วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Irritable Bowel Syndrome: เราจะรักษาอย่างไร ? (3)

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือ ลำไส้แปรปรวนนั้น
อาการจะไม่มาก...ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด
มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น จะมีปัญหาในระยะยาว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา

o การรักษาคนไข้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน ที่ใช้กันเสมอ ๆ คือ การใช้ใยอาหาร
ตามทฤษฎี เมื่อ “ใยอาหาร” อยู่ในลำไส้ มันจะพองตัวขึ้น
ในขณะที่อาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ไป ใยอาหารจะลดการหดเกร็ง (spasm) ของลำไส้ลง
ช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระได้ดีขึ้น ลดอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี
การเพิ่มใยอาหาร(ซึ่งได้จากผัก และธัญพืช) ควรเพิ่มอย่างช้า ๆ เพราะในตอนแรก อาจทำ ให้คนไข้รู้สึกแน่นท้อง เหมือนกับทานอาหารแล้วรู้สึก แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อย

o ความกดด้น หรือ ความเครียด อาจเป็นสาเหตุให้คนเกิดอาการของลำไส้แปรปรวนขึ้นได้
ควรรับประทานอาหารให้ครบ (balanced diet)

o ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ร่วมกับการลดความเครียด อาจแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดลำไส้แปรปรวนลงได้

o การสูบบุหรี่ อาจทำให้อาการของลำไส้แปรปรวนเลวลง

o มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารถทนต่ออาหารเป็นเภทนมสัตว์
ทุกครั้งที่รับประทานอาหารดังกล่าว จะทำให้อาการเลวลง

Medications:

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาคนไข้ ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนได้แก่:

o Antispasmodic medicines. ได้แก่ dicyclomin และ hyoscyamine
ยาทั้งสองตัว ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน
ยาพวกนี้จะลดอาการ spasm ของกระเพาะ-ลำไส้ ลง

อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้ ต่างมีผลข้างเคียงเช่นกัน ใช้กับทุกคนไม่ได้

o Antidiarrheal medicine. เช่น loperamide (imodoum), kaopectate และ diphenoxylate/atropine (lomotil) บางครั้งก็นำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็นลำไส้แปรปรวน ที่มาด้วยอาการท้องล่วงเป็นสาเหตุใหญ่
การใช้ยาพวกนี้ ใช้ในระยะสั้นเท่านั้น

o Antidepressants . ยาในกลุ่มนี้อาจได้ผลดี เมื่อใช้ขนาดน้อยกว่า ขนาดที่ใช้รักษาภาวะทางจิต (depression) ได้แก่ Imepramine, amitriptyline, nortriptyline และ desipramine


o ในกรณีที่คนไข้ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา ตามที่กล่าวมา ได้มียาใหม่ ๆ นำมาใช้ในการรักษา
เช่น
• Tegaserod (Zenorm) เป็นยาที่ใช้ในระยะสั้น สำหรับคนไข้สตรีที่มาด้วยโรคลำไส้แปรปรวน ที่มีอาการทางท้องผูกเป็นอาการสำคัญ
ยาตัวนี้ จะกระตุ้นให้ลำไส้คงสภาพบีบตัว (movement) ให้เป็นไปตามปกติ ลดการเกิดท้องผูก ให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง 30 นาที ก่อนอาหารเช้า และอาหารอาหารเย็น เป็นเวลา 4 อาทิตย์ ในรายที่ตอบสนองต่อการรักษา อาจเพิ่มต่อไปอีก 4-6 อาทิตย์
หากมีปัญหา คนไข้มีอาการปวดท้อง และท้องล่วงเกิดขึ้น ควรติดต่อหมอทันที
สำหรับยาตัวนี้ FDA ยังไม่ได้รับรองให้ใช้ในคนไข้ชาย

• Alosetron (Lotronex) ได้รับการยอมรับว่า การรักษาระยะสั้นในสุภาพสตรี ที่มาด้วยรายที่มีอาการท้องล่วงเรื้อรัง และไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาตามปกติ

คนที่มาด้วยอาการรุนแรง มีไม่ถึง 5 % ในจำนวนนี้ มีเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่มาด้วยเรื่องท้องล่วงเป็นอาการสำคัญ

ประวัติของการใช้ยาตัวนี้ (Alosetron) เคยเอาออกจากตลาดการของสหรัฐ และถูกดึงกลับมาใช้ใหม่ด้วยข้อจำกัดบางประการ คือ เมื่อใช้แล้วมีผลข้างเคียงสูงมาก มีรายงานว่า ถึงกับตายก็มี

ยา Tegaserod และ Lotronex ยังไม่มีการศึกษาว่ามีการใช้ในชายที่เป็นโรคดังกล่าว และยังไม่ได้รับการยอมรับจาก FDA ให้ใช้ในคนไข้ชาย

Resource:
www.emedicinehealth.com>--->digestive disorders az list

Irritable bowel syndrome – ภาวะลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า (2)

คนที่มีอาการลำไส้แปรปรวน หรือไวต่อสิ่งเร้า
แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน บางคนมีอาการมาก แทบออกสังคมไม่ได้
เพราะรับประทาน อาหารทีไร ต้องเข้าส้วมทุกที...จนเป็นเหตุให้เธอปฏิเสธการออกสังคมไป

สัญลักษณ์ที่สำคัญของอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า
คือ ความรู้สึกไม่สบายในท้องนั่นเอง
นอกเหนือจากนี้ ยังมีอาการอย่างอื่น เช่น:

• ปวดท้อง (abdominal cramping) อาการจะหายไปเมื่อได้ถ่ายอุจจาระ

• มีท้องผูกสลับอาการท้องล่วง

• มีลมในกระเพาะ (flatulence)

• การถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป ไม่สม่ำเสมอเหมือนปกติ

• ถ่ายเป็นมูก (passing mucous from rectum)

• อาการปวดแน่นท้อง (distension)

• รู้สึกเหมือนท้องเต็มไปด้วยอาหาร (bloating)

อาการต่อไปนี้ ไม่ใช้อาการของคนที่เป็นลำไส้แปรปรวน (ไวต่อสิ่งเร้า)
หากท่านมีอาการเหล่านี้เมื่อไร
ต้องสงสัยแล้วละว่า....ท่านมีอะไรสักอย่างซ่อนในตัวของท่าน เช่น

• มีเลือดในอุจจาระ และปัสสาวะ

• อาเจียน (อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วม...น้อย)

• ปวดท้อง หรือท้องล่วง โดยที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืน

• มีไข้ (fever)

• น้ำหนักลด (weight loss)

ในการวินิจฉัยภาวะลำไส้ไวต่อสิ่งเล้า นับเป็นเรื่องยาก บางที่แพทย์อาจจำเป็นต้อง
ทำการวินิจฉัยด้วยการพิจารณาแยกโรคอื่น ๆ ออกไปทีละอย่าง สองอย่าง (rule-out) จน กระทั้งเหลือตัวสุดท้าย
และในการกระทำดังกล่าว จำเป็นต้อง:

• อาศัยข้อมูลจาก ประวัติของผู้ป่วย (history) การตรวจร่างกาย (physical examination) และเลือกวิธีตรวจที่เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรค (IBS)

• เราไม่มีวิธีการตรวจโดยเฉพาะ (blood tests & x-rays study) สำหรับการวินิจฉัยโรค IBS

• อาจจำเป็นต้องตรวจพิเศษ เช่น การตรวจด้วยกล้อง sigmoidoscopy, colonoscopy, และ Computerized tomography (CT) scan.

Irritable bowel syndrome (ลำไส้ใหญ่แปรปรวน) (1)

สุภาพสตรีท่านหนึ่ง ได้หยิบยื่นประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพ ให้ผู้เขียน....
เธอมองหน้าผู้เขียนด้วยความกังวล พร้อมกับตั้งคำถามว่า:
"หลังรับประทานอาหาร...เธอจะต้องเข้าห้องส้วม เพื่อถ่ายอุจจาระ ทุกครั้ง
...ฉันเป็นอะไร ?”
เธอมองหน้าผู้เขียนด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยความกังวลใจ

มีโรคอย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับทีเธอกล่าวมา นั่นคือ
“Iritable bowel syndrome”

เป็นกลุ่มอาการของลำไส้ ทีไวต่อสิ่งเร้า บางท่านเรียกมันว่า
“ลำไส้แปรปรวน”

ลำไส้ไวต่อสิ่งกระตุ้น (IBS) ถือว่าเป็นภาวะที่กระเพาะ-ลำไส้ทำงานผิดปกติาป็นเวลานาน โดย เราไม่ทราบเหตุที่แท้จริง
อาการของมันประกอบด้วย ปวดท้อง มีลมลำในลำไส้ มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของ การถ่ายอุจจาระ(ท้องผูก หรือ ท้องล่วง)
ภาวะเช่นนี้ ไม่พบความผิดปกติ (พยาธิสภาพ) ใดๆ ในลำไส้

ภาวะลำไส้แปรปรวน หรือไวต่อสิ่งเร้า ไม่ใช้โรคติดต่อ ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
และไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งแต่อย่างใด..(นี้ คือสิ่งที่คนไข้กลัวกัน)..
แต่มันก่อความรำคาญ ให้กับคนที่มีอาการดังกล่าวได้ไม่น้อย

จากสถิติของสหรัฐฯ พบว่า คนที่แต่งงาน หรืออยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา
มีภาวะของลำไส้แปรปรวนถึง 19 % และกระทบต่อชีวิตสมรสถึง 45 %

การทำงานของลำไส้ผิดปกติดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นภายหลังจากที่เกิด “กระเพาะลำไส้ อักเสบ” (gastroenteritis) ก็ได้

ได้มีคนแนะว่า ลำไส้แปรปรวนดังกล่าว เกิดจาก “การแพ้อาหาร” (dietary allergies) หรือมีความไวต่ออาหารบางชนิด....
แต่ไม่เคยมีใครพิสูจน์

ที่น่าสังเกตอีกอย่าง คือ ภายใต้ความกดดัน หรือมีความเครียดสูง หรือขณะมีประจำเดิอน จะ มีอาการของลำไส้แปรปรวนได้มากกว่าปกติ

Pseudogout: การรักษา

ในการรักษาโรคเก๊าท์เทียม (pseudogout) เป้าหมายมุ่งไปที่การลดความ เจ็บปวด และอาการบวมของข้อลง
เราไม่สามารถขจัดเอาคริสตอลของ CPP ออกจากข้อได้…

ในการรักษาเพื่อบันเทาความเจ็บปวด และลดการอักเสบ ที่เกิดจากเก๊าท์เทียม สามารถกระทำได้ด้วยยา ดังต่อไปนี้:


• Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs).

ยาที่เรานำมาใช้ในการรักษาได้ แก่ Ibuprofen, naproxen และ endomethacin.

ยาพวกนี้ สามารถทำให้คนไข้เกิดเลือดตกในกระเพาะ แ ละทำให้การทำงานของไตลดลงได้

• Colchicine.

เป็นยาที่ลดการอักเสบในคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์ และอาจมีประโยชน์ในคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์เทียม ซึ่งไม่สามารถทนต่อการใช้พวก NSAIDs ได้
ผลข้างเคียงของยาตัวนี้ คือ ปวดกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องล่วง
มีผลข้างเคียงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ได้แก่ไขกระดูกถูกกด และทำให้เลือดตกในลำไส้
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายดังกล่าว ควรให้ยาขนาดน้อย ๆ เอาไว้ และ
ไม่ควรให้เกินวันละ 2 เม็ด

• Joint aspiration and injection

.เพื่อลดความดันภายในข้อลง กระทำได้ด้วยการเจาะเอาน้ำไขข้อออก หลังจากนั้น แพทย์เขาจะฉีดสาร corticosteroid เข้าข้อไป เพื่อลดการอักเสบลง แพทย์อาจ
ผสมยาชาลงไปด้วย

• Rest.

การทำให้ข้อได้พักผ่อน อยู่นิ่ง ๆ ร่วมกับการใช้ยาตามที่กล่าวมา สามารถลดอาการปวด และอาการบวมลงได้

ในการป้องกันไม่ให้โรคเก๊าท์เทียมกำเริบขึ้นมาอีก แพทย์อาจใช้ยาที่ใช้ในโรคเก๊าท์
มาทำการป้องกัน โดย ใช้ colchicines ขนาด ( dose) น้อย ๆ อาจลดอาการอักเสบลงได้

ข้อสังเกตุ: การรักษาคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์ และ เก๊าท์เทียม จะเหมือนกันทุกประการ มียกเว้นอย่างเดียว คือ ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ ใช้ยากลุ่ม “Antihyperuricemic drugs” ลดกรดยูริคลง
ส่วนพวก “เก๊าท์เทียม” (pseudogout ) ไม่มียาลดพวกคริสตอลของ calcium pyrophosphate


Resources:
www.medicinet.com>....>arthritis az list

Gout Diet: อาหาร เป็นเรื่องยากต่อการปฏิบัติจริงหรือ ?

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบ ทำให้คนไข้ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดแสนสาหัส
มีคนไข้เป็นจำนวนไม่น้อย เกิดข้ออักเสบแบบเเฉียบพลันขึ้นมา เป็นเพราะอาหารเป็นเหตุ
แม้ว่าจะได้รับคำแนะนำแล้วก็ตาม ว่า อย่า...นะ
แต่ก็เผลอจนได้....

อาหารที่แพทย์เขาแนะนำแก่คนเป็นเก๊าท์ มันก็เหมือนกับอาหารที่เราแนะนำเพื่อ สุขภาพนั่นแหละ
เพราะนอกจาก จะทำให้คนเรามีสุขภาพดีแล้ว ยังช่วยทำให้คนเรารอดพ้นจากการ เป็นโรคเรื้อรังหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
ที่สำคัญ อาหารพวกนี้ สามารถควบคุมโรคเก๊าท์ของท่านได้เป็นอย่างดี

อาการของโรคเก๊าท์จะบังเกิด เมื่อระดับของกรดยูริคในกระแสเลือดสูงขึ้น ทำ ให้เกิดมีคริสตอลของกรดยูริค เกิดรวมตัวในข้อ

ร่างกายของท่านจะสร้างกรดยูริคขึ้น ด้วยการสลายตัวของ purines
ตัว Purines มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติภายในร่างกายของคนเราเอง
หรือได้จากอาหารบางอย่าง เช่น พวกเครื่องในสัตว์ พืชผักที่เป็นยอดทั้งหลาย ที่ กำลังเจริญเติบโต เช่น เห็ด และ หน่อไม้ เป็นต้น

ในการรักษาโรคเก๊าท์ อาหารไม่ใช้ยารักษาโรค มันเป็นแต่เพียงช่วยป้องกันไม่ให้ โรคเก๊าท์กำเริบขึ้นมา หรือช่วยลดความรุนแรงของอาการลงได้บ้าง

การปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยเสียงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ได้เช่นกัน
ดังนั้น การลดน้ำหนัก ก็เป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยให้ท่านลดความเสี่ยงจากการกำเริบ ของโรคเก๊าท์ได้

สำหรับอาหาร ที่ท่านจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง คืออาหารพวกมีโปรตีนสูง ซึ่งเมื่อท่าน รับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายของท่านจะสร้างกรดยูริตในปริมาณสูง ตาม

สิ่งที่ท่านควรปฏิบัติในเรื่องอาหารการกิน:

 จำกัดอาหารประเภทโปรตีน. ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ purineสูง เช่น พวกเครื่องในสัตว์ทุกชนิดที่คนเรารับประทาน ของทะเล (fatty fish,tuna,shrimp lopster และ scallops) อาหารพวกนี้ มี purine ซึ่งมันจะสลายตัวไปเป็นกรดยูริคต่อไป

 ให้รับประทานอาหารประเภทพืชให้มาก.
ท่านสามารถชดเชยอาหารโปรตีน ด้วยการรับประทานอาหารประเภทถั่วทั้งหลาย
หากท่านทำได้ ก็เป็นการขจัดพวกไขมันอิ่มตัวไปได้พร้อม ๆ กัน เป็นการลดน้ำหนักตัวทางอ้อม

 จำกัดการดื่มของเมา (แอลกอฮอล).
พวกแอลกอฮอลจะไปรบกวนไม่ให้ไตขับกรดยูริคออกได้ตามปกติ เป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้เก๊าท์จัดการกับท่านได้

 ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้.
การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยทำให้ร่างกายขับเอากรดยูริคออกจากร่างกาย คนปกติยังแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว
แล้วท่านละ ?

 เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ.
ได้มีคนรายงานว่า อาหารที่ประกอบด้วยนมที่มีไขมันต่ำ เช่น พวก yogurt สามารถลดอันตรายจากโรคเก๊าท์ได้

 เลือกรับประทานอาหารประเภท complex carbohydrates.
มีคนแนะนำว่า การรับประทานพวกอาหารที่เป็นเมล็ด (grains) ผลไม้ (fruits) ผัก (vegetables) จะได้ประโยชน์มากกว่า ข้าวขัด (refined ) , cakes และ candys

 หลีกเลียง หรือจำพวกน้ำตาล. มีเหตุผลสองสามประการ ที่เราควรหลีกเลี่ยง คือ

1. น้ำตาลจะไปแทนที่อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีนที่ได้จากผัก (plant-based proteins) และ พวก low-fat diet เพราะอาหารพวกนี้ มีประโยชน์ และจำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงโรคเก๊าท์

2. พวกน้ำตาล มีแนวโน้มให้ท่านรับประทานมากเกินกว่าร่างกายจะเผาผลาญให้เป็นพลังงานได้หมด เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

3. แม้ว่าจะมีการถกเถียงกันในเรื่องคุณประโยชน์ของน้ำตาลว่า น้ำตาลมีผลกระทบต่อระดับของกรดยูริคโดยตรงก็ตาม...
แต่น้ำตาล หรือของหวาน จะมีความสัมพันธุ์โดยตรงกับการทำให้น้ำ ตัวเพิ่ม และ อ้วนขึ้น...


กล่าวโดยสรุป การรับประทานอาหารตามที่กล่าวมา สามารถช่วยลดการสร้างกรด ยูริคได้จริง แต่มันไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคเก๊าท์ จำเป็นต้องรับประทานร่วมด้วย

Gout: Treatment (2)

การรักษาคนไข้โรคเก๊าท์ ที่ผ่านพ้นภาวะของข้ออักเสบแบบเฉียบพลัน

หลังการเกิดการอักเสบเฉียบพลัน บางรายยังมีความเสี่ยงต่อการเกิด ข้ออักเสบขึ้นมาอีก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง หรือคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งคนไข้ประเภทนี้ มักจะ ได้รับยาขับปัสสาวะด้วย...

ในคนไข้พวกนี้ ควรได้รับยาตัวใดตัวหนึ่งต่อไปนี้ด้วยขนาดน้อย (low dose) เพื่อป้องกัน ไม่ให้โรคกำเริบขึ้นมาอีก เช่น

• Colchicine

• NSAIDs

ยาพวกนี้ควรให้ประมาณหนึ่ง ถึงสองเดือนหลังการเกิดอาการ(acute attack)
หรือให้นานกว่านั้น หากมีประวัติว่า โรคกำเริบขึ้นบ่อยครั้ง
แต่ยาที่ให้จะไม่ผลต่อระดับของกรด “ยูริค” ที่มีอยู่ในกระแสเลือด แต่อย่างใด

ยาลดระดับของกรด “ยูริค” ในโรคเรื้อรัง
(Drug for reducing uric level)

เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มผู้ทำการรักษาว่า ต้องลดกรด “ยูริค” ในกระแสเลือดให้ต่ำกว่า 6 mg/dl ด้วยการให้คนไข้รับประทานยาลดกรดยูริค (antihyperuricemic drugs)
โดยมีเป้าหมายสองประการ หนึ่ง: ลดการกำเริบของโรค และ สอง: ละลายคริสตอล ของสาร monosodium urate

คนไข้ที่สมควรได้รับยาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน (long – term treatment) ได้แก่:

o คนไข้ที่มีประวัติว่า มีการอักเสบของข้อ (gout attack) มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป

o ในรายที่มีอาการรุนแรง และเป็นการอักเสบหลายข้อ

o ผลจากภาพเอกซ์เรย์พบว่า มีการทำลายข้อเกิดขึ้นแล้ว

o รายที่ความผิดปกติในเมทตาบอลิซึม ซึ่งปรากฏมาตั้งแต่วัยเด็ก (inborn metabolic disorders)


ยาที่นำมาใช้ในการลดกรด “ยูริค”
(Agents used to reduce Uric Acid)

มียาจำนวนหลายขนานที่ใช้ลดกรดยูริค โดยขึ้นกับต้นเหตุว่า กรดยูริคในกระแสเลือดมีระ ดับสูง เพราะ มันถูกสร้างมากไป หรือ ถูกขับออกจากร่างกายน้อยไป

ยาที่ใช้ได้แก่:

o Allopurinol. เป็นยาที่ทำหน้าที่ยับยั้ง (inhibit) ไม่ให้มีการสร้าง กรดยูริค จึงเหมาะที่จะใช้กับคนไข้ที่เป็นโรคไต หรือมีก้อนนิ่วในไต

o Uricosuric drugs.(ยาที่ใช้คือ probenecid และ sulfinpyrazone) เหมาะสำหรับรายที่เป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไตขับออกทางปัสสาวะได้น้อย (under-secretion) ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 80 % จึงไม่ควรใช้ในรายที่เป็นโรคไต หรือรายที่เป็น tophaceous gout

ขั้นตอนเกี่ยวกับการใช้ยา Anti-hyperuicemia

o การอักเสบจะต้องถูกควบคุมได้แล้ว ข้อไม่มีการอักเสบหลงเหลืออยู่
แพทย์บางท่านนิยมที่จะเริ่มให้ยา หลังจากหนึ่งเดือนผ่านไปแล้ว

o ในขณะที่ให้ยาลดกรดยูริค คนไข้ต้องได้รับยา NSAIDs หรือ Clochicine ในขนาด (dose) น้อย ๆ ร่วมไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด gout attack
ต้องระมัดระวัง อย่าใช่ aspirin ร่วมกับการใช้ยาลดกรดยูริค เพราะ aspirin จะมีผลต่อการใช้ยาลดกรด...
ทำให้ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ

การใช้ยาลดกรดยูริค (anti-hyperuricemic drugs) จะใช้เมื่อไหร่ อาศัยพื้นฐานอะไร ไม่เป็นที่ทราบชัด:

บางคนจะไม่ให้เลย จนกว่าจะมีการเกิด gout attack สองครั้งขึ้นไป
บางท่านให้คนไข้เริ่มกินยา ภายหลังเกิด gout attack เพียงครั้งเดียว

มีบ่อยครั้ง การรักษาด้วยการลดกรดยูริค หมายถึงการให้ยาไปตลอดชีวิต

ซึ่งเป็นการยากที่ คนไข้จะปฏิบัติตามได้

Resource:
www.emedicinehealth.com>....>arthritis center>arthritis az list

Gout: Treatment (1)

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์ ย่อมมีแนวทางปฏิบัติแตกต่างกัน
เช่น ภายใต้ภาวะที่คนไข้ มีการอักเสบอย่างเฉียบพลัน (acute attack) ย่อมแตกต่างจากการป้องกัน ไม่ให้โรคเก๊าท์ กำเริบขึ้นมาอีก รวมถึงการรักษาภาวะที่มีกรดยูริคในกระแสเลือดสูง
มียาเฉพาะเพื่อการรักษาภาวะต่าง ๆ ที่เกิดร่วมกับโรคเก๊าท์ เช่น
Uric acid nephropathy และ Uric acid nephrolithiasis

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้ ย่อมมีความสำคัญต่อการควบคุมโรคเก๊าท์
คนไข้อาจไม่จำเป็นต้องรับประทานยาใด ๆ เลย (ถ้าคนไข้ไม่มีอาการของโรค)

ในระหว่างที่คนไข้ไม่มีอาการ คนไข้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสาร purine พร้อมกับการ ควบคุมน้ำหนักตัว
งดเว้นการดื่มของเมา และลดความเครียด

ภายในภาวะ asymptomatic hyperuricemia:
คนไม่มีอาการ ไม่ถือว่าเป็นโรคเก๊าท์

ไม่แนะนำให้รับประทานยาใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะการที่มีระดับยูริคในเลือดสูง ไม่ก่อให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพใด ๆ
เหตุผลเพราะยาราคาแพงนั่นประการหนึ่ง ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเป็นประการต่อมา
แต่ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง อาจจำเป็นต้องให้การรักษา เช่น คนไข้มีระดับยูริคสูงมาก มีโอกาสทำให้เกิดเป็นโรคไต
หรือในคนที่มีประวัติครอบครัวของการเป็นโรคดังกล่าว หรือมีประวัติเป็นนิ้วในไต
หรือไตถูกทำลาย เป็นต้น

การรักษาโรคเก๊าท์ภายใต้การเกิดข้ออักเสบอย่างเฉียบพลัน (acute attack)

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะเช่นนี้ มีเป้าหมายไปที่ ลดความเจ็บปวด และลดการอักเสบ
ซึ่งต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วนที่สุด โดยให้:

• NSAIDs. เป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุด โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นคนหนุ่ม สุขภาพแข็งแรง
ไม่มีปัญหาเรื่องไต, ตับ หรือ หัวใจ
ยาที่นิยมใช้มากที่สุด คือ indomethacin โดยให้คนไข้รับประทาน 2 – 7 วัน

• Colchicine. อาจนำมาใช้ภายใน 48 ชั่วโมงที่คนไข้เกิดอาการ ปกติจะใช้ในผู้ใหญ่
ด้วยขนาด maximum dose ให้ทุกชั่วโมง จำนวน 6 doses (หากคนไข้เกิดอาการท้องล่วงก่อนครบ dose ให้หยุดยาทันที)
ห้ามใช้ในคนไข้โรคไต หรือโรคตับ หรือในระหว่างตั้งครรภ์

• Corticosteroids. อาจจำเป็นต้องให้แก่คนไข้ในรายที่ไม่สามารถทนต่อยากลุ่ม NSAIDs โดยเฉพาะคนสูงอายุ
การฉีดเข้าข้ออาจมีประโยชน์ หากการอักเสบเกิดขึ้นเพียงข้อเดียว
Oral steroid อาจนำมาใช้ในรายที่คนไข้ไม่สามารถทนต่อการใช้ยา NSAIDs หรือ colchicines ได้


ภายหลังคนไข้เกิดการอักเสบจากโรคเก๊าท์ หมอบางท่านอาจแนะนำให้เก็บยาเอาไว้เผื่อมี อาการเกิดขึ้น เขาจะได้รับประทานยารักษาทันที

Gout vs Pseudogout : ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ท่านเป็น...(4)

คนไข้ที่มาด้วยอาการ และการแสดงของข้ออักเสบอย่างเฉียบพลัน เราไม่สามารถแยกได้ว่า อาการข้ออักเสบดังกล่าว เป็นอาการของโรคไหนระหว่าง
“เก้าท์” (Gout) และ “เก้าท์เทียม” (Pseudogout)
แต่สาเหตุที่อยู่เบื้องหลัง ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ จะต่างกันโดยสิ้นเชิง

คนเป็นโรคเก๊าท์อักเสบอย่างเฉียบพลัน มีผลจากร่างกายสร้าง Uric acid ในปริมาณ มากกว่าปกติ หรือ Uric acid ถูกขับออกจากรางกายน้อยไป ทั้งสองกรณีต่างทำให้ระดับของกรด “ยู ริค” ในกระแสเลือดสูงขึ้น

ผลจากการใช้สารขับปัสสาวะ (Thiazide diuretics)
อาหารมีปริมาณ Purine สูง
ทั้งสองกรณี ต่างมีโอกาสทำให้คนไข้เกิดมีระดับกรด “ยูริค” .ในกระแสเลือดสูงขึึ้น และมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้

สำหรับคนเป็นโรคเก๊าท์เทียม (pseudogout) มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบต้นเหตุ (idiopathic)
แต่มันมีส่วนสัมพันธุ์กับ อายุที่เพิ่มขึ้น (aging), บาดเจ็บ (trauma), และความผิดปกติ ทางเมทตาบอลิซึม บางอย่าง เช่น hyperparathyroidism และ hemochomatosis

นอกเหนือจากที่กล่าว เรายังสามารถพบได้ใน:

• Lead poisoning

• Hemo-proliferative disorders

• Renal disease

มีปัจจัยบางอย่าง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้ออักเสบ ได้แก่ ความอ้วน (obesity) , ดื่มแอลกอฮอล์ (alcohol consumption), ปัจจัยที่ทำให้ระดับ urate สูงขึ้น ซึ่งได้แก่ “ยา” และ “อายุที่เพิ่มขึ้น”

ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการณ์

สิ่งที่ผู้ทำการรักษาจะต้องแยกออกให้ได้ คือ ข้ออักเสบนั้นไม่ใช้การอักเสบจากเชื้อโรค
จากการเจาะข้ออักเสบ และตรวจสอบน้ำไขข้อ สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นอักเสบจากเชื้อโรค หรือไม่ เช่นการตรวจ gram strain และส่งน้ำไขข้อเพาะหาเชื้อ

จากการส่งน้ำไข้ข้อตรวจดูคริสตอล ภายใต้ polarizing light สามารถบอกต้นเหตุให้เกิดการอักเสบ (crystal- inducing arthritis)

ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบคริสตอลของ urate เป็นรูปเหมือน เข็มภายในเซลล์ และนอกเซลล์เม็ดเลือดขาว

ในคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์เที่ยม จะพบคริสตอลของ.... เป็นรูปสี่เหลี่ยมกระนมเปียกปูน (rhomboidal….)

ทั้งเก๊าท์แท้ และเก๊าท์เทียม เมื่อตรวจดูเม็ดเลือดขาวในน้ำไขข้อ จะมีประมาณ 50,000 – 100,000

โรคเก๊าท์ ข้อจะถูกกระตุ้นให้เกิดอักเสบขึ้น เมื่อมีคริสตอลของ Urate เกิดภายในข้อ เป็นตัวทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โดยไม่สัมพันธุ์กับระดับของ uric acid ในกระแสเลือด

ระดับ uric acid ปกติ ไม่ได้หมายความว่า คนไข้ไม่เป็นโรคเก๊าท์
ในขณะเดียวกัน คนที่มีระดับ uric acid สูง ไม่ได้หมายความว่า คนไข้เป็นโรคเก๊าท์

คนเป็นโรเก๊าท์เทียม (pseudogout) มันจะถูกกระตุ้นด้วยความผิดปกติใน metabolic หลายอย่าง ดังนั้น คนที่มาพบแพทย์ในครั้งแรกด้วยสาเหตุ CPP crystal
แพทย์จะทำการตรวจหาระดับ blood chemistry; calcium, magnesium, iron; และ thyroid function

Resource:

www.merkmanuals.com/home/sec05/ch070b.html
arthritis.about.com/library/quiz/blgoutpseudogout.htm

Gout vs Pseudogout: Epidermiolgy (4)

“Epidermiology”

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของโรค และปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการกระจายของโรคใน คนเรา

จากสถิติของสหรัฐฯ ทุก 1000 คน ที่เดินผ่านหน้าเราไป จะพบคนเป็นโรคเก้า 2.7 คน
ถ้าบังเอิญเขามีประวัติครอบครัวว่า มีคนเป็นโรคเก๊าท์ด้วยแล้ว ลูกหลานมีโอกาสเป็นโรคดัง กล่าวถึง 20 %

สำหรับคนเป็นโรคเก๊าท์เทียม ?
ความถี่ของการเกิดโรค จะผันผวนตามอายุ
จากสถิติ ภายในเวลาหนึ่งปี จะมีการอักเสบจากโรคเก๊าท์เทียมประมาณ 1.3 ต่อคนไข้ จำนวน 1000 คน ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่

คนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบเกิดมีอาการบ่อยในฤดูใบไม่ผลิ และพบน้อยใน ฤดูหนาว..
นั่นมันสถิติของฝรั่งเขา
ซึ่งก็ไม่ใครอธิบายได้ว่า เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ?

เมื่อเรามาพูดเรื่องการเกิดโรค เกี่ยวกับความชุกของโรค แต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน
สำหรับคนอังกฤษ พบคนเป็นโรคเก๊าท์ในผู้ชาย 16.4 คน ในจำนวน 1000 คน ส่วนหญิง พบเพียง 2.9 คนในจำนวน 1000

การอักเสบของไข้ข้อที่เกิดจากสารที่เป็น คริสตอล ทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบายได้อย่างรุนแรง (extremely delibitating)

ในกรณีที่ข้อถูกทำลายจากการอักเสบเรื้อรัง มีแนวโน้มที่จะตามด้วยการอักเสบจากเชื้อ แบคทีเรีย (joint infections) ได้

เรื่องอาหารการกิน มีส่วนสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคเก๊าท์ได้

สำหรับเพศ คนเป็นโรคเก๊าท์ จะพบในเพศชายได้มากว่า หญิง ในอัตราส่วน 9 : 1
ส่วนโรคเก๊าท์เทียม จะเป็นในชาย และหญิงในอัตราที่ไม่ต่างกันมากนัก (1.5 : 1)

อายุของคนที่เป็นโรคจะอยู่ระหว่าง 30 – 60 ปี

นั่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายตัวของโรคทั้งสอง

Gout vs Pseudogout: อาการ และอาการแสดง (3)

“อาการ และอาการแสดง” ของโรคเก๊าท์ และโรคเก๊าท์เทียม
มีข้อแตกต่างกันไหม ?

คนไข้ที่มาพบเราด้วยข้ออักเสบเพียงข้อเดียว และเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
เราไม่สามารถบอกได้ ว่า เขาเป็นโรคเก๊าท์แท้ เก๊าท์เทียม
หรือ เป็นโรคข้ออักเสบติดเชื้อ ?

เพราะทั้งสามโรค จะมาด้วยอาการเหมือนกันทุกประการ

คนไข้ที่มาด้วยการอักเสบที่บริเวณที่บริเวณหัวแม่เท้า (metatarsophalangeal joint) จะชวนให้นึกถึงโรคข้ออักเสบเนื่องมาจากคริสตอล....ชนิดหนึ่ง นั้นคือ โรคเก๊าท์ นั่นเอง

นอกเหนือจากหัวแม่เท้า ข้ออื่นๆ การอักเสบยังเกิดขึ้นกับข้ออื่นๆ ได้ เช่น ข้อเท้า ข้อมือ ข้อ เข่า
สำหรับข้ออักเสบที่เกิดขึ้นกับข้อไหล่ (genohumeral joint)
น่าจะเป็นอักเสบจากโรคเก้าท์เทียมมากกว่า

โรคเก้าท์เทียมมักจะเกิดขึ้นกับข้อเข่า (knee), ข้อมือ (wrist) และข้อไหล่ (shoulder)
เคยมีรายงานว่า คนที่เป็นโรคเก๊าท์เทียม มาด้วยอาการของเส้นประสาทข้อมือถูกกดรัด (carpal tunnel syndrome)

และเคยมีรายงานว่า โรคในเก๊าท์เทียม มีการสะสมของคริสตอล (CPP) ที่บริเวณพังผืด ของกระดุกสันหลัง (ligamentum flavum) แล้วกดประสาทสันหลัง แล้วทำให้เกิด อาการทางประสาทขึ้นหลายระดับ (multiple-level myelopathy)

ข้ออักเสบที่มีสาเหตุจากคริสตอล ส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเพียงข้อเดียว (monarticular)

อย่างไรก็ตาม มันอาจมาด้วยอาการอักเสบอย่างรวดเร็ว แทนที่จะเป็นข้อเดียว แต่เป็นการ อักเสบหลาย ข้อ โดยที่ข้อต่าง ๆ เกิดการอักเสบพร้อมกัน หรือค่อย ๆ เกิดตามกันอย่าง รวดเร็ว

ข้อต่าง ๆ ของแขน-ขาด้านเดียวกันอาจเกิดการอักเสบขึ้นได้ เช่น การอักเสบเกิดขึ้นที่หัวแม่ เท้าก่อน จากนั้น การอักเสบได้คืบหน้าไปเกิดการอักเสบที่กลางเท้า (midfoot) และข้อเท้า (ankle) ตามลำดับ

แม้ว่าเราไม่สามารถแยกโรคเก๊าท์ จากเก๊าท์เทียมทางด้านคลินิก
แต่ก็มีข้อ สังเกต คือ ข้ออักเสบ ที่เป็นโรคเก๊าท์ มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาเป็นชั่วโมง
ส่วนคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์เทียม การเกิดข้ออักเสบจะเริ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และอาจใช้เวลาหลาย วัน ก่อนที่คนไข้จะมีอาการเต็มที่

สำหรับรายที่มีการอักเสบเกิดขึ้นกับข้อเดิมทุกครั้ง การวินิจฉัยโรคไม่น่ามีปัญหาใด ๆ เพราะ นั่น คืออาการของข้ออักเสบที่เกิดจาก “คริสตอล” แต่ก็ควรระวังเรื่องการอักเสบจากเชื้อ แบคทีเรีย เอาไว้ด้วยทุกครั้ง

ทั้งสามโรค เก๊าท์ เก๊าท์เทียม และข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สามารถมาด้วยอาการไข้, หนาว สั่น และปวดเมื่อยตามตัว (malaise) ได้

จากประวัติจากคนไข้ สามารถแยกโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อได้ เช่น คนไข้มีการเผชิญ กับการติดเชื้อ gonorrhea (เช่น มีเพศสัมพันธุ์กับผู้หญิงโสเภณี) หรือ มีประวัติว่ามีของ แหลมทิ่มตำบริเวณข้ออักเสบ หรือมีอาการแสดงของการอักเสบทั่วไป (systemic signs of disseminated infection)

คนที่เป็นโรคเก๊าท์ มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ มีระดับไขมันในกระแสเลือดสูง (hyperlipidemia), โรคความดันโลหิตสูง, ระดับ triglyceride ในกระแสเลือดสูง, เป็น โรคไตวาย, โรคอ้วน และเป็นพวกที่ไม่ตอบสนองต่อสาร insulin
และ ปัจจัยทางสังคม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ มีโอกาสเพิ่มอันตรายให้เกิดโรคเก๊าท์ได้สูง

ประการสุดท้าย คนเป็นโรคเก๊าท์เทียม มักจะมีอาการของข้ออักเสบขึ้น เมื่อคนไข้รายนั้น ได รับการรักษาด้วยสาร etidronate disodium และภายหลังการทำการตรวจเส้นเลือดเอกซ์ เรย์ (vascular angiography)

ทั้งคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์ และโรคเก๊าท์เทียม ส่วนใหญ่จะเป็นข้อเดียว

Gout vs Psueodogout: Pathophsiology (2)

Pathophysiology หมายถึง การศึกษากลไกการเกิดโรคต่าง ๆ โดยใช้พื้นฐานความ ผิดปกติของวิชาสรีรวิทยา....

เริ่มต้น... เป็นภาษาที่ใช้กับนักศึกษาแพทย์ซะแล้ว
ผู้เขียนไม่ต้องการเช่นนั้นเลย

การที่คนไข้เป็นโรคเก๊าท์ และเก๊าท์เทียม มาพบเราด้วย ด้วยอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลัน เป็นผลเนื่องมาจาก ร่างกายตอบสนองต่อการสลายตัวของเม็ดเลือดขาว ซึ่งได้กิน “คริสตอล” ของสาร monosodium urate monohydrate (MSU) หรือ “คริสตอล” ของ calcium pyrophosphate (CPP) ซึ่งลอยตัวอยู่ภายในน้ำไขข้อ...

มีภาวะหลายอย่าง หรือ ยาหลายชนิด มีส่วนสัมพันธุ์กับการทำให้มี คริสตอล ของสาร urate เกิดในน้ำไขข้อ หรือในกระแสเลือดในปริมาณสูงกว่าระดับปกติ

พันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดโรคเช่นกัน

คริสตอลของ CPP จะถูกสร้างโดยเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง มีชื่อ คือ “nucleoside triphosphate pyrophosphohydrolase (NTPPPH)” เป็นเอ็นไซม์ ทำหน้าที่ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งเราจะพบเอ็นไซม์ตัวนี้ภายในถุง (vesicle) ที่เกิดขึ้นภายใน กระดูกอ่อนของข้อ อักเสบ (osteoarthritic cartilage)

ทางด้านพันธุกรรม มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวอยู่แล้ว
แต่กระบวนการที่ก่อให้เกิดข้ออักเสบจากความเสื่อม (osteoarthritis) นี่ซิ...
มีส่วนทำให้เกิดโรค “เก้าเทียม” ได้เช่นเดียวกัน

กล่าวโดยสรุป การเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ หรือ เก๊าท์เทียมก็ตาม ต่างเป็นผลจากร่างกาย มีการตอบสนองต่อการสลายตัวของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากมันกินสารที่เป็น คริสตอลเข้าไป... .
นอกจากนั้น ยังปรากกว่า มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น.. พันธุกรรม ยาบางชนิด รวมไปถึงการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน....ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคเก้าเทียมใน เวลาต่อมาได้

:Gout vs Pseudogout: Backgroud (1)

มีโรคไข้ข้ออักเสบอยู่สองชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้
โรค “เก๊าท์” (เก๊าท์แท้) และ “เก๊าท์เทียม”
ทั้งสองชนิด เป็นข้ออักเสบ โดยมีสาเหตุมาจาก crystal รวมตัวกันขึ้นภายในข้อที่เกิดการ การอักเสบขึ้น

โรคเก๊าท์ที่เรารู้กัน เกิดจากการมีสารเป็นคริสตอลของ Monosodium urated (MSU) เป็นตัวทำให้เกิดการข้ออักเสบขึ้น...นั่นคือคนที่เป็นเก๊าท์

ส่วนโรคเก๊าท์เทียม (Pseudogout) เป็นการอักเสบของข้อที่เกิดจากคริสตอล ซึ่งเป็น Pyrophosphate บางทีเราเรียกว่า Pyrophosphate crystal disease (CPPD)

ข้ออักเสบที่มีต้นเหตุมากจากสารที่เป็นคริสตอล เป็นข้ออักเสบที่เราพบบ่อย

โดยในราวปี ค.ศ. 1600s นาย Lowenhook เป็นคนแรกที่ได้บอกกล่าวถึงอาการของ คนไข้ที่เป็นโรคชนิดนี้ไว้
ต่อมา ในปี 1848 นาย Alfred Garrod มีศักดิ์ เป็น Sir เขาได้เชื่อมโยงโรคเก๊าท์กับ ภาวะของระดับกรด uric ในกระแสเลือดสูงที่มีความเข็มข้นสูงเอาไว้

จนกระทั้ง ในปี 1962 จึงได้รายงานว่า โรคดังกล่าว มีส่วนสัมพันธุ์กับพันธุกรรม รวมถึงความผิดปกติทาง “เมทตาบอลิซึม” ต่างๆ ด้วย

ปฏิกิริยาอักเสบที่เกิดจากโรคเก๊าท์ เกิดขึ้นเป็นสองระยะด้วยกัน
ระยะแรก (First stage) มีการกระตุ้นให้มีการสร้าง Interleukin 1B แล้วตามด้วย กระบวนการเกิดการอักเสบหลายอย่าง ซึ่งเป็นระยะที่สอง โดยมี cytokines, kemokines, monocyte kemotactic proteins, และ inflammatory mediators (ตัวเป็นสื่อกลางที่ทำให้เกิดการอักเสบ)

ส่วนเก๊าท์เทียม (Pseudogout) ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งซึ่งเกิดจากการมี “ คริสตอล” เป็นเหตุทำ ให้เกิดการอักเสบเช่นกัน
โดยที่อาการของโรค ปรากฏว่า ไม่สามารถแยกจากโรคเก้าได้

ต่อมาในปี 1962 เราจึงได้รู้ว่า....มันเป็นอีกโรคหนึ่ง ต่างหาก โดยตั้งชื่อว่า เก๊าท์เทียม หรือ Psudogout


การรักษาโรคเก๊าท์เทียม ในระยะที่เกิดโรคอย่างฉับพลันนั้น การรักษาจะเหมือนกับการรักษา โรคเก๊าท์ทุกประการ
ที่แตกต่างจากโรคเก๊าท์ คือ เราไม่มีวิธีการเฉพาะในการรักษา และ ไม่มีวิธีการป้องกันไม่ให้ มันเกิดมีอาการ (attack) เหมือนกับพวกโรคเก๊าท์เลย
ป้องกันไม่ได้

นั่นคือความรู้พื้นฐาน ที่เป็นเบื้องหลังของการเป็นโรคเก๊าท์ และเก๊าท์เทียม

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เมื่อท่านเจอคนแล้งน้ำใจ- ท่านทำอย่างไร ?

Topic: เมื่อท่านเจอคนแล้งน้ำใจ- ท่านทำอย่างไร ?
นพ. มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์

ท่านเจอคนไร้น้ำใจบ่อยไหม ?
ท่านทำอย่างไร?

คนแล้งน้ำใจ หรือคนไร้น้ำใจ....มันก็ประเภทเดียวนั่นแหละ...
คนประเภทนี้....เป็นตัวแปรอย่างหนึ่ง (stressor) ที่กดดันความรู้สึกของผู้พบเห็น
ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้
หากเราสามารถเอาชนะคนประเภทนี้ได้....เราก็รอดตัวไป
หากเราแพ้มัน....เราก็แย่

คนแล้งน้ำใจที่ว่านะ สามารถพบได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกเพศ ทุกวัย และทุกวิชาชีพ...
เมื่อเราสัมผัสคนประเภทนี้เข้า ดูเหมือนเขาจะแห้งแล้งไปหมดทุกอย่าง:
เห็นแก่ตัว ชอบโอ้อวดตัวเอง นึกว่าตัวเองเหนือคนอื่น ชอบจับผิด ไม่เห็นคนอื่นอยู่ในสายตา...และ
ท่านนึกเอาก็แล้วกัน....สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย คนประเภทนี้ จะมี...

เปรียบคนแล้งน้ำใจกับต้นไม้ หรือดอกไม้...
คนที่มีจิตใจดีงาม จะเหมือนดอกกุหลาบยามรุ่งอรุณ เมื่อถูกกลิ่นไอของน้ำค้าง...
กลีบใบของมันจะสดชื่น....โชยกลิ่นหอมชวนดม และชวนมอง
ถ้าเป็นต้นไม้ละ...จะเห็นมันมีสีเขียวสดชื่น นอกจากเป็นที่พักพิงเพื่อหลบแดดฝนของผู้คน
ยังเป็นที่อยู่อาศัยของนก กา

เมื่อเราไม่สามารถหลีกพ้นจากพวกแล้งน้ำใจ เราจะทำอย่างไร ?
ทางแรก คือ ปล่อยให้เป็นไม้ตายซากไปซะ... หรือ
ให้ความเมตตาแก่เขา....เพราะคนพวกนี้ เป็นคนขาด
เขาขาดทุกอย่างที่พวกเราเรามี.....
จงหัดมองโลกในแง่ขำขัน
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ หลับพักผ่อนให้พอ และ
ปฏิบัติธรรม- เจริญภาวนา (สติ) ทุกวัน

เมื่อเราให้ในสิ่งที่เขาขาด อย่างน้อย ๆ ก็เป็นการช่วยให้เขาหายจากความแห้งแล้งลงได้บ้าง
แม้ว่าเขาจะเป็นคนแห้งไปจนตายก็ตามที
การให้ จะทำให้เรารู้สึกสบายใจ
ให้คิดเสียว่า....มันเป็นธรรมดาของโลก... จะต้องมีคนแล้งน้ำใจประดับโลก
จึงจะทำให้เราได้เห็นคนที่มีน้ำใจดีงาม

โลกที่อยู่รอบตัวเรา....มันก็เป็นเช่นนี้เอง

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Vasculits: Management (6)

ผลจากการวินิจฉัยว่า คนไข้เป็นโรค vasculitis

การรักษาที่ใช้ในคนไข้ ที่เป็นโรคเส้นเลือดอักเสบ จะใช้แบบใดเป็นการเฉพาะ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมของคนไข้เป็นประการ สำคัญ
แม้ว่า โรคเส้นเลือดอักเสบบางชนิด เช่น Henoch-Shonlein’s purpura เป็น การอักเสบของเส้นเลือดเส้นเล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด มันหายเองได้ ส่วนชนิดอื่น จำเป็นต้องได้รับการรักษา

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาได้แก่:

• Corticosteroids:

เพื่อเป็นการรักษาเส้นเลือดอักเสบ ยาที่ใช้ในการรักษาการอักเสบ คือ prednisolone หรือ methylprednisolone (Medrol)
การให้ยาพวกนี้ในระยะยาว จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น กระดูกพรุน (osteoporosis) และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (weight gain)
เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว ท่านสามารถกระทำได้ ด้วยการใช้ยาในขนาดที่น้อยที่สุด
• Immunosuppressive drugs:
ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือ รายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่ม corticosteroids. ท่านอาจได้รับยา cytotoxic ซึ่งได้แก่ Azathioprine (Imuran), Cyclophosphamide (Cytoxan)

ถ้าคนไข้ได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะมีพยากรณ์โรคที่ดี
สิ่งท้าทายที่สุดสำหรับตัวท่านเอง คือ ท่านต้องต่อสู้กับผลข้างเคียงของยา ที่ท่านต้องรับประทานเพื่อผลการรักษา
ซึ่งมีคำแนะนำให้ท่านปฏิบัติ ดังนี้:

• เข้าใจสภาพของตัวท่านเอง:
ท่านจะต้องเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับโรคเส้นเลือดอักเสบ รวมถึงการรักษาทีท่านได้รับ เรียนให้รู้ถึงผลข้างเคียงของยาทุกชนิด และรายงานให้แพทย์ผุู้ทำการรักษาให้ทราบ

• รับประทานอาหารสุขภาพ
เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์ ท่านควรรับประทานอาการประเภทผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงพวกไขมัน ลดอาหารเค็มลง

• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ท่านออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที แพทย์อาจให้คำแนะนำแก่ท่านได้ว่า ท่านควรออกกำลังกายแบบใด...

• นอนหลับพักผ่อนให้พอ.

ท่านควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง หลังจากที่ร่างกายของท่านผ่านการงาน และความกดดันในตอนกลางวัน

Polymyositis: Basics (1)

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (polymyositis) เป็นโรคของเนื้อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง ซึ่ง พบได้ไม่ บ่อยนัก
เมื่อมีการอักเสบของกล้ามเนื้อขึ้น จะทำให้เกิดอาการอ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่การควบคุมการเคลื่อนไหวกาย

ในขณะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ จะพบเซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ของภูมิต้านทาน (lymphocytes) แทรกตัวเข้าไปในในใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers) ที่อยู่ใกล้ชิด กับลำตัว เช่น กล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา ไหล่....

อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาจรุนแรง หรือมีอาการเพิ่มขึ้น (flares or relapse) และมีอาการลดน้อยลง หรือไม่มีอาการเลย (remissions)ก็ได้

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ มักจะเกิดขึ้นกับสตรีมากกว่าชายเล็กน้อย
เกิดขึ้นในคนทุกอายุ แม้ว่าจะเกิดในวัยเด็กก็ตาม

โรคชนิดนี้อาจมีอาการทางผิวหนังร่วมด้วย เช่น มีผื่นที่ผิวหนัง
ในกรณีเช่นนี้เราเรียกว่า Dermatomyositis

มันอาจเกิดขึ้นกับระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ด้วย ซึ่งกรณีดงกล่าว เราเรียกว่า systemic illness.

บางครั้ง กล้ามเนื้ออักเสบ อาจเกิดร่วมกับมะเร็ง (cancer) หรือเกิดร่วมกับโรค เนื้อเยื้อเกี่ยวพันชนิดอื่นได้

Next > Cause of polymyositis

Polymyositis: Causes (2)

ในขณะนี้ นักวิจัยทั้งหลาย ยังไม่สามารถบอกได้ว่า
อะไรเป็นต้นเหตุทำให้เกิด โรคกล้ามเนื้ออักเสบ

ปรากฏว่า การอักเสบทั้งหลาย (infections)ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พยาธิ หรือไวรัส ต่างทำให้ เกิดมีการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แต่แพทย์ส่วนใหญ่เขาไม่ทราบว่า มี การอักเสบที่เกิดล่วงหน้ามาก่อนนั้น

บางท่าน คิดว่า คนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว อาจจะมีพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ คน ๆ นั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อขึ้น

ที่สำคัญ ในโรคการอักเสบของกล้ามเนื้อ มันมีลักษณะที่ส่อให้เห็นว่า มันเกิดจากความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน (autoimmune disorders) มีการ ทำลายเซลล์ หรือเนื้อเยื่อ ที่เป็นปกติของร่างกายตัวเอง

อย่างที่เรารู้มา ระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกป้องเซลล์ปกติของท่านเอง ให้ พ้นจากศัตรู หรือสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย และ ไวรัส ทั้งหลาย

เมื่อท่านเกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นมา โดยที่เราไม่ทราบเหตุ...
ตัวต้นเหตุที่เราไม่ทราบนั้นแหละ เป็นตัวกระตุ้น (trigger) ระบบภุมิคุ้ม กันของท่านเอง....จากนั้น ระบบดังกล่าว จะสร้าง antibodies ขึ้นมามากมาย
และแล้ว สารที่ถูกสร้างขึ้นนี้แหละจะทำการทำลายเซลล์ หรือเนื้อเยื่อของตัวเอง

มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดสำหรับให้คนเราได้ศึกษา ?
ให้เราได้เรียนรู้ธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ว่า ภายในตัวเราเองแท้ ๆ
ซึ่งหมายถึงระบบภูมิคุ้มกันของเรา ยังเข้าใจส่วนประกอบของตัวเองผิดไปเลย
จนเป็นเหตุให้เกิดโรคกับตัวของเราเองขึ้น

นับประสาอะไรกับเหตุการณ์ที่ปรากฏนอกกาย มีกรณีขัดแย้งกันมากมาย
จึงถือเป็นเรื่องปกติของมนุษยชาติ
ว่ามันต้องเป็นเช่นนั้นเอง

เราเพียงเป็นผู้ดูเท่านั้นเอง...

ดูว่า มันจะพัฒนาไปอย่างไร ?

Polymyositis: Symptoms (3)

คนไข้ที่เป็นโรค “กล้ามเนื้ออักเสบ” (polymyositis) เขาจะมาพบเราด้วย อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรง ( myscle weakness)
โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ใกล้กับใจกลางของร่างกาย

การเกิดโรคนี้ อาจเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ก็ได้
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ พร้อมๆ กับขนาดของ กล้ามเนื้อหดลีบลง (atrophy)

อาการอ่อนแรงจะปรากฏให้เห็นด้วยอาการ ลุกจากเก้าอี้ลำบาก หรือเดินขึ้นบันได ไม่ค่อยไหว
ยกศีรษะจากหมอนไม่ได้ กลืนอาหารด้วยความลำบาก

นอกจากนั้น เมื่อสัมผัส หรือแตะถูกกล้ามเนื้ออักเสบ จะรู้สึกเจ็บ
(มีประมาณ 25 % ของคนไข้)

คนไข้มีความรู้สึกเหนื่อยเพลีย มีความรู้สึกไม่สบาย (discomfort) น้ำหนักลด และอาจมีไข้ต่ำ ๆ

ในรายที่มีผิวหนังเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (dermatomyositis) จะพบว่ามีผื่นบนผิวหนังที่บริเวณหลังมือ (knuckle) ข้อศอก, และเข่า มีชื่อให้เรียกว่า Gotten’s sign
นอกจากนั้น ยังพบผื่นแดงบนใบหน้า, ข้อ และ หน้าอก
พบก้อนที่เกิดจากสาร “แคลเซี่ยม” เกาะตามผิวหนัง ซึ่งจะปรากฏในรายที่มีผิวหนัง เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (dermatomyositis)

ในกรณีที่มีหัวใจ และปอดเข้ามาเกี่ยวข้อง จะทำให้คนไข้เกิดมีอาการหายใจลำบาก มีการเต้น ของหัวใจผิดปกติ หัวใจล้มเหลว หรือมีอาการหายใจลำบาก

เนื่องจากโรคกล้ามเนื้ออักเสบ มักจะปรากฏเป็นโรคหนึ่งในสามโรค (lupus, scleroderma และ polymyositis) ซึ่งในตอนแรกๆ เราไม่ทราบว่า มันเป็นชนิดใด จึงเรียก รวมว่า เป็นโรค “เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน...ชนิดร่วม” (mixed connective tissue disease) ซึ่งได้กล่าวถึงโรคนี้มาก่อนแล้ว

สุดท้าย สิ่งที่เราควรทราบเอาไว้...ทั้ง “กล้ามเนื้ออักเสบ” และ “กล้ามเนื้อและ ผิวหนังอักเสบ” บางครั้งอาจปรากฏร่วมกับโรค “มะเร็ง” ก็ได้...เช่น มะเร็งของ ต่อมน้ำเหลือง (lymphoma), มะเร็งของเต้านม , มะเร็งขอปอด, มะเร็ง ของรังไข่ และมะเร็ง ของลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ขอจบลงด้วยคำว่า “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ซะเมื่อไหร่”

Polymyositis: Management (4)

หลังจากที่แพทย์ตรวจทราบว่า คุณเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ
การรักษานั้นเป็นเรื่องไม่ยากสำหรับแพทย์

สำหรับท่าน ในฐานที่ท่านเป็นโรคดังกล่าว สิ่งmujจำเป็นสำหนับท่าน คือ
ท่านต้องเรียนรู้ทุกงแง่มุมของโรคที่ท่านเป็น ประการต่อมา ท่านต้องเรียนรู้ยาทุกชนิด ทีท่านรับประทาน นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งคัดแล้ว ท่าน จะต้องรู้และคอยระวังผลข้างเคียง ที่จะเกิอดจากยาทุกชนิดที่ท่านรับประทานเข้าไป....

Medications (ยา)

 Corticosrteroids. ยากลุ่มนี้ จะทำหน้าที่สะกดการอักเสบ ซึ่งเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของท่านเอง โดยการไปสกัดไม่ให้สร้าง antibody ขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เป็นการลดการอักเสบที่เกิดให้ลดลง

ยาที่นำมาใช้ได้แก่ prednisolone เป็นยาตัวแรก ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

เริ่มต้น แพทย์เขาจะให้ในขนาดที่สูงมาก เมื่ออาการของท่านดีขึ้น แพทย์เขาจะลดขนาดของยาลง

อาการของท่านจะดีขึ้นภายใน 2-4 อาทิตย์เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้ว การรักษาทีท่านจะได้รับ จะรักษาติดต่อไปเป็นปี

ในการรักษาระยะยาวนั้น ท่านอาจได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว ท่านจะได้รับยา หรืออาหารเสริม เช่น Calcium และ vitamin D และ ยาในกลุ่ม bisphosphonate เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งได้แก่ alandronate (Fosamex), risedronate (Actonet), หรือ zoledronic acid (Reclast)

 Corticosteroid-sparing agents.

แพทย์อาจไม่ต้องการใช้ยาในกลุ่ม corticosteroids เพราะกลัวผลแทรกซ้อน หรือ โรคไม่ตอบสนองต่อยาที่ได้รับ
ยาที่แพทย์นำมาใช้ได้แก่ azathioprine (imunran) หรือ methotrexate (Rheumatrex)

การให้ยาในกลุ่มนี้ อาจให้ร่วมกับยาในกลุ่ม corticosteroids ก็ได้

 Antibody Therapy.

พวก immunoglobulin ซึ่งมี antibodies ของคนปกติ (donors) สามารถนำมาใช้สกัดการทำลาย antibodies ที่ผิดปรกติ ภายในตัวของท่านลงได้

Next > cont. treatment of polymyositis

Polymyositis: management (5)

Cont.

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (polymyositis)
นอกเหนือจาก การรักษาด้วย corticosteroids & immunosuppressive drugs แล้ว
ยังมีการรักษาอย่างอื่นเพิ่มอีก เช่น

 Immunosuppressive therapy.
ในการรักษาด้วยยากลุ่ม corticosteroids ไม่ได้ผล แพทย์อาจให้ร่วมกับยาในกลุ่ม immunosup0pressive drugs ดังต่อไปนี้ เช่น cyclophosphamide (Cytoxan), cyclosporine (Neoral,Sandimmune) อาจทำให้อาการ-อาการแสดงของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ และโรคปวด (interstial lung disease) ดีขึ้นได้
นอกเหนือจากทีกล่าวมา ยังมีการรักษาอย่างอื่นเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งสามารถสกัดยับยั้งการทำงานของระบบภูมคุ้มกัน ทีผิดปกติลงได้ เช่น

 Tacrolimus (Prograf).
เป็นยาที่ใช้ในคนไข้ที่ได้ร้บผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เป็นยาที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายไม่ยอมรับอวัยวะที่ให้ (transplant-rejection drug)
ยาตัวนี้ อาจยับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของท่าน ไม่ให้ทำงานที่ผิดปรกติได้

นอกเหนือจากกรรมวีดังกล่าว กายภาพบำบัดสามารถช่วยเหลือท่าน เพื่อทำให้ท่านคงสภาพของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวข้อเป็นปกติ ช่วยเหลือตัวเองได้....

Scleroderma: Basics (1)





โรคหนังแข็ง scleroderma) เป็นอีกโรคหนึ่ง มีเหตุมาจากระบบภูมิต้านทานทำงานผิดปกติไป เป็นโรคซึ่งพบไม่ได้บ่อยนักหรอก

อย่างที่กล่าว ระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกป้องคุ้มกันร่างกายของเราให้รอดพ้นจากสิ่งแปลกปลอม แต่เกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ มันเพี้ยนไป...
ทำหน้าที่กระตุ้นร่างกายให้ผลิต collagen ออกมาในปริมาณมากเกินไป
เป็นผลให้มีสาร collagen ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ไปเกาะตามผิวหนัง และอวัยวะต่าง ๆ
ทำให้อวัยวะดังกล่าว “แข็ง” และมีความหนาเพิ่มขึ้น

โรคพวกนี้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผิวหนัง สามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่นของร่างกายได้ เช่น กระเพาะลำไส้, ปอด , ไต , หัวใจ, เส้นเลือด, กล้ามเนื้อ และข้อ
รายที่เป็นมาก เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

โรคหนังแข็งมีสองชนิด ชนิดเฉพาะที่ (localized form) หรือรายกระจายทั่วไป (systemic form)
รายที่เป็นเฉพาะที่ มันมีความผิดปกติที่ผิวหนังบางแห่งเท่านั้น
พวกนี้อาการไม่ค่อยรุนแรง อาจไม่ต้องรักษาแต่อย่างใด

ส่วนพวก systemic form นอกจากมีความผิดปกติที่ผิวหนังแล้ว โรคยังเกิดขึ้นกับอวัยวะอย่างอื่นด้วย ที่สำคัญ คือ มีอันตรายถึงขั้นทำลายชีวิตได้ด้วย

ในรายที่เป็นเฉพาะที่ บางครั้งเรารู้ในชื่ออีกชื่อหนึ่ง คือ Crest syndrome ซึ่งหมาย ซึ่งประกอบไปด้วย:

• Calcinocis (มีสารแคลเซี่ยมไปเกาะตามผิวหนัง)
• Raynaud’s phenomenon
• Esophageal dysmotility(กลืนอาหารลำบาก)
• Sclerodactyly (นิ้วแข็ง)
• Telangectasias(เป็นจุดสีแดงที่ผิวหนัง)

คนไข้ที่เป็นโรค localized form จะเกิดความผิดปกติที่ผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ ไม่กระทบกับอวัยวะภายใน เช่น ไต
มันจะทำให้ นิ้วมือ แขน ต้นแขน บางทีเกิดขึ้นที่เท้า และขาด้วย ทำให้อวัยวะ ดังกล่าวแข็งเหมือนแผลเป็น (scar) อย่างนั้นแหละ

โรคนี้สามารถทำให้คนไข้เกิด Pulmonary hypertension โดยที่เส้นเลือดจากหัวใจไปปอดเกิดแข็งตัว และแคบลง สุดท้ายทำให้เกิดหัวใจด้านขวาทำงานหนัก จนกระทั้ง เกิดความล้มเหลวได้ (rt. side heart failure)

Next> Symptoms

Scleroderma: Symptoms (2)

นอกเหนือไปจากผิวหนังแข็ง ตามชื่อที่มันบ่งบอกแล้ว
คนไข้พวกนี้ ยังมีอาการอย่างอื่นปรากฏให้เห็นได้ เช่น:

• Raynaud’s phenomenon: ร่างกายของคนเป็นโรคจะตอบสนองต่อการกระตุ้น เช่น ความเย็น และความกดดันทางด้านอารมณ์ ทำให้เส้นเลือดแดงของนิ้วมือ และมือ หดตัวอย่างมาก ยังผลให้คนไข้มีความรู้สึกมึนชา และปวดที่บริเวณมือ และเท้า พร้อม ๆ กับทำให้สีของผิวหนังบริเวณดังกล่าวเปลี่ยนไป

• Skin Changes: มีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นเช่น อาการบวมที่มือ และนิ้ว มีผิวหนังเป็นแผ่นเข็ง โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณนิ้วมือ; ผิวหนังรอบบริเวณมือ ปาก และใบหน้า จะตึง นอกนั้นยังพบว่า นอกจากผิวตึง เป็นเป็นมันแล้ว ยังทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเป็นไปด้วยความลำบาก

• Gastro-intestinal problems: ปัญหาที่พบบ่อยทีสุด คือ กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับสู่ท่ออาหารเหนือกระเพาะ (aesopageal) ซึ่งทำให้เกิดรอยแผลตรงบริเวณดังกล่าวอีกด้วย นอกเหนือไปจากนั้น ยังทำให้คนไข้เกิดโรคขาดอาหารเพิ่มเข้าไปอีก (ซึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวลำไส้ผิดปกตินั้นเอง)

ในรายที่เป็นโรคผิวหนังแข็งเฉพาะที่ (localized form) พวกนี้ จะมีอาการ และอาการแสดงให้เห็น ดังนี้:

• Morphea : มีแผ่นผิวหนังแข็ง มีลักษณะเป็นวงกลมรี ตรงกลางสีขาว ขอบๆ เป็นสี purple ปรากฏสองสามจุดบนร่างกาย หรือกระจายทั่วไป เมื่อเวลาผ่านไป สีของผิวหนังที่แข็งดังกล่าว จะค่อยๆ ซีดลง และกลายเป็นสีเข็ม...

• Linear scleroderma: แผ่นหนังแข็งที่ปรากฏเป็นแผ่น (brands) จะปรากฏที่บริเวณของแขนข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง หรือที่ขาทั้งสอง หรือบริเวณหน้าผาก ส่วนใหญ่แล้ว แผ่นผิวหนังแข็งนั้น จะพบด้านด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย

• Systemic scleroderma: อีกชื่อหนึ่งเรียก systemic sclerosis พวกนี้ นอกจากโรคจะเกิดขึ้นกับผิวหนังแล้ว มันยังเกิดขึ้นกับเส้นเลือด และอวัยวะภายในอีกด้วย

• นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว โรคหนังแข็ง ยังแบ่งย่อยออกไปเป็น limited scleroderma หรืออีกชื่อคือ CREST syndrome

• ในคนไข้ที่เป็น systemic scleroderma พบว่า บางรายผิวหนังแข็งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
และค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ เป็นเวลาหลายปี จากนั้น อาการอาจหยุดลง และหายไปโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างใด

Next > Causes

Scleroderma: Causes (3)

อย่างที่กล่าวมาก่อนว่า ระบบภูมิต้านทาน สร้าง antibody ขึ้นมา แล้วมันไปกระตุ้นให้มีการสร้างสาร collagen อย่างมากมายขึ้นในร่างกาย

Collagen เป็นโปรตีนชนิดที่เป็นพังผืด เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื้อเกี่ยวพัน (connective tissue) รวมทั้งผิวหนัง

มีปัจจัยหลายอย่าง ที่ไปเพิ่มอันตรายให้แก่คนไข้ที่เป็นโรคผิวหนังแข็ง (scleroderma)

เช่น

• เชื้อชาติ (Race) กลุ่มชนบางกลุ่ม สามารถเกิดโรค “หนังแข็ง” ได้มากกว่ากลุ่มชนอื่น เช่น

o เชื้อชาติอเมริกัน สาย Choctaw A native American เป็นกลุ่มคนที่เกิดโรคชนิดนี้ได้มากกว่ากลุ่มอื่นถึง 20 เท่า ส่วนพวก Chocktaw ที่อาศัยในบริเวณ Mississippi กลับไม่เป็นเช่นนั้น
ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น....
ไม่มีใครทราบ ?

African Amerucan สายอเมริกันผิวดำ จะเป็นโรคผิวหนังแข็งได้ มากกว่า พวกที่มาจากยุโรป (European descent)

• Gender โรคหนังแข็งจะเกิดในหญิงมากกว่าชาย อย่างน้อย 4 เท่าตัว

• Environmental factors: การที่คนเราเผชิญกับปัจจัยภายนอกร่างกาย สามารถก่อให้เกิดโรคดังกล่าวได้ เช่น


o Silica dust

o Industrial solvents- paint thinner

o Some chemical drugs- ยาบางตัว

นั่นคือสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดหนังแข็งขึ้น

Next > Tests and Diagnosis

Scleroderma: Diagnosis(4)

Topic: Scleroderma: Diagnosis(4)
นพ. มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์

แพทย์เจอคนไข้หนังแข็งเข้า เขาจะทำการสั่งตรวจอะไรหลายอย่าง...

• ตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์ สิ่งที่แพทย์จะตรวจ คือตรวจหา antibody ในกระแสเลือด
ในคนไข้โรคหนังแข็ง จะพบสารที่เป็น antibodies ในปริมาณเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป้นข้อบ่งบอกให้ทราบว่า คนไข้รายนั้นเป็นโรคทางระบบภูมิต้านทาน

ตรวจชิ้นเนื้อ ตัดเอาชิ้นเนื้อจากบริเวณที่แข็ง ไปทำการตรวจดู จะพบความผิดปกติ

• ตรวจ และประเมินผิวหนัง แพทย์จะทำการตรวจประเมินผิวหนังประมาณ 17 ตำแหน่ง เพื่อ พิจารณาดูความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภายในอวัยวะภายในร่างกาย

ผลจากการตรวจที่ได้ จะนำไปสู่การสั่งตรวจอย่างอื่น ที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า โรคนั้นเกิด กับอวัยวะอะไรบ้าง เช่น ปอด ไต หัวใจ กระเพาะและลำไส้

Next > Management

Scleroderma: Management (5)

ในคนไข้ที่เป็นโรคหนังแข็งเฉพาะที่ (limited scleroderma) ...
ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
การรักษามุ่งไปที่ลดอาการ -อาการแสดง และป้องกันไม่ให้ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น


ยาที่นำมาใช้ในการรักษา เพื่อ:

o ขยายเส้นเลือด (dilating the blood vessels)

ยาที่สามารถลดความดันโลหิต ซึ่งทำหน้าที่ขยายเส้นเลือด สามารถนำมาใช้รักษา ป้องกันไม่ให้เกิดมีปัญหาขึ้นกับปอด ไต และ อาจรักษาโรค Raynaud’s ได้

o สกัดกั้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (suppress immune system):

ยาที่เรานำมาใช้ในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ สามารถนำมาใช้ในการรักษาคนไข้พวกหนังแข็งได้ การรักษาด้วยวิธีนี้ จะมีประโยชน์ในรายที่มีปริมาณ collagen ถูกสร้างในปริมาณมาก ๆ เช่น ในบริเวณถุงลมของปอด

o Antacid drugs:

ใช้ในกรณีที่มีอาการทางกระเพาะ ด้วยการใช้ยาลดกรดของกระเพาะ

Therapy (การภาพบำบัด):

o กายภาพบัดบัด และอาชีวะบำบัด สามารถช่วยเหลือคนไข้ ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สามารถปฏิบัติภารกิจได้

o Cosmetic procedure:
Ultraviolet light สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคหนังแข็งได้

Surgery:

o Calcium deposits.

ในรายที่มีหินปูนเกิดขึ้นตามผิวหนัง ชนิดที่มีอาการเจ็บปวด (painful calcium deposit) สามารถผ่าเอาออก ช่วยให้หายจากความเจ็บปวดได้

o Red spots or line.

Laser surgery สามารถนำมาใช้ลดปริมาณของตุ่มสีแดงตามผิวหนัง ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดบวม เส้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตามผิวหนัง

o Gangrene in fingers.

ในรายที่แผลตามปลายนิ้ว แปลสภาพเป็นเน่า (gangrene) จำเป็นต้องผ่าตัดเอาออก (amputation)

Scleroderma: Complication (6)

ใครก็ตามที่เกิดโรคหนังแข็งขึ้น ย่อมเกิดภาวะแทรกซ้อนได้จากน้อยไปหามาก เช่น

• Circulatory complications. คนไข้โรคหนังแข็ง มาด้วยอาการของ Raynaud’s phenomenon ได้หลายรูปแบบ โดยเกิดจากเนื้อเยื้อที่บริเวณนิ้วมือขาดเลือด เป็นเหตุให้เกิดมีแผลที่ปลายนิ้ว บางรายอาจเน่าตายเพราะขาดเลือด อาจถึงกับต้องตัดนิ้วทิ้งไป

• Lung complication. เกิดพังผืดขึ้นที่เนื้อปอด (pulmonary fibrosis) ทำให้การทำงานของปอดเสียไป อาจเป็นเหตุให้เกิดความดันเลือดในปอดสูงขึ้น (pulmonary hypertension)

• Kidney complications. คนไข้อาจเกิดความดันโลหิตสูง มีโปรตีนถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และ อาจทำให้เกิดไตวายได้ในที่สุด

• Heart complication. การมีแผลเป็น (scar) ในกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นเหตุให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ, ทำให้ถุงหุ้มหัวใจเกิดการอักเสบ (pericarditis) มีโอกาสเกิดหัวใจล้มเหลวได้ที่สุด

• Dental complication. คนเป็นโรคผิวหนังแข็ง มีโอกาสเกิดปัญหาในปากได้ เป็นเพราะหนังรอบปากแข็ง ทำให้อ้าปากลำบาก ทำความสะอาดได้ไม่ดี มีโอกาสทำให้ปาก ฟันสกปกติ นั่นประการหนึ่ง ประการต่อมา ต่อมน้ำลายแห้ง (ผลิตน้ำลายได้น้อย เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบของเหงือก และฟันได้

• Digestive complication. โรคผิวหนังแข็ง จะกระทบต่อกระเพาะลำไส้ได้ ทำให้กระเพาะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ มีกรดไหลย้อนกลับ กลืนลำบาก นอกเหนือไปจากนั้น คนไข้ยังมีอาการท้องผูก และท้องล้วงได้

• Sexual complications. คนไข้พวกนี้มักมีปัญหาเรื่อง erectile dysfunction……

Vasculitis: Basics (1)

เส้นเลือดอักเสบ หรือ vasculitis

การอักเสบของเส้นเลือด จะก่อให้ผนังของมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ผนังของมันหนาขึ้น ความแข็งแรงลดลง (weakening) ตีบแคบ และมีแผลเป็น(scar formation) เกิดขึ้นที่ผนังเส้นเลือด
นอกจากชื่อ vasculitis แล้ว ยังมีชื่ออื่นให้เรียก เช่น angiitis และ arteritis
ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน

คนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว อาจมาพบแพทย์ได้หลายรูปแบบ เช่น แบบเฉียบพลัน(sudden onset) หรือแบบ เรื้อรัง (chronic)
คนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว อาจมีความรุนแรง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ ๆ ลดน้อยลง เป็นเหตุให้อวัยวะนั้น ๆ ถูกทำลาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคชนิดนี้ อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ บางชนิดเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มได้บ่อย
บางชนิดหายได้เอง โดยไม่ต้องรักษา
แต่บางชนิดจำเป็นต้องรักษา และอาจต้องรักษาเป็นเวลายาวนานอีกด้วย

โดยทั่วไป คนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดอักเสบ มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการต่อไปนี้:

• มีไข้ (fever)

• เพลีย (fatique)

• น้ำหนักลด (weight loss)

• ปวดกล้ามเนื้อ และข้อ (muscle and joint pain)

• ไม่อยากรับประทานอาหาร (loss of appetite)

• ปัญหาทางประสาท เช่น มีอาการชา (numbness) และ อ่อนแรง (weakness)

Next > Symptoms & Signs by Types

Vasculitis : Symptoms & Signs by Types (3)

ว่ากันตามชนิด (Types) ของคนที่เป็นโรค Vasculitis ต่อจากบทความคราวที่แล้ว

• Hypersensitivity vasculitis:
อาการแสดงของคนไข้ที่เป็นโรคนี้ จะมีจุดแดงบนผิวหนัง และถูกกระตุ้นด้วยบางอย่าง เช่น จากการแพ้ (allergy) ซึ่งส่วนมากจะเกิดจากรับประทานยาบางชนิด แล้วเกิดแพ้ขึ้นมา แล้วทำให้จุดแดง ๆ บนผิวหนังมีมากยิ่งขึ้น นอกจากยาแล้ว การอักเสบที่เกิดขึ้นกับร่างกายยังเป็นตัวกระตุ้นได้เช่นกัน

• Kawasaki disease: เรายังรู้มันในอีกชื่อว่า mucocutanuous lymphnode syndrome ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ-อาการแสดง ประกอบด้วย ไข้ (fever), ผื่นตามผิวหนัง (skin rash) และ มีการอักเสบของตา (eye inflammation)

• Microscopic polyangiits: ภาวะนี้ จะเป็นการอักเสบของเส้นเลือดขนาดเล็ก ของ ไต,
ปอด และ ผิวหนัง อาการ-อาการแสดง ประกอบด้วย ผื่นตามผิวหนัง มีไข้ น้ำหนักลด และมีโรคไต-glomeronephritis ซึ่งมีสาเหตุจากเส้นเลือดอักเสบ และมีการอักเสบของประสาท

• Polyarteritis nodsa: เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเส้นเลือดระดับกลาง ซึ่งกระทบกับอวัยวะหลายอย่าง เช่น ผิวหนัง หัวใจ ไต เส้นประสาทส่วนปลาย กล้ามเนื้อและลำไส้
อาการ-อาการแสดง มีผื่นตามผิวหนัง และแผลตามผิวหนัง ปวดตามกล้ามเนื้อ-ข้อ ปวดท้อง และปัญหาเกี่ยวกับไต

• Polymyalgia Rheumatica: ภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุกันเป็นส่วนใหญ่ ยังผลให้เกิดอาการปวด , มีการอักเสบของข้อใหญ่ ๆ เช่น สะโพก, ไหล่ , ข้อเข่า, ยังผลให้การเคลื่อนของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ นอกจากจะทำด้วยความลำบากแล้ว ยังมีอาการปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อของไหล่, สะโพก , ต้นแขน , และคอ....
ภาวะเช่นนี้ มักมีโรค Giant cell arteritis ร่วมด้วย

• Rheumatoid vasculitis: ภาวะเช่นนี้ มักเป็นผลแทรกซ้อนของโรค Rheumatoid ซึ่งในคนสูงอายุ ที่มีอาการรุนแรง
อาการ-อาการแสดง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย เช่น ตา ผิวหนัง มือ และเท้า

• Takayasu’s arteritis: พวกนี้เป็นการอักเสบของเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น aorta ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการ-อาการแสดง ดังนี้ มีแขนอ่อนแรง หรือปวดเวลาใช้งาน คลำชีพจรไม่ได้ วิงเวียนจะเป็นลม ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว – เห็นภาพซ้อน

• Wegener’s granulomatosis: พวกนี้จะมีอาการอักเสบของจมูก, sinuses, คอ (throat), ปอด, และไต คนไข้พวกนี้จะมีอาการ-อาการแสดง เช่น คัดจมูกบ่อย ๆ, หายใจลำบาก, เลือดกำเดาออก , และมีการอักเสบของหูบ่อย ๆ

ทั้งหมดเป็นอาการ และอาการแสดงของคนที่เป็นโรคเส้นเลือดอักเสบ ทั้งขนาดเล็ก, กลาง, และ ใหญ่ ซึ่งท่านจำเป็นต้องพบแพทย์ทั้งนั้น

Next > Vasculitis: Causes

Vasculitis: Symptoms&signs by type (2)

ในคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดอักเสบ
นอกจากมีอาการทั่วไป เช่น ไข้, เพลีย, ปวดกล้ามเนื้อ - ข้อ, น้ำหนักลด, กล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีอาการชาแล้ว ยังมีอาการอย่างอื่น ตามชนิดของเส้นเลือดอักเสบ ให้เราได้ศึกษา ดังนี้:

• Behcet’s syndrome: เป็นภาวะที่เส้นเลือดทั้งแดง และดำ เกิดการอักเสบขึ้น ซึ่งจะเกิดในคนอายุระหว่าง 20s – 30s
อาการแสดงประกอบด้วย มีแผลที่ปาก และอวัยวะเพศ (ulcer), มีตาอักเสบ (eye inflammation) และมีรอยแผลตามผิวหนัง ลักษณะคล้ายสิว (acne-like)

• Buerger’s disease: มีอีกชื่อเรียก Thromboangiitis obliterans เป็นการอักเสบของเส้นเลือดที่บริเวณแขน และขา พร้อมกับมีก้อนเลือดในเส้นเลือด
อาการ และอาการแสดงประกอบด้วย ปวดที่บริเวณ มือ แขน เท้า และขา มีแผลที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า และมักจะมีส่วนร่วมกับการสูบบุหรี่

• Churg-Strauss syndrome: มีอีกชื่อเรียก granulomatous angiitis หรือ allergic angiitis เป็นการอักเสบของเส้นเลือดในปอด ซึ่งทำให้คนไข้มาพบแพทย์ด้วยเรื่องโรค “หอบหืด” (asthama)

• Cryoglobulinemia: พวกนี้มักจะเกิดร่วมกับคนไข้ที่เป็น Hepatitis C infections
อาการ และอาการแสดง จะมาด้วยผื่น (rash) เรียก purpura ที่บริเวณขา มีข้ออักเสบ (arthritis) อ่อนแรง (weakness) และมีอาการทางประสาท (neuropathy)

• Giant cell arteritis: เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในคนสูงอายุมากกว่า 50s เป็นการอักเสบของเส้นเลือดที่บริเวณศีรษะ โดยเฉพาะเส้นเลือดตรงขมับ ทำให้คนไข้มีอาการปวดศีรษะ เจ็บที่บริเวณหนังศีรษะ ปวดกรามเวลาเคี้ยวอาหาร สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน บางรายถึงกับตาบอด พวกนี้อาจเกิดร่วมกับโรค polymyalgia rhuematica

• Henoch- Schonlain purpura: เป็นการอักเสบของเส้นเลือดของ ผิวหนัง ข้อต่อ ลำไส้ และของไต
อาการ และอาการแสดงของโรคนี้ ประกอบด้วย ปวดท้อง (abdominal pain) มีเลือดในปัสสาวะ (hematuria) ปวดข้อ (joint pain) มีผื่น (rash- purpura)ที่บริเวณสะโพก ขา และเท้า
พวกนี้มักเกิดขึ้นในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกอายุได้เหมือนกัน

Next > Symptoms & signs by type…cont.

Vasculitis: Causes (4)

เส้นเลือดอักเสบ (vasculitis) เป็นผลจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราเอง โจมตี เส้นเลือดของตนเอง
จึงเกิดอักเสบขึ้น
เป็นเรื่องที่เราไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น
มีปัจจัยหลายอย่างที่เรารู้ว่า มันไปกระตุ้นให้เหตุการณ์ดังกล่าว ขึ้น เช่น การอักเสบ มะเร็งบางชนิด ความผิดปกติในระบบภุมิต้านทางบางอย่าง หรือ จากปฏิกิริยาการแพ้สารบางอย่าง เป็นต้น

เมื่อเส้นเลือดเกิดการอักเสบขึ้น (vasculitis) ทำให้ผนังเส้นเลือดหนาตัวขึ้น ทำให้รูของเส้นเลือดแคบลง ทำให้เลือดที่หล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ลด น้อยตามไปด้วย
บางรายมีก้อนเลือดเกิดขึ้น ทำให้เส้นเลือดเกิดการอุดตัน
บางราย แทนที่จะแคบลง ผนังเส้นเลือดกับอ่อนแอลง เป็นเหตุให้เกิดผนังเส้นเลือด โป่งพอง (aneursysm) ทำให้คนไข้มีโอกาสเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

เส้นเลือดอักเสบ ที่ไม่รู้สาเหตุ เราเรียกว่า Primary vasculitis

สำหรับเส้นเลือดที่เกิดการอักเสบ โดยมีสาเหตุให้ทราบเราเรียกว่า secondary vasculitis เช่น

• Infections: บางคนเกิดเส้นเลือดอักเสบ เป็นผลจากการตอบสนองต่อการอักเสบบางชนิด เช่น โรคcryoglobulinemia เป็นผลเนื่องมาจาก hepatitis C virus และคนที่เป็นโรค Hepatitis B virus มักจะเกิดเป็นโรค Polyarteritis nodosa

• Immune system disease: โรคเส้นเลือดอักเสบบางชนิดเป็นผลเนื่องมาจากโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Rheumatoid arthritis, lupus และ Sjogren’s syndrome

• Allergic reaction: จากปฏิกิริยาจากการแพ้ยาบางตัว สามารถทำให้เกิดเส้นเลือดอักเสบได้

• Blood cell cancers: มะเร็งของเซลล์เม็ดเลือดบางชนิด สามารถทำให้เกิดเส้นเลือดอักเสบได้ เช่น leukemia และ lymphoma

Next > Test and diagnsosis

Vasculitis: Tests and Diagnosis (5)

เมื่อท่านไปพบแพทย์เพื่อการวินิจโรคของท่าน
แพทย์เขาจะปฏิบัติตามรูปแบบปกติที่เขาเคยปฏิบัติ กล่าวคือ เขาจะถามถึงอาการของท่าน , ประวัติทาง สุขภาพในอดีต
จากนั้น แพทย์จะตรวจร่างกายตามระบบ...
ตามด้วยการสั่งให้ตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์ และตรวจพิเศษ เพื่อการ วินิจฉัยโรค

ในการวินิจฉัยโรค vasculitis แพทย์ จะสั่งตรวจ:

 Blood tests: การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ ที่เราควรรู้ คือ erythrocyte Sedinmentation rate, complet blood count, C reactive protein, และ anti-neutrophil cytoplasmic antibody

 Urine tests: เป็นการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ และ โปรตีนในปัสสาวะ ซึงสามารถบ่งบอกถึงปัญหาของไต(ไตถูกทำลายจากโรค) เป็นปัญหาที่เกิดจากเส้นเลือด ซึ่งพวกนี้การพยากรณ์ของโรคไม่ค่อยจะดีนัก

 Imaging tests: ในรายที่สงสัยว่า เส้นเลือดเส้นใหญ่เกิดการอักเสบ เช่น aorta การตรวจ MRI, CT และ ultrasound อาจจำเป็นต้องนำมาใช้....

 X-rays blood vessels (angiogram): การฉีดสาร contrast medium ...เพื่อตรวจดูลักษณะการเลี่ยนแปลงภายในผนังของเส้นเลือด อาจจำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีดังกล่าว

 Biopsy: การตัดเอาชิ้นเนื้อของเส้นเลือดออกมาตรวจ จะทำให้แพทย์สามารถทราบได้ว่า เส้นเลือดเกิดการอักเสบ

ผลจากการตรวจดังกล่าว สามารถนำไปสู่คำวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก่อนที่การรักษาจะ เริ่มขึ้น

Next > Management of vasculitis

Vasculits: Management (6)

ผลจากการวินิจฉัยว่า คนไข้เป็นโรค vasculitis

การรักษาที่ใช้ในการรักษาคนไข้ ที่เป็นโรคเส้นเลือดอักเสบ จะใช้แบบใดเป็นการ เฉพาะนั้น ขึ้นกับความรุนแรงของโรค รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมของคนไข้เป็นประการ สำคัญ
แม้ว่า โรคเส้นเลือดอักเสบบางชนิด เช่น Henoch-Shonlein’s purpura เป็นการอักเสบของเส้นเลือดเส้นเล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด มันหายเองได้ ส่วนชนิดอื่น จำเป็นต้องได้รับการรักษา

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาได้แก่:

• Corticosteroids:

เพื่อเป็นการรักษาเส้นเลือดอักเสบ ยาที่ใช้ในการรักษาการอักเสบ คือ prednisolone หรือ methylprednisolone (Medrol)
การให้ยาพวกนี้ในระยะยาวนาน จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น กระดูกพรุน (osteoporosis) และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (weight gain)
เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว ท่านสามารถกระทำได้ ด้วยการใช้ยาในขนาดที่น้อยที่สุด

• Immunosuppressive drugs:

ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือ รายไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่ม corticosteroids. ท่านอาจได้รับยา cytotoxic ซึ่งได้แก่ Azathioprine (Imuran), Cyclophosphamide (Cytoxan)

ถ้าคนไข้ได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ มีพยากรณ์โรคดี สิ่งท้าทายที่สุดสำหรับตัวท่านเอง คือ ท่านต้องต่อสู้กับผลข้างเคียงของยา ที่ท่านต้องรับประทานเพื่อผลการรักษา

ซึ่งมีคำแนะนำให้ท่านปฏิบัติ ดังนี้:

• เข้าใจสภาพของตัวท่านเอง:

ท่านจะต้องเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับโรคเส้นเลือดอักเสบ รวมถึงการรักษาที่ท่านได้รับ เรียนให้รู้ถึงผลข้างเคียงของยาทุกชนิด และรายงานให้แพทย์ผุู้ทำการรักษาให้ทราบ

• รับประทานอาหารสุขภาพ
เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์ ท่านควรรับประทานอาการประเภทผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงพวกไขมัน ลดอาหารเค็มลง

• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ท่านต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที แพทย์อาจให้คำแนะนำแก่ท่านได้ว่า ท่านควรออกกำลังกายแบบใด...

• นอนหลับพักผ่อนให้พอ.

ท่านควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง การนอนหลับให้พอถือว่าเป็นการซ่อมแซมร่างกายที่ดี หลังจากที่ร่างกายของท่านผ่านการทำงาน และความกดดันในตอนกลางวัน

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Tips for sound sleep

ปัญหานอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่ได้รับฟังทุกวันจากคนไข้ผู้สูงอายุ
สาเหตุหลัก มาจากความไม่สบายกาย และใจ
ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน
ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร คงมีลักษณะเหมือนกัน
“นอนพลิกซ้าย พลิกขวาตลอดคืน”
พอตื่นขึ้น รู้สึกเหนื่อยเพลีย...และมีอาการวิงเวียน
ลูกหลาน ก็จะพาท่านไปหาคุณหมอ....
นั่นเป็นเรื่องที่พบเห็น

ปกติ ในตอนกลางคืน สมองของมนุษย์เรา จะถูกระตุ้นให้ทำงานโดยอัตโนมัติ โดย มีการหลั่งของสารที่เราเรียกว่า Growth hormone ออกมา เพื่อทำหน้าที่ซ่อมแซมอวัยวะ ของกายที่ซึกหลอจาก stress ไปในช่วงกลางวัน หากไม่มีการซอมแซมเกิดขึ้น ผลจะเป็น อย่างไร?

ถ้ามองออกนอกกายเรา คงเปรียบเสมือนคนเรา มีแต่ใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด ไม่มีการหามา เพิ่ม ผลที่เกิด...คงไม่ต้องอธิบาย
ในกรณีที่คนเรา นอนไม่หลับ จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามทีเถิด ร่างกายไม่มี growth hormone หลั่งออกมา.....
การซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของกายย่อมไม่เกิดขึ้น
ผลที่เกิดขึ้น.....เหนื่อยเพลีย มีอารมณ์แปรปรวนไปในรูปแบบต่าง ๆ ความคิดความอ่านเสีย หมด

แล้วเราจะทำอย่างไร ?

ให้ท่านลองปฏิบัติตามแนะนะต่อไปนี้ดู

• กำหนดเวลานอนเอาไว้ ท่านจะต้องนอนตรงเวลาทุกวัน แม้แต่วันหยุดราชการ ความจริงมีว่า ถ้าหากเราทำอย่างสม่ำเสมอ ผลที่เกิดขึ้นจะเสริมสร้างให้ร่างกายคุ้นเคยกับวงจรที่ทำกำหนดไว้...ทำให้ท่านหลับง่ายขึ้น

• ก่อนนอน ห้ามดื่มหรือรับประทานอาหารในประมาณมาก ควรเปลี่ยนแปลงเวลาการรับ...ก่อนนอน ให้รับประทานในปริมาณน้อยเข้าไว้ และควรรับประทานก่อนเวลานอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

หากท่านมีอาการแสบท้อง ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด และอาหารประเภทมันลง สามารถช่วยให้ท่านนอนหลับได้โดยไม่มีอะไรรบกวน
นอกจากอาหาร ก่อนนอนทให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ ให้ดื่มแต่น้อย เพาะจะทำให้ตื่นเพื่อปัสสาวะบ่อย

• หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (nicotine) กาแฟ และแอลกอฮอล์ เพราะสารดังกล่าวจะกระตุ้นให้ท่านตื่น การสูบบุหรี่ในตอนกลางคืน มักจะก่อให้เกิดอาการที่เรียกwithdrawal symptoms ( )เกิดขึ้น การสูบบุหรี่บนที่นอนยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายด้วย

ควรหลิกเลี่ยงการดื่มกาแฟก่อนนอน หากท่านจะดื่ม ก็ให้ดื่มก่อนเวลานอน เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ด้วยเหตุผลว่า เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว ต้องใล้เวลานานกว่ามันจะขับออกหมด ....มันเป็นสารกระตุ้น จะกระตุ้นให้ท่านตื่น ทำให้นอนไม่หลับ
การดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้นอนหลับในระยะสั้น ระยะยาวไม่ใช่...ไม่ควรดื่ม

• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น แต่การออกกำลังกายก่อนนอน จะให้ผลตรงกันข้าม(สำหรับบางคน)

• จัดห้องนอนให้น่านอน เช่น เย็นสบาย เงียบ มืดสนิท หรือมีไฟฟ้า หรือแสงสว่าง ที่สามารถปรับแสงสว่างได้ตามต้องการ มีเครื่องทำความชื่นที่พอเหมาะ (humidifier) จะช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้น

• นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา คือ ต้องเป็นเวลากลางคืน การนอนหลับตอนกลางวันจะเป็นการขโมยเวลา ที่ท่านควรได้รับในการนอนพักในตอนกลางคืนไป หากจำเป็นต้องงีบหลับในตอนกลางวัน ให้งีบหลับในเวลาตอนบ่ายสักครึ่งชั่วโมง

• เลือกใช้ฟูก หมอนที่เหมาะสม นอนแล้วรู้สึกสบาย ทำให้ท่านนอนหลับได้ตลอด ไม่ต้องตื่นกลางคืน

• ปฏิบัติการเพื่อการผ่อนคลายก่อนนอน ให้ทำเป็นกิจวัตรทุกวัน เช่นอาบน้ำ ฟังเพลงเบา อ่านหนังสือ อย่าทำอะไร หรือให้อะไรที่ตื่นเต้นมารบกวนเป็นอันขาด

• การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกคืนก่อนนอน หากท่านใดสามารถทำได้ ประโยชน์จะตกแก่ท่านผู้นั้นโดยไม่ต้องสงสัย ประโยชน์อันแรกที่ท่านจะได้รับ....คือ ทำให้ท่านนอนหลับได้ดี (หลับลึก)

• ใช้ยานอนหลับเป็นอาวุธอันสุดท้ายเสมอ ก่อนที่ท่านจะใช้ยานอนหลับ อย่าลืมตรวจสอบกับแพทย์ให้เรียบร้อยเสียก่อนว่า ยานั้น จะไม่ทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวท่านได้

หากท่านทำทุกอย่างตามที่บอกมา ท่านยังไม่หลับ....ช่วยบอกผมด้วยนะ

อาการบ้านหมุน (4) Modefied Sermont Maneuver)

คำ vertigo เป็นคำที่ใช้อธิบายความว่า เป็นความรู้สึกว่า หมุน โดยไม่ได้สังเกตุว่าเราจะอยู่นิ่งๆ หรือไม่ (subjective vertigo) หรือ สิ่งรอบตัวหมุน (objective vertigo)

Vertigo ไม่ใช่ตัวโรค แต่เป็นอาการ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติหลายอย่าง เช่น ความบกพร่องภายใน หูชั้นใน (inner ear)
โดยทั่วไป อาการเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เพราะมันหายไปเองในระยะสั้น ๆ
แต่สำหรับรายที่เรื้อรัง คนไข้รู้สึกว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เกิดอาการคลื่นไส้เกิดร่วม
มีวิธีการให้เลือกหลายอย่าง Apley maneuver เป็นหนึ่งในวิธีการรักษา และอีกวิธีหนึ่ง คือ Sermont maneuver

วิธื Modified Sermont maneuver เป็นรูปแบบหนึ่ง ที่เรานำมาใช้ในการรักษาอาการ BPPV หรือ อาการบ้านหมุน เพื่อความสะดวก จะเรียกว่า อาการบ้านหมุน

ขั้นตอนมีดังนี้:
สำหรับคนไข้ที่มีอาการทางหูด้านซ้าย (For the Left ear)

ขั้นตอนที่ 0: นั่งตัวตรงบนขอบเตียง ขาทั้งสองหย่อนลงพื้น ไม่ต้องเกร็ง สายตามองไปทางหูที่มี ปัญหาคือด้านซ้าย เป็นท่าเตรียมพร้อม

ขั้นตอนที่ 1: ให้หันศีรษะ 45 องศา ไปทางด้านไปทางด้านขวา (asymptomatic ear)

ขั้นตอนที่ 2: ล้มตัวลงนอนทางด้านซ้าย อย่างรวดเร็ว ตอนนี้สายตาของท่านจะมองไปทางเพดาน หายใจเข้าออกช้า ประมาณ 30 วินาที หากท่านเกิดมีอาการวิงเวียน ในนับต่อจนกว่า อาการวิงเวียนจะหายไป

ขั้นตอนที่ 3 : ศีรษะ และลำตัวอยู่ในท่าเดิม ลุกขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องหยุดในท่านั่ง ให้เคลื่อนต่อไป ล้มตัวลงนอนทางด้านตรงข้าม โดยให้หน้าผาก ของท่านสัมผัสบนที่นอน อยู่ในท่านั้น อีก 30 วินาที

ขั้นตอนที่ 4: แล้วลุกขึ้นนั่งในท่าตรง

วิธีนี้ควรทำวันละ 3 ครั้ง ทำทุกวัน จนกว่าอาการวิงเวียนแบบบ้านหมุนของท่านจะหายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
ผลของการรักษาพวกคนไข้ที่มีอาการวิงเวียนแบบบ้านหมุน มีอัตราการหายขาด (cure) 80 %

Fracture Hip : การรักษาของแพทย์ (5)

เมื่อญาติของท่านถูกรับไว้เพื่อการรักษา ในโรงพยาบาล
การรักษาที่คนไข้ ญาติของท่านจะได้รับ ส่วนใหญ่แล้ว คนไข้จะได้รับการรักษาต่อไปนี้ เช่น

o การผ่าตัด (surgery)

o การฟื้นฟูสมรรถภาพ (rehabilitation)

o ยา (medication)

อย่างที่ได้กล่าวมาแต่ตอนต้นว่า กระดูกสะโพกแตกหัก ไม่ว่าจะเป็นส่วนใด การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด มียกเว้น กรณีเดียวเท่านั้น คือ คนไข้ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้เพราะโรคประจำตัว ที่มีความสาหัส สากัน
กรณีดั้งกล่าว ทางเลือกที่ปลอดภัย คือการดึงขาไว้ จนกว่ากระดูกจะเชื่อมติดกัน ..ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีอันตราย กระโดดเข้าใส่คนไข้...

การผ่าตัดที่แพทย์เขาจะมอบให้แก่คนไข้:

o ผ่าตัด จัดกระดูกให้เข้าที่เดิม แล้วยึดด้วยโลหะ เช่น Metal screws หรือ

o ผ่าตัดใส่สะโพกเทียม ซึ่งอาจเป็นแค่ครึ่งเดียว (Hemi-arthroplasty) หรือในกรณีที่ข้อสะโพกของคนสูงอายุท่านนั้น เสื่อมมาเสื่อมมาก แล้วเกิดการแตกหักทีหลัง กรณีเช่นนี้ แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนสะโพกทั้งเบ้า หรือทั้งหมด เรียกว่า Total hip replacement

ในกรณีที่มีการแตกหักระดับต่ำกว่าคอกระดูกต้นขา (Intertrochanteric fracture)

การผ่าตัดกระดูกหักชนิดนี้ เป็นเรื่องตรงไปตรงมา คือ จัดกระดูกให้เข้าที่แล้วยึดตรึงกระดูกที่แตกหักด้วย metal screws( hip compression screw) และ Plate ซึ่งตรึงกระดูกต้นขาด้วย screws
ที่ทำเช่นนั้น เพื่อให้กระดูกอยู่นิ่งๆ พร้อมให้คนไข้สามารถเคลื่อนไหวได้โดยไว โดยที่กระดูกแตกไม่ขยับเขยื่อนแต่ ประการใด

Rehabilitation

หลังการผ่าตัด สิ่งที่คนไข้จะได้รับ คือ กายภาพบำบัด
o วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้รับผิดชอบ (ทีมงาน) จะช่วยให้คนไข้เคลื่อนไหว ลุกนั่ง หัดเดินด้วยเครื่องช่วย เช่น ไม้ยันรักแร้ หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ การเคลื่อนไหวข้อสะโพก ให้เคลื่อนได้เต็มที่- งอ และเหยียด พร้อมกับการเสริมสร้างความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อ

Medication:

หลังการผ่าตัด ยา ที่คนไข้จะได้รับคือ Biphosphonate ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่กระดูก เป็นการลดโอ กาส เกิดการแตกหักเป็นครั้งที่สอง ผลข้างเคียงของยาตัวนี้ คือ คลื่นไส้ ปวดท้อง มีน้ำกระเพาะไหลย้อนกลับ ทำให้เกิดการอักเสบของ oesophagus ได้

Hip Fracture: เมื่อแพทย์ถูกขีดเส้นให้เดิน (1)

“คุณแม่ของผม อายุ 84 ปี หกล้มกระดูกสะโพกส่วนคอ (fracture neck of femur) หัก... ปัญหามีว่า...เราไม่ต้องได้รับเลือดในระหว่างผ่าตัด...เพราะขัด ต่อหลักศาสนา ของเรา ....คุณหมอช่วยจัดการให้ได้ไหม ?”

นี้คือปัญหาที่ผู้เขียนพบ
ถ้าท่านเป็นแพทย์ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการรักษาคนไข้ ท่านจะทำอย่างไร ?

หลักความจริงมีว่า:
เมื่อคนไข้ ประสบอุบัติเหตุ จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เกิดกระดูกแตกหักขึ้นมา สมมุติเป็นกระดูกสะ โพกแตกหัก มันจะทำให้คนไข้รายนั้น มีอาการเจ็บปวด ไม่สามารถใช้ขาด้านนั้นได้ ไม่สามารถลุก ขึ้นเดินได้เหมือนปกติ
หน้าที่ของผู้ทำการรักษา คือทำให้กระดูกที่แตกหักนั้น หายเหมือนปกติ จะทำให้เขาใช้ชีวิตได้ เหมือนเดิม

ในกรณีของคนไข้วัย 84 ปี หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ลูกเต้า ญาติพี่น้องทุกคน รวมไปถึงแพทย์ พยาบาล ต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้คนไข้รายนี้ หายจากความเจ็บปวด และสามารถเดินเหินได้ เร็วที่สุดที่จะเร็วได้

ในการผ่าตัดใส่สะโพกเทียม มีความเสี่ยงไหม?
...มีความเสียงสูงมาก ๆ
เสียงต่อการดมยาสลบ เสียงต่อการเสียเลือด บางรายร่างกายไม่สามารถทนสภาพบาดเจ็บที่เกิดขึ้น และอื่น ๆ
บางรายไม่สามารถทนต่อสถานการณ์ หัวใจเกิดการหยุดเต้น ไปเฉยๆ ก็ปรากกว่ามีให้พบเห็น

ดังนั้นเพื่อให้การรักษาบรรลุเป้าหมาย ทำให้คนไข้หายจากความเจ็บปวด สามารถดำเนินชีวิตต่อไป อย่างมีคุณภาพเหมือนเดิม
คนไข้รายนี้ จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ใส่ข้อสะโพกเทียมอย่างแน่นอน

ก่อนผ่าตัดต้องมีการเตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อความปลอดภัยของคนไข้...คนไข้มีสุขภาพดีพอที่จะรับ การผ่าตัดได้ ตลอดรวมไปถึงการเตรียมเลือดให้พร้อม หากจำเป็นต้องได้รับเลือดในขณะผ่าตัด ไม่มีข้อจำกัดใด เกี่ยวกับสุขภาพของคนไข้ ซึ่งป้องกันไม่ให้คนไข้ผ่าตัดได้ และ....
คนไข้รายที่กล่าวมา ถือว่า มีข้อจำกัดอย่างหนึ่ง ซึ่งป้องกันไม่ให้แพทย์ ...กล้าเสี่ยงต่อการผ่าตัดแก่ คนไข้ได้

คนไข้รายนี้ คงลงเอยด้วยการปล่อยให้คล้อยตามธรรมชาติเท่านั้นเอง

Autoimmune Hemolytic Anemia : แนวทางในการรักษา (2)

การวินิจฉัย (Diagnosis)

ความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune Disorder) โดยเฉพาะรายที่ทำให้เม็ดเลือดแดงถูก ทำลายอย่างช้า ๆ.. คนไข้อาจไม่มีอาการเลย
สำหรับคนที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
คนไข้จะเกิดอาการตัวเหลืองตาเหลือง

ในรายที่เม็ดเลือดถูกทำลายมานานเป็นเดือน อวัยวะที่เรียกว่า “ม้าม” จะโตขึ้น จะทำให้คนไข้ท้องโตขึ้น บางครั้งก่อให้เกิดความรู้สึก ไม่สบายในช่องท้องได้

ส่วนรายที่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆ อาการของโรคนั้นๆ จะปรากฏให้เห็น เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้ ชัดเจน

ในการวินิจฉัย เมื่อเม็ดเลือดแดงถูกทำลายลง เม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (reticulocytes) ถูกสร้างขึ้น

ในเลือด จะพบสาร bilirubin และโปรตีนชื่อ haptoglobulin ในกระแสเลือดในปริมาณมาก
ซึ่งเราสามารถยืนยัน...ได้ด้วยการตรวจพบ ปริมาณของ Antibodies ที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด โดยมันจะไป เกาะบนตัวเม็ดเลือดแดง และบางส่วนลอยอยู่ในกระแสเลือดไม่จับกับอะไร เป็นการตรวจที่เรียกว่า direct Coombs test หรือ Indirect Coombs Test

การรักษา (treatment)

o โรคชนิดนี้ ส่วนใหญ่ สามารถรักษา หรือ ควบคุมได้ ส่วนการดำเนินของโรคนั้น ขึ้นกับสาเหตุ และความรุนแรงของมัน รายที่มีอาการไม่มาก (mild) อาจไม่ต้องทำอะไร ส่วนรายที่รุนแรงหากไม่ทำการรักษา สามารถปลิดชีวิตของคนไข้ได้
o บังเอิญ โรคที่คนเป็นนั้น เป็นความบกพร่องทางพันธุกรรม มันจะอยู่จะกับคนไข้ไปตลอดชีวิต ซึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดไป
o ถ้าสาเหตุมาจากการอักเสบ (infection) หรือเกิดจากการใช้ยา การรักษาโรคอักเสบให้หาย หรือการหยุดยาที่ก่อเหตุ...ก็สามารถทำให้โรคเลือดจางที่เกิดขึ้นหายไปได้
o ถ้าเม็ดเลือดแดงถูกทำลายลง...เลวลงเรื่อยๆ ยาที่นำมาใช้ในการรักษา คือ Corticosteroids เช่น Prednisolone ในขนาดสูง แล้วค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง...
o ในกรณีที่คนไข้ไม่ตอบสนองต่อยา corticosteroids หรือ คนไข้ไม่สามารถทนต่อฤทธิ์ของมันได้ การรักษาด้วยวิธีศัลยกรรม- ตัดเอาม้ามออกทิ้ง ก็เป็นวิธีการขั้นต่อไป
o ในรายที่ตัดม้ามออกแล้ว ไม่ได้ผล หรือไม่สามารถผ่าตัดเอาม้ามออกได้ การใช้ยา ต้านระบบภูมิคุ้มกัน- Immunosuppressive drugs เช่น cyclophosphamide (Cytoxan) หรือ azathioprine จะถูกนำมาใช้
o และการให้ IVIg ถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมภาวะเลือดจางได้เป็นอย่างดี
o Plasmapheresis คือการกรองเอาตัว antibodies เอาออกจากร่างกาย บางกรณีอาจได้ประโยชน์ โดยเฉพาะรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

ในรายที่ เม็ดเลือดแดงถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง การให้เลือดก็เป็นสิ่งจำเป็น แม้ว่าจะไม่ใช้การรักษา ต้นเหตุ แต่ก็สามารถทำให้อาการทุเลาลงได้ชั่วระยะชั่วคราวได้

Autoimmune Hemolytic Anemia: (1)

“คุณพ่อของผม เป็นแพทย์ มีสุขภาพสมบูรณ์ดีมาตลอด อยู่ดีๆ มีอาการวิงเวียน ล้มลงหมดสติ.... ถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลพร้อมกับให้เลือด...
แพทย์ผู้ทำการรักษา บอกว่า
พ่อของผมเป็นโรคเลืองจาง เพราะเม็ดเลือดถูกทำลายด้วยระบบภูมิต้านทาน ของท่านเอง.. ?

โรคที่คนไข้รายนี้เป็น คือ Autoimmune Hemolytic Anemia นั่นเอง
เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานผิดพลาดของระบบภูมิคุ้มกัน โดยการสร้างภูมิ ต้านทานขึ้น (autoantibodies) และสารที่ถูกสร้างขึ้นนี้ มันทำลายเม็ด เลือดแดง เสมือนหนึ่งว่า เม็ดเลือดแดงของตนเป็นสิ่งแปลกปลอม

ถ้าเป็นการตัดสินคดีความ เป็นการตัดสินผิดพลาด...
ผลเสียเกิดขึ้นกับผู้เคราะห์ร้าย....
ส่วนผู้ตัดสิน ยังลอยนวลเหมือนกับระบบ Immune system ของตนเอง

โรคชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นกับทุกคน อายุไม่เกี่ยง เกิดได้ทุกอายุ มักเกิดในเพศ หญิงได้มากกว่าชาย ส่วนใหญ่มากกว่าครึ่ง เราไม่ทราบสาเหตุของมัน ว่าทำไม มันเกิดวิปริตได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม มันสามารถเกิดในโรคอย่างอื่น
หรือสาเหตุอย่างอื่น เช่น พบเห็นในคนที่เป็นโรค
Lupus erythematosus และ จากการแพ้ยา เช่น penicillin (น้อยมาก)

เวลาเม็ดเลือดถูกทำลาย อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เหมือนคนไข้ที่นำเสนอ หรืออาจดำเนินไปอย่างช้าๆ ซึ่งมีสองชนิดด้วยกัน คือ ชนิดอุ่น (warm) และ ชนิดเย็น (cold) ซึ่งทั้งสองชนิดจะแตกต่างกันที่อุณหภูมิ ชนิดอุ่น เม็ดเลือด แดงจะถูกกทำลายตอนอาการอุ่น หรืออุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกาย ซึ่งตรงกันข้ามกับชนิดเย็น
Next >

Polymyalgia Rheumatica (PMR): โรคที่เราควรรู้ (1)

เมื่อเราไม่สบายตัวขึ้นมาคราใด เราจะมีความสงสัยว่า:
“เราเกิดเป็นโรคอะไร ?”
ไม่ว่าโรคนั้นๆ จะเป็นอะไร....ส่วนใหญ่หมอผู้ทำหน้าที่รักษา เขาจะบอกเองว่า เราเป็นโรคนั้น และโรคนี้ และแล้ว หมอก็จะให้การรักษาตามความเหมาะสม

มีโรคหลายชนิด ที่ทำให้คนที่เป็นโรค เกิดความสงสัย และกังวลใจ เมื่อ...
แพทย์ผู้ทำการรักษาเองก็พูดว่า
“หมอก็ไม่รู้เหมือนกันว่า....โรคที่คุณเป็นนั้น มันเป็นโรคอะไร ?”

ถึงกระนั้นก็ตาม....ก็ให้เข้าใจเถิดว่า หมอเขารักษาได้...
“เป็นการรักษาอาการของโรค..
แต่ไม่สามารถรักษาต้นเหตุของโรคได้.”

มีคำพังเพยประโยคหนึ่งว่า:
“อยากได้ลูกเสือ เราต้องเข้าถ้ำเสือ”
ผู้เขียนจะเชิญท่าน....ประชิดตัวเสือซะเลย (ไม่ต้องเข้าถ้ำเสือ...ให้เสียเวลา)
ดูซิว่า...เสือ (โรค) ตัวที่เราเผชิญอยู่ในขณะนี้ มันแตกต่างจากเสือตัวอื่นอย่างไร?
…………>
“Polymyalgia Rheumatica” ใน Wikepedia เขาอธิบายความ polymyalgia rheumatica เอาไว้ว่า หมายถึงความเจ็บปวด ของกล้ามเนื้อหลายๆ มัด (meaning “ pain in many muscles” in Greek)

Polymyalgia Rheumatica เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเป็นหลัก (inflammatory disorder) ทำให้เกิดมีอาการ “เจ็บปวด” ที่กล้ามเนื้อ และข้อต่อไม่สามารถเหยียด และ งอ (stiffness)ได้ตามปกติ อาการเริ่มต้น ส่วนใหญ่ จะปรากฏขึ้นที่ “ต้นคอ”, “ไหล่ทั้งสอง”, “ต้น แขนทั้งสอง”, “ข้อสะโพกและต้นขาทั้งสอง” โดยอาการ เกิดขึ้นภายในเวลาไมกี่วัน

ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่มีอายุมากกว่า 55 พบในหญิงมากกว่าชาย ในอัตราส่วน 2 : 1

ยาที่นำมาใช้รักษาคนไข้ คือ Corticosteroids เมื่อท่านได้รับยาดังกล่าว อาการจะดีขึ้น
ถ้าอาการ ไม่ดีขึ้น สงสัยว่า คนไข้รายนั้น ไม่น่าจะเป็น polymyalgia rheumatica

PMR จะสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับโรค Giant cell arteritis บางท่านบอกว่า มันเป็นพวก เดียวกัน ภาวะ giant cell arteritis มักจะเกิดตามหลัง หรือเกิดพร้อมๆ กับการเกิด PMR
คนที่เป็น PMR มักจะเกิด giant cell arteritis ได้ 40 – 60 %
สาเหตุทำให้เกิดโรค PMR คืออะไร ไม่มีใครทราบได้ อาจเป็นอาการของเส้นเลือดอักเสบ (vasculitis) หรือ เป็นการอักเสบของเยื้อบุข้อ (synovitis of bursitis) ?
Next >

Plasmapheresis: Indication (2)

“หมอ...รู้สึกว่า เราตกอยู่ภายใต้โฆษณาชวนเชื่อกันมากเหลือเกิน ในวงการแพทย์ของพวก ท่านก็ไม่เห็นแตกต่างเลย...”
นั่นเป็นความคิดเห็นของเพื่อนผู้สูงวัยท่านหนึ่ง....ในทีมที่สวิงกอล์ฟด้วยกัน
“มีอะไรจะแนะนำผมหรือ ?”
ผมถามเพื่อนท่านนั้น....เพื่อเป็นแนวทาง จะได้ตอบข้อซักถามของเพื่อน

“มีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย มะเร็งกระจายไปทั่ว ลูกหลานต้องการให้ผู้ เป็นแม่ได้รับการรักษา...ได้ไปรับการรักษาฟอกเลือดเอาพิษมะเร็งออก หวังว่าอาการจะดีขึ้น...หลังจาก กลับบ้านได้หนึ่งวัน คนไข้ก็จากไปอย่างสงบ...
ในสถานที่ ...ที่ท่านทำงานอยู่....เขารักษากันอย่างนี้เหรอ ?
เพื่อน ได้กล่าวขึ้น พร้อมกับจ้องหน้าผู้เขียน ยังกับว่าเราเป็นจำเลยแนะ

ผู้เขียนถึงกับอึ้งกับคำถาม.....อยู่ในสามกอล์ฟเพื่อออกกำลังกายแท้ๆ ....ยังถูกตรวจสอบ ?

เพื่อความเข้าใจ การฟอกเลือดเพื่อขจัดเอาของเสียออกจากร่างกาย เท่าที่เราทราบ มีด้วยกัน สองวิธี หนึ่งนั้น เป็นการฟอกเลือด ที่กระทำกันในคนไข้ทีเป็นโรคไตวาย เขาเรียกการฟอกเลือด ชนิดนั้นว่า Hemodialysis ส่วนอีกวิธีหนึ่ง เรียก plasmapheresis

plasmapheresis เป็นกรรมวิธี ที่นำมาใช้เพื่อการรักษาโรค ด้วยการขจัดเอาส่วน ที่ไม่ ดี หรือเป็นพิษออกจากร่างกายไป เช่น ภูมิต้านทานที่เป็นภัยกับตัวเองออกไป โดยแยกเอาส่วนที่เป็น อันตรายออก ส่วนเม็ดเลือดที่ดีก็ส่งคืน กระแสเลือด พร้อมกับชดเชยน้ำเหลืองด้วยสาร “อัลบูมิน” หรือ “พลาสมาแช่แข็ง”

โรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ สร้าง antibodies ขึ้น แล้วปล่อยไปตาม กระแสเลือด ทำหน้าที่เหมือนเจ้าหน้า...ตำรวจ หรือทหารกำจัด หรือทำลายเซลล์ หรือเนื้อเยื่อตัวเอง เสมือน หนึ่งศัตรู แล้วทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น
นับเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น
จึงไม่เรื่องแปลก ที่เราพบเห็นความยุ่งเหยิงของสังคมรอบตัวเรา.....คนเป็นศัตรูกัน เข่นฆ่ากัน ดูมันเกิดขึ้นได้ง่ายเหลือเกิน...

โรคที่ต้องพึ่งพากรรมวิธี plasmapheresis มีมากมาย ที่ควรรู้พอเป็นกระสัย ได้แก่:

• Guillain-Barre syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายทั่วร่างกาย เป็นการเกิดแบบเฉียบพลัน โดยเชื่อว่าเกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ สร้างภูมิต้านทานขึ้นทำลายเส้นประสาทของตัวเอง ทำลายทั้งปลอก และแกนประสาท
• Myasthemia Grevis เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิต้านทาน โดยตัวภูมิต้านทานของเรา ไปทำลายตัวที่ทำหน้าที่รับสาร-Acetylcholine rector ซึ่งอยู่ตรงบริเวณรอยต่อระหว่างปลายประสาท กับกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction)
• Thombotic Thrombocytopenic Purpura เป็นโรคเลือดที่เกี่ยวข้องการหยุดเลือด (coagulation) ทำให้เกิดมีเม็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนเล็ก ๆ (microscopic thrombus) ในเส้นเลือดเล็ก ๆทั่วร่าง ซึ่งเราเชื่อว่า เป็นผลเนื่องมาจากความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน

• Multiple Myeloma เป็นมะเร็งของ plasma cell เซลล์มะเร็งชนิดนี้ มันสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น
ได้มีการนำเอากรรมวิธีรักษาแบบ plasmapheresis ร่วมกับ ยารักษามะเร็ง ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อลดสารโปรตีน ที่ถูกสร้างโดยเซลล์ที่เป็นมะเร็งเท่านั้น

• Severe hypercholesterolemia พบว่า การนำเอาวิธีการกำจัดไขมันด้วยกรรมวิธี plasmapheresis มาใช้ในรายที่คนไข้มีไขมันในกระแสเลือดในปริมาณมาก ซึ่งไม่ ตอบสนองต่ออาหาร ต่อยา เชน คนเป็น familial hypercholesterolemia เท่านั้น...

เขียนมาถึงตรงนี้....สงสัยตัวเองเหมือนกันว่า....เราตอบเพื่อนเขาแล้วหรือยัง ?

Multiple Myeloma: Pathophysiology(3)

“มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ? เกิดขึ้นแล้ว มีนทำให้เกิดอะไรขึ้น ?”

แม้ว่า เราไม่ทราบว่า Multiple myeloma มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
แต่เราก็ทราบว่า มันเริ่มต้นจาก Abnormal plasma cell ที่อยู่ในไขกระดูกของคนเรา
เซลล์มะเร็งชนิดนี้ มันไม่ธรรมดา มันไม่แก่ ไม่ตายเหมือนเซลล์ปกติเขา
มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และมากมาย ยึดพื้นที่ของเซลล์ปกติ ในไขกระดูก( ซึ่งมีแค่ 5 % เท่านั้น)
สำหรับคนที่เป็นมะเร็ง ในไขกระดูก จะมี plasma cell มากกว่า 10 %

แม้ว่าในกระแสเลือด จะพบ myeloma cell ในปริมาณน้อยก็ตาม แต่มันสามารถไปอาศัยอยู่ตาม ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แบ่ง และขยายจำนวนขึ้นที่นั้น นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า Multiple myeloma

เมื่อมันอยู่ที่ไหน มันก็ทำลายที่นั่น
ไม่แต่เท่านั้น มันกระทบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถสร้าง ภูมิคุ้มกันร่างกายได้ตามปกติ
จะพูดว่า ระบบภูมิคุ้มกันเจอคู่ปรับที่น่ากลัว ก็คงไม่ผิด

ใน Multiple myeloma มันจะสร้างโปรตีนขึ้น ได้แก่ IgG ประมาณ 55 % , IgA ประมาณ 20%,
ในคนไข้ที่เป็นโรคนี้ จะพบว่า มีเพียง 15 – 20 % เท่านั้น ทีสร้าง Bence Jones protein
ส่วน IgD มีเพียง 1 % เท่านั้น

เนื่องจาก เซลล์มะเร็ง (plasma cell) สามารถผลิตสร้าง Cytocine และสารตัวนี้แหละที่ทำให้เซลล์ที่มีชื่อว่า osteoclast บทบาทในการทำลายกระดูกเพิ่มขึ้น เมื่อมีเซลล์มะเร็งอยู่ที่ไหน มันก็ทำลายกระดูกที่นั้น ทำให้เกิดกระดูกเป็นรูพรุนกระจายไปทั่วร่างกาย เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกสีข้าง และกระโหลกศีรษะ

กระดูกที่ถูกทำลายโดยมะเร็งชนิดนี้ ส่วนมากจะกระจายทั่วไป มีบางรายอาจพบเพียง ตำแหน่งเดียวได้ (solitary lesion)

เมื่อมันทำลายกระดูกได้เช่นนั้น จึงทำให้สารแคลเซี่ยม ถูกสลายตัว เข้าไปอยู่ในกระแสเลือดเป็นปริมาณสูง
นอกเหนือจากพบเซลล์มะเร็งในกระดูกแล้ว มันยังปรากฏตัวในอวัยวะอื่น ได้ เช่น ที่ ระบบการหายใจ โดยเฉพาะส่วนต้น ๆ (Upper respiratory tract)

มันสามารถไปปรากฏตัวที่ไต (kidney) ทำให้การทำงานของไตเสียไป (kidney failure)

เมื่อมันมีอำนาจเหนือระบบภูมิคุ้มกัน จะทำให้คนๆ นั้นเกิดอักเสบ (infection)ได้ง่าย เช่นจาก bacterial infection หรือ viral infection โดยเฉพาะโรค “งูสวัส” (herpetic infection) จะปรากฏให้พบเห็นได้บ่อย

Multiple myeloma: ท่านจะอยู่กับโรคได้อย่างไร ? (5/2)

เมื่อโรค...มันเกิดขึ้นกับท่าน ท่านสามารถอยู่ร่วมกับมัน เสมือนหนึ่งว่า
มันเป็นแมวเชื่องตัวหนึ่ง ไม่ใช่เสือ...
ท่านสามารถกระทำได้โดย:

• ดำเนินชีวิตตามปกติ อย่าอยู่นิ่งเฉย ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถทำให้กระดูกของท่านแข็งแรง ขึ้น
ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ท่านสามารถให้การรักษาได้ ยกตัวอย่าง:

o อาการปวดหลัง ที่เกิดจากโรค ท่านสามารถใช้ ยาแก้ปวด หรือใช้ Brace ประคองหลังของท่านได้

o รายที่เป็นโรคไตวาย ท่านสามารถได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด Hemodialysis

o กรณีเกิดการอักเสบ.... ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาการอักเสบตามความเหมาะสม

o กระดูกพรุน ท่านอาจได้รับการรักษาด้วยยา เช่น bisphosphonate..เพือลดกระดูกพรุน

o โรคโลหิตจาง อาจใช้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด เช่น erythropoietin injections

• ดื่มน้ำให้มาก การดื่มน้ำให้มาก จะป้องกันไม่ให้ท่านขาดน้ำ ประการสำคัญ เป็นการช่วยลดความเข็มข้นของ Bence Jone Protein ลง ซึ่งสามารถลดอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับไตได้

• รับประทานอาหารสุขภาพ..เช่น ผัก ผลไม้ ลดอาหารประเภทไขมันอื่มตัว....

• หลีกเลี่ยงการับประทานยา หรืออาหารเสริมสมุนไพรทั้งหลาย เพราะอาจกระทบกับยาที่ใช้รักษามะเร็งได้

• หลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง

• ปฏิบัติธรรม พวกฝรั่งแนะนำให้ทำ Meditation หรือการทำโยคะ...ผู้เขียนเห็นว่า การปฏิบัติของชาวพุทธเรา สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี:


o การปฏิบัติธรรมแบบ “สมถกรรมฐาน” เป็นการทำให้จิตสงบ ด้วยการใช้จิตเป็นผู้ดูอารมณ์ กายเป็นอารมณ์ (จิตหนึ่ง ดูอารมณ์หนึ่ง) ให้ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะทำให้ท่านมีกำลัง จิตใจสงบ

o การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้นไปอีก ปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่า ทุกสิ่งเป็นอนัตตาทั้งนั้น หากท่านสามารถปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้...มะเร็งจะไม่สามารถทำอะไรท่าน ท่านสามารถอยู่ร่วมกับมะเร็งได้ โดยไม่มีความกังวลใจ......

ปฏิบัติแค่นี้...ท่านก็สามารถที่จะอยู่กับโรคได้ โดยไม่ต้องกังวลกับมันแล้ว

Non-Hodgkin lymphoma (1)

เธอเรียนหนังสือมาด้วยกัน ใกล้เกษียณเต็มที
เพื่อนตั้งใจจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยการเลี้ยงหลาน ที่ไหนได้
อยู่ ๆ แพทย์ก็ตรวจพบว่า เธอเป็นโรคมะเร็ง Lymphoma ซะแล้ว
ผู้ร่วมงาน ตลอดรวมถึงเพื่อนที่ร่ำเรียนมาด้วยกัน ต่างตกใจ
มีคำถาม ผลุดขึ้นมา...
“มันเกิดขึ้นได้อย่างไร....มีอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือ... ?
นั่นเป็นคำถามของคนในวงการพยาบาล...

ใน คนที่เป็นโรค Non-Hodgkin lymphoma แพทย์ทั้งหลาย เขาไม่ทราบหรอกว่า ทำไมคนหนึ่งเป็นโรคดังกล่าว อีกคนกลับไม่เป็น แต่จากการวิจัย พบว่า มีปัจจัยเสียงหลายอย่างที่ทำ ให้คนเป็นโรค non-Hodgkin lymphoma

o ระบบภูมิคุ้มกันเดอ่อนแอลง:
ทำไมมันเกิดอ่อนแอลง ?
เขายกความผิดไปที่ความบกพร่องทางพันธุกรรมโน้น เพราะอะไรไม่สามารถทราบได้
หรือ ได้รับยาบางอย่าง เช่นเมื่อได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
o เกิดอักเสบบางอย่าง เป็นเหตุให้เพิ่มปัจจัยเสียงต่อการเกิดมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม มะเร็งชนิดนี้ ไม่ใช้โรคติดต่อ คน ๆ หนึ่ง ไม่สามารถรับโรค lymphoma จากคนที่เป็นโรคได้หรอก
o การอักเสบต่อไปนี้ สามารถเพิ่มปัจจัยเสียงให้เกิดเป็นมะเร็งชนิดดังกล่าว เช่น

1. HIV (Human Immunodeficiency virsus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรค AIDs และคนไข้พวกนี้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่งของ non-Hodgkin lymphoma ขึ้น
2. Ebstein-Barr Virus: การอักเสบจากเชื้อไวรัสตัวนี้ มีส่วนสัมพันธุ์กับการเกิดมะเร็ง lymphoma ในชนชาวอาฟริกัน ที่เกิดอักเสบจากเชื้อไวรัสตัวนี้ มีส่วนเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง “Burkitt lymphoma”
3. Helicobactor pylori เป็นเชื่อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีส่วนเพิ่มอันตรายให้เกิดมะเร็ง lymphoma ของกระเพาะอาหาร
4. Human T- cell leukemia/lymphoma virus type 1(HTLV-1) คนไข้ที่ได้รับการอักเสบจาก “ไวรัส” ตัวนี้ จะเพิ่มอันตรายให้คนๆ นั้นเกิดโรค ทั้ง lymphoma และ leukemia
5. Hepatitis C virsus: ได้มีการพบว่า คนที่เป็น Hepatitis C virus มีส่วนทำให้คนๆ นั้น มีอันตรายต่อการเกิด lymphoma ซึ่งในขณะนี้ได้มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคทั้งสอง

o Age: เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า โรค non-Hodgkin lymphoma ไม่เกิดในเด็ก แต่จะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากขึ้น คนที่เป็นโรคดังกล่าวมักจะมีอายุเลย 60 ปี

การที่ท่านมีปัจจัยเสียง หนึ่ง หรือหลายตัว ไม่ได้หมายความว่า มันจะทำให้ท่าน เป็น มะเร็ง lymphoma
เพราะจากรายงาน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ที่มีปัจจัยเสียงเยอะแยะ ไม่เคยเป็น โรคมะเร็งเลย

Palindromic rheumatism:-3

เราจะพบโรค “พาลินโดรมิค รูมาติสซึ่ม” ในคนไทยได้บ่อยพอสมควร
มันมีลักษณะเฉพาะของมันดังนี้
เป็นการอักเสบของข้ออย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และหายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะปรากฏได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ถึงหลายวัน

ในระหว่างไม่มีอาการ ข้อที่เคยปวดจะมีสภาพเป็นปกติทุกประการ
มันอาจกลับเป็นใหม่ ด้วยความถี่ที่แตกต่างกัน
มีจำนวนไม่น้อย เมื่อเวลาผ่านไป มันลงเอยด้วยการเป็นโรค “รูมาตอยด์”

นาย Edward Rosenberg และ Philip Hench รายงานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1944 เกี่ยวกับคนที่มีอาการดังกล่าว และตัวเขานี้แหละ ได้รับรางวัล Nobel Prize ใน ฐานะที่เขาค้นพบ Cortisol ในปี ค.ศ. 1954

นาย Rosenberg ได้พบคนไข้ลักษณะดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี 1928 และรายงานใน Archives of internal medicine ใน ปี 1944
โดยตั้งชื่อว่า “Palindromic rheumatism” ซึ่งเราได้เรียกตามเขามาจนกระทั้งทุกวันนี้

ประมาณ 15 ปี ให้หลัง Ansell และ Bywaters ได้รายงานคนไข้จำนวน 28 ราย ซึ่งมีอาการตามที่เสนอมาทุกประการ และจากรายของเขา พบว่า คนไข้จำนวนไม่น้อย กลายเป็นโรค “รูมาตอยด์...” ในที่สุด พร้อมกับสรุปว่า โรค “พาลินโดรมิค...” เป็นพวกเดียวกันกับโรค “รูมาตอยด์...”
มันเป็น variant ของ โรค “รูมาตอยด์” เท่านั้นเอง

ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มของความเห็นขัดแย้ง ใน “พาลินโดรมิค รูมาติสซึ่ม” และ โรค “รูมาตอยด์”

หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีรายงานมากมาย ทีสรุปผลออกมาว่า คนไข้ที่เป็นโรค Wพาลินโดรมิค...” จำนวนหนึ่ง ประมาณ 30- 50 % จะลงเอยด้วยการ เป็นโรค “รูมาตอยด์...”

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

MCTD: ภาวะแทรกซ้อน (6)

สำหรับคนที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน...ชนิดร่วม
แม้ว่า ท่านจะได้รับการรักษาอย่างดีทีสุดก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนยังอาจเกิดขึ้นแก่ท่านได้
เช่น:

o Pulmonary hypertension: เป็นความดันของโลหิตในเส้นเลือดของปอด (pulmonary artery) สูงขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไข้ที่เป็นโรคนี้เสียชีวิตได้
คนไข้จะมีอาการ “หายใจลำบาก” หรือ “เจ็บหน้าอก”

o Heart disease: คนไข้พวกนี้มักมีโรคเกี่ยวกับเยื้อหุ้มหัวใจเกิดอักเสบ (pericarditis) ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจในที่สุด

o Side effect of long term corticosteroid drug: แน่นอน คนไข้ที่ได้รับสาร steroid ในระยะยาว มักทำให้เกิดกระดูกพรุน (osteoporosis) หรือทำให้เกิดหัวกระดูกสะโพกเกิดการขาดเลือด (avascular necrosis) ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเกิดอักเสบได้ง่าย

o Pregnancy complications: ในระยะที่คนไข้ตั้งครรภ์ อาการของโรคจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ มีโอกาสทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวต่ำ

ฉะนั้น ก่อนที่ท่านจะมีครรภ์ ท่านควรปรึกษาแพทย์ให้ดีเสียก่อน

MCTD: เราจะรู้ได้อย่างไร ? (4)

แม้ว่าเรา (แพทย์) จะไม่สามารถรักษาโรค “เนื้อเกี่ยวพัน..ชนิดร่วม” ให้หายขาดได้ก็ตาม แต่ เราก็สามารถช่วยให้อาการของท่านทุเลาลงได้

ในกรณีที่โรคของท่านมีอาการไม่มาก ท่านอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ เลย
ท่านจะได้รับการรักษาก็ต่อเมื่อ ท่านมีอาการของรุนแรงเท่านั้น
การรักษานั้น อาจเป็นการรักษาเฉพาะในขณะที่คุณมีอาการเท่านั้น หรือให้การรักษาด้วยยา ตลอดไป ก็ได้:

การรักษาด้วยยา (Medications) ได้แก่:

o Corticosteroids: จัดเป็นกลุ่มยาที่ใช้กันบ่อยที่สุด ใช้ในคนไข้ที่เป็นโรค เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (MCTD) ยาที่ใช้ คือ prednisolone เพื่อควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ให้มันทำลายเซลล์ที่เป็นปกติ และช่วยลดการอักเสบลง

ในการรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้ สิ่งที่คุณจะต้องระวัง คือ อันตรายจากการรับประทานยาในขนดสูง ๆ เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งสามารถทำให้ท่านเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มความดันโลหิต หรือ ทำให้เกิดเป็นต้อกระจกได้

o NSAIDS: ยาในกลุ่มนี้ นอกจากลดอาการปวด ยังช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากโรค เช่น ibuprofen, naproxen sodium

ในการใช้ยาในกลุ่มนี้เป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่นมีเสียงในหู ปัญหาเรื่องโรคหัวใจ เป็นอันตรายต่อตับ และไตได้

o Other immunosuppressive drugs: ถ้าหากอาการของคุณรุนแรง หรือมีลักษณะคล้ายพวกโรค “lupus” แพทย์เขาอาจเริ่มให้การรักษาแบบโรค “lupus”
ก็ได้

นั่นเป็นแนวทางของการรักษาโรค MCTD อย่างสั้น ๆ....

MCTD: management (5)

แม้ว่าเรา (แพทย์) จะไม่สามารถรักษาโรค “เนื้อเกี่ยวพัน..ชนิดร่วม” ให้หายขาดได้ก็ ตาม แต่เราก็สามารถช่วยให้อาการของท่านทุเลาลงได้

ในกรณีที่โรคของท่านมีอาการไม่มาก ท่านอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ เลย
ท่านจะได้รับการรักษาก็ต่อเมื่อ ท่านมีอาการของรุนแรงเท่านั้น
การรักษานั้น อาจเป็นการรักษาเฉพาะในขณะที่คุณมีอาการ และคุณอาจได้รับการ รักษาด้วย ยาตลอดไปก็ได้:

การรักษาด้วยยา (Medications) ได้แก่:

o Corticosteroids:
จัดเป็นกลุ่มยาที่ใช้กันบ่อยที่สุด ใช้ในคนไข้ที่เป็นโรค เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (MCTD)
ยาที่ใช้ คือ prednisolone ให้เพื่อควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ให้มันทำลายเซลล์ตัวเอง และช่วยลดการอักเสบลง

ในการรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้ สิ่งที่คุณจะต้องระวัง คือ อันตรายจากการรับประทานยาในขนดสูง ๆ เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งสามารถทำให้ท่านเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มความดันโลหิต หรือ ทำให้เกิดเป็นต้อกระจกได้

o NSAIDS:
ยาในกลุ่มนี้ นอกจากลดอาการปวด ยังช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากโรค เช่น ibuprofen, naproxen sodium

ในการใช้ยาในกลุ่มนี้เป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่นมีเสียง ในหู ปัญหาเรื่องโรคหัวใจ เป็นอันตรายต่อตับ และไตได้

o Other immunosuppressive drugs:
ถ้าหากอาการของคุณรุนแรง หรือมีลักษณะคล้ายพวกโรค “lupus” แพทย์เขาอาจเริ่มให้การรักษาแบบโรค “lupus”ก็ได้

นั่นเป็นแนวทางของการรักษาโรค MCTD อย่างสั้น ๆ....

MCTD: Causes (3)

ความขัดแย้งในสังคม จากเล็กไปหาใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอะไร ?
หากสืบสาวให้ดี...
พอจะหาได้ ว่ามาจากสาเหตุอะไร ?

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรานี้ซิ เป็นเรื่องที่แปลก แต่เป็นเรื่องจริง และน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวของเราเอง
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับระบบ ภูมิคุ้มกันของเราเอง ซึ่งทำงานผิดปกติ หรือผิดเพี้ยนไป
เป็นความผิด...ที่ระบบภูมิคุ้มกันแทนที่จะทำหน้าที่ปกป้องตัวเรา มันหันกลับมาเข้าใจผิดว่า เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเราเองแท้ๆ เป็นของแปลกปลอมไปเสียนี่

พวกศรศิลป์ไม่กินกัน โดยเฉพาะคนสูงอายุ อย่างดีก็แค่ไม่ชอบหน้ากันเท่านั้น
แต่เจ้าโรคที่ว่านี่....มันจัดการ ทำลายตัวเองในรูแบบต่าง ๆ ซะนี่

โรคของ MCTD ซึ่งเป็นโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน ชนิดร่วม ก็เช่นกัน
ระบบคุ้มกันตัวเราเอง เข้าใจผิดว่า เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของตนเอง เป็นสิ่งแปลกปลอม มันจึงถูก ทำลายโดย antibody ที่ภูมิตานทานสร้างขึ้น

ในขณะนี้ เราไม่ทราบหรอกว่าอะไรกันแน่ที่เป็นเหตุให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดทำงานผิดปกติ แต่เรามีความสงสัยว่า “ไวรัส” หลายตัว อาจมีส่วนร่วม ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้หรือไม่?
หรือว่าเกิดจากสารเคมีบางตัว เช่น “Vinyl chloride” และพวก “Silica” หรือ
ปัจจัยทางพันธุกรรม มีส่วนทำให้เกิดหรือเปล่า ?

กล่าวโดยสรุป เราไม่ทราบเลยว่า อะไรเป็นตัวไปกระทุ้งให้ระบบภูมิต้านทานของเรา มี พฤติกรรมเช่นนั้นได้

MCTD: Symptoms (2)

อย่างที่เกริ่นนำมาก่อนว่า ทรัพยากรใดก็แล้วแต่ ตราบในที่ยังไม่มีใบแสดงสิทธิ์ว่า ตนเป็น เจ้าของ ...
คนที่มีส่วนในกรณีพิพาท คงพูดด้วยประโยคคล้าย ๆกันว่า....
“มันเป็นของข้าฯ...”
แต่ก็ไม่มีใครสามารถตัดสินได้ว่า....มันเป็นของใคร

คนที่มาด้วยโรค “เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดร่วม” (mixed connective tissue disease) ก็ คงเป็นเช่นเดียวกัน
จะบอกว่า มันเป็นอาการของโรค Lupus หรือ scleroderma หรือ polymyositis เราก็ไม่สามารถบอกได้ เพราะทั้งสามโรคต่างมีอาการร่วมเหมือนกัน ดังนี้:

• Raynaud’s phenomenon คนไข้มาด้วยอาการของเส้นเลือดนิ้วมือหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงนิ้วมือไม่พอเพียง...ก่อให้เกิดอาการขึ้น

• มีอาการเหนื่อยเพลีย (fatigue)

• มีอาการปวดเมื่อยตามตัว รู้สึกไม่สบาย

• ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (myalgia)

• ปวดข้อ (arthralgia)

• มีไข้ต่ำๆ (low grade fever)

• มีข้อบวม (joint swelling)

• มือบวม นิ้วบวม

Raynaud’s phenomenon อาจปรากฏก่อนที่จะมีอาการอย่างอื่น เป็นเวลานานปี
เมื่อเวลาผ่านไป คนไข้อาจมีอะไรบางอย่าง ปรากฏขึ้นกับอวัยวะสำคัญ ๆ เช่น ผิวหนัง ข้อ ต่างๆ กล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด กระเพาะลำไส้ ไต ระบบประสาท และเม็ดเลือด

เมื่อนั้นแหละ ท่าน และแพทย์ของท่านจะต้อง ทำงานร่วมกัน เพื่อพิสูจน์ว่า
“ท่านเป็นโรคอะไรกัน...?”

Mixed connective tissue disease: Basic (1)

เริ่มต้นชื่อโรคเป็นภาษาอังกฤษ เป็นประโยคยาวเฟื้อย
แค่ชื่อก็ไม่อยากจะจำแล้ว จะถอดความเป็นภาษาของเราไม่ให้มันเชย...
เราจะใช้คำอย่างไรดี ?

“Mixed connective tissue disease”

Mixed หมายถึง “ร่วม” หรือ “ผสม” เหมือนเอา “กบ” “เขียด” และ “ คางคก” ใส่ในภาชนะอันเดียวกัน...มองในที่มืด รับรองไม่มีทางบอกได้ว่า ตัวไหนเป็นกบ

“Connective tissue” หมายถึง “เนื้อเยื้อเกี่ยวพันกัน”
Disease หมายถึงโรค

เมื่อนำมารวมกันเข้า (mixed + connective tissue + disease) ถอดความเป็น ภาษาไทยได้ความว่า เป็นโรคของเนื้อเยื้อเกี่ยวพัน ชนิดผสม (...ไม่รู้ว่าโรคที่ว่านั้น เป็นโรค อะไร เหมือน ๆ กับกบ และคางคงนั่นแหละ)
ถอดเป็นภาษาไทยแล้ว มันยังรู้สึกว่า...เราน่าจะแปลได้ดีกว่านี้ ?

มันเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน-ร่วม โดยมีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดมีอาการคาบเกี่ยว (overlapping…) ของโรค 3 ชนิด ซึ่ง ได้แก่ โรค lupus , scleroderma และ polymyositis

เมื่อเราเจออาการของคนไข้ เราไม่สามารถบอกได้ว่า อาการที่ปรากฏนั้นเป็นของโรคอะไร ซึ่งในระยะแรกๆ ที่คนไข้มาหาเรา มักจะวินิจฉัยว่า คนไข้รายนั้น ๆ เป็นโรค “ลูปัส”
เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง หากมีอาการ และอาการแสดงเปลี่ยนแปลงไป เมื่อนั่นแหละการวินิจฉัยจะถูกเปลี่ยนไป

คนเป็นโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งมีอาการร่วม โดยเราไม่รู้ว่า เป็นอาการของโรคอะไรใน ระหว่างนั้น มักจะเกิดขึ้นกับคนไข้ที่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีอายุในช่วง 20 – 30
นานๆ ครั้งอาจเห็นในเด็กได้บ้าง

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Raynaud’s Disase: แนวทางการรักษา....(3)

ได้กล่าวมาแล้วว่า โรค Raynaud’s เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับนิ้วมือ นิ้วเท้า โดยมีสาเหตุมา จากเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงนิ้วมือ... หดตัวอย่างมากมาย หดอย่างไม่เหมาะสม
โดยมีแรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดไม่มากนัก

หากเราสามารถตรวจพบปัญหา ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการขึ้น จำเป็นต้องได้รับการเยียวยา รักษา

ในการรักษาภาวะดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการรักษาตรงจุด เช่น หลีกเลี่ยงไม่ให้อาการเลวลง
ให้มือ หรือเท้าที่มีอาการได้รับความอบอุ่น หลีกเลี่ยงจากแรงกด-บีบ หรือแรงสะเทือน (vibration)

ทำให้เกิดอารมณ์ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงจากความกดดัน (stress) ทางจิตใจ ซึ่งถือว่าได้ มีประโยชน์จากการกระทำดังกล่าวเช่นกัน

หลีกเลี่ยงจากยา ที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว (vascular constriction) เช่น ยาลดความดัน โลหิตสูง เช่น กลุ่ม Beta-blocker, ยารักษาอาการปวดศีรษะ “ไมเกรน” (ergotamine) และยาคุมกำเนิด (contraceptive drugs)

สูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะสาร nicotine สามารถทำให้เส้นเลือดหดตัวได้เช่นกัน

ในการรักษาด้วยยา ที่สามารถขยายหลอดเลือด (vasodilatation) ถือว่าเป็นวิธีการที่ดี นอกจากได้ผลดีแล้ว ยังปลอดภัยอีกด้วย

ยาที่นิยมใช้ในการรักษา คือยาในกลุ่ม calcium channel blocker ที่ใช้กันอยู่เสมอ คือ nefedipine ผลจากการใช้ยาดังกล่าว ทำให้ลดความดันโลหิต ท้องผูก และเกิดอาการ บวมที่บริเวณข้อเท้า

นอกเหนือจากยา ยังมีการผ่าตัดเส้นประสาท “sympathectomy” เป็นการตัดคลื่นประสาทที่ทำหน้าที่นำคลื่นประสาท “ทำให้เส้นเลือดหดตัว” ไปยังมือ และเท้า
วิธีการผ่าตัด จะสงวนไว้เฉพาะรายที่รุนแรงเท่านั้น (การผ่าตัด ไม่ใช้วิธีทำให้โรคหายได้ตลอดกาล)

ในกรณีที่เป็นไม่มาก ท่านสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ด้วยการให้ความอบอุ่นแก่มือ และเท้า หลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ความเย็น และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

นั่นคือแนวทางที่ท่านควรรู้เกี่ยวกับโรค Raynaud’s อย่างย่อ ที่สุด

รู้เอาไว้ไม่เสียหลาย ...

Raynaud’s disease: Causes (2)

ในคนที่เป็นโรค Raynaud’s Disease ถือว่าเป็นสภาวะที่ผิดปกติจากการที่เส้นเลือดไป เลี้ยงนิ้วมือ เกิดการหดตัวอย่างมาก
จะว่า เป็นการหดตัวไม่เหมาะสมก็ย่อมได้
โดยที่มีตัวไปกระตุ้นให้เกิดอาการเช่นนั้นน้อยมาก

ทำไมเป็นเช่นนั้น ยังไม่มีใครทราบ แต่ผลที่เกิดขึ้น คนไข้จะบอกให้ทราบว่า
นิ้วมือของเขาจะซีด เย็น ลงท้ายจะมีสีแดงช้ำ
มีอาการปวด ชา เหมือนกับว่า มีเข็มทิ่มตำเอา

ถ้าเป็นพวกฝรั่งจะพบว่า มีจมูกแดงช้ำปรากฏใหเห็นด้วย
ส่วนคนไทย ผู้เขียนยังไม่เคยพบเห็น..
ในบางครั้ง เราจะพบอาการดังกล่าว เป็นส่วนประกอบของโรคอย่างอื่น และเราเรียกภาวะ เช่นนี้ว่า Raynaud’s phenomenan.

โรคที่ทำให้เกิดมีอาการ Raynaud’s phenomenon

จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา (automimmune disease) ซึ่งมันเข้าใจผิดคิดว่า เนื้อเยื้อของเราเองเป็นสิ่งแปลกปลอม หรือเป็นศัตรู....
ซึ่งได้แก่โรค Rheumatoid arthritis , systemic lupus erythematosus และ scleroderma หรือ โรคที่ไปทำลายหรืออุดตันเส้นเลือดโดยตรง

นอกเหนือไปจากนี้ คนไข้ที่ต่อมไทรอย์ด ทำงานน้อยไป (hypothyroidism) ก็สามารถทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ได้เช่นกัน ซึ่งหากคนไข้ได้รับการรักษาโรคดังกล่าว สามารถทำให้อาการหายได้

Raynaud’s Disease: Basic (1)

เธอเป็นสตรีไทย ผู้ใช้แรงงาน
ช่วยสามี ทำด้านด้านก่อสร้าง มีหน้าที่ขนดิน

“คุณหมอ....อิฉันปวด-ชาที่มือทั้งสอง
ทุกครั้งที่อิฉันหิ้วถังขนดิน อาการจะปรากฏ;
ระหว่างหิ้วถังขนดิน จะรู้สึกปวดที่มือทั้งสอง พอวางถังลง มือจะซีดขาว ตามด้วยผิวหนังสีแดง-ช้ำ กว่าอาการจะหายไป ต้องกินเวลานานพอสมควร”

นั่นคือเสียงของสตรี ผู้ไม่สมหวัง ไม่สามารถช่วยงานสามีตามปกติได้ ก่อนที่ผมจะพูด อะไรต่อ เธอก็ตั้งคำถามขึ้นว่า
“อีฉัน เป็นโรคอะไร ?”

ฟังคนไข้แล้ว ให้นึกถึงโรคหนึ่ง นาน ๆ จะพบที...
“Raynaud’s Dosease” หรือ “Raynaud’s phenomenon”

เส้นเลือดที่ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย สามารถหด และขยายตัวได้ ซึ่ง หมายความว่า ทำให้ขนาดของเส้นเลือดแคบ หรือขยายได้นั่นเอง

นั้นหมายความว่า ร่างกายของเราสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือด ที่ไปเลี้ยงอวัยวะที่ สำคัญ ๆ และแขนขาได้ โดยที่มันสามารถสนองตอบต่อการเปลี่ยนของร่างกาย ตลอดรวมไป ถึงสภาพแวดล้อมด้านอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

การเปลี่ยนแปลงของเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น สามารถพบเห็นได้ชัดที่บริเวณผิวหนัง เช่น เมื่อเวลามีเลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้น ๆ เพิ่มมากขึ้น จะพบผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือเป็นสีชมพู ซึ่งเราจะพบเห็นในกรณีที่ถูกความร้อน หรือขณะตื่นเต้น

ผิวหนังจะเป็นซีดเผือดเมื่อ การไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนปลายถูกยับยั้งเอาไว้ เพื่อรักษาส่วน สำคัญของร่างกายเอาไว้ ให้คงสภาพของระดับความดันโลหิตให้เป็ยปกติ ซึ่งจะพบเห็นในขณะที่คนเรา ตกอยู่ภายใต้ความกดดัน (stress)ของจิตใจ เช่น กรณีตื่นเต้น

กรณีที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายถูกสกัดกั้น (vasoconstriction) เราสามารถพบเห็น ได้ง่ายที่บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า

คนส่วนใหญ่ที่โรค Raynaud's... ดังกล่าว จะพบเห็นในฤดูหนาวกัน และอาการที่ปรากฏจะมากหรือ น้อย มันขึ้นกับตัวบุคคลแต่ละราย