วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) 1
July 20, 2013
คุณยายอายุ 75
มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง พร้อมกับบ่นว่า
มีอาการปวดหลังมานาน มาพบแพทย์คราใด ก็ได้รับการบอกกล่าวว่ามันเป็นโรคของคนวัยชรา เป็นโีึรคกระดูกพรุน...
ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้หรอก...
Go to link...: www.mdguidlines.com
โรคกระพรุนเป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (metabolsim)
ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง เป็นเหตุให้กระดูกเกิดความอ่อนแอ และเปราะเ
ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย
Go to link: www.physioworks.com.au
เมื่อมวลของกระดูกลดลง ย่อมทำให้เกิดความอ่อนแอ และเกิดความเเปราะ
มีความเสี่ยงต่อการเกิดแตกหักได้ง่าย ซึ่งเราจะพบกระดูกทีีเกิดการแตกหัก ได้บ่อย
ในตำแหน่งที่เป็นกระดูกสันหลังส่วนทรวงอก และระดับบั้นเอว,
กระดูกข้อมือ, และกระดูกสะโพก
คนที่เป็นโรคดังกล่าว อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดอย่างเฉียบพลัน
หรืออาจมาด้วยอาการปวดหลังเรื้อรังอย่างใดอย่างหนึ่ง
การป้องกัน:
เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดกระดูกพรุนได้ด้วยการรับประทา Ca และ vitamin D
ในปริมาณเพียงพอ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงจากการหกล้ม
และรับประทานยารักษาเพื่อคงสภาพความแข็งแรงของกระดูก
หรือกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น...
คนชนิดใดเป็นโรคกระดูกพรุน ?
จากสถิตของสหรัฐฯ...
พบว่า สตรีมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าเพศชาย
โดยส่วนใหญ่จะพบในวัยมากกว่า 50
จากสถิติมีคนเป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)ประมาณ 10 ล้านคน
และเป็นโรคกระดูกที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าปกติ (osteopenia) ประมาณ 34 ล้านคน
ซึ่งคนกลุ่มนี้ มีโอกาสเกิดเป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)ได้ในตอนหลัง
สาเหตุที่พบโรคในสตรีมากกว่าชาย...
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสตรีสูงอายุอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมน (estrogen)
จากสถิติมีรายงานเอาไว้ว่า ในสตรีที่หมดประจำเดือนผ่านไปได้ นาน 5 – 7 ปี
มีโอกาสสูญเสียมวลกระดูกได้ถึง 20 %
ปัจจัยเสี่ยง (Risk factors)
มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคกระูดูกพรุนเช่น:
อายุ (Aging). ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงตามอายุที่สูงวัยขึ้น
เชื้อชาติ (Race). สตรีชนชาวผิวขาว และคนเอเชีย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด
น้ำหนักตัว (Body weight). ความอ้วน (obesity) มักมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความ
หนาแน่นของมวลกระดูก ดังนั้นคนที่น้ำหนักน้อย และในคนที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย
มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน
ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิต (Lifestyle factors). พฤติกรรมต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ
การเกิดกระดูกพรุน:
o ไม่ค่อยออกแรง (physical inactivity)
o ดื่มกาแฟ (Caffeine)
o ดื่มแอลกอฮอล์มาก (Excessive alcohol use)
o สูบบุหรี่ (Smoking)
o ขาดธาตุแคลเซี่ยม (Ca) และ vitamin D
ยาบางชนิด (Certain medications) เช่น steroids...
ประวัติทางครอบครัวเป็นโรคกระดูก (Family history of bone disease)
>> Next
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น