วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

การรับประทานอาหารที่ผิดปกติ (Eating disorder)

MAY 1, 2013

ป็นความผิดปกติทางสภาพจิต... 
ทำให้เขามีพฤติกรรมทางการรับประทานอาหาร
ซึ่งไม่เหมือนคนทั่วไปเขารับประทานอาหารกัน
โดยเขาจะรับประทานอาหารในปริมาณน้อยไป หรือมากไป

ภาวะดังกล่าวอาจเริ่มด้วยการรับประทานอาหารน้อยไป หรือมากไป
แต่การถูกครอบด้วยการรับประทานอาหารในปริมาณมาก ๆ และ
เป็นเวลาอันยาวนานจะทำให้เขาลงเอยด้วยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย...

นอกเหนือไปจาการรับประทานที่ผิดปกติแล้ว  
พวกเขายังตกอยู่ในภาวะกดดัน และมีความกังวลกับรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป
ความผิดปกติดังกล่าว มักจะเกิดร่วมกับความผิดทางสภาพจิตหลายอย่าง 
เช่น อาการซึมเศร้า (depression), ติดยาเสพติดหรือเป็นโรควิตกกังวล...

หากเกิดขึ้นกับคนอายุน้อย (young age)...
มันสามารถทำให้เกิดผลกระทบกับการเจริญเติบโตของเด็ก, เป็นหมัน
และทำให้เกิดความผิดปกติทางสภาพจิต  รวมไปถึงกับมีปัญหาทางสังคม
นอกจากนั้น  เขายังมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ยกตัวอย่าง  คนที่เป็นโรค anorexia nervosa 
มีโอกาสเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรได้ถึง 18 เท่าของคนปกติวัยเดียวกัน

โรครับประทานอาหารผิดปกติ... เกิดขึ้นกับใครได้บ้าง ?

โรครับประทานอาหารผิดปกติ...สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทั้งเพศชาย และ
เพศหญิง  แต่จะเกิดในเพศหญิงได้มากกว่า  
ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในวัยรุ่น หรือวัยหนุ่ม-สาว  นอกจากนั้น...  
โรคดังกล่าวยังสามารถเกิดกับเด็ก (childhood) หรือเกิดในวัยชราได้

ชนิดของโรคเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
(Types of eating disorders)

ที่เราควรทราบมี 3 ชนิดด้วยกัน ได้แก่:

Compulsive Overeating หรือ Binge-eating:  

คนที่เป็นโรคในกลุ่มนี้  มักจะเป็นคนที่รับประทานแบบไม่ยั้ง  
ไม่สามารถควบคุมตนเองได้  และมักจะลงเอยด้วยปัญหาทางสุขภาพ
หลายอย่าง  เช่น  โรคอ้วน (obesity), โรคเบาหวาน (diabetes), 
โรคความดันโลหิตสูง (hypertension), โรคหัวใจ (heart disease)

Bulimia:

คนไข้ที่อยู่ในกลุ่มนี้  ในตอนเริ่มต้น เขาจะเป็นคนรับประทานอาหาร
ในปริมาณมาก โดยไม่สามารถบังคับความอยากของตนเองได้ 
 และภายหลังการรับประทานอาหาร  มักจะตามด้วยการอาเจียน
เพื่อเอาอาหารออกหมด 

ในระหว่างการรับประทานอาหาร... 
คนไข้ในกลุ่มนี้นอกจากจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้แล้ว 
เขาจะรู้สึกขยะแขยงในพฤติกรรมของต้วเอง เป็นเหตให้เขาต้องกำจัดเอา
อาหารออกทิ้งไป  โดยการกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนหลังอาหารแทบทุกครั้ง
หรือใช้ยาละบายตาม

Anorexia:

คนไข้ในกลุ่มนี้  มักจะมีความกลัวต่อการมีน้ำหนักเพิ่ม และมีไขมันเกิน  
เขาจะมองเห็นตัวเองว่า เป็นคนอ้วนทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ตามเป็นจริงแล้ว  คนไข้ในกลุ่มนี้ จะเป็นคนมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ
อย่างน้อย  15 % เมื่อเทียบพับคนทั่วไป
ที่เป็นเช่นนั้้น เป็นเพราะพวกเขาปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารทั้ง ๆ ที่มีความ
หิว  เพราะเขากลัวที่จะมีความอ้วน (fat)  เป็นความกลัวแบบผิดธรรมชาติ  
คนไข้กลุ่มนี้  มีแนวโน้มที่จะออกกำลังกายมากผิดปกติ...

ในคนไข้ที่เป็นสตรี  อาจไม่มีประจำเดือนเป็นติดต่อกันหลายเดือน  
นอกจากจะทรมานจากน้ำหนักลดแล้ว  
พวกเขายังไม่สามารถ ให้กำเนิดลูกได้อีกด้วย (infertility)
และมีคนไข้ในกลุ่มนี้จำนวนหนึ่งจะกลายเป็นคนไข้กลุ่ม Bulimia 

       
<< Back   Next >> : The need ot count calories

Source:



  • Caloriesperhour
  • News-medical net

การควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Diet and Weight Loss)


April 21,2013

 

ตามความเข้าใจของเรา... 

การลดน้ำหนัก คือการปรับเปลี่ยนวิถีทางการดำเนินชีวิต 

ด้วยการรับประทานอาหารทีดี และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้มีน้ำหนักเกินแล้ว ยังทำให้ชีวิตของเรามีความสุข

ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย

 

นั่นคือเป้าหมายในการาดำเนินชีวิตของพวกเราทุกคน

การควบคุมอาหารด้วยการอดอาหาร  เพื่อให้น้ำหนักของเราลดอย่างรวดเร็ว

ท่านสามารถกระทำได้  แต่ผลที่เกิดขึ้นจะปรากฏในช่วงสั้นๆ เท่านั้น

ไม่ใช่การลดน้ำหนักในระยะยาว และประโยชน์ที่พึงเกิด

ไม่คุ้มกับที่เสียไปอย่างแน่นอน

 

ถ้าท่านต้องการลดน้ำหนักตัวอย่างถูกต้อง รูปร่างผอมเพรียว และดูดีขึ้น...

ท่านกระทำได้ด้วยการรับประทานอาหารทีดี  มีคุณค่าทางโภชนาการ

และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน 

นั่นคำตอบสำหรับการลดน้ำหนักในระยะยาว

 

เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องลดน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง 

และสามารถจัดการกับน้ำหนักเกินได้อย่างครบวงจร  จึงได้รวบรวมบทความ

ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนัก สำหรับท่านที่สนใจพิจารณา...

 

>> Next :  Eating disorders (รับประทานอาหารที่ผิดปกติ)

   

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

สูตรคำนวณหาปริมาณอินซูลิน... (Calculating Insulin Dose) 2

April 14, 2013


สูตรคำนวณหาปริมาณของอินซูลิน สำหรับใช้รักษาคนไข้โรคเบาหวาน

ซึ่งเราจะต้องใช้เป็นประจำ  เช่น Basal &  bolus insulin doses

และ อินซูลินที่ใช้ต่อวัน (daily dose insulin)  นั้น  ปรากฏว่า


ผลที่ได้จากการคำนวณ อาจเป็นค่าที่สูงไปสำหรับคนไข้ทีเพิ่งได้รับการวินิจฉัย  

หรืออาจเป็นค่าที่ต่ำเกินสำหรับรายที่ไม่ตอบสนองต่อ อินซูลินหรือที่เรียกว่า  

ต้านอินซูลิน (insulin resistant)   

 

ดังนั้นสูตรที่ใช้โดยทั่วไปอาจไม่เหมาะกับคนไข้แต่ละรายได้  จำเป็นต้อง


ให้แพทย์เป็นผู้ช่วยหาค่าที่เหมาะสมให้




ในการคำนวณหาค่า อินซูลิน เพื่อใช้จัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดใน
ขณะท้องว่าง และในตอนกลางคืน  ซึงเรียกว่า “เบซอล อินซูลิน”  
และอินซูลิน  ที่นำมาใช้เพื่อจัดการกับอาหารประเภท CHO ที่รับประทาน 
 เราเรียกชื่อว่า “โบลัส อินซูลิน”  จำเป็นต้องอาศัยค่าของอินซูลินที่ร่างกาย
ต้องการใช้ตลอดทั้งวัน(daily insulin dose)

 

สูตรคำนวณหาค่าอินซูลิน ซึ่งร่างกายต้องใช้ตลอดทั้งวัน

(Total daily Insulin Requirement)
สูตรที่ใช้กันโดยทั่วไป เพื่อคำนวณหาค่า ปริมาณอินซูลินที่ร่างกายต้องการ คือ:

ปริมาณของอินซูลินที่ร่างกายต้องการตลอดวัน (Total daily requirement)
จะมีค่า = Weight in Pounds÷ 4
หรือถ้าน้ำหนักเป็น kilograms จะใช้สูตร

Total daily insulin requirement = 0.55 x Total weight in Kilograms

·         สมมุติน้ำหนักตัว 160 pounds จะต้อใช้อินซูลินตลอดวัน (24 ชั่วโมง)
ตามสูตรที่กำหนดให้:

Total daily insulin requirement = 160 ÷ 4 = 40 units of insulin/day

·         ถ้าน้ำหนักตัว 70 Kilograms

Total daily insulin requirement  = 70 x 0.55 = 38.5 units insulin/d.
เมื่อเราได้ค่าของปริมาณอินซูลินที่ร่างกายต้องการต่อวันแล้ว 
เราสามารถทราบได้ว่า  basal insulin dose มีปริมาณเท่าใด  โดยใช้สูตร:

Basal insulin dose = 50 % of Total daily insulin requirement
                          = 20 units of long acting insulin:  glargine /detemir

หรืออาจใช้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น แต่ต้องใช้อย่างต่อเนื่องทุก 2-4 ชั่วโมง
โดยใช้เครื่องปั้มฉีดเข้าใต้ผิวหนังตามต้องการ


สูตรสำหรับคำนวณหาค่าปริมาณของอินซูลิน 

เพื่อใช้จัดการกับอาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรต (CHO):

( Carbohydate coverage ratio)


สูตรที่ใช้คำนวณ คือ:

500 ÷ Total daily insulin dose
= 1 unit ของอินซูลิน   สามารถจัดการกับอาหารที่เป็น CHO ได้หลายกรัม
โดยใช้  Rule of  “500”  
ซึ่งจะเป็นค่าของอินซูลินที่ใช้เพื่อจัดการกับอาหารที่เป็น CHO ดังกล่าว 
เราอาจเรียกว่า carbohydrate bolus calculation

ดังตัวอย่าง:

1.    สมมุติอินซูลินที่ร่างกายของท่านต้องใข้ตลอดวัน (TDI) มีค่า
= 160  ÷  4 = 40 units

จากตัวอย่างรายนี้  เราสามารถคำนวณได้ว่า จะใช้อินซูลินเพื่อจัดการ
2.    กับอาหารที่เป็น CHO ได้จากสูตร 500 ÷ TDI (40)
    = 1 unit insulin สามารถจัดการอาหารที่เป็น CHO ได้  12 กรัม

จากตัวอย่างรายนี้  เราสมมุติว่า  เขาตอบสนองต่ออินซูลินได้เสมอต้นเสมอ
ปลายตลอดทั้งวัน  แต่ตามเป็นจริง  คนเราจะตอบสนองต่อินซูลินได้แตกต่าง
กัน  บางคนเกิดการต่อต้านอินซูลินในตอนเช้า,  แต่มีความไวตออินซูลินในตอนเที่ยงวัน  
ในกรณีเช่นนี้เราต้องมีการปรับขนาดของอินซูลินตามเวลาที่ได้รับอาหาร (meal times)

ในกรณีนี้  “เบซอล อินซูลิน” ที่ทำหน้าที่ทำหน้าที่จัดการกับน้ำตาล
ในกระแสเลือดขณะท้องว่าง  ยังคงมีค่าเท่าเดิม  นั้นคือ 20 units
แต่ปริมาณอินซูลินสำหรับใช้จัดการกับอาหาร (I : CHO) อาจเป็น: อาหารเช้า
(breakfast) 1:8 กรัม; อาหารเที่ยง (lunch) 1;15 กรัม 
และอาหารเย็น (dinner) 1:12 กรัม

สูตรคำนวณหาค่าปริมาณอินซูลิน
เพื่อแก้ไขระดับน้ำตาลสูงในกระแสเลือด
(The high blood sugar correction factor)

Correction factor  = 1800÷Total Daily Insulin Dose = 1 unit of
Insulin will reduce the blood sugar so many mg/dL

ตัวอย่าง
สมมุติท่านมีน้ำหนักตัว 160 ปอนด์ ต้องการอินซูลินตลอดวัน (TDI) :
สามารถคำนวณได้จากสูตร:
Body weght ( 160 lbs) ÷ 4 = 40 units

Correction factor
= 1800 ÷ TDI (40 units)
= 1 ยูนิต ของอินซูลิน จะลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลงได้ 45 mg/dL


<< BACK

http://dtc.ucsf.edu/

สูตรคำนวณหาปริมาณอินซูลิน 1 (Calculating Insulin Dose).

  April 14, 2013


จากคลินิกโรคเบาหวานนิรนาม
มีการสนทนาของหญิงชรา กับเพื่อนวัยเดียวกัน
ท่านแรกเอ่ยถามเพื่อนอีกคนว่า...

เธอเป็นโรคเบาหวานเหมือนกันเหรอ ?”
ใช่ค่ะ...ฉันเป็นโรคเบาหวานมาหลายปี 
  และได้รับการรักษาด้วยอินซูลินฉีด โดยต้องฉีดอินซูลิน 8 ยูนิต ก่อนนอนทุกวัน
  พอเธอพูดเสร็จ ก็ถูกตั้งคำถามว่า...
ทำไมต้องฉีด 8 ยูนิต
  ซึ่งทำให้เธอตอบไม่ได้....
ไม่รู้...”  นั่นคือคำพูดของเธอผู้นั้น
  
แน่นอน !
ทุกคนที่เป็นโรคเบาหวาน  ต่างมีคำถามมากมายที่ต้องการคำตอบ เป็นต้นว่า
เรื่องการใช้ยาฉีด อินซูลิน”  มีคนไข้บางคนที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีด  ไม่
สามารถบอกได้ว่า  ทำไมตัวเองต้องฉีดยาตามที่แพทย์ หรือพยาบาลบอกให้
ฉีด...

ตามเป็นจริง...
ท่านที่เป็นโรคเบาหวาน  จำเป็นต้องรู้ (เรียนรู้) ว่า
ตนเองสามารถคำนวณได้ว่า  เราต้องการอินซูลินกี่ยูนิต  เพื่อจัดการกับน้ำ
ตาลในกระแสเลือด  ให้ลดลงสู่เป้าหมายตามต้องการได

ขณะเดียวกัน  เราต้องรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ อินซูลินเอาไว้บ้าง
เป็นต้นว่า  ในช่วงเวลากลางคืน  และเวลาท้องว่าง และเวลาระหว่างมื้อของ
การรับประทานอาหาร  ร่างกายของต้องใช้รับอินซูลินจำนวน 40 – 50 % ของ
จำนวนอินซูลินที่ร่างกายต้องใช้ตลอด 24 ชั่วโมง (total daily insulin dose)

จริงอยู่...
ผู้ให้การรักษา (ส่วนใหญ่เป็นแพทย์) จะเป็นคนสั่งยาว่า 
ท่านควรได้รับอินซูลินกี่ ยูนิต” (dose)

อย่างไรก็ตาม  คนที่ต้องลงมือปฏิบัติคือตัวท่าน (คนไข้) ท่านจะต้องเรียนรู้
การคำนวณของ อินซูลินที่ท่านจำเป็นต้องใช้เอาไว้ด้วย  เพราะมีสูตรใน
การคำนวณเอาไว้ให้  เพื่อคำนวณดูว่า 

ท่านจะต้องใช้ โบลัส อินซูลิน” เพื่อจัดการกับอาหาร (meals) หรืออาหารว่าง
(snacks) กี่ ยูนิต”  หรือใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น
ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของท่านทั้งนั้น

จากข้อมูลต่อไปนี้  ท่านจะได้พบ:

·         ตัวอย่างการคำนวณหาปริมาณอินซูลินต่อครั้ง เพื่อจัดการกับ
          “คาร์โบฮัยเดรต” (carbohydrate coverage dose)
·         ตัวอย่างการคำนวณหาปริมาณอินซูลินที่ใช้จัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น
          (high blood sugar correction dose)
·         การคำนวณหาปริมาณอินซูลินที่ใช้ต่อครั้งเมื่อรับประทานอาหาร
          (meal time insulin dose)
·         สูตรคำนวณหาปริมาณอินซูลินที่ใช้เป็นประจำ
          (Insulin dose recommendations)

ก่อนอื่น  ลองมาพิจารณาความรู้พื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับอินซูลิน:

ข้อแรกมีการประมาณการว่า 40 – 50 % ของปริมาณอินซูลินที่ร่างกายต้อง
ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง (total daily insulin dose) เป็นปริมาณอินซูลินทำหน้า
ที่ในตอนกลางคืน, ขณะท้องว่าง และระหว่างมืออาหาร  เพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ
สามารถใช้พลังเพื่อมีชีวิตอยู่ได้  เราเรียกอินซูลินชนิดนี้ว่า เบซอล อินซูลิน

ประการที่สอง: 50 – 60 % ของปริมาณอินซูลินที่รางกายต้องใช้ทั้งวัน จะทำ
หน้าที่จัดการกับอาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรต”  และจัดการกับน้ำตาลในกระ
แสเลือดที่สูงขึ้นด้วยการนำส่งให้แก่เซลล์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน 
 เราเรียกว่า โบลัส อินซูลิน

อินซูลิน  สำหรับจัดการกับอาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรต
(Bolus- Carbohydrate coverage )

ปริมาณของอินซูลินสำหรับใช้จัดการกับอาหารที่เป็นคาร์โบฮัยเดรต  
จะถูกแพทย์สั่งในรูปของอัตราส่วนระหว่าง อินซูลิน กับ คาร์โบฮัยเดรต” 
โดยอินซูลิน 1 ยูนิต สามารถจัดการกับคาร์โบฮัยเดรตในอาหาร 
ซึ่งคนเรารับประทานได้หลายกรัม

โดยทั่วไป เราพบว่า  1 ยูนิต ของอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว สามารถจัดการกับ
อาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรตได้ 12 – 15 กรัม
อาจมีมีความแตกต่างได้อย่างมาก ระหว่าง 4 – 30 กรัม
โดยจะขึ้นกับคนแต่ละคน  ซึ่งมีความไวต่ออินซูลินต่างกันไป

นอกจากนั้น  เรายังพบว่า  ความไวต่ออินซูลินของคนเรายังมีความแตกต่างกัน
ตามช่วงเวลา ตลอดรวมถึงการออกกำลังกาย และความเครียดที่เกิดอีกด้วย

ปริมาณอินซูลิน  ที่ใช้เพื่อจัดการกับน้ำตาลที่สูงขึ้น
(Bolus- High blood sugar correction )

ปริมาณอินซูลินที่ใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น  ยังถูกเรียกว่า 
Insulin sensitivity factor มันหมายถึงปริมาณของน้ำตาลในกระแสเลือด
เมื่อเราใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว 1 ยูนิตจะลดลงได้มากน้อยเท่าใด

โดยทั่วไป ในควบคุม หรือการจัดการกับบระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น...
จะพบว่า  อินซูลิน 1 unit จะทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดลดลงได้ 50 mg/dL
โดยมีค่าเฉลี่ย  15 – 100 mg/dL หรือมากกว่า 
ซึ่งขึ้นกับความไวของบุคคลที่มีอินซูลิน และสิ่งแวดล้มอย่างอื่น ๆ

ตัวอย่าง

Carbohydrate coverage at a meal:

เราสามารถคำนวณหาปริมาณของอินซูลิน เพื่อใช้จัดการกับอาหารที่
เป็น คาร์โบฮัยเดรตซึ่งเรารับประทานในแต่ละมือได้ โดยมีสูตรคำนวณดังนี้

CHO insulin dose = Total grams of CHO in the meal ÷ grams of CHO 
dispose by 1 unit of insulin
(จะใช้จำนวนกรัมที่ต่ำ่สุดซึ่งถูกจัดการโดยอินซูลินหนึ่งยูนิต)

ตัวอย่างที่ 1:
สมมุติ ท่านต้องรับประทานอาหารกลางวัน ที่เป็นคาร์โบฮัยเดรต 60 กรัม
และอัตราส่วนระหว่างอินซูลิน ต่อ กรัมคาร์โบฮัยเดรต = 1 : 10

คำนวณตามสูตร :  60÷10= 6

คำตอบที่ได้อาหารที่เป็น CHO ทีท่านรับประทานในตอนเที่ยงวัน 60
กรัม  ท่านจะต้องใช้อินซูลินเพื่อจัดการกับมัน 6 units

v  High blood sugar correction dose:

เราสามารถคำนวณหาปริมาณของอินซูลิน ซึ่งใช้เพื่อจัดการกับ
ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (high blood correction dose) โดยใช้
สูตรคำนวณดังนี้:

High blood sugar correction dose =Difference between
Actual blood sugar and target blood sugar÷ correction factor

ตัวอย่าง:

1.    ระดับน้ำตาลที่วัดได้ก่อนอาหารกลางวัน 220 mg/dL
2.    ระดับน้ำตาลที่เป็นเป้าหมายจะให้เป็น (target)  120 mg/dL
3.    อินซูลิน 1 unit สามารถลดระดับน้ำตาลได้ 50 จุด (mg/dL)
และ  blood sugar correction factor = 50

จากสูตรที่กำหนดให้  เราสามารถคำนวณหาปริมาณอินซูลิน  
เพื่อใช้จัดการกับน้ำตาลที่สูงกว่าเป้าหมายได้ดังนี้:

(220 – 120) ÷ 50 = 2 units

ผลที่ได้จากการคำนวณ  เราต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว  เพื่อทำให้
ระดับน้ำตาลก่อนอาหารเที่ยง 220 mg/dL ลดลงสู่เป้า 120 mg/dL
เราจะต้องใช้อินซูลิน 2 units

จากตัวอย่างที่กำหนด...
ท่านต้องรับประทานอาหารเที่ยง ซึ่งมีคาร์โบฮัยเดรตจำนวน 60 กรัม
จะต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็วเพื่อจัดการกับ CHO ดังกล่าว 6 units

และก่อนที่ท่านจะรับประทานอาหาร  ยังปรากฏว่า  ระดับน้ำตาลใน
เลือดสูงจากระดับเป้าหมาย (220 – 120 mg/dL) ซึ่งจำเป็นต้องใช้
อินซูลินเพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น 2 units

จากข้อมูลที่ได้...

ท่านจะต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว  เพื่อจัดการกับอาหารที่เป็น CHO
และระดับน้ำตาลที่สูงก่อนอาหาร เป็นจำนวน 6 + 2 = 8 units

   

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

มาทำความเข้าใจกับอาหารประเภท “คาร์โบฮัยเดรต” (Understanding Carbohydrates)

April 15,2013

 

วิธีที่ดีทีสุดสำหรับการควบคุมการรับประทานอาหาร คือการวัดปริมาณ

อาหารที่เป็นพวก “คาร์โบไฮเดรต” (CHO)

 

ถ้าท่านเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง...
ท่านจะต้องวัดปริมาณของ CHO ที่ได้รับประทานให้ได้สัดส่วนกับปริมาณ
ของอินซูลิน  ซึ่งสามารถจัดการกับอาหารประเภทดังกล่าวได้พอดี  จึงจะ
สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้

เมื่อท่านเป็นเบาหวานประเภทสอง...
ถ้าท่านรับประทานอาหารประเภท "คาร์โบไฮเดรต" ( CHO) ในปริมาณมากไป 
จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 

และหากท่านรับประทานยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือด  เพื่อกระตุ้นให้มีการ
หลั่งอินซูลินออกมาจากตับอ่อน  หรือได้รับอินซูลิน
ท่านจะต้องแน่ใจว่า   อาหารประเภท CHO ที่ท่านรับประทานนั้น 
จะต้องมีความสัมพันธ์กับยาลดน้ำตาลที่ท่านได้รับได้พอดี
จึงจะทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดไม่สูงขึ้น

วิธีที่ดีที่สุดที่จะควบคุมระดับ “คาร์โบฮัยเดรต” ที่ท่านรับประทาน
คือการวัดปริมาณ “คาร์โบฮัยเดรต” เป็นน้ำหนักมีหน่วยวัดเป็นกรัม
หากวัดผิดเพียงไม่กี่กรัม  สามารถทำให้เกิดมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่
แตกต่างกันได้อย่างมาก

คุณสมบัติทางเคมีของ “คาร์โบฮัยเดรต”....
คาร์โบไฮเดรต เป็นน้ำตาล และประกอบด้วย น้ำตาลที่เรียกว่า “กลูโกส”
และส่วนที่โยงใยเป็นสายโซ่เสื่อมต่อกัน เรียกว่า “แป้ง”
เมื่อรับประทานเข้าไป มันจะถูกย่อยให้เป็นหน่วยเล็ก ๆ 
ถูกเรียก “กลูโกส” จากนั้นมันจะถูกดูดซึมเข้าสู่รางกายต่อไป  เป็นตัวทีทำ
ให้น้ำตาลในกระแสโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

คาร์โบไฮเดรต จะพบใน:

·         พวกข้าว, ธัญพืช และพวก พาสต้า (pasta)
·         ขนมปัง (Breads), ขนมปังกรอบ (Crackers)
·         อาหารประเภทถั่ว (beans)
·         พวกผัก เช่น มันฝรั่ง (potato) ข้างโพด (corn)
·         ผลไม้ (fruit)
·         นม (milk)
·         โยเกริต (Yogurt)
·         น้ำตาล (sugars) และน้ำผิ้ง (honey)
·         อาหาร และเครื่องดื่มทั้งหลายที่มีน้ำตาล และของหวาน

 เส้นใยอาหาร (fiber)

ใยอาหารเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งสามารถได้ในผลไม้, ผัก
และพวกอาหารที่เป็นเมล็ดทังหลาย  สารอาหารพวกนี้ เมื่อรับประทานเข้าไป  
มันจะไม่ถูกย่อย และไม่ทำให้ให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น  
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน