วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

Coronary artery disease: Prevention (continues)

Prevention
ถัดจากการเป็นโรคสมองขาดเลือด (brain attack) แล้ว
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (heart attack)
ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่ไม่มีใครพิศวาศมันเลย
แล้วเราจะทำอย่างไร ?

ถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องรู้อาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
เมื่อเราเข้าใจสถานการณ์ดังกล่าวดีขึ้น การแก้ปัญหาย่อมกระทำได้โดยไม่ยากนัก

ตามปกติ เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด & ออกซิเจน ได้ไม่ยาก
โดยปฏิบัติตามแนวทาง เพื่อให้มีชีวิตอย่างมีสุขดังนี้:

o ไม่สูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
o รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น มันสัตว์ หนังสัตว์
o ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อหนึ่งอาทิตย์ เป็นอย่างต่ำ
สำหรับท่านที่สนใจแต่การทำงานนั่งโต๊ะ ไม่เคยออกกำลังกายเลย
ก่อนออกกำลังกาย ท่านจะควรปรึกษา และตรวจร่างกายจกแพทย์เพื่อควมปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย
o ลดน้ำหนักตัวส่วนที่เกินลง
o ตรวจเชคความดันโลหิต และ ระดับไขมันในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมให้เป็นปกติ

o แพทย์ของท่านอาจแนะนำให้ท่านรับประทาน aspirin ขนาดต่ำ ๆ ทุกวัน
(ถ้าท่านมีปัจจัยเสียงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดแข็ง-CAD)
Aspirin จะทำหน้าที่ไม่ให้เกิดมีสร้างก้อนเลือดขึ้น เป็นการป้องกัน หรือลดอัตราเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (heart attack) ได้
อย่างไรก็ตาม การทำดังกล่าว ควรได้ปรึกษาแพทย์ก่อน

สำหรับสตรีที่กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจจำเป็นต้องปรึกษากับแพทย์
เพื่อพิจารณาเรื่องป้องหัวใจ (cardioprotective) ว่า เราควรชดเชยระดับ estrogen
ที่ลดลงหรือไม่(estrogen replacement therapy)

อาการแสดง และการตรวจต่าง ๆ (Signs and tests):
ในการวินิจฉัยโรค จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์หลายอย่าง
โดยทั่วไป แพทย์จะสั่งตรวจมากกว่าหนึ่งอย่างเสมอ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาช่วยทำการวินิจฉัยโรค
ซึ่งมีการตรวจที่เราควรรู้ดังนี้ :

o Coronary angiography/arteriography (invasive tiest)
เป็นการตรวจที่มีการเจ็บตัว เพื่อประเมินความผิดปกติของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
(coronary ateries) โดยอาศัยภาพทางเอกซเรย์เป็นตัวช่วย
o CT angiography (ono-invasive test) เป็นการตรวจ ที่คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัว
เป็นการตรวจดูเส้นเลือดหัวใจโดยตรง (coronary angiography) เป็นกรตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
o Electron-beam computed tomography (EBCT) เป็นการตราจ
เพื่อมองหาสารแคลเซี่ยมในผนังหนังชั้นในของเส้นเลือดแดง
ปริมาณของสารแคลเซี่ยมที่ปราฏในผนังเส้นเลือด ยี่งมีปริมาณมากย่อมหมายถึงโอกาสที่จะเป็นโรคเส้นเลือดย่อมมีได้สูง
o Exercise stress test
o Heart CT scan
o Magnetic resonance angiography
o Nuclear stress test

การรักษา:
ในระหว่างที่ท่านได้รับการรักษา
ท่านอาจได้รับคำแนะนำ ให้รับประทานยาเพื่อรักษาโรค
เช่น ยารักษาความดัน, เบาหวาน, และลดระดับไขมันในเลือด
ซึ่งท่านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด
เพื่อช่วยป้องกัน ไม่ให้เป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจที่ท่านมีอยู่เลวลง

เป้าหมายของการรักษาโรคเส้นเลือดของหัวใจ:
o ต้องรักษาระดับความดันให้ต่ำกว่า หรือเท่ากับ 140/90
o ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจวาย ต้องให้ระดับความดันต่ำกว่านั้น(<130/80)
o ถ้าเป็นเบาหวาน ต้องให้ glycosylated heoglogin (HBA1c) มีค่าต่ำกว่า หรือเท่ากับ 7 %
o ระดับของไขมันในเลือด (LDL cholesterol) ต่ำกว่า หรือเท่ากับ 100 mg/dL

ในการรักษา ย่อมขึ้นกับอาการของคนไข้ มีความรุนแรงมากน้อยแค่ใด
ยาที่คนไข้จะได้รับ เพื่อการรักโรคเส้นเลือดหัวใจ (CAD หรือ CHD) ได้แก่:

o ACE inhibitors เป็นยาลดความดัน และช่วยปกป้องหัวใจ และไต
o Aspirin อาจให้ร่วมกับ (หรือไม่ร่วม) clopidogrel (plavix)
หรือ prasugrel (Effient) เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อนในเส้นเลือดได้
o Beta-blockers สามารถลดการเต้นของหัวใจ, ลดความดัน
และช่วยให้หัวใจใช้ออกซิเจนได้ดีขึ้น
o Calcium channel blockers ทำให้เส้นเลือดแดงคลายตัว ลดความคันโลหิต
และลดความเค้นของกล้ามเนื้อหัวใจลง
o Diuretics ("water pills") ลดความดันโลหิต และ รักษาโรคหัวใจลมเหลว
o Nitrates (such as nitroglycerin) ลดอาการเจ็บหน้าอก
ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจดีขึ้น
o Statins ลดระดับไขมัน (cholesterol)

ข้อควรจำ:
ในระหว่างได้รับการรักษาด้วยยาตามที่กล่าวมา ท่านจะต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
อย่าได้หยุดยาโดยแพทย์ไม่ได้สั่งเป็นอันขาด
เพราะการเลิกยา....สามารถทำให้อาการเจ็บหน้าอก-angina อาจเลวลง
และที่แย่ไปกว่านั้น สามารถทำให้โรคหัวใจขาดเลือดของท่านเลวลวง

เพื่อทำให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้น...แพทย์อาจแนะนำให้ท่านเข้าสู่โปรแกรม
cardiac ehabilitation

นอกจากยารักษา คนไขที่เป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจ CAD หรือ CHD อาจได้รับ
การรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรมได้ เช่น

o Angioplasty and stent placement
o Coronary bypass surgery
o Minimal invasive heart surgery
• Angioplasty and stent placement,
called percutaneous coronary interventions (PCIs)
• Coronary artery bypass surgery
• Minimally invasive heart surgery

LIVE A HEALTHY LIFESTYLE
ชีวิตต้องดำเนินต่อไป:
ท่านสามารถอยู่ร่วมกับโรคเส้นเลือดและหัวใจ (CAD) ได้
โดยไม่เป็นอันตราย ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของท่านดังนี้:
o ไม่สูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
o ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน
o 5 วัน ต่อหนึ่งอาทิตย์
o รักษาน้ำหนักของท่านให้อยู่ในระดับปกติ โดยมุ่งไปที่ body mass index (BMI)
ของทั้งชาย และหญิง ควรให้อยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9
o ควรรักษาอาการซึมเศร้าให้หายขาด (ถ้ามี)
o สำหรับสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ควรรับประทาน omega-3 fatty acid
o ถ้าคุณดื่ม...ควรบังคับตัวเองไม่ให้ดื่มเกินหนึ่งแก้วต่อวันสำหรับสตรี สองแก้สำหรับชาย

อาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพของหัวใจ และช่วยควบคุมความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่:
 เลือกรับประทานอาหารทีเป็นผลไม้ ผัก แฃะธัญพืช
 เลือกาอาหารประเพทเนื้อ-lean proteins เช่น เนื้อไก่, ปลา, ถั่ว และ ถั่วเหลือง
 เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น 1 % milk & low–fat yogurt
 หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม อาหารกระป๋อง
 ให้ลดอาหารที่เป็นผลิตผลจากสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยไขมัน (cheese) ครีม (cream) หรือ ไข่ลง
 ให้กำจัดอาการประเภท saturated fat” หรือพวก “hydrogenated fats
เพราะอาหารพวกนี้เป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

Expectations (prognosis):

คนบางคนสามารถรักษาสุขภาพของตนเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน
เลิกสูบบุหรี่ รับประทานยาตรงตามเวลาที่แพทย์สั่ง
คนไข้บางราย อาจจำเป็นต้องทำ angioplasty หรือการผ่าตัด
แม้ว่าคนเราจะต่างกัน การที่เราสามารถตรวจพบโรค CHD ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
เราย่อมได้รับผลของการรักษาที่ดีกว่าอย่างแน่นอน

http://www.umm.edu/ency/article/007115all.htm
http://www.mayoclinic.com/health/heart-disease/DS01120/DSECTION

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น