วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

HEART DISEASE IN ELDERLY: Hypertension (continued) 1



เรามักจะพบว่า พอคนเรามีอายุสูงขึ้น โรคความดันโลหิตมักจะมาเยี่ยมกราย และ
เรามักจะพบภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะของสมองขาดเลือด เป็นอัมพาติ (stroke),
โรคไตเรื้อรัง (kidney disease), หัวใจถูกทลายจากการขาดเลือด (heart attack)
และ โรคหัวใจวาย (heart failure)

จากสถิติของชาวสหรัฐฯอีกเช่นเคย เขารายงานอาไว้ว่า เมื่อประชากรมอายุถึง 80
พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของคนเหล่านี้ จะมีโรคความดันโลหิตสูง โดยไม่ทราบสาเหตุ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว คนสูงอายุ ควรได้รบการตรวจความดันโลหิตกันทุกปี

มีคนตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า การมีระดับคมดันโลหิตสูงขึ้นในระดับหนึ่ง เป็นกระบวน
การตามปกติของธรรมชาติของคนสูงอายุ ซึ่งอาจมีความจำเป็นต่อการปั้มเลือดให้ไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ ๆ
แต่ในปัจจุบัน...มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า ความดันโลหิตที่สูงขึ้นในคนสูงอายุไม่ใช้เรือง
ปกติเสียแล้ว...หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษา ย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน


ในคนสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง การรักษาด้วยการลดระดับความดันที่สูงขึ้น
ย่อมสามารถชวยชีวิตของคนสูงอายุได้ ถึงแม้ว่า การควบคุมความดันโลหิตสูง
ในคนสูงอายุอาจไม่สามารถกระทำได้ง่าย ไม่เหมือนกับการลดความดันในคนที่
อายุน้อยกว่า ถึงกระนั้นก็ตาม เพียงการลดความดันโลหิตลงได้บางส่วน ย่อม
ลดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง

คำถามที่มีคนชอบถามกันเสมอ คือ
เราควรลดความดันโลหิตของคนสูงลงมากแค่ไหน?

โดยทั่วไป การลดความดันโลหิตสูงในคนสูงอายุ แม้ว่า จะเป็นความดันโลหิตที่
ไม่สูงมากนัก (mildly elevated…) การลดความดันลงก็ได้รับประโยชน์แล้ว และ
จะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นเมื่อ คนไข้ มีโรคในระบบหัวใจ และเส้นเลือดอย่างอื่นเกิดร่วมดัวย

สำหรับคนที่ไม่โรคหัวใจเกิดร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง การทำลองรักษาด้วย
การปรับเปลี่ยนอาหารการกิน, การออกกำลังกายพอประมาณ, ถ้าสูบบุหรี่ก็ให้เลิก
เสีย, และลดน้ำหนักตัว อาจเพียงพอต่อการลดระดับความดันโลหิตลง รวมไป
ถึงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างอื่นได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนสูงอายุ เราจะพบว่า การทำอะไรก็ตาม อย่าให้เคร่งคัด
จนเกินไป โดยเฉพาะเรื่องอาหาร และการออกกำลงกาย ถ้ากระทำด้วยความเคร่ง
คัดจนเกินไป โอกาสที่จะได้รับประโยชน์อาจไมได้ตามที่ต้องการ
ควรกระทำด้วยความสนุก ทำพอประมาณ...

ถ้าคนสูงอายุได้รบยาลดความดันโลหิต เขา หรือเธอ ควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ
เพื่อตรวจสอบผลของการรักษา ถ้าคนไข้มีอาการของผลข้างเคียงเกิดขึ้น เขาจะ
ต้องรายงานแพทย์ ในคนไข้ส่วนใหญ่ เพียงการปรับขนาดของยา หรือเปลี่ยนชนิดของยา สามารถกำจัดภาวะอันไม่พึงปรารถนาได้ไม่ยาก นอกจากนั้น ในขณะที่รับการรักษา ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะการทำดังกล่าว มันสามารถก่อให้เกิดมีความดันกลับสูงขึ้นได้อีก ทำให้เป็นอันตรายต่อคนไข้ได้...

ในคนปกติที่ไม่มีความดันโลหิตสูง ถ้าลุกจากท่านั่ง หรือท่านอนอาจก่อเกิดอาการ
วิงเวียนได้ ยิ่งคนสูงอายุด้วยแล้ว การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถจากท่านั่ง หรือ นอน
เป็นยืนทันที จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนขึ้น เรียกภาวะดังกล่าว Orthostatic hypotension ในคนสูงอายุ ที่รับประทานยาลดความดัน สามารถทำให้เกิด
อาการดังกล่าวเลวลงไปได้

และเพื่อหลีกเลี่ยงอาการอันไม่พึงประสงค์ดังกล่าว (position-related low
blood pressure) การให้ยาในคนสูงอายุ ควรเริ่มจากน้อยไปหามากอย่างช้า ๆ

ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ เราให้การรักษาแบบธรรมดา
ด้วยการให้ยาขับปัสสาวะ (diuretics) ขนาดต่ำ ๆ หรือ ยาอย่างอื่น เช่น
Beta blocker, calcium channel blocker หรือ ACE inhibitors ก็เพียงพอ
ต่อการรักษาความดันในคนสูงอายุด้วยความปลอดภัยแล้ว ถ้าจะมี...ก็มีน้อย
มาก เช่น อาการอันไม่ประสงค์ (side effects)

ในการสั่งยาลดความดันโลหิต ให้แก่คนสูงอายุ แพทย์ต้องพิจารณาด้วยว่า
คนไข้ได้รับยาตัวอื่น ๆ หรือไม่, มีปัญหาด้านสุขภาพอย่างอื่นไหม?, และปัญ
หาด้านเศรษฐกิจของเขาด้วย ถ้าหากมี เขาอาจมีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ซึ่ง
จะเป็นภาระแก่เขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาบางตัวมีราคาแพง
สำหรับของไทยเรา...มีโครงการ 30 บาท ก็จริง แต่ หากสั่งจ่ายยาที่มีราคา
แพง ๆ โดยไม่คิดว่าสมควรหรือไม่...ข้าฯ จะสั่งเสียอย่าง ใครจะทำไม ?
...ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

มีความดันสูงในคนสูงอายุ ทีพบบ่อย เรียกว่า
Isolated systolic hypertension ในกรณีเช่นนี้ มีเพียงความดันตัวบน
ที่ เราเรียก systolic เท่านั้น ที่เพิ่มสูง
ยกตัวอย่าง 160/70 หรือ 200/80 mm Hg
ความดันตัวบน systolic เป็นความดันโลหิต เกิดจากความดันที่เกิดขึ้นที่ผนัง
ของเส้นเลือดแดง ซึ่งเกิดในขณะที่หัวใจมีการบีบตัว เพื่อปั้มเลือดออกจาก
หัวใจ ส่วนความดันตัวล่าง (diastolic) เป็นตัวเลขที่บอกให้ทราบถึงแรง ที่
เกิดขึ้นในระหว่างที่หัวใจมีการบีบตัว

ในคนหนุ่ม ที่มีความดันโลหิตสูง จะพบว่า ความดันโลหิตทั้งตัวบน และตัว
ล่าง (systolic & diastolic) จะเพิ่มสูงด้วยกัน
แต่พอผนังเส้นเลือดมีการแข็งตัวขึ้น (stiffen) จากอายุที่แก่ตัวขึ้น จึงเป็น
สาเหตุทำให้ความดันเฉพาะตัวบน (systolic) เพียงตัวเดียวสูงขึ้น ซึ่งอาจสูง
ขึ้นถึง 200 mmHg หรือ สูงกว่าในระหว่างที่มีการปั้มเลือดจากหัวใจ

ในกรณีที่คนไข้มี systolic pressure สูงขึ้น เป็นที่รู้กันว่า เป็นความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือด ดังนั้น การลดระดับความดันที่สูงลงมา
จึงเป็นเรื่องที่แพทย์เขาปฏิบัติกัน (Yale: Systolic hypertension in elderly)
ถือว่า เป็นคำแนะนำให้ทำการรักษา

จากหลักฐาน ชี้ให้เห็นว่า การรักษาคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงเฉพาะ
ตัวบน (systolic isolated hypertension) สามารถลดอุบัติการณ์ของโรค
สมองขาดเลือด (stroke) หัวใจถูกทำลายจากการขาดเลือด (heart attack)
และโรคหัวใจล้มเหลว (heart failure) ยิ่งเมื่อคนไข้เกิดมีโรคหัวใจด้วย
และมีอาการแสดงเกิดขึ้น เช่น เกิดมีอาการเจ็บหน้า จึงถือเป็นเรื่อง
สำคัญ ที่ต้องลดระดับความดันตัวบนให้ได้

สภาวะอย่างอื่น ที่เป็นผลมาจากความดันโลหิตสูงในคนสูงอายุ
เช่น หัวใจห้องล่างด้านซ้ายโต (lt. ventricular hypertrophy) หรือ
กล้ามเนื้อหัวใจโตขึ้น (hypertrophy) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหลัก ที่ทำหน้าที่
ปั้มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก
ด้วยการปั้มเลือด ต้านความต้านทานที่สูง นั้น คือ สาเหตุที่ทำให้หัวใจโต
ขึ้น และ กล้ามเนื้อหนาตัวขึ้น เหมือนพวกเล่นกล้ามทั้งหลายนั่นแหละ

การที่เราพบคนไข้รายใด มีหัวใจโตขึ้น หรือกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น มัน
เป็นเสมือนหนึ่งลางบอกเหตุให้ทราบว่า หัวใจของคนไข้รายนั้นกำลังจะแย่
ในอนาคตข้างหน้า ซึ่ง อาจลงเอยด้วยการเป็นโรคหัวใจล้มเหลว เพราะไม่
สามารถทำงานได้ตามปกติ

ในการรักษาความดันโลหิตสูง ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างด้านซ้าย ยาเป็น
เครื่องมือสำคัญต่อการรักษาภาวะดังกล่าว ซึ่ง โดยทั่วไปแล้ว มียาหลายตัว
ถูกนำมาใช้ในการรักษา เช่น ACE inhibitors, calcium channel blockers,
และ beta blocker...

โดยยาเหล่านี้ สามารถป้องกัน หรือบางทีทำให้หัวใจ
ที่โตขึ้นกลับเล็กลง ยา calcium channel blockers อาจช่วยทำให้กล้าม
เนื้อหัวใจ ในระหว่างการบีบตัว เกิดการผ่อนคลาย (relaxation) และหาก
การรักษาโรคความดันที่สูงขึ้นได้ผลดี สามารถทำให้ขนาดของหัวใจห้องล่าง
ด้านซ้าย ของคนที่ความดันสูง ลดลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง (50 %)

continued > Coronary Heart Disease

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น