วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

Abnormal Heart Rhythms (Arhythmia)

การที่คนเราจะสามารถเอาชนะปัญหา (โรค) ที่เกิดขึ้น กับของเราได้
เราจำเป็นต้องรู้ ธรรมชาติของปัญหานั้น ๆ ให้ได้เสียก่อน
จากนั้น เราเพียงแต่ปฏิบัติการให้คล้อยตามธรรมชาติของมัน
ปัญหาที่เกิด ไม่ว่าจะหนักหนาสาหัสแค่ใด...
ก็น่าจะทำให้บรรเทาลงได้บ้าง

ประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาเขียน...เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องของหัวใจ
สิ่งที่เราควรรู้ คือ ธรรมชาติของหัวใจ
ซึ่งมีทั้งด้านปกติ และ ไม่ปกติ:

การเต้นของหัวใจ และ ระบบคลื่นกระแสไฟฟ้าของมัน:
หัวใจของคนเรามีสี่ห้อง- สองห้องบน(atria) และ สองห้องล่าง (ventricles)
เมื่อพิจารณาให้ดี จะพบว่า กล้ามเนื้อของหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อที่ธรรมชาติสร้างขึ้นพิเศษ
เพื่อให้มันทำงานได้ตลอดชีวิต

ตามสถิตของกระทรวงสาธารณสุข คนไทย ชาย จะมีอายุยืนยาว ถึง 71 ปี
ส่วนหญิง จะมีชีวิตที่ยืนยาวกว่า 77 ปี
โดยที่หัวใจทั้งสี่ห้อง จะมีการทำงานด้วยการบีบตัว (contract) เป็นจังหวะตลอดเวลา
เพื่อบีบเลือดให้ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดย ที่การทำงานของมัน จะมีการบีบตัวเป็นจังหวะที่มีความสมำเสมอ ด้วยแรงที่คงที่

ขั้นตอนการเต้นของหัวใจ เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกาย :

 Sinoatrial node (SA node) เป็นปุ่มเล็ก ๆ อยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวา (rt.atria)
เป็นตัว ทำหน้าที่กำหนดเวลา (in-built timer) ปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าออกไปตามเส้นใยเล็ก ๆ
ไปยังส่วนต่างๆ ของกล้ามเนื้อหัวใจสองห้อง (both atria) ด้วยอัตรา 60 – 80 ครั้งต่อนาที
ผลจากการส่งคลื่นไฟฟ้าดังกล่าว จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจของสองห้องบนหดตัว (contract)
และปีบเลือดให้ไหลผ่านลิ้นหัวใจ (one-way valve) ไปยังสองช่องล่างของหัวใจ (ventricles)

คลื่นกระแสไฟฟ้า (electrical impulse) จะไปถึงปุ่มก้อนเนื้อเล็ก ๆ มีชื่อเรียกว่า
Atrioventricular node (AV node) ซึ่งอยู่ตรงตำแหน่งช่วงล่างสุดของหัวใจซีกขวา
มันทำหน้าเหมือนกับ “รอยต่อ...” (junction box)
เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งมาถึงจุดนี้ มันจะช้าลงนิดหนึ่ง
และ จากปุ่ม AV node จะมีใยประสาท รวมตัวเป็นแผ่น (atrioventricular bundle)
ทำหน้าที่นำคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อของหัวใจสองช่องล่าง (ventricles)

 Atrioventricular bundle (AV bundle) จะแยกเป็นสองเส้นซ้าย-ขวา
และจาก เส้นประสาทที่แบ่งตัวนั้น จะมีใยประสาทเล็ก ๆ (Purkinje system)
ทำหน้าที่นำคลื่นกระแสไฟฟ้า กระจายไปยังทุกส่วนของกล้ามเนื้อของหัวใจสองห้องล่าง
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสองช่องล่าง (ventricles) หดเกร็ง (contract)
และบีบตัวทำให้เลือดผ่านลิ้นหัวใจ (one way valves) ผ่านเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่อีกสองเส้น:

o เส้นเลือดแดงจากหัวใจห้องล่างด้านขวา (pulmonary artery) ทำหน้าที่นำเลือดไปยังปอด
o เส้นเลือดแดงจากห้องล่างของหัวใจด้านซ้าย (aorta) จะทำหน้านำเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ภายหลังการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (contract) มันจะหยุดในระยะสั้น (diastole)
มีเลือดจะไหลกลับสู่หัวใจผ่านเส้นเลือดดำใหญ่ (large veins)
เข้าสู่หัวใจสองช่องบน (atria) ซ้าย และขวา:

o เส้นเลือดดำ ที่เข้าสู่หัวใจ ห้องซ้ายบน (lt. atria)
จะนำเลือดที่ผ่านการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดเป็นที่เรียบร้อย
o เส้นเลือดดำ ที่เข้าสู่หัวใจห้องขวาบน (rt. Atria)
จะนำเลือดจากร่างกาย เป็นเลือดที่ต้องการออกซิเจน

นั้น คือ ธรรมชาติของหัวใจ ซึ่งทำงานเป็นปกติ มันเป็นเชนนั้นเอง
นอกเหนือไปจากนั้น เรายังพบว่า มีการทำงานของมัน ที่ผิดไปจากปกติ
แต่ก็ยังถือว่าปกติ เช่น:

 Sinus tachycardia

มันหมายถึงการเต้นของหัวใจ ซึ่งเต้นเร็วกว่าปกติ (เต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที)
ในกรณีเช่นนี้ จะพบเห็นในคนที่กำลังออกกำลังกาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ
มันอาจเกิดขึ้น ถ้าท่าน: เป็นโรคเลือดจาง มีไข้สูง เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ
หรือ เกิดขึ้นในขณะที่ท่านตกอยู่ในภาวะตกใจกลัว
ซึ่งในขณะนั้น ร่างกายของท่านจะหลั่งสาร Adrenaline สุ่กระแสโลหิต ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น

 Sinus bradycardia

มันหมายถึงการเต้นของหัวใจ ซึ่งเต้นได้ช้ากว่าปกติ นั่นคือ เต้นช้ากว่า 60 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
มีบางคนที่มีสุขภาพฟิตจัด จะมีระดับการเต้นของหัวใจระหว่าง 50 – 60 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
ในบางคนอาจเต้นได้ช้ากว่านั้น
นอกจากนั้น การที่หัวใจเต้นช้าลง ยังสามรรถพบได้ในคนที่มีต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อยกว่าปกติ

 Ectopic beats:
เป็นการเต้นของหัวใจ ที่เต้นเกินกว่าปกติ ต้นได้ไม่สม่ำเสมอ
เป็นการเต้นของหัวใจ ที่เราพบได้บ่อย แต่ไม่เป็นอันตรายใด ๆ
คนส่วนใหญ่ ที่มีการเต้นของหัวใจปกติอยุ่แล้ว จะมี ectopic beat หนึ่งครั้งในหนึ่งวัน

นอกเหนือไปจากนั้น การดื่มกาแฟ ดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้ท่านเกิดมี ectopic beats ได้บ่อย
และในบางคน ที่มีโรคหัวใจบางชนิด อาจมีการเต้นของหัวใจ (ectopic beats) ได้

เมื่อเราได้รู้ว่า การเต้นของหัวใจที่ปกติเป็นอย่างไรแล้ว
ลองมาดูการเต้นที่ผดปกติของหัวใจดูบ้างว่า มันเป็นเช่นใด ?ล

การเต้นของหัวใจผิดปกติ (arrhythmia)
เมื่อมีการพูดถึงความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ
เราหมายถึง ความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือ/และ ความผิดปกติในอัตราการเต้นของมัน
ซึ่งมีหลายประเภทด้วยกัน แต่ทั้งหมดต่างมีปัญหาที่เกิดในระบบ
การส่งคลื่นกระกระแสไฟฟ้าของหัวใจนั่นเอง

ความผิดในการเต้นของหัวใจ บางรายมีความรุนแรงมากกว่ารายอื่น
บางรายที่เกิดการเต้นไม่สม่ำเสมอ (intermittent) เป็น -หาย
คนบางรายมีการเต้นที่ผิดปกติเป็นประเภทถาวร (permanent)
ถ้าไม่รักษาตรวจเมื่อใดก็พบเมื่อนั้นแหละ...


Continue > Arrhythmia : ความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ ประเภทหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น