วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

HEART DISEASE IN ELDERLY: Heart Valve Disorders (continued)

HEART VALVE DISORDERS



หัวใจของมนุษย์เรา มีลิ้นหัวใจอยู่ 4 อัน มีบทบาทสำคัญต่อการทำงาน
ของหัวใจ โดยการทำให้เลือดจากหัวใจทั้งสี่ห้อง ไหลผ่านลิ้นหัวใจไป
ทางเดียวนั้น มีโอกาสเกิดความผิดปกติได้หลายอย่าง ซึ่งความผิดปกติ
บางอย่าง จะเกิดขึ้นในกลุ่มคนสูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่

คนไข้บางราย สามารถรักษาได้ด้วยยา (medications) ส่วนรายอื่น ไม่
ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่า
ตัด (surgery) ซึ่งสมควรได้รับการพิจารณารักษา เมื่อมันมีผลกระทบต่อ
การดำเนินชีวิตประจำวันของเขา

ปัญหาที่เกิดขึ้นกบลิ้นหัวใจของคนสูงอายุ ได้แก่โรคที่เกิดขึ้น aortic valve
ซึ่ง ลิ้นหัวใจตัวนี้ จะทำหน้าที่เป็นประตู ให้เลือดที่ถูกหัวใจห้องล่างซ้ายปั้ม
ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

โรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ aortic sclerosis และ aortic stenosis

ใน Aortic sclerosis หมายถึงภาวะที่ลิ้นหัวใจ “aortic” เกิดการแข็งตัว และ
หนาตัวขึ้น (เป็นผลเนื่องมาจากเกิดพังผืดขึ้น) ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณหนึ่งใน
สามของคนสูงอายุทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ลิ้นหัวใจที่เป็นโรคดังกล่าว อาจ
ทำงานได้เป็นปกติเป็นเวลาหลายปี โดยไม่มีอาการ ยกเว้นเฉพาะเสียงผิด
ปกติ (murmur) ที่แพทย์ฟังได้จากการเต้นของหัวใจเท่านั้น (stethoscope)
เป็นเสียที่เกิดจากกระแสเลือด ที่วิ่งผ่านความผิดปกติของลิ้นหัวใจ

สำหรับ aortic stenosis (ลิ้นหัวใจ...ตีบแคบ) ซึ่งเป็นผลมาจากการมีหินปูน
มาเกาะ (calcified deposits) ภาวะแบบนี้เป็นได้น้อย เกิดได้แค่ 4 % ของ
คนสูงอายุ ในรายที่เป็นมาก ๆ อาจทำให้คนไข้มีอาการเป็นลม (fainting)
เพราะมีเลือดผ่านลิ้นหัวใจที่แคบได้ลำบาก เป็นเหตุให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
ไม่พอกับความต้องการ นอกจากนั้น ยังทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว (heart failure)
เพราะหัวใจต้องทำงานหนัก ไม่สามารถปั้มเลือดผ่านลิ้นหัวใจที่ตีบแคบได้
ตามปกติ และ ยังทำให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอก ด้วยเหตุที่หัวใจขาดออกซิเจน
จากการออกแรง เพื่อปั้มเลือดให้ไหลผ่านลิ้นหัวใจที่ตีบแคบ



ลิ้นหัวใจเอ-ออร์-ติค ตีบแคบ (Aortic stenosis)
สามารถวินิจฉัยจากกาตรวจร่างกายได้ แต่การตรวจด้วยเครื่อง electrocardiogram
ถูกใช้ประเมินความรุนแรงของโรค และความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ผิดปกติชนิดอื่น
จากรายงานกล่าวว่า การรักษาด้วยการใส่ลิ้นหัวใจเทียมแก่คนไข้สูงอายุ จะได้ผล
ดีพอ ๆ กับคนหนุ่ม

ในคนไข้ที่มีสุขภาพดี ยกเว้นโรคลิ้นหัวใจ เอ-ออร์-ติค เกิดการตีบแคบ การรักษา
ด้วยการใช้ลิ้นหัวใจที่ได้จากหมู (pig) หรือ ลิ้นหัวใจที่ทำด้วยโลหะ (artificial) อาจ
ทำให้หัวใจของคนไข้สามารถกลับสู่สภาพปกติ หรือเกือบเหมือนปกติได้


นอกเหนือจากการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจ (valve replacement) แล้ว เขามีมีวิธีการโดย
ไม่ต้องผ่าตัด เป็นแต่เพียงทำให้ลิ้นหัวใจที่ตีบแคบเปิดออกเท่านั้น
เรียกวิธีการนี้ว่า valvuloplasty ซึ่งมีบอลลูนที่ปลายอุปกรณ์ ที่สอดใส่เข้าสู่หัวใจ
และปล่อยให้บอลลูนขยายตัว เป็นการเปิดลิ้นหัวใจตีบแคบ ให้ขยายตัวกกว้างขึ้น
เป็นวิธีที่แพทย์ใช้ในคนไข้ ที่ไม่สมารถรับการผ่าตัดได้ (high risk surgery)
แต่ปัจจุบัน พบว่าผลที่ได้รับไม่ค่อยดีเท่าที่ควร จึงไม่ได้รับความนิยมเท่าใด


ในการรักษาด้วยการผาตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม ปรากกว่าไดผลดีในระยะยาว
ถ้าคนไข้ไม่มี ภาวะแทรกซ้อนทางกายอย่างอื่น การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมสำหรบลิ้น
หัวใจ “เอ-ออร์-ติค” จัดเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมกันแพร่หลาย แม้ว่าจะมีอันตราย
จากการผ่าตัดมากกว่าคนหนุ่มก็ตาม สุขภาพโดยรวมของคนไข้ จำเป็นต้องนำมาพิจารณาร่วมกับการตัดสินใจด้วย

สำหรับโรค (ปัญหา)ลิ้นหัวใจชนิดอื่น ๆ สามารถตัดออกจากคนสูงอายุได้ เช่น
“mitral annular calcification” ผลของความผิดปกติชองลิ้นหัวใจ มักจะทำให้เกิดการอุดตัน
หรือทำให้เลือดไหลย้อนกลบ (regurgitate) จากหัวใจห้องล่างกลับสู่
หัวใจห้องบน ซึ่งภาวะเช่นนี้ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรุนแรง และ ไม่จำเป็นต้องได้รับการ
แก้ไขทางการผ่าตัดเลย

ในคนสูงอายุ ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ เช่น aortic stenosis หรือ mitral valve prolapsed
ต่ามีแนวโน้มเกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ (endocarditis)
การอักเสบติดเชื้อ อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด โดยมีการ
อักเสบจากทื่อื่น เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือ จากกระเพาะ และลำไส้
หรือเกิดจากการทำฟัน (dental work) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่าง
รีบด่วน หรือ ให้ยาปฏิชีวินะก่อนที่จะทำการรักษาเรื่องฟัน (dental work)
โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงต่อการอักเสบ และ มีโรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ


Continued: Rhythm Disorders and Pacemakers

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น