วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Heart diseases: เมื่อแพทย์บอกว่า....ท่านเป็นโรคหัวใจ ? 2

11/8/12

Valve Disease
หัวใจของคนเรามี “ลิ้นหัวใจ” จำนวนสี่อัน (ลิ้น)  ทำหน้าที่ประสาน
การทำงานให้เลือดหลผ่านห้องหัวใจทั้งสี่  ในขณะที่หัวใจมีการบีบตัว (heart beat)
ให้ดำเนินไปได้ตามปกติ

ปัญหาเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจดังกล่าว  เชนลิ้นเกิดรั่วขึ้น  หรือเปิดได้ไม่กว้างพอ

ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคหัวใจที่เกิดจากลิ้นหัวใจได้ทันที
เช่น  เกิดตามหลังการเกิด heart attack  ซึ่งกรณีดังกล่าวมักจะเกิดอย่างช้า ๆ โ
โดยกินเวลาหลายปี

ตามเป็นจริง  มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เป็นลิ้นหัวใจรั่ว  ไม่เคยรู้ตัวมาก่อน
ทั้งๆ ที่เขาเกิดมีอาการเกิดขึ้นก็ตาม  และเขาจะรู้ว่าเขาเป็นโรคดังกล่าวได้
ก็ต่อเมื่อแพทย์เป็นคนบอกให้เขาทราบเท่านั้น
(ซึ่งสามารถทราบได้โดยมีเสียงผิดปกติ- murmur จากการฟังการเต้นของหัวใจ)

ทำไมคนเราจึงเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว ?
มีคนบางคนเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ
บางคนเกิดมีการอักเสบ  ซึ่งเป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ (endocarditis)
ทำให้เกิดมีแผลเป็นขึ้น  และมีการทำงานของลิ้นหัวใจตามมา

นอกจากนั้น  โรค rheumatic fever ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถ
ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจได้...แต่ค่อนข้างจะพบได้น้อยมาก

Heart Rhythm Problems
ภายในหัวใจของคนเรา..จะมีเซลล์พิเศษจำนวนหนึ่ง  ทำหน้าที่ส่งคลื่นกระแส
ไฟฟ้าได้ตามเวลาที่กำหนด ทำให้หัวใจรู้ว่า  เมื่อใดจะปล่อยให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจ 
และเมื่อใดจะทำหน้าทีปั้มเลือดให้ออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เพื่อให้เลือดไหลเข้าสู่ห้องหัวใจได้  กล้ามเนื้อของหัวใจจะเกิดการผ่อนคลายใน
ระยะสั้น ๆ  ทำให้ลิ้นหัวใจจะเปิด  และปิดในเวลาที่ถูกต้อง  เพื่อให้เลือดไหลเข่า 
และไหลออกจากหัวใจสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ตามทีมันควรจะเป็น

อย่างไรก็ตาม  บางครั้งหัวใจบีบตัวเร็วเกินไป หรือบีบตัวช้าเกินไป
บางครั้งคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจเกิดติดขัด 
ทำให้การเต้นได้ไม่สม่ำเสมอ ๆ  เราเรียกว่า arrhythmia
ภาวะ (โรค) ต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ  ได้แก่:
§  ภาวะหัวใจเต้นช้าเกิน (เรียก bradycardia)
§  ภาวะหัวใจเต้นเร็วเกิน (เรียกว่า tachycaridia)
§  ภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ  เช่น atrial fibrillation ซึ่งเป็นภาวะหัวใจ
§  ห้องบนเต้นเร็ว  และไม่เป็นระเบียบ
§  หัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ  ventricular fibrillation
บางคนไม่ทราบว่า  หัวใจของตนเองเต้นได้ไม่สม่ำเสมอ
เป็นพยาบาล  หรือแพทย์ต่างหาก  ที่ตรวจพบและบอกให้ทราบในขณะไปตรวจร่างกาย
หรือ เมื่อได้รับการตรวจคลื่นของหัวใจ (EKG)
เมื่อเรามีอาการ “ใจสั่น”   วิงเวน  หรือมีปัญหาด้านการหายใจ
จึงนำไปสู่การวินิจฉัยโรคในภายหลัง

ภายใต้ภาวะหัวใจเส้นผิดปกติ  สามารถก่อให้เกิดอันตราย  หรือไม่มีอะไรเลยก็ได้
ซึ่งขึ้นกับว่า  หัวใจของท่านมีความสามารถปั้มเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติ  อาจเป็นเหตุให้เกิดมีการสร้างลิ่มเลือดภายในหัวใจ,
อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว หรืออาจทำให้ความดันโลหิตลดต่ำ
หรืออาจทำให้หัวใจหยุดเต้นขึ้นมาเฉย ๆ ได้
และเกิดอันตรายตามมาในที่สุด

Pericarditis
หัวใจของคนเรามันก็เหมือนกบอวัยวะอื่นๆ  กล่าวคือ  หัวใจมีเยื่อหุ้มหัวใจ..
เรียกชื่อว่า pericardium  ซึ่งทำหน้าที่แยกหัวใจออกจากอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
ทำให้หัวใจสามารถสวิงไปมาเล็กน้อยในระหว่างการบีบตัวของหัวใจแต่ละครั้ง

เมื่อใดก็ตามที่เยื่อหุ้มหัวใจเกิดละคายเคืองขึ้น, หรือเกิดอักเสบ, หรือมีมะเร็งเกิดขึ้น,  
ช่องว่างระหว่างหัวใจ  และเยื่อหุ้มหัวใจอาจมีน้ำในจำนวนมาก  จะทำให้
การทำงานของหัวใจไม่สามารถปั้มเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
( pericardial temponade)

โดยสรุป...
หัวใจของคนเราเป็นอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อน...
แต่เมื่อเวลาที่แพทย์พูดว่า  หัวใจเป็นปัญหานี้ซิ....มันสามารถสื่อให้รู้ว่า
เป็นโรคหัวใจชนิดใดก็ได้ทั้งนั้น  ดังนั้นเพื่อความสบายใจของท่านเอง... 
สิ่งที่ท่านต้องพิจารณา คือ  ตั้งคำถามแพทย์อย่างละเอียดว่า 
“มันคืออะไร ?”   มันเกิดได้อย่างไร ?  และเราควรปฏิบัติตนอย่าง?
พร้อมกับทำความเข้าใจกับเรื่องดังกล่าวให้ถ่องแท้..
เมื่อนั้น  เราย่อมมีโอกาสอยู่เหนือโรค...ได้



.
http://www.intelihealth.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น