เป็นที่กล่าวกันว่า การสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี
โดยตัวของมันเอง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และหากคนสูบ มีปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจด้วย
ยิ่งจะทำให้ผลที่เกิดจากบุหรี่มีมากขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง,ไขมัน cholesterol สูง,
HDL cholesterol ต่ำ, น้ำหนักตัวเพิ่ม ,และ มีประวัติของครอบครัวมีคนเป็นโรคหัวใจ
อย่างที่กล่าว เมื่อมีการสูบบุหรี่ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นดังกล่าวแล้ว
นอกจากจะททำให้คนสูบบุหรีติดบุหรี่แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคหัวใจ สูงเป็น 2 - 3 เท่า
มีการกล่าวกันว่า การสูบ (คาบ)ไปป์ จะมีความเสี่ยงต่อการโรคได้น้อยกว่าการสูบบุหรี่มาก
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะ คนสูบไปป์ เขาจะพ่นควันออกมากกว่าสูดเข้าปอด
จึงทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มีไม่มากเท่าคนสูบบุปรี่
สำหรับคนที่สูบบุหรี่มาก่อน พอเปลี่ยนเป็นสูบไปป์แทน
ปรากฏว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ไม่ได้ลดลงเลยลดลง
ท่านทราบไหมว่า....ทำไม ?
คนสูบบุหรีมาก่อน พอเปลี่ยนเป็นคาบไปป์ จะมีลักษณะที่แตกต่างจากคนที่สูบไปป์มาแต่ต้น
โดยเราจะสังเกตุเห็นว่า เขาคาบไปป์ พร้อมกับสูบควันเข้าปอด เหมือนกับการสูบบุหรีไม่มผิด
จึงเป็นเหตุให้เขาได้รับสารพิษเข้าเต็มปอด เหมือนกับการสูบบุหรี่ทุกประการ
และนั่น คือเหตุผลที่ทำให้อัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจยังสูงอยู่เช่นเดิม
เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนบุหรี่ธรรมดาไปเป็นชนิดที่มี “นิโคตีนต่ำ”
หรือ บุหรี่ที่มีก้นกรอง (filter) ก็ไม่ปรากฏว่า การสูบบุปรี่ชนิดดังกล่าว
ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูงเช่นเดิม
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
ในบุหรี่ ปรากฏว่า มีสารหลายอย่าง (ประมาณ 4,000 ชนิด)
ที่สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ นิโคตินก็เป็นตัวเดียวเท่านั้นเอง
ดังนั้น การกรองเอานิโคตินออกไป ก็ยังเหลือสารชนิดอื่นอีกตั้งเยอะแยะ
ที่สามารถททำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้
นอกจากนั้น ยังพบอีกว่า คนที่สูบบุหรี่ก้อนกรอง ส่วนใหญ่มักจะสูดควันเข้าเต็มปอด
ทุ่กครั้งที่มีการสูบบุหรี่ ดังนั้น จึงทำให้สารที่เป็นอันตรายต่อการเป็นโรคหัวใจ
ถูกสูดเข้าปอดไปในปริมาณสูง
การสูบบุหรี่กับเรื่องเพศ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นโชคของคนไทยที่พบว่า
สตรีเพศ มีการสูบบุหรี่น้อยกว่าเพศชายมาก เมื่อเทียบกับพวกฝรั่ง
ที่พอพบเห็น ก็มีเฉพาะในพวกไฮโซ...เพียงบางส่วนเท่านั้น
ส่วนในอเมริกา ปรากฏว่า สุภาพสตรีมีการสูบบุหรี่กันเพิ่มขึ้นมากเรืรอย ๆ
ดูเหมือนว่า จะมากพอ ๆ กับเพศชายแล้ว (สถิติปี 1990)
เมื่อสุภาพสตรีสูบบุหรี่มากขึ้นนั้น จึงทำให้เกิดมีอัตราการตาย
ที่กิดจากโรคมะเร็งปอด มีมากกว่าอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมเสียอีก
นอกจากนั้น ยังพบอีกว่า อัตราการเกิดโรคหัวใจในสตรีที่สูบบุหรี่ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
มีการกล่าวกันว่า จากการสูบบุหรี่ (สตรี) พบว่า บุหรี่จะมีผลกระ
ทบต่อการผลิตฮอร์โมน estrogen รวมถึง “เมทตาบอลิซึม” ของมัน
ที่สำคัญ บุหรี่สามารถลดพลังตามธรรมชาติในการปกป้องไม่ให้เกิดโรคเส้นเลือดแข็ง
(atherosclerosis) เป็นเหตุให้สตรีที่สูบบุหรี่เกิดโรคดังกล่าวได้เร็วกว่าปกติ
นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่า สตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิดซึ่งมี estrogen ในขนาดสูง
จะเพี่มอันตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดในสตรีที่ส์บบุหรี่
โดยเฉพาะในสตรีที่มีอายุมากว่า 35
อ่านต่อ...กด 2 : Smoke and atherosclerosis
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น