วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการทำงานของตับ 1 (The Physiology of the Liver)



July 6, 2013

สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ค่อยได้ใช้คำว่า physiology ซึ่งแปลเป็นไทยเขา
แปลว่า สรีรวิทยา หรือ สรีรศาตร์ เขาหมายถึง กระบวนการทำงานของ
อวัยวะต่างในร่างกายของสิ่งที่มีชีวิต...
การทำงานของตับ (Liver Function)

เป็นที่ทราบกันว่า...
ตับของคนเราจะได้รับเลือดจากหัวใจถึง 30 % และเป็นอวัยวะสำคัญ
ในบทบาทสำคัญในกระบวนการณ์ทางปฏิกิริยาทางเคมีที่มีในร่างกายของมนุษย์เรา 
และปฏิกิริยาเคมีดังกล่าว ถูกเรียกว่า “เมทตาบอลิซึม”
ซึ่งจัดเป็นศูนย์กลางของการสร้างภาวะสมดุลให้เกิดขึ้นภายในร่างกาย
(homeostasis)

เซลล์ของตับ มีชื่อเรียกว่า hepatocytes…
ภายในเซลล์ จะมีเอ็นไซม์ที่สำคัญต่อการด้านเมทตาบอลิซึมเป็นจำนวนหลายพันตัว
ทำหน้าทีระดับเซลล์ ซึ่งมีความมหัศจรรย์ที่สุดในโลก

สารต่าง ๆ ที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาทางเคมี (metabolites) ภายในตับ
จะมีทั้งคุณประโยชน์ และโทษอย่างมาก
ตับทำหน้าที่เหมือนคลังเสบียงอาหาร และสารที่ประโยชน์หลายอย่างรวมถึงการทำลายสารพิษ (detoxify) หรือสลายสารเป็นโทษ
ให้หมดฤทธิ์ ต่อจากนั้น มันจะถูกขับออกจากร่างกายทางตับทางน้ำดี
และปัสสาวะ หรือทางอื่น ๆ

Nutrient Metabolism

ตับของคนเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับเผาผลาญสารอาหาร (metabolism of nutrients)
โดยที่ตับจะรับสารจากระบบการย่อยอาหารในรูปของน้ำตาล
Glucose, amino acids และ fatty acids และ glycerol

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (metabolism) ของอาหารประเภทแป้ง (Carbohydrate),
 ไขมัน (fats), และโปรตีน (Protein)
จะเกิดขึ้นที่ตับ แม้ว่าการทำงานโดยเฉพาะจะเกิดขึ้นโดยกล้ามเนื้อ
และไขมันสะสม (fat depots) ก็ตาม
และ สารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง (end products) มักจะสะสมในตับ

เซลล์ของตับ (hepatocytes) จะจัดการกับสารอาหารแต่ละอย่างก็ต่อเมื่อ
สารอาหารที่มีอยู่ในร่าง มีปริมาณในระดับที่มาก
หรือมีระดับที่ต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการ โดยเซลล์ตับจะปฏิบัติการณ์ด้าน
เมทตาบอลิซึมตามนั้น
Carbohydrate

น้ำตาล “กลูโกส” เป็นพลังงานหลักของเซลล์ทั้งหลายที่มีอยู่ในร่างกาย
ของคนเรา และระดับของมันจะต้องอยู่ในระดับคงที่โดยตลอด
ซึ่งเป็นหน้าที่ของตับ จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลกลูโกสในกระแสเลือด
ด้วยการตอบสนองต่อระดับฮอร์โมนสองตัว คือ insulin และ glucagon

ภายหลังรับประทานอาหาร...
น้ำตาลกลูโกส จะเข้าสู่ตับ และระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น
ในภาวะที่น้ำตาลเลือดสูง ตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนให้เป็น glycogen เพื่อ
สะสมเอาไว้ โดยกระบวนการของตับที่เราเรียกว่า gluconeogenesis

ในทางตรงกันข้าม หากน้ำตาลในกระแสเลือดมีระดับต่ำไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการ (พลังงาน) ของเซลล์ จะมีกระบวนโดยกระบวนที่เรา
เรียก glycolysis ซึ่งเป็นกระบวนการณ์ทีเกิดขึ้นภายในเซลล์ทุกเซลล์
ในร่างกายของคนเรา

ในระหว่างเวลาท้องว่าง...
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะลดต่ำลง
เซลล์ของตับ (hepatocytes) สามารถตรวจพบความเปลี่ยนแปลงของ
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ และเป็นหน้าทีของเซลล์ตับดังกล่าว
จะทำให้ระดับน้ำตาลกลับสู่ระดับปกติ ด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยทำให้ glycogen เปลี่ยนเป็นน้ำตาล
เรียกกระบวนการดังกล่าวว่า glycogenolysis หรือทำหน้าที่เปลี่ยนสารที่
ไม่ใช้น้ำตาล (non-sugars) เช่น amino-acids ให้เป็นน้ำตาล
เรียกกระบวนการดังกล่าวว่า gluconeogenesis


>> Next

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น