วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Osteoporosis Medications (Bisphosphonates) in Lupus

July 10,2013

มีคำถามจากชายผู้สูงวัยท่านหนึ่ง...
ผู้ซึ่งมีลูกสาวเป็นโรคลูปัส เกิดความสงสัยว่า
ทำไมลูกสาวของเขาจึงได้รับยาในกลุ่ม bisphosphonates ?

ยาในกลุ่ม Bisphosphonates เช่น risedromate (Actonel), alendronate (Fosamax), 
ibandronate (Boniva), zoledronic acid (Reclast), และ pamidronate (Aredia) 
ต่างถูกนำไปในใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)
หรือโรคกระดูกเปราะบาง โดยเกิดขึ้น เมื่อกระดูกสูญเสียธาตุแคลเซี่ยมและแร่ธาตุตัวอื่นๆ ไป 
เป็นเหตุให้กระดูกไม่แข็งแกร่งเหมือนปกติ

โรคกระดูกพรุน...
สามารถนำไปสู่การเกิดกระดูกแตกหัก, ทำให้เกิดอาหารปวดกระดูก, รูป
ร่างเตี้ยลง (short stature) ซึ่งทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศใด  เมื่อมีอายุสูงวัยขึ้น
ต่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้ โดยเฉพาะสตรีหลังหมดประจำเดือน
จะมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้สูง

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาพบว่า...
คนไข้ทีเป็นโรค “ลูปัส” (SLE) มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูงขึ้น 
ทั้งนี้เป็นเพราะโรคลูปัส โดยตัวของมันเอง จะทำให้เกิดการอักเสบ และ
นอกจากนั้น มียาบางอย่างที่ใช้รักษาโรคลูปัส  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
กระดูกพรุนอีกด้วย โดยเฉพาะ corticosteroids เช่น prednisone

How Do Bisphosphonates Work?

กระดูกของมนุษย์เรามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ (remodeling) อยู่ตลอดเวลา
โดยกระบวนการ ซึ่งมีการกำจัดเอาเซลล์กระดูกเก่าออกทิ้งไป
และทดแทนด้วยเซลล์ตัวใหม่ (ตายมากกว่าเกิด)

ในคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน...
เราจะพบว่า กระดูกจะสูญเสียแร่ธาตุ (bone minerals)ได้เร็วกว่าที่มันจะมัน
จะสร้างขึ้นใหม่ และยา Bisphosphonates จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้เสียแคลเซี่ยม 
และแร่ธาตุอื่น ๆ ด้วยการชะลอ หรือยุติกระบวนการตามธรรมชาติ
ไม่ให้มีการสูญเสียเนื้อกระดูกไป

ผลที่เกิดจากฤทธิ์ของ ฺBisphosphonates...
จะทำให้กระดูกอยู่ในสภาพแข็งแรงเหมือนเดิม

ถ้าท่านเป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ยากลุ่มนี้จะช่วยชะลอกระดูกของ
ท่านไม่ให้เกิดเปราะบาง และช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเกิดการแตกหักได้

ความเป็นจริงมีว่า...
ยา alendronate (fosamax) และ reisdronate (Actonel) สามารถลดความ
เสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกสันหลังได้ถึง 50 %
นอกจากนั้น จากการใช้ยาดังกล่าว ยังสามารถลดการแตกหักของกระดูกใน
บริเวณอื่นได้ถึง 30 -49 %

คำถาม...
เราจะต้องใช้ยาขนาด (dose)เท่าใด และฉันควรต้องระวัง อะไรบ้าง
ในขณะที่กินยา ฺBisphosphonates ?

ส่วนใหญ่แล้ว จะเห็นว่า ยาทุกตัวที่อยู่ในกลุ่ม Bisphosphonates จะใช้
(กิน) ระหว่างอาทิตย์ ถึงเดือนละหนึ่งครั้งเท่านั้นเอง
และยาทุกตัวจะออกมาในรูปของเม็ด (tablet) มียกเว้นตัวเดียวเท่านั้น คือ
Zolidronic acid (Reclast) ซึ่งต้องให้ทางเส้นเลือด (IV)
โดยให้ปีละหนึ่งครั้ง โดยทั้งหญิง และชายอาจใช้ Bisphosphonates
ได้ทั้งสองเพศ

ในการใช้ยาดังกล่าว ท่านจะต้องกินยาในตอนเช้า พร้อมกับน้ำเต็มแก้ว
อย่างน้อย ครึ่งชั่วโมงก่อนกินข้าว, ดื่ม, หรือกินยาชนิดอื่นๆ
และหลังจากกินยาแล้ว ภายใน 30 นาที ห้ามนอนราบโดยเด็ดขาด

คำถาม:
ฉันจะต้องทำอย่างไร จึงสามารถคงสภาพของกระดูกให้แข็งแรง
ไม่เกิดโรคกระดูกพรุน ?

เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรง...
การออกกำลังงกาย และมีการเคลื่อนไหวอยุ่เสมอย่อมเป็นสิ่งสำคัญต่อ
การทำให้กระดูก, ข้อ และกล้ามเนื้อมีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่านจะต้องรับผิดชอบเอง

การเดิน. ยืด, โยคะ, และการออกกำลังกายอย่างอื่น สามารถป้องกันไม่
ให้เกิดกระดูกเปราะบาง และคงสภาพมวลกล้ามเนื้อเอาไว้ได้เช่นกัน

ผลจากการศึกษาในคนที่ทำงานนั่งโต๊ะ ซึ่งไม่มีเวลาออกกำลังกาย...
พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูงมาก

นอกเหนือไปจาการรับประทานยา bisphosphonates...
ส่วนมาก แพทย์จะแนะนำให้คนไข้รับประทาน แคลเซี่ยม (Ca) และ Vitamin D 
ร่วมด้วยเสมอ เพราะ vitamin D  จะช่วยให้ร่างกายดูดซับเอาแคลเซี่ยมได้ดีขึ้น

คำถาม:
ผลอันไม่พึงประสงค์ (side effects) ของ bisphosphonates ...?

ยาในกลุ่ม bisphosphonates สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ดังต่อไปนี้:

 แสบหน้าอก (heart burn), ปวดท้อง (stomach pain),ละคายลำคอ
 ปวดศีรษะ
 ปวดข้ด, ปวดกล้ามเนื้อ
 มีลดมในท้อง, ท้องผูก, ท้องร่วง
 กลืนลำบาก
 ปวด หรือ ออกแบออกร้อนบริเวณกระดูกสีข้าง หรือบริเวณกลางหลัง
 ปวดกลาม (jaw), มึนชา (numbness), บวม (swelling)
 วิงเวียน (dizziness), อ่อนแรง (weakness)
 แพ้ยา (allergic reaction)
 Reclast อาจสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจผิดปกติ- atrial fibrillation

นอกเหนือจากนี้...
ยากลุ่ม bisphosphonates ยังสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายของบาดแผล
ได้ เช่น ทำให้กระดูกกล้ามเกิดเน่าตาย(osteonecrosis) ซึ่งมักจะเกิดหลังการ
ถอนฟัน  หรือหลังการปลูกฝังของเทียม (implant) ได้

คำถาม:
ใครไม่ควรใช้ bisphosphonates ?

คนต่อไปนี้ไม่ควรใช้ยา Bisphosphonates ยกเว้นได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

 หญิงตั้งครรภ์ หรือสตรีที่เตรียมจะตั้งครรภ์
 คนที่เป็นโรคไต (sever kidney prboblems)
 คนมีท่ออาหารอักเสบ (esophagitis)
 คนที่กำลังกินยา parathyroid hormone

ในกรณีที่ระดับของแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ (hypocalcemia), vitamin D deficiency,
เป็นโรคไต, หรือมีแผลในกระเพาะ ท่านอาจไม่เหมาะที่จะใช้ยาตัวนี้ก็ได้


ถ้าท่านกินยา ลดกรดใหนกระเพาะอาหาร (antacid) ซึ่งมี aluminum, calcium,
และ magnesium จะมีผลกระทบต่อการดูดญซึมยา bisphosphonates ได้
ดังนั้น เมื่อกินยา bisphosphonate ท่านจะต้องให้เวลาผ่านไปอย่างน้อย 30 นาที
ก่อนที่จะกินยาอย่างอื่น

นอกจากนั้น ยังมียาบางตัวสามารถกระทบกับการทำงานร่างกาย ที่มีต่อสาร
Bisphosphonates ได้ เช่น ยากลุ่ม NSAIDs (ibuprofen, celebrex, naproxen,
Mobic, diclofenac)


thttp://www.hopkinslupus.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น