วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Chronic Kidney Disease and End Stage Renal Disease


Jun 28,2013

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า...
ไต (kidneys)ของคนเรา มีหน้าที่ทำความสะอาดเลือด,
รักษาความสมดุลของน้ำที่อยู่ในร่างกาย โดยการขับเอาน้ำส่วนเกิน 
และของเสียออกจากร่างกายไป 
นอกจากนั้น ไตยังทำหน้าที่รักษาระบบกระดูกให้คงอยู่ในสภาพสมบูรณ์
และมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงให้แก่คนเราด้วย 

ไตที่บกพร่อง (impaired function) ในการทำงาน 
ย่อมเป็นบ่อเกิดของปัญหาทางสุขภาพ และอวัยวะหลายอย่าง 
และเป็นตัวกำหนดให้สูญเสียค่าใช้จ่าย และ
มีผลกระทบต่อสถานภาพทางสังคมของเขาด้วย

สาเหตุสำคัญที่สุด ซึ่งทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ที่พบในคนวัยผู้ใหญ่
ได้แก่ โรคเบาหวาน (diabetes)  และความดันโลหิตสูง (hypertension)
โดยโรคทั้งสองสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา (medication) 
และผลของการใช้ยารักษาโรคดังกล่าว ถ้าสามารถควบคุมโรคได้ดี...
ย่อมสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ได้

สำหรับโรคไตเรื้อรังในเด็กมีความแตกต่างกันตามอายุของเด็ก...
เด็ก...ตั้งแต่วัยแรกเกิด ถึงวัยรุ่น มีสาเหตุจาก “ถุงน้ำ” (cystic) ในไต,
ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติแต่กำเนิด

ส่วนเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 19 ปี....
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง (CKD) ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากโรคการอัdเสบ
ของไต- glomerulonephritis

o   จากสถิตของคนอเมริกา....
   มีคนป่วยเป็นเบาหวานมากกว่า 25 ล้านคน, เป็นโรคความดันโลหิตสูง 
   ถึง73 ล้านคน และทุกคนที่เป็นโรคดังกล่าว ต่างมีความเสี่ยง
   ต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังได้ทั้งนั้น
   
   จากข้อมูลดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์กับคนไข้ทุกคนที่เป็นโรคทั้งสอง
   ไม่ว่าเขาจะอยู่ทีไหน ต่างมีโอกาสเกิดโรคไตเรื้อรังได้ทั้งนั้น

o   คนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง สามารถก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้หลายอย่าง 
   เช่น โรคโลหิตจาง, ภาวะแทรกซ้อนทางหั้วใจ, โรคกระดูกบาง, 
   และความตาย

o   แนวทางป้องกัน หรือลดภาวะแทรกซ้อนต่างในคนที่เป็นโรค CK 
  ได้แก่ การจัดแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ เป็นต้นว่า โรคเบาหวาน, 
  โรคความดันโลหิตสูง ให้เขาได้รับการรักษาที่เหมาะสม

   ความบกพร่องในการทำงานของไตจากการเป็นโรคไตรเื้อรัง...
   สามารถทำให้ระดับของฮอร์โมน erythropoietin ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้
  ไขกระดูก (bone marrow) สร้่างเม็ดเลือดแดงลดน้อยลง 
   ดังนั้น การให้สารที่เป็นฮอร์โมนตัวดังกล่าว 
   ย่อมทำให้ภาวะเลือดจางของคนไข้ดีขึ้นได้
   
   หากไม่ทำการรักษาภาวะโลหิตจาง...
   โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจมีได้สูง

o   ในคนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ซึ่งไม่ได้รับการรักษา...
   สามารถเปลี่ยนแปลงสู่ระยะสุดท้าย end stage renal disease (ESRD)
   ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้น  คนไข้จะต้องได้รับการฟอกเลือด (dialysis) อย่างสม่ำเสมอ 
   เพื่อกำจัดเอาของเสีย (wastes) ออกจากกระแสเลือด
   และ/หรือ รอการผ่าตัดเปลี่ยนไต (renal transplantation)


Source

 Annual data report. Retrieved from www.usrds.org/adr.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น