วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Daily Aspirin Therapy:

11/9/12

ผลของการศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่า ...
คนที่ประสบกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack) มาครั้งหนึ่ง
สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดครั้งที่สองได้ด้วยการรับประทาน “แอสไพริน”
อย่างสม่ำเสมอ

แอสไพริน  โดยตัวของมันนั้น  สามารถป้องกันไม่ให้เกล็ดเม็ดเลือดที่มี
อยู่ในกระแสเลือดจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนได้
เป็นการลดโอกาส  ไม่ให้ก้อนเลือดเกิดขึ้นในเส้นเลือดแดง
ซึ่งมีการอุดตันด้วยคราบไขมัน (plaque)

The American Association ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า...
คนที่เคยมีประวัติเกิด heart attack,  unstable angina,  Ishemic stroke
หรือ  transient ischemic attack (หรืออาจเรียกว่า  TIA  หรือ Little stroke)
ให้พิจารณารับประทาน “แอสไพริน” อย่างสม่ำเสมอ
(ซึ่งแน่นอน  ท่านจะต้องได้พูดคุยกับแพทย์มาก่อนแล้ว)

แอสไพริน  สามารถป้องกันไม่ให้เกิด heart attack หรือ stroke
ตั้งแต่แรกเลยได้หรือไม่ ?

ในปี 2009 หน่วยงาน U.S. Preventive Service Task Force (USPSTF)
ได้ให้คำแนะนำดังนี้:

§  ให้คนท่มีอายุระหว่าง 45 -79 รับประทาน aspirin เพื่อความเสี่ยงต่อการ
เกิด heart attack โดยประโยชน์ทีพึงได้รับมีมากกว่าอันตราย
(เลือดตกในกระเพาะและลำไส้)

§  ให้สตรีที่มีอายุระหว่าง 55  -  79 รับประทาน aspirin 
เมื่อคิดว่า  ประโยชน์ที่พึงเกิดในการลด ischemic stroke  มีมากกว่าโทษ
ที่พึงเกิดจากการมีเลือดตกในกระเพาะและลำไส้

หน่วยงานดังกล่าว (USPSTF) ไม่แนะนำให้ในสตรีที่มีอายุต่ำกว่า  55 
รับประทาน aspirin  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ stroke 
และไม่แนะนำให้ผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 45  รับยา aspirin
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด heart attack 

กลุ่มงานดังกล่าว (USPSTF) ยังได้รายต่อไปว่า
เขาไม่มีหลักฐานเพียงพอ ที่จะให้คนที่มีอายุมากกว่า 80 
ว่าควรรับประทาน “แอสไพริน” หรือไม่

เมื่อตัดสินใจว่าต้องรับประทานแอสไพริน...
เราจะต้องรับประทานมากน้อยแค่ใด ?

ในปัจจุบันยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันในประเด็นที่ว่า  ควรรับประทานยา
แอสไพรินขนาดเท่าใด ?

แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทาน “แอสไพริน” เพื่อป้องกันไม่ให้
เกิด heart attack หรือ stroke ตั้งแต่แรก  ด้วยการให้ยาขนาด 81  mg ต่อวัน
แต่สำหรับในคนที่เคยเป็นโรค heart attack มาก่อน
เราควรให้แอสไพรินมีขนาดสูงขึ้นอีกหน่อย 

เมื่อใช้ยาแอสไพรินแล้ว...
ต้องระวังอันตรายด้วย

ในขณะที่เราใช้ยา”แอสไพริน” มานับเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วก็ตาม 
ไม่ได้หมายความว่า  การรับประทานยาทุกดังกล่าวจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น

ท่านไม่ควรรับประทานแอสไพรินโดยพละการ  โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน

คนต่อไปนี้ไม่ควรรับประทาน “แอสไพริน”  ได้แก่:
คนเป็นโรค “ตับ” และโรค “ไต” ที่มีความรุนแรง , กระเพาะเป็นแผล  หรือโรคกระเพาะลำไส้ต่างๆ, โรคเลือดออก หรือแพ้ยาแอสไพริน

แม้ว่าท่านไม่มีปัญหาตามที่กล่าวก็ตาม...
การรับประทานยาแอสไพรินทุกวันนั้นอาจทำให้เกิดมีเลือดออกในกระเพาะได้
ต้องระวังเอาไว้ด้วย

ในกรณีที่ท่านเคยเกิดภาวะ heart attack มาก่อน...
เมื่อท่านรับประทานแอสไพรินแล้วเกิดผลข้างเคียงขึ้นมา  ท่านต้อง
รายงานแพทย์ให้ทราบ

อาการปวดกระเพาะจะเป็นอาการที่พบได้บ่อยสุด

ในกรณีที่ท่านต้องไปทำฟัน (dental work) หรือจะได้รับการผ่าตัดใดๆ
ท่านต้องรายงานได้แพทย์ได้ทราบว่า  ท่านรับประทานยาแอสไพริน 
เพราะผลของแอสไพรินสามารถทำให้เกิดมีเลือดออกได้นาน...
ซึ่งบางทีอาจนานถึง 10 วันหลังจากหยุดยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น