วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Mild Heart Attack & Unstable Angina (cont.)

จำเป็นอะไรนักหรือ ทำไมจึงต้องวินิจฉัยให้ได้ว่า คนไข้เป็น unstable angina
ไม่ใช้เป็น mild heart attack ?

คนที่มีอาการ unstable angina หรือ mild heart attack
อาจปรากฏในรูปของคนเป็น stable angina
ทั้ง ๆ ที่ ความเป็นจริงแล้ว มันเป็นภาวะที่ไม่มีความรุนแรงเลย
หรือ มันอาจเป็นภาวะที่มีอันตรายสูง (high risk heart attack)
หากให้การรักษาไม่ถูกต้อง อันตรายย่อมเกิดแก่คนไข้ถึงตายได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นยิ่ง ที่แพทย์จะต้องวินิจฉัยให้ถูกต้องว่า
ท่านเป็นโรคอะไร?

Unstable angina และ mild heart attack
แตกต่างจาก stable angina อย่างไร ?

ส่วนใหญ่แล้ว คนเป็น unstable angina จะมีความแตกต่าง
จากคนเป็น stable angina ด้วยอาการเพาะทางเจ็บหน้าอก ดังนี้:

 ในรายที่เป็น stable angina อาการเจ็บหน้าอก มักจะเกิด
ในขณะที่มีการออกแรง หรือ ภายใต้ความเครียด
ซึ่งจะบรรเทาลงหลังจากได้พัก การเกิดแต่ละครั้ง จะกินเวลาประมาณ 1 – 15 นาที
และสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด

 ส่วนในรายที่เป็น unstable angina เป็นอาการเจ็บอกที่เกิด
ในขณะพักผ่อน ไม่มีรูปแบบปรากฏให้เห็น เกิดได้บ่อยกว่าคนเป็น stable angina
มีอาการรุนแรงกว่า เป็นได้นานกว่า 15 นาที

Unstable angina หรือ mild heart attack จะมีความ
แตกต่างจาก stable anginaอย่างไร ?

คนไข้เจ็บหน้าอกนั้น จากภาวะขาดเลือดและออกซิเจนนั้น เป็นชนิดใด?
เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า EKG ทำการตรวจ สามารถบอกให้ทราบว่า ภาวะขาดเลือด
ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นชนิดใด?

จากกราพที่r[ได้ใน EKG:
ถ้าพบ ST-segment elevation จะถูกวินิจฉัยว่าเป็น heart Attack
ถ้าตรวจพบ non-ST-elevation จะถูกวินิจฉัยว่าเป็น unstable angina
หรือ เป็น mild heart attack อย่างใดอย่างหนึ่ง

ถ้าเราสามารถแยกภาวะ stable angina และ typical heart attack ออกไปได้แล้ว
ภาวะที่เหลือ คือ unstable และ mild heart attack

ระหว่าง unstable angina และ mild heart attack
ซึ่งทั้งสองกรณี สมารถแยกออกจากกันได้ด้วยการตรวจเลือด ดูสาร “โปรตีน”
ที่ถูกปล่อยออกมาโดยกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายไป

เมื่อเราสามารถวินิจฉัยได้ว่า คนไข้เป็น unstable angina หรือ เป็น
Mild heart attack เราจำเป็นต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อไป
เพื่อดูตำแหน่งที่มีการอุดตันของการไหลเวียนของเลือด และดูความรุนแรงของโรค
เช่น stress EKG, echocardiogram (ultrasound ของหัวใจ)
หรือทำ nuclear imagine
หรือ ทำการตรวจเส้นเลือด (coronary)ด้วยเอกซเรย์-angiogram

การรักษาภาวะ unstable angina และ mild heart attack:

ป้าหมายในการรักษาคนไข้ที่เป็น unstable angina
ประกอบด้วย ลดความเจ็บหน้าอก และป้องกันไม่ให้ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
ตลอดรวมถึงการป้องกันปัญหาอย่างอื่น ที่จะเกิดขึ้นกับหัวใจ
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วย ลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย ที่พึงจะเกิดขึ้นกับหัวใจ
โดยการใช้ยารักษา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(ABCDE):

 Aspirin and anti-angina medication
 Beta blocker and blood pressure
 Cholesterol and cigarettes
 Diets and diabetes
 Education and exercise

มียาอะไรบ้าง ที่ถูกนำมาใช้รักษาภาวะ unstable angina/ mild hart attack?

มียาหลายชนิดถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่อยู่ในภาวะ unstable angina
ส่วนใหญ่ คนไข้จะได้รับ Nitroglycerin (...ให้พ่นเข้าปาก)
เขาจะใช้ยาดังกล่าว เมื่อเกิดมีอาการเจ็บอกขึ้น และไม่ทุเลาลงในเวลา 2 – 3 นาที

Nitroglycerin ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เส้นเลือดขยายตัว
ทำให้เลือด และออกซิเจน ไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้น คนไข้อาจได้รับยาต้านการขาดเลือดตัวอื่น (anti-ischemiฟ drugs)
เช่น Beta blocker หรือ calcium channel blockers

นอกจากนั้น คนไข้จะได้รับ aspirin วันละครั้ง เป็นยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
เป็นการป้องกันไม่ให้มีการสร้างก้อนเลือดเกิดขึ้น
นอกจาก aspirin แล้ว คนไข้อาจได้รับยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือดอีกตัว
คือ clopidogrel(Plavix)....

What if I also have heart disease risk factors?

คนส่วนใหญ่ที่มี unstable angina เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคหัวใจ
ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำการควบปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคหัวใจ
เช่น ถ้าท่านสูบบุหรี่ ท่านจะต้องงด ท่านจะต้องออกกำลังกายให้สมำสมอ(4 – 5 วัน ในหนึ่งอาทิตย์)
อย่าให้น้ำหนักตัวเกิน และรับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ

ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้ให้คำแนะนำว่า ท่านควรออกกำลังชนิดจึงจะเหมาะสมกับสุขภาพของท่าน
ถ้าท่านมีระดับไขมันในกระแสเลือดสูง แพทย์จะให้ยาลด (lipid-lowering medication)
เช่น ยาในกลุ่ม stains เช่น lipitor

ท่านจำเป็นต้องได้รับการควบคุมความดันให้เป็นปกติ ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยด้วยยาในกลุ่ม beta-blocker
หรือ calcium channel blockers

ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน ท่านควรควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นปกติ
การปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
ซึ่งเป็นทางเดียว ที่ท่านสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวตั้งแต่แรก

Will I need stents or bypass surgery?

บางคนที่มาพบแพทย์ด้วย unstable angina หรือเป็น Mild heart attack
สามารถรักษาด้วยยาเพียงอย่าง เดียว ส่วนบางคนอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการทำ angioplasty

เมื่อแพทย์เห็นตำแหน่งที่การตีบตันของหลอดเลือดแล้วว่าอยู่ตรงตำแหน่งใด
จะมีการใช้ balloon ถ่างขยายหลอดเลือดที่ตีบ ให้ขยายออก
หรือการทำการผ่าตัด bypass surgery ซึ่งเป็นการผ่าตัด แก้ปัญหาการอุดตันของหลอดเลือด
โดยหาทางนำเลือดลัดผ่านจากบริเวณเหนือต่อจุดอุดตันไปตามท่อ ไปสู่บริเวณใต้ต่อจุดอุดตัน

ไม่ว่าท่านจะได้รับการรักษาแบบใด มันขึ้นกับความรุนแรงของโรคหัวใจเป็นหลัก
และยาที่ให้นั้นสามารถลดอาการเจ็บหน้าอกหรือไม่

เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้มีการเปรียบเทียบการรักษาสองรูปแบบ:
o Conservative strategy:
เป็นการรักษาแบบอนุรักษ์ หรือหารักษาด้วยวิธีการประคับประคอง ด้วยการใช้ยารักษาก่อน
หากคนไข้ไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์จะเปล่ียนเป็นการผ่าตัดใส่stents หรือทำ bypass surgery

o Aggressive strategy:
เป็นกลยุทธเชิงรุก ถุกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่หัวใจขาดเลือด ด้วยการวิธีการสวนภายในหัวใจ และเส้นเลือด
(Catheterization) ภายหลังการขยายหลอดเลือดเสร็จ
จะมีการใส่ขดลวดเล็ก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดตีบซ้ำ ขดลวดเรียก stent หรือทำ bypass surgery
ซึ่ง เป็นวีธีการที่ลดความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดต่อความตาย หรือเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
โดยเฉพาะในรายที่ความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในคนไข้ที่เป็นผู้หญิง

ในรายที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่รายที่มีอาการแสดงของกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
ซึ่งพวกนี้ จะมีระดับของโปรตีนที่ถูกปล่อยเกิดจากกล้ามเนื้อบาดเจ็บ เช่น
Troponin และ CKMB

สำหรับคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เขาจะได้รับประโยชน์จากวิธีการดังกล่าวหรือไม่ ?

มีรายงานว่า คนไข้ชาย จะได้รับผลดีจากกลวิธีเชิงรุก(aggressive strategy)
ดีกว่าคนไข้เพศหญิง
แต่บางรายงานบอกว่า ทั้งชาย และหญิงจะได้รับผลประโยชน์จากการทำการรักษา
ด้วยวิธี aggressive strategy เท่ากัน ?

ในรายที่มีความเสี่ยงต่ำ (low risk) และอาการเจ็บหน้าอกไม่ตอบสนองต่อ
การรักษาด้วยการทำ stents และ ทำ bypass จะเป็นวิธีทีดีที่สุด
ที่สามารถทำให้คนไข้หายจากความเจ็บหน้าอก และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

http://www.hearthealthywomen.org/cardiovascular-disease/unstable-angina-mild-heart-attack/mha4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น