วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

เรื่องที่เกี่ยวกับกับการรักษาด้วยอินซูลิน (P.4): Bolus insulin dose:

Aug. 25, 23014

• 50 – 60 % ของ total insulin dose จะใช้ทำหน้าที่จัดการกับ

“คาร์โบฮัยเดรต” (อาหาร) และใช้แก้ไข (correction) น้ำตาลใน
กระแสเลือดที่สูงขึ้น...Insulin ที่ทำหน้าที่นี้ เรียก
bolus insulin replacement

Bolus insulin เป็นอินซูลินที่ทำหน้าที่จัดการกับ “คาร์โบฮัยเดรต” ซึ่งได้จาก

อาหารที่เรารับประทาน โดยการคำนวณจากค่า Insulin-to-Carbohydrate ratio
(I – to –C ratio)   ซึ่งหมายถึง “คาร์โบฮัเดรต” เป็นจำนวณกรัม ที่ถูกจัดการ
โดยอินซูลิน 1 unit

โดยทั่วไป อินซูลิน 1 unit จะจัดการกับคาร์โบฮัยเดรตจำนวน 12 – 15 กรัม

โดยมีค่าเฉลี่ย 4 – 40 กรัม   โดยขึ้นกับความไว (sensitivity) ของคนไข้แต่ละ
รายที่มีต่ออินซูลิน  ซึ่งความไวของอินซูลินมีความแตกต่างกันตามเวลาของ
แต่ละวัน, จากคนสู่คน, และสามารถกระทบโดยกิจกรรม และความเครียด

โดยทั่วไป  เพื่อจัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงขึ้น...

1 unit of insulin สามารถลดระดับน้ำตาลลงได้ 50 mg/dL
( มีค่าเฉลี่ย 15 – 100 mg/dL หรือมากกว่า โดยขึ้นกับความไวต่ออินซูลิน
และปัจจัยแวดล้อมอย่างอื่น

ตัวอย่าง

การการคำนวณค่า “อินซูลิน” ที่ต้องใช้เพื่อจัดการกับ คาร์โบฮัยเดรต ที่เรารับ
ประทาน (corbohydrate coverage), ขนาดของอินซูลินที่ใช้เพื่อแก้ไขระดับ
น้ำตาลที่สูงขึ้น (for high blood sugar correction), และปริมาณของอินซูลิน
ที่ต้องใช้ทั้งโดยรวม (toltal mealtime insulin dose)

ตวอย่างที่ 1

สมมุติ ท่านต้องการรับประทาน”คาร์โบฮัยเดรต” 60 กรัม ในอาหารกลางวัน

จำนวนอินซูลินที่ต้องใช้ (insulin dose) :

CHO ratio = 1 : 10 (อินซุลิน 1 units สามารถจัดการกับ CHO ได้ 10 กรัม)

จากสูตรที่ได้ ท่านจะต้องใช้อินซูลินเพื่อจัดการ (cover) คาร์โบฮัยเดรตได้

60 ÷ 10 = 6 units

ตัวอย่างที่ 2:

ใช้อินซูลิน เพื่อแก้ไขระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (high blood sugar correction dose)

ขนาดของอินซูลินที่ต้องการใช้เพื่อแก้ไข้ระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากระดับปกติ

กระทำได้โดยใช้สูตร:

(ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น – ระดับน้ำตาลระดับปกติในกระแสเลือด) ÷ correction

Factor

(correction factor = หมายถึงอินซูลิน 1 unit สามารถจัดการกับ “คาริ์โบฮัย

เดรต” ได้ 50 กรัม

สมมุติระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น คือ 220 mg/dL และระดับน้ำตาลที่ต้อการให้ลด

ลง คือ 120 mg/dL

จากสูตรที่ได้ เราสามารถคำนวณหาค่า “อินซูลิน” เพื่อใช้จัดการกับระดับน้ำตาล

ที่เพิ่มขึ้นได้จากสูตร:

Correction dose = Difference between actual and target blood glucose (100mg/dl)

÷ correction factor

(220 – 120) ÷ 50 = 2 units


นั้นหมายความมว่า เพื่อจดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (220 mg/dL) ให้ลดลง

สู่ระดับเป้าหมาย (120 mg/dL) เราต้องใช้อินซูลิน 2 units

ตัวอย่างที่ 3: Total mealtime insulin dose

Total mealtime insuline dose จะมีค่า = อินซูลินสำหรับ carbohydrate
Coverage + อินซูลินที่ใช้เพื่อ high sugar correction dose

ค่าที่ได้จากตัวอย่างที่ 1 & 2 ...

Total mealtime insulin dose = 6 + 2 units of rapid insulin ซึ่งทำหน้าที่
เป็น bolus insulin dose

<<BACK

http://dtc.ucsf.edu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น