วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

Rapid-Acting Insulin (ควบคุมเวลาการใช้ให้ถูกต้อง) Part 2: Insulin basics

Nov. 17,2013
ในการรักษาเบาหวาน...
เป้าหมายของรักษาด้วยยาฉีด Insulin (Insulin therapy) คือการ
ให้อินซูลินแกคนไข้ โดยหวังว่า อินซูลินที่ให้แก่คนเป็นเบาหวาน
แล้ว มันจะออกฤทธิ์เหมือนกับคนไม่เป็นเบาหวานใช้อินซูลินตาม
ปกติ

 Basal insulin.
โดยทั่วไป ตับอ่อนของคนเราจะหลั่ง “อินซูลิน” ออกมาใน
ใน 24 ชั่วโมงในปริมาณไม่มาก โดยเฉลี่ยรางกายจะผลิต
ฮอร์โมนตัวดังกล่าวประมาณ หนึ่งยูนิต ต่อชั่วโมง โดยไม่
คำนึงถึงว่าท่านจะรับประทานอาหารหรือไม่

 Bolus insulin.
เมื่อคนเรารับานอาหาร ร่างกายของเรา (ตับอ่อน) จะตอบ
สนองต่อาหารที่เรารับทานเข้าไปด้วยการสร้างอินซูลินใน
ปริมาณมาก และจะถูกปล่อยออกมาเป็นสองระยะ (two-
Phases boluses)

ระยะแรก (First phase) จะมีการหลั่งอินซูลินออกมาภาย
ในไม่กี่นาทีหลังจากเราเคี้ยงอาหาร และสิ้นสุดเอาประมาณ
15 นาที ระยะที่สอง เป็นการหลังออกมาอย่างช้าๆ อย่างต่อ
เนื่องเป็นเวลาชั่วโมงครึ่งถึงสามชั่วโมง โดยทีปริมาณของ
อินซูลินจะสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นภายหลังการรับ
ประทานอาหาร

ในคนที่มีการผลิตอินซูลินตามปกติ...
การสร้าง และการหลั่งอินซูลินจะอยู่ภายใต้ระบบ feedback...
ซึ่งทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในระหว่าง 70 mg/dL
และ 140 mb/dL ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงว่า ท่านจะรับทานอาหาร
หรือไม่ หรือว่าออกกำลังกายหรือไม่ ?

ส่วนในระหว่างที่คนเราไม่สบาย (illness)...
หรือในระหว่างที่ร่างกายต้องการอินซูลิน ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนดังกล่าว
เพิ่มขึ้น
สำหรับคนที่มีตับอ่อน ซึ่งไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้ตามปกติ
จำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลิน (insulin injection or insulin pump)
เช่น คนเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) ซึ่งตับอ่อนไม่สามารถสร้าง
อินซูลิน หรือไม่มีอินซูลินเลย จะต้องได้รับอินซูลินทางเดียวเท่านั้น

แต่การเรียนรู้ว่า เราจะใช้อินซูลินเมื่อไร ? และใช้อินซูลินเท่าใดเป็น
เรื่องท้าทายต่อการรักษา...เพราะการฉีดอินซูลินในแต่ละครั้ง หรือแม้
กระทั้งการฉีดอย่างต่อเนื่อง (infuse insulin) ไม่สามารถทำให้อินซูลิน
ออกฤทธิ์ได้เหมือนกับอินซูลินที่ถูกปล่อยออกจากตับอ่อนตามธรรมชาติเลย

สิ่งแรกที่เราจะต้องเรียนรู้ คือ เราควรใช้อินซูลินเมื่อใด ?
และให้อินซูลินในปริมาณแค่ใหน ?

<< PREV     NEXT >> Part 3 : Insulin action

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น