วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

เมื่อท่านเป็นโรคปวดกล้ามเนือ ไฟโบรมัยแอลเกีย ( Fibromyalgia )

Aug. 7,2013

เมื่อไม่นานมานี้...
ได้มีโอกาสฟังเพื่อนปรับทุกข์ให้ฟังว่า:
“ฉันไม่รู้เป็นโรคอะไร...ทุกเย็นจะรู้สึกเจ็บปวดทั่วร่างกาย, ไม่มีเรี่ยว ไม่มีแรง
บางครั้งรู้สึกเสียวซ่าจากศีรษะจรดเท้า...
see picture on...http://www.total-physio.com/

หมอที่ว่าเก่งๆ ทั้งหลายก็ไปพบหมด  ทุกคนให้คำตอบคล้ายๆ กันว่า
ผมเป็นกล้ามเนื้ออักเสบชนิดหนึ่ง”

พูดเสร็จเพื่อนก็หยิบยาจากถุงให้ผู้เขียนดู ปรากฏว่า
ยาส่วนใหญ่เป็นยาเกี่ยวกับการรักษาทางจิตประสาทแทบทั้งนั้น
เป็นต้นว่า valium, neurontin, และยาบำรุง B co ?

มองหน้าเพื่อนด้วยความเห็นใจ ยังไม่ได้กล่าวอะไร...
เพือนของเราก็พูดต่อว่า...

“ยาที่ฉันกินทุกวัน มันก็ยังงันๆ แหละ... อาการเหมือนเดิม เย็นลง...เป็น
มีอาการทุกที แต่ก็ต้องปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง  ...

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ไปพบพระองค์หนึ่ง ทางภาคอีสาน
ท่านสอนให้นั่งสมาธิ ซึ่งทำให้ผมสามารถอยู่ร่วมกับอาการปวดทั่วรกาย
ได้ในระดับหนึ่ง โดยที่อาการปวดไม่หายไปใหน..."

ข้อมูลที่ได้จากเพื่อน...
ทำให้นึกถึงโรคหนึ่ง ซึ่งสามารถทำให้ทุกคนรวมทั้งแพทย์ผููู้้้้ทำการ
รักษาบางท่าน ไม่ค่อยมั่นใจนักว่า มันเกิดขึ้นได้อย่าง ?  
แพทย์หลายนายโยนความผิด...หรือต้นเหตุไปที่ ความผิดปกติในจิตประสาท
ผู้เขียนมีความเห็นว่า  อาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างของเพื่อน มีลักษณะคล้าย
กับโรคชนิดหนึ่ง  มีชื่อเรียกว่า  "ไฟโบรมันแอลเกีย" (Fibromyalgia)

ในสมัยก่อน...
Fibromyalgia เป็นภาวะอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดมีอาการเหนื่อยเพลีย
เจ็บปวดทั่วร่างกาย และถูกคิดว่า มันประโรคที่เกี่ยวข้องกับความ
ผิดปกติด้านจิตใจล้วน ๆ

มาในยุคปัจจุบัน แพทย์เข้าใจว่า โรค fibromyalgia ไม่ใช้โรคจิตตามที่เข้าใจ
แต่เป็นโรคทีเกิดจากความผิดปกติ  ซึ่งเกิดขึ้นภายในระบบประสาทส่วนกลาง
(central nervous system)

มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมานมนาน (1800s) 
และเราพึ่งเข้าใจว่า  มันเป็นโรคชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีกลุ่มอาการให้เราได้พบเห็น 
เป็นต้นว่า  ทำให้คนเกิดอาการเหนื่อยเพลีย (fatigue); ปวดตามกล้ามเนื้อทั่วไป,
รวมทั้ง เอ็น และพังผืด,  มีจุดมีอาการเจ็บจากการสัมผัสหลายจุด 
ซึ่งทำให้คนไข้อ่อนแรง  และไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

นอกจากอาการทีกล่าวมา  คนไข้ยังมีอาการอย่างอื่นอีก  เป็นต้นว่า...
โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) ;  ปวดศีรษะ (headache) ,
ปวดกราม (jawache);  มีความไวต่อกลี่น,  เสียง,  แสง และการสัมผัส;
มีอาการซึมเศร้า (depression), เครียด (anxiety), และไม่มีสมาธิ

เราไม่สามารถวินิจฉัยโรค fibromyalgia ได้โดยตรง...
แต่จะวินิจฉัยได้ด้วยการแยกโรคอื่น ๆ ออกไปให้หมดเสียก่อน 
ที่เหลือก็จะเป็นโรคดังกล่าวเอง  จึงทำให้เราเรียกโรคชนิดนี้ว่า 
เป็นโรคแห่งการแยกโรคอื่นออกไป (disease of exclusion)

เป็นที่ทราบกันว่า... 
มีโรคหลายอย่าง  ซึ่งมีอาการคล้าย ๆ กับอาการของโรคไฟโบรมัยแอลเกีย  (FMS)
เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism), โรครูมาตอยดตอยด์  (RA); 
โรค Lyme disease;  โรค Lupus;  และโรค  polymyalgia rheumatica

โรค ไฟโบรมันแอลเกีย (FMS)  มักเกิดขึ้นกับสตรีเสียเป็นส่วนใหญ่...
โดยเกิดในช่วงอายุ 20 – 60 , จัดเป็นโรคเรื้อรัง  มีอาการอย่างใด อาการก็ยังคง
เป็นเชนนั้น และไม่เป็นอันตรายแม้แต่น้อย

แม้ว่าเราจะทราบว่า...
คนๆ นั้น เป็นโรคไฟโบรมัยแอลเกียก็ตาม  แต่เราก็ไม่ทราบอยู่ดีว่า  
อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง  ที่ทำให้คนเราเกิดมีอาการเช่นนัี้น

ตามเป็นจริง...
ประสาททั้งหลาย  ซึ่งทำหน้าที่บันทึกความเจ็บปวด และสัญญาณของความเจ็บปวด
จะเดินทางผ่านเส้นประสาท  เข้าสู่ประสาทไขสันหลัง  และเข้าสู่สมอง

ผลจากการตรวจคนไข้ที่เป็นโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย"  พบว่า 
ปุ่มปลายประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวด (nociceptors)  ภายในสมองจะมีความไวต่อ
ความเจ็บมากเป็นพิเศษ   นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า   ภายในสมองเอง
ยังมีสารสื่อประสาท  ที่ทำหน้าที่นำส่งคลื่นแห่งความเจ็บวปวด  
มีปริมาณมากผิดปกติอีกด้วย

มีผู้พยายามอธิบายสาเหตุ  ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวว่า...
การที่สมองมีความไว (sensitive) ต่อความเจ็บปวด  อาจเป็นเพราะกระดูกสัน
หลังได้รับบาดเจ็บ (spinal trauma);   อักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย;
มีความผิดปกติในการนอนหลับ (sleep disturbance) เป็นต้น

การรักษา (Treating Fibromyalgia)
ในการรักษาคนไข้ทีเป็นโรค  "ไฟโบรมัยแอลเกีย"...
ในปี 2007 องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA)  ได้รับรองให้ใช้สาร ชื่อ Pregabalin
 (Lyrica) ให้เป็นยาสำหรับรักษาคนไข้ที่เป็นโรค ดังกล่าว

แต่ก่อนมา  ยา  pregabalin เป็นยาถูกใช้รักษาโรคชัก (anticonvulsant),
และใช้เป็นยารักษาอารปวดจากเส้นประสาท  ซึ่งถูกทำลายโดยโรคเบาหวาน, 
และโรคงูสวัส  โดยยาดังกล่าว จะทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง...

นอกจากยา pregabalin แล้ว...
ยังมียาอีกตัว  ซึ่งแพทย์นำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรค ไฟโบมัยแอลเกีย 
คือ  Gabapentin (Neurontin) ซึ่งปรากฏว่า  ได้ผลดีเช่นกัน   
แม้ว่าจะไม่ได้รับการรับรองจาก FDA ก็ตาม  โดยเป็นผลที่เกิดจากประสบการณ์ของ
แพทย์ผู้ทำการรักษา(off-label)

ยาแก้ปวด เช่น  พาราเซท (acetaminphen)  อาจช่วยในรายที่มีอาการน้อย..
ส่วนยากลุ่ม NSAIDs ไม่แนะนำให้ใช้ในโรค ไฟโบมัยเกีย  เพราะโรค ดังกล่าว
ไม่ปรากฏว่ามี
การอักเสบเลย  การใช้ยากลุ่ม NSAIDs จึงไม่มีประโยชน์

ยาคลายประสาท เช่น  Benzodiazemines:  valium (diazepam)
อาจช่วยให้คนไข้เกิดการผ่อนคลาย และนอนหลับได้ง่ายขึ้น
และทำให้เกิดอาการง่วงซึม  สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านการทรงตัว
เป็นเหตุทำให้เกิดหักลมกระดูกแตกหักได้...

นอกจากการใช้ยารักษาแล้ว...
คนไข้ยังมีการรักษาแบบผสมผสาน  ร่วมกับการรักษาอย่างอื่น
เป็นต้นว่า  การออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้อาการของโรคเบาลงได้
บางคนได้รับประโยชน์จากการฝังเข็ม, นวด, 
และฝึกการผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจ

Source:
Johns Hopsins Health Alert.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น