Aug. 22, 2013
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสพบสตรีสูงวัยท่านหนึ่ง
เธอเล่าให้ฟังด้วยความไม่สบายใจว่า...
เธอมีอาการปวดขา มาได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ซึ่งเกิดหลังจากเดินทางโดยรถยนต์
ติดต่อกันทุกวัน ทุกครั้งที่เธอยืนตรง เธอจะมีอาการปวดร้าวที่บริเวณขาด้าน
หนึ่งเสมอ จึงทำให้เธอเดินตัวเอียง เป็นสาเหตุให้คนรอบข้างสังเกตุเห็น
แพทย์ที่เธอไปพบบอกกับเธอว่า
กระดูกสันหลังระดับเอวเลื่อน... (spondylolithesis) ...
“ต้องผ่าตัดสถานเดียว...”
See picture on: http://www.spinesurgery-wecareindia.com/
คำถามที่เธอต้องการคำตอบจากผู้เขียน มีว่า...
“...จำเป็นต้องผ่าตัวด้วยหรือ...ขณะนี้อีฉัน 78 แล้วนะ!”
เพื่อตอบคำถามของสตรีท่านนี้ ผู้เขียนจึงถือโอกาสเล่าเรื่องกระดูกสันหลัง
เลื่อนไถลออกจากที่ ๆ มันควรอยู่ (spondylolithesis)ให้เธอได้ทราบเป็นเบื้องต้น
เพื่อพิจารณาว่า เธอควรรับการผ่าตัดหรือไม่ ?
สภาวะกระดูกสันหลังเลื่อนไถลจากที่ หรือเรียกทับศัพท์ว่า spondylolithesis...
ซุ่งหมายถึงกระดูกสันหลังชิ้นบนเลือนออกไปทางด้านหนั่าของกระดูกสันหลังหลังอันล่าง
ถ้าหากกระดูกมีการเลื่อนมากไป มันอาจไปกดเส้นประสาท
ทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้
ภาวะกระดุกสันหลังเลื่อนไถลไปทางด้านหน้าดังกล่าว...
เราจะพบเห็นในกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวเสียเป็นส่วนใหญ่
คำ Spondylolithesis...
เป็นคำที่มาจากภาษากรีกสมัยโบราณ... spondylos เป็นคำ สื่อให้ทราบว่า
เป็นกระดูกสันหลัง หรือ Spine หรือ vertebrae
ส่วนคำ listhesis หมายถึงการเลื่อนนไถล
Types of spondylolisthesis
ภาวะกระดูกสันหลังเลื่อนจากที่ ที่พบได่บ่อยได้แก่:
o Congenital spondylolisthesis :
เป็นความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด โดยเป็นผลมาจากความบกพร่องในการเจริญ
เติบโตของกระดูกสันหลังเอง ซึ่งความผิดปกติชนิดนี้ ทำให้เกิดมีการเลื่อนไถล
ของกระดูกสันหลังได้สูงมาก
o Isthmic spondylolisthesis:
เป็นผลเนื่องมาจากความผิดปกติในกระดูกสันหลัง ตรงส่วนที่เป็น
Pars interarticularis มีความอ่อนแอ มีโอกาสแตกหักได้ง่าย และ
นำไปสู่การเลื่อนไถลของกระดูกสันลังได้
o Degenerative spondylolisthesis :
จัดเป็นรูปแบบของกระดูกสันหลังเลื่อนไถล ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด
โดยเราจะพบเห็นในคนสูงอายุ ซึ่งหมอนกระดูกเสื่อมสภาพตามเวลาที่ผานไป
ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้ตามปกติ
และมีการเลื่อนไถลของกระดูกสันหลังตามมาในที่สุด
กระดูกสันหลังที่เลือนหลุดออกจากที่ (spondylolithesis)
ทีพบได้ไม่บ่อย ได้แก่:
o Traumatic spondylolisthesis:
เกิดจากการได้รับบาดเจ็บของกระดูกสันหลังเอง ซึ่งนำไปสู่การแตกหักของ
กระดูกสันหลัง และทำให้กระดูกเลื่อนไถลเกิดขึ้น
o Pathological spondylolisthesis:
เกิดจากโรคที่ทำให้กระดูกสันหลังเกิดการอ่อนแอ เช่น โรคกระดูกพรุน
(osteoporosis), หลังการอักเสบติดเชื้อ หรือเนื้องอก
o Post-surgical spondylolisthesis:
กระดูกสันหลังเลื่อนไถลออกจากที่ ซึ่งเกิดภายหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
>> Next
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น