Jan 28,2013
ขั้นตอนในการรักษาเบาหวานประเภทสอง...
เราใช้ระดับของ A1C เป็นเป้าสำหรับควบคุมให้น้ำตาลในเลือลดลงสู่เป้าหมาย
ด้วยการใช่ระดับของ A1C ที่เป็นปัจจุบันเป็นตัวกำหนดว่า
จะให้การรักษาแบบ mono-, dual, หรือ triple combination therapy
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
เรามีขั้นตอนสำหรับทำให้ระดับของ A1C ลดลงสู่ระดับ 6.5 หรือต่ำกว่า
ขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อการรักษาเบาหวาน เพื่อลดระดับน้ำตาลลงสู่เป้าหมาย (A1C = 6.5)
จะเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyleModification) เช่น
การออกกำลังกาย (exercise) และอาหาร (diet)
จะเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyleModification) เช่น
การออกกำลังกาย (exercise) และอาหาร (diet)
ต่อจากนั้น การบริหารจัดการกับระดับน้ำตาลในกระแสเลือด จะขึ้นกับระดับของ A1C เป็นสำคัญ
โดยแพทย์สามารถพิจารณาเลือกการรักษาตามความเหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นการให้ยาเพียงหนึ่งตัว (single medication), ยาสองตัว (dual medication)
หรือเป็นการใช้ยาสามชนิดร่วมกัน (triple combination therapy)
โดยแพทย์สามารถพิจารณาเลือกการรักษาตามความเหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นการให้ยาเพียงหนึ่งตัว (single medication), ยาสองตัว (dual medication)
หรือเป็นการใช้ยาสามชนิดร่วมกัน (triple combination therapy)
ในขั้นตอนการรักษา (algorithm)...
มีจำเป็นต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลตก (hypoglycemia), ความมีประสิทธิภาพ (eeficacy), ความเรียบง่าย (simplicity)
มีจำเป็นต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลตก (hypoglycemia), ความมีประสิทธิภาพ (eeficacy), ความเรียบง่าย (simplicity)
และระดับที่คนไข้โดรเบาหวานสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย:
ถ้าในขณะที่วินิจฉัยโรคเบาหวาน ระดับ A1C มีค่า 6.5 - 7.5 %
การรักษาอาจเริ่มต้นด้วยการให้ยาเพียงตัวเดียว (monotherapy)
ซึ่งยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษา ได้แก่ metformin หรือ thiazolinedione, A DPP-4 inhibitor,
หรือ alpha-glucosidase inhibitor
หรือ alpha-glucosidase inhibitor
หลังจากสองเดือนผ่านไป พบว่า การรักษาไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย
การรักษาจะปลี่ยนเป็นการให้ยาสองตัว หรือสองขนาน (dual therapy)
โดยการให้เพิ่มยา ยกตัวอย่าง คนไข้ได้รับ metformin อยู่ก่อนแล้ว
เราให้เพิ่มยากลุ่มอื่นเสริมเข้าไป เช่น thiazolinedione, A DPP 4 inhibitor
หรือ alpha-dlucosidase inhibitor ตัวใดตัวหนึ่ง
โดยการให้เพิ่มยา ยกตัวอย่าง คนไข้ได้รับ metformin อยู่ก่อนแล้ว
เราให้เพิ่มยากลุ่มอื่นเสริมเข้าไป เช่น thiazolinedione, A DPP 4 inhibitor
หรือ alpha-dlucosidase inhibitor ตัวใดตัวหนึ่ง
ถ้าในขณะที่วินิจฉัยโรคเบาหวาน หรือในขณะเริ่มต้นการรักษา ระดับ A1C มีค่า 7.6 – 9.0 %
การรักษาควรเริ่มด้วยการให้ยาสองตัว (dual therapy)
โดยการให้ยา metformin รวมกับยาตัวอื่นๆ ในกลุ่ม monotherapies
เช่น metormin + thiazolinedione หรือ metformin + A DPP inhibitor.....
เช่น metormin + thiazolinedione หรือ metformin + A DPP inhibitor.....
หากรักษาไปแล้ว 2 – 3 เดือน ยังปรากฏว่า ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
ให้เปลี่ยนเป็นการให้ยาสามตัว (triple combination therapy)
เช่น ให้ metformi + thiazolidinedione + DPP-4 inhibitor
ถ้าพบว่า ตอนแรกเริ่ม...
(พบคนไข้เบาหวาน ค่า A1C มีค่า มากกว่า 9.0 %
(พบคนไข้เบาหวาน ค่า A1C มีค่า มากกว่า 9.0 %
และคนไข้มีอาการต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน (เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย
และรับประทานอาหารมากจนผิดมนุษญ์เขา...
ให้เริ่มการรักษาคนไข้ด้วยการฉีดยา insulin ได้เลย
และรับประทานอาหารมากจนผิดมนุษญ์เขา...
ให้เริ่มการรักษาคนไข้ด้วยการฉีดยา insulin ได้เลย
แต่หากคนไข้ไม่มีอาการของโรคเบาหวานเลย
การรักษาอาจเป็นการให้ยาสามตัว(triple therapy) ยังไม่ต้องเริ่มให้อินซูลิน
นั้นคือ ขั้นตอนการรักษาโรคเบาหวาน ที่เราปฏิบัติกัน
http://www.diabeteshealth.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น