วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

Frequntly Asked Questions : Treatment of Epilepsy (cont.)

Barbiturate Drugs

ยาในกลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้รักษาโรคลมชักกันอย่างกว้างขวางเมื่อปี 1950s
และ 1960s
แต่ในขณะนี้ มีคนรายงานว่า เป็นยาที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว
นั่นเป็นความเห็นจองแพทย์ในออสเตรเรีย...
แต่สำหรับประเทศไทยเรายังมีการใช้ยาตัวนี้อยู่....
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
จะขอแยกไปเขียนเรื่องนี้โดยเฉพาะในคราวต่อไป

Other Drugs

The Newest Anti-epileptic Drugs
ยาต้านอาการชัก หรือยารักษาโรคลมชัก ที่ถูกผลิตขึ้นใหม่
โดยให้ยาไปทำหน้าที่ยับยั้งไม่ให้เกิดอาการชักเกิดขึ้นได้
ซึ่งสามารถกระทำได้สองทาง:

o ไปเพิ่มความสามารถในการทำงานของสารสื่อประสาท (GABA)
ซึ่ง เป็นตัวทำหน้าที่ยับยั้งคลื่นกระแสไฟฟ้า ที่วิ่งติดต่อระหว่างเซลลประะสาท เซลล์ ต่อ เซลล์
โดยกระบวนการทำงานของสารสื่อประสาทดังกล่าว มันจะไปยับยั้งกระแสไฟฟ้า(ผิดปกติ)
ซึ่ง ทำให้เกิดอาการชักลดลง
นั้นเป็นฤทธิ์ของสารสื่อประสาท GABA เขาละ.... หรือ

o ไปยับยั้ง (inhibit) ผลการทำงานของสารสื่อประสาทอีกตัว
ที่ทำหน้าที่กระตุ้นคลื่นกระแสไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาทเพิ่มมากขึ้น เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้า
ระหว่างเซลล์ประสาทลดลง...จะทำให้คลื่นไฟฟ้ที่ทำให้เกิดอากาชักลงลงตา
สารสื่อประสาที่ว่า นั้น ก็คือ glutamate นั่นเอง

Drugs Acting Through Increasing Inhibition (GABA)
ยาที่ทำหน้าที่ไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารสื่อประสาท
ซึ่งทำหน้ายับยั้งคลื่นประสามในเซลล์สมอง ได้แก่:

 GABAPENTIN และ PROGABIDE ถือเป็นยากลุ่มแรกที่ถูกสร้างขึ้น
เป็นยามีฤทธิ์กว้าง (broad spectumr) ต่อการต้านอาการชัก
ถูกนำมาใช้รักษาโรคลมชักชนิดต่าง ๆ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านมชักตัวอื่น ๆ

Drugs Which Reduce Excitation of Neurones (Glutamate)

Lamotrigine เป็นยาที่ทำหน้าทีลดการกระตุ้นเซลล์ประสาท ด้วยวิธีการสองประการ:
ประการแรก: ไปยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาท Glutamete
ซึ่งทำหน้าทกระตุ้นคลื่นไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง ที่อยู่ในบริเวณปลายประสาทนั่นเอง
ประการที่สอง: ยับยั้งไม่ให้ sodium ไหลผ่านกลับเข้าเซลล์ประสาท
เป็นเหตุให้คลื่นประสาทระหว่างเซลล์ลดลงเข่นกัน

Lamotrigine มีฤทธิ์กว้าง (broad spectrum) ในการต้านอาการชัก
ผลข้างเคียงของยาตัวนี้ ที่พบบ่อยได้แก่ เป็นผื่นตามผิวหนัง

เป็นยาที่ถูกนำมาใช้เสริมการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคลมชักชนิด partial seizures
รวมทั้งชนิดที่กลายเป็นโรคลมชักแบบทั่วไป
ซึ่ง ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาต้านโรคลมชักได้

Topiramate
เป็นยารักษาคนไข้ที่เป็นโรคลมชัก
ซึ่งสามารถลดความถี่ของการเกิดอาการชักลงได้
รวมถึงการนำไปใช้รักษาคนไข้ ที่เป็นโรคลมชักชนิดที่เกิดเฉพาะที่ ( partial seizure)
ซึ่ง เป็นรายที่ไม่ตอบสนองต่อยารักษาต้านอาการชัก (refractory)

นอกจากนั้น ยังพบว่า Topiramate ยังสามารถช่วยสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในกระแสไฟฟ้า
ภายในสมอง

Drugs that affect the availability of
gamma aminobutyric acid (GABA)

GABITRIL (tiagabine hydrochloride)
เป็นยาที่ผลิตขึ้นใหม่ มีผลโดยตรงต่อสารสื่อประสาท “GABA” ในสมอง
ซึ่งเราคิดว่า มันทำหน้าทียับยั้งคลื่นประสาท (ผิดปกติ)
ที่ทำให้เกิดอาการชักขึ้น
สาร Gabitril ที่ว่านี้ มันทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ประสาทดูดสาร GABAกลับเข้าสู่เซลล์
ซึ่งหมายความว่า Gabritril ช่วยทำให้สารสื่อประสาท GABA ทำงานได้ยาวนานขึ้น

ยาใหม่ตัวนี้ ถูกนำไปใช้รักษาคนไข้ที่เป็นลมชักชนิด Parital seizure
ที่เกิดในผู้หใญ่ และในเด็กที่มีอายยุ 12ปีขึ้นไป

Surgery for Epilepsy

ความคิดที่จะทำการรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัด..
ถือได้ว่า ไม่เป็นเรื่องใหม่เลย
เพราะมีการใช้ศัลยกรรมเข้าทำการรักษาคนไข้โรรคลมชัก ตั้งแต่ปี 1886

เมื่อเวลาหลายปีผ่านไป การรักษาทางศัลยศาตร์ทางสมอง ได้พัฒนาในด้านความปลอดภัย
ด้วยการผ่าตัดเอาสมองส่วนเล็ก ๆ ที่เป็นรอยโรค ซึ่งทำหน้าที่ผิดปกติ
ทำให้เกิดอาการชักออกไป

จาก Australian teaching hospitals ได้พัฒนาเครื่องมือ ที่สามารถ
ประเมินคนไข้ว่า ใครที่เป็นโรคลมชัก ควรได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง...
เขารายงานว่า คนไข้ที่เป็นโรคลมชักที่มีอาการชักตั้งตัว (generalized epilepsy)
ไม่สามารถที่จะทำการผ่าตัดสมองได้
เพราะไม่สามารถตรวจพบได้ว่า จุดใดในสมองเป็นจุดที่ทำให้เกิดอาการชักได้

วิธีการผ่าตัด เป็นวิธีที่สามารถรักษาโรคลมชักให้หายขาดได้
ถ้าเลือกคนไข้ได้ถูกต้อง คนไข้คนนั้นก็ได้รับการผ่าตัดไป
ซึ่งปรากฏว่า มมีเพียง 1 % ของคนที่เป็นโรคลมชัก ที่มีโอกาสเช่นนั้น

เห็นตัวเลขแล้ว....
เกิดความสงสัยว่า จะมีสักกี่คนที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ?
สำหรับในบ้านเรา...คนผ่าตัดเขาคงกล้าทำ แต่คนที่ถูกผ่า จะกล้าให้เขาผ่าหรือไม่
ยังสงสัย (คงต้องศึกษาหาความรู้เรื่องนี้กันต่อไป ?)

First Aid for Seizures
ด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม เราสามารถช่วยคนไข้บางคน
ที่เป็นลมชักได้ โดยเฉพาะคนไขที่เป็นโรคลมชักชนิด grand mal
ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการปฐมพยาบาล
ส่วนชนิดอื่น ๆ เราอาจไม่ต้องทำอะไรเลย

ในคนไข้ลมชักแบบ grand mal (tonic-clonic seizures)
ใครเห็นแล้ว จะจำไปจนวันตาย...น่ากลัว!
แต่ต้องรู้ด้วยว่า ในขณะที่อยู่ในอาการชัก คนไข้ไม่รู้สึกตัว (unconscious)
ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ
อาการชักจะเป็นนานประมาณไม่กี่นาที และไม่ต้องให้ยาไประงับอาการชัก
สิ่งที่ควรทำ มีเพียงกรรมวิธีง่าย ๆ :

1. จงสงบเข้าไว้ จำไว้ว่า เมือคนไข้มีอาการชักเกิดขึ้น
เราไม่สามารถหยุดมันได้ ไม่ต้องพยายามทำอะไร ปล่อยให้เขาชักต่อ
2. วางคนไข้บนพื้นราบ ให้อยู่ในท่าที่สบาย คลายเสื้อผ้าให้หลวม
3. เอาสิ่งของมีคม หรือของแข็งออกห่างจากคนไข้ เป้นการป้องกันอันตราย
ไม่ให้เกิดกับคนไข้ อาจใช้อะไรสักอย่างป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับการกระแทก
4. อย่าใส่อะไรเข้าไปในปากคนไข้เป็นอันขาด...เดี๋ยวเขากัดนิ้วขาดได้
5. เมื่อคนไข้เข้าสู่ระยะผ่อนคลาย ซึ่งเกิดหลังอาการชักผ่านไป
ให้จับคนไข้นอนคว่ำ หันศีรษะไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ให้ศีศีรษะเหยียด
(อย่าให้งอพับไปทางด้านหน้า) เพื่อ ให้น้ำลายไหลออกจากปากได้ง่าย
ต้องแน่ใจด้วยว่า คนไข้หายใจสะดวก ไม่มีอะไรขัดขวางทางเดินหายใจ
6. ถ้าคนไข้ยังรู้สึกอ่อนเพลีย สับสน เราควรอยู่เป็นเพื่อนดูแลเขาต่อไป
7. ถ้าเป็นเด็กเกิดอาการชัก...ให้ติดต่อพ่อ-แม่ หรือคนดูแลเด็ก
8. ในกรณีที่คนไข้เกิดอาการชักหลายครั้ง เรียงกันเป็นตับ(เกิดหลายครั้ง) ก่อนที่คนไข้
จะฟื้นคืนสติเป็นปกติ หรืออาการชักที่เกิดเป็นนานเกิน 10 นาที...คนไข้ควรส่งพบแพทย์โดยด่วน

Absence Seizures:
ในรายที่เป็นโรคลมชักชนิด Absence (petit Mal) seizures
ไม่จำเป็นต้องได้รับการปฐมพยาบาลแต่อย่างใด

Complex-Partial (Psychomotor or Temporal lobe):
1. อย่ารั้งคนไข้ ปล่อยให้เขาชัก เราเพียงแต่ป้องกันไม่ให้เขาได้รับอันตรายจากของมีคม หรือของร้อน
2. ถ้าคนไข้เดินเตร็ดเตร่ ไม่ยอมอยู่นิ่ง ก้ไม่ต้องทำอะไร เราเพียงแต่อยู่กับเขาเท่านัน

Absence (Petit Mal) No first aid is required.

Simple-Partial (Focal) seizure:
ไม่จำเป็นต้องได้รับการปฐมพยาบาลแต่อย่างใด

Adapted from: http://137.172.248.46/treatmen.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น