วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยสำหรับพิจารณาการหยุดยา P5 : Factors to considering whch medicine can be stopped – Clinical indication


June 26, 2014

ในคนสูงอายุผู้มีหลายโรค มีโอกาสได้พบแพทย์หลายคน และได้กินยา
หลายขนานนั้น  ปรากฏว่า มีคนไข้เป็นจำนวนหนึ่งต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง
โดยไม่เคยได้รับการตรวจสอบว่า เขาควรกินยาต่อไปหรือไม่ ?

แนวทางสำหรับผู้สูงอายุควรพิจาณา  และนำไปปฏิบัติ...
เขาควรได้รับการตรวจเช็คดูให้แน่ว่า  ยาที่กำลังกินอยู่นั้นยังมีประโยชน์
หรือไม่  ด้วยการทบทวนดูว่า  มีข้อบ่งชี้ในการใช้ย่าในตอนเริ่มต้นเป็นอย่างไร? 
บรรลุตามเป้าหมายแล้วหรือไม่ ? หรือมีอาการของคนไข้ได้เปลี่ยนแปลงไป
จากเดิม ?

ยกตัวอย่าง:

o คนไข้เลิกกินยากลุ่ม NSAIDs ไปแล้ว    จึงไม่มีความจำเป็นต้องกันยาป้องกัน
กระเพาะ (gastroprotective agent) อีกต่อไป

o คนไข้ผู้ซึ่งได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว อาจไม่จำเป็นต้อง
ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือสามารถลดขนาดของยาลงได้

o คนไข้ซึ่งประสบความสำเร็จในด้านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (lifestyle modifications) 
เช่น รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ,  ลดน้ำหนักตัว, และหยุดสูบบุหรี่....
อาจทำให้เขาไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคความดัน (antihypertensive) อีกต่อไป

o คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า โรคที่กำลังเป็นนั้นเป็นระยะสุดท้าย (terminal illness) 
เป็นเหตุให้มีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน... จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาป้องกันโรคในระยะยาวอีกต่อ
ไป  เช่น  ยาป้องกันโรคกระดุกพรุน (bisphosphonates)  หรือยาลดไขมันในเลือด 
(statins) เป็นต้น


<< BACK         NEXT >> P. 6: Factors to considering whch medicine can be stopped – 
                                            Appropriateness

ปัจจัยสำหรับพิจารณาหยุดยา P4 : Factors to considering whch medicine can be stopped – The wish of the patient


June 26, 2014

มีปัจจัยหลายอย่างถูกนำมาพิจารณาในการเลิกใช้ยารักษา เช่น:

 เป็นความประสงค์ของตัวคนไข้ (The wish of the patient)
 ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา และประโยชน์ที่พึงได้รับ (The clinical
 Indication and benefit)
 ความเหมาะสม (appropriateness)
 ระยะเวลาของการใช้ยา ( Duration of use)
 การปฏิบัติตาม (Adherence)
 การให้ยาทุกครั้งที่คนไข้มีอาการ (The prescribing cascade)

ความประสงค์ของคนไข้ (The wish of the patient):

ส่วนใหญ่แล้ว หากไม่จำเป็น...ไม่ใครอยากกินยากันหรอก 
หรืออย่างน้อยๆ  เราจะกินยาก็ต่อเมื่อมี่ความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

สำหรับคนไข้ที่กินยามาก่อนมักจะถามแพทย์ผู้รักษาด้วยคำถามเดิม ๆ
จะหยุดกินยาได้หรือไม่   ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทยจะต้องตัดสินใจว่าว่า
มียาตัวใดที่คนไข้สูงอายุควรหยุด หรือเลิกกินได้บ้าง

เพื่อให้คนไข้สูงอายุได้ใช้ยาถูกต้อง...
ได้มีคำแนะนำที่ควรถือเป็นหลักในการปฏิบัติ นั้นคือ ให้คนไข้นำยาทุก
ตัวตัว , อาหารเสริมทุกชนิด  รวมทั้งสมุนไพรที่เขากำลังรับทานมาให้หมอ 
หรือเภสัชกรรมตรวจสอบทุกครั้งที่มีการนัดแพบแพทย์  เพราะจากการกระ
ทำดังกล่าว   แพทย์สามารถพิจารณาได้ว่า  มียาตัวใด  หรือาหารเสริม
ขนิดใหนที่คนสููงอายุควรหยุด

<<BACK       NEXT P5: Factors to considering whch medicine can be                                           stopped – Clinicalindication

 

จะหยุดยาตัวใดดี... ? P3 : How can you decide which medicine should be stopped ?

June 24, 2014

ในการตรวจสอบการรักษาของคนสูงอายุ 
ซึ่งจำเป็นต้องกินยาหลายขนานนั้น นับเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน 
และกินเวลา และหากต้องการที่จะหยุดยา  นับเป็นการยากที่จะบอกได้ว่า 
 ควรหยุดยาตัวใด  ในบางสถานการณ์ เราอาจต้องหยุดยาตัวที่สงสัย 
 แล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น

มีวิธีหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อพิจารณา  ว่ามียาตัวใดบ้างที่สามารถหยุดได้
โดยการแบ่งยารักษาของคนไข้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ :

กลุ่มแรก -เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์เพือทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
กลุ่มที่สอง - เป็นกลุ่มยาทำหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันโรค

การแบ่งงยาออกเป็นสองกลุ่มดังกล่าว...
อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพูดคุยระหว่างแพทย์ และคนไข้เกี่ยวกับยา
แต่ละขนานว่า  ยาแต่ละตัวมีความสำคัญ และมีเป้าหมายในการใช้อย่างไร ?
ที่สำคัญ   อาจมียาบางขนาน  มีความสำคัญเฉพาะคนไข้คนนั้น ๆ หรือไม่ ?

ตัวอย่างการหยุดยาโดยอาศัยการแบ่งยาเป็นกลุ่ม:

 กลุ่มยาที่ทำให้คนไข้รู้สึกดี และทำให้คุณภาพชีวิตในแต่ละวันดีขึ้น 
 เช่น   ยาแก้ปวด (analgesics), ยารักษาต่อไทรอยด์ทำงานน้อย ( thyroxine)
 หรือยารักษาอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( anti-anginals)
จากการหยุดยาดังกล่าว มีคนไข้บางรายมีอาการเลวลง  หรือไม่สามารถ
ทำงานได้ตามปกติ   

อย่างไรก็ตาม มียาบางขนานสามารถหยุดยา (stopped)ได้ หรือลดขนาดลง 
(stepped down)  หรือใช้เมื่อจำเป็น  เช่นยารักษากรดในกระเพาะอาหาร PPI
(proton pump inhibitor)

 กลุ่มยาที่ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคต เช่น ยากลุ่มลดไขมันใน
กระแสเลือด (statins),  ยาป้องกันการจัดตัวของเกล็ดเลือด(aspirin)  และ ยา
ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด (warfarin) หรือยาป้องกันไม่ให้สูญเสียความหนา
แน่นมวลกระดูก (bisphosphonates)

ในการพิจารณาว่า จะหยุดยาเหล่านี้ดีหรือไม่   เราควรพิจารณาในประเด็น
ที่เป็นประโยชน์  และอันตรายที่พึงจะเกิดขึ้นกับคนไข้บางรายเป็นการเฉพาะ, 
และระยะเวลาที่ต้องเสียไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการใช้ยา   รวมถึงอายุที่
เหลือของคนไข้  ซึ่งคาดว่าจะเหลืออยูอีกเท่าใด (life expectancy)

เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า คนไข้ที่เรากำลังได้รับการรักษาอยู่นั้นจะมี
อายุยืนยาวอีกนานแค่ใหน   จะใช้อายุเพียงอย่างเดียวมาตัดสินก็ไม่พอแน่
เราจำเป็นต้องนำเอาโรคที่เขากำลังเป็นมาพิจาณาด้วยว่า โรคที่เป็นรุนแรง
มากแค่ใหน ?  ยังสามารถทำงานได้ดีหรือไม่ ?....

หากการวินิจฉัยได้ว่า...โรคที่คนไข้กำลังเป็นอยู่นั้น ท ำให้เขามีชีวิตไม่ยืน
ยาวแน่   การตัดสินใจหยุดยาที่ใช้ในระยะยาวก็เป็นเรื่องที่เหมาะสม  แต่
ตามความเป็นจริง ในการปฏิบัติจะแตกต่างกันไป  เช่น  การหยุดยาทุกตัว
ยกเว้นเฉพาะยาบรรเทาอาการ   หรือให้ใช้ยาเดิมทุกตัวไปจนกว่าคนไข้ไม่
สามารถจะกินยาได้

<<BACK       NEXT> > P. 4: Factors to considering whch medicine can be stopped –
 The wish of the patient

เมื่อกินยาหลายขนาน...P2 : Polypharmacy increases the risk of adverse effects and medicine interactions

June 24, 2014

คนสูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวมากกว่าหนึ่งโรคเสมอ
จึงทำให้เขามีโอกาสพบแพทย์มากกว่าหนึ่งสาขา และเป็นเหตุให้เขา
ได้รับยามากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไป

เนื่องจากเราไม่มีสูตรตายตัวในการใช้ยาสำหรับคนสูงอายุ  รวมถึงสภาพ
ของคนไข้แต่ละรายมีความแตกต่างกัน  เป็นเหตุให้การาฃตัดสินใจในการเริ่ม
ใช้ยา  หรือการหยุดยานอกจากจะแตกต่างกันแล้ว  ยังกระทำได้ยากอีกด้วย
ซึ่งผลรวมที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี

ดังนั้น การประเมินคนไข้สูงอายุแต่ละคน รวมถึงความจำเป็นต่อการใช้ยาแต่
ละตัว ไม่เพียงแต่ทำให้การรักษาคนสูงวัยได้ง่ายขึ้นแล้ว   ยังเป็นการลดความ
เสี่ยงจากการเกิดอันตรายจากการใช้ยาได้อีกด้วย

โดยสรุป...
เหตุผลสำคัญสำหรับการหยุดยาในคนสูงวัย  ได้แก่ลดความเสี่ยงจากการเกิด
ผลอันไม่พึงประสงค์ ของยา,  ลดปฏิกิริยาระหว่างยา , และทำให้การจ่ายยา
ให้แก่คนสูงอายุได้ง่ายขึ้น

<<BACK        NEXT>> P. 3: How do you decide which medicine to                                                 be stopped ?

จะหยุดยารักษาของคนสูงวัยอย่างไร P 1:A practical guide to stopping medicines in older people



June 24, 2014

เป็นที่ทราบกันว่า...
คนสูงวัยทั้งหลาย  ส่วนมากจะมีโรคประจำตัวหลายโรคด้วยกัน
ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องกินยารักษาโรคกันหลายขนาน  จึงเป็นเหตุให้
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้  รวมไปถึง
ปฏิกิริยาระหว่างยา

เพื่อให้การใช้ยาของคนสูงอายุมีประสิทธิภาพ...
การตรวจเช็ดการใช้ยาของคนสูงอายุ  นอกจากจะทำให้การรักษา
โรคของเขาง่ายขึ้นแล้ว  ยังเป็นการลดความเสี่ยงจากอันตราย
ที่จะเกิดจาการใช้ยาได้อีกด้วย

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่เกิดภัยอันตรายจากการกินยา  คือไม่กินยา...
แต่ในเมื่อต้องกินยาเพื่อรักษาโรคของตนเอง  เขาจำเป็นต้องกินยาให้น้อย
ที่สุดเท่าที่ทจำเป็นจริงเท่านั้น

ในการหยุดยาของคนสูงอายุ...
มี่ปัจจัยหลายอย่างถูกนำมาพิจารณา  เป็นต้นว่า  ความปรสงค์ของตัวคนไข้,
ระยะเวลาของการใช้ยา, การใช้ยาตามแพทย์สั่ง, และการใช้ยาตามอาการที่
เกิดขึ้น

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลเสียอันเกิดจากการหยุดยา   มีหลักอยู่ว่า  อย่าหยุด
ยาพร้อมกันทีละหลายขนาน  เพราะการทำเช่นนั้น  นอกจากจะทำให้เกิดมีอา
การจากการถอนยา (withdrawal symptoms) ได้แล่้ว  ยังทำให้ยากต่อการที่จะรู้
ได้ว่า  อาการที่เกิดขึ้นเกิดจากยาตัวใด...


Next >> P. 2 : Polypharmacy increases the risk of adverse effects and medicine interactions

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จะหยุดยาอย่างไร...ไม่เป็นภัยกับตัว P 5: Guide to stop medicine- Duration of use

June 12, 2014

ในการพิจารณาหยุดยา โดยการใช้ปัจจัยเกี่ยวกับระยะเวลาของการรักษา...

 ให้ตรวจสอบดูว่า คนไช้กินยามานานเท่าใด
มียาบางตัวถูกใช้แล้วใช้อีกเป็นเวลาหลายปี เพราะหาได้ง่ายเพื่อรักษา
สถานภาพให้คงเดิม

 อย่าลืมตรวจสอบดูว่า คนไข้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในตอนเริ่มใช้
โดยเฉพาะเมื่อมีการเริ่มต้นใช้อีกเป็นครั้งที่สอง ยกตัวอย่าง คนไข้ได้
รับยา dipyridamole หลังจากเกิดภาวะสมองขาดเลือดในระยะสั้นๆ (TIA)
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
    
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อมีการใช้ยาติดต่อกันนานถึง 2 ปี...
เราอาจหยุดยาตัวดังกล่าวได้

 ตรวจสอบว่า...
คนไข้ยังจำเป็นต้องใช้ยาต่อไปอีกหรือไม่ ? หากจำเป็นต้องใช้ เขาจะ
ต้องใช้ตามคำแนะนำตามที่กำหนดเอาไว้...

 อย่าลืมพิจารณาหายาที่ใหม่กว่า ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพเหนือกว่า  และ
ปลอดภัยกว่ายาเดิมที่กำลังใช้อยู่

<< BACK       NEXT >> P 6: Factors to consider stopping medicine - continued

จะหยุดยาอย่างไร...ไม่เป็นภัยกับตัว P 4: Guide to stop medicine- Appropriateness

June 12, 2014

มีการศึกษาเพี่ยวกบการใช้ยาในคนสูงอายุ....
มีใจความสำคัญว่า   ประมาณ 21 % ของคนสูงอายุใช้ยาไม่เหมาะสม
มียาบางตัวไม่ปลอดภัย   และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียง (side effect) 
หรือมีปฏิกิริยาระหว่างยาเกิดขึ้น (drug-drugs interactions)

ตัวอย่างของยาที่ใช้ไม่เหมาะสมในคนสูงอายุ:

 Amitriptyline (โดยเฉพาะก dose > 50 mg)  จัดเป็นยาที่ทำให้คนสูงอายุเกิด
อาการง่วงนอน แถมยังมีฤทธิ์ของ anticholinergic อีกต่างหาก

 Benzodiazepines สามารถทำให้เกิดจิตสงบ และทำให้ง่วง  ทำให้เพิ่มความ
เสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกแตกหักได้

 Dextropropoxyphene ทำให้เกิดอาการซับสน และง่วงนอนได้อย่างมาก 
ไม่เหมาะทีจะใช้ในคนสูงอายุ  จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ยาตัวนี้ไม่ได้แก้ปวด
ได้ดีกว่ายาพาราเซทตามอลเลย   และเนื่องจากผลเสียมีมากกว่าผลดี จะเห็นว่า 
ยาตัวนี้ได้ถูกกำจัดออกจากตลาดของ New Zealand เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปี 2010

การที่จะหยุดยาได้ดีที่สุด... คือไม่ใช้ยาตัวนั้นตั้งแต่แรกเริม
ในการสั่งยาแก่คนสูงอายุสามารถ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากได้อย่างมาก
โดยเฉพาะเมื่อมีการพิจารณาใช้ยาตัวใหม่แก่คนสูงอายุ วีธีการที่ควรนำ
ไปปฏิบัติ คือ ให้พิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมด้วยการตั้วคำถาม
ต่อไปนี้:

 มีข้อชี้บ่งให้ใช้ยาตัวนั้นหรือไม่ ?

 ยาที่ให้มีประสิทธิภาพสำหรับโรคหรือไม่

 มีปฏิกิริยาระหว่างยาทางคลินิคปรากฏให้เห็นหรือไม่ ?

 มีปฏิกิริยาระหว่างโรค – ยา ทางคลีนิคหรือไม่?

 เป็นการใช้ยาซ้ำซ้อนกับยาตัวอื่นที่กำลังใช้อยู่หรือไม่ ?

 ทั้งคนไข้ และแพทย์ร้ และยอมรับหรือไม่ว่า ยาที่ใช้จะต้องใชเวลา

 คนไข้พร้อมที่จะกินยาหรือไม่...ผลข้างเคียงคืออะไร, ขนาดของยา
    ถูกต้อง...มีข้อแนะนำในการใช้ยาชัดเจน

 ยาที่ใช้ถูกทสุด และมีคุณค่าทางยาเทียบเท่ากับยาที่แพงกว่าหรือไม่ ?


<< BACK     NEXT >> P 5: Guide to stop medicine-Duration of use

จะหยุดยาอย่างไร...ไม่เป็นภัยกับตัว P 3: Guide to stop medicine- Clinical indication

June 12, 2014

การตรวจเช็คยาทางคลินิค  เป็นวิธีที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไข้ 
เพราะการตรวจดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้ว่า  ยาที่กินในแต่ละตัว
ให้ประโยชน์จริงหรือไม่ ยกตัวอย่าง...

 คนไข้หยุดการกินยา NSAID ทำให้เขาไม่จำเป็นต้องกินยาลดกรดใน
กระเพาะอีกต่อไป

 คนไข้ที่ได้รับการรักษาโรคหัวใจวายมาก่อน อาจลดยาขับปัสสาวะ ( diuretcs)
หรือหยุดยาตัวดังกล่าวได้

 คนไข้ที่ได้ทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เช่น รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
ต่อสุขภาพ, ลดน้ำหนักตัว และหยุดการสูบบุหรี่  อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา
ลดความดันโลหิตอีกต่อไป

 คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า  เป็นโรคระยะสุดท้าย (terninal illness)
และคาดการณ์ว่าจะไม่ได้ประโยชน์จากยาป้องกันอีกต่อไป  
เช่นยารักษากระดูกพรุน (bisphosphonates) และยาลดไขมัน (statins)  ก็ไม่จำเป็น
ตัองกินยาตัวดังกล่าว....

<< BACK        NEXT >> P 4: Guide to stop medicine-appropriateness

จะหยุดยาอย่างไร...ไม่ให้เป็นภัยกับตัว P 2 : How do you decide which medicines can be stopped ?


June 12, 2014

ในการรักษาคนสูงอายุ...
การตรวจสอบการใช้ยาจัดเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเสียเวลพอสมควร
ไม่เพียงเท่านั้น  หากมีอาการอันไม่พึงประสงค์ (side effects) เกิดขึ้น
ผู้ทำการรักษาไม่สามารถบอกได้ว่า  คนไข้แพ้ยาตัวใหน ?
ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะหยุดยาตัวใด ?




                      Credit : www.aginginplace.com

ในบางสถานการณ์ เรามีหนทางเดียวที่จะรู้ได้ว่า จะหยุดยาตัวใด
คือหยุดยา แล้วสังเกตุดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น ?

ในการพิจารณาว่า เราควรหยุดยาตัวใด สามารถกระทำได้ด้วยการ
แบ่งยาที่คนสูงอายุกิน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มแรก: เป็นกลุ่มที่ทำให้คุณภาพชีวิตในแต่ละวันดีขึ้น
กลุ่มที่สอง:  เป็นกลุ่มยาที่ป้องกันไม่ให้เกิดโรค หรือความเจ็บป่วย
ในอนาคต

ตัวอย่างของการแบ่งยารักษา ด้วยการแบ่งกลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา
ว่ายาขนานใด ที่ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงปราถนา:

กลุ่มยา ซึ่งทำให้คนไข้ดีขึ้น และทำให้คุณภาพชีวิตในแต่ละวัน
ดีขึ้น ได้แก่ : ยาแก้ปวด (analgesics), ฮอร์โมนทัยรอกซีน
หรือยารักษาอาการเจ็บหน้าอก (anti-anginals)

ในบางราย ถ้าหยุดยาตามที่กล่าวมา อาจทำให้คนไข้กลับไม่สบายขึ้นมา
หรือไม่สามารถทำงานได้ อย่างไรก็ตาม มียาบางตัวสามารถลดขนาด
หรือหยุดยา, หรือใช้เมื่อมีความต้องการ เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร 
 (proton pump inhibitor )

กลุ่มยา ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยในอนาคต 
 เช่น statins (ยาลดไขมันในเลือด), aspirin, warfarin, หรือ bisphosphonates 

ในการตัดสินใจว่าจะหยุดยาเหล่านี้  เราควรพิจารณาดูถึงประโยชน์ที่พึงได้รับ 
และ อันตรายที่จะเกิดจากการใช้เพื่อการรักษา, ระยะเวลาที่ใช้เพื่อให้ได้รับ
ประโยชน์ รวมไปถึงอายุคาดเฉลี่ยของคนไข้ด้วย

ในการพิจารณาถึงอายุคาดเฉลี่ย ของคนไข้ อาจเป็นเรื่องทียุ่งยาก 
ซึ่งอาจจำเป็นต้องพิจารณาอายุของคนไข้  รวมถึงโรคทางกายของคนสูงอายุ 
ว่ามีความรุนแรงแค่ใด และยังสามารถทำงานได้ดีแค่ใหน ?

การวินิจฉัยได้ว่า คนเจ็บป่วยมี่อายุอันจำกัด   อาจทำให้การหยุดยากระทำได้ง่าย 
แต่ตามเป็นจริง การหยุดทุกตัว (ยกเว้นยาบรรเทาอาการ)   หรือให้ยาทุกชนิด
ต่อไปจนกว่าคนไข้ไม่สามารถที่จะใช้มันได้ก็ไม่ใช้เรื่องง่ายนัก


<<BACK     NEXT>> P 3: Guide to stop medicine-
                                     Clinical indication

จะหยุดยาอย่างไร... ไม่ให้เป็นภัยกับตัว P.1 : Practical guide for stopping medicine in older people

June 12, 2014

เป็นที่ทราบกันว่า คนสูงอายุที่จำเป็นต้องใช้ยารักษา...
ส่วนใหญ่พวกเขาจะใช้ยาหลายตัว (ขนาน) ด้วยกัน เรียกภาวะดังกล่าว
ว่า “polypharmacy” และจากการใช้ยาหลายตัวดังกล่าว จะเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ (side effects)
และเกิดปฏิกิริยาระหว่าง ยาที่ใช้รักษาได้


เพื่อหลีกเลี่ยงผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาหลายขนาน...
ผู้ป่วยแต่ละคนจำเป็นต้องตรวจสอบยาตนเองต้องใช้เพื่อการรักษาโรค
ของตัวเอง  ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้การรักษาง่ายขึ้นเท่านั้น  ยังสามารถลด
อันตรายอันอาจเกิดจากการใช้ยาเหล่านั้นได้

คนสูงอายุส่วนใหญ่ จะมีหลายโรค และมีโอกาสพบกับเภสัชกรผู้จ่ายยา
หรือแพทย์หลายคน  จึงทำให้คนสูงอายุมีโอกาสซำ้ซ้อน  เป็นเหตุให้ม่ีการ
ใช้ยาหลายขนาน

เมื่อมีการใช้ยาหลายขนาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง 
และเกิดปฏิกิริยาระหว่างตัวยาทีใช้ในการรักษา   และเนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงสรีระวิทยาในคนสูงอายุ   จึงทำให้การตอบสนองต่อยาเปลี่ยนแปลง
ไปจากคนหนุ่มเขา

จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้การเริ่มให้ยา และหยุดยาในคนสูงอายุ 
กระทำได้ด้วยความยากลำบากมากกว่าคนทั่วไป  และผลที่เกิดจากการให้
ยามีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่าประโยชน์ที่พึงได้รับ

NEXT >> P 2: How do you decide which medicines can be stopped ?

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เมื่อความดันลดโลหิตลดต่ำกว่า 120/80 : Should I take my medicines When my blood pressure is less than 120/80 mmHg ?

June 12, 2014

ในขณะทีท่านกินยารักษาโรคความดันโลหิตสูง...
ปรากฏว่า  ความดันโลหิตของท่านลดต่ำกว่า่ 120/80 mm Hg
มี่คำถามว่า  เราควรหยุดยารักษาความดันโหลิตดีไรือไม่ ?

คำตอบ:
หากท่านรุปสึกเป็นปกติดี  ไม่มีอาการใด ๆ
ให้ท่านกินยาลดความดันต่อไป

ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อระดับความดันลดต่ำกว่า 120/80 mmHg
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ หรือสมองขาดเลือด(heart
Attack & stroke) จะลดลงอย่างชัดเจน

คำถามที่คนชอบถามเสมอ...
ระดับความดันโลหิตจะต้องลดลงถึงระดับใดก่อนที่จะเกิดมีอาการ ?

กรณีเช่นนี้ จะแตกต่างกันในแต่ละคน
ตราบใดที่ท่านไม่มีอาการ ท่านไม่ต้องใส่ใจกับความดันเลือดที่ลดลง
เพราะมันจะไม่อันตราย ใด ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับความดันโลหิตสูง

อาการที่พบได้บ่อย ๆ ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า ความดันโลหิตต่ำเกิน
ไป ได้แก่:

 วิงเวียน (Dizziness)
 สับสน (confusion)
 ปัสสาวะออกน้อย ( Decreased urine output)
 เหนื่อยเพลียเมื่อออกกำลังกาย (Fatigue when exercise)
 เป็นลม (Fainting)

เมื่อท่านมีความวิตกกงวลในเรื่องความดันเลือดของท่านว่า มันอาจ
ต่ำเกินไป หรือท่านมีอาการอันเกิดจากความดันเลือดของท่านลดต่ำ
ท่านต้องไปพบแพทย์ทันที...โดยไม่ต้องหยุดยาลดความดัน

ในกรณี่ี่ีทีต้องหยุดยาลดความดันโลหิต...
จำเป็นต้องค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง (ที่ละคร่ง)ก่อนที่จะหยุดยา   เพราะ
การหยุดยาทันทีสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่มีอันตรายสูงได้ 
 ซึ่งเรียกว่า rebound hypertension

highbloodpressure.about.com

ความดันโลหิตสูง ...ภัยใกล้ตัว P.2: Don’t stop Meication

June 12, 2014

เมื่อท่านได้ัรับการรักษาโรความดันโลหิตสูง...
ท่านอย่าได้หยุดกินยา   โดยไม่ได้บอกแพทย์เป็นอันขาด
ความจริงมีว่า คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะไม่มีอาการใด ๆ 
 และมันสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อท่านได้ โดยที่ท่านไม่รู้ว่าท่าน
ไม่รู้ตัวมาก่อน

ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ มีบางคนที่เป็นโรคความดันเลือดสูงหยุดยาเอง
โดยเข่าใจผิดว่า เมื่อระดับความดันลดต่ำเป็นปกติแล้ว...
โรคความดันโลหิตขอเงเราหายแล้วนี่ .... ทำไมจะต้องกินยาต่อไปอีกเล่า ?

การหยุดยาลดความดันลง...
จะทำให้ความดันที่ลดต่ำลงสู่ระดับปกติ กลับเพิ่มสูงขึ้น (reboundHypertension) 
ทำให้คนเป็นโรความดันตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่น่ากลัว
เช่น ภาวะสมอง  และหัวใจถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke & heart attack)
และผลแทรกซ้อนอย่างอื่น ๆ

มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงหยุดยารักษา:

 เกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น อาการวิงเวียนเมื่อ
ลุกขึ้นยืน, เหนือยเพลีย, คัดจมูก, และมีผลกระทบต่อกิจกรรม
ทางเพศสัมพันธ์

 ต้องเสียสตางค์ค่ายารักษา, ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคความดัน... และไม่ทราบ
ถึงควารมสำคัญของการควบคุมระดับความดันโลหิสูง

 ในขณะทีท่านกินยาลดความดันโลหิตสูง...
หากท่านเกิดมีอาการอันไม่พึงประสง๕ (side effects) ท่านจะต้อง
ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาท่านทันที และแพทย์อาจเปลี่ยนยาให้
แก่ท่าน

 ในการรักษาโรคความดันด้วยยานั้น...
ท่านจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับยาชนิดต่างๆ หรือกลุ่มยาที่ท่านกำลังใช้
เพื่อควบคุมระดับความดันของท่าน ตลอดรวมถึงเข้าใจถึงผลข้างเคียงอันจะเกิด
จากการใช้ยาแต่ละตัวอีกด้วย หากท่านไม่เข้าใจเรื่องนี้ดี จะเป็นเหตุให้ท่านเลิกกกินยาได้

 บางคนเลิกกินยา เพราะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย...
ความจริงมีว่า เรามียาหลายขนานที่ท่านสามารถเลือกใช้ได้ โดยแพทย์
สามารถเลือกใช้ยาให้เหมาะสมทั้งคุณภาพ และราคาของยา


<< BACK

http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=788

Guide to stop medicine- Appropriateness

June 12. 2014

ความดันโลหิต...
ระดับความดันโลหิตที่จัดว่าดีที่สุด คือให้ต่ำกว่า 120/80 mmHg

ในคนปกติ ไม่เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคไต เราจะทำการวัดระดับ
ความดัน 3 ครั้ง ถ้าผลพบว่า ระดับความดันอ่านได้ 140/90 หรือสูงกว่า
แพทย์มักจะเริ่มให้ยาลดความดันเลือดสูงแก่คนไข้ทันที

ส่วนในคนที่เป็นโรคเบาหวาน (diabetes) หรือเป็นโรคไต เขาควรเริ่ม
รับการรักษาด้วยการให้ยาลดความดัน (antihypertensive drugs) เมื่อ
ระดับความดันวัดได้ 130 (เลขตัวบน = systolic blood pressure) หรือ
ตัวล่าง วัดได้ 80 (diastolic blood pressure)

โดยทั่วไป เมื่อได้รับคำบอกว่า ท่านมีดับความดันสูง
สิ่งท่ีท่านจะต้องเริ่มต้นกระทำคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกด้วยการลด
น้ำหนักตัว (losing weight),  รับประทานอาหารทีให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
 และออกกำลังกายเพิ่มข้น ,  และถ้าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว 
ไม่สามารถลดความดันโลหิตของท่านได้...
ท่านจะได้รับยาลดความดันโลหิตต่อไป

มียาลดความดันโลหิตสูงหลายตัว  ซึ่งแพทย์สามารถเลือกใช้รักษาโรค
ความดันของท่าน ในตอนแรก แพทย์อาจจำเป็นต้องทดลองใช้ยาท่ี่แตก
ต่างกัน หรือใช้ยามากกว่ากว่าหนึ่งขนาน   โดยท่านอาจใช้ยาไปเป็นเวลานาน 
 หรือตลอดชีวิตของท่าน

  NEXT >> อันตรายจากความดันโลหิตสูง P 2 : Dont stop medications

เมื่อท่านต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง P 6 : ACE Inhibitors and Calcium Channel Blockers

June 11, 2014

เมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง...
ท่านอาจได้อาจได้รับยาสองตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิของท่าน
นั้นคือ ท่านจะได้รับยากลุ่ม calcium channel blockers และ ACE inhibitors

ยา ACE (angiotensin-converting enzyme) inhibitors จะออกฤทธ์ด้วยการ
ป้องกันร่างกายของท่านไม่ให้สร้างฮอรโมนชื่อ  angiotensin II
ซึ่งฮอร์โมนตัวดังกล่าว จะออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดแคบลง 
โดยหมายความว่า ACE inhibitors จะทำหน้าที่ทำให้ผนังเส้นเลือดคลายตัว 
 และทำให้ระดับความดันลดลง

ส่วน calcium channel blockers หรือ  CCB จะออกฤทธิ์ด้วยการป้องกัน
ไม่ให้ calcium เคลื่อนตัวเข้าสู่เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นเลือด
และจากการที่มันออกฤทธ์เช่นนั้น มันทำให้เส้นเลือดคลายตัว และทำให้
ความดันเลือดลดลง

<< BACK




เมื่อท่านต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง P 5 Antihypertensive Medications: Beta-blockers

June 11, 2014

ยากลุ่ม Beta blockers จะออกฤทธิ์สะกัดกั้นการตอบสนองระหว่าง
หัวใจ, เส้นเลือด และเส้นประสาท ซึ่งจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ
พร้อมๆ กับลดความดันโลหิตลง



                         Credit: www.cardiachealth.org

ยากลุ่ม Beta blockers ถูกถูกนำไปใช้ในคนที่เป็นโรคต่าง ๆ เช่น
Angina, High blood pressure, migraine headache, arrhythmias
และโรค gluaucoma



   Credit: www.toomanymeds.com

Beta blockers ยังมีชื่อเรียกว่า  beta-adrenergic blocking agents
ตามความเห็นของ Mayo clinic...bata blockers จะออกฤทธิ์ด้วยการ
บล๊อกผลอันเกิดจากฮอร์โมนชื่อ epinephrine หรือ adrenaline ทำให้
หัวใจเต้นช้าลง (low heart rate) และทำให้การบีบตัวของหัวใจลดลง
(less force)....ซึ่งทำให้ระดับความดันโลหิตดลง
รวมถึงการทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น



   Credit: www.shynessandsocialanxietyhelp.com

ยาในกลุ่มนี้ได้แก่:

 Tenormin
 Zebeta
 Coreg
 Lopressor
 Corgard
 Bystolic และ Inderal LA



<< BACK             NEXT >> P. 6 Antihypertensive medications:
  ACE Inhibitors and Calcium Channel Blockers

เมื่อท่านต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง P 4 Antihypertensive Medications: Diuretics

June 11, 2014

Diuretics:


                         Credit: researchequine.com


ยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ chorothiazide, dhlorthalidone, Furosemide, 
hydrochlorothiazide และ spironolactone ยาในกลุ่ม diuretcs จะออก
ฤทธ์ช่วยทำให้ร่างกายขับน้ำออกได้ดีขึ้น และในขณะเดียวกันก้ทำให้มี
การขับ sodium ออกด้วย

เนื่องจากมียาลดความด้นหลายตัว ทำให้เกิดมีน้ำคั่งในร่างกาย ดังนั้น
จึงมีการใช้ยา diuretics ร่วมกับยาลดความดันตัวอื่น ๆ

ยาขับปัสสาวะมีหลายขนาน แต่ละขนานต่างมีฤทธิ์ที่แตกต่างกัน ส่วน
ใหญ่จะออกฤทธิ์โดยตรงต่อไต และที่แพทย์ชอบสั่งให้แก่คนไข้ได้แก่
ยาเม็ด chlorothiazide, chlothalidone และ hydrochlorothiazide

ในการใช้ยาขับปัสสาวะ...
คนไข้ส่วนใหญ่สามารถทนต่อการใช้ยากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม มันก็มีผลเสีย (drawback) จากการใช้ยากลุ่มนี้เช่นกัน
นั้นคือ ร่างกายจะสูญเสียธาติ “โปแตสเซี่ยม” ไป

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดธาตุ“โปแตสเซี่ยม” แพทย์จึงมักแนะนำ
ให้รับประทานอาหารที่มี potassium สูง เช่น กล้วย, น้ำส้มคั้น
และมีคนไข้บางราย แพทย์แนะนำให้กิน potassium...

<< BACK        NEXT >> P. 5 :Antihypertensive Medications:                                                  Beta-blockers

เมื่อท่านต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง P3: Antihypertensive medications

June 11,2014

ยาลดความดันโลหิตสูง (antihypertensive drugs):


      Credit: www.pharmacology2000.com


ในคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มักจะได้รับยาลดความดัน 
เพื่อลดระดับความดันเลือดในเส้นเลือดแดง  ซึ่งยาแต่ละกลุ่มจะออกฤทธิ์
ที่แตกต่างกัน  เป็นต้นว่า   ลดปริมาณของเลือดในร่างกาย (blood volume), 
 ลดอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate), และลดปริมาณของเลือด
ที่ถูกปั้มออกในแต่ละคร้ง (stroke volume)

ยาบางขนานจะออกฤทธิ์บล๊อคคลื่นกระแสไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เส้นเลือด
หดตัว   ส่วนยาชนิดอื่นจะออกฤทธ็ลดอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) 
และลดแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

ตัวอย่างของยาที่ถูกนำมาใข้ขึ้นกับสถานการณ์ ได้แก่ beta blockers,
Calcium channel blockers, ACE ihibitors, angiotensin receptor
Blockers (เช่น valsartan, losartan), diuretics และ alpha adrenergic
Blockers ( prazoxin,terazoxin)

<< BACK    NEXT >> P.4 :Antihypertensive medications – Diuretics

ความดันโลหิตสูง...ภัยใกล้ตัว P.1 : Stopping Blood Pressure Drugs Risks a Stroke

June 12, 2014

ยาที่ใช้ควบคุมโรคความดันโลหิตสูง จะทำงาน (ออกฤทธิ์) เมื่อท่าน
กินยานั้น ถ้าท่านหยุดกินยาลดความดันนั้นโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
ท่านได้ตกอยู่ในอันตรายต่อการเกิดภาวะสมองถูกทำลาย (stroke)

ตามความเห็นของ The American Association (AHA) และ The
Stroke Association กล่าวว่า ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่สำคัญ
ที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะสมองถูกทำลาย และปัจจัยดังกล่าว เป็น
ปัจจัยที่เราสามารถป้องกันได้

ความดันโลหิตสูง...
ความดันโลหิตยิ่งมีระดับสูง ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมอง
ถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke) และปัญหาทางสุขภาพอย่าง
อื่น ๆ

NEXT >> P 2 : ภัยอันตรายจากความดันโลหิตสูง : What’s high ?

เมื่อท่านต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง P 1 : What does high blood pressure do ?

June 10,2014

เมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง...
ซึ่งหมายความว่า ความดันเลือดของท่านจะมีค่าสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท
และท่านจะได้รับยาสำหรับลดความดัน (antihypertensive drugs) จากแพทย์
เพื่อลดระดับความดันลง โดยกำหนดว่า
ระดับความดันที่ดีที่สุดควรอยูที120/80 mm Hg

แม้ว่าจะมีผ้คนเป็นจำนวนไม่น้อย   สามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้
ตามธรรมชาติด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารการกิน    และการ
ออกกำลังกาย   แต่มีบางรายจำเป็นต้องใช้ยาลดความดันโลหิตด้วย

ยาที่ถูกนำมาใช้เพื่อลดความดันที่ใช้ในการลดความดันโลหิตสูง จะวนเวียน
อยู่ในกลุ่มยาดังต่อไปนี้:

 ACE inhibitors
 Calcium channel blockers
 Thiazide diuretics
 Angiotensin receptor blockers และ
 Beta blockers

ไม่ว่าท่านจะกินยาลดความดันชนิดใด ท่านจะต้องกินยาตัวนั้นไปตลอด 
อย่าได้หยุดกินยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์เป็นอันขาด
เพระาอันอันตรยจจะเกิดขึ้นกับท่านได้

NEXT >> P 2: What Are the Safest High Blood Pressure Medications?

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เมื่อท่านต้องการหยุดยาลดความดันโลหิต P 6: How to Get Off of High Blood Pressure Medicine


June 10, 2014

เมื่อท่านได้ตัดสินใจแล้วว่า ท่านจะต้องกินยาลดความดันโลหิต...  
ท่านจะต้องกินยาตามแพทย์สั่ง  ห้ามเปลี่ยนยา หรือหยุดยาเองเป็นอันขาด
เพราะการทำเช่นนั้นสามารถก่อให้เกิดผลเสียแก่ท่านได้

อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องการช่วยทำให้ระดับความดันโลหิตสูงของท่าน
ดีขึ้น   หรือบางทีทีอาจทำให้ท่านกินยาลดความดันน้อยลง
ท่านสามารถกระทำได้วิะีการง่ายๆ ดังต่อไปนี้:

1. ถ้าท่านมีนำหนักตัวสูง การลดน้ำหนักตัวลงเพียงไม่กี่ปอนด์ เช่น
ลดน้ำหนักตัวลงได้ 5 ปอนด์ สามารถลดระดับความดันลงได้หลายจุด และ
ยังสามารถทำให้ประสิทธิภาพของยาลดความดันดีขึ้นด้วย

2. ลดความเค็มในอาหารลง  ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยง
อาหารประเภทปรุงสำเร็จ  หรือลดอาหารที่มีความเค็มสูง  ซึ่งถ้าท่านทำ
มันสามารถลดดับความดันโลหิตสูงลงได้

3. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล สำหรับชายไม่ควรดื่มมาก  โดยกำหนดง่าย ๆ
ดังนี้  สมมุติเป็นดื่มเบียร (2 - 6 %) แล้วกัน...สำหรับชายไม่ควรเกิด 2 กระป๋อง 
ส่วนสตรีไม่ควรเกิน 1 กระป๋อง (340 ml)  และถ้าเป็นคนมีอายุมากกว่า 65 
ไม่ควรดื่มเกิน 1 กระป๋องทั้งสองเพศ

4. รับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ...  โดยเน้นไปที่ อาหารที่มีไขมันต่ำ, ผัก 
และผลไม้ให้มาก, รับทานอาหารที่มีธาติโปแตสเซี่ยม และสุดท้าย
อาหารนั้นต้องไม่มีไขมันอิ่มตัวสูง

5. เลิกสูบบุหรี่  เพราะการสูบบุหรี่จะทำลายผนังเส้นเลือด และทำให้เส้นเลือด
แดงแข็งตัว

6. ให้ร่วมเล่นกีฬา และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่ถูกต้องควรออกกำลัง
กายทุกวัน ๆ ละ 30 นาที  ซึ่งนอกจากช่วยลดความดันโลหิตแล้ว 
 ยังช่วยควบคุมระดับน้ำหนักตัวด้วย

7. จัดการกัความเครียด ของตนเอง  เช่น ปฏิบัตโยคะ, เดินทาง, หายใจลึก ๆ, 
และพบแพทย์หากจำเป็น

8. วัดความดันโลหิต (ที่บ้าน) อย่างสม่ำเสมอ เมื่อแพทย์มีความเห็นว่า
ท่านสามารถควบคุมความดันของท่านได้ดี เธอ หรือเขาอาจพิจารณาว่า 
 เมื่อใดท่านควรเพิ่มยา หรือลดอย่างไร

<< BACK

www.ehow.com

เมื่อมีการหยุดยาอย่างฉับพลัน P 5: What can happen if you Suddenly stop medication?

June 9, 2014

การหยุดยารักษาหลายตัวอย่างฉับพลัน รวมถึงการใช้ยาอย่าง
ผิดๆ สามารถทำให้เกิดผลเสียได้ (withdrawal effects)
ซึ่งเราสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เมื่อมีการกินยา (รักษา) ติดต่อกันเป็นเวลานาน...
ร่างกายของคนเราจะปรับตัวกับยาที่เรากินเข้าไป โดยบางส่วนของ
ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงไป   เป็นต้นว่า ไม่ต้องทำงานในหน้าที่นั้นต่อไป
ให้ยาที่เรากินเข้าไปจัดการแทน  แต่พอเราหยุดยาร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น
ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิม (ตอนเริ่มต้น)  จึงก่อให้เกิดมีอาการขึ้น

ระยะเวลาที่เกิดอาการที่เกิดจากการหยุดยา....
จะขึ้นกับระยะเวลาของการๆื้นตัวสู่สภาพเดิม (หลังการเปลี่ยนแปลง)
รวมถึงชนดของยาที่ใช้  กับตวคนไข้เอง

โดยสรุป ผลอันไม่พึงประสงค์จากการหยุดยาฉับพลัน...
จะก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ประมาณสองสามวัน ดังตัวอย่าง
เช่น การหยุดยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ และเส้นเลือด  มันสามารถทำให้คนเกิด
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack) ได้

ในการรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ ท่านจะต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง ห้ามหยุดยา
และหากท่านยืนยันจะหยุดยาจรง ๆ ... ท่านจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำของ
ท่านก่อนว่า จะหยุดยาได้หรือไม่

<< BACK     NEXT >> P 6: How to Get Off of High Blood Pressure Medicine

http://weill.cornell.edu/cert/patients/suddenly_stopping_medicine.html

เมื่อมีการหยุดยาอย่างฉับพลัน P 4 : Why is it dangerous to suddenly stop a medicine?

June 9, 2014

ในกรณีที่มีการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน...
เมื่อมีการหยุดยาอย่างฉับพลัน  ย่อมก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์
เกิดขึ้น   เรียก ปรากฏการณ์สะท้อนกลับ ( rebound phenomenon)
เช่น  ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น (rebound hypertension)

นอกจากนั้น ยังปรากฏว่ามียาอีกหลายขนาน เมื่อมีการหยุดยาอย่าง
ฉับพลันสามารถทำให้เกิดอาการ (withdrawal effects) ได้
เป็นต้นว่า:

 Aspirins การกินยาแอสไพรินในขนาดต่ำมาเป็นเวลานาน เมื่อหยุดยา
    สามารถทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack)
 Calcium chennel blockes (CCB) เช่น verapamil สามารถทำให้เกิด
   ภาวะ unstable heart attack
 Beta adrenergic blockers เช่น propanolol, atenolol เมื่อหยุดยา
   สามารถทำให้เกิด heart attack และสามารถทำลายชีวิตคนไข้ได
 Corticosteroids เช่น prednisolone
 Antidepressants
 Tamoxifen ภายหลังการกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน เมื่อมีการหยุด
    ยาอย่างฉับพลัน สามารถทำให้เกิดอารมณืแปรปรวนได้

<< BACK      NEXT>>>   P 2 Continued P 5: What can happen if you
                                                    Suddenly stop medication ?

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เมื่อมีการหยุดยาอย่างฉับพลัน P 3: Adverse Effects of Suddenly stopping medicine

June 8, 2014

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเรื้อรัง...
พวกเขามักจะกินยาหลายขนาน เป็นการกิตยาอย่างต่อเนื่องเป็น
เวลานานกันแทบทั้งนั้น ในขณะเดียวกันก็ปรากฏว่า
มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยลืมกินยาทีเขาควรจะต้องกิน หรือเลิกกินยา
เพราะความเข้าใจผิด

ยกตัวอย่าง...
คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับลดความดัน (antihypertensives)
มาเป็นเวลานาน ปรากฏว่า 50 % ลืมกินยา 1 – 2 ครั้งต่อเดือน
โดยลืมนานถึง 30 ชั่วโมง

นอกจากนั้น ยังมีผลของการศึกษารายอื่น พบว่า คนที่เลิกกินยามักจะ
เป็นคนที่ได้รับผลดีเยี่ยมเสียเป็นส่วนใหญ่ เลยเป็นเหตุให้เข้าใจผิดว่า
โรคของตนเองหายไปแล้ว


<< BACK   NEXT P. 4 : Why is it dangerous to suddenly
                                         stop a medicine?

เมื่อหยุดยาลดความดันโลหิตสูง... P2: Antihypertensive drugs Withdrawal syndrome

June 10,2014

เมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง....
หากท่านหยุดยารักษาทันที ส่วนมากมักจะไม่เกิดผลทันทีหรอก แต่ท่าน
อาจอาการแสดงของระบบประสาท “ซิมพาเทอรติก” ทำงานเพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจออกแรงเพิ่มขึ้น เป็นการ
เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจขาดเลือด เกิดภาวะ
heart attackและอาจถึงขั้นสูญเสีชีวิตได้

กลุ่มอาการที่เกิดตามหลังการหยุดยาดังกล่าว ส่วนมากจะเกิดตามหลัง
การหยุดยากลุ่ม antiadenergic และ beta-adrenergicBlocking drugs
หรือหยุดยาลดความดันหลายตัว

อย่างไรก็ตาม มันสามารถเกิดขึ้นกับยาลดความดันตัวอื่นได้เช่นกัน
ซึ่งทำให้เกิดอาการอันไม่พึงปราถนาจากการหยุดยาอย่างฉับพลัน ดัง
นี้:

 กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease)
 ความดันเลือดสูงมากๆ (Severe hypertension)
 โรคหลอดเลือดแดงของไตตีบแคบ (Renovascular 
    หรือ high renin hypertension)
 รับยาลดความดันหลายตัว โดยแต่ละตัวมขนาดสูง
    (High doses of multiple antihypertensive drugs)

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลเสียจากการหยุดยาอย่างฉับพลัน ท่านสามารถ
หยุดยารักษาความดันโลหิตได้ด้วยวิธี “ลดขนาด” ของยาลงอย่างช้า ๆ
โดยใช้เวลประมาณ 7 – 10 วัน

ในการหยุดยารักษาความดันโลหิต (antihypertensives) ด้วยวิธีการลด
ขนาดดังกล่าว บางรายอาจมีอาการอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้ หากเป็น
เช่นนั้น ให้ท่านหันกลับไปใช้ยาเหมือนเดิม....



<< BACK     NEXT >>3: Adverse Effects of Suddenly stopping medicine

เหตุเกิด...เมื่อเขาหยุดยารักษาโรคความดันโลหิตสูง P 1

June 8, 2014 

ส่วนใหญ่  คนที่เป็นโรคเรื้อรังมักจะกินยารักษาติดต่อกันเป็น
เวลานาน  แต่มีบางราย  ด้วยความเข้าใจผิดทำให้เขาต้องเลิก
กินยา  จนเป็นเหตุทำให้เกิดผลอันไม่พึงปราถนาขึ้น 
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

กระทายชายนายหนึ่ง วัย 50s  มีอาชีพขายอาหาร 
รักษาโรคความดันโลหิตสูงมานานหลายปี  โดยไม่มีอาการของ
ความดันสูงแต่อย่างใด แต่ต้องกินยาเป็นประจำตามหมอสั่ง 
มาช่วงหลังเขาหยุดยาลดความดันเอง ด้วยการเข้าใจว่า  เขา
หายจากโรคความดันโลหิตสูงแล้ว  เพราะผลจากการวัดความ
ดันก็อยู่ในระดับปกติ (<130/80 mm Hg)


อีกสองเดือนต่อมา  ผู้เขียนได้ผ่านไปทางร้านของชายคนนี้เข้า 
แต่ไม่พบเห็นเขาปรากฏที่ร้านของเขาเลย  จึงถามเพื่อนบ้าน
ของชายคนดังกล่าว  จึงได้ทราบความจริงว่า...
เขาได้จากไปด้วยโรคหัวใจวายเสียแล้ว

นีคือตัวอย่างของคนเป็นโรคความดันโลหิตสูง  ซึ่งหยุดกินยา
ลดความดันโลหิตสูงโดยพลการ  ด้วยความเข้ามจผิดว่า
เขาหายจากโรคความดันโลหิสูงแล้ว





วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เมื่อท่านหยุดยาลดความดันโลหิตสูง... P2: Antihypertensive drugs Withdrawal syndrome

June 10,2014

เมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง....
หากท่านหยุดยารักษาอย่างฉับพลัน  ส่วนมากมักจะไม่เกิดผลทันที... แต่ท่าน
อาจมีอาการแสดงของระบบประสาท “ซิมพาเทอรติก” เพิ่ม ทำให้ระดับของ
ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก  และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,
มีบางรายถึงกับเสียชีวิตได้

กลุ่มอาการที่เกิดตามหลังการหยุดยาดังกล่าว...
ส่วนมากจะเกิดตามหลังการหยุดยากลุ่ม antiadenergic และ beta-adrenergic
blocking drugs หรือหยุดยาร่วมสำหรับลดความดันหลายตัว
อย่างไรก็ตาม มันสามารถเกิดขึ้นกับยาลดความดันตัวอื่นได้เช่นกัน

มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ดังกล่าว เช่น:

 กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease)
 ความดันเลือดสูงมากๆ (Severe hypertension)
 โรคหลอดเลือดแดงของไตตีบแคบ (Renovascular หรือ high renin hypertension)
 รับยาลดความดันหลายตัว โดยแต่ละตัวมขนาดสูง
    (High doses of multiple antihypertensive drugs)

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลเสียจากการหยุดยา  หากท่านจำเป็นต้องหยุดยา
ท่านจะต้องค่อยๆ ลดขนาดของยาลดความดันโลหิตลงอย่างช้า ๆ
โดยใช้เวลา  7 – 10 วัน  สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ
นั้นคือสิ่งที่ท่านต้องทำ

<< BACK

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6116286

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มะเร็งของลำไส้ใหญ่ Colorectal cancers P 13: Prognosis /outlook

June 9,2014

เมื่อเพื่อนของเราเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่...
ปัญหาที่พวกเราชอบถามกัน  คือ เมื่อเป็นโรคดังกล่าวแล้วจะมีอายุ
ยืนยาวเท่าไหร่ ?

คนที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เร็ว และให้การรักษาอย่าง
ฉับพลัน เราจะพบว่าอายุของเขาย่อมยืนยาวอย่างแน่นอน



  Credit: http://catchacure4cancer.org/

และความยืนยาวของชีวิตของคนที่เป็รมะเร็งลำไส้ใหญ่ ย่อมขึ้นกับขอบเขต
ของมะเร็ง  และการตอบสนองต่อการรักษา

นอกเหนือจากนั้น เรายังพบว่า  มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่สามารถ ทำให้ผลการ
รักษา  และการพยากรณ์โรค (outlook) ของมะเร็งลำไสใหญ่จะดีขึ้น:

 ระยะของมะเร็ง (stage of the cancer):
ระยะของมะเร็ง (staging) เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด โดยเราจะเห็นจากรายงาน
ของ The National Cancer Institute ได้รายงานเกี่ยวกับอัตราการมี
ชีวิตรอด (survival rate) ของคนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colorectal cancer) 
ดังนี้:

o Stage I ประมาณ 93 %
o Stage II ประมาณ 72 - 85 %
o Stage III ประมาณ 44- 83 % และจากการได้รับเคมีบำบัด
  จะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น
o Stage IV ประมาณ 8 % จะมีชีวิตรอดภายใน 5 ปี

 จำนวนของต่อน้ำเหลืองที่ถูกแทรกซึมด้วยเซลล์มะเร็ง:
เนื่องจากระบบน้ำเหลืองจะทำงานร่วมกับการทำงานขอบระบบภูมิคุ้มกัน 
ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องร่างกายให้รอดพ้นจากสิ่งแปลกปลอมที่รุกต่าง ๆ
ที่ล้ำร่างกาย

ในกรณีที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง...
พบว่ามะเร็งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้อีก (recurrence)   และด้วยเหตุนี้เอง 
 การให้เคมีบำบัดจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันกรณีเช่นนี้

 ถ้ามะเร็งได้รุกล้ำสู่อวัยอื่นๆ :
ในคนที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะสุดท้าย (advanced case) มะเร็งจะแพร่
กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ   เช่น ตับ (liver) หรือปอด. (lungs)
การให้เคมีบำบัด และรังสีรักษา   อาจมีส่วนช่วยชะลอไม่ให้มะเร็งแพร่
กระจายต่อไปได้

 คุณภาพชีวิตของคนไข้:
มีคนไข้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวนไม่น้อยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ
เพราะปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่สามารถให้ผลที่ดีได้   โดยท่านจะด้รับการ
รักษาหลายอย่างร่วมกัน  (รับการผ่าตัด, เคมีบำบัด และรังสีรักษา) 
ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดขึ้นมาอีก (recurrence)

สิ่งสำคัญที่ท่านจะต้องจำ...
หากสุขภาพของท่านเกิดการเปลี่ยนแปลง  ท่านจะต้องแจ้งให้แพทย์ได้ทราบ    
เพื่อเธอ  หรือ เขาจะได้พิจารณาตรวจค้น (screening)   
หรือให้การรักษาเพิ่มแก่ท่าน

<< BACK

Sources:
o www.mayoclinic.org
o www.cancer.gov
o www. my.clevelandclinic.org

เมื่อท่านหยุดยาลดความเลือดสูง P 1: Anti-hypertensive drug withdrwal syndrome

June 8, 2014

ส่วนใหญ่ คนที่เป็นโรคเรื้อรังมักจะกินยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน
แต่มีบางราย ด้วยความเข้าใจผิดทำให้เขาต้องเลิกกินยา จนเป็นเหตุ
ทำให้เกิดผลอันไม่พึงปราถนาขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    

               Credit: www.redorbit.com

กระทายชายนายหนึ่ง วัย 50s มีอาชีพขายอาหาร เป็นโรคความดันโลหิตสูง
โดยเป็นมานานหลายปี  แต่ไม่มีอาการของความดันสูงแต่อย่างใด
แพทย์ได้ให้เขากินยาลดความดันเป็นประจำมาหลายปี  มาช่วงหลังเขาหยุด
ยาลดความดันเอง ด้วยการเข้าใจว่า เขาหายจากโรคความดันโลหิตสูงแล้ว

อีกสองเดือนต่อมา ผู้เขียนได้ผ่านไปทางร้านของชายคนนี้เข้า  แต่ไม่พบ
เขาปรากฏที่ร้านของเขาเลย   จึงถามเพื่อนบ้านของชายคนดังกล่าว 
ได้ทราบความจริงว่า   เขาเสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยโรคหัวใจล้มเหลว


นีคือตัวอย่างของคนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหยุดยาเองด้วยความรู้เท่า
ไม่ถึงการณ์  จึงเป็นเหตุให้เขาต้องประสบเคราะห์กรรมดังกล่าว

>> NEXT    P. 2 : Adverse Effects of Suddenly Stopping a Medicine

มะเร็งของลำไส้ใหญ่ Colorectal cancers P 12: Prevention

Jun 6,2014

ในคนที่มีความเสี่ยงโดยเฉลี่ยต่vการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับ
การตรวจค้นหามะเร็งเมื่อเขามีอายุเริ่มเข้าสู่วัย 50

ส่วนคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง เช่น คนที่มีประวัติทางครอบ
ครัวว่า มีสมาชิคในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น ควรได้รับ
การพิจารณาทำการตรวจค้น (screening test) ให้เร็วกว่านั้น
เช่น ทำการตรวจ (screening) เมื่ออายุได้ 45

มีการตรวจสอบหลายชนิดให้ท่านเลือก (screening options)
ซึ่งแต่ละวิธีต่างมีคุณประโยชน์ และข้อเสียของมัน
 ตัวท่าน   และแพทย์มีส่วนร่วมกันว่า  จะเลือกใช้วิธีใด


         
                  Credit: www.colorectal-cancer.ca


อย่างไรก็ตาม  เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่...
ท่านต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของท่านดังนี:

  รับประทานผลไม้ชนิดต่าง ๆ, ผักต่างๆ และเมล็ดพืชที่ไม่ได้ขัดสี
เพราะอาหารเหล่านี้ ประกอบด้วยไวตามิน และ แร่ธาติตามที่ร่าง
กายต้องการ, มีสารใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจมีบทบาท
ต่อการป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งได้

  ถ้าท่านเป็นคนชอบดื่ม...ให้ดื่มแต่พอประมาณ...
ให้จำกัดการดื่มได้ไม่เกินหนึ่งแก้วต่อวันสำหรับหญิง และสองแก้ว
สำหรับชาย

  งดเว้นจากการสูบบุหรี่

  ออกกำลังกายใก้สมำ่เสมอ  โดยพยายามออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อย
วันละ 30 นาทีท

  รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (health weight)...
ถ้าท่านมีน้ำหนักตัวเกิน... ท่านต้องลดให้อยู่ในระดับปกติให้ได้
ซึ่งท่านกระทำได้ด้วยการออกกำลังกาย  และลดปริมาณอาหารที่รับประทาน
ในแต่ละวันลง

นอกจากที่กล่าวมา ยังปรากว่ามีการใช้ยา และการผ่าตัด  ซึ่งสามารถลดความ
เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของลำไส้ใหญ่ได้ ดังนี้:

 Aspirin:
มีหลักฐานรายงานว่า การใช้ยา aspirin  สามารถลดความเสี่ยงของติ่งเนื้อ (polyps)
ให้เกิดเป้นมะเร็งได้  แต่ต้องใช้ในขนาดสูง ๆ เป็นเวลานาน
ซึ่งการทำเช่นนั้น  จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีเลือด
ออก... ดังนั้น  ในด้านปฏิบัติ จึงไม่ม่ใครใช้ aspirin เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งกัน

 Celecoxib (Celebrex):
ยาในกลุ่ม COX-2 inhibitors นอกจากจะลดความเจ็บปวดได้แล้ว  ยังมีหลักฐาน
ชี้บ่งว่า COX-2 drugs สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด precancerous polyps ในราย
ที่เคยเป็น Polyp มาก่อน

 แต่ผลเสียของการใช้ยา COX-2 คือ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ...
เช่น หัวใจขาดเลือด (heart attack)

 Surgery to prevent cancer:
ในคนที่มีประวัติทางพันธุกรรม (inherited syndromes) เช่น faimilial adenomatous
polyposis หรือ inflammatory bowel disease (ulcerative colitis และ Crohn’s disease)...
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดลำไส้.ใหญ่ทั้งหมดออกทิ้ง (colon and rectum)
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งขึ้น

<< BACK            NEXT >> P 13 : Prognosis/outlook

Sources:

  • www..cancer.gov
  • www.mayoclinic