วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Cardiac Arrhythmias 1

11/12/12

การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติทั้งอัตร (rate) และจังหวะ (rhythm)
อีกชื่อเขาเรียกว่า arrhythmia

ในผู้ใหญ่ที่ที่หัวใจเต้นเป็นปกติ  เราจะพบว่า..
การเต้น (บีบตัว) ของหัวใจจะวัดได้ 60 – 100 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
โดยคลำชีพจรและวัดการเต้นของหัวใจจากข้อมือ 
หรือบริเวณคอจะเท่ากับการบีบตัว (contraction)
ของหัวใจสองห้องล่าง  ซึ่งมีชื่อเรียกว่า  “ventricles”
 หัวใจสองห้องบน  เรียก atria…จะทำหน้าที่บีบตัวเช่นกัน
 เป็นการบีบตัวเพื่อบรรจุเลือดเข้าสู่หัวใจสองห้องล่าง แต่เป็นการบีบตัวไม่แรงนัก 
 ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนการบีบตัวของหัวใจสองล่างแป๊บเดียว
 จนเราไม่สามารถคลำจาก  ชีพจรได้


 ภายใต้สภาพการทำงานของหัวใจตามปกติ...
 คลื่นกระแสไฟฟ้า  ซึ่งเสมือนหนึ่งคำสั่ง (signal) ให้หัวใจทำงาน หรือบีบตัว 
 คลื่นกระแสไฟฟ้าดังกล่าว  จะมาจากปุ่มกำเนิดคลื่น...ที่มีตามธรรมชาติ 
 มีชื่อเรียก sinus node  อยู่ในส่วนบนของหัวใจห้องขวา (right atrium)

 คลื่นที่ทำให้หัวใจเกิดการบีบตัวจาก sinus node จะวิ่งไปยังอีกปุ่มหนึ่ง
 เรียก A-V node  หรือ atrioventricular node 
 ซึ่งอยู่ตำแหน่งระหว่างหัวใจสองห้องบน

 จากนั้น  คลื่นจะวิ่งไปตามทางเดิน  ที่เป็นใยกล้ามเนื้อของหัวใจ
 ที่ปรับเปลี่ยนไป  โดยจะอยู่ในตำแหน่งระหว่างหัวใจสองห้องล่าง 
 เรียกว่า “bundle of His”

 เพื่อทำหน้าที่นำคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจสู่กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
 คลื่นดังกล่าว  จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่างบีบตัว 
 เพื่อบีบเลือดออกจากหัวใจไปยังปอด  และไปส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
 และการบีบตัวของหัวใจสองห้องล่าง  จะเป็นการเต้นของหัวใจ (heart beat)
 ซึ่งเราสามารถรู้สึกได้ด้วยการสัมผัสได้ที่บริเวณที่ข้อมือ  หรือบริเวณคอ

 การที่หัวใจเต้นผิดปกติไป (cardiac arrhythmia)…
 บางครั้งเราแบ่งตามตำแหน่งเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความผิดปกติ
 เช่น  ventricular arrhythmia…จุดกำเนิดความผิดปกติอยู่ที่หัวใจห้องล่าง
 หรือ  supraventricular arrhythmia จุดเริ่มต้นของความผิดปกติ 
 จะอยู่ด้านบนของหัวใจห้องล่าง  มันก็คือหัวใจห้องบน (atria) นั่นเอง

 นอกจากนั้นหัวใจเต้นผิดปกติ...
 เรายังเรียกตามกระทบที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจด้วย 
 เช่น  การเต้นได้ช้ากว่า 60 ครั้ง  ต่อนาทีเรียก bradycardia
 และเรียกว่า  tachycardia เมื่อหัวใจเต้นได้มากกว่า 100 ครั้งต่อหนึ่งนาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น