ในการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบของท่านว่า เป็นโรคเก้าหรือไม่ ?
เป็นหน้าที่ของแพทย์ จะถามประวัติการเกิดโรค, ทำการตรวจข้อของท่าน
พร้อมกับตรวจเลือดของท่าน
นอกจากนั้น แพทยเขายังจะถามท่านเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการทำให้เกิดโรคเก้า เช่น
อาการที่เกิดขึ้น
ยาที่ท่านกำลังรับประทาน
อาหารการกินของท่าน มีประไรบ้าง ?
อาการปวดเกิดขึ้นเร็วแค่ใด ?
รายละเอียดของอาการเจ็บปวด: ความรุนแรง, ระยะเวลา และ
ในการวินิจฉัยโรคดังกล่าว (gout)...
แพทย์จำเป็นต้องแยกโรคอย่างอื่น ซึ่งทำให้เกิดข้ออักเสบออกไป
เช่น ข้ออักเสบติดเชื้อ, บาดเจ็บ หรือข้ออักเสบชนิดอื่นๆ
แพทย์จะทำการตรวจเลือดดูระดับของกรดยูริค...
การมีระดับกรดยูริตในกระแสเลือดสูง ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะต้องเป็น
โรคเก้าเสมอไป นอกจากนั้น คนไข้จะได้รับการตรวจพิเศษอย่างอื่นอีก
เป็นต้นว่า ตรวจเอกซเรย์, อัลตร้าซาวด์หรือตรวจด้วยภาพ MRI scans
เพื่อดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อ และกระดูก.
แพทย์อาจทำการเจาะเอาน้ำจากข้อมาทำการตรวจหาตะกอนผลีกของกรดยูริค
ซึ่งมีลักษณะเหมือนเข็ม และการตรวจเพบผลึกของกรดยูริคในน้ำไขข้อ...
เป็นกรรมวิธีที่แน่นอนที่สุด สำหรับใช้วินิจฉัยโรคเก้า
อย่างไรก็ตาม ข้อผิดพลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในการวินิจฉัยโรคเก้า ได้แก่:
Ø โรคเก้าสามารถปรากฏในรูปแบบของข้ออักเสบจำนวนหลายข้อ
โดยเฉพาะคนไข้ที่มีอายุมาก
Ø คนเป็นโรเก้า
อาจมีระดับของกรดยูริคในเลือดในระดับปกติ
โดยเฉพาะในขณะทีมีการอักเสบ
(gout attack)
Ø มีโรคอย่างอื่น ที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย colchicine
Ø ผู้หญิงสามารถเป็นโรคเก้าได้เช่นกัน
Ø โรคเก้าสามารถทำให้เกิดมีลักษณะเหมือนกับโรคข้ออักเสบทั่วไป
Ø (osteoarthritis) เช่น เกิดมี Heberden’s Nodes
http://www.arthritistoday.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น