Sept.2, 2013
ในการประชุมวิชาการใน American Colledge of Rheumatology
Annual Scientific Meeting ใน Atlanta (2010) ปรากฏว่า
โรคเก้าได้กลายเป็นประเด็นร้อน...โดยมีนักวิจัยจากทั่วโลก ได้แบ่ง
ปันประสบการณ์เกี่ยวกับข้ออักเสบชนิดต่างๆ ซึ่งมีระดับกรดยูริคในร่างกายสูง
และมีตะกอนตึกผลึกในข้อ ทำให้เกิดมีอาการปวด, การอักเสบ, บวม
และมีการเคลื่อนไหวลำบาก
มีข้อมูลชิ้นหนึ่ง ลงตีพิมพ์ใน Arthritis Today...
รายงานเอาไว้ว่า เครื่องดื่มที่มีiสหวาน (sugary beverage) เช่น น้ำ
ส้มคั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้สตรีมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก้าได้
นอกจากนั้น...จากการประชุ่มโดยนักวิจัยหลายนาย ยังได้เสนอข้อมูลที่
น่าสนใจอีกหลายข้อ:
Gout’s On the Rise
อุบัติการณ์ของคนเป็นโรคเก้ากำลังเพิ่มขึ้น...
ในระหว่างปี 1960 – 1990s Yanyan Ahu, PhD , Assistant professor
จาก Boston University School of Medicine...ได้รายงานเอาไว้ว่า มีคน
เป็นโรคเก้าเพิ่มขึ้นเกือบถึงสองเท่า...ทำให้เขาสงสัยว่า มีอะไรเกิดขึ้น?
เมื่อเกิดมีความสงสัยขึ้น เขาจึงได้ทำการวิจัยเปรียบเทียบในคนที่มากกว่า
18,000 ราย ในปี 1980 – 1994 กับคนอีก 5,700 คน ซึ่งรวบรวมในปี
2007 – 2008
ผลปรากฏว่า....
ในปี 1988 – 1994 มีประชาชนจำนวน 8.3 ล้านคน หรือประมาณ 4 % ของ
ผู้ใหญ่ ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเก้า โดยเพิ่มจากปี 1980 - 1990 ซึ่ง มีคน
เป็นโรคเก้าเพียง 2.7 % แสดงให้เห็นว่า....ผลที่ได้จากการศึกษาบอกให้
ทราบว่า ความชุกของคนที่เป็นโรคเก้าได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ภาวะกรดยูริคในกระแสเลือดสูง (hyperuricemia) ถือว่าเป็นขั้นเริ่มต้น
(precursor) ของการเป็นโรคเก้า ซึ่งมันบอกให้ทราบโดยระดับของกรด
ยูริคในเลือดสูง
ผลจากการตรวจระดับกรดยูริคในกระแสเลือด ระหว่างสองช่วง (1980-
1994 และ 2007 – 2008) ปรากฏว่า ระดับของกรดยูริคจะเพิ่มสูง 3.2 %
นักวิจั้ยเชื่อว่า ปัจจัยที่ทำให้มีระดับยูริคสูง ได้แก่ความอ้วน (obesity)
และโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) นี่เอง
เขา (Dr. Zhu) ได้กล่าวสรุปเอาไว้ว่า...
การจัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคเก้า และ
ภาวะกรดยูริคในกระแสเลือดเพิ่มสูง รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นด้วย
Uric Acid Linked With Hypertension
ในขณะที่ Dr. Zhu ชี้แนะว่า ความดันโลหิตสูงอาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิด
กรดยูริคในกระแสเลือดมีระดับสูงขึ้นนั้น ได้มีผลของการศึกษอีกชิ้นหนึ่งได้
ชี้แนะว่า การมีระดับยูริคในกระแสเลือดสูง อาจเป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
http://www.arthritistoday.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น