ความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ มีรูปแบบหลายอย่างด้วยกัน
เราเรียกว่า arrhythmias ถือเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจยากพอสมควร
ส่วนใหญ่แล้ว จะพบว่า หัวใจของคนเรามีโอกาสเกิดมีการเต้นผิดปกติได้
อย่างน้อย ๆ หนึ่ง หรือ สองครั้งในชีวิต
อาการที่ทำให้คนเรารู้สึกไม่สบาย จากการเต้นผิดปกติของหัวใจ
ได้แก่ รู้สึกใจสั่น (palpitations) วิงเวียน (dizziness)
ซึ่งอาการเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นอาการของโรคร้ายแต่อย่างใด
แต่ถึงกระนั้น มีบางรายที่เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติไปนั้น
อาจนำไปสู่ความตายจากภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) ได้
จากสถิติของชาวสหรัฐฯ เอง พบว่า
มีคนเสียชีวิตจากหัวใจยุดเต้นอย่างกะทันหันถึงปีละ 300,000 ราย
ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่แพทย์เผชิญกับความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ
จึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ จะต้องทำการตรวจหาความเสี่ยงต่าง ๆ
ที่ทำให้เกิดอาการผิดปกตินั้น และหาทางเยียวยารักษา
และ หาทางป้องกันไมให้มันเกิดขึ้นได้อีก
แม้ว่า ยาที่ให้แก่คนไขสามารถรักษาอาการผิดปกติได้ก็จริง
แต่ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงแก่คนไข้ได้เช่นกัน
ดังนั้น แพทย์จำเป็นต้องตัดสินใจว่าควรรักษาอย่างไร
คนไข้จึงจะให้ได้ประโยชน์สูงสุด
การเต้นผิดปกติของหัวใจ ถูกแบ่งเป็นสองประเภท:
หัวใจเต้นช้ามาก ถูกเรียกว่า Bradycardias หรือ brady-arrhythmias
และ ชนิดเต้นเร็วมาก เรียก Tachy-arrhythmia หรือ tachycardias
สำหรับ extra หรือ skipped heart beats (การเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น หรือ
หยุดหายไป) ส่วนใหญ่จะเกิดในคนที่มีหัวใจทำงานได้ตามปกติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ
ได้แก่ โรคเส้นเลือดของหัวใจ (coronary), โรคลิ้นหัวใจ (heart valve disease),
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (heart muscle disease), และ โรคหัใจชนิดอื่น ๆ
ซึ่งซ่อนตัว...ทำให้เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจได้
แต่ สาเหตุที่ทำให้เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ
ซึ่งเกิดขึ้นทันที คือ ความผิดปกติในระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
(การส่งคลื่นประสาทของหัวใจ)
ถ้าระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ ไม่สามารถทำงานได้
จะทำให้หัวใจมีลักษณะเหมือนก้อนเนื้อธรรมดา
ที่ไม่สามารถทำหน้าที่ปั้มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
THE ELECTRICAL SYSTEM
OF THE HEART
ในหัวใจห้องด้านขวาบน มีเซลล์ประสาทกลุ่มหนึ่ง เรียก sinus node (SN)
ซึ่งอยู่ในตำแหน่งบนสุด จะทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า เรียก pacemaker
มันจะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าออกมาได้ ประมาณ 60 – 100 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าให้กระจายไปทั่วแล้ว
มันจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อของหัวใจด้านขวา และ ซ้าย ให้เกิดการหดตัวขึ้น (contractions)
จากนั้น คลื่นกระแสไฟฟ้า จะเคลื่อนต่อไปยังปุ่มประสาทอีกปุ่มหนึ่ง
ชื่อ atrio-ventriular node (AV node) อยู่ตรงตำแหน่ง ที่เป็นผนังแยก
(septum) ของหัวใจห้องล่างเป็นห้องซ้าย และ ขวา
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของหัวใจ ที่ทำหน้าที่ในการปั้มเลือดออกไปจากหัวใจ
เนื่องจากคลื่นกระแสไฟฟ้า เคลื่อนตัวได้เร็วกว่าการไหลของเลือด
ดังนั้น AV node จะทำหน้าที่เหมือนสัญญาณจราจร โดยชะลอคลื่นกระแสไฟฟ้า
ให้ช้าลง เพื่อให้หัวใจห้องบน (atria) สามารถ ปั้มเลือดเข้าสู่หัวใจสองห้องล่าง (ventricles)
จากนั้น คลื่นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปตามทางเดินของคลื่นเส้นประสาท
ซึ่งเปรียบเสมือนทางด่วนพิเศษ (highway) เรียก His-Purkinje system
โดยมันจะแยกเป็นทางด้านซ้าย และขวา และลงไปถึงส่วนล่างของหัวใจห้องล่าง (ventricles) แล้ววกกลับสู่ด้านบนอีกครั้ง
ทำให้เกิดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจของห้องล่าง สามารถปั้มเลือด
ผ่านลิ้นหัวใจ เข้าสู่เส้นเลือดใหญ่ แล้วเดินทางสู่ปอดทั้งสอง
และ สู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ด้วยความราบรื่นต่อไป
เพื่อให้การทำงานของหัวใจสามารถปรับตัว ให้เข้ากับความต้องการในชีวิตประจำวันได้
หัวใจจะต้องทำงานตามคำสั่งจากสมอง. ทำตามฤทธิ์ของฮอร์โมน ,
และ สัญญาณประสาทต่าง ๆ ที่เกิดจาก จากการออกแรง, จากแรงกระตุ้นทางอารมณ์ ซึ่งสามารถกระตุนประสาท”ซิมพาเทอติก”
เป็นเหตุให้เส้นเลือดเกิดการหดตัว ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
และ ทำให้แรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจแรงขึ้น
เป็นเหตุให้เส้นเลือดเกิดการหดตัว ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
และ ทำให้แรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจแรงขึ้น
นอกจากการกระตุ้นประสาท sympathetic แล้ว
มันยังมีการกระตุ้นประสาท Parasympathetic ด้วย หรือกระตุ้นเส้นประสาท vagal
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืนในระหว่างมีการนอนหลับ
เป็นเหตุให้อัตราการเต้นของหัวใจเต้นช้าลง
นอกจากนั้น การกระตุ้นเส้นประสาท vagal nerve
ยังสามารถเกิดขึ้นในตอนกลางวันได้
ยังสามารถเกิดขึ้นในตอนกลางวันได้
ซึ่งทำให้หัวใจเต้นช้าลงในระดับที่สามารถทำให้คนเราเกิดอาการหน้ามืด เป็นลมได้
ที่พบเสมอ คือ ระบบประสาท parasympathetic
ถูกกระตุ้น จากการมองเห็นเลือด
ถูกกระตุ้น จากการมองเห็นเลือด
คนบางคน จะไม่ทราบหรอกว่า หัวใจของคนเราจะมีการปรับตัวอยูตลอดเวลา
เช่น จากสภาพพักผ่อน เป็นการออกแรง หรือ จากสภาพตื่น เป็นหลับ
ซึ่งจะทำให้หัวใจของคนเราเต้นแรง และเร็ว เป็นเต้นช้าลง
การปฏิบัติธรรม การฝึกสมาธิ (meditation) และ การฝึกโยคะ
สามารถบังคับการเต้นของหัวใจให้เต้นช้าลงได้
ในทางตรงกันข้าม คนที่ตกอยู่ภายใต้ความเครียด ความกังวลใจ
เขาจะรู้สึกว่า หัวใจของเขาจะเต้นแรง และ เต้นเร็ว เหมือนม้าแข่ง
ซึ่ง จะพบเห็นในคนที่ตกใจกลัวสุดขีด หัวใจของเขาเต้นสูงถึง 170 ครั้ง ต่อนาที
โดยเป็นผลที่เกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท Sympathetic
ที่ทำให้มีระดับของ adrenaline หลั่งจากต่อมเหนือไต เข้าสู่กระแสเลือด
และเดินทางสู่หัวใจ เป็นเหตุให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
และเดินทางสู่หัวใจ เป็นเหตุให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
ในคนปกติมีอัตราการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
ตลอดรวมถึงปัจจัยอย่างอื่น เช่น โรคที่เกิดขึ้นกับระบบหัวใจ และเส้นเลือด
ดังนั้น อัตราการเต้นของหัวใจของคน อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่า คนไข้เป็นโรคหัวใจได้ เช่น ในนักกีฬา การเต้นของหัวใจจะอยู่ระหว่าง 45 ถึง 60 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
ส่วนคนที่มีอายุในระดับเดียวกัน มีอาชีพทำงานนั่งโต๊ะ
พบการเต้นของหัวใจจะเต้นได้สูงกว่า (65 ถึง 80 ครั้ง ต่อ หนึ่งนาที)
ถ้าให้คนทั้งสองคนวิ่งขึ้นบันได จะพบว่า
อัตราการเต้นของหัวจะของคนทั้งสองกลุ่ม จะเต้นสูงขึ้น
แต่การเต้นของหัวใจของนักกีฬาจะไม่สูงเท่ากับคนที่มีอาชีพนั่งโต๊ะ
และ จะลดลงระดับเดิมได้เร็วกว่า ทั้งนี้ เพราะหัวใจของนักกีฬา
สามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
สำหรับการเต้นของหัวใจ ที่มีจังหวะที่ผิดปกติไปนั้น
อาจมีสาเหตุหลายอย่าง และผลที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันในแต่ละคน
และ ความรุนแรงของอาการ อาจไม่ใช่ตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคก็ได้
อ่านต่อ 2 : Heart Rhythm : Symptoms of Arrhythmia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น