วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โลหิตจาง (anemia) 2


โรคโลหิตจาง (Types) ที่พบได้บ่อยได้แก่:

โรคโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก

(Iron-deficiency anemia) 

เป็นโรคโลหิตจางที่พบมากที่สุดในกลุ่มโลหิตจางทั้งหลาย
โดยมีสาเหตุจากการขาดธาตุเหล็ก  ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือด
แดงได้  เกิดเป็นโรคโลหิตจางขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก  คือการเสียเลือด
และบางครั้งอาจเป็นผลมาจากความบกพร่องการดูดซึมจากอาหารก็ได้
หรืออาจเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร  ซึ่งทั้งสองกรณีมีการ
ใช้ธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก  เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

 สาเหตุของการขาดธาตุเหล็กมักเป็นมาจากการเสียเลือด
แต่บางครั้งอาจเป็นผลเนื่องมาจากความบกพร่องในการดูดซึมของธาตุเหล็กเสีย
ไป  หรือบางทีอาจเกิดจากการตั้งครรภ์ และคลอดบุตร
ซึ่งจำเป็นต้องใช้ธาตุเหล็กเป็นอย่างมาก  จึงทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้

นอกเหนือจากนั้น  เรายังพบว่า  ในคนไข้ที่ทำการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
เพื่อลดน้ำหนัก (gastric bypass surgery) หรือเหตุผลอย่างอื่น ๆ
อาจทำให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก  โดยทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กเสียไป

โรคโลหิตจางจากการขาดไวตามิน
(Vitamin-deficiency anemia)

เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดสาร vitamin B12 หรือ folate
ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการขาดอาหาร
คนเป็นโรคโลหิตจางที่มีชื่อ “pernicious anemia” เป็นผลมาจากร่างกาย
ไม่สามารถดูดซึมเอา vitamin B12 จากทางเดินอาหารได้

Aplastic anemia
 เป็นโรคโลหิตจางที่พบได้น้อยมาก  จะเกิดขึ้นเมื่อร่ากายหยุดการสร้าง
เม็ดเลือดแดงให้ได้เพียงพอ  โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบติดเชื้อไวรัส,
หรือเกิดจากการสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษ (toxic chemicals), ยา (drugs)
และโรคของภูมิต้านทานจากความพบพร่อง

Idiopathic aplastic anemia…
เป็นชื่อของโรคโลหิตจาง  ซึ่งไม่ทราบว่า 
อะไรเป็นต้นเหตุทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย

โรคลิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกสลาย
(Hemolytic anemia)

เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดขึ้น  เมื่อเม็ดเลือดแดงเกิดการแตกสลายตัวใน
กระแสเลือด  หรือในม้าม  โดยสาเหตุทำให้เกิดภาวะเช่นนั้น 
อาจเป็นผลมาจากเม็ดเลือดแดงถูกแรงกระแทก
ซึ่งอาจพบในกรณีที่มีการรั่ว (leak) ของเลือดผ่านลิ้นหัวใจ  หรือผ่าน
หลอดเลือดที่โป่งพอง  หรือพบในการอักเสบติดเชื้อต่างๆ,
หรือความผิดปกติทางระบบภูมคุ้มกัน

ความผิดปกติทางพันธุกรรม  อาจมีผลกระทบต่อโครงร่าง และการทำงาน
ของเม็ดเลือดแดง  ที่พบเห็นได้แก่ inherited hemolytic anemia
รวมถึงโรค thalassemia บางชนิด และในรายที่มีระดับเอ็นไซม์
Glucose-6-phospate dehdrogenase deficiency
ซึ่งการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค

Sickle cell anemia
เป็นโรคโลหิตจากเม็ดเลือดแตกสลาย (hemolysis) ชนิดหนึ่ง 
ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยมีความผิดปกติในโปรตีน “hemoglobin
ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งกระด้าง  และทำให้เกิดการอุดตันของกระแสไหลเวียนของเลือดขึ้น 
 ยังผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนผ่านเส้นเลือดขนาดเล็กได้

สาเหตุอย่างอื่น ที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง
มีโรคหลายอย่างสามารถกระทบกับร่างกาย...
ไม่ให้ร่างกายสามารสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นได้  ยกตัวอย่าง  คนเป็นโรค
ไตบางคนเกิดเป็นโรคโลหิตจางขึ้นมา เพราะไตไม่สามารถสร้างฮอร์โมน
ที่มีชื่อว่า “hemopoietin”  ได้มากพอ ที่จะส่งสัญญาณให้ไขกระดูกทำการ
สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นใหม่ได้

นอกเหนือจากนั้น  การรักษามะเร็งด้วย “เคมีรักษา” ก็เป็นเหตุให้ร่าง
กายสูญเสียสมรรถนะในการสร้างเม็ดเลือดได้เช่นกัน
เป็นเหตุให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้น


เขาทำการรักษาโรคโลหิตจางกันอย่างไร ?

การรักษาโรคโลหิตจางส่วนใหญ่จะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว

ในคนที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency)…
ส่วนใหญ่จะมีต้นเหตุจากการเสียเลือด 
ถ้าท่านเป็นโลหิตจากการขาดธาตุเหล็ก  แพทย์จะทำการตรวจดูว่า 
การสูญเสียเลือดมีต้นเหตุที่กระเพาะอาหาร  หรือลำไส้

สำหรับโรคโลหิตจางจากการขาดอาหาร  เช่น vitamin B-12 deficiency
หรือ Folate deficiency  ซึ่งนอกจากจะมีต้นเหตุมาจากการรับประทานอา
หารที่ไม่มีคุณภาพแล้ว  ยังอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติในการดูดซึม
ของสาร vitamins ทางลำไส้ได้อีกทางหนึ่ง
และในการรักษาจะมีแตกต่างกันตั้งแต่การปรับเปลี่ยนอาหาร
จนกระทั้งให้อาหารเสริมในสิ่งที่ขาดไป

ถ้าต้นเหตุของโลหิตจาง  เป็นผลจากโรคเรื้อรัง (chronic disease)…
การรักษาจะมุ่งตรงไปที่ตัวโรคเรื้อรัง  ซึ่งเป็นต้นตอทำให้เกิดโลหิตจาง
เมื่อโรคดังกล่าวหาย...ภาวะโลหิตจางจะดีขึ้นได้เอง

ภายใต้สถานการณ์บางอบ่าง  เช่น  โรคไตเรื้องรัง (CKD)…
แพทย์รักษาภาวะโลหิตจาง  อาจให้การรักษาคนไข้ด้วยการให้ฉีดสาร
Erythropoietin เพื่อกระตุ้นไขกระดูกให้ทำการสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้น

สำหรับ Aplastic anemia…
ถ้าไขกระดูกหยุดการสร้างเม็ดเลือดแดง  ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากตัวไขกระ
ดูกเกิดความล้มเหลว  ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้เอง
หรืออาจเป็นเพราะไขกระดูกสร่างเม็ดเลือดแดงที่ไม่เจริญเหมือนปกติ
ซึ่งมีชื่อเรียก myeodysplasia  หรือเป็นผลมาจากการใช้ยาบางชนิด

และถ้าคนไข้เป็นโรค Aplastic anemia….
แพทย์ประจำของท่านอาจปรึกษา หรือส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อไป  ซึ่งเขาอาจทำการเจาะเอาไขกระดูกมาทำการ
ตรวจ  เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว

การรักษาคนไข้ที่เป็นโรคโลหิตจางชนิด Aplastic anemia…
แพทย์อาจให้ยา  และให้เลือด (blood transfusions)

การเป็นโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายในกระแสเลือด
(hemolytic anemia) ซึ่งมีต้นเหตุทาง mechanical factors 
เช่น มีเลือดรั่วทางลิ้นหัวใจ,  หรือจากการอักเสบติดเชื้อ  หรือเกิดจาก
ความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน  การวินิจฉัยโรคสามารถกระทำได้ด้วยการ
ตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษ  และดูรูปร่างของเม็ดเลือดทางกล้องจุลทรรศน์

ในการรักษาโลหิตจางชนิดนี้  แพทย์เขาอาจให้ยาปฏิชีวนะ  หรือให้ยา
ยับยั้งการทำงานของระบบภูมคุ้มกัน (suppress the immune system)

เราสามารถป้องกันโรคโลหิตจางได้หรือไม่ ? 

ในขณะที่เราไม่สามารถป้องกันโรคโลหิตจางได้นั้น  การรับประทาน

อาหารสุขภาพ  ย่อมสามารถทำให้คนเราหลีกเลี่ยงทั้งโรคโลหิตจาง

ชนิด Iron-deficiency anemia และ vitamin-deficiency anemia ได้

 

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ เนื้อวัว (beef), ผักสีเขียวเข็ม, ผลไม้แห้ง

และพวกตระกูลถั่ว  ส่วนพวก vitamin B-12 ได้แก่พวกเนื้อสัตว์ (meat)

และนม  และ พวก folic acid จะพบในพวกส้ม,  ผักสีเขียวเข็ม, ถั่ว

 

นอกจากนั้น  การให้รับประทาน multivitamin สามารถป้องกันไม่ให้เกิด

โลหิตจางชนิด nutitional anemia

 

สำหรับคนสูงอายุทุกราย  ไม่ควรได้รับธาตุเหล็ก  นอกเสียจากแพทย์จะ

เป็นผู้แนะนำให้รับประทาน

 



http://www.hematology.org

 

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Microalbuminuria: The Early Sign of Kidney Disease


Feb. 22,2013

ในระหว่างหวดลูกกอล์ฟ...
กระทาชายหนึ่งตั้งประเด็นการสนทนาด้วยคำถามสั้นๆ ว่า
“ผมรักษาเบาหวานมาหลายปี  จะรู้ได้อย่างไรว่า  ผมเป็นโรคไต ?”  

โรคไต (kidney disease)
มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคไตขึ้นได้
โรคเบาหวานก็เป็นโรคหนึ่ง  ที่ทำให้เกิดโรคไตขึ้น  โดยเราจะพบว่า
การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง  มักจะมี่ความดันโลหิตสูงเกิดร่วมด้วย
เสมอ  ซึ่งทั้งสองปัจจัยจะทำลายเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงไตทั้งสองได้
เหมือนกับที่มันสามารถทำลายเส้นเลือดได้ตลอดทั้งร่างกายของคนเรา

ตามเป็นจริง...
เราจะพบเห็นวงจรที่ไม่ดีดังต่อไปนี้:
“เมื่อไตอ่อนแอลง  ความดันโลหิตมักจะสูงขึ้น  และตัวความดันที่สูงขึ้น
จะทำลายไตให้เสื่อมลงไปอีอ..”


โรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน...
มีชื่อเรียก diabetic nephropathy หรือ kidney disease   ซึ่งมันจะเกิดขึ้น 
และเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาหลายปี  โดย
ไม่มีอาการใดประกฎให้เห็นได้ทั้งๆ ที่มีโรคไตได้เกิดขึ้นนานแล้ว

แต่การเกิดโรคไต  จะมีเงื่อนงำให้แพทย์สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ  
นั้นคือ microalbuminuria หรือมีปริมาณของโปรตีนรั่วออกมาทาง
ปัสสาวะในปริมาณไม่มาก

เมื่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง  ร่วมกับความดันโลหิตสูง...
มันจะทำลายส่วนที่ทำหน้าที่กรองของเสียของไต (kidney filter)
นั่นคือต้นเหตุทำให้โปรตีน  รั่วออกมาทางไต

ในระยะแรก: การรั่วของโปรตีนมีจำนวนน้อยมาก  เช่น  “albumin” และ
เมื่อเวลาผ่านไปไตถูกทำลายสู่ระยะสุดท้าย  เราจะบพปริมาณของโปรตีน
ที่รั่วออกทางปัสสาวะจะเพิ่มมากขึ้น

Screening for microalbuminuria.

ในกรณีที่ท่านเป็นเบาหวานประเภทสอง (T2D)...
ท่านควรตรวจปัสสาวะดู microalbuminuria ทุก ๆ ปี 
หรือถ้าเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง  ควรตรวจทุก 5 ปี  ด้วยการตรวจอย่างง่าย ๆ
จะทำการตรวจเมื่อใดก็ได้ (spot urine test)
ด้วยการวัดระดับอัตราส่วนระหว่าง albumin กับ creatinine ที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ

ระดับปกติ Albumin/creatinine  จะมีค่าน้อยกว่า 20- 30 mg/g

ถ้าระดับของ Albumin/creatinine มีค่ามากกว่า 30 mg/g เมื่อใด
ควรทำการตรวจซ้ำเพื่อเป็นการยืนยัน 
เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้ค่าดังกล่าวสูงได้  เป็นต้นว่า
มีการเกิดอักเสบติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ, การมีประจำเดือน  หรือแม้
กระทั้งการออกกำลังกาย  สามารถทำให้ได้ค่าสูงกว่าผิดปกติได้

แล้วการตรวจเลือดละ ?

ความจริงมีว่า...
คนเป็นเบาหวาน  แม้ว่าจะมีโรคไตเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
แต่การตรวจเลือดจะไม่แสดงความผิดปกติใดๆ ให้ปรากฏ  
จนกว่าโรคไตจะได้เปลี่ยนแปลงถึงขั้นเป็นมากกว่า “microaluminuria”

เมื่อท่านถูกตรวจพบว่า  ปัสสาวะของท่านมี albumin (microalbuminuria)


ท่านจะต้องตรวจเลือดวัดดูระดับของ creatinine อย่างน้อยปีละครั้ง

Creatinine เป็นของเสีย (waste product) ที่เกิดจากการเผาผลาญภายใน
ร่างกาย  และระดับของสารดังกล่าวที่ปรากฏในกระแสเลือด  สามารถบ่งบอก
ให้ทราบว่า  ส่วนของไต (glomeruli) ทำการกรองเอาของเสียได้ดีแค่ใด?

การมีระดับของ creatinine ในเลือดสูง  ย่อมหมายถึงการกรองของไต  เรียก
ว่า glomerlar filtration rate (GFR) ต่ำลง
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า  โรคไตมีความเสื่อมลงตามปริมาณของเสียที่ปรากฏ
หรือตามความสามารถของการกรองเอาของเสียออก (GFR):
เราสามารถตรวจหาค่า eGFR จากสูตรต่อไปนี้:

eGFR  =  (140 minus  Age) x  body weight) X 0.89 for female
               Divided by  72 x serum creatinine


Ø  GFR  มีค่าระหว่าง 60 – 89 mL/min บ่งบอกใหท้ทราบว่า  เป็นโรคไต
ที่มีความรุนแรงน้อย (mild kidney disease)
Ø  GFR มีค่าระหว่าง 30 – 59 mL/ min. ถือว่าเป็นโรคไต...มีความรุนแรง
พอประมาณ (moderate kidney disease)
Ø  GFR มีค่าระหว่าง  15 – 29 mL/min.  ถือว่าเป็นโรคไต...มีความรุนแรง
(sever Kidney disease) 
Ø  GFR มีค่าน้อยกว่า 15 mL/min  ถือว่าเป็นโรคไตวาย


http://www.johnshopkinshealthalerts.com

Don't Underestimate Anemia


Feb. 23, 2013

โรคโลหิตจาง


Go to link.. www.cocos-ceo.blogspot.com

กระทาชายนายหนึ่งเดินมาพบแพทย์  พร้อมกับกล่าวว่า...
“ผมออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่...
กว่าจะพบแพทย์ได้ต้องเสียเวลาไปหลายชั่วโมง”
“มีปัญหาอะไร...?”
คุณหมอผู้รับผิดชอบถาม
“ผมอยากได้เลือดสักกระปุก  ครับ” 
แพทย์มองหน้าคนไข้ด้วยความตกใจ...ถึงกับสอดแทรกคำถามขึ้นก่อนที่คนไข้จะพูดจบ...
“ทำไมถึงอยากได้เลือดละ ?”
“เมื่อปีที่แล้ว  ผมได้เลือดไปสองขวด  อาการของผมจึงดีขึ้น....
วันนี้  ผมรู้สึกเหนื่อยเพลียเหลือเกิน 
ผมจึงอยากได้เลือดอีกสักกระปุก....”
คนไข้รายนั้นก็ตอบทันทีโดยไม่คิด

ถ้าไม่ใช่โรงพยาบาลรักษาคนไข้...ได้ยินแต่เสียงของการสนทนา.... 
คงคิดว่า  นั่นเป็นเสียงของตัวละครเกี่ยวกับผีดูดเลือดอย่างแน่นอน...
แต่ไม่ใช่...

มันเป็นเสียงของการสนทนาของแพทย์ผู้รักษา กับชาวบ้าน
ซึ่งคิดว่า  ถ้าได้รับเลือดจะทำให้เขาหายจากความเหนื่อยล้าได้ 
โดยไม่เข้าใจว่า  การที่แพทย์จะให้เลือดใคร หรือไม่  จะต้องผ่านกระบวน
การหลายอย่าง เป็นต้นว่า  เขาเป็นโรคอะไร ? 
จากนั้น  แพทย์เขาจะพิจารณาว่า   
คนไข้ควรได้รับการรักษาอย่างไร ?   

นี้คือตัวอย่างของคนเป็นโรคโลหิตจาง  (anemia)
ซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับเลือดจากห้องเลือด  เพื่อการรักษา....

โรคเลือดจาง (Anemia)
เนื่องจากโรคโลหิตจางสามารถทำลายคุณภาพของชีวิตได้อย่างมากมาย
ซึ่งมันอาจบอกให้เราทราบถึงโรคที่ซ่อนตัวภายในร่างกายของเราได้
โดยแพทย์จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลต่างๆ จากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์
ดังนี้

Hemoglobin (Hb)…
คือโปรตีนที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง  ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับ และนำส่งออกซิเจน
ให้แก่ส่วนต่างๆ ภายในร่างกายของมนุษย์เรา
และเมื่อใดที่ร่างกายของเรามี Hemoglobin น้อยลง  หรือสูญเสียความสามารถ
ในการรับ และส่งออกซิเจนให้แก่ส่วนอื่น ๆ ของเร่ากาย  เราเรียกภาวะดัง
กล่าวว่า โรคโลหิตจาง (anemia)

อันตรายของโรคโลหิตจางจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่ม (แก่) ขึ้น  แต่คนไข้อาจไม่รู้ตัวว่า 
ตนเองเป็นโรคโลหิตจาง   อาการต่างๆ ของคนที่เป็นโรคโลหิตจาง ได้แก่
อาการอ่อนแรง, เหนื่อยเพลีย,ขาดสมาธิ, มีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์,
หายใจไม่เต็มปอด และรู้สึกวิงเวียน

การตรวจวินิจฉัยโรคโลหิตจางได้ถูกต้อง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการรักษา
ว่า  คนไข้ควรได้รับการรักษาในรูปแบบใด ?

จากการศึกษาพบว่า  โรคโลหิตจางเอง  สามารถทำให้อาการของโรค
ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในร่างกายเลวลงได้  โดยที่เจ้าตัวไม่รู้
และอาจมีอันตรายถึงกับทำให้คนไข้  ถึงกับต้องล้มหมอนนอนเสื่อได้...

ในการวินิจฉัยโรคโลหิตจาง...
ขั้นตอนแรกของการวินิจฉัย  คือการตรวจดูระดับของ  Ferritin ในเลือด
ซึ่งเป็นการตรวจดูระดับของธาตุเหล็ก (iron)

Hemoglobin ในเม็ดเลือดแดงจำเป็นต้องได้ธาตุเหล็ก (iron) เพื่อทำหน้าที่
จับออกซิเจน  และการมีปฏิกิริยาเคมีระหว่างออกซิเจนกับ hemoglobin จะทำ
เม็ดเลือดมีสีแดงขึ้น

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia)
สามารถเกิดจากความผิดปกติในการดูดซับ (absorption) เอาสารอาหารจากลำไส้
ซึ่งเราจะพบไดบ่อยในคนที่มีอายมากกว่า 50
นอกจากนั้น ยังสามารถได้ในรายที่ขาดอาหาร (malnutrition), พวกรับประทาน
แต่ผัก (vegetarian diet) แต่เพียงอย่างเดียว  โดยไม่รับประทานเนื้อเลย
(เราจะได้รับธาตุเหล็กอาหารประเภทเนื้อ- meat เป็นส่วนใหญ่)

ผลจากการตรวจดูระดับ ferritin ในเลือด ปรากกว่าต่ำ...
แพทย์จะเป็นผู้สั่งยาที่มีธาติเหล็กเสริมให้แก่ท่าน อย่าซื้อหารับปทานเองเป็น
อันขาด  เพราะการได้รับธาตุเหล็กมากไป  อาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า
Hemochromatosis  เป็นภาวะที่มีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากไป 
เช่น มีการสะสมในตับอ่อน และตับถึงขั้นเป็นพิษต่ออวัยวะทั้งสองได้...

นอกจากนั้น...การรักษาตัวเองโดยไม่ผ่านการวินิจฉัยก่อน
อาจทำให้อาการเหนื่อยเพลียของท่านดีขึ้น  แต่พลาดโอกาสที่จะได้รู้ว่า
ตนเองเป็นโรคมะเร็งของลำไส้ (CA colon)   ไป
ถือว่า  ได้ไม่คุ้มเสีย

การเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency)…
ส่วนมากจะเกิดจากการสูญเสียเม็ดเลือดแดงไปในระหว่างเป็นโรคเรื้อรัง
เช่น  การเสียเลือดในกระเพาะ-ลำไส้ทีละน้อย ๆ (low-level GI bleeding)

การสูญเสียเลือดภายใน (internal bleeding)…
อาจเกิดจากการรับประทาน aspirin  หรือ NSAIDS มาเป็นเวลานาน
หรือเกิดจาก โรคต่าง ๆ เช่น  colon polyps, แผลในกระเพาะอาหาร, และ
มะเร็งในกระเพาะ-ลำไส้  ซึ่งแพทย์สามารถตรวจรู้ไดว่า  มีการเสียเลือดหรือ
ไม้  กระทำได้ด้วยการตรวจว่า  มีเลือดในอุจจาระหรือไม่ 
โดยเฉพาะชนิดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  เรียก occult blood 

หากแพทย์ตรวจพบ  occult blood ในอุจจาระ...
แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจดูภายในลำไส้ด้วยกล้อง
(endoscopy)
เพื่อตรวจดูให้รู้ว่า...คนไข้ไม่มีโรคร้าย (cancer) ซ่อนตัวอยู่ภายในลำไส้

ท่านอาจเป็นโรคโลหิตจาง (anemia) ได้โดยไม่พบว่า  ท่านขาดธาตุเหล็ก
ซึ่งเราจะพบเห็นในคนสูงอายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป โดยเกิดจากโรคเรื้อรัง
เช่น โรคอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) จากโรคที่อยู่ภายในร่างกาย 
ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันปล่อยสารต้านการอักเสบออกมา
และสารตัวนี้เองจะไปทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงเสียไป  
เป็นเหตุให้มีโลหิตจางเกิดขึ้น

การอักเสบติดเชื้ออย่างเรื้อรัง, โรครูมาตอยด์, โรคไต, และโรคมะเร็งบางอย่าง
อาจนำไปสู่การเกิดโรคโลหิตจางชนิดที่ไม่มีการสูญเสียธาตุเหล็กได้
ดังนั้น  การให้ธาตุเหล็กแก่คนไข้เหล่านี้จะไม่มีประโยชน์เลย 
เพราะต้นเหตุหลักของโรค  คือ การอักเสบ (inflammation)

แพทย์อาจสั่งให้ฉีดยา erythropoietin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากไต 
สามารถส่งเสริมให้มีการสร้าง Hemoglobin เพิ่มขึ้น...แต่ส่วนใหญ่แล้ว  เราจะพบว่า 
คนที่เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากโรคเรื้อรังสามารถรักษาให้หายได้
ด้วยการรักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ...
หรือรักษาการอักเสบนั่นเอง....