วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.2: Replacement insulin therapy

Aug. 23, 2014



ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวานประเภท 1...
เราจพบว่า “เบต้า เซลล์” ซึี่งเป็นสว่นหนึ่งของตับอ่อน  จะทำหน้าที่
สร้างฮอร์โมน  ขือ "อินซูลิน"  ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง
เป็นเหตุให้เซลล์ดังกล่าว ไม่สามารถสร้างอินซูนขึ้นได้
ยังผลให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลกลูโกสในกระแสเล่ือดให้เป็น
พลังงานได้

เมื่อไม่มีอินซูลิน  เซลลืไม่สามารถทำให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้  เป็นเหตุ
ให้มีนำ้ตาลตกค้างอยู่ในกระแสโลหิต  ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบว่า
เป็นโรคเบาหวาน

เพื่อให้ร่างกายสามารถมีชิวิตอยู่ได้  หรือขับเคลื่อนไปได้เหมือนเครือง
จักรที่ต้องอาศับน้ำมันเชือเพลง  เราจำเป็นต้องใช้ "อินซูลิน"
เพื่อทดแทนส่วนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ  และวิธีการใช้
อินซูลินในลกัษณะนี้  เราเรียกว่า Replacement insulin therapy



<< BACK   NEXT >> Augmentation insulin Therapy\

เมื่อท่านต้องใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.1 How Does Insulin Control Diabetes?

Aug. 23,2014

การที่คนเรายังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้....
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฮอร์โมน ชือ “อินซูลิน” นั้นเอง  
หากเราไม่มีสารดังกล่าว (อินซูลิน) ร่างกายเราก้ไม่สามารถใช้นำ้ตาลกลูโกส
ที่อยู่ในกระแสเลือดให้เป็นพลังงาน  เพื่อให้กายของเราสามารถขับเคลื่อนได้
หากจะเปรียบ  ก็คงเหมือนเครื่องยนต์กลไกลทั้งหลาย  ทีีไม่สามารถใช้พลัง
เชื้อเพลิงได้


ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหาร...
ร่างกายของเราจะปล่อยฮอร์โมน “อินซูลิน” สู่กระแสเลือด โดยมันจะทำหน้า
ที่เสมือนยาม หรือนายประตู ซึ่งมันจะทำหน้าที่บอกเซลล์ภายในการยองเรา 
ให้เปิดประตูให้น้ำตาลกลูโกสเข้าสู่เซลล์   เพื่อใช้เป็นพลังงานกันต่อไป

นอกจากนั้น อินซูลิน ยังทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับ ปกติ 
โดยการเอาเอาน้ำตาลส่วนเกินออกจากกระแสเลือด  และเมื่อใดก็ตามที่ท่าน
เป็นโรคเบาหวาน  นั้นหมายความว่า  ร่างกายของท่านไม่สามารถสร้างอินซูลิน
ได้มากพอที่จะทำงานได้ตามปกติ  หรือเซลล์ในร่างกายของท่านไม่ตอบสนอง
ต่ออินซูลิน  อย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือทั้งสงอย่างร่วมกัน

>> NEXT : Replacement therapy

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมื่อต้องเริ่มให้อินซูลิน... (Initiation of Insulin) P.4 : Premixed insulin Added to oral antihyperglycemic agents

Aug.22, 2014


เรามีอินซูลินที่มีส่วนผสมของสองชนิด (premixed insulin) ได้แก่
Human® 30/70, Novolin®30/70, Humalog® Mix 25
or Humalog® Mix 50, NovoMix® 30,) ซึ่งใช้ร่วมกับยาเม็ดลดระดับ
น้ำตาลในเลือด โดยมีการใช้ยาดังต่อไปนี้:

 มีการแนะนำให้เริ่ม (premixed insulin) ด้วยขนาด 5 – 10 units
โดยให้วันละหนึ่ง หรือวันละสองครั้ง (ก่อนอาหารเช้า และ/หรือให้ก่อน
อาหารมื้อเย็น)

 แนะนำให้ปรับเพี่มขนาดยา premixed insulin ทีละ 1 – 2 units
โดยทำการเพิ่มในตอนก่อนอาหารเช้า  และ/หรือก่อนอาหารเย็น

BG reading.

 การให้ premixed insulin ก่อนอาหารเช้า มีเป้าหมายเพื่อให้ระดับ
น้ำตาลในเลือดตอนก่อนอาหารเย็น (presupper BG) อยู่ที่ 4.0 – 7.0 mmol/L 
หรือ 72 – 126 mg/dL

 การให้ Presupper premixed insulin มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ระดับน้ำตาล
ตามเป้าหมาย -  4.0 -7.0 mmol/L หรือ  72 – 126 mg/dL

 ในการให้ Humalog®Mix25 หรือ NovoMix®30 premixed Insulin ควร
ให้ทันทีหลังรั[ประทานอาหาร

 ในการรักษาด้วย  premixed insulin... เมื่อสามารถทำให้ระดับน้ำตาล
ลดสู่ระดับเป้าหมายแล้ว  ควรยุติการปรับเพิ่มขนาดของยา แต่หากปรากฏว่า 
ยังไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่เป้า...ให้ปรับเพิ่มขนาดของ premixed 
insulin ตามความเหมาะสม  เพื่อให้ได้ระดับน้ำตาลตามเป้า

 เพื่อความปลอดภัย การปรับเพิ่มขนาดอินซูลิน ควรทำการตรวจดูระดับ
น้ำตาลในเลือดด้วยตัวของท่านเอง อย่างน้อยสองครั้ง / วัน

 ไม่ควรปรับเพิ่มอินซูลิน เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลตก (hypoglycemia)
สองครั้ง หรือมากกว่า (BG <4 mmol/ศ หรือ 4x18 mg/dL) หรือ
เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคือน nocturnal hypoglycemia)

 ยาเม็ดลดน้ำตาล antihyperglcemic agents โดยเฉพาะพวกที่ใช้
กระตุ้นให้มีอินซูลินเพิ่ม เช่น glipiside, gibenclamide ควรลด หรือ
เลิกใช้เสียเลยเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ (hypoglycemia)



<< BACK


http://guidelines.diabetes.ca/Browse/Appendices/Appendix3

เมื่อต้องเริ่มให้ "อินซูลิน" แก่คนไข้... P. 3 (Initiation of Insulin) : Basal –Bolus Insulin therapy

Aug.22, 2014

ตัวอย่างการให้อินซูลินแบบที่ 3:
Basal-Bolus Insulin - Intensive insulin therapy

Basal-Bolus insulin- Intensive insulin therapy เป็นการรักษาเบาหวานกัน
อย่างใกล้ชิด  ซึ่งนอกจากจะให้อินซูลิน cover ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว  ยังต่องให้อินซูลินเพื่อจัดการกับอาหาร ที่รับประทาน
ในแต่ละมือด้วย   ซึ่งกระทำได้ดังนี้:

 คำนวณปริมาณของอินซูลินที่ร่างกายจำเป็นต้องการใช้ต่อวัน โดยใช้สูตร
0.3 – 0.5 units/kg จากนั้นแบ่งเป็น

- 40% ของยาที่คำนวณได้ (total insulin dose) ให้เป็นอินซูลินที่ต้อง
ทำหน้าที่เป็น basal insulin ซึ่งได้แก่อินซูลินต่อไปนี้ – Humulin® -N
เป็น intermediate-acting insulin หรือให้ Lantus®, Levemir® ซึ่งเป็น
Long-acting insulin

-20% ของอินซูลินส่วนที่เหลือ เป็นอินซูลินที่ทำหน้าที่เป็น bolus insulin
ซึ่งให้ทำหน้าที่ cover อาหารที่รับประทาน 3 ครั้งต่อวัน โดยใช้ rapid-
Acting insulin (Apidra®,Humalog®,NovoRapid®) หรืออาจให้
Short-acting insulin เช่น Humalin®, Novolin®



<<BACK    NEXT>> P.4:  continued

เมื่อต้องการเริ่มให้ "อินซูลิน" แก่คนไข้ (Initiation of Insulin) P. 2: Basal plus strategy

Aug.22, 2014

การเริ่มใช้อินซูลินแบบที่ 2 : Basal plus Strategy:
เป็นการเพิ่ม bolus insulin ระหว่างอาหาร โดยให้วันละครั้ง เช่นให้
Apidra®, Humalog®, NovoRapid®) โดยมีหลักการดังนี้:

o เมื่อจำเป็นต้องได้รับผลจากการรักษาเร็วขึ้น... ให้เริ่มฉีดอินซูลินในมื้อ
อาหารหลัก (main meal) หรือให้ตอนรับอาหารเช้า (breakfast)

o โดยเริ่มให้อินซูลินในขนาด 2 – 4 units พร้อมกับสอนคนไข้ให้สามารถ
ปรับปริมาณ (dose) ของยาด้วยตนเองได้  หรือปรับโดยผู้ดูแลรักษา (HCP)

o และเพื่อความปลอดภัยในการเพิ่มปริมาณ (dose) ของอินซูลิน ควรทำ
การตรวจดูระดับของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนให้ยาฉีด  ต่อจากนั้น ให้เพิ่ม
ปริมาณยา  1 unit ต่อวัน   หรือให้เพิ่มตามเป้าหมายโดยให้มีระดับน้ำตาล
อยู่ที่....

- 2 ชั่วโมงหลังอาหาร...ระดับน้ำตาล 10.0 mmol/L (180mg/dl)
-  ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร (premeal glucose)มีค่า 4.0 – 7.0 mmol/l

o ในระหว่างการรักษา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับประทานอาหารปหระเภท
คาร์โบฮัยเดรต ในระดับคงที่   และในกรณีมีภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ
(hypoglycemia) เกิดในตอนกลางวัน   อาจต้องลด หรือหยุดการให้ยากลุ่ม
Secretogogue (ยาที่ทำหน้าที่กระตุ้นตับอ่อนให้เพิ่มปริมาณอินซูลิน)



<<BACK     NEXT>> P.3: continued

เมื่อต้องเริ่มใช้ "อินซูลิน" แ่กคนไข้ (Initiation of Insulin) P.1

Aug.22, 2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
สิ่งหนึ่งที่เราพบเป็นประจำ  คือ เมื่อแพทญืบอกว่า  ถึงเวลาที่ต้องรักษา
ด้วยการฉีดยาเมื่อใด....ส่วนหนึ่งไม่ยอมที่จะฉีด

ก่อนที่จะได้รับการรักษาด้วยการฉีด “อินซูลิน” คนไข้ทุกราย
จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์  หรือพยาบาลจนสามารถรู้ได้ว่า  ทำไม
จึงต้องฉีด   และได้รับการเรียนรู้ ภาวะน้ำตาลลดต่ำ  พร้อมกับรู้วิธีป้องกัน
อันตรายอันเกิดจากภาวะดังกล่าวได้

นอกจากนั้น  เขายังได้รับการเรียนรู้อีกว่า  เหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนชนิด
ของอินซูลิน หรือรู้เวลาของการฉีดยา  และรู้ด้วยว่า ผลของการรักษาไม่
บรรลุเป้าหมายตามที่คาดเอาไว้  และรู้ด้วยว่าควรทำอย่างไรต่อไป

ตัวอย่างของการรักษาด้วยการใช้ “อินซูลินฉีด”
ตัวอย่างที่ 1:

ารสั่งให้ใช้ Basal insulin (Humanin –N, Lantus®, Levemir®)
เพื่อเสริมกับยาเม็ดลดน้ำตาล (oral antihypeglycemic agents)

ในการให้อินซูลิน มีเป้าหมายดังต่อไปนี้:

 อินซูลิน (basal) ที่ใช้ควรต้องค่อยๆ เพิ่มปริมาณที่ละน้อย (titrate) เพื่อให้
ได้ระดับของน้ำตาลขณะอดอาหาร (fasting BG) มีค่าอยู่ระหว่าง 4.0 – 7.0 mmol/L 
( 72 – 108 mg/dL)

(เราสามารถคำนวณค่า mg/dL จากค่า mmol/L = 18xmmol/L)

 เราสามารถสอนให้คนไข้โรคเบาหวาน สามารถปรับเพิ่มขนาดของ
ยาได้ด้วยตนเอง หรือทำการปรับร่วมกับพยาบาลผู้ดูแลการรักษา

 เริ่มต้น เราแนะนำให้เริ่มฉีดเบซอลอินซูลิน  10 units /วัน ก่อนนอน
โดยแนะนำให้เพิ่มขนาดของอินซูลิน ครั้งละ 1 unit /วัน จนกว่าระดับของน้ำตาล
จะลดลงสู่ระดับที่ตั้งเอาไว้

o สำหรับคนสูงอายุ ควรปรับขนาดยา (titration) อย่างช้า ๆ ด้วยอินซูลินขนาด
(dose) ต่ำ ๆ โดยมีเป้า (targets) ที่ "สูง" กว่าคนหนุ่ม

o ในการปรับขนาดของยาฉีดด้วยตนเองตามที่กล่าว   คนไข้ควรทำการตรวจ
ระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองอย่างน้อยวันละครั้ง

o ในระหว่างการรักษาด้วยยาฉีด (อินซูลิน) หากเกิดภาวะระดับน้ำตาลลดต่ำ
(BG< 4.0 mmol/L)  โดยเกิดขึ้นสองครั้งภายในหนึ่งอาทิตย์   หรือเกิดภาวะน้ำ
าลในเลือดตกในตอนกลางคืน (nocturanal hypoglycemia) ไม่ควรปรับเพิ่ม
ปริมาณของอินซูลินเป็นอันขาด...

o ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดขณะท้องว่างมีค่า < 5.5 mmol/L หรือ 5.5x18 mg/dL 
ให้พิจารณาปรับ "ลด" ขนาดอินซูลิน 1 – 2 units เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะ
น้ำตาลตกในตอนกลางคืน (nocturnal hypoglyemia)

o ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ (hypoglycemia) ควรหยุดยาเม็ด
ลดระดับน้ำตาล (oral medications) ในตอนกลางวัน โดยเฉพาะกลุ่มยาที่เพิ่ม
การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เช่น glipizide, glibenclamide เป็นต้น


<< NEXT : P.2 : continued

ในระหว่างการรักษาโรคเบาหวาน P.2: Why Is My Blood Glucose High?

Aug. 20, 2014

ในการรักษาโรคเบาหวาน...
เราจะพบว่า ระดับของ HbA1c โดยเฉลี่ย จะเป็นข้อขี้บ่งให้เราได้ทราบว่า 
เราได้รับการรักษาโรคเบาหวานได้ดีแค่ใหน โดยเราไม่ต้องทำการ
ตรวจค่ำ HbA1c ดังกล่าวในแต่ละวันเลย

การเจาะเลือดปลายน้ำตรวจหาระดับน้ำตาล (Finger-stick tests) สามารถ
ตรวจดูว่า น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้เร็วกว่าที่ควรจะเป็น

ส่วน HbA1c test เป็นการตรวจวัดดูปริมาณของน้ำตาลที่เกาะตัวบน ฮีโมโกลบิน
ของเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำให้เลือดมีสีแดง เป็นโปรตีนทำหน้าที่นำพาเอา
ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เมื่อระดับของน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง จะทำให้ระดับของ HbA1c สูงขึ้นด้วย
เช่นกัน และเนื่องจาก “ฮีโมโกลบิน” ไหลเวียนในกระแสเลือดจนกว่ามัน
เม็ดเลือดแดงจะตายไป...   ครึ่งหนึ่งของเม็ดเลือดแดงจะถูกแทนที่ในทุกๆ
120 วัน ดังนั้น การตรวจ HbA1c จึงเป็นการตรวจหาระดับน้ำตาลที่ปรากฏ
ในกระแสเลือดในช่วงเวลา 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา

The American Diabetes Association (ADA) ได้แนะนำให้รักษาเบาหวาน
โดยตั้งเป้าระดับ  HbA1c ให้ต่ำกว่า 7 % ซึ่งจะค่าเทียบเท่ากับ ระดับน้ำตาล
170 mg/dL โดยเฉลี่ย หรือต่ำกว่า

ในการรักษาโรคเบาหวาน...
แพทย์แต่ละนายอาจมีเป้าหมายของ HbA1c ที่แตกต่างกัน โดยขึ้นกับอายุ,
น้ำหนักตัว, และปัจจัยอื่น ๆ ของคนไข้

โดยทั้วไป เรามักจะสั่งให้มีการตรวจดูระดับ HbA1c ทุก 3 เดือน เพื่อตรวจ
ดูว่า เราสามารถรักษาระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายหรือไม่?

โดยสรุป...
โดยธรรมชาติ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของคนเราจะขึ้นๆ ลงๆ 
บางครั้งเราไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมมันเป็นเช่นนั้น

ในการรักษาโรคเบาหวาน ไม่ว่าท่านจะพยายามมากแค่ใหน ระดับของ
น้ำตาลที่ตรวจได้ไม่จำเป็นต้องปกติทุกครั้งไป ตราบใดที่ระดับน้ำตาลไม่
สูงเกินไป ก็ถือได้ว่า ท่านอยู่ในสภาพที่ใช้ได้แล้ว...

<<BACK


www.johnshopkinshealthalerts.com

ในระหว่างการรักษาโรคเบาหวาน P. 1 : Why Is My Blood Glucose High?

Aug. 20, 2014

ในขณะที่คนเป็นโรคเบาหวาน ได้รับการรักษาด้วยการควบคุมระดับน้ำตาล
ให้อยู่ในระดับปกตินั้น ปรากฏว่า มีคนไข้บางคนไม่สามารถควบคุมระดับ
นำ้ตาลในกระแสเลือดของเขาได้

คำถามมีว่า ทำไมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของเขาจึงสูงขึ้น ข้อมูลต่อไป
นี้อาจทำให้ท่านเข้าใจได้

โดยธรรมชาติแล้ว...
ระดับของเลือดในกระแสเลือดจะขึ้นๆ ลง ๆ ดังนั้นเราจึงไม่เหตุผลที่จะต้อง
กังวลเมื่อพบว่า ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล...
จากข้อทเ็จจริงดังกล่าว  อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง  ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในกระ
แสเลือดขึ้นลงได้

ในเรื่องเครื่องดื่ม และอาหารว่างก็เช่นกัน  สามารถทำให้ระดับน้ำตาลใน
กระแสเลือดขึ้สูงได้  เป็นต้นว่า ท เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลายที่เราดืมกัน ก้
ปรากฏว่ามีระดับน้ำตาล และสารคาเฟอินมากกว่าที่เราคิด
ส่วนขนมอบ  เช่น Bagel ก็ปรากฏว่า มีคาร์โบฮัยเดรตสูงเช่นกัน  
เครื่องดื่ม แลอาหาารเหล่านี้  หากไม่ระมัดระวัง  อาจทำให้ระดับน้ำตาลของ
ท่านขึ้นสุงได้

ความเครียด (stress) ความไม่สบาย (illness) ต่างเป็นต้นเหตุทำให้ระดับน้ำ
ตาลในกระแสลเลือดของท่านสูงในระยะสั้น ๆ ได้

สาร steroid ก็เช่นกัน...
เช่น การฉีดสาร cortisone เข้าข้อ  หรือฉีดเข้าบริเวณไหล่ สามารถทำให้
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านขึ้นสูงได้

นั้นคือบางตัวอย่าง  ซึ่งสามารถทำให้ระดับน้ำตาลของเราสูงขึ้น



NEXT >>

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลดน้ำหนัก หรือออกกำลังกาย... อย่างไหนดีกว่า... ?


Aug. 18, 2014

การควบอาหาร และการออกกำลังต่างเป็นสิ่งสำคัญสำหรับป้องกัน
โรคเบาหวานประเภท 2 วิธีการทั้งสองจะเหมาะสำหรับคนที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเบาหวาน เช่น ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes),
ความอ้วน (obesity), คนที่มีสมาชิคในครอบครัวเป็นเบาหวน, คนที่เป็น
เบาหวานในขณะตั้งครรภ์, และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว
ได้แก่คนที่มีเชื้อฃาติเป็น คนผิวดำ, ชาวสะเปน, คนเอเชีย, หรือ
คนเชื้อชาติเดิมของอะมริกัน เป็นต้น
Go to.... www.caitlinreid.com.au

นอกจากนั้น  เรายังพบอีกว่า
ในกลุ่มคนที่มีน้ำตัวมากเกิน และไม่ได้ออกกำลังเท่าที่ควร...
โดยทั้งสองกลุ่ม  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภท  2 
ซึ่งได้รับการยืนยันจากผลการศึกษาในวารสาร  ชื่อ Diabetes Care
 (Volume 30, page 53)   โดยเขาได้แนะนำว่า การลดน้ำหนักตัว น่าจะมี
ความสำคัญต่อการป้องกันไม่เกิดโรคเบาหวานได้  

ข้อมูลที่ได้เป็นผลที่ได้จากการศึกษาโดย Harvard Nurses Study  มีผู้เข้า
ร่วมโครงการเป็นสตรีจำนวน 69,000 ราย  ทุกคนไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน,
ไม่มีโรคหัวใจ, ไม่มีโรคมะเร็ง  ซึ่งได้รับการติดตามผลเป็นเวลานาน 16 ปี
ผลปรากฎว่า  มีสตรีได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 4,030 ราย

ภายหลังจากมีการปรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเกิดโรค 
เป็นต้นว่า อายุ, การสูบบุหรี่, ปัจจัยเสี่ยงด้านอื่น ๆ ของการเกิดโรคเบาหวาน,
รอบเอวเพิ่ม และดัชนีมวลกายเพื่มแล้ว ปรากฏว่า:

สตรีที่จัดว่าเป็นคนอ้วน เมื่อดัชนีมวลกาย (body mass index) =  40 พบว่า
มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานถึง 28 เท่าของคนปกติ หรือคนผอม 

ผลจากการวิจัยยังพบว่า  การออกกำลังกายไม่ใช้เรื่องสำคัญเท่าใด  โดยเรา
พบว่า  ถ้าเขาเป็นคนอ้วนที่ออกกำลังกาย 20 ชั่วโมงต่อหนึ่งอาทิตย์  ยังพบว่า
มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ถึง 11 เท่าของคนผอม

จากข้อมูลที่นำเสนอ อาจทำให้บางคนเลิกใส่ใจในเรื่องการออกกำลังกาย
ขอให้เข้าใจไว้ด้วยว่า การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนัก จะต้องไป
ด้วยกันเสมอ แม้ว่าการออกกลังกายจะไม่มากพอที่จะลดน้ำหนักก็ตาม..
และการระมัดระวังในเรื่องอาหารก็มีความสำคัญพอๆ กับ
การออกกำลังกาย


Go to.   www.lifehacker.com



วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วยการตรวจ HbA1c ในเลือด : HbA1C blood Test for Diagnosis of Diabetes P.2

Aug. 17, 2014

Continued...

มีการตรวจเลือดอย่างน้อย 3 วิธี ซึ่งถูกนำมาใช้วินิจฉัยโรคเบาหวาน
ซึ่งได้แก่ casual plasma (blood) sugar, Fasting Blood sugar (FPG) 
และ oral glucose rolerance (OGTT)

จากสถิตของสหรัฐฯ...
มีประมาณ 6 ล้านคนเป็นโรคเบาหวานโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ว่า เขาเป็นโรคดัง
กล่าว และหนึ่งในสี่ของคนเป็นโรคเบาหวาน จะมาพบแพทย์ด้วยภาวะ
แทรกซ้อนในขณะที่ได้รับการวินิจฉัยโรค

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว  ทำให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจาก Johns Hopkins...ได้
ลงความเห็นว่า  การใช้ HbA1c  เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน  น่าจะเป็นวิธีที่
มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

HbA1c เป็นการตรวจเพื่อวัดปราณของน้ำตาล glucose ที่จับตัวในส่วนที่
เป็นสาร “ฮีโมโกลบิน” โดยปรากฏในเม็ดเลือดแดงในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมา
ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินผลของการควบคุมระดับน้ำตาล

การตรวจเลือด ซึ่งเคยใช้วินิจฉัยโรคเบาหวาน อันได้แก่ FPG และ OGTT
นั้น ปรากฏว่ามีความข้อผิดพลาดต่อวินิจฉัยบางอย่าง เป็นต้นว่า  คนไข้จะ
ต้องอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  ซึ่งกระทำได้ยาก  นอกจากนั้น  ยังพบอีกว่า
คนไข้บางคนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะสั้นของคนไข้เพื่อหวังผลให้
ระดับน้ำตาลลดต่ำ  เช่น การกินอาหาร  และออกกำลังกายทำการตรวจ
ซึ่งอาจเป็นเหตุทำให้ผลของการตรวจไม่ถูกต้อง

ส่วนการตรวจ HbA1c สามารถตรวจเมื่อใดก็ได้ และผลที่ได้เป็นการบอก
ให้ทราบถึงผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะ2-3 เดือนที่ผ่านมา
จากความจริงดังกล่าว และรวมถึงปัจจัยอย่างอื่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีความ
เห้นว่า การใช้ค่า  HbA1c ที่ระดับ 6.5 % สำหรับตรวจคัดกรองว่าเป็นโรค
เบาหวาน  ซึ่งควรได้รับการตรวจซำ้เพื่อยืนคำวิจฉัย

คำแนะนำดังกล่าว กำลังรอพิจารณาจากสมาคมแพทย์ (ส่วนใหญ่)...
ซึ่งไม่แน่... การใช้ HbA1c อาจทำให้หลายคนได้รับการวินิจฉัยโรคเยาหวาน
หรือโรคก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes) ได้เร็วขึ้น

<<BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

การวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วย HbA1c ในเลือด : HbA1C blood Test for Diagnosis of Diabetes P.1

Aug. 17, 2014

โดยทั่วไป โรคเบาหวานประเภท 2 จะมีการพัฒนาการอย่างช้าๆ เป็น
เวลานาน....  เริ่มแรกอาจไม่พบอาการ  และเท่าที่ปรากฏ  คนส่วนใหญ่
จะรับทราบว่า  ตัวเองเป็นโรคเบาหวาน เมื่อไปทำการตรวจเช็คร่างกายประจำปี 
ผลของการตรวจเลือดพบว่า ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมีระดับสูง

ในปัจจุบัน แพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ (endocrinologists) ใช้ผลการตรวจ
HbA1c ในเลือด ซึ่งถูกใช้เพื่อตรวจสอบผลการควบคุมระดับน้ำตาล โดยนำ
มาใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน

ถ้าท่านมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน...
แพทย์สามารถส่งให้ทำการตรวจเลือด  เพื่อยืนยันว่า ท่านเป็นโรคเบาหวาน
หรือไม่

มีการตรวจเลือดอย่างน้อย 3 วิธีที่ถูกนำมาใช้เพื่อวินิจฉัยว่า  คนเราเป็นโรค
"ก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes)" และ "เป็นเบาหวาน (diabetes)"
ซึ่งได้แก่ :

 Casual plasma (blood) glucose
 Fasring plasma gluscos (FPG)
 Oral glucose tolerance (OCTT)


NEXT >> continued

เป็นความจริงหรือ...ที่ว่า คนเป็นเบาหวานมีความผิดปกติที่ยีน ?

Aug. 18,2014

คนที่เป็นโรคเบาหวาน มักจะบอกว่ามีสมาชิคในประวัติครอบครัว 
เช่น คุณพ่อ หรือคุณแม่ หรือคุณปู่...มีประวัติว่าเป็นเบาหวาน
ซึ่งบอกให้เราได้เข้าใจว่า การเป็นโรคเบาหวานได้นั้น มันต้องได้รับการ
ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างแน่นอน แต่ตามเป็นจริงแล้ว ยังมีปัจจัยอยาง
อื่นที่ทำให้คนเป็นโรคเบาหสนได้...

มีการประมาณการณ์เอาไว้ว่า...
ประชาชนคนเมริกันจำนวน 24 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน  และในจำนวนดัง
กล่าวพบว่า 10% พบในคนที่มีอายุ 20 ขึ้นไป และส่วนใหญ่  จะมีอายุตั้ง
แต่ 60 ปีขึ้นไป (มากกว่า 10 ล้านคน)

ข้อมูลต่อไปนี้ อาจช่วยทำให้ท่านหายข้อข้องใจได้
ในขณะนี้ นักวิทยาศาตร์กำลังศึกษาเรื่องกรรมพันธุ์ว่า มันมีบทบาทต่อการ
ทำให้เกิดเบาหวานอย่างไร ?

แต่ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า  หน่วยพันธุกรรม หรือยีนที่เราได้รับจากผู้เป็น
พ่อ-แม่  ย่อมมีบทบาทต่อเราผู้เป็นลูกอย่างไม่ต้องสงสัย

มีประเด็นสำคัญที่เราจะต้องทราบเอาไว้  คือ การรับเอาพันธุกรรม (gene)
จากผู้เป็นพ่อ-แม่มา ไม่ได้หมายความว่า  เราจะต้องเป็นโรคเบาหวาน 
แต่มีรูปแบบของยีน (genes) บางตัวทำให้คนเรามีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรค
เบาหวานได้มากขึ้น   นอกจากนั้น  ยังปัจจัยอย่างอื่น  เช่น ปัจจัยภายนอก
 (environmnet)  ซึ่งได้แก่  พฤติกรรมการกินอาหาร, ระดับการออกกำลังกาย, 
ความเครียด, และอื่นๆ  ต่างมีบทบาทที่สำคัญต่อการทำให้เกิดโรคเบาหวาน
ได้ทั้งนั้น

ยีน เป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม ที่ปรากฏในนิวเครียสของทุกๆ เซลล์...
ซึ่งมันจะกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิงที่มีชีวิต 

นักวิทยาศาตร์ได้พบว่า รูปแบบของยีนบางอย่าง สามารถเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคไดหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวาน


www.johnshopkinshealthalerts.com

ทำไมจึงให้ท่านที่เป็นโรคเบาหวานฉีด “อินซูลิน” P.2

Aug. 16, 2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2...
การเริ่มรักษาด้วยอินซูลินตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมให้ผลดีกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งไม่เพียงแต่ควบคุมเหวานเท่านั้น และอาจทำให้เบาหวานดีขึ้นอีกด้วย

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน The Lancet( Volume 371, page 1753) ชี้ให้
เห็นว่า ทำไมผลจึงเป็นเช่นนั้น:

นักวิจัยได้ทำการซุ่มตรวจคนไข้เบาหวาน ซึ่งพึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น
โรคเบาหวานประเภท 2 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม:

 กลุ่มแรก: ได้รับยาฉีดอินซูลินวันละหลายครั้ง
 กลุ่มสอง: ได้รับอินซูลินฉีดอย่างต่อเนื่อง (continuous infusion)
 กลุ่มสาม: ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล
(intensive treatment with oral medication)

ทั้งสามกลุ่ม ต่างมีเป้าหมายเหมือนกัน นั้นคือ คบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ให้ลดลงสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว

หนึ่งปีให้หลัง...
o กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล โรคดีขึ้น (remision) 27 %
o กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยฮินซูลินฉีด โรคดีขึ้น 45 % และ
o กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูบินอย่างต่อเนื่อง โรคดีขึ้น 51 %

โรคดีขึ้น (remision) หมายความว่าอย่างไร ?
โรคเบาหวานดีขึน (remision) เราหมายถึง คนไข้สามารถคงสภาพรระดับ
น้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติด้วยการควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว

ผลจากการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า...
คนเป็นโรคเบาหวาน ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีด “อินซูลิน” นอกจาก
จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำ
ตาล แต่ยังใช้เวลาในการลดระดับน้ำตาลได้น้อยกว่าอีกด้วย

โดยสรุป...
การรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีดอินซูลิน นอกจากจะลดระดับน้ำตาล
ได้ดีแล้ว ยังช่วยสงเสริมให้โรคเบาหวานดีขึ้น (remision) เป็นต้นว่า
ทำให้การอักเสบลดลง และทำให้การทำงานของ beta cell ดีขึ้น
ซึ่งหมายความว่า สามารถสร้าง “อินซูลิน” ได้ดีขึ้น และที่สำคัญ เรา
ยังพบอีกว่า การรักษาด้วยอินซูลินด้วยวิธี aggressive insulin therapy
เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงสู่ระดับปกติ  อาจป้องกัน
ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย 

<< BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

ทำไมจึงแนะนำให้คนที่เป็นโรคเบาหวานฉีด “อินซูลิน” P.1

Aug. 16, 2014

เป็นที่รู้กันว่า...
อินซูบิน ถูกนำมาใช้ในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของคนไข้
ที่เป็นเบาหวานประเภท 1 ซึ่งร่างกายของคนเป็นโรคเบาหวานไม่สามารถ
สร้างอินซูลิน  เป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้   หรือใน
คนเป็นโรคเบาหวานประเภท  2  ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ  เพราะ
ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลิน   หรือใชอินซูลินได้ตามปกติ  จึงไม่
สามารถควบคุมได้ด้วยยาเม็ดลดน้ำตาลเพียงอย่างเดียว

ในการฉีดอินซูลิน เพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เป็นเพราะ
เราต้องการใช้อินซูลินที่ผลิตขึ้นเข้าไปแทนที่อินซูลิน  ซึ่งถูกสร้างโดย
ร่างกาย  โดยจะทำหน้าที่ช่วยทำให้น้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆ  
เพื่อใช้เป็นพลังงาน  และยังยับยั้งไม่ให้ตับสร้างน้ำตาลเพิ่มขึ้นอีก

อินซูลินทุกชนิดจะทำงานในรูปแบบดังกล่าว จะแตกต่างกันในด้าน
ออกฤทธิ์เร็ว  และออกฤทธิ์นานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการควบคุมระดับ
น้ำตาล

ความจริงมีว่า...
ประมาณ 40 % ของคนเป็นเบาหวานประเภท 2 ...สุดท้ายจะลงเอยด้วย
การฉีดอินซูลินชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ซึ่งอาจเป็นเพราะโรคเบาหวานของเขาเลวลงไป หรือเป็นเพราะโรคไม
ตอบสนองต่อการใช้เม้็ดลดน้ำตาล (oral drugs)

ผลจากการศึกษา  ซึงตีพิมพ์ใน The Lancet ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า...
การรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีด “อินซูลิน” แต่เนิ่น ๆ ไม่เพียงแต่ทำให้
เราควบคุมโรคเบาหวานได้เท่านั้น แต่มันอาจทำให้โรคเบาหวานดีขึ้น
ได้อีกด้วย (remission)

โดยทั่วไป  ในการรักษาเบาหวานประเภท 2 เขาจะไม่ใช้ “อินซูลิน” จนกว่า
เราไม่สามารถควบคุมกระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
และใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล (oral medications)

อย่างไรก็ตาม   ผลของการศึกษาจำนวนไม่น้อย  แสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับ
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 การเริ่มใช้อินซูลินรักษาทันที่
ผลที่ได้จะทำให้โรคดีขึ้นได้เป็นเวลาหนึ่งปี หรือนานกว่านั้น

NEXT >> continued

การชะลอไม่ให้เกิดโรคไตในคนเป็นเบาหวาน (P2) :New Approach to Slow Diabetic Kidney Disease

Aug. 16,2014

continued 

เนื่องจากความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคไตเลวลง...
การใช้ยา Aliskiren (Tekturna) มีบทบาทในการป้องกันไม่ใหไตถูก
ทำลายลงได้..

ผลจากการวิจัยในกลุ่มคนที่ร่วมในการวิจัย จำนวน 599 ราย ซึ่งเป็นโรคเบาหวาน, 
ต่างมีโรคความดันโลหิตสูง, และมีโรคไต: 
ครึ่งหนึ่งของกลุ่มได้รับยา Tektruna 150 mg ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน, ต่อจากนั้น
ให้เพิ่มขนาดยาเป็น 300 mg ทกวันเป็น
เวลาอีก 3 เดือน ส่วนที่เหลือของกลุ่มได้รับยาหลอก (placebo)
และทุกรายต่างไดรับยาลดความดัน –losartan เพื่อลดความดันโลหิต

ผลจากการศึกษาพบว่า...
ในกลุ่มที่ได้รับยา Tekturna ปรากฏว่าลดการเกิด proteinuria ลงถึง 20 %
โดยเฉลี่ย (proteinuria ถือเป็นอาการแสดงให้ทราบว่า ไตถูกทำลายจาก
โรคเบาหวาน)

นอกจากนี้ คนที่กินยา Tekturna จำนวน 25 % พบว่าการสูญเสียโปรตีน
ในปัสสาวะลดลงถึง 50 % โดยกลุ่มที่ไม่ได้กินยา Telturna ลดลง 13 %
เท่านั้น

มียาลดความดันเลือดสูงที่แพทย์มใช้เป็นประจำ โดยการออกฤทธิ์ไป
ยับยั้งสาร angiotensin- ซึ่งทำให้ระดับความดันสูงขึ้นโดยการทำให้เส้น
เลือดหดตัว

ส่วนยา Tekturna จะออกฤทธิ์ยับยั้ง (block) สาร Renin ซึ่งเป็นเอ็น
ไซม์ที่มีหน้าที่ในการสร้างสาร angiotensin อีกทีหนึ่ง

<< BACK


www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/diabetes

การชะลอไม่ให้เกิดโรคไตในคนเป็นเบาหวาน (P1) :New Approach to Slow Diabetic Kidney Disease

Aug. 16,2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
หากไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้   มันมักลงเอยด้วยการเกิด
ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เป็นต้นว่า โรคไต (diabetic kidney Disease)

จากผลของการศึกษาที่ลงตีพิมพ์ใน The New England Journal of Medicine 
(Vol.358, Page 2433) ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการใหม่ๆ  ซึ่งสามารถป้องกัน หรือ
รักษาโรคไตอันเกิดจากโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไป  คนไข้โรคเบาหวานทั้งประเภท 1 & 2 พบว่าสุดท้ายมักลงเอยด้วย
การเป็นโรคไตประมาณ 30 – 40 % และ 20% ตามลำดับ โดยมีการทำลายเส้น
เลือดเส้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่กรองเอาของเสียจากกระแสเลือดออก
ท้ิ้งไป

นอกจากโรคเบาหวานแล้ว  โรคความดันเลือดสูงก็เป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้โรคไต
เลวลงไปได้อีก  ดังนั้น การควบคุมความดันโลหิตสูง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ
สำหรับรักษาโรคไตจากโรคเบาหวาน (diabetic nephripathy) 

ในปัจจุบัน  เรามียาตัวหนึ่ง  ชื่อ  Aliskiren (Tekturna) ถูกนำมารใช้ในการป้องกัน
ไม่ให้ไตถูกทำลายได้  ซึ่งเราจะได้กล่าวกันต่อไป


NEXT >>

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความเครียดของคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 : Psychological Stress and Type 2 Diabetes

Aug. 16, 2014

ความเครียด (Psychological stress)
หมายความถึง การที่คนเรามีความรู้สึกเครียด, หงุดหงิด หรือนอนไม่หลับ 
อันเป็นผลเนื่องมาจากปัญหาในที่ทำงาน หรือปัญหาภายในครอบครัว

มีผลของการวิจัย  ได้กล่าวถึงความเครียดว่า.
ท่านจัดการกับความเครียดของท่านได้ดี  จะทำให้เกิดผลดีกับการควบคุม
โรคเบาหวานของท่าน

หนึ่งในผลของการวิจัยโดยชาวสวีเดน ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ความเครียด กับโรคเบาหวาน ในคนจำนวน 7,251 ซึ่งไม่เป็นโรคเบาหวาน 
หรือโรคหัวใจ  ตั้งแต่ปี 1970 เป็นชาย มีอายุระหว่าง 40s - 50s ...โดยแต่
ละคนถุูกสอบถามถึงความรู้สึกว่า  มีความเครียดเกิดขึ้นบ่อยแค่ใด ?

ผลของการศึกษาด้วยการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการณ์เป็นเวลา 35 ปี
ลพบว่า... ชายที่ที่ดำเนินชีวิตด้วยความเครียดเรื้อรัง หรือความเครียดถาวร 
มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานถึง 45 %  โดยเปรียบกับคนที่ไม่มี
ความเครีบดแลย

เมื่อมีความเครียด ความทุกข์เกิดขึ้น  จะทำให้มีการกระตุ้นให้มีระดับ cortisol
ในกระแสเลื่อดเพิ่มขึ้น  ซึ่งฮอร์ดังกล่าวจะทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ซึ่งทำให้การควบคุมโรคเบาหวานยากขึ้น

นอกจากนั้น  ความเครียดอาจทำให้คนเรามีความต้องการที่จะรับประทาน
อาหารมากเกินความจำเป็น กลายเป็นคนกินจุ, ดื่มจัด, เลิกออกกำลังกาย
และทั้งหมดที่กล่าวมา  ต่างกระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น
แทบทั้งนั้น

โดยสรุป...
ความเครียดถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเราสามารถจัดการกับความ
เครียดที่เกิดขึ้น จะด้วยวิธีว่ายพระ, ปฏิบัติธรรม  หรือการฝึกผ่อนคลายด้วย
วิธีต่างๆ อาจช่วยป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในนกระแสเลือดขึ้นสูงได้

www.johnshopkinshealthalerts.com

โรคเบาหวาน (diabetes) กับ น้ำตาลแอลกอฮอล (sugar alcohol) : Eat any sugar alcohol lately?

Aug. 16,2014

เมื่อท่านไปหาซื้อของในร้านซุพเปอร์มาร์เกต
ท่านอาจพบเห็นกล่องหมากฝรั่ง หรือลูกอมที่มีชื่อว่า ปราศจากน้ำตาล...
(sugar free) มาบ้าง  แต่ตามเป็นจริงแล้วมันไม่ฟรีตามที่บอก  แต่มีส่วน
ประกอบของ “น้ำตาลแอลกอฮอล”  ซึ่งในสารดังกล่าว  ส่วนหนึ่งเป็นสาร
ที่มีโครงสร้างเหมือนน้ำตาล และอีกส่วนคล้ายแอลกอฮอล
แต่ไม่มีฤทธิ์ของแอลกอฮอล

โดยปกติ น้ำตาลแอลกอฮอล (sugar alcohol) ในสารอาหาร  จะมีชื่อลงท้าย
ด้วยอักษร –ol เช่น  sorbitol , mannitol, xyhlitol, และพบใน isomalt จัดเป็น
สารที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืช (fruits &berries) โดยคาร์โบฮัยเดรต
ที่ถูกเปลี่ยนด้วยกระบวนทางเคมี ไป

น้ำตาลแอลกอฮอล  ถูกใช้แทนน้ำตาล (sugar) เพราะให้แคลอรี่ต่ำกว่าน้ำ
ตาลทราย (sugar)โดยนำ้ตาลแอลกอฮอลจะให้พลังงาน 1.5 - 3 calories/gram)
และดูดซึมได้ไม่ดี และอาจมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
ส่วนน้ำตาล (sugar) จะให้พลังวาน 4 calcories /gram

มีอาหารหลายอย่าง ที่ตั้งชื่อว่า “dietetic foods” และมีฉลากกำกับว่า
ปราศจากน้ำตาล (sugar free หรือ no sugar added) นั้น ที่จริงแล้วมันมี
ส่วนประกอบของ “น้ำตาลแอลกอฮอล” (suagr alcohol) แทบทั้งนั้น

ประเด็นที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะ...
มีคนเป็นโรคเบาหวานบางท่านเข้าใจผิด คิดว่า อาหารที่มีฉลากกำกับว่า
“sugar free” หรือ “no sugar added” นั้น หลงเข้าใจผิด  เลยกินอาการดังกล่าว
โดยไม่ยั้ง..จนเป็นเหตุทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น

อาหารที่มี sugar alcohol มีปริมาณของคาร์โบฮัยเดรต และให้คาลอรี่
ซึ่งจำเป็นต้องนำมาพิจาณาในแผนการรับประทานอาหารของท่านที่เป็นโรค
เบาหวานด้วย เพราะ sugar alcohol สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแส
เลือดของท่านตามที่กล่าว

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในทุกครั้งที่ท่านหยิบ...จะซื้ออาหารที่มีชื่อว่า
อาหารที่มีชื่อว่า sugar free ท่านจะต้องตรวจให้แนใจว่า อาการดังกล่าว
มี sugar alcohol หรือไม่ ? มีในปริมาณเท่าใด ?


www.joslin.org

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การรักษาเบาหวานด้วยอินซูลิน : Insulin therapy P.2- continued

Aug. 2014

continued

ความกังวลใจของคนเป็นเบาหวานเกี่ยวกับการรักษาด้วย “อินซูลิน”

 “ฉันรู้สึกประหนึ่งว่า ประสบความล้มเหลว ฉันควรสามารถควบคุมโรค
เบาหวานได้ด้วยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย”

คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ส่วนใหญ่   เรามักพบว่า  คนไข้จะเปลี่ยนแปลง
ไปในทางที่เลวลงอย่างต่อเนื่อง ซึงในตอนแรก  คนไข้สามารถอาจควบคุมโรค
ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้น แต่พอเวลาผ่านไป   ตับอ่อนของเขา
จะค่อยๆ เปล่ี่ยนแปลงไป  โดยผลิตอินซูลินได้น้อยลง

ถ้าการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาล
ลดลงสู่ระดับที่ต้องการ...การรักษาด้วยการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล  หรือใช้ยาฉีด
"อินซูลิน" สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงตามความต้องการได้

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานส่วนใหญ่...เร่ิมต้นอาจเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แต่สุดท้ายจะลงเอยด้วยการใช้ยาลดน้ำตาล  ซึ่งเป็นยาเม้ด  หรืออาจเป็นยาฉีด
อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล  โดยไม่ใช้ความผิดของคนไข้หรือของใคร

โชคดีที่เรามีวิธีรักษาเบาหวานที่มีประสิทธิภาพ ให้ท่านเลือก  ซึ่งนอกจากจะทำ
ให้ระดับน้ำตาลลดลงตามความต้องการแล้ว  ยังสามารถช่วยทำให้ชีวิตทาน
ยืนยาวขึ้นอีกด้วย

 “ถ้าฉันต้องได้รับอินซูลิน...นั้นหมายความว่า ฉันต้องเจ็บตัวแล้วซิ !”

ความจริงมีว่า เมื่อจำเป็นต้องได้รับอินซูลิน...เพื่อรักษาเบาหวาน  มันย่อมหมาย
ความว่า   ตับอ่อนของท่านไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการ
นั้นเอง...และนั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมท่านจึงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีด
อินซูลิน

ในการรักษาโรคเบาหวาน  สิ่งสำคัญ... ไม่ว่าท่านจำเป็นต้องได้รับ “อินซูลิน” 
หรือไม่...  เป้าหมายของการรักษา คือ  เราต้องควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 
ให้เป็นปกติ   เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว  อันเป็นผลมาจาก
โรคเบาหวาน  ซึ่งได้แก่  การทำลายเส้นประสาท, ไต และตา

โดยสรุป...
เราจะเห็นว่าเป้าหมายในการรักษาเบาหวานของท่าน คือการควบคุมโรคเบา
หวาน และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนให้ได้ ดังนั้นท่านจะกลัวการฉีด
ยาอินซูลินไปทำไมละ ?


<<BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การรักษาเบาหวานด้วยอินซูลิน : Insulin therapy P.1

Aug. 13, 2014

บังเอิญได้ยินเสียงของกลุ่มคนที่อยู่นอกวงการ...
มีใจความที่น่าสนใจว่า:

“หมอสมัยนี้ นิยิมฉีดยาอินซุลินมากกว่าสมัยก่อน !”
ทำให้เกิดความรู้สึกว่า น่าจะเขียนเรื่องนี้ให้คนที่เป็นโรคเบาหวานได้
พิจารณา...

ความจริงมีอยู่ว่า...
ในการควบคุมโรคเบาหวานด้วยการใช้  "อินซูลิน" ฉีดตั้งแต่เนิ่นๆ พบ
ว่า อินซุลิน สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันน่าสพึงกลัว
ได้หลายอย่าง   เป็นต้นว่า โรคหัวใจ, โรคไต  แต่ความเข้าใจของคนทั่ว
ไปที่เป็นเบาหวานประเภทจำนวนไม่่น้อย  เมื่อแพทย์บอกว่า  "เขาควรได้
รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน"  จะทำให้บางคนปฏิเสธ...เพราะรู้ส฿กไม่
สบายใจ  และมีความกลังต่อการฉีดยา

อินซูลินถูกมองว่า เป็นยาที่ถูกเก็บไว้เพื่ออาวุธอันสุดท้ายสำหรับการรักษา
โรคเบาหวานประเภทสอง  แต่มาในปัจจุบัน เริ่มมีคำแนะนำให้มีการใช้
อินซูลินในคนไข้โรคเบาหวานเร็วขึ้น...

โดยแพทย์จะสั่งให้ใช้ insulin แก่คนไข้ที่ตรวจพบว่า  ระดับ AbA1c ที่มีค่า
เกิน  10 %   ซึ่งอาจเป็นการใช้อินซูลินในระยะสั้นๆ   เมื่อควบคุมได้แล้ว  จึง
ถูกเปลี่ยนไปเป็นยารับประทาน (oral medication)  หรืออาจใช้ "อินซูลิน"
ตลอดไป  โดยคำนึงถึงสภาพการณ์ของคนไข้เป็นสำคัญ

Next>>  continued

ประเด็นที่น่ารู้ในเรื่อง AbA1c : About HbA1c Levels

Aug. 13,2014

ชายสูงวัยอายุราว ๆ 70 เศษ มาพบแพทย์ด้วยประเด็นที่น่าสนใจ
โดยมีสารสำคัญ ดังนี้:

“ข้าพเจ้ามีอายุ 72 ได้รับการตรวจเลือดพบค่า AbA1c ประมาณ 8.0 % และ
แพทย์ได้บอกว่า...ดีแล้ว ไม่ต้องทำอะไร แต่ในขณะเดียวกัน คนที่มีอายุ
ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย  ซึ่งได้รับการตรวจหาค่า AbA1c มีค่าเกือบต่ำกว่า 8 % 
เล้กน้อย กลับได้รับคำบอกกล่าวว่า  เป็นค่าที่สูงไป ...
ต้องทำให้ลดลงตำกว่า 7%

สิ่งที่ผมได้เห็น  และได้ยินมา ทำให้เกิดความสงสัยว่า  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
และผมควรสิ่งที่ผมต้องการทราบ คือผมควรกินยาเพื่อลดระดับ Ab1c ให้ต่ำ
กว่า 7.0 % หรือไม่ ?

สำหรับคนทั่วไป (Adult) ที่เป็นโรคเบาหวาน...
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะต้องพยายามให้ค่าของ AbA1c ลดต่ำกว่า
7.0 % นั้นคือเป้าหมายของการรักษา

แต่สำหรับคนสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง  หรือเป็นคน
อ่อนแอ ไม่แข็งเรง หรือเป็นผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะระดับน้ำตาลลด
ต่ำเกินไป – hypoglycemia ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น

ในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างเคร่งคัด  (tight control) ด้วย
การลดระดับน้ำตาลให้ต่ำกว่า 7.0 % นั้น ไม่เหมาะสำหรับคนสูงอายุ 
เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์...กลับเป็นโทษ  เป็นต้นว่า  เกิดภาวะระดับน้ำตาล
ลดต่ำเกิน (hypoglycemia)  และที่น่ากลัว  คือมีโอกาสทำให้คนสูงอายุเสีย
ชีวิตได้สูง   (The Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes)

ข้อควรปฏิบัติ (Current advice)
จาก The American Geriatric Society ได้ให้คำชี้ว่า  ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากว่า 65 
ปีขึ้นไป เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ถ้าเขาเป็นคนมีสุขภาพดี เป้าหมาย
ของ AbA1c ควรอยู่ที่ 7.0 – 7.5 %

ถ้าอายุที่เหลือของคนเป็นโรคเบาหวาน (life expectancy) น้อยกว่า 10 และมี
โรคเรื้อรังอย่างอื่น เช่น เป็นโรคหัวใจ  หรือเป็นโรคไต 
เป้าหมายให้อยู่ระหว่าง 7.5 – 8.0 %

สำหรับคนเป็นเบาหวาน ที่อายุขัยสั้น  อยู่ต่อไปไม่กี่ปี  (shorter life expectancy) 
และกำลังได้รับการรักษาโรคเรื้อรังหลายอย่าง (multiple medical conditions)
ค่าของ AbA1c ให้อยู่ระหว่าง 8.0 – 9.0 % ก็พอรับได้

อยางไรก็ตาม...
ในการรักษาโรคเบาหวานของคนสูงอายุที่แข็งแรง อาจได้รับประโยชน์จากการ
ทำให้ระดับ AbA1c ให้ต่ำกว่า 7.0 % เหมือนคนหนุ่มทั้งหลาย

จากคำถามในตอนต้น...
จะเห็นว่า เป้าหมายในการดูแล รักษาคนเป็นเบาหวาน ควรเป็นเรื่องของ
แต่ละคน...ไม่มีสูตรตายตัว


www.johnshopkinshealthalerts.com

สมาชิคในครอบครัว มีส่วนสำคัญในการรักเบาหวานของท่าน (Diabetes: It's a Family Affair?

Aug. 12, 2014

สำหรับท่านที่เป็นโรคเบาหวาน...
นอกจากจะยึดมั่นในเรื่องอาหารการกิน, กินยาตามที่แพทย์สั่ง
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมแล้ว เราจะพบว่า สมาชิค
ในครอบครัวของท่านสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแส
เลือดได้เป็นอย่างดี  หรือสามารถทำลายการรักษาโรคของเขาได้

ผลของการศึกษาที่ลงใน Diabetes Care (Vol. 35, P. 1239)
เป็นการศึกษาในคนไข้โรคเบาหวาน ประเภท 2 จำนวน 45 ราย
ในจำนวนดังกล่าว มี 16 รายตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของ
สมาชิคในครอบครัว  ซึ่งมีความเข้าใจในเรื่องของโรค และความสำคัญ
ของการดูแลรักษาโรคดัวยตัวเอง  ตลอดรวมถึงการสนับสนุน และให้
ความร่วมมือในเรื่องการกินยาลดน้ำตาลในกระแสเลือด

ในคนไข้แต่ละรายจะได้รับการตรวจดระดับ A1c

ผลจากการศึกษา:
ในกลุ่มที่ได้รับความร่วมมือกับสมาชิคในครอบครัวในทุกด้าน  จะทำให้
คนไข้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี
โดยการออกกำลังกาย ,  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร และการออก
กำลังกาย  ตลอดรวมถึงกินยาตามแพทยืสั่ง

ส่วนคนที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิคในครอบครัว จะทำให้คน
เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะคนสูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดได้ดีเท่าที่ควร เป็นต้นว่า ไม่ออกกำลงกาย ไม่
กินยาตามแพทย์สั่ง...

โดยสรุป ..
ในการรักษาโรคเบาหวาน จะเห็นว่า การได้รับความร่วมจากสมาชิคใน
ครอบครัว  จะมีบทบบาทสำคัญต่อการรักษาโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี


www.johnshopkinshealthalerts.com

ท่านสามารถยับยั้งภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes) ไม่ให้เป็น โรคเบาหวานประเภท 2 ได้

Aug. 11, 2014

สำหรับท่านทีเป็นเบาหวานแฝง (prediabetes) ควรทราบ
นั้นคือ ผลจากข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet 
(Volume 397, page 2243) ได้รายงานผลที่น่าสนใจว่า คนที่เป็น
เบาหวานแฝง ซึ่งสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลงสู่ระดับ
ปกติ  ด้วยการบริหารร่างกาย หรือใช้ด้วยการใช้ยาลดระดับน้ำตาลอย่างใด
อย่างหนึ่ง อาจทำให้เขาไม่ต้องเอยด้วยการเป็นโรคเบาหวานได้

ข้อมูลที่ได้ เป็นผลจากการติดตามผลการศึกษาคนที่เป็นเบาหวานแฝง
 (prediabetes) จำนวน 1,990 ราย  ที่เข้าร่วมโครงการณ์  Diabetes Prevention 
Program (DPP) โดยคนที่เข้าร่วมโครงการณ์จะถุูกกำหนดให้ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม (lifestyle intervention)  หรือได้รับยา Metformin หรือ placebo 
เป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี

ผลจากการศึกษา และติดตามผลเป็นเวลาเกือบ 6 ปี ผู้ที่เข้าร่วมโครงการณ์
ยังคงเป็นเบาหวานแฝง (Iprediabetes) หรือเปลี่ยนเป็นคนที่มีระดับน้ำตาล
ในเลือดเป็นปกติ

ผลจากการศึกษาพบว่า...การที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงสู่ระดับปกติได้
มากเท่าใด ความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวานยิ่งน้อยลงเท่านั้น

โดยสรุป ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติตนแบบใด (lifelstyle intervention)  หรือรับประทานยา
Metformin) ต่างสามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลง และป้องกันไม่ให้เกิด
เป็นเบาหวานได้... ขอพียงให้ท่านทำเท่านั้น

www.johnshopkinshealthalerts.com

สิ่งที่คนเป็นโรคเบาหวานมักจะมองข้าม: Diabetes Pain

Aug. 11,2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2...
เราพบว่า  ประมาณครึ่งหนึ่งจะลงเอยด้วยอาการปวดประสาทเรื้อรัง 
(chronic Pain) หรืออาการปวดปวดอย่างเฉียบพลัน โดยเป็นผลจากการ
ศึกษาในคนไข้โรคเบาหวาน มีอายุระหว่าง 30 – 75  จำนวน 13,000 ราย

ในการรักษาคนไข้กลุ่มดังกล่าว   ส่วนใหญ่จะโฟกัสไปยังการควบคุม
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด,  ควบคุมระดับไขมันคลอเลสเตอรอล  
และความดันโลหิตสูง  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นต้นว่า 
โรคหัวใจ, โรคไตวาย, โรคตาบอด, และป้องกันไม่ให้คนไข้ถูกตัดขา

แต่เนื่องจากมักมองข้ามความเจ็บปวด  หรือไม่ให้การดูแลเท่าที่ควร
เป็นเหตุให้คนไข้เกิดมีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง...เป็นอาการปวดเรื้อรัง
พร้อมกับอาการอื่น ๆ  ปรากฏขึ้นในเวลาต่อมา

ผลจากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเบาหวาน อายุมากกว่า 60 มีแนว
โน้มที่จะทรมานจากความเจ็บปวด (diabetic neuropathy) โดยที่อาการ
ปวดจะมีลักษณะ...แสบร้อน...ชา...ปวดเหมือนถูกเข็มทิ่มตำที่บริเวณมือ,
เท้า หรือขาทั้งสองข้าง นอกจากนั้น เขายังมีอาการอย่างอื่นอีก  เป็นต้น
ว่า  มีปัญหาในด้านการนอนหลับ, เคลื่อนไหวลำบาก, หายใจหอบ, 
ท้องผูก และคลื่นไส้...

จากความจริงที่ปรากฏ แทนที่จะให้การรักษาโรคเบาหวานตามมาตรฐาน
เพียงด้านเดียว  เราควรพิจารณาเพิ่มการรักษาคนเป็นโรคเบาหวาน  ด้วย
การบรรเทาอาการอย่างอื่น  เช่น อาการปวด  รวมถึงการทำให้คุณภาพ
ชีวิตดีขึ้น โดยไม่ได้หวังให้คนไข้หายจากโรค

การรักษาด้วยวิธีบรรเทาอาการ เป็นเรื่องที่รู้กันดีในการรักษาคนไข้
ที่เป็นมะเร็งในช่วงสุดท้ายของชีวิต   แม้ว่าอาการของโรคเบาหวาน
ในช่วงสุดท้ายของชวิตจะทำให้อาการเลวลงก็ตาม  นักวิจับต่างแนะนำ
วิธีการเพื่อบรรเทาอาการให้แก่คนไข้ได้ตลอดช่วงที่มีชีวิต
โดยไม่ต้องคำนึงว่า คนไข้จะมีชีวิตยืนยาวนานแค่ไหน

สิ่งที่ควรทำ...
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน สิ่งเป้าหมายแรกทีท่านควรกระทำ คือควบคุมโรค
ของท่านเอง  แต่ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะละเลยปัญหาอย่างอื่น 
ยกตัวอย่าง  หากท่านมีปัญหาทางกาย หรือปัญหาทางด้าน
จิตใจเกิดขึ้น ท่านจะต้องได้รับการรักษาพร้อมกันไป

อย่าลืม...
การใช้ยาบรรเทาอาการปวด, ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง  เพื่อรักษาอาการซึม
เศร้า  หากกระทำได้แต่เนิ่น ๆ ย่อมสามารถป้องกันไม่ให้คนไข้ทรมานจาก
โรคโดยไม่จำเป็นได้


/www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/diabetes/
Diabetes-Pain-Management_6518-1.html

เป้าหมายการลดความดันในคนที่เป็นโรคเบาหวาน : Revised Biabetes Guidelines

Aug. 11, 2014

The American Diabetes Association (ADA) ได้ยกเลิกคำแนะ
นำเป้าหมายการลดความดันเลือดสูงในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน...

ในอดิต   ถ้าคนเป็นเป็นโรคเบาหวาน และมีความดันเลือดสูง จะต้องลด
ระดับความดันให้ต่ำกว่า 130/80 mm.Hg  
แตาสำหีบคำแนะนำใหม่มีว่า  ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน  ให้กลดระดับ
ความดันเลือดให้ต่ำกว่า 140/80 mm.Hg ก็เป็นทียอมรับกัน  โดยไม่
จำเป็นต้องลดให้ต่ำกว่า 130.80 อีกต่อไป

ผลจากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้   แสดงให้เห็นว่า ประโยชน์อันพึงได้จาก
การลดความดันให้ต่ำกว่า 130/80mmHg ไม่ได้เหนือกว่าผลของการลด
ความดันให้ต่ำกว่า 140/80 mmHg เลย

นอกจากนั้น  ADA ยังแนะต่อไปอีกว่า  คนไข้อาจยุติการใ้ช้ยาลดความดัน
เพื่อหลีกเลียงไม่ให้เกิดผลอันข้างเคียงได้อีกด้วย  แต่มีข้อแม้ว่า  
ความดันตัวบน (systolic) จะต้องต่ำกว่า 140 mm Hg
(ตัวล่าง diastolic ต้องตำ่กว่า 80 mm Hg)


อ้างอิง...

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/diabetes/
Revised-Diabetes-Guidelines_6548-1.html

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรคเบาหวาน กับมะเร็งต่อมลูกหมาก (Diabetes and aggressive prostate Cancer)

Aug. 11, 2014

สำหรับชายที่เป็นเบาหวาน...
สิ่งที่ท่านควรทราบเอาไว้ คือ การเป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสียงต่อ
การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดลุกลามอย่างลุกลามอย่างรวดเร็ว  โดย
มีผลจากผลของการศึกษาได้รายงานเอาไว้ว่า  การเป็นโรคเบาหวาน
มีความสัมพัน์ธ์สูงต่อต่อการเพิ่มดีกรีของการลุกลามของมะเร็งต่อลูหมาก
 (Gleason score 8 – 10 )

และจากการวิจัยใหม่ๆ ...ยังชีให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานประเภทใด
ต่างเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ที่มีการลุก
ลามได้สูงแทบทั้งนั้น

จากรายงานใน International Journal of Radiation Oncology Biology
Physics (Volumes 82, page 463) นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก
คนไข้ชายจำนวน 15,330 ราย ซึ่งต่างได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อม
ลูกหมายในปี 1991 – 2010 พบว่า ในคนที่เป็นเบาหวานทั้ประเภท 1 & 2 
ต่างมี Gleason score ระหว่าง 8 – 10 เสียเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งหมายความว่า พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อลูกหมากชนิด
ที่มีการลุกลามสูง...

มีบางรายได้รับการตรวจต่อมลูกหมากที่ถูกตัดออก (radical prostatectomy) 
พบว่า Geason score สูงกว่าในตอนที่ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (biopsy) ไปตรวจ
และจากความจริงดังกล่าว เขาจึงเสนอแนะว่า ในคนที่เป็นเบาหวาน
และมี Gleason 7 หรือต่ำกว่า ควรได้รัยบการตรวจที่ละเอียดขึ้น
เพื่อตรวจสอบดูว่า มะเร็งต่อลูกหมากอาจเป็นชนิดที่มีการลุกลามได้สูงซ่อน
ตัวอยู่อยู่ภายในต่อมลูกหมากก็อาจเป็นได้


www.johnshopkinshealthalert.com

ประโยชน์อันเกิดจากการกินผลไม้ และผักให้มาก Great Reason to Eat More Fruits and Vegetables

Aug. 11, 2014

มีผลของการศึกษา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes Care
(Volume 35, page 1293) มีใจความที่น่าสนใจว่า ใครก็ตามที่รับประทาน
ผลไม้ และผักในแต่ละวันในปริมาณมากๆ ตลอดรวมไปอาหารที่ทำจากผัก 
และผลไม้ตางชนิดมากๆ อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภท
สองได้มากกว่าคนที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารประเภทดังกล่าว

ผลที่ได้เสนอไปนั้น ได้จากการศึกษาในคนจำนวน 3,704 คนที่เข้า
ร่วมในโครงการ  (epidemiological study) ในกลุ่มดังกล่าว  มีผู้เข้าร่วมใน
การศึกษาจำนวน 653 เกิดเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง โดยที่ทุก
คนได้รับประทานอาหารตามกำหนดทุกวันเป็นเวลามากกว่า 11 ปี

ผลปรากฏว่า...
คนที่รับประทานอาหารที่มีปริมาณผลไม้ และผักในปริมาณสูง
ตั้งแต่เริ่มตน จะมีแนวโน้มที่จะเกิดเบาหวานประเภทสองได้น้อยกว่า
พวกที่กินผักและผลไม้ในปริมาณน้อย  โดยพบได้ถึง 21 %

ยิ่งมีการกินผัก และผลไม้ต่างชนิด ยิ่งมากชนิดยิ่งลดความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคเบาหวาน

โดยสรุป...
การกินผัก และผลไม้ต่าง ๆ มากเท่าใด ยิ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคเบาหวานประเภทสองได้เพิ่มขึ้น แต่เรายังต้องศึกษาเพื่อ
หาข้อมูลให้มากกว่านี้

อย่างไรก็ตาม การกินผัก และผลไม้ไม่มีผลเสียแต่อย่างใด
สิ่งที่ท่านควรจำเอาไว้ คือ ถ้าท่านกินผัก และผลไม้ในปริมาณมากขึ้น
อย่าลืมลดปริมาณของพวกคาร์โบอับเดรตลงก็แล้วกัน


www.johnshopkinshealthalerts.com

สิ่งที่คนเป็นเบาหวานต้องระวังให้มาก คือภาวะแทรกซ้อน P. 2 (Diabetes complications)

Aug. 11, 2014

Continued

ในระหว่างที่เราได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด...
ในแต่ละช่วงที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นสูง (hyperglycemia)
มันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย  ด้วยการทำให้อวัยวะบางอย่างถูก
ทำลายได้เพียงเล็กน้อย (minor damage)  แต่เมื่อเวลาผ่านไป เป็นเวลานาน 
มันสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงในระยะยาวได้  เช่น 
มีการทำลายเส้นเลือดใหญ่  (macrovascular disease) ของอวัยวะที่สำคัญ
ของหัวใจ และสมอง  และของขาถูกทำลาย

นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า เส้นเลือดขนาดไมโคร (microvascular) ก็ถูกทำ
ลายด้วย เป็นต้นว่า เส้นเลือดแดงของอวัยวะไต , ตา,  และเส้นเลือดของเส้น
ประสาท ทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย (neuropathy)  รวมไปถึงการทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง, เหงือก, ฟัน และเท้าทั้งสองได้อีกด้วย

ภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเบาหวานประเภท 1 & 2
โดยที่ปรากฏเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานานหลายปี  หรือหลายสิบปี
แต่โชคยังดีที่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถป้องกันได้ โดยตัวของ
คนไข้เอง

เรามีหลักฐานยืนยันว่า การควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดี  ตลอด
รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น เช่น ความดันโลหิตสูง,   และไขมัน LDL cholesterol
ในเลือดสูง สามารถป้องกัน หรือชะลอไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
ของคนเป็นโรคเบาหวานได้   และยังอาจลดความรุนแรงของภาวะวแทรกซ้อน
ที่ได้เกิดขึ้นแล้วอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ของให้เข้าใจว่า...
ถึงท่านสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดี  แต่ไม่สามารถทำให้
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแล้วหายได้   อย่างดีก็ทำได้แค่ลดความรุนแรงลง
เท่านั้น   ดังนั้น  มันจึงเป็นหน้าที่ของท่านต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ให้ดี ตั้งแต่แรก  และรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียง  
หรือให้อยู่ในระดับปกติตลอดไป


<< BACK


www.johnshopkinshealthalerts.com

สิ่งที่คนเป็นเบาหวานจะต้องระมัดระวัง คือ ภาวะแทรกซ้อน (Diabetic complications)

Aug. 11, 2014

เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน...
ท่านจะได้รับคำแนะนำให้ระมัดระวังในเรื่องอาหารการกิน, ให้ออก
กำลังกายอย่างสมำ่เสมอ, รับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และ
ไปพบแพทย์ตามเวลาที่กำหนดนัดเป็นระยะ ๆ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านจะต้อง
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างเคร่งคัด

ในระหว่างการรักษาตามที่กล่าวมา ท่านอาจรู้สึกสบายดี
แต่อย่าได้ชะล่าใจเป็นอันขาดว่า โรคของตัวเองหายดีแล้ว ไม่จำ
เป็นต้องไปพบแพทย์ บางคนเลิกกินยา หรือบางรายหาซื้อยากินเอง โดย
ไม่ต้องไปพบแพทย์ก็ได้

ในการนัดพบแพทย์แต่ละครั้ง...
แพทย์จะมีการตรวจเช็คผลของการรักษาว่าเป็นอย่างไร  มีปํญหาอะไรหรือไม่ ?
มีคนไข้จำนวนหนึ่งจำเป็นต้องมีการปรับแผนการรักษา  อาจมีการเปลี่ยนยา หรือ
เพิ่มปริมาณของยาตามผลของการรักษา  โดยมีเป้าหมายในการรักษาสองประการ
นั้นคือ  ควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้  และสอง ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระ
ยะยาวจากโรคเบาหวาน

ในการควบคุมระดับน้ำตางในเลือด...
เมื่อใดก็ตามที่ระดับน้ำในเลือดเพิ่มสูงกว่าระดับปกติ (126 mg/dL)
ย่อมทำให้อวัยะหลายอย่างภายในร่างกายถูกกระทำลายโดดยน้ำตาล
ที่เพิ่มมากกว่าปกติได้

นั้นคือสิ่งที่คนเป็นโรคเบาหวานจะต้องเข้าใจ และปฏิบัติให้ได้

NEXT >> continued

ความสำคัญของ Viatmin D ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน P.2 : continued

Aug. 14, 2014

Vitamin D...
นอกจากมีส่วนสัมพันธ์กับกระดุูกแล้ว
เรายังพบอีกว่า  Vitamin D ยังมีบทบาทในการควบคุมระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดได้  ด้วยการเพิ่มผลผลิตของ เบต้าเซลล์  ในตับอ่อน
ให้สร้างอินซูลินมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น...
เรายังพบว่า  คนเป็นเบาหวานประเภท 2 ซึ่งตกอยู่ในภาวะขาดไวตามิน D
จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ  ด้วยการทำให้หัวใจถุกทำลายจาก
การขาดเลือด (heart attack) และสมองถูกทำลาย (stroke) ได้ถึงเท่าตัว

โดยมีรายงาน  ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ซึ่งได้ทำการศึกษาใน
คนที่เป็นเบาหวาน, มีความดันสูง และอ้วน (จำนวน 76 ราย) กล่าวว่า
คนที่ตกอยู่ในภาวะขาดไวตามิน D  จะมีคราบ (plague) ของไขมันเกาะ
ตัวที่ผนังของเส้นเลือดเพิ่มสูงขึ้น

จากการมีคราบไขมันดังกล่าว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด heart attack 
และ stroke เพิ่มถึงหนึ่งเท่าตัว  เมื่อเปรียบเทียบกับคนทีเป็นเบาหวาน 
ที่ไม่ขาดไวตามิน D

โดยสรุป..
ระดับของ vitamin D ที่มีอยู่ในร่างกายมีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน
อย่างแน่นอน นอกจากได้สัมผัสแสงแดด การได้รับไวตามิน D ทางอาหาร
ในปริมาณที่เพียงพอ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีโดยไม่ต้องสงสัย

<< BACK

อ้างอิง:

www.johnshopkinshealthalerts.com

ความสำคัญของ Vitamin D ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน P.1

Aug. 14, 2014

เป็นความจริงหรือไม่...
ที่มีการกล่าวว่า   vitamin D มีความสำคัญต่อการควบคุมโรคได้

ในคนเป็นโรคเบาหวาน...
มีการค้นพบว่า  Vitamin D มีความสัมพันธ์์ต่อร่างกาย  โดยเฉพาะคนที่เป็นโรค
เบาหวานประเภท 2 ปรากฏว่าพวกเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาด
สารไวตามิน D (vitamin D deficiency)ได้มากขึ้น

จากผลของการศึกษา...
มีผู้เชี่ยวชาญบางนายยืนยันว่า การรักษาภาวะที่ร่างกายขาดไวตามิน ดี   น่าจะ
เป็นวิธีที่ง่ายสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
(Diabetic complication) ได้

คำถามมีว่า...
Vitamin D มันช่วยได้อย่างไร...?

บทบาทของ vitamin D ต่อร่างกาย...
Vitamin D จะออกฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายดูดซึม calcium ได้ดีขึ้น และผลที่ตามมา 
จะทำให้กระดูกแข็งขึ้น  และทำให้สุขภาพกระดูก และฟันอยู่ในสภาพที่ดี

Vitamin D เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก และลดความเสี่ยงต่อการเกิด
ระดูกแตกหัก  โดยเฉพาะกระดูกของข้อสะโพก  ตลอดรวมถึงกระดูกส่วนอื่น ๆ
ในสตรีหลังหมดประจำเดือน

นอกจากนั้น Vitamin D ยังมีบทบาทในการเสริมสร้างให้ระบบภูมิคุ้มกันมีสภาพ
ที่ดีขึ้นได้อีกด้วย


NEXT >> continued

เมื่อท่านต้องออกกำลังกาย: Aerobic ...เพียงอย่างเดียวพอใหม ? P2

Aug.11,2014

Continued

ผลจากการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้...
มีการเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายระหว่าง Aerobic และ Resistance
Exercise ในคนเป็นโรคเบาหวนประเภทสอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก
สองหน่วยงาน (American Diabetes Association & American College of 
Sports Medicine)  พบว่า คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง ควรออกกำลัง
กายทั้งสองแบบร  ย่อมดีกว่าการออกกำลังกายตามรูปแบบ Aerobic.. เพียง
อย่างเดียว

ผลจากการศึกษา...
นักวิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างจากคนไข้เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 
จำนวน 40 คน โดยให้บริหารร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง Aerobic
และ Resistance exercise ซึ่งคนไข้ทุกรายได้รับการประเมินระดับ A1c,
Insulin sensitivity, glucose telerance, cardio-respiratory fitness,
Strength และ fat composition ที่กระจายทั่วกายทั้งก่อนก่อน และหลัง
การปฏิบัติการตามโปรกแกรมที่กำหนดให้

ผลจากการปฏิบัติตามโปรแกรม...
ทั้งสองกลุ่ม จะทำให้ระดับ A1c ความไวต่อสารอินซูลินดีขึ้น พร้อมกับ
ลดปริมาณไขมันในบริเวรหน้าท้องดีขึ้น:

 Aerobic group จะทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจน (oxygen consumption)
ได้ดีขึ้น

 Resistance group (การบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง) จะทำให้กล้าม
เนื้อแข็งแรงได้มากขึ้น

จากผลของการศึกษา  เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด  เราควรออกกำลังกาย
สองรูปแบบร่วมกัน  นั้นคือการบริหารตามแบบ aerobic และ resistance 
exercise

ตามปกติ เราควรออกกำลังกายแบบ “แอโรบิค” 150 นาที ต่อหนึ่งอาทิตย์ 
และอย่างน้อย ๆ ต้องมีการบริหารกล้ามเนื้อสองครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์
โดยจะเริ่มออกกำลังกายแบบใหนก่อน หรือหลังย่อมขึ้นกับตัวของท่าน
เป็นผู้ตัดสินใจ

<< BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts

เมื่อท่านต้องออกกำลังกาย: Aerobic ...เพียงอย่างเดียวพอใหม ?

Aug.11,2014

สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงของการบริหารร่างกาย
ส่วนใหญ่เราจะทราบดีว่า การบริหารตามรูปแบบแอโรบิคสามารถ
ช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของคนเป็นเบาหวานปรแภทสอง
ดีขึ้น  
  
คำถามมีว่า...
การบริหารเพื่อการบริหารกล้ามเนื้อ (resistance Exercise) จะมีประโยชน์
อย่างไร ?


ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
การออกกำลังกายย่อมได้รับประโยชน์ โดยไม่มีผลเสีย  โดยเราจะพบว่า 
หากเขาได้เริ่มต้นการออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ระดับ A1c 
(เป็นการตรวจเพื่อประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในช่วงเวลา 2 – 3 
เดือนที่ผ่านมา) ลดลง 0.3 – 0.6 % โดยเฉลี่ย

นอกจากนั้น...
การออกกำลังกายยังทำให้ทำให้เกิดผลดีหลายอย่าง เป็นต้นว่า การเต้น
ของหัวใจลดล  และความดันเลือดลดลง, รวมถึงลดระดับของไขมัน 
Cholesterol และ triglycerides 

NEXT >> continued

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านมีน้ำหนักเกิน : Keep Moving

Aug. 6, 2014

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า  กิฬาเป็นยาวิเศษ...
การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการป้องกัน
และจัดการกับการรักษาโรคเบาหวาน แต่ผลจากการวิจัยพบว่า การ
เคลื่อนไหวอยู่เป็นประจำ  สามารถช่วยได้เช่นกัน 
                                                                       
นักวิจัยจาก British researchers ในปี 2013 ได้ทำการศึกษาในคน
ทั้งเพศชาย & หญิงจำนวน 878 ราย ซึ่งต่างเป็นคนที่มีน้ำหนักเกินทุกคน 
พร้อมกับมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานประเพทสอง 
โดยได้สรวมใส่เครื่องวัดระดับการใช้แรง (level of activity) และวัดเวลา
ที่นั่งพัก (sitting), หรือนอน (lying down) หรือยืน (standing) ตลอดช่วง
1 อาทิตย์

ในจำนวนคนที่ได้รับการตรวจ   เป็นผู้ชายสูงวัยอายุโดยเฉลี่ย  64 
มีจำนวน 725 คน เป็นหญิงอายุเฉลี่ย 33 ปี จำนวน 153 ราย

เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ได้ทำการตรวจเลือด  และตรวจอย่างอื่นๆ ของคน
เหล่านี้ ปรากฏว่า...ในกลุ่มคนที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว หรือมีการเคลื่อน
ไหวน้อยพบว่า ผลของการตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังการทำ 
oral glucose Tolerance test พบว่ามีระดับสูง

นอกจากนั้น ยังพบอีกว่า ระดับ triglyceride ในกระแสเลือดสูงก็มีระดับสูง 
 และไขมัน HDL cholesterol มีระดับต่ำ

ผลจากการศึกษา...
การออกกำลังกายในระดับพอประมาณ (moderate-intensity activity)
เช่น การเดิน (walking) จะเป็นการดีสำหรับคนส่วนใหญ่ และได้ประ
โยชน์ในด้านเมทตาบอลิสีมต่างๆ  ของร่างกาย
และเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย...


www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เลือดจาง (Anemia) P. 10 : Prevention


Aug. 8,2014

เพื่อให้ร่างกายของเราอยู่ในสภาพที่แข็งแรง และสมบูรณ์ ปราศจากโรค
การป้องกันย่อมดีกว่า   ซึ่งเหนือกว่าการรักษาอย่างไม่ต้องสงสัย

สำหรับโรคเลือดจาง...
ปรากฏว่า มีโรคเลือดจางหลายชนิดไม่สามารถป้องกันได้
อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคโลหิตจางได้หลายชนิด
เป็นต้นว่า โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และจากการขาดไวตามิน  และ
โรคเรื้อรัง...ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสาร
อาหารที่เป็นประโยชน์  และมีแร่ธาตุ และไวตามินตามที่ต้องารได้  
ตลอดรวมไปถึงการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

ภาวะโลหิตจางที่เราสามารถป้องกันได้ ได้แก่โรคโลหิตจางที่เกิดจากการ
ขาดธาตุที่จำเป็น (ธาตุเหล้ก)  และไวตามิน  เช่น:

 ธาตุเหล็ก (iron).
อาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อวัว และเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ, ถั่ว, ธัญพิชที่
เติมธาติเหล็ก, ผักใบเขียว  เช่น กระหล่ำปี (Kale) และ ผักบุ้ง...

 โฟเลท (Folate).
ธาตุอาหารชนิดนี้ รวมถึงสารสังเคราะห์ (folic acid) สามารถพบได้ในผลไม้
ตระกูลส้ม (citrus), กล้วย (bananas), ผักประเภทสีเขียว (dark green leafy 
vegetables), พืชทีมีฝัก (legumes), ธัญพืช...

 Vitamin B-12.
ธาตุอาหารชนิดนี้สามารถหาได้จากธรรมชาติ เช่น ในเนื้อสัตว์ (meat),
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (dairy products) เป็นต้น

 Vitamin C.
อาหารที่มี vitamin C ได้แก่ผลไม่ประเภทส้ม (citrus fruits), แตงโม  และเบอรรี่... 
ไวตามิน C จะช่วยให้มีการดูดซึมธาตเหล้กได้เพิ่มขึ้น

ถ้าปรากฏว่า มีสมาชิคในครอบครัวของท่านเป็นโรคโลหิตจางจากพันธุกรรม 
เช่น โรค sickle cell anemia หรือพวก thalassemia ท่านควรปรึกษาแพทย์
ถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของท่าน  ตลอดรวมไปถึงการถ่ายทอดพันธุกรรม
ไปยังบุตรหลานของท่านด้วย

<<BACK

อ้างอิง...


• www.mayoclinic.org
• www.webmd.com
• www.clarku.edu

เลือดจาง (Anemia) P.9: Treatments and drugs

Aug.7,2014

ในการรักษาคนที่เป็นโรคเลือดจาง ย่อมขึ้นกับต้นเหตุ
ซึ่งพอที่บอกกล่าวพอเป็นสังเขปได้ว่า เลือดจางแต่ละชนิดเขารักษากัน
อย่างไร :

 โรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia).
การรักษาภาวะเลือดจางชนิดนี้  สามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยน
อาหาร  พร้อมกับเสริมธาตุเหล็ก

หากต้นเหตุของการขาดเหล็ก เป็นการเสียเลือด (นอกเหนือจากการ
เป็นประจำเดือน) สิ่งที่แพทย์จะต้องกระทำ คือหาตำแหน่งที่ทำให้
เกิดมีเลือดออกให้ได้ พร้อมกับหยุดมันซะ...ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัด

 โลหิตจางที่เกิดจากการขาดไวตามิน.(Vitamin defiiciency)
ในคนที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาด folic acid และ vitaminC จะถูก
รักษาด้วยการรับประทานอาหารเสริมที่มีสารดังกล่าว
และในกรณีที่ท่านมีปัญหาด้านการดูดซึมไวตามิน B12 จากลำไส้ ท่าน
อาจได้รับสารดังกล่าวด้วยการฉีดแทน...

 โลหิตจางจากการเป็นโรคเรื้อรัง. (chronic diseases)
เราไม่มีวิธีรักษาภาวะเลือดจางชนิดนี้  แต่แพทย์จะโฟกัสการรักษาไปที่
โรคเรื้อรังแทน ในกรณีเลือดจางที่มีความรุนแรง อาจแก้ไขด้วยการให้
เลือด (blood transfusion) หรืออาจฉีดสารที่ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้าง
เม็ดเลือดแดง  ซึ่งได้แก่ synthetic erythropoietin...(เป็นฮอร์โมนผลิต
โดยไต)

 โลหิตจางจากไขกระดูกฟ่อ.(Aplastic anemia)
การรักษาคนไข้ที่เป็นโรคชนิดนี้ อาจจำเป็นต้องให้เลือด (blood transfusions)
เพื่อเป็นการเพิ่มระดับเม็ดเลือดแดง และท่านอาจจำเป็นต้องได้รับการ
ปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplant) ซึ่งกระทำในรายที่ไข
กระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ได้

 โลหิตจางทีเกิดรวมกับโรคไขกระดูก. (Bone marrow disease)
การรักษาคนเป็นโรคชนิดนี้สามารถกระทำได้ด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่การ
รักษาด้วยเคมีบำบัด จนกระทั้งถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก...

 โรคเลือดจางจากเม็ดเลือดแดงแตกทำลาย (hemolytic anemia)
ในการรักษาโลหิตจางชนิดนี้ ขึ้นกับต้นเหตุที่ทำให้เกิด เป็นต้นว่าหลีก
เลี่ยงยาที่สังสัยว่าเป็นต้นเหตุ, รักษาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับคนไข้  ร่วมกับ
การใช้ยายับยั้งการทำงานของระบบภูมิต้านทาน ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุทำ
ให้เกิดเม้ดเลือดแดงแตก

ในกรณ๊ที่มีความรุนแรง...  อาจมีการให้เลือด (blood transfusion) หรือ
อาจมีการทำให้เลือดสอาดด้วยวิธีการกรองเอาสารที่ทำลายเม็ดเลือดแดง
ออกไป เรียกวิธีการดังกล่าวว่า plasmapheresis  และ
ในบางราย อาจมีการผ่าตัดเอาม้ามออก (spleenectomy

 โลหิตจางจาก Siclkle cell anemia.
การรักษาคนไข้ทีเป็นโรคชนิดนี้ อาจให้ออกซิเจน, ให้ยาลดอาการปวด
รวมไปถึงการให้น้ำเกลือเข้าเส้นเพื่อลดอาการปวด  และป้องกันไม่ให้มี
ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

ในบางราย แพทย์อาจแนะนำด้วยการให้เลือด (blood transfusion) ,
ให้อาหารเสริมที่มี folic acid รวมไปถึงการให้ยาปฏิชีวนะ
การปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplant) อาจจำเป็นในคน
ไข้บางราย   รวมไปถึงการให้ยารักษามะเร็ง ชื่อ hydroxyurea (Droxia,
Hydrea) ซึ่งถูกใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรค sickle cell anemia

 โลหิตจางจากโรคเลือดทาลาสซีเมีย (Thalassemia).
คนเป็นโรคโลหิตจางชนิดนี้ อาจได้รับการรักษาด้วยการให้ลือด (blood
Transfusions), folic acid, อาจทำการตัดม้ามออกทิ้ง รวมไปถึงการ
ปลูกถ่ายไขกระดุูก (bone marrow transplant) 
หรือให้ยารักษามะเร็ง (cancer drug.)


<< BACK    NEXT >> P10 : Prevention

เลือดจาง (Anemia) P 8: Tests and diagnosis

Aug.7,2014

ในการวินิจฉัยภาวะเลือดจาง...
 แพทย์ที่รับผิดชอบต่อตัวท่านอาจแนะนำให้ท่านทำการตรวจอะไรบาง
อย่าง  เช่น

 ทำการตรวจร่างกาย (Physcical exams):
ในระหว่างการตรวจร่างกาย  แพทย์อาจฟังการเต้นของหัวใจ , ฟังการ
หายใจของท่าน นอกจากนั้น แพทย์จะทำการคลำท้องของท่าน
เพื่อตรวจดูขนาดของตับ (liver)  และขนาดของม้าม (spleen) ของท่าน

 การตรวจเลือด CBC (complete blood count):
เป็นการนับปริมาณของเม็ดเลือด  ซึ่งสามารถบอกได้ว่า  ระดับเม็ดเลือด
แดงต่ำหรือไม่  ในกรณีที่สงส้ยว่าเป็นโรคเลือดจาง  แพทย์จะพุ่งความ
สนใจไปที่ระดับของเม็ดเลือดแดงในเลือด, และฮีโมโกลบิน 

ในผู้ใหญ่ที่เป็นปกติ ค่าของ hematocrit จะมีค่าแตกต่างกันตามสถาบัน
โดยมีค่าระหว่าง 38.8 ถึง 50 % สำหรับชาย   และหญิงจะมีค่าระหว่าง 
34.9 ถึง 44.5 %

ค่าของ hemoglobin ปกติจะมีค่าระหว่าง 13.5 ถึง 17.5 gram/dL
ในผู้ชาย และจะมีค่าระหว่าง 12 – 15.5 grams/dL สำหรับหญิง

 การตรวจดูขนาด และรูปร่างของเม็ดเลือดแดง (determine the
Size and shape of red blood cells) :

เม็ดเลือดของท่านอาจมีขนาด และรูปร่างผิดปกติ  และแม้กระทั้งสีของ
มันอาจจางลง    

จากการตรวจดูรายละเอียดดังกล่าว  สามารถช่วยวินิจฉัยสาเหตุของ
เลือดจางได้  ยกตัวอย่าง โรคเลือดจางชนิด iron-deficiency จะพบ
ขนาดของเม็ดเลือดแดงจะมีขนาดเล็ก และสีจางกว่าปกติ 

ส่วนเลือดจากที่เกิดจากการขาดไวตามิน  จะพบเม็ดเลือดแดงมีขนาด
ใหญ่ และมีปริมาณน้อยกว่าปกติ

 การตรวจอย่างอื่น ๆ:
ถ้าท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลือดจาง  แพทย์อาจทำการตรวจเลือด
เพิมเติม  เพื่อพิจารณาหาสาเหตุที่อยู่ซ่อนตัวอยู่เบื้องหลัง เช่น การขาด
ธาตเหล็ก (iron-deficiency)  ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง จาก
แผลในกระเพาะอาหาร, เลือดออกจากติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่, มะเร็งของ
ลำไส้ใหญ่, เนื้องอก หรือเป็นโรคไตวาย   ซึ่งแพทย์อาจทำการตรวจหา
สาเหตเหล่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

นอกเหนือไปจากนี้  แพทย์อาจทำการตรวจไขกระดูก เพื่อวินิจภาวะ
เลือดจางว่าเป็นชนิดใด

<< BACK    NEXT >> P.9: Treatments and drugs

เลือดจาง (Anemia) P 7 : Complications

Aug.7,2014

เมื่อเป็นโรคเลือดจางขึ้นมา...
หากเขา/เธอไม่ได้รับการรักษา  สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 
 เช่น:

 เกิดอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง.
เมื่อเกิดโลหิตจางถึงขั้นรุนแรงมากพอ อาจทำให้ท่านรู้สึกเหนื่อยเพลีย
จนไม่สามาถทำงานประจำวันได้เสร็จ  ท่านอาจรู้สึกหมดแรง ไม่สามารถ
ทำงาน หรือเล่นกิฬาได้

 เกิดปัญหาขึ้นกับหัวใจ.
โรคเลือดจางสามารถนำไปสู่ภาวะของหัวใจเต้นเร็ว หรือการเต้นผิดปกติ
ของหัวใจ (arrhythmia) ได้  โดยหัวใจของท่านจะต้องทำงานหนัก  ด้วยการ
ปั้มเลือดให้มากขึ้น เพื่อชดเชยออกซิเจนที่ขาดไปจากการมีเม็ดเลือดแดงต่ำ  
และสามารถนำไปสู่การการภาวะหัวใจล้มเหลวได้

 ตาย.
โลหิตจางจากความผิดปติทางพันธุกรรม เช่น sickel cell anemia
อาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ในรายเสียเลือดในปริมาณมากๆ อย่างฉับพลัน หากช่วยเหลือไม่ทัน อาจทำ
ให้คนไข้เสียชีวิตได้

<<BACK    NEXT > > P.8: Tests and diagnosis

เลือดจาง (Anemia) : P.6 : Risk factors


Aug. 7,2014

การเกิดโรคโลหิตจาง...
ปรากฏว่า  มีปัจจัยหลายอย่างสามารถทำให้คนเรามีความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคเลือดจางได้ เป็นต้นว่า:

 อาหารที่ขาดไวตามินบางตัว:
การรับประทานอาหารที่ขาดสารที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง 
เช่น ธาตุเหล็ก. ไวตามิน B12, folate จะทำให้คนเรามีความเสี่ยงต่อการเกิด
โรคเลือดจางได้

 โรคลำไส้:
มีโรคลำไส้หลายอย่าง  มีผลกระทบกับการดูดซึมธาตุอาหาร จนทำให้คน
เรามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลือดจางได้ เช่น โรค Crohn’s และโรค Celiac

 การมีประจำเดือน:
โดยทั่วไป สตรีเมื่อถึงเวลามีประจำเดือน  ต่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เลือดจางได้มากกว่าผู้ชาย  ทั้งนี้เพราะการมีรอบเดือนจะเป็นต้นเหตุ
ให้มีการสูญเสียเม้ดเลือดแดงได้

 การตั้งครรถ์:
ถ้าท่านตั้งครรภ์เมื่อใด  ท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลือดจางชนิดขาด
ธาตุเหล็ก  ทั้งนี้เพราะธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกายจะมีบทบาทในการเพิ่ม
ปริมาณของเลือด ตลอดรวมถึงการสร้างฮอีโมโกลบินในทารกที่อยู่ในครรภ์...

 โรคเรื้อรัง:
มีโรคเรื้อรังหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดโรคเลือดจางได้ เช่น เมื่อท่านเป็น
โรคมะเร็ง, โรคไต หรือตับล้มเหลว หรือโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ต่างสามารถ
ทำให้เกิดภาวะเลือดจางได้

การสูญเสียเลือดอย่างช้าๆ  จากแผลในกระเพาะอาหาร หรือจากตำแหน่ง
อื่นของร่างกาย  สามารถทำให้ท่านสูญเสียธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย
ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะโรคเลือดจางชนิดขาดธาตุเหล้็ก (iron-deficiency)

 ประวัติทางครอบครัว:
ถ้าสมาชิคในครอบครัวของท่านเป็นโรคเลือดจางจากความผิดปกติทาง
พันธุกรรม  เป็นต้นว่า sickle cell anemia ท่านอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิด
โรคดังกล่าวได้

 ปัจจัยอย่างอื่น ๆ:
ประวัติการเกิดอักเสบบางอย่าง, โรคเลือด และโรคในระบบภูมิคุ้มกัน, โรค
พิษสุราเรื้อรัง, มีการสัมผัสกับสารพิษ, และมีการใช้ยาบางอย่าง 
ซึ่งสามารถกระทบกบการสร้างเม็ดเลือดแดง   และนำไปสู่ภาวะเลือดจาง
ในที่สุด

<< BACK   NEXT >> P 7 :Complications

เลือดจาง (Anemia) P 5 : Symptoms

Aug. 7,2014

ในกรณีที่เป็นเลือดจางที่ไม่รุนแรง เขาอาจไม่มีอาการอะไรเลย
แต่สำหรับคนที่มีปัญหา อาการอาจเกิดอย่างช้า ๆ 
ซึ่งอาการในตอนแรก  จะประกอบไปด้วย:

• รู้สึกหงุดหงิด ขี่โมโห
• อ่อนเพลีย เหนื้อยล้ามากกว่าปกติ หรือเหนื่อยเมื่อมีการออกกำลัง
• ปวดศีรษะ
• มีปัญหาในด้านความคิด หรือไม่มีสมาธิ

ถ้าภาวะโลหิตจางมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาการที่เกิดอาจ...

• ส่วนของตาที่มีสีขาวจะเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้า (blue)
• เล็บเปราะ
• มีความอยากกินน้ำแข็งมากกว่าสิ่งอื่น ๆ
• มีอาการวิงเวียนเมื่อลุกขึ้นยืน
• ผิวหนังเปลี่ยนเป็นซีด
• หายใจหอบ
• ปวดลิ้น

โลหิตจางบางชนิดอาจมีอาการอย่างอื่น
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกเหนื่อยล้าโดยไม่ทราบสาเหตุ   แต่อย่าลืมว่า  
อาการเหนื่อยล้ายังสาเหตุอย่างอื่นอีกด้วย

โรคเลือดจางบางราย เช่น เลือดจางจากขาดธาตุเหล็ก
ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อย  แต่อย่าลืมว่าอาการเหนื่อล้าไม่ใช้มีสาเหตุมา
จากโรคเลือดจางเพียงอย่างเดียว   ยังมีสาเหตุอย่างอื่นอีกด้วย

การทีท่านถูกตรวจพบว่า  เป็นโรคเลือดจาง...
มันอาจเป็นปัญหาระยะสั้นๆ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุ
เหล็กสูง  หรือกินไวตามินรวมที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบอยางอื่น

อย่างไรก็ตาม  การเกิดภาวะเลือดจางอาจเป็นอาการเตือนให้ทราบว่า
ท่านอาจสูญเสียเลือดจากร่างกายไป โดยที่ท่านไม่รู้ตัว
และเป็นเหตุให้เกิดภาวะพร่องธาตุเหล็กได้  เช่น  โรคมะเร็งของลำไส้ใหญ่
เป็นต้น

<< BACK    NEXT >> เลือดจาง (Anemia) P6 : Risk factors

โลหิตจาง (Anemia) P4: Causes of common types of anemia


Aug. 7,2014

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง (continued)

Bone marrow and stem cell problems:
ความผิดปกติในไขกระดูก (bone marrow) และสะเต็มเซลล์ (stem cell)
สามารถเป็นต้นเหตุทำให้มีเม็ดเลือดแดงถูกสร้างได้น้อยลง โดยเราพบว่า
Stem cells ที่พบในไขประดูกบางตัวสามารถกลายเป็นเม็ดเลือดแดงได้

ดังนั้น หาก stem cells มีน้อยไป หรือมีความบกพร่อง หรือถูกแทนที่โดย
เซลล์อย่างอื่น เช่น เซลล์ของมะเร็ง (metastic cancer cells) 
ย่อมทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

ภาวะโลหิตจางอันมีต้นเหตุมาจากความผิดปกติของไขกระดูก หรือ stem
Cells ได้แก่:

 Aplastic anemia: จะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนของstem cells ในร่างกาย
มีน้อยไป หรือไม่มีเลย โลหิตจางชนิดนี้อายจเป็นความผิดปกติทาง
พันธุกรรม หรือไม่พบต้นเหตุ หรือสามารถเกิดในกรณีที่ไขกระดูกถูก
ทำลายโดยการใช้ยา หรือถูกรังสี, ได้รับเคมีรักษา, หรือเกิดการอัก
เสบ

 Thalassemia: โลหิตจางที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากเม็ดเลือดแดงไม่
สามารถเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ และเจริญได้ไม่ปกติ
เราสามารถพบโรคนี้ในคนไทยได้ประมาณ 1 %  และเป็นพาหะ 
ได้ 30 - 40 %  เป็นโรคที่สามารถพบได้ในหลายเชื้อชาติ  เช่น 
Mediterranean, African, Middle Eastern, และ  Southeast Asean 
descent)

ความรุนแรงของโลหิตจางในคนที่เป็นโรค Thalassemia มีได้แตก
ต่างกัน  โดยมีตั้งแต่รายไม่รุนน้อย (mild) ไปจนถึงรายที่เป็นอันตราย
ต่อชีวิต   และชนิดที่มีความรุนแรงที่สุดมีชื่อเรียกว่า Cooley’s anemia

 Lead exposure:
ตะกั่วเมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนเรา  จะเป็นพิษต่อไขกระดูก เป็นเหตุให้เม็ด
เลือดแดงถูกสร้างได้น้อยลง   เป็นโรคโลหิตจางที่ีพบเห็นในคนที่
สัมผัสกับสารตะกั่วเป็นประจำ

Anemia associated with other conditions :
เป็นโรคโลหิตจาง  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ร่างกายขาดฮอร์โมนที่ทำหน้า
ที่ในการสร้างเม้ดเลือดแดง  โดยเราจะพบได้ในคนที่เป็น:

 โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (Advanced kidney disease)
 ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism)
 โรคเรื้อรังอย่างอื่น ๆ เช่น มะเร็ง, การอักเสบ, โรคลูปัส, โรเบาหวาน,
    และโรครูมาตอยด์
 คนสูงอายุ

Anemia Caused by Destruction of Red Blood Cells:
เมื่อเม็ดเลือดแดงเกิดเปาะ หรือแตกง่าย ย่อมไม่สามารถทนต่อแรงกระแทก
ที่เกิดขึ้นในระบบการไหลเวียของเลือดได้  เป็นเหตุให้มันแตกเร็วก่อนเวลา
อันควร  ทำให้เกิดโลหิตจางที่มีชื่อเรียก hemolytic anemia

Hemolytic anemia สามารถเกิดในตอนแรกเกิด หรือเกิดขึ้นในระยะหลัง
บางครั้งเราจะไม่ทราบว่า  มันเกิดจากอะไร แต่สาเหตุที่เราทราบได้แก่:

 โรค หรือความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น Sickle cell anemia
     และ thalassemia
 ภายใต้ความกดดัน (stressors) เช่น การอักเสบ, ยา, ถูกพิษงู, พิษ
    ของแมงมุม, หรืออาหารบางชนิด
 สารพิษที่ได้จากโรคตับ หรือโรคไตระยะสุดท้าย
 ความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน..มีการทำลายเม็ดเลือดแดง เรียก
     hemolytic anemia ซึ่งปรากฏในเด็กแรกเกิด
 พบว่าเกิดใน vascular grafts, prosthetic heart valves, tumors,
    Severe burns, chemical exposures, severe hypertension,
   โรคเลือด (clotting disorders)
 ในกรณีที่พบได้น้อย เช่น คนที่มีม้ามโต (enlarged spleen) ซึ่ง
     สามารถจับเม็ดเลือดแดง พร้อมกับทำลายมันก่อนที่จะปล่อยให้
    ไหลเวียนในกระแสเลือดได้


BACK >>  NEXT >> P.5 : Symptoms

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เลือดจางจาง (Anemia) P3: Causes of common types of anemia

Aug. 7,2014


ภาวะเลือดจางที่พบได้บ่อยได้แก่:

IRON-DEFICIENCY  ANEMIA :

โลหิตจางที่เกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency ...
เป็นเหตุทำให้ไขกระดูกที่อยู่ในใจกลางของกระดูกชิ้นใหญ่  ไม่สามารถสร้าง 
“ฮีโมโกลบิน” ในเม็ดเลือดแดงได้ตามปกติ  เป็นเหตุให้ร่างกายขาดสารสำคัญ
ในการนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้...

สาเหตุที่ทำให้เกิด Iron-deficiency anemia ได้แก่:

 รับประทานอาหารที่ขาดธาตุเหล็ก (iron-poor diet) โดยเฉพาะจะพบในเด็ก, 
    พวกมังสวิรัติ
 ในคนที่มีการเผาผลาญพลังงานภายในกายสูง เช่น คนต้งครรภ์ และให้นม
     บุตรของคนที่ไม่มีการสะสมธาตุเหล็กภายในกาย
 การมีประจำเดือนแต่ละครั้งมีการเสียเลือดมาก...
 การบริจาคเลือดบ่อย ๆ
 โรคทางระบบกระเพาะลำไส้ เช่น Crohn’s disease หรือในรายที่ได้รับการ
     ผ่าตัดเอาบางส่วนของกระเพาะ และลำไส้ออก
 รับประทานยา, อาหารบางอยาง รวมไปถึงการดื่มพวกคาแฟอิน..

VITAMIN_DEFICIENCY ANEMIA:   

โลหิตจางอาจเกิดในกรณีที่มีการขาดไวตามิน B12 และขาดสาร Folate
ซึ่งสารทั้งสองชนิดต่างมีจำเป็นสำหรับการส้างเม็ดเลือดแดง  โ
ลหิตจางที่เราควรทราบได้แก่ :

Megaloblastic anemia: เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดทั้ง  B12 และขาด  folate
Pernicious anemia: เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาด B12 โดยร่างกายไม่สามารถ
    ดูดซึมสารดังกล่าวได้ตามปกติ เช่น คนเป็นโรคลำไส้- Crohn’s disease, 
    พยาธิในลำไส้, กระเพาะ หรือลำไส้บางส่วนถูกตัดออก หรือเกิดติดเชื้อ HIV

ขาดสารอาหาร (Dietary deficiency): จะพบได้รายที่รับประทานอาหาร
    น้อยเกิน โดยพบในพวกลดน้ำหนัก  หรือพวกที่ไม่รับประทานเนื้อ ซึ่งอาจ
     เป็นเหตุทำให้ขาด B12 และในกรณีที่ไม่ค่อยรับประทานผัก 
     อาจเป็นเหตุให้ขาดสาร  folate ได้

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ขาดไวตามิน ได้แก่ การตั้วงครรภ์, ดื่มจัด, และโรคลำไส้ 
    เช่น  tropical sprue, celiac disease

ในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ การได้รับ   folic acid ในปริมาณที่เพียงพอย่อม
สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความบกพร่องใน neural tube ได้
เช่น spina bifida

SICKLE CELL ANEMIA :

เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม   รูปร่างเม็ดเลือดแดง
มีลักษณะรูปร่างเหมือนเคียว  ซึ่งจะพบได้ในชนชาติ  African-american 
เป็นโรคที่เม็ดเลือดแดงแตกสลายได้ง่าย  ทำให้ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจน
ในปริมาณที่เพียงพอ

เนื่องจากเม็ดเลือดแดงของคนเป็นโรคนี้มีรูปร่างเหมือนเคียว  จึงเป็นเหตุ
ทำให้เส้นเลือดเส้นเล็กเกิดการอุดตันได้ง่าย   เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดจาก
การขาดเลือดได้

BACK >>

NEXT >> continued P 4 : Causes of common types of anemia

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เลือดจาง (Anemia) P2: Causes

Aug. 7,2014

เมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยว่า  ท่านเป็นโรคโลหิตจาง...
ท่านคงต้องสงสัยอยากทราบว่า  ท่านเป็นโรคโลหิตจางได้อย่างไร ?

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า...  
ภาวะโลหิตจางจะเกิดขึ้น  เมื่อคนเรามีเม็ดเลือดแดงจำนวนน้อยน้อย  ไม่เพียง
พอต่อการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เป็นเหตุให้ร่างกาย
ไม่สามารถทำงานด้ตามปกติ  โดยสามารถเกิดได้จาก:   

1. ร่างกายของเราสร้างเม็ดเลือดแดงได้ในปริมาณที่น้อยไป
2. สูญเสียเลือด เช่น จากการตกเลือด ทำให้ร่างกายเสียเม็ดเลือดแดง โดย
   ไม่ได้รับเลือดทดแทนเลือดที่เสียไป
3. ร่างกายของเราเองทำลายเม็ดเลือดแดง เช่นโรคระบบภูมิคุ้มกัน

มีบางท่านไม่ทราบว่า เม็ดเลือดแดงมันทำหน้าที่อย่างไร ?

ตามปกติ ร่างกายของคนเรามีเม็ดเลือดอยู่ 3 ชนิด คือ:

 เม็ดเลือดขาว (white blood cells) มีหน้าที่ต่อสู้กับเขชื้อโรค...ทำให้เกิด
    การอักเสบ
 เกล็ดเลือด (plate;ets) ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดจับตัวเป็นก้อน(blood clot) 
 เม็ดเลือดแดง (red blood cells) ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ 
    ของร่างกาย

ในเม็ดเลือดแดงของคนเราจะมี “ฮีโมโกลบิน” เป็นสารสีแดง 
ซึ่งเป็นโปรตีน   มีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ...ทำให้เลือดของคนเรามีสีแดง   
และตัว “ฮีโมโกลบิน” ที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงนี้เอง จะมีบทบาททำให้การนำ
เอาออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย   พร้อมกับนำเอาอากาศเสีย
(คาร์บอนไดออกไซด์) ออกจากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับสู่ปอด  
เพื่อขับออกจากร่างกายทางลมหายใจ

เม็ดเลือดทั้งหลาย รวมทั้งเม็ดเลือดแดง  จะถูกสร้างโดยไขกระดูกชิ้นใหญ่ๆ
ซึ่งจะมีการสร้างขึ้นต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ

ในการสร้าง “ฮีโมโกลบิน” และ “เม็ดเลือดแดง” ร่างกายจะต้องมีธาตุเหล็ก
 (iron), ไวตามิน B-12, folate และธาตุอาหารอย่างอื่นในปริมาณที่เพียงพอ


<< BACK:      NEXT >>: P. 3: Common types of anemia and their causes:

เลือดจาง (Anemia) P.1

Aug. 7,2014

ได้มีโอกาสพบเห็นคนสูงอายุจำนวนหนึ่ง...
ซึ่งพวกเขาจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเหนือยเพลีย หรือมีอาการวิงเวียน..
ภายหลังจากการตรวจร่างกาย  พบว่าสีของเยื่อตาของเขา  ซีดจนผิดปกติ  
ซึ่งเป็นอาการแสดงที่บ่งบอกให้ทราบว่า...เขาเป็นโรคเลือดจาง

เลือดจาง (anemia) เมื่อเกิดขึ้นกับใครก็ตาม มันหมายถึงว่า ...
เขามีเม็ดเลือดแดง  ซึ่งอยู่ในกระแสเลือดมีจำนวนน้อยกว่าระดับปกติ  
เป็นเหตุให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายไม่ได้รับอกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ
กับความต้องการ

หากท่านเป็นโรคโลหิตจาง...
ทางอาจมีความรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลีย  ไม่ีมีแรง

เมื่อกล่าวถึงโรคเลือดจางแล้ว  เรายังจำเป็นต้องรู้ต่อไปอีกว่า  เลือดจางที่
เกิดขึ้นนั้น  มันเป็นโรคชนิดใด ?

ภาวะเลือดจางมีหลายชนิดด้วยกัน  และสาเหตุที่พบได้บ่อย คือเลือดจาง
ที่เกิดจากการสูญเสียเลือด  ซึ่งเป็นภาวะโลหิตที่เกิดขึ้นในระยะสั้น (acute)
หรือเป็นโลหิตจางที่เป็นมานาน (Chronic)  

โลหิตจางที่เกิดขึ้น  จะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป
บางรายเป็นน้อยแทบไม่มีอาการอะไรปรากฏ  แต่บางรายเป็นมากพร้อมๆ 
กับมีอาการให้ต้องพึ่งพาหมอ  เพื่อการรักษา

ถ้าหากเกิดความสงสัยว่า  ท่านมีโลหิตจาง...
ท่านควรไปปรึกษาแพทย์  เพราะอาการที่แสดงออกนั้น  มันอาจเป็นเงื่อนงำ
ของโรคที่ร้ายอะไรสักอย่าง ซึ่งซ่อนตัวอยู่ภายในกายของท่าน
  
การรักษาภาวะโลหิตจางอาจเป็นเพียงให้อาหารเสริม  หรือการรักษาด้วย
กรรมวิธีอื่นที่มีมีความยุ่งยากขึ้นไป   และต้องอยู่ในโรงพยาบาล
ให้แพทย์ และพยาบาลดูแลอย่างใกล่้ชิด


NEXT: P 2: โลหิตจาง (Anemia): Causes

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คุณประโยชนจากการรำมวยจีนชื่อ Tai Chi, P2.

July 30, 2014

Continued

ผลที่ได้จากการวิจัย ... 
พบประโยชน์อันพึงเกิดจากการรำมวยจีน Tai Chi ได้มากมาย
เช่น:
         
Improves balance and fall prevention:
ในการบริหาร Tai Chi จะเพิ่มความแข็งแรงให้เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ
ของแขน  และของขา ซึ่งเป็นการช่วยทำให้การทรงตัว  และ ความ
ยืดหยุ่นดีขึ้น  ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม โดยเฉพาะในคนสูงอายุ,
คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน...โดยทำให้คนสูงอายุ  และคนที่เป็นโรค PD 
เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น   และสามารถปรับตัวเองให้เข้า
กับสภาพของตัวเองได้ดีขึ้น

Reduces blood pressure and relieves stress:
ผลจากการศึกษาโดยนักวิจัยจาก Johns Hopsins พบว่า
การบริหาร Tai Chi สามารถลดความดันเลือดสูงได้ดีเท่ากับการ
ออกกำลังตามรูปแบบ “แอโรบิค” ระดับพอประมาณของคนสูงอายุ
ตั้งแต่ 60 ขึ้น ผู้ซึ่งไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน (sedentry)

Reduces arthritis pain:
ผลจากการศึกษา ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Rheumatology มีใจความว่า...
จากการบริหารตามวิธี Tai Chi เป็นเวลา 12 อาทิตย์ สามารถลด
ความเจ็บปวดอันเกิดจากข้ออักเสบ  และเพิ่มสมรรถภาพในการทำงาน
ของสตรีผู้สูงวัย  ซึ่งเป็นโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ได้

Improves cardiovascular health:
การบริหารตามรูปแบบ Tai Chi จะได้ผลเหมือนกับการออกกำลังกาย
ด้วยรูปแบบอื่น ๆ  โดยทำให้ระบบหัวใจ และเส้นเลือดดีขึ้น  ตลอดรวม
ไปถึงการชะลอความเสื่อมไม่ให้เกิดขึ้นกับระบบหัวใจ  และปอด..

Improves sleep quality:
การบริหารมวยจีน Tai Chi ยังช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น...
โดยมีผลจาการวิจัย ซึ่งลงตพิมพ์ในวารสาร The American geriatric
Society  มีใจความว่า การรำมวยจีน Tai Chi อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำ
ให้การนอนหลับดีขึ้น  และลดอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน



<< BACK

Johnshopkinshealthalerts.com/alerts