วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

เมื่อเกิดความสงสัยว่า ท่านเป็นโรครูมาตอยด์ : Rheumatoid Arthritis Early Sign & Symptoms of RA)

Aug. 14, 2013

เมื่อท่านถูกวินิจฉัยโดยใครก็ตามว่า  
ท่านไม่น่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรอก...
แต่ความสงสัยยังไม่หายไปจากท่าน   กรณีเช่นนี้  ท่านต้อไปพบแพทย์เฉพาะทาง
เพื่อหาทางยืนยันคำวินิจฉัย   และหากท่านเป็นโรคดังกล่าว
ท่านจะได้เริ่มรับการรักษาโดยเร็ว   เพื่อปั้องกันไม่ให้ข้อของท่านถูกทำลาย...

เมื่อใดก็ตาม  ท่านรู้สึกปวดข้อ  เหมือนกับคนส่วนใหญ่เขาเป็นกัน 
หรืออย่างน้อยก็นาน ๆ ครั้ง   ท่านเกิดมีอาการปวดข้อ  และเกิดมีข้อสงสัยว่า
ท่านอาจเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA)  ถ้าท่านมีอาการต่อไปนี้:

o ทุกเช้าท่านรู้สึกว่า ขยับข้อด้วยความลำบาก  หรือข้อฝืด (joint stiffness)
o รู้สีกปวดข้ออย่างต่อเนื่อง  (persitent pain)
o มีอาการปวดข้อ   อาการจะเลวลงตามเวลาผ่านไป
o มีอาการข้อบวม, แดง, ร้อน, เจ็บเวลาสัมผัส
o มีอาการไข้  ร่วมกับอาการปวดข้อ
o มีอาการปวดหลายข้อ
o มีปัญหาข้ออักเสบหลายอย่าง  ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการ
แคลื่อนไหว และการทำงาน

ภายหลังท่านได้รับการวินิจฉัยว่า   ท่านเป็นโรคข้ออักเสบ (arthritis)...
สิ่งสำคัญที่ท่านจะละเลยไม่ได้  นั่นคือ  ท่านต้องไปพบแพทย์ตามกำหนดนัด
เพื่อตรวจสอบการเปล่ยนแปลงในโรคของท่าน  และผลการตอบสนองต่อการรักษา 
ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดเองว่า  เธอต้องการพบท่านบ่อยแค่ใด
แต่หากท่านพบความผิดปกติ   หรืออาการเลวลง  หรือมีผลอันไม่พึงประสงค์
จากการใช้ยาเกิดขึ้น   ท่านต้องไปพบแพทย์ทันที่...

เมื่อถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรครูมตอยด์
ท่านควรพบแพทย์สาขาใดดี ?

ถ้าแพทย์คนแรกที่ท่านพบ...
เป็นผู้ชำนาญด้านโรคข้อักเสบ (Rheumatologist) ถือได้ว่า
โชคเป็นของท่าน  เพราะเขาเป็นแพทย์ที่มีความชำนาญให้การรักษาโรคดังกล่าว
นอกจากนั้น  เขายังผ่านการฝึกอบรมการรักษาโรคข้ออักเสบ  รวมถึงโรคที่มีส่วน
กระทบกับข้อ,  กล้ามเนื้อ,  กระดูก,  ผิวหนัง  และเนื้อเยื่ออื่น ๆ...
ซึ่งเชื่อแน่ว่า   ท่านจะได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางท่านนั้นได้

ในขณะที่ท่านได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านข้ออักเสบ
ท่านยังมีความจำเป็นต่องได้พบกับแพทย์ทั่วไป   เพื่อดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ
ทั้งนี้เป็นเพราะ   เมื่อท่านเป็นโรคข้ออักเสบ  ไม่ได้หมายความว่า   ท่านจะไม่เป็น
โรคอย่างอื่นเลย   ตามเป็นจริง  ท่านอาจมีเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างอื่นได้

ขอให้ทราบไว้ว่า...
เมื่อท่านเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
การรักษายิ่งกระทำได้เร็วเท่าใด...ยิ่งดีต่อท่านเท่านั้น

ตามความเห็นของผูเชี่ยวชาญด้านโรคข้ออักเสบ...
ประเด็นร้อน ๆ ที่พวกเขาพูดกัน คือ เราจะให้การรักษโรครูมาตอยด์เมื่อใด 
และควรรักษาอย่างไร จึงจะดีที่สุด ?
และนั้น คือผลประโยชน์ที่คนไข้พึงได้รับ

บางคนมีความเชื่อว่า  คนเป็นโรคอักเสบ (RA) ควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
ด้วยการให้ยารักษาโรครูมาตอยด์   ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาเพื่อการรักษาโรคดังกล่าว
เป็นการเฉพาะ  ซึ่งหากเราสามารถทำเช่นนั้นได้  เราย่อมสามารถหยุดยั้งไม่ให้โรค
เปลี่ยนแปลงเลวลง   และเป็นช่วงเวลาสั้้น ๆ  ก่อนที่ข้อจะถูกทำลายไป 
เขาเรียกว่า  “ Window of Opportunity”

ตามความคิดเห็นของ  Salahuddin Lazi, MD, associate Professor
Of internal medicine & chief of rhuematology at the Dallas VA
Medical center  กล่าวว่า...

“ช่วงเวลาแห่งความเหมาะสม หรือ “window of opportunity”
คือช่วงเวลา 2 ปี หลังจากโรค RA เริ่มมีอาการ...

ถ้าคนเป็นโรค RA  ไม่ได้รับการรักษาในช่วงดังกล่าว   หมายถึง 2 ปี ผ่านไป
จะเกิดมีการทำลายข้อ (joint erosion)   ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า 
ข้อมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง”

การรักษาโรครูมาตอยด์  ได้เร็วที่สุดนับแต่เกิดมีอาการ  ไม่ใช้เรื่องใหม่  
แต่เป็นแนวทางในำการปฏิบัติมานานนับตั้งแต่ปี 1989 
ซึ่งมีการตีพิมพ์ในวารสาร  ชื่อ  The Lancet โดยการเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญ
ในการเริ่มให้รักษาด้วยการให้ยา “ลดการอักเสบ” แต่เนิ่น ๆ

ต่อจากนั้น  จึงตามด้วยการให้ยา hydroxychoroquine ( Plaquenil) และ sulfasalazine 
ส่วนยา methotrexate ยังไม่ใช่ยาที่ถูกเลือกใช้เพื่อการรักษา 
ส่วนยา biologics ยังไม่ถูกผลิตขึ้นมา

แต่ในปัจจุบัน  จะเห็นว่า  การรักษาโรครูมาตอยด์จะแตกต่างจาก 15 - 20 ปีที่แล้ว
โดยผู้เชี่ยวชาญจะรีบใช้ยาที่ผลิตขึ้นเพื่อรักษาโรคอย่างรวดเร็ว
เป็นการรักษาโรคในเชิงรุก (aggressive treatment) มากกว่าสมัยก่อน
ซึ่งหมายความว่า  เขาจะเริ่มให้ยากลุ่ม DMARDs และยาที่ผลิตขึ้นใหม่ทันที

การรักษาโรครูมาตอยด์แต่เนิ่น ๆ  มีความสำคัญสำหรับคนไข้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิด
ความรุนแรง   หากเราสามารถทราบได้ว่า  คนไข้รายใดจะแปรสภาพ
สู้ความรุนแรง   จัดเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง

Stephen Paget, MD, rheumatologist & physcian-in-chief of
The Hosopital for Special Surgery inNewYork City ได้ให้ข้อคิดเห็น
ว่า:

“ถ้าคนไข้รายใด มีภูมิต้านทาน rhuematoid factor หรือ anti- CCP
(cyclic citrullinated Protein) ในช่วงใดช่วงหนึ่งของการเป็นโรค RA
นับจากวันแรกที่ตรงพบ  ถึง 12 อาทิตย์   หรือ 12 ปี   คนไข้รายนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิด
เป็นโรคเรื้อรัง  และข้อมีแนวโน้มถูกทำลายลงอย่างรุนแรง
และคนไข้พวกนี้  ควรได้รับยารักษาเชิงรุก  (aggressive treatment 
พร้อมๆ กับติดตามดูอย่างใกล้ชิดด้วย  ...”

ผลจากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ โดยการใช้ยา adalimumab (Humira)
ร่วมกับการใช้ methotrexate พบว่า หนึ่งในสองรายที่เป็นโรค RA อาการ
จะดีขึ้นภายใน 2 ปี

ในจำนวนคนไข้  60 % คนที่เป็นโรครูมาตอยด์ 
หากได้รับการรักษาด้วยยาสองขนาดรวมกัน ( methotrexate + adalimumab)
พบว่า 50 %  อกาการจะดีขึ้นภายใน 2 อาทิตย์  และจะคงเป็นเช่นนั้ืนนานถึงสองปี

โดยสรุป ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค รูมาตอยด์ ที่ดี
คือเริ่มให้การรักษาแต่เนิ่น ๆ  ด้วยการให้ยาที่ถูกพัฒนามาเพื่อโรคดังกล่าว
เป็นการเฉพาะ (DMARDs) ...นั่นคือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโรคข้ออักเสบทั้งหลาย


http://www.arthritistoday.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น