วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

HEART DISEASE IN ELDERLY (continue)

Coronary Heart disease

โรคหลอดเลือดของหัวใจ หรือ ทีเรียกว่า coronary artery disease ถือว่า
เป็นมัจจุราช ตัวสำคัญ ที่ทำลายชีวิตของคนสูงอายุ
ครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย มักจะมีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป
จากสถิติ พบว่า ในคนที่มีอายุวัยกลางคน ที่พบว่าเป็นโรคหลอดเลือดของหัวใจ
มักจะเกิดในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง ซึ่งจะพบมากขึ้น เมื่อเธอหมดประจำเดือนไปแล้ว
ซึ่งตอนนั้น ทั้งชาย & หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคได้เท่ากัน

เป็นที่ยอมรับกันว่า โรคหัวใจในคนสูงอายุ เป็นปัญหาที่เกิดจริง และ
ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น แพทย์ จึงพยายามทุกวิถีทาง
เพื่อ หาทางป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจในคนแก่ (มันเป็นเรื่องสำหรับคนในประเทศที่พัฒนาเท่านั้น)
และยายามทำให้หัวใจของคนแก่ทั้งหลายมีสุขภาพดี ให้นานที่สุดที่จะนานได้

โรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ จะมาพบแพทย์ด้วยภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ได้ ซึ่งในคนไข้พวกนี้ จะมีอาการเจ็บหน้าอก (angina) หายใจไม่เต็มอิ่ม
มีลักษณะถี่ และ สั้น (shortness of breath)
ซึ่งสามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้ โดยไม่มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ

ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือในรายที่รักษาได้ไม่ดีพอ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายไป (heart attack)ไปในที่สุด

ในคนสูงอาย เมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack)ไปแล้ว
มักจะปรากฏว่า มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้มากกว่าคนหนุ่ม
เช่น เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และ มีการเปลี่ยนแปลงในการเต้นของหัวใจ
นอกจากนั้น ยังพบว่า การฟื้นตัว (recovery)จากโรคของคนสูงอายุ มักจะฟื้นตัวได้ช้า
จึงเป็นเหตุให้คนสูงอายุที่เป็นโรค ต้องนอนพักรักษาตัวนานกว่าคนหนุ่ม
และบางที ได้โรคเพิ่มขึ้นอีก เช่น โรคปอดแกเสบ (pneumonia)เป็นต้น

มีภาวะหนึ่ง ที่เขาเรียก “Silent Heart Attack” เป็นภาวะที่หัวใจถูกทำลาย
เพราะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่มีอาการ หรือ คนไข้ไม่รู้ว่า อาการที่เกิดนั้นเป็นอาการของโรค
เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ โดยเฉพาะ คนที่เป็นโรคเบาหวาน
คนไข้พวกนี้ แทนที่จะมีอาการที่มีลักษณะ ที่เป็นเอกลักษณะของโรค heart attack....ไม่เลย!
เขาจะมาด้วยอาการแสบยอดอก (heart burn) ซึ่งเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร,
มีอาการหายใจไม่เต็มอก: ถี่ และหอบ (shortness of breath),
เป็นลม, (fainting) และ มีอาการสับสน (confusion)

ในบางราย อาจมีอาการน้อยมาก หรือ ไม่มีอาการใด ๆ เลย เป็นเหตุให้คนสูง
อายุเหล่านั้น ไม่รู้ตัวเลยว่า “มีมัจจุราช” (silent heart attack)
ได้อาศัยอยู่ภายในตัวเอง...

อย่างไรก็ตาม สำหรับทานผู้สูงอายุที่มีความห่วงใยในสุขภาพของตนเอง
หากท่านเกิดมีความสงสัยในอาการต่าง ๆ ดังกล่าว มันเป็นสิทธิของท่านจะรู้สภาพของหัวใจท่าน
ซึ่งท่านสามารถทำได้ด้วยการปรึกษาแพทย์ และทำการตรวงสภาพของหัวใจของท่านเสีย

จากเวชปฏิบัติ เราจะพบว่า มีบ่อยครั้งที่เราพบเห็นกล้ามเนื้อหัวใจของคนไข้
ถูกทำลาย (myocardial infarction) โดยพบจากการตรวจคลื่นหัวใจ EKG
โดยที่เจ้าตัว ไม่มีประวัติของการเป็นโรคหัวใจมาก่อนเลย
นั้นคือตัวอย่างของคนที่เคยเป็น silent heart attack มาก่อน

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดแดง (coronary)
เราอาจได้พบเห็นความแตกต่างของการรักษา ระหว่างโรคของคนแก่ วัย 75
กั[คนหนุ่ม วัย 45: โดยเราจะเห็นวา การให้ lidocaine และ antiarrhythmic
Drugs เพื่อเป็นป้องกัน ไม่ให้เกิดการเต้นของหัวใจห้องล่างผิดปกติ
ตอนแรก แพทย์อาจไม่ให้ในคนสูงอายุ เพราะยาดังกล่าว อาจทำให้ เกิดอาการสับสน (confusion)
และ เกิดอาการ ที่ไม่พึงประสงค์อย่างอื่น ได้

ในการให้ยาสลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy)ให้แก่คนสูงอายุ
เพื่อทำลายลิ่มเลือดที่อุดตันทางเดินของเลือดสู่หัวใจ จำเป็นต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่พึงได้รับ
มีเหนือกว่าอันตรายที่พึงเกิดจากการีเลือดออก (bleeding)

การให้ยาดังกล่าวจะกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตขอบคนไข้ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย
ถ้าคนไข้ยอมรับสภาพว่า เมื่อได้รับยาดังกล่าวแลว เขายินดีจำกัดการออกกำลังกาย
ก็ไม่เป็นปัญหาใด

การรักษาอาการเจ็บหน้าอก (angina) ก็อาจมีความแตกต่างกันระหว่างคนหนุ่ม
และคนแก่ สำหรับคนสูงอายุ ส่วนใหญ่ยินดียอมรับอาการเจ็บหน้าอกได้ในระดับหนึ่ง
มากกว่าที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีการอย่างอื่น เช่น การรักษาดวยกรรมวิธีทางศัลยกรรม

คนสูงอายุ อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการ “วิงเวียน” จากผลข้างเคียงของยาต้าน
อาการเจ็บหน้าอก (anti-anginal medications)
ซึ่ง เกิดได้มากกว่ากว่าคนอายุน้อยกว่า และบางที
คนสูงอายุไม่สามารที่จะทนต่ออาการข้างเคียงดังกล่าวได้เลย
โดยเฉพาะกับยาที่เป็น nitroglycerine derivatives

นอกจากนี้ การให้ยากลุ่ม beta blockers มีแนวโน้มที่จะทำให้หัวใจของ
คนสูงอายุเต้นช้าลงได้ แต่กรณีดังกล่าว ไม่เป็นเรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด
ยกเว้นเสียแต่ว่า จงหวะการเต้นของหัวใจเต้นช้ากว่า 50 ครั้ง ต่อ นาที
และ ไม่มีอาการอ่อนแรง(weakness) หรือ เกิดมีอาการวิงเวียน (dizziness)

Continued > Heart valve disorders

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น