Jun 29,2013
ในการรักษาโรคไตเรื้อรัง (CKD)
คนไข้อาจได้รับการรักษาในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
ในปลายปี 2008 (สหรัฐฯ) ได้รายงานเกี่ยวกับการรักษาคนไข้โรคไตเรื้อรังเอาไว้ว่า
มีคนไข้ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด (hemodialysis center)ที่ศูนย์ฟอกเลือด 64 %,
มีคนไข้ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด (hemodialysis center)ที่ศูนย์ฟอกเลือด 64 %,
ทำการฟอกเลือดที่บ้าน (home hemodialysis) น้อยกว่า 1 %,
และทำการฟอกเลือดด้วยวิธีใส่น้ำยาลงในช่องท้อง (peritoneal dialysis) 5 %,
และได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต (transplantation) 30 %
และทำการฟอกเลือดด้วยวิธีใส่น้ำยาลงในช่องท้อง (peritoneal dialysis) 5 %,
และได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต (transplantation) 30 %
การฟอกเลือด (Hemodialsis)
การฟอกเลือด หรือ hemodialysis เป็นวิะธีการกำจัดเอาสารที่เป็นพิษ และน้ำส่วนเกิน
ออกจากร่างกาย โดยให้เลือดของคนไข้ไหลเวียนออกจากร่าง ให้ไหลผ่านเครื่องมือ
ซึ่งทำหน้าที่เสมือนการทำงานของไต หรือบางที่เราเรียกว่า dialyzer
ออกจากร่างกาย โดยให้เลือดของคนไข้ไหลเวียนออกจากร่าง ให้ไหลผ่านเครื่องมือ
ซึ่งทำหน้าที่เสมือนการทำงานของไต หรือบางที่เราเรียกว่า dialyzer
โดยทั่วไปเล้ว จะมีการฟอกเลือดด้วยวิธีดังกล่าวอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง
แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง
นอกจากการฟอกเลือดตามปกติแล้ว ยังมีวิธีการฟอกเลือดที่แตกต่างออกไป...
เป็นต้นว่า มีการเพิ่มระยะเวลาการฟอกเลือดให้ยาวนานออกไป ซึ่งเป็นการลจำนวนครั้ง
หรือจำนวนวันลง หรือทำการฟอกเลือดในตอนกลางคืนขณะคนไข้นอนหลับ
โดยไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
ปรากฏว่า ได้รบความนิยมจากคนไข้มากขึ้น
หรือจำนวนวันลง หรือทำการฟอกเลือดในตอนกลางคืนขณะคนไข้นอนหลับ
โดยไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
ปรากฏว่า ได้รบความนิยมจากคนไข้มากขึ้น
วิธีการฟอกเลือดสามารถกระทำที่บ้านของคนไข้เอง...
โดยคนไข้ และผู้ช่วยเหลือ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสามี หรือภรรยาของคนไข้เอง
ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากแพทย์มาเป็นอย่างดี ทำให้คนไข้สามารถทำการฟอกเลือด
ที่บ้านของตนเองได้อย่างปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาล
ที่บ้านของตนเองได้อย่างปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาล
นอกจากนั้น ยังมีการการฟอกเลือดระยะสั้น ๆ (short daily hemodialysis)…
การฟอกเลือดแบบนี้ คนไข้จะได้รับการฟอกเลือด 5 – 6 ครั้ง ต่อหนึ่งอาทิตย์
ในการฟอกเลือดแต่ละครั้ง จะใช้เวลาสั้น ๆ 1.5 ถึง 3.5 ชั่วโมง
ในการฟอกเลือดแต่ละครั้ง จะใช้เวลาสั้น ๆ 1.5 ถึง 3.5 ชั่วโมง
ด้วยวิธีการโดยการแบบนี้ จะทำให้คนไข้รู้สึกดีกว่าการฟอกเลือดตามรูปแบบมาตรฐาน
(สามครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์)
ในระหว่างการรักษาด้วยการฟอกเลือด....
คนไข้จำเป็นต้องได้รับยารักษา (medications) เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต,
ภาวะเลือดจาง, และโรคกระดูก และสามารถรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องจำกัดมากนัก
การฟอกเลือดโดยผ่านช่องท้อง (Perioneal dialysis):
เป็นการฟอกเลือดโดยผ่านช่องท้อง (Abdominal cavity)
โดยให้เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ทำหน้าที่กำจัดเอาของเสืียออกจากร่างกาย
ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้สายยางเล็ก ๆ สอดเข้าไปในช่องท้อง
พร้อมกับใส่น้ำยาปราศจากเชื้อ (sterile dialysate) เข้าไป
แล้วทำการปล่อยน้ำให้ละบายออกทิ้ง
วิธีการฟอกเลือดด้วยการล้างช่องท้อง บางที่เขาเรียกว่า "exchange"
โดยให้เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ทำหน้าที่กำจัดเอาของเสืียออกจากร่างกาย
ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้สายยางเล็ก ๆ สอดเข้าไปในช่องท้อง
พร้อมกับใส่น้ำยาปราศจากเชื้อ (sterile dialysate) เข้าไป
แล้วทำการปล่อยน้ำให้ละบายออกทิ้ง
วิธีการฟอกเลือดด้วยการล้างช่องท้อง บางที่เขาเรียกว่า "exchange"
ในการฟอกเลือดด้วยวิธีการผ่านช่องท้อง (PD)…
ปรากฏว่า มีให้เลือกหลายรูปแบบ ที่กระทำกันบ่อยที่สุด คือ การปล่อยให้น้ำยาไหล
เข้าสู่ท้องตลอดเวลาที่คนไข้เคลื่อนไหว (continuous cycling PD)
เข้าสู่ท้องตลอดเวลาที่คนไข้เคลื่อนไหว (continuous cycling PD)
ซึ่งสามารถกระทำได้ 4 – 5 ครั้ง (exchanges) ต่อวัน
การฟอกเลือด อาจกระทำในตอนกลางคืน (nocturnal hemodialysis)
ส่วนใหญ่จะกระทำที่ศูนย์ฟอกเลือด โดยกระทำที่ศูนย์ในขณะที่คนไข้นอนหลับ,
ซึ่งใช้เวลา 8 ชั่วโมงเท่ากับเวลาที่คนไข้นอนหลับพักผ่อน อาทิตย์หนึ่งทำ 3 – 4 ครั้ง
ซึ่งใช้เวลา 8 ชั่วโมงเท่ากับเวลาที่คนไข้นอนหลับพักผ่อน อาทิตย์หนึ่งทำ 3 – 4 ครั้ง
วิธีฟอกเลือดในตอนกลางคืนขณะคนไข้นอนหลับ...
เป็นวิธีที่ทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้น อยากรับประทานอาหาร มีพละพลังเพิ่มขึ้น
และทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีผลอันไม่พึงประสงค์น้อยมาก
โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ หรืออาหารมากนัก
ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนไต (kidney transplantation)
เป็นวิธีการรักษามากกว่าที่จะเป็นการรักษาโรคไตเรื้อรัง
เป็นวิธีการรักษามากกว่าที่จะเป็นการรักษาโรคไตเรื้อรัง
เป็นการรักษาที่ไม่รีบด่วน (elective) มากกว่าที่จะเป็นการผ่าตัดฉุกเฉิน (emergency)
เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ และตามหลักทางการแพทย์แล้ว การผ่าตัดเปลี่ยนไต
ไม่ใช้วิธีที่คนไข้ (CKD) ทุกคนสามารถที่จะได้รับ
มีคนไข้บางราย มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ และตามหลักทางการแพทย์แล้ว การผ่าตัดเปลี่ยนไต
ไม่ใช้วิธีที่คนไข้ (CKD) ทุกคนสามารถที่จะได้รับ
มีคนไข้บางราย มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ไม่สามารถได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น