วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จะหยุดยาอย่างไร...ไม่เป็นภัยกับตัว P 4: Guide to stop medicine- Appropriateness

June 12, 2014

มีการศึกษาเพี่ยวกบการใช้ยาในคนสูงอายุ....
มีใจความสำคัญว่า   ประมาณ 21 % ของคนสูงอายุใช้ยาไม่เหมาะสม
มียาบางตัวไม่ปลอดภัย   และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียง (side effect) 
หรือมีปฏิกิริยาระหว่างยาเกิดขึ้น (drug-drugs interactions)

ตัวอย่างของยาที่ใช้ไม่เหมาะสมในคนสูงอายุ:

 Amitriptyline (โดยเฉพาะก dose > 50 mg)  จัดเป็นยาที่ทำให้คนสูงอายุเกิด
อาการง่วงนอน แถมยังมีฤทธิ์ของ anticholinergic อีกต่างหาก

 Benzodiazepines สามารถทำให้เกิดจิตสงบ และทำให้ง่วง  ทำให้เพิ่มความ
เสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกแตกหักได้

 Dextropropoxyphene ทำให้เกิดอาการซับสน และง่วงนอนได้อย่างมาก 
ไม่เหมาะทีจะใช้ในคนสูงอายุ  จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ยาตัวนี้ไม่ได้แก้ปวด
ได้ดีกว่ายาพาราเซทตามอลเลย   และเนื่องจากผลเสียมีมากกว่าผลดี จะเห็นว่า 
ยาตัวนี้ได้ถูกกำจัดออกจากตลาดของ New Zealand เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปี 2010

การที่จะหยุดยาได้ดีที่สุด... คือไม่ใช้ยาตัวนั้นตั้งแต่แรกเริม
ในการสั่งยาแก่คนสูงอายุสามารถ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากได้อย่างมาก
โดยเฉพาะเมื่อมีการพิจารณาใช้ยาตัวใหม่แก่คนสูงอายุ วีธีการที่ควรนำ
ไปปฏิบัติ คือ ให้พิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมด้วยการตั้วคำถาม
ต่อไปนี้:

 มีข้อชี้บ่งให้ใช้ยาตัวนั้นหรือไม่ ?

 ยาที่ให้มีประสิทธิภาพสำหรับโรคหรือไม่

 มีปฏิกิริยาระหว่างยาทางคลินิคปรากฏให้เห็นหรือไม่ ?

 มีปฏิกิริยาระหว่างโรค – ยา ทางคลีนิคหรือไม่?

 เป็นการใช้ยาซ้ำซ้อนกับยาตัวอื่นที่กำลังใช้อยู่หรือไม่ ?

 ทั้งคนไข้ และแพทย์ร้ และยอมรับหรือไม่ว่า ยาที่ใช้จะต้องใชเวลา

 คนไข้พร้อมที่จะกินยาหรือไม่...ผลข้างเคียงคืออะไร, ขนาดของยา
    ถูกต้อง...มีข้อแนะนำในการใช้ยาชัดเจน

 ยาที่ใช้ถูกทสุด และมีคุณค่าทางยาเทียบเท่ากับยาที่แพงกว่าหรือไม่ ?


<< BACK     NEXT >> P 5: Guide to stop medicine-Duration of use

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น