วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สะอึก Hiccups P 6 - What is the treatment fo persistent hiccups ?

Jun 1, 2014

เมื่อท่านไปพบแพทย์ด้วยอาการสะอึก..
สิ่งแรกที่ท่านจะได้พบ คือ แพทย์จะแนะนำให้ท่านลองวิธีการรักษาใน
รูปแบบต่่าง ๆ  (P 3) ซึ่งใช้ได้ผลดีในกรณีที่เกิดสะอึกในระยะสั้นๆ
และอาจใช้ได้ผลในรายที่เกิดสะอึกนานเกิน 48 ชั่วโมงด้วย



Credit: www.hypervocal.com

ประการต่อมา ท่านจะได้รับยารักษา เพื่อยุติอาการสะอึกทีเกิดอย่างต่อเนื่อง
(persitent hiccups) โดยมียารักษาหลายตัว  ซึ่งถูกนำมาใช้ในการนี้
ยาที่เราควรทราบมีดังต่อไปนี้ :

 Chlorpromazine หรือ haloperidol เป็นยาที่สามารถทำให้กล้าม
เนื้อกระบังลมคลายตัว (relax) ได้

 สำหรับปัญหาของกระเพาะอาหาร เช่น กรดไหลย้อนกลับ (acid
reflux) หรือผนังกระเพาะอาหารยืด: ยาที่ใช้ได้แก่  omeprazole
หรือ ranitidine หรือยาที่ช่วยทำให้กระเพาะอาหารทำให้อาหาร
เคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น เช่น metoclopramide

 Baclofen: เป็นยาที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (relax muscles)

 Gabapentin: สามารถช่วยคลายตัวของเส้นประสาท (relax the nerve)
ของกล้ามเนื้อกระบังลม

 Ketamine: เป็น intravenous anaesthetic จะถูกนำมาใช้เมื่อยา
ตัวอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล

 Metoclopramide ถูกนำมาใช้ในรายที่เกิดอาการสะอึกหลังดมยาสลบ
โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ สามรถทำให้อาการสะอึกหายได้

 สำหรับคนไข้ที่อยู่ในระยะสุดท้าย  (terminal illness) เกิดอาการสะอึก
ยาที่ใช้ คือสาร sedative เช่น midazolam สามารถควบคุม และบรรเทา
ความวิตกังวลที่ทำให้เกิดอาการได้



<< BACK    NEXT >> P. 7 : Alternative treatment

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น