล่าง
ทำให้คลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านสองเส้นทาง (ทางเดิม และทางที่มีเพิ่ม)
เป็นเหตุให้มีคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งรอบหัวใจอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินปกติไป

 AV nodal reentrant tachycardia.
การเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติชนิดนี้ เกิดจากการที่มีทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าในหัวใจมากว่าหนึ่งแห่ง
ที่วิ่งผ่าน AV node ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการใจสั่น (palpitation), เป็นลม (fainting)
หรือ หัวใจล้มเหลว (heart failure)
ในบางราย เราสามารถทำให้มันหายไปด้วยวีการง่าย ๆ
เช่น หายใจลึก ๆ แล้วเบ่งเหมือนผู้หญิงคลอดบุตร (breathing in and bearing sown)
หรือ ใช้ยาบางตัว สามารถยุติการเต้นที่ผิดปกติดังกล่าวได้

o Ventricular tachycardia (V-tach).
เป็นการของหัวใจสองหองล่าง ที่เต้นเร็ว โดยมีคลื่นไฟฟ้า
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจจากสองห้องล่าง (ventricles)
การที่หัวใจสองห้องล่างเต้นเร็วนั้น จะขัดขวางต่อการให้เลือดไหลไปสู่หัวใจได้
ทำให้มีเลือดมีปริมาณไม่เพียงพอ จัดเป็นชนิดของการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคหัวใจ และอาจทำให้คนไข้มีอาการมากขึ้น

o Ventricular fibrillation.
เป็นการเต้นของหัวใจที่เต้นเร็ว ซึ่งเกิดจากการปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจสองห้องล่างอย่างไร้เป้าหมาย
เป็นการปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้า ซึ่ง มีลักษณะเหมือนฝูงชนแตกตื่นจากภัยพิบัติ...
ทำให้การเต้นของหัวใจห้องล่าง มีลักษระสั่นระริก ไม่สามารถที่จะบีบเลือดออกจากหัวใจ
ได้เลย จัดเป็นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งควรได้รบการรักษาอย่างรีบด่วน
(cardiopulmonary Resuscitation (CPR) และทำ defibrillation ให้เร็วที่สุด

o Long QT syndrome.
QT interval คือบริเวณที่พบใน electrocardiogram
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบถึงภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจ มีการหดตัว และกลับสู่สะภาพเดิม (contract and recover)
หรือเป็นระยะเวลาที่มีการยิ่งคลื่นกระไฟฟ้า และมีการ recharge

ถ้าเมื่อใดที่พบว่า QT interval ยาวกว่าปกติ มันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิต
จากการเกิด ventricular tachycardia
ในบางราย Long QT syndrome เป็นโรคทางพันธุกรรม
สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตในคนหนุ่มได้
ซึ่งสามารถรักษาด้วยการใช้ยาต้านการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ (antiarrhythmic drugs)
และใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (pacemaker), cardioversion,
defibrillator หรือ ablation therapy

o Bradyarrhythmias.
เป็นการเต้นของหัวใจที่เต้นช้ากว่าปกติ ซึ่งเกิดจากโรคหัวใจเอง
โดยที่ระบบกำเนิดคลื่นไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ
ยกตัวอย่างเช่น sinus node dysfunction และ พวก heart block

 Sinus node dysfunction.
โรคที่จังหวะการเต้นของหัวใจเต้นช้าลง เพราะมีความผิดปกติที่ปุ่มกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า SA node
สำหรับรายที่ทำให้มีอาการ จำเป็นต้องรักษาด้วยการใส่ pacemaker

 Heart block.
เป็นการปิดกั้นคลื่นกระแสไฟฟ้าที่วิ่งจากหัวใจห้องบนไปยังหัวใจห้องล่าง
ซึ่งอาจปิดกั้นบางส่วน ทำให้การเดินทางของคลื่นกระแสไฟฟ้าช้าลง หรือถูกปิดกั้นโดยสิ้นเชิง
เป็นเหตุให้หัวใจเต้นได้ไม่สำม่เสมอ (irregular) ช้าลง (slowly) หรือ เต้นเร็วขึ้น (often)
ถ้าหากอาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาด้วยการใส่ pacemaker
การเต้นของหัวใจผิดปกติ สามารถมาในรูปแบบที่ไม่มีใครรู้ ไม่แสดงอาการ
แพทย์ตรวจพบในขณะทำการตรวจร่างกาย โดยตรวจคำชีพจร การตรวจคลื่นของหัวใจ ECG

อาการแสดงของภาวะหัวใจเต้นไม่ปกติ อาจมีดังต่อไปนี้:

• มีอาการใจสั่น (palpitation
เป็นความรู้สึกผิดปกติว่า มีการกระเพื่อมของหน้าอ
• รู้สึกวิงเวียน (dizziness)
• รู้สึกเป็นลม (fainti8ng)
• Shortness of breath
• รู้สึกไม่สบายในทรวงอก (Chest discomfort)
• รู้สึกอ่อนแรง หรือ เมื่อยล้า (Weakness or fatigue)


Continued. >

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

Target Heart Rate: สำหรับคนเริ่มออกกำลังกาย

มีคนบอกว่า ถ้าต้องการให้การได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกาย
เราจะต้องออกกำลังกาย โดยให้หัวใจของเราเต้นได้ถึงเป้าหมาย
ตลอดระยะเวลาของการออกกำลังกายนั้น ๆ

Heart rate เป็นตัวเลขที่บอกอัตราการเต้นของหัวใจ
ซึ่งจะแปรเปลี่ยนกับปริมาณของออกซิเจน ที่ร่างกายต้องการ
เช่น ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องการออกซิเจนจำนวนเพิ่มมาก หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น
ถ้านอนพักผ่อน หัวใจก็เต้นช้า ร่างกายต้องการออกซิเจนน้อนลง
หัวใจจะเต้นในอัตราที่เพียงพอ ให้มีชีวิตดำเนินต่อไปได้เท่านั้น

การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคของคนเรา
และ ถูกนำไปใช้ เพื่อการติดตามการดำเนินของโรค
ว่ามีการพัฒนาไปอย่างไร ?

นอกจากนั้น เรายังนำมาใช้เป็นเป้าหมายเพื่อบอกให้รู้ว่า หัวใจของเราเต้นถึงระดับใด
เราจึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ
ซึ่งเราเรียกว่า target heart rate

Target heart rate หรืออาจเรียกว่า Training heart rate
เป็นอัตราการเต้นของหัวใจที่เราต้องการเพื่อให้หัวใจ และ ปอดของเราแข็งแรงขึ้น มีสุขภาพดี
ซึ่ง สามารถกระทำได้ ด้วยการออกกำลังกาย
ปัญหา...จะออกกำลังกายหนัก หรือเบา (intensity)ขนาดใด
จึงจะทำให้การเต้นของหัวใจเต้นถึงระดับที่ตั้งเอาไว้ได้

เราต่างทราบกันดีว่า เมื่อเราออกแรง หรือออกกำลังกาย หัวใจของเราจะเต้นเร็วขึ้น
นั่นเป็นเรื่องปกติที่เรารู้กัน ...

เพื่อความเข้าใจว่า ทำไม target heart rate
จึงมีความสำคัญสำหรับการออกกำลังกายแบบ aerobic exercise

คำว่า aerobic มีความหมายว่า “มีการใช้ออกซิเจน”
ในขณะที่เรากำลังออกกำลังกายนานเกิน 2 - 3 นาทีนั้น
ร่างกายของเราจะต้องใช้ออกซิเจน เพื่อสร้าง adenosine triphosphate (ATP) ขึ้น

ATP เป็นโมเลกุล ที่จำเป็นต่อการสร้างพลังให้แก่ร่างของคนเรา
ซึ่ง ร่างกายของคนเรา จะมีการใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลา
นั้นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมปอดจึงต้อทำหน้าที่หายใจตลอดเวลาที่คนเรามีชีวิตอยู่
เพื่อรักษาระดับออกซิเจนให้พอดี (healthy level)

ในระหว่างการออกกำลังกาย ความต้องการออกซิเจนย่อมมีมากขึ้นตามความหนัก-เบา
เช่น ออกกำลังกายปานกลาง หรือหนัก หัวใจ และ ปอดก็ทำงานมากขึ้นตามส่วน

เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายแบบ ”aerobic”
ท่านต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และในขณะออกกำลังกายจะต้องรู้สึกสบาย
อย่างน้อย ๆ 10 – 20 นาที
และการวัดการเต้นของหัวใจ กระทำได้ง่าย ๆ ด้วยการคลำชีพจรที่บริเวณข้อมือ
หรือ ที่บริเวณคอ ข้างกล่องเสียง (15 วินาที เต้นได้กี่ครั้ง x 4 จะได้อัตราการเต้นของหัวใจในหนึ่งนาที)

ท่านสามารถหาค่าของ target heart rate ของท่านได้ โดยการตรวจหาค่า
ของเต้นของหัวใจในอัตราสูงสุด (maximal heart rate) ให้ได้เสียก่อน
ซึ่งกระทำได้โดยการ หักค่าของอายุ (age) ของท่านออกจาก 220
(220-age)

ยกตัวอย่าง ผู้เขียนมีอายุ 74 ปี
Maximal heart rate ของผู้เขียน 220 – 74 = 146
ขั้นต่อไป เป็นการคำนวณหาค่า เป้าหมายของการเต้นของหัวใจ (target heart
Rate) ต่อ หนึ่งนาที ซึ่งเป็นค่าที่เราต้องการให้การเต้นของเราเพิ่มขึ้นในขณะออกกำลังกาย
ซึ่ง จะมีค่าระหว่าง 55 % ถึง 75 % ของ maximal heart rate
( ประมาณ 80 – 110 ครั้งต่อนา)

Target Heart rate ของผู้เขียนจะมีค่าระหว่าง 80 – 110 ครั้งต่อนาที

นั้นเป็นค่าที่เราจะต้องทำให้หัวใจของเรา เต้นให้ได้ในระดับดังกล่าวตลอดระยะ 30 นาที
ขณะออกกำลังกาย หลังจากการอุ่นเครื่อง (warm up) 5-10 นาที
ซึ่ง ถ้าเราสามารถทำได้เช่นนั้นทุกวัน หรือ อย่างน้อย 5 วัน ต่อหนึ่งอาทิตย์
ท่านผู้รู้ บอกว่า...จะทำให้ผู้ออกกำลังกายมีสุขภาพแข็งแรงดี

ในการออกกำลังกายแบบ “แอโรบิค”นั้น เราสามารถทำได้หลายรูปแบบ
ตามความชอบ ของแต่ละคน บางท่านชอบวิ่ง, ปั่นจักรยาน, เล่นกอล์ฟ หรือ อื่น ๆ
สามารถกระทำได้ตามอัธยาศัย

สำหรับผู้เขียนชอบ “สวิงกอล์ฟ” เล่นลูกสั้นระยะ 50 หลา ทุกวัน ๆ ละหนึ่งชั่วโมง โดยสวิงทีละ 20 ลูก
แล้วิ่ง (เยอะ ๆ) ตามเก็บลูกกอล์ฟที่เราตีไป นำไปเก็บกองไว้ที่จุดลูกตก แล้วก็วิ่งกลับมาสวิงต่ออีก 20 ลูก...
ทำจนกระทั้งลูกกอล์ฟหมดกอง (ประมาณ 200 ลูก)
จากการออกกำลังกายดังกล่าว จะใช้เวลาประมาณ 45 นาที ตรวจวัดการเต้นของหัวใจ
จะอยู่ในเกณฑ์ของเป้าหมาย (ประมาณ 90 ครั้ง ต่อนาที)

จากการออกกำลังดังกล่าว นอกจากจะได้ออกกำลังกายตามที่เราต้องการแล้ว
ยังเป็นการฝึกดูกาย และดูจิตของตนเองได้เป็นอย่างดี:
ทุกการเคลื่อนไหว(กาย) เรารู้ว่า ส่วนไหนเคลื่อนไหว (จากฝ่าเท้า...ขา...เอว..เหล็กสัมผัสลูกกอล์ฟ...)
และทุกความรู้สึกที่เกิดจากการตี (สวิง) ลูกกอล์ฟ พอใจก็รู้...ไม่พอใจก็รู้ รู้สกเฉย ๆ

ถ้าท่านผู้ใดสนใจ...ชอบเล่นกอล์ฟ แต่ เวลาไม่เอื้ออำนวย
ท่านสามารถนำเอาวิธีของผู้เขียนไปใช้ดู อาจทำให้ท่านได้รับประโยชน์จาก
การออกกำลังกายตามที่ผู้เขียนกำลังปฏิบัติอยู่ในขณะนี้...


http://www.peertrainer.com/Fitness/Fitness_Topics/Target_Heart_Rate_Why_You_Need_To_Reach_Your_Targe.aspx

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

Atrial Fibrillation (AF): ManagementMarch 13,2012

เป็นที่รู้กันว่า atrial fibrillation เป็นการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติแบบหนึ่ง
ซึงนอกจากจะเต้นด้วยจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอแล้ว มันยังเต้นด้วยอัตราความเร็วสูงมากอีกด้วย
เป็นสาเหตุให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ได้

ในระหว่างที่หัวใจเต้นผิดปกติดังกล่าว หัวใจสองห้องบนจะเต้นได้อย่างไม่สม่ำเสมอ
เป็นการเต้นที่ไม่สัมพันธ์กับ หัวใจสองห้องล่าง (ventricles)

ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ AF คนไข้จะมีอาการหัวใจสั่นเต้นระริก
หายใจไม่คล่องตัว เป็นการหายใจหอบ และ ถึ่
อยากจะดูให้เห็นภาพชัด ๆ ก็ให้ดูปลาที่อยู่เหนือน้ำ ที่กำลังต้องการออกซิเจน

ตอนที่มันเกิดอาการ (AF) มันอาจเป็นแบบกระผลุบกระโผล่ เกิดขึ้น แล้วก็หายไป
หรือในบางราย มันอาจเป็นแบบถาวร แม้ว่า มันอาจไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต
แต่ก็รุนแรงมากพอที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน
ภาวะดังกล่าว สามารถรักษาด้วยยา หรือรักษาอย่างอื่นเพื่อทำให้ระบบคลื่นกระแสไฟฟ้า
ที่ผิดปกติให้ดีขึ้นได้

Treatments and drugs

ในคนบางคน จะมีเหตุการณ์บางอย่าง หรือโรคบางอย่าง
เช่น โรคต่อมไทรอยด์ อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะ atrial fibrillation
ถ้าโรคที่กระตุ้นให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติ ได้รับการแก้ไข ปัญหาการเต้นของหัวใจก็จะหายไปเอง
ถ้าอาการของภาวะ atrial fibrillation รบกวนท่าน หรือทำให้ท่านรู้สึกไม่สบาย
ท่านควรติดต่อแพทย์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

การรักษาภาวะ atrial fibrillation มีหลายทางเลือก
ซึ่งขึ้นกับอาการเกิดขึ้นนานหรือไม่ เป้าหมายในการรักษา มีดังนี้:

• Reset rhythm หรือ Conrol heartrate
• Prevent blood clot

Resetting your heart's rhythm
ตามทฤษฎี การรักษา AF คือการรีเซทอัตราการเต้นของหัวใจ และจังหวะ
ให้กลับเต้นเหมือนปกติ ซึ่งแพทย์สามารถกระทำได้ด้วยวิธีการข๊อคด้วยไฟฟ้า
ซึ่งเรียกว่า Cardioversion หรือ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการเต้นที่ผิดปกติ (AF)
และระยะเวลาที่เกิดความผิดปกติ

การทำ cardioversion สามารถกระทำได้สองแนวทางด้วยกัน

o Cardioversion with drugs
เป็นรูปแบบการเปลี่ยนการเต้นที่ผิดปกติ ให้กลับมาเป็นการเต้นที่ปกติด้วยการใช้ยา (medications)
ซึ่ง อาจเรียกว่า anti-arrhythmia โดยอาจเป็นยาเม็ดรับประทาน หรือ เป็นยาฉีดเข้าเส้นเลือด
เพื่อทำให้การเต้นของหัวใจกลับสู่ภาวการณ์เต้นปกติ

ภายหลังจากหัวใจเต้นเป็นปกติแล้ว แพทย์จะให้ยาเดิมแกคนไข้
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด AF ขึ้นมาอีก

o Electrical cardioversion เป็นการกระตุกหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า
ซึ่งกระทำภายใต้การใช้ยาสลบ ซึ่งสามารถทำให้การเต้นผิดปกติ กลับสู่สภาพเดิมได้
ก่อนทำ electric cardioversion คนไข้จะได้รับยาต้านการจับตัวของเม็ดเลือด เช่น
Warfarin โดยให้คนไข้...เป็นเวลาหลายอาทิตย์ก่อนทำการ๊อคด้วยไฟฟ้า
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมีก้อนเลือดไปอุดตันเส้นเลือดที่สำคัญ ทำให้สมองขาดเลือด และเกิดอัมพาติ

Maintaining a normal heart rhythm
การทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
ภายหลังการทำ electrical cardioversion เราจำเป็นต้องใช้ยาต้านการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ
เป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเต้นผิดปกติแบบ atrial fibrillation
ยาที่เรานำมาใช้กัน ได้แก่:

o Amiodarone (Cordarone, Pacerone)
o Dronedarone (Maltaq)
o Propafenone (Rythmol)
o Sotalol (Betapace)
o Dofetilide (Tikosyn)
o Flecainide (Tambocor)

ยาเหล่านี้ มันสามารถช่วยรักษา และคงสภาพการเต้นของหัวใจ ให้อยู่ในระดับปกติได้ก็จริง
แต่มันสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งได้แก่:

o Nausea
o Dizziness
o Fatigue

นอกจากนี้ ยาเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการเต้นของหัวใจสองห้องล่างเต้นผิดปกติ
(ventricular arrhythmia) โชคดีทีมันพบได้ไม่ค่อยบ่อยหนัก (rarely)
ซึ่ง เป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต โดยทำให้เกิดคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจสองห้องล่างนั้นเอง

ยาเหล่านี้ คนไข้อาจจำเป็นต้องใช้ไปตลอดชีวิตได้
และจากการที่คนไข้จต้องกินยาดังกล่าว เขายังมีโอกาสเกิดภาวะ Atrial Fibrillation ได้

Heart rate control
การควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ
โดยมีเป้าในการลดอัตราการเต้นของหัวใจ ให้อยู่ระหว่าง 60-100 ต่อนาที ซึ่ง สามารถกระทำได้โดย:

o ยารักษา (medications)
แพทย์จำนวนไม่น้อยจะสั่งให้คนไข้กินยา digoxin (Lanoxin)
ยาดังกล่าว สามารถสามารถควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจใสขณะพักได้
แต่เวลาออกแรง ยาตัวนี้ทำงานได้ไม่ดีนัก นอกจาก digoxin ยังมียาตัวอื่น ที่แพทย์จะสั่งจ่ายให้คนไข้
เช่น ยาในกลุ่ม calcium channel blocker โดยให้เพิ่มยาที่คนไข้รับอยู่ก่อนหรือเป็นยาตัวใหม่
นอกเหนือจากนั้น ยาลดความดันในกลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitors
บางครั้งใช้ลดความดันโลหิต สามารถลดความเสี่ยงจากการเกิด AF ได้

o Atrioventricular (AV) ablation. ถ้ายาไม่สามารถแก้ปัญหาได้
หรือ เป็นเพราะคนไข้แพ้ยา เราอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการทำลายปุ่ม AV node
ที่ทำหน้าที่ก่อให้เกิดคลื่นกระแบไฟฟ้าของหัวใจ (AV node ablation)
ซึ่งกระทำได้โดยการใช้คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูง (radiofequency energy) ทำลาย AV node

วิธีการดังกล่าว ทำให้คลื่นจาก SA node จากหัวใจห้องบน (atria) ไม่
สามารถส่งคลื่นไปยังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างได้

กล้ามเนื้อหัวใจห้องบน (atria) ยังคงเต้นแบบสั่นระริก (fibrillate)
และเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวเป็นก้อน จำเป็นต้องได้รับยาต้านการจับตัวเป็นก้อนเลือด
(anti-coagulant medications)

ขั้นตอนต่อจากการทำ AV node ablation คือการให้คนไข้ต้องใช้เครื่อง
กระตุ้นการเต้นของหัวใจ (pacemaker) เพื่อ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเต้นได้ตามปกติ

ในขณะที่หัวใจห้องบนยังเต้นแบบสั่นระริก (atrial fibrillation)
คนไข้จำเป็นต้องได้รับยาต้านเม็ดเลือดจับตัวเป็นก้อน (clotting)
เพื่อป้องกันไมให้เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน เป็นการ
ป้องกันไม่ให้สมองถูกทำลาย เพราะขาดเลือด และออกซิเจน

• Surgical maze procedure.
นอกจากทำลายจุดกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า ด้วยคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูง
หรือทำลายด้วยความเย็น (cryotherapy) แพทย์เขาสามารถทำลายเนื้อเยื้อ
ที่ทำหน้าที่ก่อกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการใช้มีดผ่าตัดกรีดทำลายเนื้อเยื่อ
ที่เกี่ยวข้องกับทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าลง สามารถทำให้การเต้นของหัวใจแบบ AF หายได้
เขาเรียกวิธีดังกล่าวว่า surgical maze procedure:
เป็นวิธีการที่จะต้องทำการผ่าตัดเปิดหัวใจ และ สงวนไว้เฉพาะรายที่ไม่ตอบสนอง
ต่อการรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ เท่านั้น

• การป้องกันไม่ให้เกิดมีก้อนเลือด ( Preventing blood clots)
คนไข้ทุกรายที่เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติแบบ AF นั้น
จัดเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการอุดตัน ของเส้นเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้คนไข้เกิดภาวะอัมพาติได้
ยิ่งปล่อยให้เกิด AF ไม่ได้รับการรักษา โอกาสที่จะเกิดภาวะดังกล่าวยิ่งมีได้สูง
ดังนั้น แพทย์จึงจำเป็นต้องสั่งให้คนไข้กินยา ต้านการจับตัวของเม็ดเลือด
(blood thinner or anticoagulant) เช่น:

o Warfarin (cCoumadin)
o Dabigarran(Pradaxa)
o Rivaroxaban (Xarelto)

http://www.mayoclinic.com/health/atrial-fibrillation/DS00291/DSECTION=lifestyle-and-home-remedies

Heart Attack: treatment (continued) (2)

Treatment:
ในขณะที่ท่าน หรือคนที่ท่านรัก อยู่ในห้องฉุกเฉิน ท่านจะได้พบเห็น:

o ตัวท่านเอง หรือ คนที่ท่านรัก จะถูกตรวจ มีแผ่น electrode ติดที่หน้าอกของท่าน
เพื่อทำการตรวจการทำงานของหัวใจ
o ท่านจะได้รับออกซิเจน...
o แพทย์จะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดดำ และให้ยาเข้าทางเส้น
o ท่านอาจได้รับยา nitroglycerin หรือ morphine

การที่หัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmias) จะเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิต ในชั่วโมงแรก ๆ ของการเกิด heart attack
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ด้วย ยา (medications) หรือ cardioversion

EMERGENCY TREATMENTS
การรักษาแบบฉุกเฉินที่ท่านควรรู้ คือ แพทย์เขาจะทำการเปิดทางให้เลือดไหลผ่านเส้นเลือดหัวใจ ที่ถูกอุดตัน
ทำให้มันเปิดกว้างขึ้น ด้วยการสอดใส่สายพร้อมบอลลูน ทำหน้าที่ขยายเส้นเลือดที่ตีบแคบให้เปิดออก
แล้วทำการถ่างเส้นเลือดให้เปิดกว้าง ด้วยการใช้อุปกรณ์สำหรับถ่างเส้นเลือด (stent)
ซึ่งแพทย์เขาสามารถกระทำได้พร้อม ๆ กัน เขาเรียกวิธีการดังกล่าวว่า angioplasty:
o Angioplasty มักจะเป็นวีกแรกที่แพทย์เลือกใช้ในการรักษา มันควรกระทำภายใน 90 นาที
หลังจากท่านถูกนำส่งโรงพยาบาล และไม่ควรช้ากว่า 12 ชั่วโมงหลังการเกิด heart attack
o Stent เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ถ่างเส้นเลือดให้เปิดกว้าง ภายในเส้นเลือดนั้น จะกระทำภายหลังการทำ
angioplasty มันสามารถช่วยป้องกันไมให้เส้นเลือดแดงเกิดการอุดตันขึ้นได้อีก

ท่านอาจได้รับยา สำหรับทำให้ก้อนเลือด (clot) แตกตัว
ทางที่ดีที่สุด ท่านจะต้องได้รับยาภายใน 3 ชั่วโมง หลังจากท่านเกิดมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นครั้งแรก
วิธีการดังกล่าว เราเรียกว่า thrombolytic therapy

คนไข้บางราย อาจได้รับการผ่าตัด ทำ bypass surgery เพื่อทำการเปิดเส้นเลือดที่แคบ หรือ เปิดเส้นเลือดที่อุดตัน
ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ วิธีการนี้ แพทย์เขาเรียกว่า open heart surgery

AFTER YOUR HEART ATTACK
คนส่วนใหญ่ ที่เกิดภาวะ heart attack เขาเหล่านั้น จะได้รับยาต่อไปนี้:

o Anti-platelet drugs (blood thinners) เป็นยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันไมให้
o มีการสร้างเป็นก้อนเลือดขึ้นซึ่งได้แก่ aspirin, clopidogrel (plavix), หรือ warfarin (Coumadin)
o Beta-blockers และ ACE inhibitors. เป็นยาที่ใช้ช่วยปกป้องหัวใจของท่าน
o Statins หรือ ยาอย่างอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้ระดับ cholesterol ดีขึ้น

ท่านอาจจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ไปตลอดชีวิตของท่านก็ได้
ก่อนที่ท่านจะเปลี่ยนยา หรือ หยุดยา ท่านควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน อย่ากระทำโดยพละการ
อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภายหลังการเกิด heart attack ท่านอาจเสียใจ กังวล และเกิดความเครียดกับทุกอย่างที่ท่านกำลังเผชิญ
ไม่ต้องตกใจ เพราะความรู้สึกเหล่านี้ เป็นเรืองปกติ มันสามารถหายไปในเวลา 2 – 3 อาทิตย์
ท่านอาจรู้สึกเหนื่อยเพลียเมื่อกลับบ้าน

คนส่วนใหญ่ เมือเกิด heart attack เขาจะได้รับการรักษาด้วย cardiac rehab program
ภายใต้การดูแลของแพทย์ และ พยาบาล ท่านจำเป็นต้อง:

o ค่อย ๆ เพิ่มระดับการออกกำลังกายอย่างช้า ๆ
o เรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรม ที่ทำให้เกิดสุขภาพดีขึ้น

LIVING A HEALTHY LIFESTYLE
เพื่อป้องกันไมให้ตัวเอง เกิด heart attack อีก ท่านต้อง:

o ควบคุมความดันโลหิต, ระดับน้ำตาล และ ระดับ cholesterol ให้อยู่ในระดับปกติ
o ไม่สูบบุหรี่
o รับประทานอาหารที่เพิ่มสุขภาพให้แก่หัวใจ เช่น ผัก ผลไม ธัญพืช และงดเว้นการรับประทานมันสัตว์
o ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทต่อวัน อย่างน้อย 5 วัน ต่อหนึ่งอาทิตย์
o ตรวจ และ รักษาอาการเครียด
o ดื่มแอลกอฮอลให้น้อยลง (หญิงไม่ควรเกินหนึ่งดริงค์ สำหรับหญิง สองดริงค์ สำหรับชาย)
o อย่าให้น้ำหนักเกิน ให้คงสภาพ mass index ใหอยู่ในระหว่าง 18.5- 24.9

Expectations (prognosis):
เมื่อท่าน หรือใครก็ตามที่เกิด heart attack ครั้งหนึ่งแล้ว โอกาสที่มันจะเกิดขึ้นอีกครั้งย่อมมีได้สูงมาก
ปัญหามีว่า ภายหลังการเกิด Heart attack มันจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่
ย่อมขึ้นกับกล้ามเนื้อใจถูกทำลายมากน้อยแค่ใด ตำแหน่งที่กล้ามเนื้อถูกทำลายอยู่ตำแหน่งใด
หรือ มีความผิดปกติอย่างอื่น

ถ้าหัวใจของท่านไม่สามารถปั้มเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ
หัวใจของท่านอาจล้มเหลว จังหวะการเต้นของหัวใจอาจผิดปกติไป และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของท่านได้

โดยทั่วไป คนไข้ที่เกิดภาวะ heart attack สามารถฟื้นกลับสู่สภาพปกติได้อย่างช้า ๆ รวมถึง
สมรรถภาพทางเพศสัมพันธ์ได้เหมือนเดิม

Adapted from:
http://www.umm.edu/ency/article/000195all.htm#ixzz1pI2g35iV

Statins: Side Effects (continued) 2

(Continued)

เพื่อหลีกเลี่ยงจากผลข้างเคียงจากการใช้ statin
ท่านสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้:

o ระงับการรับประทานยาสักระยะ:
บางครั้ง อาการปวดกล้ามเนื้อ อาจเป็นผลมาจากยา statin หรือเป็นผลจากสาเหตุอย่างอื่น
หรือ เป็นเพราะอายุของคนไข้ก็ได้ ในกรณีที่เกิดมีอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้น
ให้ท่านลองหยุดยาที่ท่านรับประทานสักระยะ เช่น 10 -14 วัน
จากการกระทำดังกล่าว ท่านสามารถสามารถบอกได้ว่า
อาการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลจายา หรือจากสาเหตุอย่างอื่นได้

o เปลี่ยนยาตัวใหม่:
ในกรณีที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ซึ่งคิดว่า ป็นผลเนื่องมาจาก statins
วิธีง่ายที่สุด คือ เปลี่ยนยา แต่ ยาที่ท่านเปลี่ยนไปนั้น อาจก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้นก็ได้
ซึ่งอาจมีอาการมากกว่า statins โดยเฉพาะในรายที่ใช้ยาในขนาดสูง

o เปลี่ยนขนาดของยา:
การลดขนาดยาลง สามารถลดอาการแพ้ยาลงได้
แต่การทำเช่นนั้น สามารถลดประสิทธิผลในการลดระดับไขมันลงได้
ด้วยเหตุนี้เอง แพทย์อาจมีการปรับเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นได้

o ลองพิจารณายาลดไขมันตัวอื่นดู:

มียาลดไขมันอีกตัว ชื่อ Ezetimibe (Zetia)
เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งไม่ให้มีดูดซึมสารไขมัน cholesterol
มันอาจเป็นยาที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้น้อยกว่า หรือ อาจลดอาการปวดกล้ามเนื้อลงได้
ถ้ามีการใช้ร่วมกับ statin

o อย่าใช้ยาแก้ปวด (OTC) เพื่อลดอาการปวด:
เพราะอาการปวดกล้ามเนื้อจากสาร statin ไม่สามารถระงับได้ด้วยยาแก้ปวดที่ซื้อได้จากร้านขายยา
เช่น acetaminophen, ibuprofen

o ลองรับประทานอาหารเสริม Q10:
มีรายงานวา Q10 สามารถลดผลข้างเคียงที่เกิดจาก statin ได้

ให้มั่นสังเกตดูปฏิกิริยาจากการใช้ยา:
เมื่อใดที่ท่านใช้ยา statin ขอให้ทราบว่า
สารตัวนี้สามารถมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่น หรือ อาหารบางชนิดได้
ปฏิกิริยาที่น่ากลัว คือ มันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ยกตัวอย่าง

o ยาในกลุ่ม statin ทุกตัว เมื่อรับประทานร่วมกับ “องุ่น”
หรือ “น้ำองุ่น” :
ในผลองุ่น มีสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่สามารถทำให้ statin มีฤทธิ์เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ท่านได้ เพราะเราไม่ทราบแน่ชัดว่า มันมีผลอย่างต่อระดับ total cholesterol

o Simvastatin (Zocor) และ amiodarone (Cordarone):
คนที่รับประทาน simvastatin อย่างเดียว หรือจะรับร่วมกับยาตัวอื่น
เช่น azetimibe และ ยา amiodarone (ยาที่ใช้รักษาการเต้นผิดปกติของหัวใจ)
มักจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น เกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อ (rhabdomyolysis)
และตามด้วยโรคไตวายได้

o ยาในกลุ่ม statin ทุกตัวเมื่อใช้ร่วมกับ gemfibrozil (Lopid):
คนที่รับยาทั้ง gemfibrozil และ statin อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน

o ยาในกลุ่ม statin ทุกตัว ร่วมกับยาปฏิชีวนะ(antibiotic) และ ยารักษาเชื้อรา (antifungal)
สามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้

o ยา statin ร่วมกับ antidepressant medications:
เมื่อใช้ยา statin ร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า เช่น nefazodone(Serzone)
มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้

o ยาในกลุ่ม statin ทุกตัว ร่วมกับ ยากดภูมิต้านทาน (immmuno-suppressant medication):
อาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้เช่นกัน

โดยสรุป แม้ว่า ยาในกลุ่ม statin สามารถก่อให้เกิดความรำคาญใจแก่ท่านได้ก็จริง
แต่ ก่อนที่ท่านจะเลิกกินยาดังกล่าว ท่านต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาร่วมกันถึงผลดี และผลเสีย
ที่พึงจะได้รับจากการใช้ยาดังกล่าว

มันสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด (heart attack) และ สมองขาดเลือด (stroke)
ของท่านได้ และที่สำคัญ อันตรายจาก statin ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงนัก
ดังนั้น ก่อนหยุดยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนน่าจะเป็นการดีแก่ท่านเอง
เพราะแพทย์อาจแนะนำอะไรบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่ตัวท่านได้

Adapted from:
www.mayoclinic.com/health/statin-side-effects/MY00205/NSECTIONGROUP=2

Statin side effects: Weigh the benefits and risks

เรามักจะพบเห็นแพทย์สั่งยา statins ให้แก่คนที่มีไขมันในเลือดสูง
กว่าระดับปกติ ด้วยจุดประสงค์ลดระดับไขมันลงสู่ระดับที่ปลอดภัย
และ ในขณะเดียวกัน ถือเป็นการลดความเสี่ยง ไม่ให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด (Heart attack)
หรือ ภาวะสมองขาดเลือด (stroke)

คนส่วนใหญ่เมื่อกินยาในกลุ่ม statin แล้ว เขามักจะกินยาตัวนั้นไปตลอดชั่วอายุไขของเขา
เป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาเรื่องผลข้างเคียง ที่เกิดจากยา statin ลำบากขึ้น

ผลข้างเคียงที่เกิดจากยา statin ทำให้ประโยชน์ที่พึได้รับ
อาจไม่คุมกับผลเสียที่เกิดขึ้นก็ได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ท่านจะหยุดยาตัวดังกล่าว
ท่านอาจเริ่มต้นหาทางลดผลข้างเคียงเสียก่อน ว่า
ท่านมีทางที่จะลดผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้หรือไม่ ?
เช่น ลดขนาดของยาลง เป็นต้น

ผลข้างเคียง (side effects) ของ statin ?

o ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle pain) :

เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด บางท่านอาจมีความรู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย
หรือ เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่ง อาการดังกล่าว อาจเพียงก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น
หรือ มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ยกตัวอย่าง เช่น ไม่สามารถเดินขึ้นบันได เดินด้วยความลำบาก มีอาการเหนื่อย เพลีย
มีบางกรณี ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จะมีความรุนแรงมากถึงขั้นทำลายชีวิตของคนได้
แต่โชคยังดี ที่มันไม่ค่อยจะเกิด นั้นคือ มีการทำลายของกล้ามเนื้อ เรียก rhabdomyolysis
ซึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อมีความรุนแรง ถึงกับทำให้ตับถูกทำลาย
ไตล้มเหลว และ อาจถึงความกับสูญเสียชีวิตไปในที่สุด

ภาวะ rhabdomyolysis สามารถเกิดขึ้นจากการที่ท่านกินยา statin
ร่วมกับยา หรือ ร่วมกับสารบางอย่าง
ซึ่งทำให้ระดับของ statin ในกระแสเลือดสูงขึ้น

o ตับถูกทำลาย (Liver damage):

การใช้ยา statin บางครั้งสามารถทำให้ตับผลิตเอ็นไซม์ออกมามากเกินปกติ
โดยที่เอ็นไซม์เหล่านั้น มันหน้าที่ช่วยในการย่อย - สลาย อาหาร เครื่องดื่ม และ ยาต่าง ๆ

ถ้าการที่ตับผลิตเอ็นไซม์ไม่มากนัก ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร
แต่หากว่า การกินยา statin นั้น ทำให้ตับผลิตเอ็นไซม์ออกมากเกินไป...
มันอาจก่อให้เกิดผลอันไม่พึงปราถนาได้

ในบางกรณี บางคนเกิดมีปัญหาขึ้นแล้ว แต่ตัวเองไม่ทราบ
เป็นเหตุให้ปัญหาที่เกิด ไม่ได้รับการแก้ไข

อะไรจะเกิดขึ้น ?

แน่นอน...ตับจะถูกทำลายไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นไม่สามารถรักษาให้ฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้อีกต่อไป

ยกตัวอย่างของยาที่ก่อให้เกิดปัญหา ได้แก่ยา niacin และ gemfibrozil (Lopid)
เป็นยาที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการทำลายของตับ โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบ เพราะเขาจะมีอาการในใด ๆ
ดั้งนั้น ใครก็ตามที่รับประทาน statin เป็นประจำ
ควรได้รับการตรวจเช็ค ดูการทำงานของตับบ่อย ๆ 6 อาทิตย์หลังรับประทานยา
จากนั้นให้ตรวจซ้ำทุก 3-6 เดือน หลังรับประทานยา statin
โดยเฉพาะในราย ทีต้องเพิ่มยา หรือในกรณีที่ต้องใช้ยาลดไขมันตัวอื่นเพิ่มเข้าไปอีก(combination)

o ปัญหาด้านการย่อยอาหาร (Digestive problems):

มีคนไข้บางรายเมื่อรับประทาน statin แล้ว จะเกิดมีอาการคลื่นไส้
มีลมในกระเพาะ-ลำไส ท้องล่วง หรือ มีอาการท้องผูก แต่อาการเหล่านี้ พบได้น้อยมาก

คนส่วนใหญ่ ก่อนที่จะรับประทานยา statin พบว่า เขามีปัญหาเกี่ยวระบบย่อยอาหารอยู่แล้ว
วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว กระทำได้โดยรับประทานยาร่วมกับอาหารเย็น
สามารถลดอาการดังกล่าวลงได้

o มีผื่น หรือ หน้าแดง (Rash or flushing) :

เมื่อท่านรับประทาน statin ท่านอาจเกิดมีผื่นตามผิวหนัง
หรือมีอาการหน้าแดงกร่ำ ยิ่งเมื่อมีการรับประทานร่วมกับ niacin

o ผลข้างเคียงทางประสาท (Neurological side effects):

มีนักวิจัยบางคน ได้ศึกษาเพื่อพิสูจน์ว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิดภาวะความจำเสื่อม
หรือเกิด amyotrophic lateral sclerosis หรือไม่ ?
ผลปรากฏว่า statin ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคทั้งสองโรคเลย

o ใครจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจาก statin ?

คนที่กินยา statin เพื่อลดระดับไขมัน จะไม่เกิดผลข้างเคียงทุกรายไป
แต่ก็มีบางรายเท่านั้น อาจมีแนวโน้มที่เกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าคนอื่น ๆ เช่น:

o รับประทานยาลดไขมันหลายตัว
o เป็นเพศหญิง
o โครงสร้างของร่างกายเล็กกว่าปกติ
o อายุมาก 65 หรือ แก่กว่า
o มีโรคไต และ โรคตับ
o เป็นโรคเบาหวาน ทั้งประเภท 1 & 2

อะไรคือสาเหตุทำให้เกิดผลข้างเคียงจาก statin?
สาร statin ออกฤทธิ์ในการลดการสร้างไขมัน cholesterol ลง
โดยปกติ ร่างกายของคนเราจะสร้างไขมัน cholesterol ทุกชนิด
เพื่อสนองความต้องการของร่างกาย เช่น ย่อยอาหาร และ สร้างเซลล์ขึ้นใหม่

เมื่อกระบวนการสร้างไขมันลดลงจากการใช้ยา statin
มีนจะทำให้ร่างกายของท่าน จะเริ่มดึงไขมัน cholesterol
ที่มันต้องการจากอาหารที่ท่านรับประทานเข้าไป ทำให้ปริมาณของ total cholesterol ลดลง

สาร Statin อาจไม่เพียงแต่กระทบต่อการสร้าง cholesterol ในตับเท่านั้น
แต่ มันอาจกระทบกับ “เอ็นไซม์” อีกหลายตัวในกล้ามเนื้อของคนเรา
ซึ่ง มันทำหน้าที่รับผิดชอบกับการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ

ผลที่กระทบกับเอ็นไซม์ดังกล่าว จึงอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดมีอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อ (muscle ache)ก็ได้

Continued…. Side Effect

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

Aspirin: มีสิ่งเรามองข้ามไป ?

"แอสไพริน"

“แอสไพริน” เป็นยาสามัญ ที่ใคร ๆ ต่างได้ยินชื่อกันมานาน
เป็นยามาตรฐาน ที่แพทย์ชอบสั่งให้คนไข้กิน จนถือเป็นเรื่องธรรมดาไป...
วงการแพทย์ของอเมริกา- American Heart Association
ได้แนะนำให้ใช้ “แอสไพริน” สำหรับคนที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจถูกทำลาย (heart attack)
หรือสมองทำลายจากการขาดเลือด (stroke) จากเหตุการณ์ของก้อนเลือดอุดตัน
หรือ ใช้ในคนที่มีอาการเจ็บหน้าอก unstable angina หรือ ภาวะ “Ministroke”

นอกจากนั้น AHA ยังให้ข้อสังเกตว่า คนมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคดังกล่าว..
เช่น คนสูงอายุ มีความดันสูง และ มีประวัติของคนในครอบครัวว่า เป็นโรคหัวใจ และสมองขาดเลือด
จะได้รบประโยชน์จากการใชยา แอสไพริน” เช่นกัน

แน่นอน! เราทุกคนคุ้นเคยกับยา “แอสไพริน”
แต่ นอกจากประโยชน์ ที่เรารู้ว่า มันถูกนำไปใช้ในการป้องกันไม่ให้มีการจับต้วของเกล็ดเลือด
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมอง หรือ หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนแล้ว
ยังมีอะไรหลายอย่าง ที่เราควรรู้เอาไว้ ดังนี้:

 ตัดความเสี่ยงจากการเกิดอาการชักในขณะตั้งครรภ์ (pre-eclampsia )--
ผลจากการศึกษาที่ลงในวารสาร Lancet ปี 2007 แนะว่า สตรีที่ตั้งครรภ์ ซึ่งไดรับยา “แอสไพริน”
หรือ ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด สามารถลดการเกิดความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
หรือ ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อันพึงเกิดขึ้นกับมารดา และ ทารกที่อยู่ในครรภ์

 ยา “แอสไพริน” สามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งของไส้ใหญ่ (colorectal cancers)
จากวารสาร Gastroenterology ได้รายงานเอาไว้ ว่าการรับประทาน “แอสไพริน” ในระยะ
ยาว สามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ได้

 มันสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งในเต้านมได้
จากวารสาร The Journal of National Cancer Institute...
ได้รายงานว่า แอสไพริน สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในเต้านมได้ถึง 13 %
เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้รับแอสไพริน
(นอกจากนั้น จากการใช้ยา NSAIDs ยังสามารถลดความเสี่ยงได้ถึง 12 %)

 จากการใช้ “แอสไพริน” จะทำให้ผลการตรวจหามะเร็งของต่อมลูกหมากผิดไป
ผลที่รายงานจาก Month’s journal Cancer รายงานว่า
ชายที่รับประทาน “แอสไพริน” และยา “NSAIDS” จะทำให้ระดับของการตรวจหา
Prostate-specific antigen ลดลงถึง 10 %
ดังนั้น นักวิจัยจำนวนไม่น้อยต่างแนะนำว่า การใช้ยา “แอสไพริน” จึงทำให้เราพลาด
จากการตรวจมะเร็งของต่อมลูกหมากไป

 จากการใช้ยา “แอสไพริน” สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรค “อัลไซเมอร” ได้ถึง 13 %
มีการศึกษา และถกเถียงกันว่า ระหว่าง NSAIDs และ Aspirin ตัวไหนจะดีกว่ากัน
ในการปกป้องคนไม่ให้เกิดโรคสมองเสื่อม “อัลไซเมอร”

 ยา “แอสไพริน” สามารถป้องกันไม่ให้เกิด “ภาวะสมองถูกทำลาย (stroke)”
จากการมีก้อนเลือดอุดตันในเส้นเลือดของสมองได้ แต่ถ้าหาใช้ยา "แอสไพริน" ร่วมมกับ ibruprofen
พบว่า ประโยชน์ของ “แอสไพริน” ในการต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด จะลดลง

 รับประทานยา “แอสไพริน” 100 mg วันเว้นวัน สามารถป้องกันไม่ให้สตรีอายุ 45 ขึ้นไป
ไม่เกิดโรค asthma ในอนาคตอีกสิบปี ถึง 10 % แต่ถ้าหาคน ๆ นั้นถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค asthma แล้ว
การใช้ยาแอสไพริน สามารถทำให้เกิดอาการขึ้นมาได้ (exacerbate) ถึง 10 %

จากรายงานใน Neurology ปี 2007 รายงานเอาไว้ว่า สตรีที่รับประทาน “แอสไพริน” อย่างสม่ำเสมอ
อาจลดโอกาสเกิดโรค Parkinson’s ได้ถึง 40 %

 รายงานจาก The British Medical Journal รายงานเอาไว้ว่า การใช้ยา “แอสไพริน”
ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน (diabetes) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด “heart attack”
ผลที่ได้ ไม่แตกต่างจากการใช้ยาหลอก (placebo) แต่ประการใด
ตามความเป็นจริง คนเป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสเกิด heart attack หรือ stroke ได้เท่าของคนปกติ

 มีรายงานจาก the British Medical Journal มีคนประมาณ 30 % ที่เป็นโรคในระบบ
เส้นเส้นเลือดและหัวใจ (cardiovascular disease) ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา “แอสไพริน” (Aspirin Resistance) จึงเป็นเหตุให้พวกเขา มีโอกาสเกิด heart attack หรือ stroke
หรือเสียชีวิตถึง 4 เท่าตัวของคนที่ตอบสนองต่อยา “แอสไพริน”

 ยา “แอสไพริน” หรือ “NSAIDs” สามารถก่อให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร
เช่น กระเพาะอาหารเป็นแผล และ ตกเลือดได้ โดยเฉพาะในรายที่รับประทานยาเป็นเวลานาน

 รายงานจาก BMC Medicine พบว่า ชายจะได้ประโยชน์จากการใช้ยา “แอสไพริน”
มากกว่าสตรี ในการลดอัตราการเกิดภาวะ fatal heart attack

นั้นคือ 12 สิ่ง ที่เราควรรู้จากการใช้ยา “แอสไพริน”


http://health.usnews.com/health-news/articles/2008/10/28/12-things-you-should-know-about-aspirin?page=2

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

Heart Disease & rhythm (continued).

เมื่อนึกถึงตำราพิชัยสงครามซูนวู (รบร้อยครังชนะร้อยครั้ง)เมื่อใด...
เมื่อนำมาเปรียเทียบกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย
ทำให้เราทราบว่า การรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับคนเรา มันเหมือนกับกลยุทธของซุนวูไม่มีผิด
นั้นคือ การ(เรียน)รู้ธรรมชาติของโรคในทุกแง่ทุกมุม
ถ้าเราทำได้... การแก้ไขปัญหา ก็เป็นเรื่องง่ายนิดเดียว

วินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดปกติได้อย่างไร?
มีวิธีการตรวจมากมาย ที่นำมาใช้ในการวินิจฉัยภาวการณ์เต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
หรือ วินิจฉัยหาสาเหตุ ซึ่งได้แก่:

• Electrocardiogram
• Holter monitor
• Event monitor
• Stress test
• Echocardiogram
• Cardiac catheterization
• Electrophysiology study (EPS)
• Head-up tilt table test

จะรักษาภาวการณ์เต้นของัวใจผิดปกติได้อย่างไร ?

การรักษาหัวใจเต้นผิดปกติ ขึ้นกับชนิดของความผิดปกติ และความรุนแรงที่เกิดขึ้น
บางรายที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ ไม่จำเป้นต้องรักษาแต่อย่างใด
ส่วนรายอื่น ๆ ที่มีอาการรุนแรงกว่า จำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ยา (medication)
ปรับเปี่นพฤติกรรม (lifestyle changes) และ ทำการผ่าตัด

ยาที่ใช้ในการรักษา(medications):
มียาห]ายตัวที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะการณ์เต้นที่ผิดปกติของหัวใจ ซึ่งประกอบด้วย:

• Antiarrhythmic drugs. ยาเหล่านี้ ถูกนำไปใช้ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ
ซึ่งรวมถึงพวก beta-blockers
• Anticoaglant or antiplatelet therapy. ยาพวกนี้นำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยง
ไม่ให้มีการสร้างการก้อนเลือดขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
เช่น สมองถูกทำลาย (stroke)จากการขาดเลือด และออกซิเจน

ยาในกุ่มนี้ ได้แก warfarin (blood thinner) หรือ aspirin
นอกจากนั้น ยังมี blood thinner ตัวอื่น ๆ อีก ที่ถูกนำมาใช้ในการรักษา
เช่น Pradaxa (dabigatran) แ Xeralta (rivaroxaban) เป็นยาที่ถูกรับรองว่า
สามารถใช้ป้องกันภาวะ เส้นเลือดในสมองอุดตัน โดยเฉพาะในคนไข้ที่เป็นโรค atrial fibrillation
เนื่องจากคนแต่ะคน มีความแตกต่างกัน จึงอาจมีการทดลองใช้ยาหลาย ๆ ขนาน หลายขนาด
เพื่อที่จะหายา และขนาดที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ในแต่ะรายได้

คำถาม:
การปรับพฤติกรรม สามารถช่วยการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้จริงหรือ ?

o ถ้าพฤติกรรมบางอย่าง ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือเกิดบ่อย ท่านควรงดพฤติกรรมนั้น ๆ
o ถ้าท่านสูบหรี่...เลิกเสีย
o จำกัดการดื่มแอกอฮอ ลง
o จำกัด การดื่มกาแฟ (มีบางคนพอดื่มกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มบางอย่าง จะทำให้เกิดอาการขึ้น)
o ให้หลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้นบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคหวัด (cold) ยาแก้ไอ

การปรับเปี่ยนการเต้นขอหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า:
(electrical cardiversion)

ในรายที่ไม่สามารถควบคุมการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจได้ด้วยยา เช่น ในราย AF
คนไข้จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วย วิธีทีเรียกว่า cardioversion (การ shock หัวใจ)
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้า กระตุกหัวใจทีบริเวรหน้าอก
ซึ่งกระทำในขณะดมยาสบ สามารถทำให้การเต้นของหัวใจกลับสู่การเต้นเป็นปกติได้

Pacemaker เป็นเครื่องมืออะไร ?:

Pacemaker เป็นเครื่องมือ ที่ทำหน้าที่ส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ
เพื่อทำให้ห้วใจคงสภาพการเต้นในอัตราที่เหมาะสม
Pacemaker เป็นเครื่องกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า (pule generator)
ซึ่งมีแบตเตอรี่ และ คอมพิวเตอรขนาดเล็ก เมีส้นเลวดส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าจากเครื่องดังกล่าว
ไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ

เครื่องมือที่ผลิตออกมาใหม่ ถูกออกแบบมา เพื่อใช้ในการรักษาการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจได้
Implantable Cardioverter Defibrillator (ICD)?

ICD เป็นเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการรักษาการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจห้องล่าง
ซึงเป็นทั้ง ventricular tachycardia และ ventricular fibrillation
เป็นภาวะ หรือ โรคที่สามารถทำลายชีวิตของคนไข้ได้

ICD เป็นเครื่องมือที่สามารถตรวจเช๊คจังหวะการเต้นของหัวใจตอลดเวลา
เมื่อตรวจพบการเต้นที่ผิดปกติ เต้นเร็วไป หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ มันจะส่งคลื่น (energy)
ไปจัดการแก้ไขให้ทำงานได้เป็นปกติทันที ซึ่งมีหน้าที่หายอย่างด้วยกัน
เช่น:
• Anti-tachycardia pacing (ATP). เมื่อหัวใจมีการเต้นที่เร็วไป
เครื่องมือจะส่งคลื่นเป็นขบวน (series of electrical impulse) ไป
ยังกล้ามเนื้อหัวใจ...จัดการให้กลับมาเต้นเหมือนเดิม
• Cardioversion. เป็นการกระตุกด้วยคลื่นไฟฟ้า (energy shock)
ในขณะมีการทำให้การเต้นของหัวใจ ... ทำให้การเต้นกลับสู่การเต้นที่เป็นปกติได้
• Defibrillation. ในกรณีที่มีการเต้นที่ผิดปกติ ที่เต้นด้วยความเร้วสูง และสม่ำเสมอ
การใช้พลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งเมื่อปล่อยไปยังกล้ามเนื้อหัวใจแล้ว สามารถทำให้การเต้นกลับเป็นปกติได้
• Anti-bradycardia pacing. ปรากฏว่า มีเครื่อง ICDs จำนวนมาก
ทีสามารถทำหน้าที่สำรองข้อมล ( back-up pacing) การเต้นตามปกติของหัวใจเอาไว้
เมื่อมีการเต้นผิดปกติ มันสามารถจัดการแก้ไขได้

Catheter Ablation?
เป็นวิธีการรักษาภาวะการณ์เต้นผิดปกติของหัวใจ ชนิด PSVTs, atrial flutter ,
atrial fibrillation และในบางรายที่เป็นทั้ง atrial &ventricular tachycardis.
การรักษาด้วยวิธี ablation กระทำได้โดยการใช้พลังงานจากกระแสไฟฟาที่มีความถี่สูง
ส่งผ่านไปตามสาย Catheter ไปยังเนื้อเยื่อภายในหัวใจ ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่ก่อให้เกิดคลื่นที่ไม่ปกติ
เป็นการใช้พลังจากกระแสไฟฟ้า ทำลายการติดต่อของคลื่นที่ผิดปกติลง

Heart Surgery?
บางครั้งศัลยกรรมทรางอก หรือการผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ ก็อาจมีบทบาทต่อการรักษา
การเต้นที่ผิดปกติของหัวใจได้เช่นกัน โดยวิธีการหนึ่ง เรียกว่า Maze procedure
เป็นกระบวนการใช้มิดผ่าตัด “กรีด” เนื้อเยื่อของหัวใจส่วนที่ทำหน้าที่นำคลื่นกระแสไฟฟ้า
ซึ่งอยู่ในหัวใจสองห้องบน การรักษาด้วยวิธีการดัวกล่าว คนไข้บางรายอาจจำเป็นต้องใช้
Pacemaker ต่อไปก้ได

http://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-abnormal-heart-rhythm?page=3

Heart Disease and Heart Rhythm (Arrhythmia)

หัวใจเต้นผิดปกติ! หรือ ปกติ!

การที่หัวใจของคนเราเต้นผิดปกติไป เขาเรียกว่า arrhythmia
ซึ่งจะแตกต่างจากอัตราการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (irregular heart rate)
ตามจริงทั้งสองภาวะ ไม่จำเป็นต้องเกิดพร้อมกัน

ปกติอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 50– 100 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
ภาวะ arrhythmia สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่หัวใจเต้นด้วยอัตราปกติได้
หรือ เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจเต้นเร็ว หัวหัวใจเต้นช้าก็ได้
ในสหรัฐฯ เคยมีคนไข้ทีหัวใจเต้นผิดปกติ ถูกรับไว้ในโรงพยาบาลปีหนึ่งมากกว่า 850,000 คน / ปี

อะไรคือสาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia):

หัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น:

o โรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ (coronary artery disease)
o การเปลี่ยนแปลงในกล้ามเนื้อของหัวใจ
o มีความไม่สมดุลในธาติ หรือ สารที่มีไอออน (อีเล็กโตรไลท์) เช่น sodium หรือ potassium
o กล้ามเนื้อ หัวใจถูกทำลาย (injury) จากการขาดเลือด & ออกซิเจน (heart attack)
o ภายหลังการผ่าตัดหัวใจ

ชนิดของความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ
(Types of arrhythmia)

o Premature atrial contractions. เป็นการเต้นของหัวใจห้องบนก่อนเวลาอันควร
ยกตัวอย่าง เช่น การเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วขึ้นหลายครั้งก่อนเวลาอันควร
ซึ่งเป็นผลจากคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบน (atria) ทำให้เราจับชีพจรได้เป็นคู่ ๆ
หากท่านใด มีการเต้นของหัวใจในลักษณะดังกล่าว ไม่ต้องกังวล เพราะมีอันตรายอะไรเลย
มันเป็นการตอบสนองของระบบเสนเลือด และหัวใจ ที่มีต่อความสมบูรณ์ของร่างกายก็ได้

o Premature ventricular contractions(PVCs). เป็นการเต้นของหัวใจที่พบบ่อย
ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่คน ๆ นั้น มี หรือไม่มีโรคหัวใจ เป็นความรู้สึกที่คนเราสามารถสัมผัสได้
การเต้นของหัวใจดังกล่าว จะสัมพันธ์กับความเครียด หรือ ดื่มกาแฟมากไป หรือสูบหรี่มากเกินไป
หรือแม้กระทั้งออกกำลังกายมากเกิน ก็ทำให้เกิดขึ้นได้

PVCs สามารถเกิดจากคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือ เกิดจาการเสียความสมดุลในอีเล็กโตรไลท์ได้
ถ้าท่านมีอาการร่วมกันภาวะดังกล่าวมากเกินปกติ ท่านควรพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม ภาวะ PVCs ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายใด ๆ ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
(หรือถ้าจะมี...ก้น้อยมาก!)

o Atrial fibrillation. AF เป็นการเต้นของหัวใจที่มีจังหวะผิดปกติ
(irregular Rhythm) ซึ่งพบได้บ่อย ทำให้กล้ามเน้วหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติไป

o Atrial Flutter. เป็นการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
ซึ่งเกิดจากวงจรของคลื่นไฟฟ้าในหัวใจสองห้องบนปล่อยเร็วกว่าปกติ โดยอาจเกิดได้ครั้ง หรือมากกว่า
โดยเราจะพบได้ในคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ
ส่วนมากจะพบหลังการผ่าตัดหัวใจ พวกนี้สามารถเปลี่ยนเป้น AF ได้

o Paroxysmal supraventricular tachycardia (PVST).
o เป็นการเต้นขอหัวใจ ที่มีอัตราการเต้นที่ถี่-เร็ว และ มักจะเป็นการเต้นที่สม่ำเสมอ
โดยคลื่นนกระแสไฟฟ้า ที่ปล่อยออกมาจากกล้ามเนื้อหัวใย ตรงตำแหน่งที่อยู่เหนือหัวใจสองห้องล่าง
ซึ่งมันจะเกิด และดับลงอย่างรวดเร็ว

PVST มีสองชนิด ที่เราควรรู้เอาไว้ Accessory path tachycardia และ AV node
Reentrant tachycardia

 Accessory pathway tachycardias. ในชนิดนี้ จะพบหัวใจมีการเต้นเร็ว
เนื่องมาจากมีทางเดินของคลืนกระแสไฟฟ้า (extra abnormal pathway) เพิ่มขึ้นจากเดิม
ทำให้คลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านสองเส้นทาง (ทางเดิม และทางที่มีเพิ่ม)
เป็นเหตุให้มคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งรอบหัวใจอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินปกติไป

 AV nodal reentrant tachycardia. การเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติชนิดนี้
เกิดจากการที่มีทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าในหัวใจมากว่าหนึ่ง ที่วิ่งผ่าน AV node
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการใจสั่น, เป็นลม หรือ หัวใจล้มเหลว
ในบางราย เราสามารถทำให้มันหายไป ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น หายใจลึก ๆแล้วเบ่ง
(breathing in and bearing sown)
มียาบางตัวสามารถยุติกการเต้นที่ผิดปกติดังกล่าวได้

o Ventricular tachycardia (V-tach). เป็นการของหัวใจสองหองล่าง ที่เต้นเร็ว
โดยมีคลื่นจากกล้ามเนื้อหัวใจจากสองห้องล่าง (ventricles)
การที่หัวใจสองห้องล่าวเต้นเร็วนั้น จะขัดขวางไม่ให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ไม่เพียงพอ
จัดเป็นชนิดของการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ที่มีอันตราย โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคหัวใจ
และอาจทำให้คนไข้มีอาการมากขึ้น

o Ventricular fibrillation. เป็นการเต้นของหัวใจที่เต้นเร็ว
ซึ่งเกิดจากการที่มีการปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจสองห้องล่าวอย่างไร้เป้าหมาย
เป็นการยิงคลื่นกระแสไฟฟ้า ที่มีลักษณะเหมือนฝูงชนแตกตื่นจากภัยพิบัติ...
ทำให้การเต้นบีบตัวของกล้ามหัวใจห้องล่างสั่นระริก ไม่สามารถที่จะบีบเลือดออกจากหัวใจได้เลย
จัดเป็นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน
เช่น (cardiopulmonary Resuscitation (CPR) และทำ defibrillation ให้เร็วที่สุด

o Long QT syndrome. QT interval คือบริเวณที่พบใน electrocardiogram
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า เป็นระยะเวลาที่กล้ามเนื้อมีการหัดตัว และกลับสุ่สะภาพเดิม (contract and recover)
หรือเป็นระยะเวลาที่มีการยิ่งคลื่นกระไฟฟ้า และมีการ recharge
ถ้าเมื่อใดที่พบว่า QT interval ยาวกว่าปกติ มันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิต
จากการเกิด ventricular taแhycardia

ในบางราย Long QT syndrome เป็นโรคทางกรรมพันธ์ สามารถทำให้เกิดการเสียชวิตในคนหนุ่มได้
ซึ่งสามารถรักษาด้วยการใช้ยาต้านการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

o Bradyarrhythmias. เป้นการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติ ซึ่งเกิดจากโรคหัวใจเอง
โดยที่ระบบกำเนิดคลื่นของหัวใจทำงานผิดปกติ
ยกตัวอย่างเช่น sinus node dysfunction และ พวก heart block

 Sinus nod dysfunction. โรคที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจเต้นช้าลง
เพราะมีความผิดปกติที่ปุ่มกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า SA node
สำหรับรายที่ทำให้มีอาการ จำเป็นต้องรักษาด้วยการใส่ pacemaker

 Heart block. เป็นปิดกั้นคลื่นกระแสไฟฟ้าที่วิ่งจากหัวใจห้องบนไปยังหัวใจห้องล่าง
ซึ่งปิดกั้นบางสั่วน ทำให้การเนทางของคลื่นช้าลง (partial) หรือถูกปิดกั้นโดยสิ้นเชิง (complete block)
เป็นเหตุให้หัวใจเต้นได้ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็น ช้าลง หรือ อาจเต้นเร็วขึ้น
ถ้าหากอาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาด้วยการใส่ pacemaker
การเต้นของหัวใจผิดปกติ สามารถมาในรุแบบที่ไม่มีใครรู้ ไม่แสดงอาการ
แพทย์ตรวจพบในขะทำการตรวจร่างกาย โดยตรวจคำชีพจร การตรวจคลื่นของหัวใจ ECG

อาการแสดงของภาวะหัวใจเต้นไม่ปกติ อาจมีดังต่อไปนี้:

• มีอาการใจสั่น (palpitation เป็นความรู้สึกผิดปกติ ...
• Pounding in the chest
• รู้สึกวิงเวียน (dizziness)
• รู้สึกเป็นลม (fainti8ng)
• Shortness of breath
• Chest discomfort
• Weakness or fatigue

Continued. >