วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

HEART RHYTHM 3 : RAPID HEART RHYTHM

HEART RHYTHM 3 : RAPID HEART RHYTHM
TACHYCARDIAS

การเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วผิดปกติ  ถูกแบ่งออกเป็นสองชนิด:
Supra-ventricular  tachycardias- เป็นพวกที่มีความผิดปกติ
ซึ่งเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อหัวใจห้องบน (atrial...) หรือเกิดขึ้นที่ หังใจห้องล่าง
Ventricular tachycardias

ทั้งสองกรณี  จะพบว่า  มีการเต้นของหัวใจเพิ่ม(extra)
หรือเต้นก่อนเวลาที่ควรจะเต้น (early beat)
ซึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  อาจทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเร็วเกินปกติ

โดยปกติ SA node จะทำหน้าที่ลิต และปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าได้ก็จริง
แต่ยังปรากกว่า  เซลล์กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ของหัวใจ  ก็สามารผลิตกระแสไฟฟ้าได้
แต่มันถูกสะกดด้วยพลังจาก SA node ไม่ให้เซลล์ส่วนอื่นผลิตเคลื่นแข่งได้
จนกว่า  จะมีมีเหตุการณ์บางอย่าง  เกิดขึ้น
เช่น  คลื่นกระแสไฟฟ้าจาก SA node ถูกบล๊อกเอาไว้  หรือถูกกระตุ้นมากไป
จึงเป็นเหตูให้เซลล์ส่วนอื่น ๆ ของกล้ามเนื้อหัวใจ  ได้โอกาสส่งคลื่น...บ้าง
เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจ  มีการเต้นเพิ่มขึ้น (extra beats) 
 
จากการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้น (extra beats)
หรือ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ  มีชื่อให้เรียกหลายชื่อ
เช่น  premature atrial contractions (PACs),  Atrial premature beats,
atrial ectopic beats,   หรือ atrial extrasystoles

แม้ว่ามันจะมีหลายชื่อก็ตามทีเถิด  เราจะพบเห็นในคนปกติไม่เป็นโรคอะไร
และไมมีอันตรายใด ๆ  แต่อาจทำให้คนที่มีถาวะดังกล่าว  มีอาการใจสั่น 
แลสามารถทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า  Supra-ventricular tachycardias 
ซึ่งมีคนเป็นจำไม่น้อยที่มีการเต้นของหัวใจชนิด
นี้แล้ว  จะไม่มีอาการรุนแรง 

 
ATRIAL FLUTTER AND FIBRILLATION

 
ภาวะ atrial flutter อาจเป็นผลมาจาก  extra หรือ early beat
กระตุ้น “ วงจรของคลื่นกระแสไฟฟ้า”  ซึ่งวิ่งอยู่รอบ ๆ หัวใจห้องบน 
ทำให้หัวใจห้องบนเกิดการบีบตัวถึง 250 – 350 ครั้งต่อนาที 
และ AV node มักจะถูกบล็อกเอาไว้ทุก ๆ
โดยที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องบนสองครั้ง  ต่อการบีบตัวหัวใจห้องล่าหนึ่งครั้ง
ทำให้จังหวะอัตราการเต้นได้ 125 – 175 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที  
ซึ่งสามารถวัดได้  โดยการตรวจวัดจากการคลำชีพจร

ภายในภาวะดังกล่าว  หัวใจสามารถปั้มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกาย
ได้นานหลายชั่วโมง  หรือได้หลายวัน  ถ้าคนไขมีโรคหัวใจร่วมด้วย 
เขาอาจมีความรู้สึกเจ็บหน้าอก  เป็นลมหมดสติ 
หรือ อาจลงเอยด้วยการเกิดภาวะหัวใจวาย 
มีคนไข้บางราย  พบว่า การบีบตัวของหัวใจห้องล่าง (ventricles)
อาจเต้นช้าลงได้  ถ้าเกิดมีการบล็อกคลื่นกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณ AV node
หรือ อาจเต้นเร็ว  ถ้าคลื่นที่ถูกสกัดเอาไว้ได้ไม่มาก 
หรือ ไม่ถูกกัดกั้นเลย

มีบางกรณี  คลื่นของหัวใจจาก SA node ไม่สามารถดำเนินไปตามวงจรตาปกติ 
แต่มันกระจายไปตามเส้นทางต่าง ๆ หลายเส้นทางมั่วไปหมด 
ย่อมเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ  สองห้องบน
มีการเต้นแบบสับสนไปเช่นกัน  โดยไรการคบคม 
เสมือนคนที่แตกตื่นหนีคลื่นยักษ์ “สินามิ” 
การเต้นของหัวใจแบบนี้  เรียก atrial fibrillation 
ซึ่ง มักจะปรากฏพบในคน  ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวสองห้องบนโต...จากโรคหัวใจ 
และ  มันสามารถยังเกิดในคนที่ไม่เป็นโรคหัวใจก็ได้

ใน atrial fibrillation จะทำให้หัวใจสองห้องบนเต้นด้วยอัตราสูงถึง 350 ครั้งต่อนาที  โดย  ไม่สามารถปั้มเลือดไปยังหัวใจห้องล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย
ถ้าเราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า  หัวใจสองห้องบนจะบบตัวแบบสั่นระริก
เหมือนอะไรสักอย่าง  เช่น ตัวแมลง หรือ ตัวหนอนที่อยู่ในกระป๋อง

ภายใต้ภาวะของ atrial fibrillation  จะทำให้การบีบตัวของหัวใจ
ของสองห้องล่างก็ไม่ปกติ    ซึ่งนอกจากจะเต้นเร็วแล้ว
มันยังเต้นในจังหวะที่ไม่สม่ำเสมออีกด้วย
มีคนตั้งคำถามว่า  ทำไมคนเสพยาจึงเสียชีวิตในขณะใช้ยาได้ ?
ในคนที่ใช้ยาเสพติด  เช่น amphetamine และ cocaine  และ
ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก  รวมถึงการอดหลับอดนอน สามารถทำให้
เกิด atrial flutter หรือ atrial fibrillation ได้

นอกเหนือจากนี้  คนไข้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ  โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน  โรคปอด
และ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ  สามารถทำให้เกิดภาวะ atrial flutter  และ atrial
Fibrillation ได้เช่นกัน

คนเป็น atrial flutter และ atrial flutter  มันอาจเกิดขึ้นได้
โดยที่คนไข้ไม่ทราบเลยว่าเขามีภาวะดังกล่าวก็ได้ 
คนไข้อาจมอาการใจสั่น,  เวียน  ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต 
และ ที่สำคัญ คนไข้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ยาวนาน 
โดยมีข้อแม้ว่า “มัน” จะต้องได้รับการควบคุม

แม้ว่าคนไข้ที่เป็นโรค Atrial flutter  และ artial fibrillation จะไม่เป็นอันตราย 
แต่ มันก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
นั้น คือ  มันสามารถทำให้เกิดมีสร้างก้อนเลือดในกระแสเลือดได้
เมื่อก้อนเลือด หรือ ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นหลุดไปตามกระแสเลือด 
ไปอุดตันเส้นเลือดในสมอง  ย่อมทำให้เกิดภาวะสมองถูกทำลาย (stroke) ได้

PAROXYSMAL SUPRAVENTRICULAR
TACHYCARDIAS (PSVTs)
เป็นการเต้นของหัวใจ  ที่เต้นเร็วผิดปกติ  มีการเต้นเร็ว 140 – 250 ครั้ง  ต่อนาที
ส่วนใหญ่เราจะพบในคนวัยหนุ่ม  และสามารถพบในคนวัยบั้นปลายได้
เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว  ย่อมก่อให้เกิดความรำคาญต่อคนไข้ 
แต่จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

PSCTs เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนไข้  ซึ่งเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติ 
โดยการมี “วงจรของคลื่นกระแสไฟฟ้า”  หรือ  “ทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้า” 
ระหว่างหัวใจห้องบน และ ล่าง  จัดเป็นวงจรกระแสไฟฟ้า  ที่เกิดเพิ่มขึ้น(extra circuit) โดย  มันจะปรากฏขึ้นใน Atrioventricular node (AV node) 
ซึ่งจะได้พบได้ประมาณ  1- 2  รายในจำนวนคนเกิด  1,000  คน  ถูกเรียกว่า  “ทางลัด “  (bypass tracts)  ซึ่งบางครั้งอาจพบทางลัด (วงจร) มากกว่าหนึ่งก็ได้  

ทางลัดวงจรดังกล่าว  อาจมีการเชื่อมต่อระหว่างหัวใจห้องบน (atria)  และ หัวใจ
ห้องล่างในตำแหน่งที่อยู่ห่างไกลจาก  AV node

PSVTs  อาจทำให้เกิดขึ้นด้วยการมี ectopic beats
ซึ่งเกิดจากที่ไหนสักแห่งในหัวใจห้องบน  หรือ หัวใจห้องล่าง 
ไปกระตุ้นให้เกิดมีการเต้นของหัวใจในรูแบบดังกล่าวขึ้น

VENTRICULAR ARRHYTHMIAS

คนไข้ที่เป็น ventricular arrhythmias จะมีความน่ากลัวกว่า 
คนที่เป็นโรค Supra-ventricular arrhythmias
ventricular arrhythmia  ส่วนใหญ่มักจะมีโรคหัวใจ
ซึ่งเป็นความผิดปกติทางด้านโครงสร้างโดนตรง 
ที่พบบ่อยได้แก่ premature ventricular contractions 
เป็นการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง  ก่อนกำหนด (early)
หรือมีการเกิดเพิ่ม (extra beats) 
ในคนปกติ  อาจพบภาวะดังกล่าวได้  โดยไม่มีอันตรายใด ๆ
แต่อาจมีอันตราย  ถ้าเกิดในคนที่มีโรคหัวใจ (unhealthy heart)  
เพราะในลางสถานะการณ์  มันอาจเปลี่ยนไปเป็น ventricular fibrillation  และ ตายภายในเวลา 3 – 4  นาที

อ่านต่อ  กด  4 :  HEART RHYTHM : Diagnosis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น