Aug.6,2013
เมื่อท่านเกิดมีอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลัน จากโรคเก้า (gout attack)
ท่านคงมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น ที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นว่า
ท่านจะหายจากอาการปวด และข้อบวมได้อย่างไร ? โดยเฉพาะเมื่อเกิด
ขึ้นในกลางดึก โดยอาจเป็นที่หัวแม่เท้าของท่าน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดเก้า
อักเสบได้ในระยะแรก ๆ ถึง 50 %
ประเด็นถัดไปที่ท่านต้องการอยากจะทราบ คือ
เมื่อท่านไปพบแพทย์ เขาจะรักษาอาการของท่านอย่างไรทั้งระยะสั้น และระยะยาว
ข้อมูลต่อจากนี้ไป เป็นการสรุปประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคเก้า
ซึ่งอาจทำให้ท่านหายข้อข้องใจได้บ้าง
What Caused Your Gout Attack?
ภาวะปวดข้ออย่างเฉียบพลันจากกรดยูริคตกผลึกในข้อ
เราชอบพูดทับศัพท่ว่า เก้าแอตแทก เป็นผลมาจากการมีกรดยูริคใน
กระแสเลือดสูงเกินปกติ (hyperuricemia) ซึ่งเป็นสารที่ได้จากการ
ปฏิกิริยาทางเคมีของสาร purine และถูกทำให้สลายตัวเป็นกรดยูริ
ในบางคนเราจะพบว่าร่างกายของเขาไม่สามารถจัดการกับกรดยูริค
ได้ตามปกติ เป็นเหตุให้มี่ระดับของสารดังกล่าวในกระเลือดสูง และ
ในบางคนพบว่า ร่างกายผลิตสารดังกล่าวในปริมาณสูง
การมีผลึกตกตะกอนในข้อ หรือเนื้อเยื่อ จะเป็นเหตุให้ข้อเกิดมีการอักเสบ, บวม,
เกิดการอักเสบ และมีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน
เรียกภาวะดังกล่าวว่า gout attack
How to Handle a Midnight Gout Attack ?
เมื่อท่านเป็นโรคเก้า...
และท่านเกิดมีอาการปวดข้ออย่างเฉีนบพลันจากการตกผลึกของกรดยูริค
ซึ่งเป็นเหตุทำให้ท่านถูกทำส่งไปรับการรักษาทีห้องฉุกเฉิน...
การรักษาให้หายจากอาการเจ็บปวด ถ้าท่านทำได้...ก็ O.K.
เพราะเป้าหมายของการรักษา คือ การบรรเทาอาการปวด และลดอาการ
บวม และการอักเสบลง
ในกรณีที่ท่านไม่สามารถไปพบแพทย์ได้...
ท่านสามารถช่วยรักษาตนเอง ด้วยการกินยากลุ่ม NSAIDs ที่นิยมใชกันบ่อย
ได้แก่ ibuprofen (Advil) และ naproxen sodium (Aleve)
ซึ่งสามารถลดอาการปวด, และอาการอักเสบได้ภายใน 24 ชั่วโมง
หมอส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้ยาในขนาดสูงในช่วง 24 – 36 ชั่วโมง
เพื่อจัดการกับอาการปวดให้ได้เสียก่อน ห้ามใช้ aspirin เพราะมันสามารถกระทบ
กับระดับของกรดยูริค และทำให้อาการปวด (gout attack) จากโรคเก้าเลวลง
นอกจากยา ท่านสามารถทำให้อาการปวด และอาการอักเสบลดลงได้โดย
ใช้น้ำแข็งห่อด้วผ้านุ่มประคบข้อที่มีการอักเสบ
See Your Doctor the Next Day
ภายหลังจากท่านได้ช่วยเหลือตัวตนเอง ด้วยการทำให้อาการปวดทุเลาลงระดับหนึ่ง
ในวันรุ่งขึ้น ท่านต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด โดยแพทย์จะได้ทำการตรวจเลือด
เพื่อดูระดับของกรดยูริค และเขาอาจเจาะดูดเอาน้ำไขข้ออกจากข้ออักเสบ
และตรวจหาผลึกของกรดยูริค หรือ ยูเรท
นอกจากนั้น เขาอาจสั่งยาหนึง หรือสองชนิดต่อไปนี้ เพื่อยุติอาการปวด
และการอักเสบของข้อให้แก่ท่าน:
o Indomethacin (Indocin) :
เป็นยาที่ถูกสั่งใช้รักษากันบ่อยที่สุด ยกเว้นเฉพาะในคนสูงอายุ
o Colchicine :
เป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับลดความเจ็บปวดลงได้ภายใน 12 ชั่วโมง
หลังการเกิดอาการจากโรคเก้า
ยา colchicine ถูกนำมาใชรักษาโรคเก้าตั้งแต่ปี 1800s และถือเป็นทางเลือก
สำหรับกรณีที่ไม่สามารถใช้ยากลุ่ม NSAIDs
โดยยาตัวนี้ จะทำหน้าที่ลดการอักเสบ ด้วยการลดจำนวนเม็ดเลือดขาวลง
และป้องกันไม่ให้มีการสะสมของผลึกกรดยูริค
ซึ่งบางครั้งอาจใช้ร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs
ในการใช้ยา colchicine เราอาจใช้นานติดต่อกันเป็นเวลา 6 – 12 เดือน
ซึ่งในระยะนั้น เราสามารถควบคุมระดับกรดยูริคได้ด้วยการรักษาด้วยยาในระยะยาว
แม้ว่าแพทย์จะแนะนำให้เริ่มใช้ยา colchicine ในขนาดสูง (1.2 mg)
แล้วตามด้วยยาขนาดเครึ่งหนึ่ง (0.6 mg) ทุกชั่วโมง เป็นเวลา 6 ชั่วโมง
ซึ่งการให้ยาในลักษณะนี้ จะทำให้คนเกิดมีอาการท้องร่วง (diarhea) หรือ อาเจียน
ในขณะนี้ แพทย์ส่วนใหญ่จะใช้ยาขนาดต่ำ ๆ
โดยการให้ colchicine 1 เม็ด (0.6 มก.) วันละสามเวลา ใน 1- 2 วันแรก
หลังจากมีโรคเก้ากำเริบ เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มลดยาลงเหลือวันละสองครั้ง เช้าเย็น
และหยุดยาเมื่ออาการหายสนิท
ซึ่งส่วนมากจะใช้เวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์
o Corticosteroids
ยาที่ใช้ได้แก่ prednisolone ซึ่งเป็นฮอร์โมนต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้
ภายใน 24 ชั่วโมง
สำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถทนต่อการใช้ยา colchicine หรือ NSAIDs
แพทย์จะใช้สาร corticosteroids ฉีดเข้าข้อ
และในกรณีที่มีกการอักเสบหลายข้อ เขาอาจฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
หรือใช้ยาชนิดรับประทาน
ผลข้างเคียงของการใช้ยา corticosteroids มีหลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่า
ทำให้คนเป็นเบาหวานยากต่อการควบคุมระดับน้ำตาล
และบางครั้ง สามารถทำให้เกิดอาการตามัวระยะสั้นได้
What’s Next?
ภายหลังทุเลาจากอาการเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันจากโรคเก้า
ซึ่งส่วนใหญ่จะกินเวลาไม่กี่วัน หลังจากนั้นท่านจะได้รับการรักษาด้วยการควบคุม
โรคในระยะยาว เพื่อควบคุมระดับกรดยูริคให้ลดลงสู่ระดับปกติ (6.0 mg)
อย่างไรก็ตาม ท่านอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะ acute attack อย่างต่อเนื่อง
ประมาณ 6 – 12 เดือน จนกระทั้งระดับกรดยูริคสามารถควบคุมได้
ในการรักษาโรคเก้าในระยะยาว (Long term treatments):
แพทย์อาจสั่งยาให้แก่ท่านดังนี้:
Allopurinol (Lopurin, Zyloprim):
Allopurinol เป็นยาพื้นฐาน และมีการใช้กันอย่าวกว้างขวาง เพราะมัน
ออกฤทธิ์ด้วยการชะลอการส้างกรดยูริคลง และอาจสลายผลึกที่สะสมเป็น
ก้อน (tophi) ของกรดยูริคได้
Febuxostat (Uloric) :
Febuxostat ออกฤทธิ์ด้วยการป้องกันไม่ให้มีการสร้างกรดยํริค ด้วยการ
บลีอกเอ็นไซม์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยน purines ให้เป็นกรดยูริค
Probenecid (Benemid, Probalan):
Probenecid ใช้รับประทาน ซึ่งเป็นยาที่สามารถลดกรดยูริคในร่างกายได้
โดยเพิ่มการขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ
เป็นยาที่นำมาใช้ในรายที่มีปัญหาในด้านการขับกรดยูริค
Pegloticase rystexxa):
Pegloticase rystexxa เป็นยา ซึ่งถูกนำไปใช้รักษาคนเป็นโรคเก้าที่มีความรุนแรง
ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามมาตรฐาน ไม่สามารถลดระดับ
ของกรดยูริคลงได้...เป็นภาวะที่เรียกว่า chronic refactory gout...
การใช้ยาชนิดนี้ จะให้ด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำทุกสองอาทิตย์
http://www.arthritistoday.org/
Good sharing. I read articles title “To Those Having Gout Problem” mentioned that your special gout remedy call up gout papaya green tea extract extremely good to help cure gout issue. See the article at: http://kidbuxblog.com/to-those-having-gout-problem/
ตอบลบ