วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนไป P. 11 (dementia) : Treament continued

Dec. 28, 2013

Behavioral symptoms
อาการทางพฤติกรรมของคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” จะก่อความ
ทุกข์ทรมานให้แก่คนไข้ได้มากกว่าอาการที่เกี่ยวกับกระบวนการรับรู้
และความที่ผิดปกติไ้ด้  แม้ว่าในรายที่เป็นไม่มาก คนไข้จะมีอาการ
กระสับกระส่าย, วิตกกังวล, และมีอาการฉุนเฉียว

ในการรักษาอาการทางพฤติกรรมดังกล่าว  นอกจากใช้ยารักษาแล้ว
แพทย์อาจให้คนไข้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
(behavioral modification therapies) ด้วย

Depression :
อาการภาวะซึมเศร้า มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม 
ซึ่งอาจได้รับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม(modified behavioral therapy)
 และยา (medications) หัวใจของการรักษา คือ เราต้องรู้ว่าคนไข้เป็นโรค
สมองเสื่อมหรือไม่ เพราะอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นสามารถก่อให้เกิดอันตราย
ต่อคนไข้ได้ และการรักษาภาวะดังกล่าว เป็นเรื่องที่ควรกระทำ

ยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า ได้แก่ selective serotonin reuptake
 inhibitors หรือ SSRIs   ซึ่งเป็นยาที่เหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม
ที่มีอาการซึมเศร้า และยาที่ใช้กันบ่อยได้แก่ fluoxetine (Prozac), sertraline (Zoloft),
paroxetine (Paxil), citalopram(Celexa) และ escitalopram (Lexapro)

มีวิธีการรักษาทางด้านพฤติกรรมหลายอย่าง ซึ่งมีประโยชน์ เพราะไม่มีผลข้างเคียง
เหมือนกับการใช้ยา และอาจแนะนำให้ใช้ในรายที่มีอาการซึมเศร้า

ในการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อม เช่น การแนะนำส่งเสริมให้ออกกำลังกาย, หลีกเลี่ยงจากตัวกระตุ้น
ให้เกิดความเศร้า, สอนให้รู้จักการอยู่ร่วมกับสังคม  และสนับสนุนให้มีกิจกรรม
ที่สนุกสนานร่วมกับคนอื่น

<< PREV    NEXT >> Dementia , P. 13: Life with dementia

http://www.uptodate.com/contents/dementia-including-alzheimer-disease-beyond-the-basics

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนไป P. 10 (Dementia) : Dementia Treatment

Dec.28,2013

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมบางส่วนจะขึ้นกับชนิดของโรค
สมองเสื่อม ยกตัวอย่าง คนที่เป็นโรค vascular dementia จะมีเป้าหมาย
ไปยังการลดระดับความดันโลหิตให้ลดลงสู่ระดับปกติ, ลดระดับไขมันใน
กระแสเลือด เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดสมองถูกทำลาย

สำหรับคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน บางครั้งจำเป็นต้องใช้ยา
เพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน (ใด้ดูเรื่อง การรักษาโรคพารกินสัน...)
เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์จะให้ความสนใจกับโรค “อัลไซเมอร์” เสียเป็นส่วนใหญ่ 
ซึ่งพบว่า ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคให้หายได้

มียาหลายอย่างที่นำมาใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์...
ซึ่งถูกนำไปใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ ได้ด้วย
ยาที่ใช้ได้แก่ยารักษาปัญหาเกี่ยวกับความจำ และปัญหาด้านพฤติกรรม:

Treatment of memory problems:
มียาหลายตัวถูกนำมาใช้รักษาโรค “อัลไซเมอร” ซึ่งในปัจจุบัน 3 ตัว
(cholinesterase inhibitors) นั้นคือ:

o Donepezil (Aricept)
o Rivastigmine (Exelon)
o Galantamine (Razadyne)

โดยยาทั้งสามชนิดถูกใช้เพื่อทำให้สารเคมีชื่อ acetylcholine ที่อยู่ในสมอง
ให้พร้อมที่จะทำงาน (active) ในโรคอัลไซเมอร์
ซึ่งมักจะมีสาร acetylcholine ลดลง

ยาในกลุ่ม cholinesterase inhibitors สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง
เช่น  คลื่นไส้, อาเจียน, และท้องร่วงในคนไข้บางราย
ในคนไข้บางราย อาจเกิดอาการวิงเวียน หรือหากรับทานก่อนนอน
อาจทำให้เกิดความฝันได้อย่างมีชีวิตชีวาได้

Memantine (Namenda) เป้นยาอีกตัว ซึ่งทำงานแตกต่างจาก
Cholinesterase Inhibitors โดยอาจปกป้องสมองไม่ให้ถูกทำลายต่อไป
และจากการใช้ยาตัวนี้ อาจทำให้เกิดอาการก้าวร้าว และเกิดประสาทหลอน
เป็นยาที่ถูกนำมาใช้ร่วมกับยากลุ่ม cholinesterase inhibitors

ในปัจจุบัน มีคนไข้หลายรายจะได้รับยารักษาชนิดเดียวในกลุ่ม cholinerase Inhibitors 
โดยทดลองให้ใช้ยาติดต่อกันนานประมาณ 8 อาทิตย์   พร้อมกับติดตามผล
การตอบสนองจากการใช้ยา และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
 หากปรากฏว่า อาการไม่ดีขึ้น เขาจะหยุดยา

บางครั้ง ภายหลังการหยุดยา อาการของคนไข้อาจเลวลง...
ในกรณีเช่นนี้ อาจเริ่มให้ยาอีกครั้งพร้อมๆ กับประเมินผลเป็นระยะว่า
ได้รับผลดีจากการใช้ยาหรือไม่

ในการใช้ยากลุ่มดังกล่าว...
ปรากฏว่ายาเหล่านี้ไม่สามารถทำให้โรค AD หายได้ และคนส่วนใหญ่
จะผิดหวังจากการใช้ยาเหล่านี้ และเมื่อเวลาผ่านไป อาการของคนไข้จะเลวลง


<< PREV        NEXT >> dementia, P. 11: Treatment of behavioral Symptoms

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนไป P.9 (Dementia) : Dementia Diagnosis

Dec. 28, 2013

ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสือม...
โดยทั่วไป  แพทย์จะอาศัยข้อมูลที่รวบรวมจากประวัติความเจ็บป่วยของ
คนไข้  รวมถึงการพูดคุยกับสมาชิคในครอบครัวของเขาเป็นสำคัญ
ส่วนการตรวจพิเศษต่าง ๆ เช่น การตรวจภาพสมองด้วย Brain scans และ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์  จะไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค
สมองเสื่อมเท่าใดนัก

แพทย์  หรือบุคลากรทางการแพทย์ผู้รับผิดชอบกับคนไข้ประเภทดังกล่าว
จะทำการตรวจความผิดปกติด้านความจำ และตรวจสอบความสามารถในด้าน
ความคิด วิเคราะห์ (memory & cognitive tests) โดยผลทีได้อาจมีการ
ตรวจซ้ำตามเวลาที่ผ่านไป...

การสั่งตรวจ Brain scans (เช่น CT หรือ MRI) จะถูกสั่งตรวจในคนที่มีอาการ
สมองเสื่อม  เพื่อแยกปัญหาอย่างอื่นทีอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อมได้

สำหรับการตรวจเลือด  เพื่อตรวจดูความสมดุลของสารเคมี  หรือสารฮอร์โมน
ของร่างกาย ตลอดรวมไปถึงการตรวจดูว่า ร่างกายขาดไวตามินหรือไม่....
เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดปัญหากับคนไข้ได้


<< PREV        NEXT >> Dementia, P. 10:  Treatment

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อพฤติกรรม...ในคนที่ท่านรักเกิดการเปลี่ยนไป P. 8 (Dementia) : Dementia symptoms

Dec. 28, 2013

โรคสมองเสื่อมทุกชนิดตามที่กล่าวมา สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านความ
จำ (memory), ด้านภาษาการพูด (language), การให้เหตุผล (reasoning), 
และการตัดสินปัญหา (judgment) แต่ปัญหาต่าง ๆมักจะมี
ความแตกต่างเพียงเล็กน้อย

ความแตกต่างในอาการของโรคแต่ละอย่าง อาจจำเป็นต้องอาศัยความ
ชำนาญของผู้ให้การดูแลรักษา  และอาการต่าง ๆ ของโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ
มักจะมีอาการคล้ายกับอาการของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอรได้ (overlap)
 และอาการที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะโฟกัส ไปที่อาการของโรคอัลไซเมอร์...

Is memory loss normal?
มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยมีความกังวลในปัญหาด้านความจำ อันมีสาเหตุ
มาจากโรคอัลไซเมอร์ในช่วงแรก ๆ

การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับอายุที่แก่ขึ้น มักเป็นสาเหตุก่อให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความจำได้เพียงเล็กน้อย และมีมีความเชื่อง
ช้าในด้านการเรียนรู้ และกระบวนการประมวลข้อมูล
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มักไม่รุนแรง และเลวลงมากพอ
และไม่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตประจำวัน

บางครั้ง คนที่มีปัญหาด้านความจำจะถูกเรียกว่า MCI หรือเรียกว่า
mild cognitive impairment โดยบางคนที่มีอาการดังกล่าว แม้ว่า
จะไม่ใช้ทั้งหมดก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดเป็นโรคสมองเสื่อมในที่สุด

ในขณะที่คนเป็นโรค MCI ยังสามารถทำงานได้เป็นปกตินั้น
เขาจะได้รับการตรวจ-ติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบดูอาการ
ของโรค “สมองเสือม” และโรค “อัลไซเมอร์”

Early changes
อาการเริ่มแรกของคนเป็นโรค “อัลไซเมอร” จะเริ่มเกิดข้นอย่างช้า ๆ โดย
สมาชิคในครอบครัว  หรือคนรอบข้างของเขา จะพบเห็นความผิดปกติเกี่ยว
กับความจำในเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิด....(ลืม หรือจำไม่ได้)
นอกจากนั้น อาจมีปัญหาอย่างอื่นเกิดขึ้น เช่น:

o เกิดอาการสับสน (confusion)
o มีปัญหาด้านภาษา เช่น ไม่สามารถหาคำพูดที่เหมาะสมได้
o มีความลำบากด้านใช้เหตุ และผล และไม่มีสมาธิ
o มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่สลับซับซ้อน
o ไม่สามารถกลับที่พักได้

Late changes
เมื่อโรคได้ดำเนิน และเปลี่ยนแปลงไปมาก...
เราจะพบว่า ความสามารถในด้านการคิดจะลดลงอย่างต่อเนื่อง, มี
ความผิดปกติด้านพฤติกรรม, และเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพเกิดขึ้น
ดังต่อไปนี้:

o มีพฤติกรรมก้าวร้าว...ขี้โมโห และหงุดหงิด
o มีอาการประสาทหลอน  หรือความคิดเห็นผิดไปจากความเป็นจริง
o ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ (เช่น กินย้าว ,อาบน้ำ,แต่งตัว)
o กลั้นปัสสาวะ & อุจจาระไม่ได้
o Hallucinations and / or delusions

อาการต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว...
บางคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมมีอาการรุนแรงภายใน 5 ปี หลังการวินิจฉัย
ส่วนอีกราย  การดำเนินโรคจำดำเนินไปอย่างช้า ๆ มากกว่า 10 ปี

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะไม่ตายจากโรคอัลไซเมอร์...
แต่จะเกิดจากโรคอย่างอื่น (secondary illness) เช่น ปอดอักเสบ, กระเพาะ
อักเสบ, หรือภาวะแทรกซ้อนจากการหกล้ม

<< PREV          NEXT >> Dementia, P 9 : Dementia diagnosis

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนไป P. 7 (Dementia) : Dementia Risk Factors

Dec. 27, 2013

เราจะเห็นว่าภาวะสมองเสื่อมในแต่ละชนิด ต่างมีปัจจัยเสี่ยงของมันเอง
แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะมีปัจจัยเสียงร่วมกัน ดังนี้:

อายุ (Age)- ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสุดที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมคืออายุ
นั้นเอง แต่มักจะไม่เกิดในคนที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี

ประวัติครอบครัว (Family history) — มีโรคสมองเสื่อมบางชนิด มี
แนวโน้มที่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยมีสมาชิคในครอบครัวที่ใกล้ชิด
กับคนเป็นโรคอัลไซเมอร มีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 10 – 30 %

ในสมาชิคของครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์...
พบว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวจะสูงขึ้น โดยมีอายุต่ำกว่า 70
และมีความเสี่ยงต่ำในครอบครัวที่ไม่มีใครเป็นโรคดังกล่าว

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบพันธุกรรมบางชนิด ชื่อ APOE epsilon 4
ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้คนเกิดโรค “อัลไซเมอร์
แต่ถึงกระนั้น เขายังพบว่า คนที่มีพันธุกรรมตัวนี้ มีเพียงครึ่งเดียวเท่า
นั้นที่เกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุได้ล่วงถึง 90 ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า
มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปัจจัยอย่างอื่น (Other factors)— ผลของการศึกษาจำนวนหนึ่ง
ชี้ให้เห็นว่า โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่,
และโรคเบาหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อได้

ปัจจัยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้
ยกตัวอย่าง คนที่ดำเนินชีวิตด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ, ติดต่อสัม
พันธ์กับส่วนรวม, และมีการใช้สมองเป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะเกิดโรค
สมองเสื่อมได้น้อยกว่าคนที่ไม่มีพฤติกรรมตามที่กล่าว

<< PREV   NEXT >> Dementia : P. 8 : Dementia symptoms

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนไป P. 6 (Dementia) : Frontotemporal dementia (formerly called Pick's disease)

Dec.27, 2013

การเกิดโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับสมองเสื่อมชนิด “อัลไซเมอร์”

นั้นคือ คนที่เป็น Frontotemporal dementia จะมีการตายของเซลล์สมอง
เหมือนกัน โดยที่โรคชนิดนี้จะมีความผิดปกติในสมองส่วน ที่ีเรียกว่า frontal
และส่วน temoporal lobes

โรค Frontotemporal dementia มักจะเกิดในคนที่มีอายุน้อยกว่าคนเป็น
โรคอัลไซเมอร์ โดยปรากฏให้เห็นอาการได้สามรูปแบบด้วยกัน ดังนี้:

Behavioral changes
อาการ และอาการแสดงที่พบได้บ่อยที่สุดในคนที่เป็นโรค
frontotemporal dementia จะมีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม
และบุคลิกภาพอย่างรุนแรง (behavioral & personality) ดังนี้:

 มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
 ไม่เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น และไม่มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ
 ไม่สามารถตัดสินใจ และไม่สามารถหักห้ามใจได้
 การขาดความกระตือรือร้น
 มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ
 สุขลักษณะบุคคลจะลดลง
 พฤติกรรมด้านการกินเปลี่ยนแปลงไป มีแนวโน้มที่กินจุ
 มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือไม่ระมัดระวังในเรื่อง

Speech and language problems

คนที่เป็น Frontotemporal dementia จะมีลักษณะเฉพาะโดย
ไม่สามารพูดได้เหมือนปกติ และใช้คำพูดด้วยความยากลำบาก
ดังตัวอย่างที่พบเห็น คือ การเกิดภาวะการสูญเสียการสื่อความ
โดยเขาไม่สามารถใช้ หรือเข้าใจในข้อเขียน หรือคำพูด

Movement disorders

สำหรับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในคนที่เป็นโรค  Frontotemporal Dementia
ซึ่งพบได้น้อย คือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มีลักษณะเหมือนกับคน
ที่เป็นโรคพาร์กินสัน เช่น

 อาการสั่น (Tremors)
 กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Rigidity)
 กล้ามเนื้อหดเกร็ง ( Muslce spasm)
 สูญเสียการประสานในการทำงาน
 กลืนลำบาก
 กล้ามเนื้ออ่อนแรง


<< PREV    NEXT >> P. 7  Dementia Risk factors

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนไป P. 5 (Dementia) :Parkinson disease dementia

Dec. 27, 2013

Parkinson ‘s disease dementia หมายถึงความบกพร่องในด้านการ
คิด (thinking), การใช้เหตุผล (reasoning) ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายของ
โรค “พาร์กินสัน” (Parkinson’s disease)

About Parkinson's disease dementia\
ในคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะพบการเปลี่ยนแปลงในสมองส่วน
ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้เกิดมีการเคลื่อนไหว
ผิดเพี้ยนไป

เมื่อการเปลี่ยนแปลงสมองของคนเป็นโรคพาร์คินสัน ได้ค่อย ๆ
กระจายไปทั่ว ทำให้มีผลกระทบกับสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
ความจำ (memory), ความตั้งใจ (attention), การตัดสินปัญหาที่เหมาะ
และการวางแผนเพื่อการปฏบัติภาระกิจให้เสร็จฃ

การเปลี่ยนแปลงในสมองที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับโรคพาร์คินสัน และ
Parkinson’s disease dementia   จะพบสารผิดปกติชนิดหนึ่ง ชื่อ  alpha-synuclin
จำนวนไม่น้อย สะสมอยู่ทั่วสมอง  โดยไม่ทราบแน่ชัดว่ามันทำหน้าอะไร
สิ่งที่กล่าวถึงนี้ เขาเรียกมันว่า Lewy bodies

ผลจากการศึกษา...
พบว่า Lewy bodies จะพบในโรคของสมองของคนที่เป็นอย่างอื่นได้อีก
เช่น  dementia with Lewy bodies (DLB)

มีหลักฐานบ่งบอกให้เราทราบว่า ในคนที่เป็นโรค dementia withLewy bodies (DLB),
Parkinson’s disease, และ Parkinson’s Disease dementia อาจมีส่วนสัมพันธ์กับ
ความผิดปกติของสมอง  ซึ่งทำหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับ
การผลิต alpha-synuclein

นอกจากนั้น เรายังพบปัจจัยอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งพบในคนที่เป็นโรค dementia with
Lewy bodies และ Parkinson’s disease dementia
คือ มี amyloid plaque และ neurofibril tangles อีกด้วย
ซึ่งเป็นลักษณะเด่น (Hallmark) ของโรค “อัลไซเมอร์”

โรค “พาร์กินสัน” เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง
ซึ่งมีความผิดปกติในสมองของคนสูงอายุ โดยพบได้ประมาณ 2 % ของ
คนสูงอายุมากกว่า 65 ปี มีการประเมินเอาไว้ว่า 50 – 80 % ของคนที่เป็นโรค
พาร์คินสัน สุดท้ายจะกลายเป็นโรค parkinslon disease dementia

<< PREV    NEXT >>   Dementia : Frontotemporal dementia

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

WHEN TO START PARKINSON TREATMENT

Dec. 30, 2013

พฤติกรรมใดๆ ในโลกมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นอาชัพใด ต่างใช้สูตรเดียวกัน
นั้นคือ : ไม่ทำได้ไหม ? หากจะทำ...จะทำเมื่อไหร่?, ทำอย่างไร?
และเมื่อทำไปแล้ว ผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ?

หากท่านใดก็ตาม ทำโดยไม่คิด...ผลเสียย่อมมีโอกาสเกิดมากกว่าผล
ดีอย่างแน่นอน ดังนั้น ท่านผู้เป็นครูทั้งหลายจึงได้พร่ำเตือนเราว่า
การกระทำใดๆ นั้นจะต้องเป็นผลประโยชน์มากที่สุด มีผลเสียน้อยที่สุด
หรือไม่มีผลเสียเลย

การให้ยารักษาคนไข้ที่เป็นโรคพาร์กินสันก็เป็นเช่นเดียวกัน...
ก่อนให้แก่คนไข้โรค “พาร์กินสัน” ยอมมีหลักให้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
นั้นคือ ต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างที่อาจมีผลต่อการรักษา เป็นต้นว่า
ความรุนแรงของโรค, วิถีชีวิตของคนไข้ และความสามารถที่จะเข้าถึงการ
รักษา และสิ่งสุดท้ายที่จะขาดไม่ได้ คือ ทั้งแพทย์ผู้ทำการรักษาฒ คนไข้,
สมาชิคในครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกัน

ยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษคนไข้โรคพารกินสัน มีทั้งหมด 6 กลุ่มด้วยกัน
นั้นคือ:

 Levodopa
 dopamine agonist (DAs)
 inhibitors of enzymes that inactivate dopamine (ซึ่งได้แก่
 MOA B inhibitors และ COMT Inhibitors)
 Anticholinergics
 Amantadine

>> NEXT : LEVODOPA

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนแปลงไป P. 3 (Dementia) :Vascular dementia

Dec. 27,2013

เป็นโรคสมองเสื่อม  ซึ่งเกิดจากสมองขาดเลือด อีกชื่อ เรียกว่า
Multiple-infarct dementia โดยเราจะพบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองจาก
โรคสมองเสื่อมชนิด ”อัลไซเมอร์”

คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ เป็นเพราะสมองถูกทำลายไป โดยมีสาเหตุ
มาจากเลือดที่หล่อเลี้ยงสมองลดปริมาณลง   โดยอาจเป็นผลมาจากเส้นเลือด
ของสมองถูกอุดตันจากลิ่มเลือด  หรือเป็นเพราะมีไขมันไปทำเส้นเลือดเกิดการ
ตีบแคบ เป็ตเหตุให้เลือดไหลสู่สมองน้อยลง

สมองถูกทำลายจากการขาดเลือด (vascular dementia) จะพบในกลุ่ม
คนที่สมองถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke) หรือมีความเสี่ยงต่อการ
เกิดภาวะสมองขาดเลือด เช่น คนเป็นโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน
โดยคนพวกเนี้ สามารถเกิดขึ้นในคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอรฺ” ได้

เมื่อเกิดภาวะสมองถูกทำลาย ส่วนใหญ่สมองจะถูกทำลายเพียงเล็ก
น้อยจนเจ้าตัวไม่ทราบด้วยซ้ำไป   ซึ่งเกิดขึ้นบอยครั้ง  โดยอาการที่เกิด
อาจเป็นเพียงอาการอ่อนแรงของแขนขาเพียงเดี๋ยวเดียว, พูดไม่ชัด, วิงเวียน
และมีการสูญเสียความจำระยะสั้นเสียไป

เมื่อสมองถูกทำลายจากการขาดเลือดเกิดบ่อยครั้งเข้า...
ผลรวมที่เกิดขึ้น   จะทำให้ลงเอยด้วยอาการที่สังเกตุเห็นได้  เช่น ความจำใน
ปัจจุบันเสียไป,  เดินทางโดยไร้จุดหมาย,  เดินลากขา, ไม่สามารถควบคุม
การขับถ่ายปัสสาวะ, ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่ง, มีอารมณ์เปลี่ยน
แปลงง่าย...ชอบตัดสินด้วยอารมณ์


<< PREV       NEXT >> Dementia P. 5 : Causes of edmentia- continued

เมื่อพฤติกรรม..ของคนที่ท่านรักได้เปลี่ยนแปลงไป P. 2 (Dementia) : Alzheimer’s disease

Dec. 27, 2013

อย่างที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า...
โรคที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด คือ โรค "อัลไซเมอร์"
ซึ่งสามารถพบได้ถึง      % ของคนเป็นโรคสมองสื่อมทุกชนิด

Alzheimer disease:

โรค “อัลไซเมอร์”  เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับการตายของเซลล์ประสาท
ที่เป็นส่วนสำคัญของสมอง    ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถฟันธงลงไปได้ว่า
โรคดังกล่าวมันเกิดได้อย่างไร ?  และทำไมมันถึงเกิดขึ้นได้ ?

นักวิทยาศาสตร์เพียงแต่พบว่า  จะมีการรวมตัวของสารโปรตีนชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า
“beta amyloid”   รวมตัวเป็นคราบ (plaques) อยู่ภายในสมอง  และ
เป็นเหตุให้เซลล์สมองตายไป

นอกจากนั้น เขายังพบอีกว่า ในคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์”
ปริมาณของสารเคมี ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitterห)
ลดน้อยลงไป

นอกจากสารมีโปรตีน beta amyloid ในสมองแล้ว เขายังพบว่า
มีกลุ่มก้อนอันเกิดจากเส้นใยของสารโปรตีน  ซึ่งอยู่ภายในเซลล์สมอง
มีลักษระพันกันยุ่งไปหมด  เราเรียกว่า neurofibrillary tangles

อาการของโรค...
ในระยะแรกๆ ของคนเป็นโรคอัลไซเมอร์อาจมีอาการความจำเสื่อมลดลง
ร่วมกับการมีปัญหาการหาข้อความที่เหมาะสม...
เมื่อโรคได้ดำเนินเปลี่ยนแปลงไป คนที่เป็นโรคอาจมี:

 การอาการสับสน และมีการลืมชื่อคน, ลืมสถานที่ต่าง, ลืมการนัดหมาย
    ตลอดรวมถึงเหตุการที่เพิ่งเกิดขึ้น
 มีอารมณแปรปรวน, รู้สึกเศร้าเสียใจ หรือโกรธ, กลัว และโกรธจากการ
     สูญเสียความจำที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
 ถอนตัวจากสังคม โดยเป็นผลมาจากการสูญเสียความมั่นใจ   หรือมีปัญหา
    ด้านการติดต่อสื่อสาร
 มีปัญหาในการปฏิบัติภาระกิจในชีวิตประจำวัน

นั่นคือลักษณะอย่างย่อที่สุดสำหรับคนเป็นโรคอัลไซเมอร์


<<  PREV        NEXT >:>  Dementia  P. 3 : Vascula dementia

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักได้เปลี่ยนแปลงไป P. 1 : (Dementia)

Dec. 26, 2013

ชายสูงวัยท่านหนึ่ง...
ในช่วงวัยหนุ่ม เป็นคนเอาการเอางานเหมือนคนทั่วไป  
ไม่มีใครทราบว่า  เป็นเพราะเหตุใด พอถึงวัยหลังกระเษียณ ปรากฏว่าชาย
คนนี้เกิดมีพฤติกรรมหลายอย่างผิดเพี้ยนไป  ไม่ยอมเข้าห้องน้ำ  ต้องออกไป
ปล่อยทุกข์หน้าบ้านให้คนเดินผ่านมองเห็น เป็นที่อุจาดลูกตา  ไม่สามารถใช้
คำพูดได้เหมือนเดิม  ได้แต่ออกเสียงอือ ๆ อย่างเดียว และอื่น ๆ อีก

โชคยังดีที่ยังจำลูกหลายได้...
แต่เผลอไม่ได้ แกจะหนีดออกจากบ้าน โดยไม่รู้จะไปไหน

ลูกสาวของชายคนนี้ ได้พาไปพบแพทย์
และเธอได้รับทราบว่า คุณพ่อของเธอเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) ชนิดหนึ่ง...

เพื่อนพ้องหลายคน เห็นสภาพของคนสูงวัยมีอาการดังกล่าว
ได้ตั้งคำถามขึ้นว่า...
เขาเป็นสมองเสื่อมแบบใหนกัน..."พาร์กินสัน" ?,   "อัลไซเมอร์" ?

เมื่อจะลงความเห็นว่า  ใครเป็นโรคสมองเสื่อม หรือ dementia...
เขาคนนั้นจะต้องมีปัญหาด้านการใช้เหตุผล (reasoning), การตัดสินใจ(judgment),
และด้านความจำ (memory)

ใครก็ตามที่เป็นโรคสมองเสื่อม เขามักจะมีการสูญเสียความจำไปบ้าง ร่วมกับ
การมีปัญหาอย่างอื่นเพิ่มอีกอย่างน้อยหนึงอย่าง  เป็นต้นว่า:

 มีปัยหาด้านการพูดจา หรือการเขียน
 สูญเสียความจำในสิ่งที่อยู่รอบข้าง ซึ่งตนเองคุ้นเคยมาก่อน
 ไม่สามารถการวางแผน.และไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้ได้

และในการที่เราจะตัดสินว่า  เขาหรือใครเป็นโรคสมองเสื่อม...
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องมากพอที่จะกระทบกับการทำงานในชีวิต
ประจำวัน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

มีโรคหลายอย่าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสมอง และทำให้เกิดสมองเสือม
และที่พบบ่อยทีสุดเห็นจะได้แก่ โรค “อัลไซเมอร์” (Alzheimer’s disease)  โดย
พบได้ถึง 60 – 80 % ของโรคสมองเสื่อม (all cases of dementia) ทั้งหมด

เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันว่า ชายคนที่เรากล่าวถึง เป็นโรคสมองเสื่อชนิดใด 
จะขอนำเอาโรคสมองเสื่อมชนิดที่พบบ่อย  มาเล่าให้ท่านได้รับรู้
ดูซิว่า....ชายคนดังกล่าว น่าจะเป็นโรคมองเสื่อมชนิดใด ?

>> NEXT : เมื่อเมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลี่ยนไป คุณ P2. (Dementia) : 

เมื่อพฤติกรรม...ของคนที่ท่านรักเปลียนไป P. 4 (Dementia) : Dementia with Lewy bodies:

Dec. 27, 2013

สมองเสื่อมจากสารโปรตีนที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง ชื่อ Lewy bodies ภายใน
เซลล์สมอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด (thinking), ความจำ, และควบคุม
การเคลื่อนไหว

คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ มักจะทำให้เกิดอาการ hallucination
อย่างชัดเจน และเป็นได้นานอีกต่างหาก  เป็นโรคสมองเสื่อมพบได้บ่อยรอง
จากโรค “อัลไซเมอร์”  โดยทำให้ความความคิด ความสามารถทาง
สมองลดลงอย่างต่อเนื่อง

เป็นโรคที่อาจก่อให้เกิดภาพหลอนในรูปของวันถุสิ่งของ, คน, หรือสัตว์
ว่าไม่ได้อยู่ที่มันอยู่ (ทั้งๆ ที่คน หรือสิ่งจองอยู่ในตำแหน่งนั้น)
เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นพูดคุยเกี่ยวกับคนรักที่เสียชีวิต
ไปนานแล้ว เป็นต้น

มีข้อบ่งชี้อีกอย่างหนึ่ง ทีบ่งบอกว่า เป็น lewy body dementia
คือ อาจมีความผันผวนด้านความตื่นตัว และสมาธิ  รวมไปถึงมีอาการครึ่งหลับ
ครึ่งตื่นในตอนกลางวัน  หรืออาจมีอาการเมอรอยเป็นระยะ ๆ

นอกจากนี้...
Lewy body dementia สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
การเคลื่อนไหวช้าลงในระยะสั้น ๆ

<< PREV       NEXT >> P. 5 : Parkinson disease dementia

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อเธอเป็นโรคเริม (Herpes Simplex) P 6 : Treatment

Dec. 25, 2013

How do dermatologists treat herpes simplex?

ขอให้ทราบไว้ว่า...
ท่านที่เป็นโรคเริม (herpes simplex) ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
แต่ยังดีที่ว่า เมื่อมันประทุกขึ้นมา สามารถหายได้เอง


แต่ก็ปรากฏว่า มีหลายเลือกที่จะทำการรักษา เพราะการรักษานั้น
คนส่วนใหญ่ที่เป็นเริม...
เขาจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (antiviral medicine)
โดยมีทั้งยาเม็ดรับทาน และครีมทาแผล ซึ่งสามารถบรรเทาอาการคัน,
แสบร้อน และรู้สึกเสียวซ่าลงได้ ส่วนยาเม็ดรับประทาน หรือยาฉีดนั้น
สามารถย่นระยะของการเกิดรอยแผลผุพองลงได้

ยาต้านไวรัสที่แพทย์สั่งให้แก่คนไข้ (ทั้งสองชนิด HSA-1 & HSA-2)
ได้แก่ :

 Acyclovir
 Famciclovir
 Valcyclovir

ยาที่ให้ต้องกินทุกวัน ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของโรค และลดความ
ถีของการประทุโรค และยังเป็นการป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อ
ได้อีด้วย

(ขนาดของยา acyclovir ที่ใช้รักษาคนที่เป็นโรคเริม:  200 mg ทุก 4 ชม.
เป็นเวลา  5  วัน)

Outcome
ในการเกิดโรคเริม มีประเด็นที่ควรทราบ...
ในการเกิดโรคเริมเป็นครั้งแรก ส่วนมากจะมีอาการรุนแรงมาก
แต่มีบางรายอาการไม่รุนแรง จนกระทั้งไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรค
ดังกล่าว

การเกิดซ้ำ (recurrence) ส่วนมากมักจะปรากฏภายในปีแรก
หลังจากนั้น ความรุนแรงจะลดลง และโอกาสในการเกิดซ้ำก็ลดลลง
ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายได้สร้างภูมิต้านทานนั้นเอง

ภาวะแทรกซอ้นของคนเป็นโรค Herpes sompklex...
ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ  อาการที่เกิดจากโรคดเริมจะไมุ่รุนแรง
ส่วนใหญ่ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดในเด็กเล็ก, ในคนที่สุขภาพไม่ดี
หรือมีความบกพร่องในระบบภูมิต้านทาน เช่น เป็นโรค HIV & AIDS.....

<< PREV

http://www.aad.org/dermatology-a-to-z/

เมื่อเธอเป็นโรคเริม (Herpes Simplex) P 5: Diagnosis

Dec. 25, 2015

How do dermatologists diagnose herpes simplex?

ในระหว่างที่โรคเริมประทุขึ้น  โดยมีแผลพุพองที่ผิวหนัง.
แพทย์ โดยเฉพาะทางผิวหนัง  สามารถทำการวินิจฉัยได้ทันที โดย
การมองดูทีรอยแผลผุพองที่ปรากฏบนผิวหนัง (sore)
ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ....

และเพื่อเป็นการยืนยันคำวินิจฉัยโรค...
แพทย์เขาจะสำลีหวดเอาน้ำที่ซึมจากรอยแผล ส่งตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการณ์

ในกรณีไม่มีรอบแผลผุพอง...แพทย์อาจทำการตรวจเลือด
ด้วยการเจาะเเอานำ้เลือดส่งห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อ:

 Virologic tests ( viral culture of the lesion)
 Serologic tests (blood tests that detect antibodies)

ในสหรัฐฯ...Center for Disease Control (CDC)...
เขาจะแนะนำให้ทำการตรวจทั้งสองอย่าง (virologic & serologic tests)
เพื่อวินิจฉัยโรคเริมที่เกิดขึ้นกับอวัยวะเพศ (genital herpes)
นอกจากนั้น คนที่เกิดโรคดังกล่าว จะถูกจับตรวจโรคที่ถ่ายทอดทางเพศ
สัมพันธ์ (sexual transmitted diseases) อีกด้วย

คำถามมีว่า...
ทำไมต้องตรวจถึงขนาดนั้น ?

ตามสถิติของ CDC พบว่า คนที่เพิ่งเกิดโรคเริมที่อวัยวะเพศเป็นครั้งแรก
มีประมาณ 50% จะเป็นไวรัส herpes simplex ชนิดที่ 1 (HSA-1)
อย่างไรก็ตาม การเกิดซ้ำจากเชื้อ HSA-1 พบได้น้อยกว่าเชื้อ HSA-2

ตามความเห็นของแพทย์ส่วนใหญ่...
การทราบว่า โรคเริมที่อวัยะเพศเกิดจากเชื้อชนิดใด (HSA-1 หรือ HSA-2)
เป็นเรื่องที่สำคัญมาก   เพราะแต่ละชนิดจะมีผลต่อการพยากรณ์โรคต่างกัน
รวมถึงแผนการรักษาแต่ละชนิด  ก็แตกต่างต่างกันด้วย


<< PREV    NEXT >> Herpes simplex, P. 6 : Treatment

เมื่อเธอเป็นโรคเริม (Herpes Simplex) P 4: Herpes simplex: Signs and symptoms

Dec. 25, 2013

คนเป็นโรคเริม (herpes simplex) พบว่ามีเป็นจำนวนไม้น้อยไม่,มีอาการ
หรือเห็นสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด และในรายที่มีอาการ หรืออาการแสดง
เขาจะพบ และมีความรู้สึกต่อไปนี้:
           
o รู้สึกคัน (itching), รู้สึกซ่า (tingling), รู้สึกแสบร้อน (burning)
โดยอาการเหล่านี้มักจะเกิดก่อนที่รอยแผลผุพอง (blisters)  ประมาณหนึ่ง
ถึงสองวัน...

o รอยแผล(sore)- เป็นแผลพุพองหนึ่ง หรือมากกว่า เป็นแผลที่มีน้ำใสๆ
โดยที่บางแผลจะแตกมีน้ำไหลซึมออกมา และมีการตกสะเก็ดก่อนที่จะ
แห้งหายไป และ เมื่อมีแผลพุพองเกิดขึ้นมันจะกินเวลาประมาณ 7 – 10 วัน
จึงจะหาย

ตำแหน่งที่แผลผุกพองจะเกิด มีได้แตกต่างกัน เช่น:

 Oral herpes (HSV-1): แผลผุพองส่วนมากจะปรากฏที่บริเวณริมฝีปาก
หรือรอบ ๆ ปาก และบางครั้งอาจเกิดที่บริเวณใบหน้า
หรือลิ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งเป็น
ตำแหน่งที่พบบ่อย เรายังสามารถพบได้ในที่อื่น ๆได้

 Genital herpes (HSV-2): แผลผุพองที่เกิดจากเชื้อเริมชนิดนี้
 จะปรากฏที่บริเวณอวัยวะเพศของชาย และหญิง (penis &vagina)
 บริเวณตะโพก (buttock)  หรือรอบทวารหนัก (anus)

 สำหรับสตรีสามารถมีแผลผุพองภายในช่องคลอดได้ นอกจาก
บริเวณดังกล่าว เชื่อเริมตัวนี้ สามารถเกิดในที่อื่นๆ ได้เช่นกัน

o Flu-like symptoms: อาการที่เกิดได้แก่ เป็นไข้, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,
ต่อมน้ำเหลืองบวมตรงบริเวณต้นคอ (สำหรับราย oral herpes) และ
บริเวณขาหนีบ (genital herpes)

o Trouble urinating: ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงที่เป็น genital herpes มักจะ
มีอาการทางปัสสาวะ เป็นต้นว่า ปัสสาวะแสบร้อน
o An eye infection (herpes keratitis): บางครั้งโรคเริมสามารถกระจายไป
ทำลายลุกตาได้ ทำให้เกิดตาแดง แพ้แสง มีอาการปวดตา...
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจลงเอยด้วยการเป็นแผลเป็น (scar formation)
ที่บริเวณลูกตา...ทำให้ตาบอดได้...ต้องระวัง

ถ้าท่านเป็นโรคเริม...
ท่านสามารถพยากรณืโรคได้ว่า  จะใช้เวลานานเท่าใดจึงจะหาย :

 Oral herpes : 2 – 3 อาทิตย์
 Genital herpes : 2 – 6 อาทิตย์

<< PREV    NEXT >> Herpes simplex , P 5 : Diagnosis, treatment, and outcome

เมื่อเธอเป็นโรคเริม (Herpes Simplex) P 3 : What happens once you have HSV-1 or HSV-2?

Dec. 25,2013

เมื่อใครก็ตามที่เป็นโรคเริม..
เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรตรเริม จะอยู่กับเขาคนนั้นไปตลอดชีวิต
ไม่มีทางที่จะทำลายเชื้อไวรัสให้หายไปจากตัวเขาได้

ซึ่งภายหลังจากการประทุมีแผลเป็นตุ่มมีน้ำใสเกิดขึนป็นครั้งแรกนั้น
เชื้อไวรัสจะเคลื่อนตัวจากผิวหนังไปอาศัยอยู่ในเซลล์ประสาท
และจะอาศัยอยู่ที่เซลล์ประสาทตลอดไป
 และในระหว่างที่มันอยู่ในเซลล์ประสาท  มันจะเป็นระยะนอนหลับ....
 และสามารถตื่นขึ้นมาเมื่อมีปัจจัยไปกระตุ้นให้เชื้อดังกล่าวตื่นขึ้น

มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งสามารถปลุกให้เชื้อไวรัสตื่นขึ้นมา
เพื่อทำให้เกิดการประทุของโรค  โดยปรากฏมีแผลพุพองที่ผิวหนัง
ปัจจัยที่กล่าวถึง ได้แก่ :

o ความวิตกังกวล (stress)
o เป็นไข้ (Fever)
o ถูกแสงแดด (Sun exposure)
o เมื่อมีประจำเดือน (menstrual periods)
o เมื่อได้รับการผ่าตัด (Surgery)



<< PREV    NEXT >> Herpes simplex, P. 4 : Signs and symptoms

เมื่อเธอเป็นโรคเริม (Herpes Simplex), P. 2 : What causes herpes simplex?

Dec. 25, 2013

เริม หรือ Herpes simplex แพร่กระจายจากคนสู่คน โดยผ่านทางสัมผัส
โดยการสัมผัสกับรอยแผลที่พุพองของคนที่เป็นโรคดังกล่าว  
แต่คนส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อเริมจากคนที่เป็นพาหะเชื้อไวรัส โดยที่เขาคนนั้น
ไม่มีแผลพุพอง (sore) ปรากฏให้เห็นเลย
เราเรียกภาวะเช่นนี้ว่า “asymptomatic viral shedding”

คนที่มีเชื้อไวรัส HSH-1 (Herpes simplex type 1) สามารถผ่านจากคน
ที่มีเชื้อสู่คนอื่นได้โดย:

• การจูบ (Kissing)
• สัมผัสกับผิวหนัง เช่น หยิกแก้มเด็ก
• แบ่งปันเครื่องใช้ส่วนตัว

How people get herpes on their genitals
ท่านสามารถรับเชื้อเริมที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ โดยรับเชื้อ HSV-1
และ  HSV-2   ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ กับคนที่เป็นเริมในบริเวณอวัยเพศ
และเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อ HSV-2

ถ้าคนเป็นโรคเริม  มี่แผลพุพองบริเวณริมฝีปาก (cold sore)...
เมื่อมีเพสสัมพันธ์ทาง oral sex เชื้อเริมสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะเพศ
โดยเชื้อที่แพร่กระจายไปนั้น มักจะเป็นเชื้อ  HSA-1

สำหรับมารดาที่มีเชื้อเริม สามารถแพร่เชื้อสู่ลูกในระหว่างคลอดได้ 
ซึ่งมักเกิดในขณะที่แม่เกิดมีโรคเริมในบริเวณช่องคลอด


<< PREV        NEXT >> Herpes Simplex , P 3: What happens once you
                                        Get HSV-1 or HSV – 2 ?

เมื่อเธอเป็นโรคเริม (Herpes Simplex), P. 1 : Who gets herpes simplex?

Dec. 25, 2013

“คุณหมอบอกว่า อิฉันเป็นเริม (พร้อมกับชี้นิวไปที่ริมฝีปาก)
ได้รับการรักษาด้วยยารับทาน และยาทา...
ประเด็นที่เป็นปัญหา คือ มันประทุแล้วประทุอีกไม่มีที่สิ้นสุด
จะทำอย่างไรดี....?”

นั้นคือคำพูดของสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ซึ่งมีความรำคาญจากโรคที่ตัวเองเป็น

Herpes simplex: Who gets and causes ?

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อเริม HSV-1 (Herpes simplex type 1) มักจะเป็น
เด็ก (infant or child) ซึ่งสามารถแพร่กระจายโดยการสัมผัสทางผิวหนัง
จากผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไวรัส “เริม”
โดยที่ผู้ใหญ่ไม่มีรอยโรคที่บริเวณผิวหนังปรากฏให้เห็น

เด็กสามารถได้รับเชื้อไวรัสเริมจากผู้ใหญ่ทีเป็นโรคเริม โดยผ่านทาง
การหอม, จูบ, กินอาหารโดยใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน
หรือจากการใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน

สำหรับเขื้อเริ่มชนิด  HSV-2 (Herpes simplex type 2) เชื้อจะแพร่กระจายสู่
คนอื่นทางเพศสัมพันธ์     จากสถิตของของสหรัฐฯ เขารายเอาไว้ว่า
เชื้อเริมชนิดนี้พบว่า  มักจะเกิดในผู้ใหญ่ที่ยุ่งเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ได้ถึง 20 %

จากสถิติกล่าวว่า มีบางคนมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ   หรือมีเหตุการณ์บางอย่าง
ซึ่งเอื้อให้เกิดการติดเชื้อชนิด  HSV-2 ได้ เช่น:

• เพศหญิง
• มีเพศสัมพันธ์กับหลายคน
• มีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย
• มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นที่ติดเชื้อเริม
• ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อันมีสาเหตุมาจากโรค หรือยารักษา

NEXT >> P. 2 : What causes herpes simplex?

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อเกิดความสงสัยว่า “เมื่อเป็นโรคพาร์คินสันแล้ว...เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่ ?” P. 2 continued...

Dec. 24, 2013

แม้ว่า โรคพารินสัน และ โรคอัลไซเมอร์ ต่างเป็นโรคของระบบคลื่นประสาท
(neurodegenernative diseases) ทั้งคู่  โดยที่โรคทั้งสองอาจไม่เหมือนกัน
ในตอนแรกก็ตาม

โรคอัลไซเมอร์...

อาการต่างๆ ของโรคพาร์กินสัน เป็นความผิดปกติในการเคลื่อนไหว
ของร่างกาย เป็นต้นว่า มีอาการสั่น (tremors), กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง และ
มีการเคลื่อนตัวได้ช้า (slowness)
 ส่วนโรค “อัลไซเมอร์” จะมีผลกระทบกับความจำ  และความรู้สึกนึกคิด

โรคพาร์กินสัน....

อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” มีจำนวนครึ่งหนึ่งจะเกิด
เป็นโรคสมองเสื่อม หรือที่เราเรียกว่า dementia ในช่วงหลังของการเกิดโรค

และในคนที่เป็นโรคความจำเสื่อมชนิดที่มีชื่อว่า “อัลไซเมอร์” ก็ไม่แตกต่างกัน
เพราะเมื่อเวลาผ่านไป  จะเกิดความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวในช่วงหลัง
ของโรคเช่นเดียวกัน

ซึ่งหมายความว่า  คนที่เป็นโรคพาร์กินสันสามารถเกิดมีอาการคล้ายๆ สมองเสื่อม
คล้ายๆ กับคนที่เป็น "อัลไซเมอร์" ได้ โดยที่ไม่ใช้โรค "โรคอัลไซเมอรฺ"
แต่เป็นโรค Parkinson's disease dementia

จากความเป็นจริงดังกล่าว...
จึงเป็นเหตุทำให้หน่วงานหลายแห่ง ได้เอางานด้านการวิจัย และการรักษา
เขามาไว้ในหน่วยงานเดียวกัน เช่น ที่ใน Parkinson’s Disease and Movement
Disorders Center (ในมหาวิทยาลัยซานฟานซิสโก)  ซึ่งอยู่ภายในใต้การดูแล
ของ Dr Robert Hauser และทีมงานของเขา  โดยพวกเขามีความเห็นว่า...

“ควรนำเอาคนโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของประสาทสมอง ของทั้งโรค
พาร์กินสัน และ อัลไซเมอร์ มารวมไว้ในที่แห่งเดียวกัน  เพราะกระบวนการเกิด
โรคของทั้งสอง   ต่างเป็นผลมาจากความผิดปกติของ สารโปรตีนที่รวมตัวกัน
ในสมอง   เป็นเหตุให้เซลล์สมองตายไป  ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน
มากว่าที่จะแตกต่างกัน....”

พวกเขายังกล่าวต่อไปอีกว่า...
“ ทั้งโรคพารกินสัน และอัลไซเมอร์ ต่างมีความคาบเกี่ยวกันอย่างมาก
ซึ่งมีอะไรหลายอย่างคล้ายๆ กัน โดยไม่สามารถบอกได้ว่า จะจัดการชะลอการ
เปลี่ยนแปลงในโรคทั้งสองให้ช้าลงได้อย่างไร ?

พวกเขามีความเชื่อว่า  หากเขาสามารถจัดการกับโรคหนึ่งได้ ย่อมทำให้เขา
สามารถจัดการกับอีกโรคหนึ่งได้”

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซานฟานซิสโก (USF)
ได้ให้ความใสใจต่อคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน  เขาพบว่า  ในคนที่มีอาการที่นอก
เหนือจากการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ   เช่น อาการอ่อนหล้า (fatigue), ขาดความ
กระตือรื้อร้น (apathy), ความบกพร่องทางกระบวนการรับรู้ (cognitive dysfunction),
หกล้ม (falls), และมีปัญหาด้านการนอนหลับ...มีความรุนแรง และก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อคุณภาพชีวิตได้มากกว่าอาการทางการเคลื่อนไหวเสียอีก...

โดยสรุป...
โรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์ เป็นคนละโรค
แต่...ในคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน..ในช่วงหลัง ๆ ของเโรค อาจมีอาการเหมือนกับ
คนเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้  และในทำนองเดียวกัน คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อาจ
มีอาการเหมือนกับเป็นโรคพาร์กินสันได้....

<< PREV

http://hscweb3.hsc.usf.edu/

เมื่อเกิดความสงสัยว่า “เมื่อเป็นโรคพาร์คินสันแล้ว...เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่ ? P. 1

Dec. 24, 2013

“หมอครับ....
เพื่อนของผมคนหนึ่งแพทย์บอกว่าเป็นโรคพาร์คินสัน....
แต่ทำไมเขามีอาการขี้หลงขี้ลืมเหมือนกับคนเป็นโรค“อัลไซเมอร์” ...
หมอวินิจฉับผิดหรือเปล่า  ? 

นั่น...เป็นความเห็นเชิงคำถามของเพื่อนผู้สูงวัยท่านหนึ่ง ในขณะเล่นกอลฟ์ 
ซึ่งได้เปิดประเด็นให้ผู้เขียนนำกลับบ้าน  เพื่อพิจารณาเขียนบทความ
ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านเล่น

โรคพารคินสัน เป็นโรคซึ่งเมื่อเกิดขึ้นกับท่านใดแล้วจะทำให้การควบคุม
การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วยความลำบาก...
ในตอนแรก จะมีความผิดปกติเกิดที่การเคลื่อนไหวเท่านนั้น  แต่เวลาผ่านไป
มันอาจเกิดมี่อาการอย่างอื่น ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวได้

โรคพาร์คินสัน ไม่ใช่โรคที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตหรอก
แต่การดำเนินของโรคนี้ซิ  จะมีการเลวลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
ตามเวลาที่ผ่านไป  โดยที่แต่ละคนจะมีความอาการแตกต่างกันไป

ในขณะที่เราไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้นั้น...
เรามียาหลายขนาน รวมถึงกรรมวิธีการรักษา ซึ่งสามารถช่วยเหลือคนเหล่า
นั้นให้บรรเทาจากอาการของโรคลงได้


>> NEXT

ประเด็นที่ควรรู้ในคนที่เป็นเอชไอวี (HIV) P. 6: How many HIV and AIDS drugs are there?

Dec. 23, 2013

ในปัจจุบันนี้ เรามียาต้านไวรัส (anti-retrovirals) มากกว่า 20 ขนาน
ยาบางขนานไม่ได้รับการรับรอง หรือทุกประเทศไม่สามารถมียาได้
ทุกขนาน...

ยาต้านไวรัสดังกล่าว ถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามลักษณะการทำงานต่อ
ต้านเชื้อ “เอชไอวี” ดังต่อไปนี้:

o Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs)
o Non-nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs)
o Protease Inhibitors (Pis)
o Fusion or Entry Inhibitors

NRTIs ยาในกลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์ไปยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสใช้โปรตีนทีมีชื่อ
ว่า Reverse trascriptase เพื่อขยายพันธ์ด้วยการกอปปี้ตัวเองได้

NNRTIs จะออกฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้เชื้อเอชไอวีขยายตัว ด้วยการยังยั้ง
สารที่มีชื่อว่า reverse trascriptase protein

Pis จะออกฤทธิ์ยับยั้ง protease ซึ่งเป็นโปรตีนอีกตัวหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
การขยายตัวของเชื้อเอชไอวี

Fusion or Entry Inhibitos จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อเอชไอวีรวมตัวกัน
หรือเข้าสู่เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน (CD4)

Integrase Inhibitors จะออกฤทธิ์ที่ integrase enzyme ซึ่งมีความจำเป็นต่อ
การทำให้สารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ CD4 cells

NRTIs และ NNRTIs  สามารถหาได้ในเกือบทุกประเทศในทั่วทุกมุมโลก
ส่วน Fusion/Entry inhibitors และ integrase inhibitors มักจะหาได้ในกลุ่ม
ประเทศที่ร่ำรวยเสียเป็นส่วนใหญ่ส

สำหรับ protease inhibitors ไม่เหมาะทีจะใช้ในขณะเริ่มต้นการรักษา (initial Rx)
เพราะเป็นยาทีมีราคาแพง จำเป็นต้องกินหลายเม็ด และมีผลข้างเคียงสูง


<< PREV.

http://www.avert.org/hiv-and-aids-treatment-care.htm

ประเด็นที่ควรรู้ในคนที่เป็นเอชไอวี (HIV) : P. 5: What is combination therapy?

Dec. 23,2013

ในการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาคนติดเชื้อ HIV ในปัจจุบันจะใช้ยา
จำนวนสองขนาน หรือมากกว่าสองขนานขึ้นไปร่วมกัน
เราเรียกว่า combination therapy และบางทีการให้ยาสามตัว
หรือมากกว่าขึ้นไป  ซึ่งเราเรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy 
(HAART)

ถ้าใช้ยาต้านไวรัสเพียงตัวเดียว...
เชื้อเอชไอวี (HIV) สามารถสร้างความต้านทานต่อยาที่ใช้ (drug resistance)
เป็นเหตุให้ยาไม่สามารถจัดการกับเชื้อไวรัสเอชไอวีได้
และในการใช้ยาต้านไวรัส (antiretrovirals) ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปร่วม
กัน สามารถลดอัตราการเกิดภาวะดื้อยาของเชื้อโรคได้ลงได้สูง

ในปี 2013 The World Health Organization (WHO) ได้เสนอแนวทางการรักษา
ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส (antiretrovirals) เอาไว้ ดังนี้:

o Adults and Adolescents: ให้แนะนำให้ใช้ First line therapy
    ซึ่งประกอบด้วยสองกลุ่มร่วมกัน นั้นคือ Nucleoside reverse-transcriptase inhibitors 
    (NRTIs) + Non-nucleosice reverse-transcriptase inhibitor (NNRTI)

ยาที่ใช้ร่วมกันเป็นเม็ดเดียวกัน (fixed-dose combination) ที่มีการใช้
กันบ่อยได้แก่:

o TDF – Tenofovir
o 3TC – Lamivudine หรือ FTC – Emtricitabine
o EFV – Efavirenz

ในการเลือกใช้ยาต้านไวรัส (antiretrovirals) ย่อมขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง
เช่น ราคาของยา  ซึ่งมีราคาแพง,  จำนวนเม็ดยา, ผลข้างเคียงของยา, และอื่น ๆ

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่อาศัยในโลกที่สาม พบว่าการเข้าถึงยา
Anti-retrovirals  เป็นไปด้วยความลำบากมาก ๆ และส่วนใหญ่จะได้รับยารักษา
ก็ต่อเมื่อระบบภูมต้านทานของเขาได้ถูกทำลายลงอย่างมากแล้ว
และการรักษาดังกล่าว จะได้รับผลในระยะสั้นๆ เท่านั้น   แต่ไม่สามารถแก้ปัญหา
ที่ทำให้เกิดความบกพร่องในระบบภูมิต้านทานเลย

ในการเริ่มต้นการรักษา...
การให้ยาหลายขนานรวมกันในเม็ดเดียว (combination of drugs)
ซึ่งเราเรียกว่า first line therapy นั้น  หากให้การรักษาได้สักระยะหนึ่ง  ปรากฏว่า
เชื้อไวรัสต่อต้านยารวมดังกล่าว หรือเกิดผลข้างเคียงขึ้นอย่างรุนแรง....
การรักษาจะต้องเปลี่ยนเป็น second line therapy

สำหรับยากลุ่มที่สอง (Second line therapy) ที่ WHO แนะนำให้ใช้นั้น
ได้แก่ NRTIs และ ritonavir-boosted protease inhibitors (PI)


<< PREV    NEXT >> HIV (P 6 ): How many HIV and AIDS drugs are there?

ประเด็นที่ควรรู้ในคนที่เป็นเอชไอวี (HIV) P. 4 : What is HIV antiretroviral drug treatment?

Dec. 23,2013

คนที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)...
เขา สามารถมชีวิตอย่างเป็นสุขด้วยการรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม
โดยพบว่า ภายหลังจากโรคเอชไอวีได้ปรากฏขึ้นมา ปรากฏว่า
มียาต้านรัส (anti-retrovirals)  มากกว่า 20 ขนาน  สำหรับใช้ในการรักษา
โรคดังกล่าว

ในการใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวี...
ท่านจำเป็นต้องอาศัยความพยายาม  ด้วยความรับผิดชอบในการกินยา
ตรงตามเวลาที่แพทย์กำหนดให้ทุกวัน
บางท่านอาจประสบกับผลข้างเคียงของยา  หรือไม่ตอบสนองต่อยาบาง
ขนานได้ แต่จากการดูแลรักษาที่เหมาะสม โดยผู้ป่วยกินยาตามกำหนด
พร้อมกับการแก้ปัญหาที่เกิดจากการรักษาได้

What is HIV antiretroviral drug treatment?
การให้ยาต้านไวรัส antiretroviral drug treatment เป็นการรักษาหลักสำหรับ
คนติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นโรคเอดส์   ซึ่งไม่มีทางหายขาดได้เลย
แต่เราสามารถมีชีวิตร่วมกับการเป็นโรคเอชไอวีความสุขได้เป็นเวลาหลายปี
โดยท่านจะต้องการกินยาหลายตัวทุกวัน ตามท ี่แพทย์เป็นผู้สั่งไปตลอดชีวิต

เป้าหมายของยาต้านไวรัส คือทำให้จำนวนของเชื้อไวรในร่างกายลด
 (viral load) ลงสู่ระดับต่ำที่สุด   ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันถูก
ทำลายลงไป และในขณะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันฟื้นตัว
จากการทำลายของเชื้อเอชไอวี

ยาที่ใช้ต้านไวรัส เราเรียกว่า antiretrovirals, ARVs, anti-HIV หรือ
Anti-AIDS drugs.

>> PREV       NEXT >>    HIV  ( P. 5)  : What is combination therapy?

ประเด็นทีน่ารู้ใน “เอชไอวี” HIV P. 3 : Types of HIV tests

Dec. 23, 2013

 

ได้กล่าวมาก่อนแล้วว่า...เราไม่สามารถบอกว่า  ท่านติดเชื้อเอชไอวี
จนกว่าเราจะได้ทำการตรวจ HIV test เสียก่อน 

การตรวจ HIV test ที่ใช้กันบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ คือการตรวจ HIV antiboldy tests:
ซึงได้แก่  ELISA antibodly test  หรืออีกเชื่อเรียก EIA (enzyme immunoassay)
ถือเป็นการตรวจอย่างแรกสุด  ที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง
บางครั้งเราเรียกว่า 3rd generation tests

ในการตรวจ HIV antibody test เป็นการตรวจหา”ภูมิคุ้มกัน” (antibodies)
ซึ่งเป็นโปรตีน   ซึ่งถ ูกสร้างขึ้นมา  เพื่อต่อสู่กับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 
โดยเราสามารถตรวจพบได้ในเลือด, น้ำลาย, หรือปัสสาวะ

ถ้าเราตรวจพบ HIV antibody จากตัวของท่าน
ย่อมหมายความว่า ท่านได้ติดเชื้อ “เอชไอวี” เป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว
และมีข้อยกเว้นสองประการ ที่ควรทราบ คือ:

o ทารกทีกำเนิดจากแม่ที่ติดเชื้อ “เอชไอวี” จะมีภูมิคุ้มกันจากแม่
    นานถึง 18 เดือน ซึ่งหมายความว่า ผลการตรวจ HIV antibody
   test ในเด็กจะได้ผลเป็น “บวก” ทั้งๆ ที่ภายในตัวเด็กจะไม่มี
   เชื้อเอชไอวีเลย....

o ใคนที่ได้รับวัคซีน (HIV vaccine trials) ในโครงการทดลอง
    สำหรับต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี...ผลการตรวจ HIV antibody test
    อาจได้ผลป็น “บวก” ได้ โดยที่ตัวของเขาไม่ได้ติดเชื้อดังกล่าว
   เลย

คนส่วนใหญ่จะตรวจพบ HIV antibodies ได้ภายใน 6 – 12 อาทิตย์ หลังการ
ติดเชื้อ “เอชไอวี”   มีเพียงน้อยราย (very rare) สามารถตรวจพบภูมิคุ้มกัน
ได้เมื่อเวลาผ่านไปได้ 6 เดือน  ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นได้ช้า...
โดยเป็นผลมาจากความบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันนั่นเอง

และหลังจาก 6 เดือนผ่านไปแล้ว...
ไม่น่าจะตรวจพบ HIV antibody

ช่วงเวลาหลังการติดเชื้อกแล้วยังไม่สามารถตรวจพบ “antibody” เรา
เรียกว่า window period สำหรับ antibody test
โดยมีการประมาณการเอาไว้ถึง 3 เดือน

หลังการสัมผัสกับเชื้อเอชไอวีผ่านไปได้ 3 เดือนแล้ว พบว่าผลการตรวจ
HIV antibody test ยังได้ผลเป็น “ลบ” เขาไม่น่าติดเชื้อเอชไอวี
และหาก 6 เดือนผ่านไป แล้วตรวจไม่พบ HIV antibody ย่อมหมายความ
ว่า เขาไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ” “เอชไอวี”
ซึ่งหมายความว่า เขาไม่ได้ติดเชื้อ “เอชไอวี” นั่นเอง

การตรวจหา antibody สำหรับเชื้อเอชไอวี (HIV antibody test)...
จะให้ผลที่แม่นยำมาก   และมีโอกาสตรวจได้ผล “ลบ” ได้น้อยมาก ๆ
โดยจะมีผลเป็น “บวก” ในเวลาต่อมา

 และในคนที่ตรวจพบผลเป็น“บวก” จะได้รับการตรวจเพื่อยืนยัน (confirmatory test)
เช่น:

o A Western blot assay – เป็นการตรวจที่นับว่าเก่าแก่ที่สุด และ
  ได้ผลแม่นยำที่สุดในการยืนยันผล antibody test
o An indirect immunofluorescence assay – เป็นการตรวจคล้ายกับ
   Weatern blot test   แต่ใช้กล้องตรวจหา HIV antibodies
o A line immunoassay – เป็นการตรวจที่ใช้ในกลุ่ม Europe ลดโอกาส
   ปนเปือนของตัวอย่างที่เอามาตรวจ มีความแม่นยำเทียบเท่า Western blot test
o A second antibody test -

เมื่อมีการใช้การตรวจสองอย่างตามที่กล่าว....โอกาสที่จะผิดพลาดมีได้น้อย
มาก (< 0.1 %)

 << PREV            NEXT >>  What is HIV Antiretroviral drug treatment

ประเด็นทีน่ารู้ใน “เอชไอวี” HIV P. 2 : When should someone get an HIV test?

Dec. 22, 2013

ถ้าเชื่อว่า...
ท่านอาจติดเชื้อเอชไอวีเข้าแล้ว ...ท่านควรทำอย่างไร ?
ท่านจำเป็นต้องไปพบแพทย์  เพื่อปรึกษาถึงอันตรายที่จะเกิด
พร้อมกับวางแผนในการตรวจ (HIV test) ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

ในคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ “เอชไอวี” ...
เขาจะได้รับคำแนะนำให้ทำการตรวจ HIV test  อย่างน้อยปีละครั้ง
 และในบางราย แพทย์อาจแนะนำ ให้เป็นการตรวจทันทีก็ได้

ในการตรวจหาเชื้อ “เอชไอวี” หลังการสัมผัสเชื้อ หากตรวจเร็วเกินไป
อาจได้ผลที่ไม่แม่นยำ   ทั้งนี้เป็นเพราะ “window period” นั้นเอง
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราไม่สามารถตรวจพบเชื้อ “เอชไอวี” ได้ทั้ง ๆที่
เชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว

ในช่วงเวลาดังกล่าว (window period)...
การตรวจ HIV test ผลที่ได้อาจเป็น “false negative"

และเรามีการตรวจ HIV tests  หลายวิธี ซึ่งต่างมีช่วง window period
แตกต่างกัน และสิ่งที่ท่านจำเป็นต้องทราบ คือ ท่านจะต้องรู้ว่า จะต้องรอ
นานเท่าใดก่อนทำการตรวจ
และควรเรียนรู้ถึงธรรมชาติของการตรวจ HIV test แต่ละอย่าง

ในกรณีที่ไม่แน่ใจในวัน และเวลาที่ไปสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี...
แพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเวลา
อันเหมาะสมแก่ท่านได้ ว่า ควรได้รับการตรวจ  HIV test เมื่อใด

<< PREV    NEXT >>   HIV P. 3 : HIV test

ประเด็นทีน่ารู้ใน “เอชไอวี” HIV P. 1 : Why test for HIV?

Dec. 22, 2013

สำหรับท่านที่คิดว่าตนเองอาจสัมผัสกับเชื้อ “เอชไอวี” ...
การตรวจ (HIV test) น่าจะเป็นประโยชน์ในประเด็นที่ว่า ถ้าผลเป็นลบ
(negative result) ซึ่งหมายความว่า ท่านไม่ได้ติดเชื้อดังกล่าว

ถ้าผลการตรวจ HIV test ได้ผลเป็นบวก...
เราสามารถช่วยคนไข้ดังกล่าว ให้สามารถมีชีวิตอย่างเป็นสุขได้   และ
หากถึงจุดหนึ่ง เขา (คนไข้)อาจได้รับยารักษาต้านไวรัส (anti-retroviral treatment) 
เพื่อชะลอการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสและช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในสภาพที่ดีได้

หากใครก็ตามที่ไปติดเชื้อ “เอชไอวี” โดยไม่รู้ตัว...
และปล่อยทิ้งไว้นาน จะพบว่า เมื่อได้การรักษาในภายหลัง  ผลที่ได้รับ
จะไม่ประสบผลเท่าที่ควรจะเป็น

แพทย์สามารถตรวจสอบคนที่ติดเชื้อ “เอชไอวี” เพื่อจะได้จัดหา
แผนการรักษาที่ดีให้แก่คนไข้ในเวลาที่เหมาะสมได้
ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถดำเนินการเพื่อป้อง
กันไม่ให้มีการแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้


NEXT>> : HIV    P. 2 : When should someone get an HIV test?

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประเด็นที่น่ารู้จากโรคเอชไอวี (HIV) P. 3: Protected sex

Dec. 20, 2013

Injecting drugs with sterile needles
ตราบใดที่มีการอุปกรณ์ และเข็มที่สอาดปราศจากเชื้อ...
ย่อมรับประกันได้ว่า ปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีได้
อย่างไรก็ตาม หากไม่ระมัดระวังอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

การใช้เข็มฉีดยาในบุคคลที่ฉีดยาให้ตนเอง รวมถึง
คนดื่มแอลกอฮอลด้วยแล้ว อาจทำให้เขาเกิดความสะเพร่าไม่ระมัด
ระวังเท่าที่ควร  อาจทำให้เขามี่ความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อได้

ถ้าบังเอิญคนๆ นั้นเป็นคนติดยา...รวมถึงพวกติดเหล้าด้วย
อาจทำให้เขาเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์
ประเพศเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ได้

Condoms protect against HIV transmission
การใช้ถุงอยางอนามัยได้อยู่ถูกต้อง ใช้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
ถือได้ว่า เป็นวิธีการที่ปลอดภัย สามารถป้องกันการแพร่เชื้อ HIV
ได้เป็นอย่างดี

มีเพียงกลุ่มน้อยเท่านั้น ที่ยังมีความเชื้อว่า ถุงยาง
อนามัยไม่เพียงพอต่อการป้องกัน และเชื้อว่า มีเชื้อจำนวนน้อยผ่าน
ถุงยางอนามัย (latex) ไปได้...แต่ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ได้
พิสูจฯแล้วว่า ความเชื้อดังกล่าวไม่ถูกต้อง

ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ HIV ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ทั้ง vaginal และ anal sex รวมถึง oral sex ด้วย

<< PREV

http://www.avert.org/hiv-transmission.htm

เมื่อคนติดเชื้อเอชไอวี (HIV Infection) P. 2 Symptoms of opportunistic Infections

Dec. 21, 2013

โรคติดเชื้อฉาบฉวยโอกาส หมายถึง opportunistic infections...
ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่อยู่รอบตัวคนเราตลอดเวลา ซึ่งถูกทำลายโดย
ระบบภูมิคุ้มกันของเคนเรา ดังนั้น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงมากพอ
เชื้อโรค  ซึ่งแต่ก่อนไม่สามารถทำอะไรได้ มันจะทำให้เกิดการอักเสบ
ขึ้นแบบฉวยโอกาส เราเรียก “การอักเสบติดเชื้อฉาบฉวย” หรือ
opportunistic infections

Opportunistic infections จะมีอาการได้ต่างๆ กัน จากน้อยไปหามาก
โดยอาการบางอย่าง มีความรุนแรงอย่างมาก
นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า มีมะเร็งบางอย่างเกิดขึ้นได้บ่อย เมื่อระบบ
ภูมิคุ้มกันเกิดอ่อนแอลงไป

อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นอาการ
เนื่องมาจากการอักเสบติดเชื้อเอชไอวี และไม่สามารถบอกได้ว่า เป็น
อาการของโรคเอดส์

การวินิจฉัยโรคเอดส์ต้องอาศัยอาการแสดงของความบกพร่องในระบบ
ภูมิคุ้มกันที่เกิดอ่อนแอลงอย่างมาก ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้จากปัจจัย
ใด ๆ ยกเว้นเฉพาะการอักเสบติดเชื้อเอชไอวี
ซึ่งจำเป็นต้องพึงพาอาศัยการตรวจ HIV test เท่านั้น

อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อเอชไอวี
(Symptoms following HIV infection)

ในบางที่ติดเชื้อเอชไอวี จะไม่พบว่ามีความผิดปกติในสุขภาพของตน
เลยแม้แต่น้อย แต่มี่บางรายจะทรมานจากอาการคล้านเป็นโรคหวัด
ใหญ่ภายในระยะเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่อาทิตย์หลังติดเชื้อเอชไอวี หรือ
อาจเกิดมีผื่นบนผิวหนัง หรือมีต่อมน้ำเหลืองโตได้ โดยอาการเหล่านี้
ไม่ได้บ่งชี้ว่า เป็นอาการของโรคเอดส์ และมันจะหายไปภายในไม่กี่
วัน หรือไม่กี่อาทิตย์

คำถามมีว่า...
อาการเหมือนกับการเป็นไข้หวัดใหญ่ ต่อมน้ำเหลืองโต...
เป็นอาการของคนติดเชื้อเอชไอวี (HIV infection) จริงหรือ ?
มีโรคหลายชนิดที่มีอาการเหมือนคนเป็นโรคหวัดใหญ่ (flu-like
Symptoms) หรือมีต่อมน้ำเหลืองโต...
ความจริงมีอยู่ว่า ท่านจะไม่ติดโรคเอชไอวี นอกเสียจากท่านจะ
ไปสัมผัสกับเชื้อไวรัสตัวดังกล่าวกับคนที่เป็นเอชไอวีเสียก่อน

เชื้อเอชไอวีสามารถแพร่สู่คนอื่นได้หลายทาง เป็นต้นว่า
ทางเพศสัมพันธุ์, สัมผัสกับเลือดของคนติดเชื้อ (HIV) หรือ
การให้นมบุตร, หรือทางใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนติดเชื้อ...

โดยสรุป...
มีทางเดียวเท่านั้นที่สามารถบอกได้ว่า ท่านติดเชื้อไวรัสเอช
ไอวีหรือไม่ คือ ท่านต้องทำการตรวจ HIV test

<< PREV       NEXT >> P. Protected sex

เมื่อคนติดเชื้อเอชไอวี (HIV infection) : HIV & AIDS Symptoms

Dec. 21, 2013

What are the symptoms of HIV and AIDS?

เราไม่สามารถวินิจฉัยการอักเสบติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดศ์ โดยอาศัย
อาการเพียงอย่างเดียว เพราะอาการของคนที่การอักเสบเอชไอวี
จะมีอาการเหมือนกับโรคชนิดอื่น ๆ   ดังนั้น การที่เราจะรู้ได้ว่าคนเกิดมีการ
ติดเชื้อ "เอชไอวี" หรือไม่  จำเป็นต้องอาศัยการตรจที่เรียกว่า HIV test เท่านั้น

ในคนที่มีชีวิตร่วมกับการติเชื้อ "เอชไอวี"...
เขาอาจมีความรู้สึกเป็นปกติ   และรูปลักษณ์เหมือนคนปกติทุกประการ
แต่ระบบภูมิคุ้มกันของเขาอาจผิดปกติเสียหายไป  ไม่สามารถทำงานได้ปกติ

ที่เราควรทราบ คือ เมื่อใครก็ตามติดเชื้อเอชไอวีขึ้น ไม่ว่าเขาจะรู้สึกเป็น
ปกติหรือไม่ก็ตาม เขาสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ทันที

"เอชไอวี"  (HIV) เป็นเป็นไวรัส ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS)
โดยเฉพาะในรายที่มีการอักเสบเอขไอวี (HIV infection) ซึ่งถูกละเลยไม่ได้รับ
การรักษาอย่างเหมาะสมจากยาต้านไวรัส (antiretroviral treatment) เมื่อเวลาผ่าน
ไป  เชื้อไวรัสตัวดังกล่าวจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนกำลังลง  ถึงขั้นไม่สามารถ
ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคที่อยู่รอบกาย  ทำให้เชื้อดังกล่าวฉวบโอกาสทำให้เกิด
การอักเสบขึ้น  ซึ่งซึ่งถูกเรียกว่า การอักเสบฉวยโอกาส หรือopportunitic infections


>> NEXT : Symptoms caused by opportunistic infections

มาทำความเข้าใจกับเชื้อเอชไอวีกันดีไหม? P. 4: The Basic of HIV: What kind of medications should one take when first start the treatment?

Dec. 20,2013

มียาอยู่ 5 กลุ่มที่ทำหน้าที่ต้านเชื้อไวรัส “เอชไอวี” โดยการทำงาน
ที่แตกต่างกัน เพื่อหยุดยั้งการเพิ่มจำนวน (reproduce) ของเชื้อ
“เอชไอวี” ด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน  โดยทั่วไป คนไข้จะรับทานยา
ในรูปแบบผสมผสานด้วยการใช้ยามากกว่าหนึ่งขนาน เพื่อให้ได้รับ
ผลดีที่สุด  เราเรียกว่า combination therapy

การรักษาด้วยกรรมวิธี combination therapy สามารถป้องกันไม่ให้
เกิดการดื้อยา (drug resistance) ซึ่งเป็นต้นเหตุที่สำคัญที่ทำให้
การใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี (anti-HIV medications) ไม่ประสบผล

ยาที่ใช้ที่เราควรทราบเอาไว้ มีดังนี้;

1.   Entry inhibitors ยากลุ่มนี้จะช่วยหยุดเชื้อไวรัสไม่ให้เข้าสู่
เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน (CD4 cells)

2.    NRTIs or “Nukes” และ NNRTIs or “Non-nukes” จะทำหน้า
ที่หยุดยั้งสารพันธุกรรม หรือสารชีวโมกุลของไวรัส เปลี่ยนรูป
ร่างให้เหมือนกับสารพันธุกรรมของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน

3.   Integrase inhibitors จะทำหน้าที่ช่วยหยุดยั้งไม่ให้สารพันธุกรรม
ของเชื้อไวรัสเข้าสู่ nucleus ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน (CD4)

4.   Protease inhibitors จะทำหน้าที่ช่วยยุติการรวมตัวของสารพันธุ

          กรรม เพื่อให้กลายเป็นไวรัส “เอชไอวี” ตัวใหม่



<< PREV    NEXT >> The Basic of HIV :  P.  5  : How can I tell I
have HIV or AIDS

มาทำความเข้าใจกับเชื้อเอชไอวีกันดีไหม? P. 5 : How can I tell I have HIV or AIDS

Dec. 22, 2013

จะทราบได้ว่า ท่านติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่นั้น...
มีทางเดียวเท่านั้น  นั้นคือทำการตรวจ  HIV test 
(ซึ่งมักเป็นการตรวจ HIV antibody test)

ท่านไม่สามารถบอกใครๆ ได้ว่า เขาหรือเธอเป็นโรคเอดส์ หรือติดเชื้อ
“เอชไอวี”  จากการดูใบหน้า  หรือเห็นรูปลักษณ์ของเขา
ประการสำคัญ  เราไม่สามารถทำการวินิจฉัยคนติดเชื้อเอชไอวีได้จาก
อาการแสดงของเขาเลย

อาการที่ปรากฏในคนเป็นโรคเอดส์ (AIDS) หรือติดเชื้อ “เอชไอวี”
เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะ...และอาจเป็นอาการของโรคอย่างอื่นๆ มากมาย...
ซึ่งนั้นคือเหตุผลที่บอกให้ทราบตั้งแรกว่า... HIV test เป็นวิธีเดียวเท่านั้น
ที่สามารถบอกได้ว่า ท่านเป็นโรคเอดส์ หรือ หรือติดเชื้อ “เอชไอวี”
ได้อย่างแม่นยำ...

ถ้าบังเอิญท่านได้ไปสัมผัสกับคนที่เป็นโรคเอดส์ หรือติดเชื้อ “เอชไอวี”..
การตรวจเลือดจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับท่าน

มีคนเป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อไปเที่ยวซุกซนมา  มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระมัดระวัง
เกิดมีความวิตกกังวล และมีความกลัวว่า เลือดของตนเองจะเป็นบวก  แต่ไม่กล้า
ไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจ...
ซึ่งหมายความว่า เขาเหล่านั้นจะต้องเสียเวลาเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ
วิตกกังวลกับความเป็นไปได้ว่า ตนเองจะติดเชื้อ “เอชไอวี”..
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นที่จะต้องให้เป็นเช่นนั้น

แต่ส่วนใหญ่แล้ว เขาหรือเธอจะรู้สึกว่า การรู้สถาณภาพที่เป็นจริงจะดีกว่าไม่รู้...
เพราะถ้าผลการตรวจออกมาว่า ผลการตรวจเป็นลบ (negative)
มันจะทำให้จิตใจของท่านสงบทันที  ไม่ต้องวิตกกังวลใด ๆ
สามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีคามสุข...

ถ้าผลการตรวจออกมาว่า เลือดของท่านเป็นบวก (positive)
แล้วจะเป็นอย่างไร ?

o ท่านจะได้รับแรงสนับสนุนด้านอารมณ์ ...และได้รับคำแนะนำว่า
   ท่านควรทำอย่างไรต่อไป...
o ท่านจะได้รับการประเมินผลด้านสุขภาพ... และเริ่มได้รับยาต้านเชื้อไวรัส
    เมื่อมีความจำเป็น (antiretroviral therapy)
o ท่านจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อสู่คนอื่นโดยเฉพาะคู่ครอง
    ของท่าน ตลอดรวมถึงเด็กๆ ในอนาคต
o หากท่านเกิดไม่สบายขึ้นมา....แพทย์ก็จะได้เยียวยารักษาได้ตาม
    ความเหมาะสม
o ท่านสามารถเริ่มต้นวางแผนชีวิตสำหรับอนาคต...
   ท่านจะได้เรียนรู้ว่า การติดเชื้อ HIV อาจทำให้ท่านตกใจ แต่วิกฤติ
   มักให้โอกาสที่ดีเสมอ...ซึ่งอาจมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นกับชีวิตของท่านได้

<<  PREV

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มาทำความเข้าใจกับเชื้อเอชไอวีกันดีไหม.. ? P. 3 : The Basic of HIV: CD 4 Cell Count

Dec. 20,2013

ในการรักษาคนที่มีเชื้อ HIV และเป็นโรค AIDS ...
นอกจากจะต้องทราบจำนวนเชื้อไวรัส (viral load) ในกระแสเลือดแล้ว
เราจำเป็นต้องทราบจำนวน CD4 cells ด้วย

การตรวจหาปริมาณของเซลล์ ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้การอักเสบภายในเลือด
ถือเป็นวิธีการหนึ่ง สำหรับตรวจให้ทราบว่า ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ทำงานได้ดีแค่ใด ?

ในการรักษา HIV ...
มีจุดมุงหมายเพื่อเพิ่มจำนวน CD4 ในกระแสเลือด หรืออย่างน้อยคือการ
ป้องกันไม่ให้จำนวน CD4 ลดลง
โดยค่าปกติของ CD4 ควรมีค่ามากกว่า 500 cells/mm3

สำหรับหน่วยงาน...Deparment of Health and Human Services (DHHS)
ได้ให้แนวทางในการรักษาคนที่มีเชื้อเอชไอวี (HIV) เอาไว้ว่า...
ให้เริ่มต้นให้ยาต้านไวรัส (antiretroviral drugs)เมือ CD4 มีค่าต่ำกว่า 350
Cells/mm3

เมื่อใดก็ตามที่ CD4 มีค่าต่ำกว่า 200 cells/mm3 ย่อมหมายความว่า ระบบ
ภูมิต้านทานของคนไข้อยู่ในสภาพที่อ่อนแอมากที่สุด และ
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะบอกให้ทราบว่า คนที่มีเชื้อ HIV ได้เป็นโรค AIDS
เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

<< PREV    NEXT >> P. : The Basic of HIV: What Medication....?

มาทำความเข้าใจกับเชื้อเอชไอวีกันดีไหม... ? P. 2 : The Basic of HIV: Treatment

Dec. 20, 2013

ในปัจจุบัน...
เราต้องยอมรับว่า สังคมของมนุษย์เรายังไม่สามารถควบคุมเชื้อเอชไอวี และ
โรคเอดส์ได้เลย  เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว  แม้มันจะอยู่กับเขาไปตลอดชีวิต
แต่เรามีทางช่วยให้การรักษาเชื้อเอชไอวี  และทำให้คนที่เป็นโรคเอดส์ 
สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับโรคเอชไอวี และเอดส์ได้

เรามียามากกว่า 30 ขนาน สำหรับให้คนไข้ได้ใช้เพื่อต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี
แต่ยาเหล่านี้ ไม่สามารถทำเชื้อถูกทำลายไวรัสได้สิ้นซาก

การรักษา (Treatments):

การรักษาคนที่มีเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยได้รับการรับรองให้ยาสามขนาน
หรือมากกว่าจากยาอย่างน้อยสองกลุ่ม ซึ่งการรักษาในรูปแบบดังกล่าว
ถูกเรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART)

การให้ยาต้านไวรัส (antiretrovial drugs) มากกว่าหนึ่งกลุ่ม
โดยให้ยาแต่ละตัวทำลายเชื้อ HIV ที่กำลังขยายตัวในแต่ละช่วง (stages)

ในปัจจุบัน ได้มีแนวทางในการเลือกใช้ยารวมกันหลายรูปแบบ
โดยมียาจำนวนมาก อาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ, มีการให้ขนาดยาที่แตกต่าง
กัน, รวมถึงจำนวนเม็ดยาที่คนไข้ต้องรับทานในแต่ละวัน

ยาที่ถูกนำมาใช้ในรูปแบบ “ใช้ร่วมกัน” ซึ่งให้รับทานวันละครั้ง
โดยมีเป้าหมายมีดังต่อไปนี้:

o ในการรักษา HIV สามารถช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสในกระแสเลือด
ลง (viral load) และเพิ่มปริมาณของ CD4 cells
o ในการรักษา HIV ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น อาจช่วยทำให้คนไข้
มีชีวิตยืนยาวขึ้น
o ในการรักษา HIV หากเริ่มให้การรักษาได้แต่เนิน ๆ โอกาสที่จะได้
รับผลของการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพย่อมมีได้สูง
o ในการรักษา HIV ซึ่งสามารถทำให้ไม่สามารถตรวจสอบเชื้อได้
อาจลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ HIV สู่คนอื่นได้

กลุ่มยาที่นำมาใช้รักษา HIV ได้แก่:

o Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs)
o Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)
o Protease inhibitors (Pis)
o Entry?Fusion inhibitors
o Integrase inhibitors


         
<< PREV      NEXT >> P. 3 : The Basic of HIV: CD 4 Cell Count

มาทำความเข้าใจกับเชื้อเอชไอวีกันดีไหม... ? P. 1 : The Basic of HIV

Dec. 20, 2013

เอชไอวี (HIV) เป็นคำย่อของ Human Immunodeficiency Virus
เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS)   ที่เราเรียกว่า Acquired
Immunodeficiency Syndrome

การที่ท่านมีเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกาย ไม่ได้หมายความว่า ท่านเป็นโรคเอดส์
 แต่การที่ท่านปล่อยให้มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย  โดยที่ท่านไม่รู้ตัว
และไม่ให้การรักษานั้นแหละ    เชื้อไวรัสตัวดังกล่าวจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
ของท่านให้ตกอยู่ในสภาพอ่อนแอ ไม่สามารถทำหน้าที่คุ้มกันร่างกายได้ตาม
ปกติ....ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดเป็นโรคเอดส ์ในที่สุด

แปลตามตัวอักษร...โรคเอดส์  ก็คือโรคที่ท่านไม่มีภูมิต้านทานที่ต่อสู่กับโรค
ได้นั้นเอง

What does HIV do to your body?

เชื้อไวรัส HIV จะทำลายระบบภูมคุ้มกัน....
โดยที่ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกาย
กับการอักเสบ และโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกาย  โดยมีเซลล์ที่สำคญในการทำหน้าที่ี
ดังกล่าว  มีชื่อว่า  CD4  หรือ "T-helper cell หรือ  T-cells"

เมื่อเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายของคนเรา..
มันจะทำให้เซลล์ CD4 (T-cell) cells เกิดการอักเสบ จากนั้นเชื้อไวรัส
แพร่พันธ์ด้วยการกอปปี้ตัวเองภายในเซลล์ CD4...เป็นการสร้างไวรัส
ตัวใหม่ ๆ ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และเชื้อที่สร้างขึ้นใหม่จะกระจายสู่กระแสเลือดทำ
ให้เกิดการอักเสบ พร้อมกับทำลาย CD4 Cells ตัวอื่น ๆ
เป็นเหตุให้จำนวน CD4 cells ในกระแสเลือดลดลงอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่ CD4 cells ภายในร่างกายถูกทำลายลงไปนั้น จะทำให้ระบบ
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับสภาวะบางอย่างได้ ซึ่งโดยปกติภาวะนั้นๆ
จะไม่เป็นอันตรายต่อคนที่มีสุขภาพดีเลย  แต่พอระบบภูมิคุ้มกันหมดสภาพเท่านั้น
เชื้อต่างๆ  ก็จะฉวยโอกาสเข้าทำลายร่างกายของคนๆ นสั้นทันที เราเรียกภาวะนั้น
ว่า   opportunistic infections (OIS) หรือการอักเสบฉวยโอกาส  ซึ่งได้แก่ :
pneumonia,  herpes, tuberculosis, cancers เช่น lymphoma และ cervical cancer

<< PREV      NEXT >> The Basic of HIV P. 2: Treatment

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประเด็นที่น่ารู้จากโรคเอชไอวี (HIV) P. 2: How HIV is passed on

Dec. 20, 2013

เชื้อไวรัสเอชไอวีจะแพร่กระจายจากคนที่เป็นโรคสู่คนอื่น
โดยผ่านทางเลือด และน้ำในร่างกาย เช่น น้ำอสุจิ, น้ำจากช่องคลอด
ซึ่งผ่านทางการสัมผัสกับเลือดของคนที่เป็นโรค หรือผ่านทางเยื่อเมือก
เช่น จากช่องคลอด, ทางทวารหนัก, และทางท่อปัสสาวะ

การแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี สามารถแพร่กระจายได้หลายทาง โดยเชื้อ
ไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนทางรอยแผลที่เกิดจากของมีคม หรือ
รอยแผล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นจากการเสียดสี ช่องทางที่กล่าวถึงนั้น
ได้แก่ :

o Vaginal Sex:
o Anal sex
o Oral sex
o Injecting drugs
o Mother to child transmission
o Blood Transfusion & Blood products
o Infection in Health care settings
o Tattoos / piercing

Kissing :
เชื้อเอชไอวีไม่สามารถแพร่กระจายทางจูบได้...
แต่การที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากทางจูบกันนั้น จำเป็นต้องได้รับเชื้อ
เอชไอวีในปริมาณปริมาณที่สูงมากๆ ...
แต่โชคดีที่พบว่า ในน้ำลายของคนติด...มีเชื่อ HIV จริง แต่มีปริมาณที่
น้อยมาก และไม่เคยพบว่า การจูบสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้

แต่มีกรณียกเว้น คือ คนทั้งสองที่จูบกัน จะต้องมีแผลภายในปาก
หรือมีเลือดออกตามไรฟัน (bleeding gums)
โดยปกติแล้ว จะไม่มีการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ทางการจูบปาก

Sneezing, coughing, sharing glasses/cups, etc
เชื้อเอชไอวีไม่สามารถแพร่พันธ์นอกร่างกายของคนได้
มีข้อยกเว้นเฉพาะในในห้องปฏิบัติการณ์ที่มีการควบคุมเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น
เชื้อเอชไอวี จึงจะมีชีวิตอยู่ได้   ทั้งนี้เพราะเชื้อไวรัสดังกล่าว ไม่สามารถมีชีวิตใน
ที่กลางแจ้งได้ จึงเป็นเหตุให้การแพร่กระจายเชื้อจากสภาพแวดล้อม
นอกกายไม่ได้เลย

ซึ่งหมายความว่า เชื้อเอชไอวีไม่สามารถแพร่กระจายทางน้ำลายที่คายทิ้งจากปาก,
จากการจาม,  หรือการใช้แก้วน้ำร่วมกัน,  หรือใช้เครื่องดนตรีร่วมกัน
 นอกจากนั้น เชื้อเอชไอวีไม่สามารถแพร่กระจายทางสระว่ายน้ำ,
 หรือจากน้ำจากฝักบัวในห้องอาบน้ำ   หรืออุปกรณ์ทำความสะอาด หรือห้องส้วม

Insects


มีผลของการศึกษาจำนวนไม่น้อย ไม่พบหลักฐานว่า แมลง  เช่น ยุง
สามารถแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีได้   แม้ว่าจะเป็นบริเวณที่มีกลุ่มคนที่เป็นโรค
เอชไอวี และโรคเอดส์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม ก็ไม่พบว่า ยุง
สามารถแพร่เชื่อไวรัสตัวดังกล่าวได้

ผลจากการตรวจพบว่า เชื้อเอชไอวี มีชีวิตภายในแมลงในชั่วระยะสั้น ๆ เท่านั้น
ไม่สามารถแพร่เชื้อด้วยกระบวนการทำซ้ำภายในแมลงได้ ไม่ว่า
จะเป็นแมลงชนิดใด (mosquito หรือ sucking หรือ biting insects)
ไม่มีการอักเสบจาเชื้อไวรัสเอชไอวีในแมลงได้
ดังนั้นเชื้อที่อยู่ในแมลงจึง ไม่สามารถแพร่เข้าสู่คนได้

<< PREV    NEXT >> HIV P. Protected sex

ประเด็นที่น่ารู้จากโรคเอชไอวี P. 1 : Transmission & Testing

Dec. 20, 2013

เชื้อเอชไอวีสามารถพบได้ในกระแสเลือด และน้ำคัดหลั่งจากร่างกาย
เช่น น้ำอสุจิ (semens) และน้ำคัดหลั่งจากช่องคลอด

ซึ่งเชื้อไวรัสเอชไอวีดังกล่าว สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายด้วยการ
สัมผัสเชื้อในระหว่างเพศสัมัพันธ์  โดยผ่านทางรอยแผลที่บริเวรเยื้อเมือก
หรือผ่านทางแผลที่เกิดจากเข็มทิ่มตำในขณะทำงานกับคนไข้โรคเอดส์
หรือจากการแบ่งปันการใช้เข็มฉีดยาขอ'กลุ่มคนที่มีคนเป็นโรค..

ในการตรวจหาเชื้อเอชไอวี (Testing)  สามารถกระทำได้ทาง
ห้องปฏิบัติการณ์  หรือใช้การตรวจด้วยวิธีพิเศษ   ซึ่งทำให้เราสามารถ
ตรวจพบเชื้อไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือดได้

เมื่อเชื้อเอชไอวีจากเลือด  หรือจากน้ำคัดหลั่งเข้าสู่คนปกติ
จากนั้น  เชื้อมันจะแพร่พันธ์  เป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อขึ้น ในที่สุด

ส่วนน้ำลายของคนเป็นโรคเอชไอวี...ไม่มีหลักฐานยืนยนว่า
 ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเอชไอวีได้


<< NEXT     P. 2: How HIV is passed on

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P.8: Test & Treat Stategy

Dec. 19,2013
เกิดมีปัญหาว่า...
กลยุทธการตรวจ และการรักษาจะได้ผลหรือไม่?

ถ้าคนเราเดินทางผ่านไปยังซีกโลกที่ไม่สามารถทำการตรวจหา HIV,
หรือให้การรักษาคนไข้ดังกล่าวได้...ผล.จะทำอย่าไร ?
คงได้แต่ภาวนาเท่านั้นมั้ง !

HIV testing:
เมื่อมีคนถูกข่มขืนทางเพศ มลทินที่เกิดขึ้น ย่อมก่อให้เกิดความอับอาย
แก่ผู้เป็นเหยืออย่างแน่นอน   และการที่เขาจะได้รับการตรวจดูว่า
ฃเขาติดเชื้อ  หรือไม่ย่อมใช้เรื่องง่ายนัก

ในสหรัฐฯ อเมริกา มีรายวานว่า   หนึ่งในจำนวนห้าคนที่เป็นโรคเอชไอวี
ไม่ค่อยจะใสใจในการอักเสบติดเชื้อเอชไอวีของตนเลย 
และมีคนไข้เป็นจำนวนไม่น้อย  จะได้รับการตรวจก็ต่อเมื่อ  เขามีการติดเชื้อ
ฉวยโอกาสขึ้น (opportunistic infection) เท่านั้น

ได้มีการคำนวณเอาไว้ว่า...
การให้ยาต้านไวรัสเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายโรค (treatment as  Prevention)
ในระดับของแพทย์  และยุคลากรทางการแพทย์ พบว่า
75 %ของคนที่เป็นโรคเอชไอวี   ควรต้องได้รับการวินิจฉัย  และให้การรักษา
และสิ่งกีดขวางต่อการป้องกันไม่ให้คนได้รับการตรวจ  ฃ
ควรได้รับการแก้ไขให้หมดไป

HIV Treatment:
มีหลายประเทศที่พบว่า จำนวนของประชาชนสามารถเข้าถึง และได้รับการรักษาโรค
เพิ่มขึ้น ในปัจจุบัน พบว่า มีเพียง 65 % ของคนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
 และประมาณ 12 ประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำ  ถึงปานกลางสามารถเข้าถึงการรักษาฃ
ได้ตามระดับสากล

ในขณะเดียวกัน  มีหลายประเทศที่มีการจำกัดการเข้าถึงการรักษา แม้ว่ามีการรักษา
ก็ตามที  แต่เขาไม่สามารถได้รับการรักษานั้น  ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะเขากำหนด
ให้ได้รับยาต้านไวร้ส (antiretroviral drugs) จนกว่าระดับ CD 4 จะลดต่ำกว่าเสียก่อน

ในกรณีที่ติดเชื้อเอชไอวี แต่ CD4 ยังไม่ลดต่ำไม่ได้รับการรักษา...
เป็นเพราะเรายังไม่มีเงินทุนมากพอที่จะให้การรักษาคนที่ติดเชื้อ  โดยให้เหตุผลว่า
ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่ถูกทำลายมากพอนั่นเอง

HIV care:
ในคนที่เป็นโรคเอชไอวี...
ในเมื่อจะมีชีวิตร่วมกับโรคเอชไอวี..เขาจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษา
ด้วยการกินยาต้านไวรัส (antiretrovial therapy) อย่างเคร่งครัด
และทำให้จำนวนของเชื้อไวรัส (viral load) ให้ลดต่ำให้มากที่สุด


<< PREV  

http://www.avert.org/world-aids-day.htm

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P 7 : HIV Treatment as Prevention

Dec. 19,2013

การรักษาโรคเอชไอวี  เพื่อเป็นการป้องกัน...
เป็นวิธีการรักษาโรคเอชไอวี โดยการรักษาด้วยยาต้านไวร้ส สามารถลดโอกาส
ไม่ให้เชื้อเอชไอวีได้แพร่กระจายนั้นเอง

ในคนที่เป็นโรคเอชไอวีจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อตัวของเขาเอง
โดยการใช้ยาต้านไวร้ส (anti-retrovial drugs)
ซึ่งสามารถลกปริมาณของเชื้อไวรังลง (viral load) พร้อมกับเป็นการทำให้
รู้สุกสบายจากอาการของโรคเอชไอวีได้

ในคนที่เป็นโรคเอชไอวี....
ปริมาณของเชื้อไวรัส HIV ในกระแสเลือด (viral load) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
ต่อการแพร่กระจายเชื้อเพียงตัวเดียว   ดังนั้น การรักษาเพื่อให้ได้ประโยชน์
ในด้านการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อลง จำเป็นต้องลดปริมาณ
เชื้อไวารัสในสกระแสเลือด (viral load) ลง

ความคิดเห็นในด้านการรักษาเพื่อการป้องกัน (Treatment as prevention)
จะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นกลยุทธให้คนที่เป็นโรคเอชไอวีสามารถปกป้องคู่นอน
ของตนเอง หรือเพื่อลดการแพร่กระจายเชื่อในระหว่างชุมชนได้

แต่ในระดับสาธารสุข...
การรักษาด้วยยาต้านยาต้านไวรัส  เพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อ...ยังเป็นที่
ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง  เพราะการรักษาด้วยยา Antiretroviral Drugs
สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างรุนแรง  และสามารถก่อให้เกิดการดื้อยาได้
โดยเฉพาะในรายที่ไม่รับทานยาตามที่แพทย์สั่ง

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (Antiretroviral therapy) จะถูกใช้เพื่อ
ป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายได้ ซึ่งกระทำได้หลายทางด้วยกัน:

o Prevention of mother-to-child transmission (PMTCT):
โดยทั่วไป (ทั่วโลก)  พบว่า สตรีที่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรรเอชไอวี   การกินยาต้าน
ไวรัส (antiretroviral drugs) มีเป้าหมายเพื่อลดการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ทารก
แต่หากไม่ทำการรักษา...เด้กมีโอกาสเกิดมาจากแม่ที่เป็นโรคดังกล่าว
จะมีโอกาสเป็นโรคเอชไอวีได้ถึง 20 – 45 %
อย่างไรก็ตาม การรักษาสตรีที่ตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงได้

o Post exposure prophlaxis (PEP):
ในบางประเทศ   ถ้าใครก็ตามได้สัมผัสกับเชื้อ HIV เขาจะได้รับยาต้านไวรัส
(antiretrovial drugs) ในระยะสั้น ๆ เพื่อลดโอกาสไม่ให้ติดเชื้อไวรัส
วิธีการทำเช่นนี้ เราเรียกว่า PEP หรือ  post exposure prophylaxis
ซึ่งถูกนำไปใช้ในเจ้าหน้าที่ทางการแพย์  รวมถึงบุคคลที่อยู่นอกวงการแพทย์
ที่ไปสัมผัสกับเชื้อดังกล่าวเข้า...

ในเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ซึ่งประสบอุบัติเหตุถูกเข็มทิ่มต่ำ หรือสัมผัสกับ
เชื้อโรคในระหว่างการทำงาน จะได้ต้องการรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสทันที
เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อ (PEP) เกิดขึ้น

มีหลายประเทศเริ่มให้การรักษาโรคเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ด้วยวิธีการหลายประการ ในสหรัฐฯเอง  ได้แนะนำให้ทำการรักษาคนไข้
ทุกรายที่เป็นโรค HIV โดยไม่คำนึงว่า CD4 ของเขาจะเป็นอย่างไร
เป็นต้นว่า France, Uruguay, ต่างแนะนำให้ทำการรักษาคนที่เป็น
โรค HIV ที่ไม่มีอาการ โดยที่ CD4 มีค่าระหว่าง 350-500 cells/mm3

<< PREV      NEXT >> HIV P. 7 : Testing, treatment Stategy

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P 6 :Human trials of PEP

Dec. 18,2013

มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้ยา (antiretroviral drugs)
 เพื่อป้องกันไม่ใหเกิดติดเชื้อหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี  (PEP)  โดยติดตาม
ผลของบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับคนไข้ที่ติดเชื้อ HIV

ตามปกติแล้ว เราจะเห็นว่า บุคลาการทางการแพทย์มีเสี่ยงต่อการติด
เชื้อเอชไอวีได้สูง เพราะงานของเขาเอื้อให้เป็นเช่นนั้น โดยมีโอกาส
ได้สัมผัสกับเข็มทีปนเปื้อนเชื้อถูกทิ่มแทงเอาได้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น...
ยาต้านไวรัส  ที่แพทย์จะสั่งให้แก่บุคลากรที่สัมผัสกับเชื้อเอชไอวี
คือ zidovudine  ซึ่งเป็นยาหลักเพียงตัวเดียวที่ได้รับการทดลองให้ใช้กับ
บุคลากรทางการแพทย์ในสมัยเริ่มแรก...   แต่มาในสมับปัจจุบัน การให้ยา
เพื่อปัองกันหลังการสัมผัสส่วนใหญ่จะเป็นให้ยาหลายขนานร่วมกัน
ซึ่งได้แก่ zidovudine,  lamivudine และ nelfinavir โดยมีความเชื่อว่า... การให้
ยาสามขนานร่วมกันจะได้รับผลดีมากกว่าการให่ยา Zidovudine เพียงตัวเดียว

มีผลการศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์รายหนึ่ง ซึ่งสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี
ได้รับยาต้านไวรัส zidovudine จนครบ (course)ปรากฏว่า  สามารถลดความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคเอชไอวี (HIV infection)ได้เพียง  81 % เท่านั้น....

เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะถือเป็นเรื่องจริงไม่ได้ เพราะมีรายงานอย่างน้อย 13 ราย
ของคนที่ทำงานด้านการแพทย์ทั่วโลก ซึ่งได้รับยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หลังการสัมผัสโรค (PEP) แล้วก็ตาม ยังปรากฏว่าประสบกับความล้มเหลว

ในจำนวนที่เสนอมานั้น มีบางรายไม่สามารถอธิบายได้เลยว่า  ทำไมการ
ให้ยาต้านไวรัสไปแล้ว ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้  และได้นำไป
สุ่ข้อสปรุปว่า   การให้ยาหลังการสัมผัสโรคไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรค
เอชไอวีได้ 100 %

มีการศึกษาชิ้นหนึ่ง มีปริมาณของผู้ได้รับ PEP หลังการสัมผัสโรคจาก
การมีเพศสัมพันธ์ หรือจากการฉีดยา โดยคนในกลุ่มดังกล่าวได้รับยา
หลายขนาดร่วมกัน เช่น zidovudine, lamivudine, stavudine และ
Didanosine....ทุกรายได้รับยาครบเป็นเวลา 28 วัน....

ในจำนวน 700 ราย ได้กลับมาทำการตรวจแล้วปรากฏว่า มี 6 รายพบว่า
เป็นโรค HIV ภายใน 12 อาทิตย์หลังสัมผัสกับโรค

อย่างไรก็ตาม เขายังรายงานอีกว่า ใน 6 รายดังกล่าว ก่อนที่จะเริ่มรับ
ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (PEP) ปรากฏว่า เขาได้สัมผัสกับโรคนานถึง
6 เดือน ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะบอกว่า เวลาที่สัมผัสโรค กับการให้
ยาเพื่อปัองกันการติดเชื้อควรเป็นเวลาใดจึงจะประสบผลดี

มีรายงานชิ้นหนึ่งจาก South African มีเหยื่อจำนวน 480 ที่ถูกข่มขืนชำเรา และ
ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ (PEP) เป็นเวลา 6 อาทิตย์
ปรากฏว่า มีเพียงหนึ่งรายเท่านั้นที่เกิดเป็นโรค HIV

ผลจากการศึกษาจากหลายสำนักสรุปว่า...
การให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (PEP) สามารถลดความเสี่ยงจาก
การติดโรคเอชไอวีได้จริง แต่ไม่สามารถสามารถป้องกันได้อ 100 %

โดยสรุป...
การให้ยาต้านไวรัสเอชไอว๊เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ (PEP)
ไม่เป็นการเพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อโรค มัน
เป็นเพียงแค่ป้องกันโรคในระยะสั้นๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี
เป็นวิธีหนึ่ง  ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดการติดเชื้อเอชไอวีได้
โดยเฉพาะในรายที่ถูกข่มขืนชำเราทางเพศ   หรือในรายที่ทราบว่า
คู่ร่วมเพศสัมพันธ์+ของตนเป็นโรคเอชไอวี...

<< PREV    NEXT >> P. 7: HIV Treatment as Prevention

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P 5: Risks and side-effects

Dec. 18,2013

ทุกอย่างในโลก นอกจากจะเป็นอนิจจังแล้ว  อย่างน้อยจะมีสองแง่มุมเสมอ...
เช่น ดี หรือไม่ดี, ชอบ หรือไม่ชอบ...และอื่น ๆ

ยาต้านไวรัส (antiretrovirals) ซึ่งถูกนำมาใชในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัส
เอฃไอวี (PEP) ก็เป็นเช่นที่กล่าวมา นั้นคือ มีันมีข้อดี และข้อเสีย
มันสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้  เช่น ท้องร่วง, คลื่นไส้, อาเจียน
และเมื่อย-อ่อนแรง โดยมีรายงานว่า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น หนึ่งในห้าของคน
ที่ได้รับต้านไวรัส จะล้มเลิกการรับทานยาดังกล่าวก่อนที่จะครบครบ 28 วัน
ตามที่แพทย์กำหนดให้

นอกจากผลข้างเคียงดังกล่าว...
เรายังพบว่า  ในการให้ยาต้านไวรัสที่ถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเอชไอวี (PEP)
ยังมีโอกาสเผชิญกับเชื้อเอชไอวี  ชนิดที่สามารถต้านยาได้ (drug resistance)
เป็นเหตุให้คนที่สัผัสเอชไอวี  ซึ่งได้รับยาต้านไวรัส เพื่อหวังผลไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
ประสบความล้มเหลวได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว...
แม้ว่า ท่านสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์  ได้รับยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
เอชไอวีก็ตาม...ใช่ว่าท่านจะปลอดภัยจากการติดเชื้อก็หาไม่....


<< PREV    NEXT >> P. 6 : Accessing PEP

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P. 4: Who can benefit from PEP?

Dec. 18, 2013

บุคคลที่สมควรได้รับการรักษาด้วยการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวี (PEP)
ได้แก่บุคคลต่อไปนี้:

o บุคคลที่สัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่งของคนเป็นโรคเอชไอวี:
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาล
ซึ่ง ทำงานใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคดังกล่าว

องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำให้มียาเอาไว้ เพื่อเป็นการป้องกันการ
ติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัส ให้แก่บุคลกรดังกล่าว

o เหยื่อที่ถูกข่มขืน:
ถือเป็นเรืองสำคัญสำหรับเด็ก ที่ถูกข่มขืนทางเพศ โดยเด็กควรได้รับการ
ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ...  เพราะจากการถูกกระทำ
ชำเราเขามีโอกาสติดเชื้อได้สูง (เพราะเกิดมีบาดแผลที่ผิวหนังได้)

อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่า การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มดังกล่าว
ส่วนใหญ่จะไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยมีสาเหตุจากความอับอาย
ที่เกิดจากเหตุการณ์ดังกล่าว  ซึ่งถือเป็นมลทินที่ไม่อยากให้ใครได้รับทราบ
รวมถึงผลข้างเคียงอันจะเกิดจากการใช้ยา

o คนที่อาจสัมผัสกับเชื้อเอชไอวีจากการร่วมประเวณี:
มีคนบางจำพวก...โดยที่รู้ทังรู้ว่าคู่ของตนเป็นโรคเอชไอวี  ยังไปสัมผัสกับเชื้อ
ไวรัสตัวดังกล่าวด้วยความจงใจ ... ในกรณีเช่นนี้  ส่วนมากเขาจะไม่แนะนำให้ใช้
ยาป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวี (PEP)....
เพราะประโยชน์ที่พึงได้รับไม่คุ้มกับอันตรายขที่จะเกิดขึ้น

o คนที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อจากเข็มฉีดยา:
ในกลุ่มคนที่แบ่งปันการใช้เข็มร่วมกัน... และทราบว่า หนึ่งในนั้นเป็น
โรคเอชไอวี เขาควรได้รับการปัองกันการติดเชื้อเอชไอวี (PEP)

สำหรับคนที่ถูกเข็มที่ถูกทิ้งนอกสถานพยาบาลทิ่มตำเอา..
โดยทั่วไปจะไม่ให้แนะนำให้ป้องกันด้วยการกินยาป้องกันการติดเชื้อ (PEP)
ทั้งนี้ เพราะเชื้อเอชไอวี ที่อยู่นอกสถานพยาบาล  โดยเฉพาะอยู่นอกร่างกายมนุษย์
เชื้อไวรัส HIV ไม่สามารถมีชีวิตได้นาน
จึงไม่น่าที่จะติดเชื้อจากเข็มได้

.
<< PREV     NEXT >> P. 5 : Risks and side-effects

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P. 3: Effectiveness of PEP

Dec. 19, 2013

Post-exposure prophylaxis...
ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังการสัมผัส (PEP) ได้มีการทดลอง
ทั้งในสํตว์  และในคน และจากผลที่ได้รับมีมากพอที่จะยืนยันได้ว่า
การป้องกันหลังติดเชื้อเอชไอวี มีประสิทธิภาพพอที่จะลดความเสี่ยงจาก
การเกิดโรค HIVได้

ผลที่ได้จากการศึกษา  ได้สรุปเป็นที่ยอมรับของหลายๆ ประเทศ พร้อม
กับมีการเสนอให้เป็นแนวทางในการปัองกันหลังสัมผัสเชื้อไวัสดังกล่าว ให้แก่
บุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาล และคนทั่วไป   ซึ่งถูกข่มขืนทางเพศ
รวมไปถึงกลุ่มคนผู้ซึ่งไม่ระมัดระวังตนให้พ้นจากการสัมผัสเชื้อเอชไอวี

อย่างไรก็ตาม...
แม้ว่าการป้องกันหลังติดเชื้อดังกล่าว จะไม่ได้ผล 100 % ก็ตาม  แต่จากความ
เห็นของคนกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นว่า การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลังการสัมผัส (PEP)
น่าจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แตในขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มกับมีความเห็นว่า
ควรสงวน PEP เอาไว้เป็นวิธีสุดท้าย ?

ในกรณีที่มีการใช้ PEP พบว่า มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการผลของให้
ยาต้านไวรัสได้ (effectiveness)  เป็นต้นว่า

o Delayed initiation:
ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลังการสัมผัสเชื้อ (PEP) ถ้าจะให้ได้ผล...
ยา (anti-retrovial drugs) จะต้องให้เร็วที่สุดที่จะกระทำได้ นั้นคือ ภาย 72 ชั่วโมงหลัง
การสัมผัสเชื้อ HIV แต่ถ้าให้หลังจากนั้น ผลที่ได้จะลดลงอย่างมาก(severly diminished)
ไม่คุ้มกับความกับอันตรายที่จะเกิดจากยา !

o Resistance virus:
ในคนที่เป็นโรคเอชไอวี (ต้นตอ) อาจเป็นเชื้อที่ต้านต่อยารักษา(drug-resistant HIV)
ดังนั้น สุภาพบุรุษท่านใดไปเจอกับเชื้อไวรัสที่มีความสามารถต้านยาดังกล่าว
การป้องกันหลังสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PEP) ไม่น่าจะได้ประโยชน์

o Adherence:
ในการรับทานยาป้องกันการติดเชื่อหลังการสัมผัส (PEP)
หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด  ผลการรักษา
อาจประสบกับความล้มเหลวได้

สาเหตุที่ทำให้คนที่สัมผัสเชื้อ HIV ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ก็เนื่องมาจากผล
ข้างเคียงของยาเป็นสำคัญ ทำให้คนไข้ไม่สามารถปฏิบัตตามได้ครบ 28 วัน...
.ผลที่ได้จึงเสียเปล่า.... !


<< PREV   NEXT >> P. 4 : Who can benefit from PEP?

เล่นอะไรไม่เล่น ดันไปเล่นกับ...เชื้อ HIV ? P. 2: What to do if you have potentially been exposed to HIV

Dec. 17,2013

ในการป้องกันโรค HIV หลังการสัมผัส หรือที่เรียกว่า Post-exposure prophylaxis (PEP)  คือการสั่งยาให้แก่คนที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อดังกล่าว  โดยคนไข้สามารถเข้าถึงการรักษาทางคลินิค หรือศูนย์สุขภาพ ซึ่งมีปรากฏในสวนต่างๆ ของโลก (ไม่ทุกแห่ง)

การป้องกันหลังการสัมผัสเชื้อโรค โดยเฉพาะในรายที่ถูกข่มขืน
หรือในรายที่สัมผัสกับเลือดปนเปื้อนเชื้อ HIV ด้วยการถูกเข็มทิ่มตำของ
บุคลการทางการแพทย์  ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ  ที่ควรได้รับการจัดการ
ให้ยาต้านไวรัสอย่างรีบด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้การนติดเชื้อ...

How does post-exposure prophylaxis (PEP) work?

การรักษาหลังการสัมผัสเชื้อไวรัสเอสไวรัส (PEP) คือการให้ยาต้านเชื้อไวรัส
(antiretroviral drug treatment) แก่บัคคลที่สัมผัสกับเชื้อ...อย่างรีบด่วน
ซึงจะเริ่มให้ทันทีหลังจากมีการสัมผัสกับเชื้อไวรัส HIV  โดยมี่เป้าหมายไป
เพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันมีโอกาสได้ป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดโรค HIV ได้

ยาที่แพทย์สั้งให้แก่คนไข้ ซึ่งสัมผัสกับเชื้อเอสไอวี จะต้องให้ติดต่อกันเป็น
เวลา 28 วัน หรือหนึ่งเดือน ด้วยการให้ยาต้านไวรัส (antiretroviral drugs) สอง
ชนิด นั้นคือ ยา zidovudine และ  Lamivudine

ในขณะที่ The World Health Organization (WHO) ได้แนะนำ
ให้ใช้ยา Zidovudine และ lamivudine สำหรับรักษาบุคคลที่ได้
ผ่านการสัมผัสเชื้อมาใหม่ ๆ รวมไปถึงการรักษาคนที่ติดเชื้อเป็น
ที่เรียบร้อยนั้น ...

ปรากฏว่า The British HIV Association ได้แนะนำให้บุคคลที่มีลักษณะอย่างเดียว
กัน  ให้ใช้ต้านไวรัส HIV ด้วยการใช้ยาผสม ซึ่งมีชื่อว่า 
Truvada (tenofovir และ emtricitabine) และ Kaletra (Lopinavir และ ritonavir)

ในขณะนี้เราจะเห็นว่า...
Post-exposure prophylaxis หรือการต้านไวรัส (antiretroviral medicine) กำลังได้
รับความนิยมกันมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกัน  รวมไปถึงการ
ให้รักษาด้วยยาดังกล่าว  ทำหน้าที่เป็นการป้องกันโรคอีกด้วย
(Treatment as prevention)

<< PREV    NEXT>> P. 3 : Effectiveness of PEP