วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เมื่อคนสูงอายุต้องกินยา (3 ) : Osteoarthritic pain: Drug Therapy

๋๊Jun , 2013

ในการรักษาคนไข้สูงอายุ 
ซึ่งที่มาพบแพทย์ด้วยความเจ็บปวดจากโรคข้อเสื่อม(osteoarthritis)…
เพื่อให้เขาได้รับการรักษาที่เหมาะสม  นอกจากการใช้ยารักษาแล้ว 
คนไข้ยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดอีกด้วย

ในการรักษาด้วยยา...
มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ “ยาบรรเทาอาการปวด”  (analgesic)
ซึ่งเราจะใช้ acetaminophen (พาราเซทตามอล) เป็นอันดับแรก 
โดยคาดหวังว่า ยาดังกล่าวสามารถบรรเทาอาการปวดได้
แต่มันอาจไม่เป็นเช่นนั้น โดยมันไม่สามารถทำให้คนไข้หายจาก
ความเจ็บปวดได้โดยสิ้นเชิง

ยาบรรเทาอาการปวด (analgesic medications)…

โดยทั่วไปแล้ว มันเป็นยาที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในคนสูงวัย
ซึ่งได้รับผลดีพอๆ กับการใช้ยาดังกล่าวกับคนหนุ่ม-สาว

อย่างไรก็ตาม...
คนไข้ (สูงอายุ) สองคนจะตอบสนองต่อยาชนิดเดียวกันได้ต่างกัน
จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้การรักษาจะต้องทำการปรับขนาดของยาให้เหมาะสม
กับคนไข้แต่ละราย

หลักการพื้นฐานของการรักษาภาวะเจ็บปวดเรื้อรัง
ซึ่งเกิดขึ้นในโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) คือการใช้ยาแก้ปวดตาม
ที่กำหนดให้ทุกวัน เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดอย่างต่อเนื่อง

ยาที่เขาควรใช้ คือยาที่ออกฤทธิ์ได้นาน (Long acting medications)
ซึ่งคนไข้สามารถใช้ (กิน) วันละครั้ง หรือสองครั้ง เพื่อให้คนไข้สามารถปฏิบัติ
ตามคำสั่งของแพทย์ได้ (adherence)

สำหรับยาที่ใช้เมื่อต้องการใช้...
ควรสงวนเอาไว้สำหรับรักษาอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างไม่ต่อเนื่อง
(intermittent) หรือใช้เมื่ออาการเจ็บปวดมันกำเริบขึ้นเท่านั้น
โดยมีความเจ็บปวดของคนไข้เป็นเป้าหมาย ซึ่งเราจะต้องทำให้มันทุเลาลง,
ทำให้คนไข้สามารถทำงานได้ตามปกติ, มีความรู้สึกดี,
และสามารถพักผ่อนได้

ในคนสูงอายุ...
เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียงจากยาแก้ปวดได้ง่าย
และเขายังมีความไว (sensitive) ต่อยาลดอาการปวดได้อีกด้วย
ดังนั้น การใช้ยาบรรเทาอาการปวด จึงควรเริ่มต้นด้วยขนาดต่ำ ๆ เอาไว้ก่อน
มียกเว้นเฉพาะในกรณีของการใช้ยา acetaminophen ซึ่งให้ในขนาดตามปกติ 
เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระดับพอประมาณได้ทันที

Acetaminophen:

เป็นที่ทราบกันว่า...
เราสามารถใช้ยา acetaminophen ได้ถึง 4,000 mg ต่อวัน
เพื่อลดความเจ็บปวดจากข้ออักเสบที่มีความรุนแรงขนาดเล็กน้อย
ถึงปานกลาง

สำหรับคนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือมีโรคตับด้วย...
เขาควรลดขนาดของยาลงเหลือเพียง  2,500 mg ต่อวัน
(ยา Tylenol Long Acting® 650 mg ใช้ (กิน) ทุก 8 ชั่วโมง อาจ
สะดวกสำหรับคนสูงอายุ)

Non-acetylated Salicylates:

Non-acetlated Salicylates เป็นยาที่ถูกนำมาใช้แทนยา NSAIDs
หรือ acetaminophen ได้
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่  Salsalate (Disalcid®)ขนาด 500 mg ใช้กิน
วันละ 3 – 4 ครั้งต่อวันสำหรับลดอาการปวดได้

Choline/Magnesium trisaliclate (Trilisate®)…
เป็นยาอีกตัวที่อยู่ในกลุ่ม non-acetylate salicylates  ซึ่งทั้งยาเม็ด
และยาน้ำ...ขนาด 500 -1,500  mg ทุก 8 – 12  ชั่วโมง และสามารถ
เพิ่มขนาดได้ถึง  5,500 mg ต่อวัน

ยาในกลุ่มนี้มีผลกระทบ (side effects) ต่อกระเพาะอาหารได้น้อย และ
ไม่น่าจะมีผลต่อการทำงานของไต เมื่อเปรียบกับการใช้ยา NSAIDs
และแตกต่างจาก aspirin และ NSAIDs  โดยที่มันไม่ผลกระทบต่อการ
ทำงานของเกล็ดเลือด (platelet) เลย

Non-acetylated salicylates ...
นอกจากจะเป็นยาที่ปลอดภัย และราคาถูกแล้ว และสามารถใช้
แทนยา COX-2 NSAIDs ได้

Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs (NSAIDs)

ยาในกลุ่ม NSAIDS เช่น ibuprofen และ naproxen เป็นยาที่
ถูกนำไปใช้รักษาอาการปวดจากโรคไขข้อเสื่อม ซึ่งมีอาการปวดขนาด
ปานกลาง ถึงรุนแรง

ในคนสูงอายุที่มีอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม  สามารถใช้ยาเพียง
50 % ของยากลุ่ม NSAIDs สามารถลดอาการปวดลงได้

ที่ต้องระวัง คือ เมื่อใช้ยา NSAIDs ในคนเป็นโรคความดันโลหิต
สูง หรือมีอาการบวม (edema) จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังให้มาก  
เพราะยาดังกล่าวจะทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำ และ sodium ไว้ในร่างกาย 
ซึ่งจะทำให้คนที่มีอาการบวม...บวมมากขึ้น และทำให้คนที่เป็นโรคความ
ดัีนโลหิตสูง
มีระดับความดันสูงขึ้น

มีคนไข้บางคนจะได้รับผลประโยชน์จากการใช้ยา NSAIDS บางชนิด
โดยการใช้ร่วมกับยาป้องกันไม่ให้เกิดมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
เช่น misoprostol หรอ proton pump inhibitor

ในคนสูงอายุ...
การใช้ยา NSAIDs ควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะยาขนาดสูง และ
การใช้ยาในระยะยาว  เพื่อรักษาโรคเรื้อรัง...
เราควรหลีกเลี่ยง

ไม่ควรใช้ยาในคนที่มีประวัติมีแผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคไตทำงาน
บกพร่อง (impaired renal function)

หลีกเลี่ยงการใช้ยาสองชนิดในกลุ่ม NSAIDs…
ให้ใช้ชนิดเดียวเท่านั้น

COX-2 Inhibitors

ยาในกลุ่ม cyclo-oxygenase (COX-2) inhibitors (celcoxib,rofecoxib)
เป็นยาที่ควรนำมาใช้ในคนสูงวัย เพราะยาในกลุ่มนี้
มีผลกระทบต่อกระเพาะลำไส้ได้น้อย และยังมีผลกระทบต่อการจับตัวของ
เกล็ดเลือด (platelet aggregation)
ดังนั้น ถ้าคนไข้รายใดที่กิน low dose aspirin สำหรับป้องกันไม่ให้เกิด
โรคหัวใจ และสมองขาดเลือด...ก็ควรกิน aspirin ต่อไป

เมื่อมีการใช้ยา COX-2 NSAIDs ร่วมกับ Aspirin เมื่อใดย่อมมีโอกาส
เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมีเลือดออกในกระเพาะ ลำไส้ได้เหมือน ๆ
กับการใช้ NSAIDs ตัวอื่น ๆ

สำหรบ The American Geriatrics Society…
เขาได้แนะนำให้ใช้ยา non-acetylated salicylates        แทนการใช้ยา
COX-2 NSAIDS เพราะเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย และมีราคาถูก

Tramadol (Ultram®)…

เป็นยาบรรเทาอาการเจ็บปวด ที่ออกฤทธิ์ที่ส่วนกลาง (centrally
Acting analgesic) เราอาจใช้ยาตัวนี้เพียงอย่างเดียวสำหรับบรรเทาอาการปวด 
หรืออาจใช้ร่วมกับยาacetaminophen หรือใช้ร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs
(non-steroidal anti-inflammatory drugs )

เราควรเริ่มต้นใช้ยาตัวนี้ด้วยขนาดต่ำ ๆ 50 mg ทุก 4 – 6 ชั่วโมง 
แล้วค่อยเพิ่มขนาดอย่างช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง  
ซึ่งอาจเกิดขึ้นในคนสูงอายุได้ เช่น สลีมสะลือ หรืออาการครึ่งหลับครึ่งตื่น (drowsiness), และคลื่นไส้

ขนาดสูงสุดของ tramadol คือ 300 mg ต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน เป็น 2-3 ครั้ง 
และควรลดขนาดลงเมื่อใชในคนที่เป็นโรคไต และโรคตับ

Opioid

ยาในกลุ่มนี้ (opiod medications)…ได้แก่ oxycodone, morphine, 
hydrocodone และ mu-receptor agonists 
เป็นยาที่นำไปใช้ในคนไข้โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis)  
ซึ่งมีอาการเจ็บระดับปานกลาง ถึงระดับรุนแรง  
โดยที่ยาชนิดอื่นไม่สามารถใช้ได้ผล

Glucosamine

สาร glucosamine sulfate เป็นสารที่มีในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ
ซึ่งมีหน้าสร้างกระดูกอ่อน (cartilage)
The American Pain Society แนะนำให้คนผู้ใหญ่ทั้งหลายที่เป็นโรคไขข้อเสื่อม 
ได้ใช้ยาดังกล่าวในขนาด 1500 mg ต่อวัน

มีผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคนกินยา glucosamine  vs การกินยาหลอก (placebo) เป็นเวลา 3 ปี ปรากฏว่า...
การใช้ยา glucosamine…จะลดความเจ็บปวด และทำให้การทำงานของข้อ
(physical function)  ดีขึ้นประมาณ 20 – 25 % 
เมื่อเปรียบเทียบกับการกินยาหลอก (placebo)

ผลการตรวจภาพเอกซเรย์ของไขข้อ พบว่า กระดูกอ่อนอยู่ในสภาพคงที่
ส่วนกลุ่มที่กินยาหลอก...พบว่ากระดูกอ่อนเกิดฝ่อตัวลง
ซึ่งชี้ให้เห็นว่า โรคข้อเสื่อมจะมีอาการเลวลงหลังจากกินยาหลอก

Chondroitin

Chondroitin sulfate…
เป็นอาหารเสริมชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจใช้กระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน

ผลของการศึกษา ชี้้ให้เห็นว่า มีคนเพียงจำนวนน้อยที่ได้รับการทดลองใช้สาร
ดังกล่าว  โดยผลที่ได้ ปรากฏว่า สารดังกล่าวสามารถบรรเทาอาการปวด 
และการทำงานของข้อได้ดีขึ้น

ที่ควรทราบ...
มียาที่เป็นส่วนผสมระหว่าง glucosamine และ chonroitin มีขายในท้องตลาด
แต่ปรากฏว่า ยาดังกล่าวไม่เหนือกว่าการใช้ยาที่มีส่วนประกอบเพียงอย่างเดียว (glucosamine หรือ choondroitin ตัวใดตัวหนึ่ง)

<< Prev.  Next >> Case Discussion


เมื่อคนสูงอายุต้องกินยา (2 ) : Osteroarthritic Pain : Treatment strategies

Jun. 2013

การรักษา... 
โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
และในการรักษาเราจะมุ่งไปที่ ลดความเจ็บปวด,  ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อ
ดีขึ้น  พร้อมๆ กับเพิ่มคุณภาพชีวิต ให้แก่คนไข้

แนวทางการรักษาประกอบด้วย...

§  บริหารร่างกาย เพื่อทำให้ข้อสามารถงอพักได้เป็นปกติ และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  ด้วยการให้ยาลดความเจ็บปวด (analgesic or pain medication),
§  ประคบด้วยความร้อน หรือเย็น สามารถลดความเจ็บปวดลงได้,
§  ปกป้องข้อ ไม่ให้ข้อทำงานหนัก (reduce strain orstress) ด้วยการ ควบคุม
  น้ำหนักตัว ไม่ให้มีน้ำหนักตัวเกิน

การรักษาอย่างอื่นๆ (non-pharmacologic  treatment) ได้แก่...
กายภาพบำบัด และอาชีวะบำบัด รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ช่วย (assistive devices) 
เช่น brace และ footwear, การดึงข้อ (traction) และใช้อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ข้อเคลื่อนไหว, รวมถึงการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า 
(transcutaneous electrical nerve)


MYTHS & FACTS

MYTH: มีการกล่าวว่า...ยากลุ่ม NSAIDs เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับรักษา
          คนสูงอายุที่มีอาการเจ็บปวดขนาดเล็กน้อย ถึงปานกลาง โดยมีสาเหตุ
          มาจากโรคข้อเสื่อม (osteoarthritic pain

FACT:  ความจริงมีว่า ในโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) จะมีการอักเสบ 
          (inflammation) เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยาอันดับแรก
          (first-line agent) ที่ถูกแนะนำให้นำใช้รักษาโรคดังกลา่่าว คือ
          acetaminophen เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

MYTH: ยากลุ่ม opioids ไม่ควรนำมาใช้บรรเทาอาการปวด ขนาดปานกลาง
          ถึงรุนแรงของคนสูงอายุ ซึ่งเกิดจากโรคที่ไม่ใช่มะเร็ง

FACT:  ความจริงมีอยู่ว่า....
          ยากลุ่ม opioids เป็นยาที่ถูกแนะนำให้รักษา (บรรเทา) อาการปวด
          ซึ่งมีขนาดปานกลาง ถึงรุนแรงมาก โดยที่ยาชนิดอื่นไม่สามารถช่วยให้
           คนไข้หายจากความเจ็บปวดได้

          
MYTH:  มีการกล่าวกันว่า...
           ถ้าคนสูงอายุใช้ (กิน) ยา opiods รักษาอาการปวดจากโรคที่ไม่ใช้
   มะเร็ง...จะทำให้คนสูงอายุติดยา (addicted) ภายในไม่กี่วัน ถึงวัน
   อาทิตย์              
FACT:   ความจริงมีว่า...
           คนไข้จำนวนมากที่ใช้ (กิน) ยากลุ่ม opioids อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลด
           อาการปวดอาจจำเป็นต้องพึงพายาตลอดไปได้
           แต่การเสพติดยาเป็นได้น้อยมาก ซึ่งเภสัชกรสามารถแยกระหว่างการ
           พึ่งพายา (dependence) และการเสพติด (addiction)

 << Prev.  Next >> Osteoarthritis: Drug Therapy

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กรณีศึกษา (3): Glycemic Control in Elderly : Case discussion


Jun 22,2013

จากกรณีศึกษา...
เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?

Mrs. AB เป็นตัวอย่างของคนสูงวัย  โดยมีอายุย่างเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต
ซึ่งเธออาจมีชีวิตยืนยาวต่อไปอีกหนึ่ง หรือสองทศวรรษได้
 เพราะเธอยังมีสุขภาพดี  ยกเว้นเฉพาะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหวใจเท่านั้น

เธอมีอาการแสดง และอาการของ insulin resistance syndrome  และ
มีโรคหัวใจจากหลอดเลือดตีบ (CAD) 
ซึ่งเธอกำลังได้รับการรักษาทางยา

สิ่งที่เราควรพิจารณาเกี่ยวกับโรคของ Mrs. AB  คือ...
ความสัมพันธ์ระหว่าง การควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข็มข้น (tight glycemic
Control) กับ ความตาย (mortality) ที่จะเกิดจากโรคของเส้นเลือดใหญ่
(macrovascular disease)

Mrs. AB มีโรคของเส้นเลือด Lt. anterior descending artery ซึ่งมีลักษณะตีบแคบ
เป็นบางส่วน และ เป็นโรคเบาหวาน โดยมีระดับน้ำตาลในเลือด 168 mg/dL

ปัญหาของเธอที่กำลังเผชิญในขณะนี้  คือโรคหัวใจจากเส้นเลือดตีบ 
ซึ่งมีโอกาสเลวลงได้....
แล้วเราควรทำอย่างไร ?

เพื่อป้องกันไม่ให้โรคของหลอดเลือดหัวใจเลวลง...
เราสามารถกระทำได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข็มข้น (tight control)
ด้วยการทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ลดลงลงสู่ระดับปกติให้ได้
และควบคุมให้คงสภาพเชนนั้น (euglycemia) ตลอดไป
พร้อมๆ กับรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคหัวใจ และเส้นเลือด ไปพร้อม ๆ กัน

นอกเหนือจากนั้น...
Mrs. AB เธอยังมีอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเส้นเลือดขนาด
เล็กถูกทำลาย (microvacular complication) โดยมี microalbuminuria เกิดขึ้น 
ซึ่งเป็นผลมาจากเส้นเลือดระดับ ”ไมโคร” ของไตถูกทำลาย เป็นเหตุให้มี
โปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะตามที่กล่าว

ในประวัติของ Mrs. AB …
ในตอนแรก เธอไม่ได้รับการตรวจหาโรคเบาหวานเลย
โดยที่เธอมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมานาน
ก่อนที่จะเธอจะได้รับการวินิจฉัยโรคเสียอีก 

โดยมีหลักฐานสนับสนุนให้คิดว่า เธอเป็นโรคเบาหวานมานาน คือ...
เธอมีรอยโรคที่เกิดจากเส้นเลือดของม่านตา (non-proliferative diabetic retinopathy  
และมีรอยโรคเกิดขึ้นที่หน่วยเล็ก ๆ (glomeruli) ของไต
ซึ่งแสดงให้เห็นมีโปรตีนในปัสสาวะ
(urine microalbumin  1,993 microgram/dL)

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดกับเส้นเลือดระดับไมโคร..เลวลงไปอีก  
Mrs. AB จะต้องได้รับการรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาล
อย่างเข็มค้น (tight glycemic control)
เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่ระดับปกติ (euglycemic) ให้ได้

สิ่งที่ Mrs. AB ควรได้รับการพิจารณา  คือ ภาวะปัจจุบันของโรค, ยาที่เธอได้รับ, 
และความสามารถของเธอที่จะ “สังเกต” ได้ว่าภาวะ hypoglycemic
ได้เกิดขึ้นกับเธอได้เร็วที่สุด

นั่นคือแนวทางการควบคุมระดับน้ำตาลในคนสูงอายุ
ที่เป็นโรคเบาหวาน






กรณีศึกษา (2): Glycemic Control in Elderly: คำวิจารณ์ (commentary)


Jun 22,2013

continued
โรคเบาหวาน (diabetes) จะเกิดขึ้นกับคนสูงวัย ที่มีอายุมากกว่า 65
ถึง 20 %

ผลจากการศึกษาของ  The Diabetes Control and Complicatio Trial
(DCCT) พบว่า การรักษาโรคเบาหวานด้วยการลดระดับน้ำตาลให้ลงสู่
ระดับปกติ (tight glucose control) ในคนไข้อายุระหว่าง 13 – 39 ปี
ที่เป็นเบาหวานประเภท 1 (T1DM) พบว่า ภาวะแทรกซ้อนจากเส้นเลือด
ระดับ macro (macrovascular complication) จะลดลงอย่างมีนัยที่
สำคัญ

และผลที่ได้จาก The United Kingdom Prospective Diabetes Study
(UKPDS) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง tight glycemicControl 
(การควบคุมให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่ระดับปกติ) กับ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
กับเส้นเลือดขนาดเล็ก (microvascular complications)ในคนเป็นเบาหวานประเภทสอง 

ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า...
ในการรักษาโรคเบาหวานนั้น เราจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่
ระดับปกติ (tight glycemic control) ให้ได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการศึกษาโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM) ในคน
สูงอายุยังอยู่ในระหว่างการศึกษาติดตามผลก็ตามที  ปรากฏว่า...
มีหลักฐานโดยอ้อม (indirect evidence) ได้สนับสนุนความคิดที่ว่า “tight glycemic control” 
ในคนสูงอายุ อาจ “ลด” หรือ “ป้องกัน”ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้ง microvascular 
และ macrovascular ในคนไข้กลุ่มดังกล่าวได้

ผลจากการศึกษา พบว่า การรักษาเบาหวานด้วยวิธีเข้มข้น (tight glycemic
Control) ในคนไข้ที่เกิดมีกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (MI) จะสัมพันธ์กับความ
ตายในระยะยาว (Long term Mortality)

ที่น่ากังวลที่สุดในการลดระดับน้ำตาลของคนสูงวัยที่เป็นโรคเบาหวาน
ด้วยวิธี tight glycemic control คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ(hypoglycemia)
โดยคนสูงอายุไม่ค่อยจะตรหนักรู้ว่า ตนเองเกิดมีภาวะดังกล่าว

ในการรักษาโรคเบาหวานในคนไข้ทุกราย...
มีความจริงอย่างหนึ่ง ที่พวกเราต่างรู้กันดี  นั้นคือ ทุกอย่างมีดี และเสีย
ซึ่งเราจำเป็นต้องเลือกให้ได้ว่า จะเลือก ทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

ยกตัวอย่าง  วิธีการลดน้ำตาลด้วยรูปแบบที่เข็มข้น เพื่อให้ระดับน้ำตาลลดลงสูระดับปกติ 
ประโยชน์ที่ได้ คือลดภาวะแทรกซ้อนทั้งระดับ microvascular และ  Macrovascular… 
ส่วนผลเสียที่พึงเกิด คือมีความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ hypoglycemia
ซึ่งมีสูงกว่าประโยชน์ที่พึงได้  โดยเฉพาะในคนสูงอายุ

เมื่อไม่นานมานี้...
ปรากฏว่า การควบคุมระดับน้ำตาลในคนสูงอายุ เขานิยมที่จะทำการควบคุม
ด้วยวิธีที่ไม่เคร่งคัดนัก (loose glycemic control) เพราะเหตุผลสองประการ

ข้อแรก: คนสูงอายุจะมีความไวต่อยาเม็ดลดน้ำตาล ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิด
              ภาวะ hypoglycemia

ข้อสอง: คนสูงอายุจะไม่ค่อยจะรู้ว่า ตนเองตกอยู่ในภาวะอันตรายจากการเกิด
              Hypoglycemia ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม จากรายงานของ UKPDS ได้ราบงานไว้ว่า...
ในคนเป็นเบาหวานประเภทสอง การเกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำอย่างรุนแรง
(severe hypoglycemia) เกิดได้น้อยมาก

ในขณะนี้ ได้มีการใช้ยาลดระดับน้ำตาลตัวใหม่ๆ ซึ่งไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะ 
Hypoglycemia 
ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้ว  ที่เราจะหันมาพิจาณาใช้วิธีควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข็มข้น 
(tight glycemic control) ในคนไข้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวานกัน

ในการพิจารณาว่า...
เราจะใช้วิธีควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข็มข้นกับคนไข้สูงอายุหรือไม่ เราต้องนำเอาโรคต่างๆ 
ซึ่งเกิดร่วมกับโรคเบาหวานมาพิจารณาด้วย
ยกตัวอย่างเช่น โรคของอวัยวะ ที่อยู่ในระยะสุดท้าย, มะเร็ง, หรือโรคสมองเสื่อม
ในกรณีเหล่านี้ อาจไม่เหมาะที่จะใช้วิธี tight glycemic control 

อย่างไรก็ตาม  คนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่มีโรคสำคัญอย่างอื่นเกิดร่วม  
สี่งที่ควรพิจารณา คือ “การคาดหมายการคงชีพ” (Life expectancy)
และคุณภาพชีวิตของคนไข้ (quality of life)

ความคาดหมายการคงชีพ (life expectancy) ของสตรีอายุ 65 สามารถมี
ชีวิตยืนยาวต่อได้อีก 19 ปี โดยเฉลี่ย และในกรณีเช่นนี้ การควบคุมระดับน้ำตาลด้วยวิธีเข็มข้น
(tight glycemic control) ย่อมเป็นเรื่องที่เหมาะสม
ซึ่งจะทำให้ภาวะแทรกซ้อนจากเส้นเลือดถูกทำลายลดลงได้
พร้อม ๆ กับทำให้คุณภาพชีวิตของคนสูงอายุ และมีชีวิตยืนยาวอีกต่อไปได้