วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

Seizure Symptoms: How to Assist the Victim

Seizures หรืออาการชักระตุกเกิดขึ้นเพราะสมอง
ถูกรบกวนด้วยคลื่นที่ผิดปกติ...จะเรียกว่าพายุคลื่นที่ผิดไปจากเดิมก็คงไม่ผิด
ทำให้การติดต่อสื่อสาร ระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง ไม่สามารถทำงานตามปกติได้
เป็นเหตุให้สมองพยายามหยุดยั้งไม่ให้เกิดพายุคลื่นดังกล่าว
และการทึ่เกิดมีการกระตุกของกล้ามเนื้อขึ้น เป็นผลเนื่องมาจาก
สมองพยายามยุติไม่ให้สมองส่งคลื่นไปยังกล้ามเนื้อ
พร้อมกับสั่งให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งขึ้น

การชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นแล้ว หายได้เอง
และติดด้วยภาวะหลังการชัก เรียก postictal period
ซึ่งสมองจะพยายามเริ่มกลับมาทำงานใหม่ (reboot & restart)
เหมือนการทำงานของคอม ฯ ที่พยายาม reboot ทุกประการ

การชักกระตุกเป็นเหตุการณ์ที่เกิดได้บ่อย
ประมาณ 4 % ของประชาชน มีโอกาสเกิดชักกระตุกในชั่วอาจุขัยของทุกคน
การที่ใครจะมีโอกาสชักกระตุกได้ ขึ้นกับสมองของแต่ละคน
สามารถทนต่อคลื่นกระแสไฟฟ้าในสมองได้
สำหรับเด็กเล็ก หรือเด็ก ที่มีไข้สูง จะมีระดับ threshold ต่อคลื่นไฟฟ้าในสมองต่ำลง
เป็นเหตุให้คนไข้เกิดมีอาการชักขึ้น (febrile seizures)

การที่คนเราถูกตี หรือกระแทกที่ศีรษะ สามารถทำให้มีคลื่นใน
สมองสูงขึ้นเหมือนคลื่นของน้ำทะเล และทำให้เกิดมีอาการชักเกิดขึ้น

เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชักกระตุก จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุ เช่น:
มีอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ ?
มีปัญหาในกายภาพของสมอง ?
มีความผิดปกติในส่วนของเกลือแร่ในกระแสเลือดหรือไม่ ?

ส่วนใหญ่ เราจะไม่ทราบว่า อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการชักกระตุกเป็นครั้งแรก
นั่น คือเหตุผลว่า ทำไมเราจึงต้องสมองด้วย CT และ MRI scans
รวมทั้ง electroencephalogram
ซึ่งสามารถตรวจหาสาเหตุทำให้เกิดอาการชักกระตุกได้

คนไข้ส่วนใหญ่เกิดอาการชักกระตุกก่อนที่จะได้รับยารักษา
ตามความเป็นจริง คนทุกคนที่มีอาการชักกระตุกเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องได้รับยารักษาเลย
แต่เราไม่ได้หมายความว่า เราไม่ควรละเลยต่อการดูแลคนไข้คนดังกล่าว

โอกาสที่คนจะมีอาการชักกระตุกอีกครั้งในอนาคต จะพบได้ถึง 20 %
นั่น คือเหตุที่ว่า ทำไมเขาจึงต้องว่างจากการมีอาการชัก
กระตุกนานถึง 3 – 6 เดือน ก่อนที่จะอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้

การชักกระตุกทั้งร่าง เป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับคนพบเห็น
มีการสูญเสียความรู้ตัว (loss of consciousness)
ร่างกายแข็งเกร็ง Stiffens) หลังแอ่น (arches) อาจสั่น (shake)
และอาจมีเสียงต่ำในลำคอ

อาการชักของคนไข้ส่วนใหญ่ จะหายได้เอง
และจากการช่วยเหลือของคนที่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ หรือจากเพื่อน
หรือจากสมาชิกในครอบครัว สามารถช่วยไม่ให้คนไข้ทำอันตรายตนเองได้

ขั้นตอนสำหรับท่าน เพื่อช่วยเหลือคนทีเกิดอาการชักกระตุก
ได้แก่ขั้นตอนต่อไปนี้:

 ขั้นตอนแรก เมื่อท่านพบคนไข้ ท่านต้องทำตัวสงบ และ
 หายใจลึก ๆ
 จงแน่ใจว่า ไม่มีอะไรอยู่ใกล้เคียงสามารถกระแทกคนไข้ได้
 อย่าพยายามกดคนไข้ลง คนชักกระตุก เป็นอาการที่มีความรุนแรงสูง
สามารถเป็นอันตรายต่อคนใกล้เคียงได้

อย่าใส่อะไรเข้าไปในปากของคนไข้ คนไข้ส่วนใหญ่ที่ถูกจับเอาไว้
ไม่สามารถกลืนลิ้นของเขาได้ และที่สำคัญเขาสามารถหายใจได้เป็นปกติ
 การพยายามอ้าปากของคนไข้ สามารถทำให้ฟันคนไข้หัก
และอาจเป็นอันตรายต่อนิ้วมือได้ (ถูกกัด)
ถ้าคนไข้มีอาการชักมากเกิน 3- 5 นาที ควรส่งคนไข้เข้าโรงพยาบาลทันที
หรือเรียก ambulance

www.medicinenet.com/script/main/art.asparticlekey=10312

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น