ข็อมูลต่อไปนี้ อาจมีประโยชน์สำหรับผู้ประสบกับภาวะหัวใจขาดเลือด(heart attack)
ตลอดรวมไปถึง บุคคลที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่า เป็นโรคหัวใจ
ซึ่ง ท่านเหล่านั้น มักจะได้รับการตรวจหัวใจด้วยกรรมวิธี ที่เรียกว่า exercise stress test
เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจในขณะที่มีการออกแรง แล้วการดูคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัว
พร้อมกับบันทึกไว้ให้อ่านแปลผล (electrocardiogram หรือ EKG)ในตอนหลังด้วย
จากการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้า ของหัวใจที่บันทึกไว้
สามารถบ่งบอกให้ทราบถึง ประสิทธิภาพของการปั้มเลือดของหัวใจ
อาจบอกให้ทราบว่า เส้นเลือดที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงหัวใจ (coronary artery)นั้น
มีการอุดตันหรือไม่
และจากคลื่นไฟฟ้าที่บันทึกไว้ (EKG)ที่ปรากฏจอคอมพิวเตอรขณะทำการตรวจ
สามารถบอกให้ทราบถึงความปลอดภัย ที่คนไข้กำลังออกแรงได้
ประโยชน์ ที่พึงได้รับจากการตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังกาย จะถุกนำมาประยุกต์ใช้กัตัวเองว่า
เราควรออกแรงมากน้อยแค่ใด จึงจะเหมาะกับสภาพของตน ไม่เป็นอันตราย
ไม่เกิดอาการเจ็บหน้าอก (angina) หรือ ถึงขั้นหัวใจขาดเลือด (heart attack)
ผลจากการศึกษาของ Samia Mora MD, Cardiovascular Fellow จาก
Johns Hopkins Hospital เมื่อไม่นานมานี้ กล่าวว่า:
ผลที่ได้จาก exercise stress test ถูกนำนำไปประกอบการดูแลรักษา
ร่วมกับผลการตรวจอย่างอื่น เช่น Metabolic equivalents (METs)
และ ระดับของความดันโลหิต (blood pressure)
โดย จากขอมูลที่ได้นั้น จะถูกนำมาวิเคราะห์ได้ว่า
คนไข้รายใด มีอัตราเสี่ยงต่อความ “ตาย” ได้
หลายท่านอาจสงสัยว่า Metabolic equivalents คืออะไร ?
Metabolic Equivalent หรือ หรือเขียนให้สั้น ไม่ให้เปลืองแรงงานว่า "MET"
หมายถึงปริมาณของพลังงานทีร่างกายต้องใช้ไป
มันเป็นค่าเฉลี่ยของ "ออกซิเจน" ที่ร่างรายใช้ไป
เช่น ขณะนอนพัก ร่างกายจะใช้ออกซิเจน 3.5 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที หรือ มีค่าเท่ากับ 1.2 คาลอรี่
ผลที่ได้จาก EKG, METs และ ระดับความดันโลหิต มีประโยชน์ต่อการนำไปทำการตรวจ
ติดตามดูแล และรักษาคนไข้ต่อไป
การตรวจวัด exercise stress test
ด้วยการวัดเป็นหน่วยของพลังงาน ที่มีชื่อ metabolic equivalents หรือ METs นั้น
ปริมาณ 1 MET จะมีค่าเท่ากับปริมาณของออกซิเจน ที่ร่างกายต้องใช้ในขณะพักผ่อน
ซึ่ง จะมีค่าแตกต่างกันตามน้ำหนักตัว (body weight)ของแต่ละคน
สำหรับคนที่มีสุขภาพดี (good shape)สามารถออกกำลังกายได้เหนือกว่าคนที่สุขภาพไม่ดี
ดังนั้น ใครที่สามารถใช้ออกซิเจนได้มากกว่า
หรือ การที่ใครสามารถออกแรงเป็นประจำ ได้ค่า METs ย่อมทำให้ท่านน้้นมีสุขภาพดี
การตรวจวัด METs เป็นการตรวจดูความสามารถในการออกกำลังกาย
ซึง เราทราบในอีกชื่อหนึ่งว่า เป็นความสามารถในการบริหารแบบ "แอรโรบิค"
หรือ ระดับความสมบูรณ์ของร่างกาย (fitness level)
ผลจากการศึกษา และลงพิมพ์ใน The New England Journal of Medicine
ในคน จำนวน 6,000 ราย ซึ่งได้รับการตรวจ exercise stress testing
พบว่า ผลของการตรวจ METs มีประโยชน์ต่อการคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่า
ใครสามารถมีอายุได้ยืนนานกว่ากัน
โดยพบว่า ในแต่ละค่าของ 1 MET ที่เพิ่มขึ้น จะสัมพันธ์กับอายุที่ยืนนานขึ้น 12 %
จากการศึกษา ยังพบต่อไปอีกว่า คนที่ใช้ออกซิเจนในขณะออกแรงสูงสุดสำหรับคน ๆ นั้น
และวัดได้ค่า Metablic equivalents น้อยกว่า 5METS
เขาคนนั้น มีแนวโน้มที่จะมีอายุสั้นกว่าคนที่ออกแรงสูงสุด และวัดได้ค่า METs สูงถึง 8 METS
(อายุสั้นกว่า ถึง 6ปี) แสดงว่า ใครก็ตามทีออกแรงสูงสุด แล้วได้ค่าของ METsสง
ย่อมมีโอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวกว่าคนที่มี METs ตำ
ผลของการศึกษาโดย Dr. Mora ได้สนับสนุนความเห็นดังกล่าว
โดยยืนยันว่า ในคน (ทั้งหญิง และชาย) ซึ่งมีสุขภาพสมบูรณ์ (good fitness)
โดยพบความสัมพันธ์ระหว่าง METs ของคน ๆ นั้น กับ ความยืนยาวของอายุของเขา (longevity)
นอกจากนั้น เขายังพบต่อไปอีกว่า จากการที่มีค่าของ METs สูง
ยังทำให้เขาไม่เป็นโรคหัวใจ และ สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือด และหัวใจได้ด้วย
จากการวัดค่า METs :
คนที่มีอายุมากกว่า 50 แล้ววัด score ได้ 8 METS ถือว่าเป็นค่าที่บ่งบอกว่า มีสุขภาพดี
ถ้า score ได้ต่ำกว่า 5 METs เป็นค่าบ่งชี้ว่า มีสุขภาพที่น่าเป็นห่วง
ควรให้มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด พร้อมกับให้การรักษา เพราะคนเหล่านั้นมักจะมโรคประจำตัว
หลายอย่าง ได้แก่โรคหัวใจ หรือ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
เช่น ความอ้วน (obesity), เบาหวาน (diabetes), ระดับไขมันสูง (high cholesterol),
และ ความดันโลหิตสูง (high blood pressure)
ข้อมูลที่น่าสนใจจากผลการวัดความดันโลหิต
ซึ่ง วัดได้ในขณะทำการตรวจ Exercise stress testing
เป็นทีทราบว่า ในขณะที่มีการออกแรง จะทำให้ความดันโลหิตของคนเราเพิ่มสูงขึ้นจากปกติ
บางคนพบว่า ระดับความดันตัวบน (systolic pressure) เพิ่มสูงถึง 250 mm Hg
หรือสูงกว่านั้น ส่วนความดันตัวล่าง (diastolic pressure) เพิ่ม 5 -10 mm Hg เหนือระดับปกติ
Kerry J. Stewart,MD Prof. of Med. Johns Hopkins ,School of Medicine.
ได้ศึกษาถึงกรณี ที่มีการเพิ่มของระดับความดันในขณะออกแรงอย่างสนใจว่า
"เป็นตัวบ่งบอกให้ทราบล่วงหน้าได้ว่า คน ๆ นั้นจะเกิดเป็นโรค ความดันโลหิตสูงในอนาคต"
ข้อมูลดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากการศึกษาจาก Framingham Heart study
โดยทำการออกแบบการศึกษาในคนมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดของหัวใจ
พบว่า คนที่มีความดันปกติ และมีการตอบสนองต่อการออกกำลังกาย (exercise stress testing)
ด้วยการทีความดันโลหิตสูงขึ้นเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
จะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงภายใน 8 ปี ให้หลัง
และ สตรี มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคได้มากกว่าชายถึงสองเท่า
นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาจากญี่ปุ่น ซึ่งรายงานเอาไว้เมื่อไม่นานมานี้ว่า:
ในชายที่มีการตอบสนองต่อการออกกำลัง ด้วยการทีความดันสูงขึ้นมากผิดปกติ
จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค “ความดันโลหิตสูง” ภายใน 5 ปี ให้หลัง
และ เมื่อมีความดันเกิดขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ สมองขาดเลือด (stroke)ย่อมมีได้สูง
ในทางกลับกัน ในขณะออกกำลังกาย แทนที่ความดันจะเพิ่มสูงขึ้น
แต่ปรากฏว่า ความดันโลหิตลดฮวบลง
ในกรณีดังกล่าว เป็นข้อบ่งบอกให้ทราบว่า คน ๆ นั้นเป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจ ที่น่ากลัว
โดยมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด (heart attack) ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้จากการวิจัยในเรื่องความดันโลหิต ที่สูงขึ้นในขณะทำการตรวจ
Exercise stress testing
ยังไม่เพียงพอต่อการนำไปประกอบในการรักษาคนไข้...
ถ้าความดันโลหิต (systolic) สูงเหนือ 250 mm Hg
หรือ diastolic เพิ่มขึ้น 5 – 10 mmHg ในระหว่างการตรวจ
ให้ตรวจสอบคนไข้รายนั้นอย่างใกล้ชิด พร้อมกับลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดทุกชนิด
Adapted from:
John Hopkins medical letter
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น