วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

Epilepsy and Seizures

What is epilepsy?

โรคลมชัก (Epilepsy) คือ โรคที่เกิดจากภาวะผิดปกติของสมอง
โดยเกิดจากการปลดปล่อย กระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติออกมาชั่วครู่ และจะแสดงอาการโดยการชัก ...
บางครั้งเขาเรียกกันว่า ลมบ้าหมู
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งทำให้คนเกิดอาการชักขึ้น
ถือเป็นโรคทีพบได้บ่อยสุดโรคหนึ่ง ของระบบโรคประสาท
สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุ ทุกเชื้อชาติ...
จากสถิติขงคนชาติอมริกา มีคนเป็นโรคลมบ้าหมูถึง 2.7 ล้านเคน

เมื่อใครก็ตามมีอาการชักสองครั้งขึ้นไป เขาคนนั้นจะถูกพิจารณาว่า เป็นโรคลมบ้าหมู
ซึง มีสาเหตุมากมาย ที่อาจเป็นเหตูทำให้เกิดเป็นโรคดังกล่าว
เช่น เนื้องอก (tumor)ในสมอง สมองขาดเลือด (stroke)สมองอักเสบ
หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
และ มีสาเหตุอีกมากมายที่เราไม่สามารถทราบได้

What is a seizure?
อะไรคือลมชัก..?

สมองของคนเรา เป็นศูนย์สำหรับควบคุม และ ทำการปรับการตอบสนองของ
ร่างกายทั้งตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ
ภายในสมอง จะประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมากมาย ที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสาร
ระหว่างกันและกันด้วยคลื่นกระแสไฟฟ้า ซึ่งเกิดขึ้นตามปกติ

อาการชักกระตุกจะเกิดขึ้น เมื่อสมองได้รับคลื่นประสาทที่ผิดปกติ
และเป็นเหตุให้คลื่นประสาทที่มีตามปกติหยุดชะงักลง
นั่นแหละ คือต้นเหตุทำให้เกิดอาการักกระตุกขึ้นละ

What are the different types of seizures?

เวลาเราได้มีโอกาสเห็นคนชักกระตุก
จะพบว่าอาการชักกระตุกมีหลาย รูปแบบ เช่น:

 Focal seizure.
เป็นการกระตุกที่เกิดเฉพาะที่ เกิดขึ้น เมื่อคลื่นประสาทในสมองเกิดความผิดปกติขึ้น
ซึ่ง เกิดขึ้นในสมองเพียงหนึ่งตำแหน่ง หรือมากกว่า
โดยเกิดขึ้นในสมองเดียงด้านเดียวเท่านั้น

การชักกระตุกแบบนี้ บางทีเขาเรียก partial seizure
คนไข้บางรายที่เป็น complex focal seizure
คนไข้อาจมีอาการนำก่อนชัก ซึ่งเรียกว่า aura
อาการนำก่อนชัก เป็นความรู้ประหลาด ๆ เกิดขึ้น
เช่น มีการเปลี่ยนแปลงทางภาพ ทางเสียง หรือ มีการเปลี่ยนแปลงทางกลิ่น

ในชักกระตุกแบบ เฉพาะที่ (focal seizure) มีสองชนิดด้วยกัน คือ:

o Simple focal seizure.
การชักกระตุกแบบนี้ จะกินเวลาในการชักน้อยกว่าหนึ่งนาที
คนไข้อาจแสดงอาการแตกต่างกัน โดยขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิ่ยวข้อง
ถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณส่วนด้านหลังของสมอง occipital lobe
จากคลื่นสมองที่ผิดปกติในบริเวณดังกล่าว
จะก่อให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางสายตา ภาพอาจเปลี่ยน
แต่ กล้ามเนื้อมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องมากกว่า

อาการชักกระตุก ที่เกิดขึ้น สามารถแยกได้ชัด
เช่น นิ้วมือ หรือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของต้นแขน หรือกล้ามเนื้อของขา
คนไข้ที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะไม่หมดสติ ยังรู้สึกตัวดี
เขาอาจมีเหงื่อออก คลื่นไส้ และหน้าซีดเผือดได้

o Complex focal seizure
อาการชักกระตุกชนิดนี้ มักจะเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่เป็น temporal lobe
ซึ่ง เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ และความจำ
ระยะการชักกระตุกจะกินเวลานาน ประมาณ 1 ถึง 2 นาที
คนไขมักจะหมดสติในขณะชัก และจะพบพฤติกรรมต่าง ๆ
เกิดขึ้น เช่น ร้องแผดเสียง (screaming) หัวเราะ (laughing)
ร้องไห้ (crying) วิ่ง (running) อยากอ้วก (gag)
และชอบตบตี (smacking)
เมื่อคนไข้รู้สึกตัว เขาจะรู้สึกเหนื่อย
และ ง่วงนอน ระยะนี้ เราเรียกระยะ หลังชัก (postictal period)

o Generalized seizure
เป็นการชักกระตุกแบบทั่วไป เป็นเพราะความผิดปกติของสมองทั้งสองข้าง
คนไข้จะสูญเสียความรู้สึก และจะเกิดภาวะหลังการชัก (postictal period)
เข่น เหนื่อย และ ง่วงนอน

การชักกระตุกแบบ generalized seizure มีหลายชนิดชนิด ดังนี้:

1.Absence seizure ( บางที่เรียก Petit mal seizures)
คนไข้ในกลุ่มนี้ จะ มีลักษณะเฉพาะ โดยมีการสูญเสียความรู้สึกชั่วระยะสั้น ๆ
สายตาจ้องเหม่อลอย (staring episode)
ในขณะมีอาการชักกระตุก ท่าทางยังคงสภาพเดิมเอาไว้
มุมปาก ใบหน้า มีการเคลื่อนไหวหรือ ตาอาจกระพริบ
การชักกระตุกชนิดนี้จะกินเวลาไม่นาน ประมาณ 30 วินาที
เมื่อคนไข้ฟื้นขึ้น เขาอาจจำอะไรไม่ได้เลย และอาจทำงาน
ตามปกติต่อ...เสมือนหนึ่งว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อาการชักแบบนี้ วันหนึ่งอาจเกิดขึ้นหลายครั้ง
บางทีทำให้เข้าใจผิดว่า เป็นปัญหาด้านพฤติกรรม
การชักชนิดนี้ จะพบเห็นในเด็กระหว่าง 4 – 12 ปี

2.Atonic seizure (บางที่เราเรียก drop attacks)
การชักกระตุกชนิดนี้ คนไข้จะสูญเสียการทำงานของ
กล้ามเนื้อ เป็นการเกิดแบบฉับพลัน คนไข้อาจล้มพลับลง
หรือศีรษะที่ตั้งอยู่จะหล่นตุบ เหมือนสิ่งของหล่นจากมือ...
ในขณะที่เกิดอาการการ คนไข้จะอ่อนปวกเปียก
และไม่ตอบสนอง

3.Generalized tonic-clonic seizure (GTC)
บางที่เราเรียก grand mal seizures
อาการชักชนิดนี้ มีลักษณะให้เห็นเป็น 5 ระยะชัดเจนเกิดข้น
โดยที่ร่างกาย แขน และขาจะมีการเกร็งในท่างอ เหยียด
ออก (straighten out) และ มีอาการสั่น (tremor)
ตามด้วยการระยะของกล้ามเนื้อมีการเกร็ง (contraction)
และหย่อน (relaxation) เป็น clonic period แล้วตามด้วย
ระยะหลังชัก ( postictal period )
ซึ่งคนไข้จะมีความรู้สึกง่วงนอน มีปัญหาเรื่องภาพ (vision)
หรือคำพูด (speech) และอาจมีอาการปวดศีรษะอย่างแรง
เมื่อยหล้า ปวดเมื่อทั่วร่าง

4.Myoclonic seizure
การชักกระตุกแบบนี้ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
การชักกระตุกที่เกิดขึ้น มักจะเกิดเป็นกลุ่ม (cluster)
ซึ่งหมายความว่า วันหนึ่งอาจเกิดขึ้นหลายครั้ง หรือเกิดชัก
กระตุกหลายวันติดต่อกันโดยไม่มีเว้น

5.Infantile spasms
เป็นโรคชักกระตุกที่เดในเด็กละอ่อน (infants) ก่อนอายุครบ 6 เดือน
เป็นลมชักที่พบได้ไม่บ่อยนัก อาการชักที่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กตื่นขึ้น
หรือ เมื่อเด็กพยายามที่จะนอนเด็กจะมีช่วงสั้น ๆ ของการหดเกร็งที่บริเวณคอ ลำตัว ขา
ซึ่งจะกินเวลาไม่กี่วินาที และ อาจมีอาการชักกระตุกวันหนึ่งนับเป็นร้อยคร้ง
อาจเป็นปัญหาที่รุนแรง และอาจมีภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว

6.Febrile seizures
เป็นการชักกระตุกที่เกิดร่วมกันการเป็นไข้
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี อาจมีประวัติทาง
ครอบครัว ว่ามีการชักกระตุกดังกล่าว
การชักกระตุกระหว่างมีไข้ จะกินเวลาน้อยกว่า 15 นาที เรียก
simple ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อระบบประสาทสมองในระยะยาว
หากมีอาการชักนานกว่า 15 นาที เป็นพวก complex
ซึ่งมักจะมีกระทบกับสมองในระยะยาวได้
http://nyp.org/health/neuro-epilepsy.html

Continue >

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น