วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด : P.3: The Challenges of Insulin Therapy

Sept.10, 2014

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วย “อินซูลิน”...
ใช่ว่าจะไม่มีความปัญหา   บ่อยครั้งที่แพทย์จะพบกับการต่อต้านจากคนไข้
โดยไม่ยอมรับการรักษาด้วย “อินซูลิน” ฉีด  เพราะมีคยไข้จำนวนหนึ่ง
ไม่เข้าใจว่า   ทำไมจึงต้องฉีดอินซูลิน ?

หลายคนไม่ต้องการรับการรักษาด้วยการฉีดยา ...
โดยมีปัจจัยด้านจิตใจหลายอยาง  เป็นต้นว่า  กลัวเข็มฉีดยา, ยากต่อการ
ปฏิบัติ  และกระทบชีวิตประจำวัน,   และอื่นๆ เป็นเหตุให้คนไข้บางรายไม่
ยอมรับการฉีดยา  ซึ่งเป็นเรืองที่คนไข้ไม่เข้าใจในความสำคัญของการรักษา
ด้วยยาฉีดอินซูบิน

สิ่งที่คนไข้โรคเบาหวานต้องเข้าใจ...
ถ้าเราไม่สามารถควยคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมายได้  ผลเสียอันเกิด
จากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะเกิดขึ้นกับคนไข้เอง  โดยระดับน้ำตาลที่อยู่ใน
กระแสเลือดในระดับสูงนั้นแหละ  จะเป็นพิษต่ออวัยวะที่สำคัญ ๆ  จนถูกทำ
ลายไป  เป็นต้นว่า  ทำให้เกิดตาบอด, สมองเสื่อม, เส้นประสาทถูกทำลาย, 
ไตวาย  และอื่น ๆ

ประเด็นที่คนไข้ต้องทราบ...คือ
เป็นหน้าที่รับผิดชอบของคนไข้เอง  จะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการลดระดับ
น้ำตาลในกระแสเลือดของเขาให้ลงสู่เป้าหมายใหได้...โดยไม่คำนึงว่า  จะ
ต้องรักษาด้วยวิธีใด  กินยาเม้ดลดน้ำตาล หรือฉีดยาอินซูลิน  หรือทั้งกินหรือ
ฉีด  หรือฉีดอินซูลินแต่เพียงอย่างเดียว  หาไม่แล้ว  สิ่งไม่ดีทั้งหลายจะเกิด
ขึ้นกับตัวคนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว  หาใช้ของคนอื่นไม่

สำหรับแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคเบาหวาน...
มีผู้ให้การรักษาบางท่าน  ต่อต้านการรักษาด้วยวิธีการฉีด “อินซูลิน” เพราะ
เขากลัวว่าจะเกิดภาวะระดับน้ำตาลลดต่ำ - hypoglycemia และกังวลใจใน
เรื่องความปลอดภัยของคนไข้  จนเป็นเหตุให้คนไข้ไม่ได้รับการรักษาได้
อย่างเหมาะสม

สำหรับคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน...
การฉีดอินซูลินเพื่อหวังผลในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด  จะเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว รวมไปถึงการตัดสินใจเริ่มใช้อินซูลิน
ซึ่งไม่น่ากลัวเท่ากับภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
วิธีแก้การมีน้ำหนักเกิด...กระทำได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอ

ทั้งหมดที่กล่าวมา คืออุปสรรคต่อการฉีดอินซูลิน  เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลใน
คนไข้ทีเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM)
ซึ่งเป็นเรื่องทั้งแพทย์ และคนไข้) จะต้องเอาชนะให้ได้


<<BACK    NEXT >> P.4 : Basic Recommendations

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น