วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) 2

July 20, 2013
continued.....

The North American Menopausal Society (NAMS) ได้ทำการตรวจสอบ และอัพเดท
แนวทางการวินิจฉัย, การป้องกัน, 
และการรักษาโรคกระดูกพรุนในสตรี
หลังหมดประจำเดือนในปี 2006 เอาไว้

Go to link:  www.diversifiedhealth.cqa 

สตรี ควรได้รับการตรวจเชคร่างกายจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะหลังหมดประจำเดือน เธอควรได้รับการตรวจประเมินปีละครั้ง
เพราะจากการปฏิบัติอย่างนั้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคกระดูกพรุน 
และลดความเสี่ยงจากการเกิดกระดูกแตหหัก จากการหกล้ม (falls) ได้

นอกเหนือไปกว่านั้น...
สตรีควรได้รับการตรวจวัดความสูง และนำหนักตัวทุกปี
และควรได้รับการประเมินการเกิดภาวะหลังโกง (Kyphoses) 
และอาการปวดหลังด้วย

อาการแสดง (Symptoms)

โรคกระดูกพรุน (0steoporosis)...
บางครั้งเขาตั้งชื่อให้มันว่า "โรคแห่งความเงียบ (silent disease) "
เพราะมันจะไม่แสดงอาการให้เห็น จะทราบได้ก็ต่อเมื่อเกิดมีอาปวดปวดหลัง
แพทย์ตรวจพบ และบอกให้ทราบว่า กระดูกสันหลังของท่านเกิดการแตกยุบ
ทำให้ความสูงของตัวท่านลดลง กระดูกสันหลังของท่านผิดรูปไป

เนื่องจากอาการของโรคกระดูกพรุน 
อาจมีลักษณะเหมือนกับโรคกระดูกชนิดอื่น ๆ  หรือโรคทางกายอย่างอื่นได้
ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ของท่าน จะต้องทำการแยกโรค และตรวจหาสามเหตุ
ที่แท้จริงต่อไป

การวินิจฉัย (diagnoses)

นอกเหนือจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายแล้ว..
เพื่อเป็นยืนยันว่า ท่านเป็นโรคกระดูกพรุนจริงหรือไม่  ท่านจะได้รับกาตรวจพิเศษ
อย่างอื่น ซึ่งท่านควรรู้ดังนี้

• ตรวจเอกซเรย์ (skeletal X-rays) เป็นการตรวจด้วยการใช้ลำแสงของพลังแม่เหล็ก
ไฟฟ้าถ่ายภาพเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกาย, กระดูก, และอวัยวะต่างๆ 
ซึ่งจะปรากฏภาพให้เห็นบนแผ่นฟิล์มเอซเรย์

• ตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitiy test) บางครั้งเขาเรียกว่า
bone densitometry  เป็นการตรวจวัดดูความหนาแน่นของมวลกระดูก
ซึ่งสามารถบอกให้ทราบถึยวภาวะกระดูกบาง หรือกระดุกพรุนได้

• ตรวจเลือด (Blood tests). เป็นการตรวจดูระดับของแคลเซี่ยม (Ca) และ
โปรแตสเซี่ยม (K)

• ตรวจดูค่า FRAX score. เป็นการตรวจวัดคะแนน ซึ่งสามารถนำมาประเมิน
ถึงความเสี่ยงต่อการเกิดกระดุกแตกหักภายในระยะ 10 ปี
ในการตรวจวัดคะแนน จะใช้ผลที่ได้จากการตรวจความหนาแน่นของกระดูก
และปัจจัยอย่างอื่นของคนไข้ (individual factors)

ความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone densitometry)

ในการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry testing)
ในตอนแรก เป็นการตรวจเพือค้นหา หรือวินิจฉัยว่า  ท่านเป็นโรคกระดูกพรุน
(osteoporosis) หรือภาวะมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ (osteopenia) หรือไม่

ภาวะกระดูกบางน้อยกว่าปกติ (osteopenia) เป้นภาวะที่สภาพของกระดูกมีความฃ
หนาแน่นน้อยลง แต่ยังไม่ถึงขึ้นเป็นเป็นโรคกระดูกพรุน 
ซึ่งหากตรวจพบได้ไว พร้อมให้การรักษา สามารถปั้องกัน
ไม่ให้เกิดการแตกหักของกระดูกในอนาคตได้

การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก  จะมีการเปลี่ยบเทียบกับค่าปกติ 2 อย่าง
 (healthy young adult- your T-score) และ age-match adult (your Z-score)

ผลที่ได้จากการตรวจ...
หากพบว่า กระดูกของท่านได้ ตรวจได้ positive T score 
มันบอกให้ทราบว่ากระดูกของท่านแข็งแรงกว่ากระดูกของคนหนุ่มที่มีสุขภาพดี
แต่หากผลการตรวจพบว่า เป็น negative T-score 
มันหมายความว่า กระดูกของท่านอยู่ในสภาพอ่อนแอ (weaker) กว่า...

ตามข้อกำหนดของ World Health Organization...
เขาจะวินิจฉัยว่า  ท่านไข้เป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่  โดยอาศัยข้อมูลต่อไปนี้...

 T-score ของท่านมีค่าระหว่าง 1 SD (+1 หรือ -1) ของคนหนุ่ม หมายความว่า
กระดูกมีความหนาแน่นปกติ

 T-score ของท่านมีค่าระหว่าง 1 – 2.5 SD ต่ำกว่าคนหนุ่ม ( -1 ถึง -2.5 SD)
หมายถึงมวลกระดูกต่ำกว่าปกติ ซึ่งหมายะถึงภาวะ osteopenia

 T-score ของท่านมีค่า 2.5 SD หรือมากกว่าโดยต่ำกว่าคนหนุ่ม (> -2.5 SD)
หมายถึงเกิดภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis)

โดยทั่วไป ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
เมื่อ SD ของท่านมีค่าต่ำกว่าปกติ ดังนั้น  ใครที่มีความหนาแน่นของกระดูก 1SD ต่ำ
กว่าปกติ ( T-score of -1)  เขาจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหักเป็นสองเท่า
ของคนปกติ และในคนที่มี T-score -2 มีโอกาสเกิดกระดูกแตกหักถึง 4 เท่า

จากข้อมูลที่ได้รับ...
เมื่อใครก็ตาม ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก จะต้องทำการป้องกันไม่ให้ก
เกิดมีกระดูกแตหักเกิดขึ้นในอนาคต


<< Previous          Next >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น