วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

Absence seizure

Absence seizure เป็นโรคชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีอีกสองชื่อที่เราควรรู้ คือ petit mal และ silent seizure
เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ด้วยการสูญเสียความรู้สึกตัว (consciousness)
คงไม่สงสัยว่า ทำไมเขาจึงเรียกว่า silent seizures
ก็เพราะเราไม่เห็นมันมีการชักกระตุกเลยนะซิ...
ถ้าจะเรียกว่า โรคลมชักแบบไม่ชัก ก็ไม่เห็นจะผิดตรงใหน !

Absence seizures จะพบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
โดยเราจะพบคนเป็นโรคดังกล่าว มีลักษณะอาการ “ตาเหม่อไปบนท้องฟ้า” ชั่วระยะ 2-3 วินาที

เมือเรานำไปเปรียบกับโรคลมชักชนิดอื่นแล้ว
จะพบว่าโรค absence Seizure จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรงเลย
โรคลมชักที่ไม่เห็นมีอาการชัก แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่เด็กที่
เป็นโรคดังกล่าว ควรได้รับดูแลให้ดี เพราะอาจจมน้ำตายได้
ส่วนผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่น ควรจำกัดการขับรถยนต์ เพราะในระหว่างขับรถเขาอาจหมดสติขึ้นมาก...
เป็นอันตรายที่น่ากลังเช่นกัน

โรคพวกนี้สามารถควบคุมได้ด้วยยาต้านลมชัก (antiseizure medications)
เด็กบางรายเป็น absence seizures มักจะมี grand mal seizures เกิดร่วมด้วย
และมีเด็กจำนวนไม่ได้น้อย เมื่อเจริญถึงวัยรุ่นโรคของเขากลับหายไปได้

อาการของ absence seizures:

• ตาเหม่อลอย
• ไมมีการเคลื่อนไหว ไม่หกล้ม
• ริมฝีปากแสดงอาการถึงความอร่อย ...บ่อย ๆ
• หนังตากระพริบ
• เคี้ยวจั๊บ ๆ
• การเคลื่อนไหวของมือ ทำแล้วทำอีก
• การเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของแขน

โรคลมชักแบบไม่ชัก (silent seizures) เกิดขึ้นชั่วระยะอันสั้น 2-3 วินาทีเท่านั้น
สามารถฟื้นเป็นปกติอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีอาการสับสน แลไม่สามารถจำเหตุการณ์ได้
คนไข้บางรายอาจเกิดภาวะดังกล่าวหลายสิบครั้งต่อวัน
โดยไม่มีผลกระทบต่อการทำงานตามปกติ เด็กสามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ

เด็กบางราย ในขณะเดิน หรือทำงานอันสลับซับซ้อน ขณะมีอาการ เด็กอาจไม่ล้ม
หรืออาจไม่ระมัดระวังตนเองมาก่อน

โรคลมชักชนิด absence seizure ที่เกิดในเด็ก อาจเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้
ผู้ใหญ่อาจไม่สังเกต ทั้งนี้เพราะมันเกิดสั้นมาก
สิ่งแรกที่เราสามารถพบเห็น คือ ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กลดลง
อาจเป็นสิ่งแรกที่พบ ในโรคดังกล่าว ครูอาจเป็นคงรายงาให้พ่อ-แม่เด็กได้ทราบว่า
เด็กขาดความกระตือรือร้น ไม่ค่อยใส่ใจ

สาเหตุ:
เด็กเป็นโรคลมชักแบบไม่ชัก (silent seizures)
ส่วนใหญ่จะไม่พบสาเหตุทำให้เกิดเช่นนั้น มีจำนวนไม่น้อย ที่ถูกถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
เด็กบางคน แค่หายใจแรง ๆ ลึก ๆ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้

โดยทั่วไป โรคดังกล่าว เกิดขึ้นได้โดยการทำงานผิดปกติของเซลล์ประสาทภายในสมอง
ปกติเซลล์ในสมอง จะติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันด้วยคลื่นประสาท
โดยการส่งคลื่นกระแสไฟฟ้า และ สัญญาณเคมีผ่านรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาท(synapses)
ซึงติดต่อระหว่างเซลล์ประสาทด้วยกัน

ในคนไข้ที่เป็นโรคลมชักแบบไม่ชัก (absence seizures)
การทำงานของสมองจะเปลี่ยนไป ซึ่งในระหว่างเกิดอาการของเป็นโรคดังกล่าว
คลื่นกระแสไฟฟ้าจะเกิดขึ้นแบบซ้ำ ๆ กันบ่อยครั้งในชั่วระยะเวลาอันสั้น ๆ (3 วินาที)
นอกจากนั้น ระดับสารเคมี ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท
ที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างเซลล์ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

โรคชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่อยู่ในช่วง 4 – 14 ปี
เด็กที่เป็นโรคดังกล่าว มักจะเจริญเติบโต และมีการพัฒนาด้านเชาว์ปัญญาได้ตามปกติ
ประมาณ 70 % ของคนไข้ โรคจะหายไปเมื่ออายุได้ 18 ปี
พบว่าโรคที่เกิดก่อนอายุ 9 มีโอกาสหายได้เองได้มากว่าเด็กที่เกิดเป็นโรคหลังอายุ 9 ปี.

ในขณะที่เด็กส่วนใหญ่เจริญวัยขึ้น โรคจะหายไป แต่มีบางรายพบว่า
โรคจะอยู่ กับเขาไปตลอดชีวิต หรือ เปลี่ยนเป็นโรคชักเต็มรูปแบบ grand mal seizures
มีปัญหาการเรียนรู้ และ เป็นพวกที่มีอาการมากกว่า 30 นาที (absence status epilepticus)

การวินิจฉัย:
เด็กบางรายอาจมีอาการคล้ายกับโรคชักแบบไม่ชักได้
แต่เป็นคนละอย่างกัน ซึ่งเราสามารถแยกจากกันได้
ในเด็กที่เป็นโรคลมชัก แต่ไม่ชัก (absence seizure) ไม่สามารถยับยั้งด้วยเสียเรียก หรือสัมผัส
ส่วนเด็กที่เกิดจากสาเหตุอื่น จะถูกปลุกให้ตื่นด้วยเสียเรียก หรือสัมผัส

ในเด็กที่เป็นโรคชักแต่ไม่ชัก...อาจเกิดในช่วงระหว่างสนทนา หรือ ทำอะไรบางอย่าง

การตรวจเลือด อาจพบความไม่สมดุลในสารเคมี หรือพบสารพิษได้
นอกจากการตรวจดังกล่าว ยังมีการตรวจอย่างอื่น เช่น:

o EEG (Electroencephalography) ในระหว่างชัก จะพบคลื่นสมองที่เปลี่ยนแปลงไป
o Brain scans สามารถแยกโรคชนิดอื่น ๆ เช่น สมองขาดเลือด (stroke) หรือเนื้องอก

การรักษา:


Treatments and drugs
มียาหลายขนานถูกนำมาใช้รักษาเด็กที่เป็นโรคชักแบบไม่ชัก
หรือ ลดความถี่ของการชักลง
การเลือกยาที่ถูกต้อง และขนาดที่เหมาะสม จำเป็นต้องใช้เวลาลอง ผิดลองถูกสักระยะหนึ่ง
การรับประทานยาตามกำหนด ถือเป็นเรื่องสำคัญ
เพื่อทำให้ระดับของเพียงพอต่อการควบอาการ

ยาที่นำมาใช้เป็นครั้งแรกในโรคชักไมมีอาการชัก ได้แก่
Ethosuximide (Zarontin) นอกจากนั้น ยังมียาตัวอื่น ๆ ที่ใช้ได้ผลเช่นกัน
เช่น Valproic acid (Depakene,Stavzor) และ lamotrigine (Lamictal)

ในการใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลไม่พึงประสงค์
ควรเริ่มใช้ยาด้วยขนาดต่ำ ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มขนาดทีละน้อย
เพื่อควบคุมอาการ
เด็กส่วนใหญ่หยุดยาได้ภายหลังจากใช้ยาเป็นเวลา 2 ปี
แต่อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์

ยา lamictal มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิด aseptic meningitis
ซึ่งเป็นการอักเสบของเยื้อหุ้มสมอง และไขประสาทสารทสันหลัง
ซึ่งมีลักษณะคล้ายการอักเสบติดเชื้อ

สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยา valproic acid
เพราะมีโอกาสทำให้เกิดความพิการในเด็กได้

Adapted from : epilepsy.com/EPILEPSY/SEIZURE_ABSENCE

1 ความคิดเห็น: