วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จะหยุดยาอย่างไร...ไม่ให้เป็นภัยกับตัว P 2 : How do you decide which medicines can be stopped ?


June 12, 2014

ในการรักษาคนสูงอายุ...
การตรวจสอบการใช้ยาจัดเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเสียเวลพอสมควร
ไม่เพียงเท่านั้น  หากมีอาการอันไม่พึงประสงค์ (side effects) เกิดขึ้น
ผู้ทำการรักษาไม่สามารถบอกได้ว่า  คนไข้แพ้ยาตัวใหน ?
ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะหยุดยาตัวใด ?




                      Credit : www.aginginplace.com

ในบางสถานการณ์ เรามีหนทางเดียวที่จะรู้ได้ว่า จะหยุดยาตัวใด
คือหยุดยา แล้วสังเกตุดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น ?

ในการพิจารณาว่า เราควรหยุดยาตัวใด สามารถกระทำได้ด้วยการ
แบ่งยาที่คนสูงอายุกิน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มแรก: เป็นกลุ่มที่ทำให้คุณภาพชีวิตในแต่ละวันดีขึ้น
กลุ่มที่สอง:  เป็นกลุ่มยาที่ป้องกันไม่ให้เกิดโรค หรือความเจ็บป่วย
ในอนาคต

ตัวอย่างของการแบ่งยารักษา ด้วยการแบ่งกลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา
ว่ายาขนานใด ที่ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงปราถนา:

กลุ่มยา ซึ่งทำให้คนไข้ดีขึ้น และทำให้คุณภาพชีวิตในแต่ละวัน
ดีขึ้น ได้แก่ : ยาแก้ปวด (analgesics), ฮอร์โมนทัยรอกซีน
หรือยารักษาอาการเจ็บหน้าอก (anti-anginals)

ในบางราย ถ้าหยุดยาตามที่กล่าวมา อาจทำให้คนไข้กลับไม่สบายขึ้นมา
หรือไม่สามารถทำงานได้ อย่างไรก็ตาม มียาบางตัวสามารถลดขนาด
หรือหยุดยา, หรือใช้เมื่อมีความต้องการ เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร 
 (proton pump inhibitor )

กลุ่มยา ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยในอนาคต 
 เช่น statins (ยาลดไขมันในเลือด), aspirin, warfarin, หรือ bisphosphonates 

ในการตัดสินใจว่าจะหยุดยาเหล่านี้  เราควรพิจารณาดูถึงประโยชน์ที่พึงได้รับ 
และ อันตรายที่จะเกิดจากการใช้เพื่อการรักษา, ระยะเวลาที่ใช้เพื่อให้ได้รับ
ประโยชน์ รวมไปถึงอายุคาดเฉลี่ยของคนไข้ด้วย

ในการพิจารณาถึงอายุคาดเฉลี่ย ของคนไข้ อาจเป็นเรื่องทียุ่งยาก 
ซึ่งอาจจำเป็นต้องพิจารณาอายุของคนไข้  รวมถึงโรคทางกายของคนสูงอายุ 
ว่ามีความรุนแรงแค่ใด และยังสามารถทำงานได้ดีแค่ใหน ?

การวินิจฉัยได้ว่า คนเจ็บป่วยมี่อายุอันจำกัด   อาจทำให้การหยุดยากระทำได้ง่าย 
แต่ตามเป็นจริง การหยุดทุกตัว (ยกเว้นยาบรรเทาอาการ)   หรือให้ยาทุกชนิด
ต่อไปจนกว่าคนไข้ไม่สามารถที่จะใช้มันได้ก็ไม่ใช้เรื่องง่ายนัก


<<BACK     NEXT>> P 3: Guide to stop medicine-
                                     Clinical indication

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น