วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Cervical Spondylosis (2)

July 20,20134
Continued...
 กระดูกคอเสื่อม คือภาวะเสื่อมสภาพของกระดูกต้นคอ, และหมอนกระดูก
ซึ่งอยู่ส่วนต้น ของกระดูกสันหลัง (spinal column)
และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอของคนสูงอายุ

มีการคาดการณ์เอาไว้ว่า...
กระดูกคอเสื่อม (sppinal spondylosis) จะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากกว่า 50
ได้ถึง 50 % และเมืออายุมากกว่า 75 จะพบได้ถึง 70 %

ข้อมูลทั่วไป และสาเหตุ:

กระดูกสันหลังจะมีลักษณะเหมือนวงแหวนที่ทำด้วยกระดูก มีชื่อเรียกว่า
Vertebrae – มีทั้งหมด 7 ชิ้นกระดูกด้วยกัน โดยตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง
(spinal Column) ไขประสาทสันหลัง (spinal cord) จะทอดผ่านช่องของ
กระดูกสันหลัง (spinal canal) และจากไขประสาท จะมีแขนงเส้นประสาท
แยกออกทางด้านข้าง ลอดผ่านทางช่องระหว่างกระดูกคอแต่ละชิ้น
ซึ่งช่องดังกล่าว มีชื่อเรียก foramina

ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละป้อง (each vertebae) จะมีหมอนกระดูกที่แข็ง
แรง โดยด้านนอกจะมีพังผืด (fibrous tissue) ทำหน้าที่ห่อหุ้มของเหลว
มีลักษณะเหมือนเจล... (gel-like tissue)

หมอนกระดูกจะทำหน้าทีป้องการการสั้นสะเทือน (cushion)ให้แก่กระดูกคอ
พร้อมกับให้กระดูกคอเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้น มันยังทำหน้าที่ปกป้องรากประสาท และเส้นเลือดที่อยู่ระหว่าง 
กระดูกคออีกด้วย

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น...
เราจะพบว่า หมอนกระดูก (disc) จะหดตัว, แบนลง, ความยืดหยุ่นลดลงไป
ทำให้การป้องกันแรงสั่นสะเทือนแก่กระดูกคอลดลง
เป็นเหตุให้กระดูกคอ  เยื่อพังผืด (ligaments) และกล้ามเนื้อ 
ต่างมีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากแรงที่มากระทบ, กระแทก และเสียดสี

เมื่อกระดูกคอ (cervical spine) ไม่มีความมั่นคง ไร้ความเสถียร (unstable)...
จะทำให้ตำแหน่ง (position) และแนว (alignmnent) ของกระดูกคอ
เปลี่ยนไป ซึ่งอาจทำให้กระดูกคอเสียดสีกัน ทำให้การเสื่อมสภาพของ
กระดูกคอเพิ่มมากขึ้น

เมื่อหมอนกระดูกคอเกิดการหดตัว...
กระดูกคอจะมีการเปลี่ยนแปลง  มีการการตอบสนองด้วยการสร้างกระดูก 
(bone spurs หรือ osteophytes)  และบางที่เราหมายถึง cervical osteoarthritis

การเปลี่ยนแปลงด้วยการเสื่อมสภาพดังกล่าว จะไปละคายต่อกล้ามเนื้อ,
เอ็นหรือพังผืด, และเส้นประสาท เป็นเหตุให้เกิดอาการต่างๆ 
ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของโรคข้อกระดูกคอเสื่อม (cervical spondylosis)

การเสื่อมสภาพของกระดูก และ หมอนกระดูกในระดับคอ (cervical spine)
ถือว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติที่เกิดขึ้นกับคนที่มีอายุย่างเข้าสู่วัยชรา
ซึ่งเราจะทำการวินิจฉัยว่า ใครเป็นโรค cervical spondylosis ก็ต่อเมื่อ
ระดับ (degree) ของการเสื่อมสภาพมีความรุนแรง, และมีอาการที่ก่อให้เกิดขึ้น
มากกว่าที่จะกล่าวว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนสูงอายุ

อาการ และอาการแสดง
(Signs and Symptoms)

เราจะพบว่า...
อาการของคนที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม (cervical spondylosis) จะมีความแตก
ต่างจากน้อย (mild) ไปหามาก (severe)

อาการที่พบได้บ่อยที่สุด คืออาการปวดต้นคอ (neck pain)
ซึ่งจะแผ่กระจายไปยังฐานของต้นคอ และข้อไหล่ โดยมีอาการเป็นๆ หายๆ
หรือมีอาจมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องก็ได้

คนไข้อาจมีความรู้สึกคอแข้ง (feel stiff), 
เกิดมีอาการปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวคอ หรืออาจมีอาการปวดเพิ่มขื้น
นอกนั้น คนไข้มักมีอาการปวดศีรษะเกิดร่วมด้วยเสมอ

เมือเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกคอ 
ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่แยกออกจากไขประสาท 
เมื่อมันถูกกด สามารถก่อให้เกิดอาการตั้งแต่ ปวด, ออกแสบร้อน,
เสียวซ่าที่บริเวณคอ และร้าวไปยังกระดูกสะบัก หรือร้าวไปยังแขนทั้งสอง
ภาวะดังกล่าว เขาเรียกว่า cervical radiculopathy

กระดูกคอเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพ...
สามารถทำให้ช่องกระดูกสันหลัง (spinal canal) ซึ่งเป็นที่อยู่ของไขประสาท
ทอดผ่าน เกิดตีบแคบลงได้ เป็นภาวะที่เรียกว่า spinal stenosis
และเมื่อความตีบแคบของช่องกระดูกดังกล่าวกดทับไขประสาท (spinal cord)
เป็นเหตุให้ไขประสาทถูกทำลาย เรียกภาวะดังกล่าวว่า cervical myelopathy

เมื่อไขประสาทถูกกดเป็นเวลานาน...
มันสามารถทำให้การไหลเวี่ยนของเลือด และอาหาร (nutrients) สู่ไขประสาท
ลดลง เป็นเหตุให้ไขประสาทถูกทำลาย (damage)
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น ดังนี้:

§  กล้ามเนื้อของขาเกิดการอ่อนแรง หรือทำให้เดินได้ลำบาก
§  นอกจากล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรง จะทำให้รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มตำที่แขน
   และมือ และทำให้ความชำนาญในการใช้มือ และแขนลดลงหรือหายไป
§  หมดความรู้สึก ที่บริเวณแขน และ/หรือขา
§  การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ (bladder & bowel) เสียไป
   (เป็นอาการที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่จะเพบในระยะสุดท้ายของการเกิดโรค)

การเกิดภาวะไขประสาทถูกกด (cervical myelopathy) จะพบได้น้อย
ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีการประเมินเอาไว้ว่า
ในคนที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม (cervical spondylosis) สามารถเกิดข้ได้ 5 %



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น