การรักษา (Treatment )
ในการรักษาโรคข้อกระดูกพรุนของท่านนั้น แพทย์จะพิจารณาเป็นต้นว่า:
อายุของท่าน, สุขภาพโดยรวม และประวัติการเป็นโรคของท่าน
ขอบเขต หรือความรุนแรงของโรคของท่าน
ความสามารถที่จะทน (tolerance) ต่อการใช้ยา หรือ วิธีการรักษาเป็นการเฉพาะหรือไม่
ความคาดหวังต่อช่วงเวลาของการเกิดโรค
ความต้องการ หรือความพอใจของท่านเอง
โดยทั่วไป การรักษาโรคกระดูกพรุน จะโฟกัสไปที่ การลดความเจ็บปวดที่เกิดจากโรค,
ป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกแตกหัก, ทำให้การสูญเสียมวลกระดูกลดลง
มีวิธีการบางอย่าง ถูกนำมาใช้รักษาโรคกระดูกพรุน
ซึ่งสามาราถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกพรุนเพิ่มเกิดได้อีกด้วย เช่น:
คงสภาพน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
เพิ่มเวลาในการเดินให้มากขึ้น และออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักเป็นประจำ
ลดการดื่มกาแฟ และแอลกอออล์
หยุดการสูบบุหรี่
รับประทานแคลเซี่ยมให้พอ (อาหาร และอาหารเสริม) และ vitamin D
ก็มีความจำเป็น เพราะมันช่วยทำให้แคลเซี่ยมถูกดูดซึมได้ง่าย
ป้องกันไม่ให้คนสูงอายุหกล้ม (ยกตัวอย่าง การติดตั้งราว หรือเครื่องช่วย
ในการเดินในห้องน้ำ...)
ปรึกษาแพทย์เรื่องยารักษา
FDA ได้ยอมรับให้ใช้ยาต่อไปนี้เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุนในสตรีหลังหมดประจำ
เดือน เพื่อคงสภาพให้กระดูกของเขาอยู่ในสภาพที่ดี:
Estrogen replacement therapy (ERT) และ Hormone replacement
Therapy (HRT).
ERT ได้รับการพิสูจน์ว่า มันสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกได้,
ลดความหนาแน่นของกระดูก, และลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก
ของข้อสะโพก, กระดูกสันหลังของสตรีหมดประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม สตรีที่สมควรได้รับการรักษาด้วย ERT ควรได้รับคำแนะนำ
จากแพทย์เสียก่อน เพราะจากรายงานของ The National Heart, Lung,
And Blood of the National Institutes of Health ได้กล่าวว่า...
การรักษาด้วย ERT มีความเสี่ยงต่ออันตรายได้มากกว่าประโยชน์ที่พึงได้รับ
Alendromate sodium (Fosamax). ยาตัวนี้อยู่ในกลุ่มที่มีชื่อว่า Bisphosphonates,
เป็นยา ซึ่งสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูก (bone loss), เพิ่มความหนาแน่น
ของมวลกระดูก (bone density), และลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก
Risedromate sodium (Actonel). เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
กับ Alendromate sodium และมีผลต่อกระดูกเช่นเดียวกัน
Ibandromat sodium (Boniva). เป็นอีกหนึ่งตัวที่อยู่ในกลุ่ม bisphosphonate
ซึ่งใช้ (กิน) เดือนละครั้ง สามารถชะลอไม่ให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก,
และอาจเพิ่มมวลกระดูกขึ้นได้
Raloxifene (Evista). เป็นยากลุ่มที่ผลิตขึ้นใหม่ ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่เราเรียกว่า
selective estrogen receptor modulators (SERMs) ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้เกิด
การสูญเสียมวลกระดูก
Parathyroid hormone (Forteo). เป็นรูปแบบหนึ่งของ parathyroid hormone ,
teriparatide, ได้รับการยอมรับให้ใช้รักษาโรคกระดูกพรุนของสตรีหมดประจำเดือน
และชาย ซึ่งมีความเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักสูง เป็นยาที่ช่วยสร้างกระดูกได้ด้วย
Denosumab (Prolia, Xgeva).ยาตัวนี้ เป็น monoclonal antibody ใช้ฉีดใต้ผิวหนัง
ได้รับการยอมรับให้ใช้รักษาสตรี่ที่เป็นโรคกระดูกพรุน
ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแตกหักสูง ตลอดรวมถึงใช้รักษารักษาสตรี
ที่มีกระดูกอ่อนแอจากการรักษามะเร็ง
กายภาพบำบัด (Rehabilitation)
โปรแกรมของกายภาพบำบัดสำหรับท่านที่เป็นโรคกระดูกพรุน
จะถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนแต่ละราย โดยขึ้นกับปัจจัย
หลายอย่าง เป็นต้นว่า ชนิด และความรุนแรงของโรค, ความร่วมมือของคนไข้,
รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัวของคนไข้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของการรักษา
เป้าหมายของกายภาพบำบัด...
คือช่วยให้คนไข้ได้ฟื้นตัวสู่ระดับที่สามารถทำงานได้สูงสุด ช่วยเหลือตัวเองได้
ไม่ต้องพึ่งพาใคร หรือเป็นภาระของคนอื่นให้น้อยที่สุด
จุดสำคัญของกายภาพบำบัด จะช่วยลดความเจ็บปวด, ป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกแตกหัก,
และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกเพิ่มขึ้น
เพื่อให้กายภาพบำบัดบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
โปรแกรมการรักษาอาจประกอบด้วย:
มีโปรแกรมการออกกำลังกาย และทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วยการลงน้ำหนัก
(weight bearing) เช่น การเดิน และทำให้ร่างกายแข็งแรง (physical fitness)
เทคนิคการลดความเจ็บปวด (pain management techniques)
ปรึกษานักภาชนาการ เพื่อทำให้ร่างกายได้รับแคลเซี่ยม และ vitamin D
เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ และแอลกอฮอล์
ใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อความปลอดภัยช่วยป้องกัน รวมถถึงให้การศึกษาแก่
สมาชิคในครอบครัว เพื่อปัองกันไม่ให้เกิดการหกล้ม
ทีมงานของการยภาพบำบัด (Rehabilitation Team)
ในการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยกายภาพบำบัด สามารถกระทำในโรง
พยาบาล หรือเป็นคนไข้ไปกลับ (out-patient basis) โดยอาศัย
บุคคลที่มีความชำนาญหลายสาขา ด้วยการทำงานเป็นทีม ซึ่งประ
กอบด้วย:
- ศัลยแพทย์โรคข้อกระดูก (Orthopedist)
- แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physiatrist)
- อยุรแพทย์ (Internists)
- พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Nurse)
- นักโภชนาการ (Dietitian)
- นักกายภาพบำบัด (Physical therapist)
- นักสังคมสงเคราะห์ (Social workers)
- นักจิตวิทยา (Psycologist)/ จิตแพทย์ (Psychiatrist)
- นันทนากร (Recreational therapist)
- อนุศาสนาจารย์ (Chaplain) และ
- นักกิจกรรมบำบัด (Vocational therapist)
<< Prev.
Source:
• Hopkinsmediciene
• Merchmanual
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น