วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

Epilepsy Treatment: Basics

มีการรักษาต่าง ๆ หลายอย่าง ถูกนำมาใช้รักษาคนที่เป็นโรคลมชัก
การรักษาอย่างแรก คือ กาารรักษาด้วยยา Medications
ถ้ายาชนิดหนึ่งไม่ได้ผล เราอาจใช้ยาตัวอื่นได้

What ‘s First?
ในการรักษาสำหรับคนเป็นโรคลมชัก เริ่มต้นด้วยการพบแพทยฺ์ ถือเป็นก้าวแรก
จากนั้น แพทย์จะเป็นผู้ทำการวินิจฉัยว่า คนไข้เป็นโรคลมชัก จริง
ซึ่งการที่แพทย์เขาจะทำเช่นน้้นได้
เขาจำเป้นต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากประวัติความเจ็บปวย การตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการตรวจพิเศษอื่น ๆ ที่จำเป็น

ภายหลังจากได้คำวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก็จะนำไปสู่การรักษาต่อไป
การรักษาที่ว่า... คือการรักษาด้วยยา (medications) นั้นเอง
ซึ่งมียาสำหรับรักษาอาการชักหลายตัว แต่ละตัวต่างมีแนวโน้มที่จะทำงาน
ได้ดีสำหรับอาการชักจากสาเหตุหนึ่ง ดีกว่าลมชักจากสาเหตุอื่น
เป็นหน้าที่ของแพทย์เอง ว่า จะเลือกยาตัวใด โดยอาศัยปัจจัยต่อไปนี้
เช่น อายุคนไข้ , ชนิดของโรคที่ทำให้เกิดอาการชัก,
และโรคประจำตัวอื่น ๆ ของคนไข้ (ถ้ามี)

จากนั้น เป็นหน้าที่ของแพทย์ จะเป็นผู้เริ่มเปิดประเด็นเกี่ยวกับยาที่คนไข้จะได้รับเพื่อการรักษา
โดยหัวข้อที่คนไข้จะต้องรู้ คือ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น, จะใช้ยารักษาอย่างไร ?
ขนาดของยา และ รับประทานวันละกี่ครั้ง ? เมื่อเกิดมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น ควรทำอย่างไร?
รวมไปถึงการกลับมาพบแพทย์ในครั้งต่อไป ตามที่แพทย์นัดหมาย
นั่นเป็นเรื่องสำคัญที่แพทย & เภสัชกร จะต้องพุูดให้ชัดเจน
ซึ่งคนไข้จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งคัด.

Seizure medicines.
มีการรักษาหลายอย่าง ที่สามารถนำมาใช้ป้องกันอาการชักในโรค epilepsy
การรักษาแรกที่มักจะนำมาใช้ในการรักษา คือ ยาต่าง ๆ ซึ่งมีให้ใช้ในปัจจุบัน
และยาแต่ละชนิดต่างมีแนวโน้ม ที่จะได้ผลดีสำหรับลมชักบางชนิด ได้ดีกว่ายาตัวอื่น
และถ้าการใช้ยาแต่ละชนิด หากไม่ได้ผล แพทย์สามารถเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นได้
นั่นเป็นเรื่องที่คนไข้จะต้องมีส่วนรับรู้ และเข้าใจ

General Information
เป็นที่ทราบกันว่า โรคลมชัก หรือลมบ้าหมูนั้น ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
แต่เราสามารถใช้ยาควบคุมอาการชักของคนไข้ได้

ยารักษาคนไข้โรคลมชัก เรียกว่า "ยาต้านอาการชัก"
ไมสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้เกิดอาการชักได้เลย
มันเป็นแต่เพียงยุติอาการชักไม่ให้เกิดขึ้นเท่านั้น
และก่อนทีท่านจะกินยาดังกล่าว แพทย์จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า
ท่านเป็นโรคลมชักจริง

ยาต่าง ๆ ที่มีขายตามท้องตลาดในแต่ละประเทศมีได้ต่างกัน
จะขอนำเสนอไว้ทั้งหมดว่า ในปัจจุบันนี้ มียาอะไรบ้าง
ซึ่งได้แก่:

 Banzel
 Carbamazepine
 Carbatrol®
 Clobazam
 Clonazepam
 Depakene®
 Depakote®
 Depakote ER®
 Diastat
 Diazepam
 Dilantin®
 Ethosuximide
 Ezogabine
 Felbatol®
 Felbamate
 Frisium
 Gabapentin
 Gabitril®
 Inovelon®
 Keppra®
 Keppra XR™
 Klonopin
 Lacosamide
 Lamictal®
 Lamotrigine

 Levetiracetam
 Lorazepam
 Luminal
 Lyrica
 Mysoline®
 Neurontin®
 Oxcarbazepine
 Phenobarbital
 Phenytek®
 Phenytoin
 Potiga
 Primidone
 Rufinamide
 Sabril
 Tegretol®
 Tegretol XR®
 Tiagabine
 Topamax®
 Topiramate
 Trileptal®
 Valproic Acid
 Vimpat
 Zarontin®
 Zonegran®
 Zonisamide


SEIZURE FIRST AID
เมื่อท่านพบคนไข้เกิดมีลมชักขึ้น ไม่ว่าคนไข้รายนั้นจะเป็นลมชักกระตุกชนิดก็ตาม
ท่านสามารถช่วยเหลือเขาได้:

เมื่อพบคนชักกระตุก หลายคนจะรู้สึกว่า
ตนเองไม่พร้อมที่จะให้ ความช่วยเหลือคนไข้ภายใตสภาพดังกล่าวได้
เราลืมไปว่า เรามีเครื่องมือพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือคนไข้ได้อยู่แล้ว
นั่นคือ สามัญสำนึก (common sense)
คำแนะนำต่อไปนี้ เป็นเรื่องง่าย สามารถนำไปช่วยคนเกิดลมชักได้ทุกเมื่อ
เป็นการกระทำที่ประสานต่อเนื่องกัน

โรคชักกระตุกมีหลายชนิด เช่น generalized absence seizure หรือ
Complex partial seizures
ซึ่งจะทำให้คนไข้สูญเสียความรู้สึกตัวไปชั่วระยะสั้น ๆ
ไม่จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือแต่อย่างใด

ขั้นตอนการช่วยเหลือคนเป็นลมชัก มีดังนี้:

1. จงสงบเอาไว้ อย่าตื่นเต้น
2. ป้องกันบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น
ในขณะทีพบคนไข้กำลังชัก ท่านสามารถลงมือปฏิบัติการทันที
พร้อมกับป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับคนที่อยู่รอบข้างได้ รวมทั้งตัวท่านเอง
3. ดูแลตลอดระยะเวลาที่คนไข้มีอาการชัก
4. ให้คนไข้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด
5. กำจัดผู้คนที่ห้อมล้อมออกให้หมด...อย่าให้มีไทยมุงเป็นอันขาด
6. อย่าจับคนไข้ให้นอนราบเป็นอันขาด
7. อย่าพยายามใส่อะไรเข้าไปในปากของคนไข้เป็นอันขาด
ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราเคยเข้าใจมาก่อน เพราะในระหว่างคนไข้มีอาการชัก
ลิ้นของเขาจะไม่ตกลงไปในลำคอ ทำให้เกิดการอุดตันการหายใจได้
ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องสอดนิ้วมือของท่านเข้าปากคนไข้ที่กำลังชักเลย..
8. อย่าให้น้ำดื่มแก่คนไข้ หรือให้ยา อาหารแก่คนไข้
จนกว่าเขาจะหายจากอาการชัก และรู้สึกตัวดีเป็นปกติก่อน
9. จงให้ความแนะนำกับคนอื่น ให้กระทำเช่นเดียวกันเพื่อช่วยให้คนไข้ปลอดภัย
10. หลังจากอาการชักหยุดลง ให้วางคนไข้นอนตะแคงโดยนึกเสมอว่า
หลังการชักคนไข้จะมีอาการอาเจียน ซึ่งจะเกิดก่อนที่เขาจะรู้สึกตัวดี
ดังนั้น ศีรษะของคนไข้จะต้องอยู่ในท่านนอนตะแคงเพื่อให้อาหาร หรือ น้ำลายไหลลออกได้
ให้คนไข้อยู่ในท่านดังกล่าวจนกว่าจะฟื้น (ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 5 – 20 นาที)

นั่นเป็นแนวทางง่าย ๆ ที่ท่านสามารถให้ความช่วยเหลือแก่คนไข้ทีเป็นโรคลมชักได้

http://www.epilepsy.com/EPILEPSY/firstaid

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น