วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

What is Fibromyalgia (FMS)?

Aug. 7,2013

มีผู้คนจำนวนหนึ่ง มีอาการเจ็บปวดทั่วร่างกาย...
ทำให้ผู้เป็นโรคดังกล่าว  มีชีวิตอยู่ร่วมกับโรคดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โรคที่ำว่านั้น คือ ไฟโปรมัยแอลเกีย (Fibromyalgia) นั้นเอง

ไฟโบรมัยแอลเกีย (Fibromyalgia) เป็นโรคอย่างหนึ่ง 
ซึ่งมีอาการปวดเรื้อรังกระจายทั่วไป,  เหนื่อยเพลีย,  มีปัญหาด้านความจำ,  
และมีอารมณ์แปรปรวน  โดยเราจะพบได้ในประชาชนชาวอะเมริกันถึง 4 % 
และเกิดกับสตรีเป็นส่วนใหญ่  อายุเฉลี่ยระหว่าง 30 -50

มีการกล่าวว่า "ไฟโบมัยแอลเกีย"  ไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการ
ซึ่งสามารถรักษาได้

โรคไฟโบรมัยแอลเกีย  ไม่ทำลายกล้ามเนือ  หรือข้อ และไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต
มันเกิดขึ้นได้เอง  แต่สามารถเกิดร่วมกับคนที่เป็นโรคข้ออักเสบในรูปแบบอื่น 
เป็นต้นว่า โรคข้อเสื่อม (OA), โรค Lupus, หรือโรครูมาตอยด์
 (rhuematoid arthritis)

แม้ว่าอาการต่างๆ ของคนเป็นโรคไฟโบรมัยแอลเกีย   อาจมีความแตกต่างกันได้ 
และโดยรวมแล้ว  อาการจะไม่เลวลง 
มีความรุนแรงแค่ใด  ก็ยังคงมีความรุนแรงเช่นเดิม

What Causes Fibromyalgia?

ขณะนี้ยังไม่มีใครแน่ใจว่า  อะไรคือสาเหตุทำให้เกิดโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย"  
แต่นักวิจัยหลายนายส่งสัยว่า  มีปัจจัยหลายอย่าง  เป็นเหตุให้เกิดโรค 
ยกตัวอย่าง เช่น การอักเสบติดเชื้อ, บาดเจ็บทางร่างกาย, ถูกกระทบทางด้านจิตใจ 
และมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน  ซึ่งอาจมีปัจจัยอย่างเดียว หรือหลายอย่าง 
เป็นเหตุให้มีการกระตุ้นให้เกิดมีอาการปวดทั่วไป,  มีอาการเหนื่อยเลีย, 
มีผลกระทบการหลับพักผ่อน....

ผลจากการศึกษาหลายแห่ง...
ต่างชี้แนะว่า คนเป็นโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย"  จะมีระดับของสารเคมีชนิดหลายอย่าง
ในระดับสูง  ปรากฏในกระแสโลหิต และในน้ำไขสันหลัง  
โดยสารเคมีเหล่านี้มีหน้าที่ในการส่งคลื่นของความเจ็บปวด เข้า -ออกภายในสมอง

นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า
ความสามารถของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งความเจ็บปวด
ของคนที่เป็นโรค" ไฟโบรมัยแอลเกีย"  เกิดความบกพร่อง และผล
จากการตรวจด้วยภาพ Brain imaging ภายในสมอง  พบว่า  คนไข้ดังกล่าว
มีความดัน และความร้อน (pressure & heat) เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย

การที่คนเป็นโรค "ไฟโบมัยแอลเกีย"   มีอาการเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น
เป็นผลมาจาก การเซท volume control สำหรับควบคุมความเจ็บปวดไว้สูง
เกินไปนั่นเอง  ซึ่งทำให้เราไม่สามารถทราบได้ว่า 
อะไรคือสาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว 

Who Gets Fibromyalgia?

ไฟโบรมัยแอลเกีย  จะเกิดขึ้นกับคนอะเมริกันมากกว่า  3.7 ล้านคน
ส่วนใหญ่จะเป็นหญิงที่มีอายุระหว่าง 40 – 75 นอกจากนั้นมันยังเกิดขึ้นกับหญิง
ที่มีอายุน้อย  และเด็กอีกด้วย

คนไข้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ หรือลูปัส จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว  
โดยมีการรายงานว่า  คนที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเกิดโรค ไฟโบรมัยแอลเกีย 
ได้ประมาณ   20 – 30 %  ซึงเราไม่ทราบว่า  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

บางครั้ง โรคไฟโบรมัยแอลเกีย  จะเกิดขึ้นในสมาชิคของครอบครัวได้มากกว่าหนึ่ง
แต่เรายังไม่สามารถพบความผิดปกติทางพันธุกรรม
อย่างไรก็ตาม  มีผลการศึกษาจำนวนไม่น้อย  พบว่า มีความสัมพันธ์
ระหว่าง  leukocyte antigen (HLAs) กับโรคไฟโบมัยแอลเกีย 

Difficult to Diagnose

การวินิจฉัยโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย "  ไม่ง่ายเหมือนกับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
ซึ่งกระทำได้โดยการตรวจเลือดดูระดับของน้ำตาล
แต่โรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย"  ไม่สามารถตรวจพบทางห้องปฏิบัติการได้
และความเจ็บปวดที่เกิด  ก็ไม่เหมือนโรครูมาตอยด์  ซึ่งทำให้เกิดการอ้กเสบ, 
ข้อบวม, และทำให้เกิดข้อผิดรูปสามารถมองเห็นได้

ส่วนโรค "ไฟโบมัยแอลเกีย"  จะเกิดขึ้นกับร่างกายของคนเรา
โดยเราไม่สามารถมองเห็นความผิดปกติเหมือนโรคชนิดอื่น ๆ


คนที่โรค "ไฟโบมัยแอลเกีย"   ส่วนใหญ่...จะไม่เหมือนคนป่วยทั่วไป
ส่วนใหญ่แล้ว  มีข้อมูลเพียงอย่างเดียว ที่บ่งบอกให้ทราบว่า  เขามีปัญหา
นั้นคือ เขาจะบอกว่า มีความเจ็บปวดทั่วร่างกาย และรู้สึกเหนือยเพลียตลอดเวลา....

และจากข้อมูลที่กล่าวมา  คนส่วนใหญ่ รวมทั้งแพทย์ จะเข้าใจผิดว่า
คนที่มีอาการดังกล่าว เป็นโรคทางจิต ..คิดเอาเองทั้งนั้น 
ไม่มีอะไรเป็นของจริงเลย

แต่ทัศนคติดังกล่าวได้เปลี่ยนไป เมื่อมีผลของการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า  ไฟโบรมัยแอลเกีย"   มันเป็นของจริง...
แม้ว่า เราไม่สามารถทราบว่า  สาเหตุ คืออะไร ?
แต่เรามีความเชื่อว่า  มันมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในประสาทส่วนกลาง
ซึ่งทำให้คลื่นของความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น

หากจะเปรียบเทียบ...เราคงเปรียบส่วนของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมคลื่น
ความเจ็บปวด ตั้งไว้สูง และในคนปกติจะไม่รู้สึกเจ็บปวด
มีแต่คนที่เป็นโรค FMS เท่านั้น  จึงจะเกิดมีความเจ็บปวด

อย่างที่กล่าว เราไม่สามารถวินิจฉัยโรค FMS ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 
และการตรวจทางเอกซเรย์  และตรวจเลือดจะได้ผลเป็นปกติ
ดังนั้น การวินิจฉัยจึงต้องพึ่งข้อมูลที่ได้จาก ประวัติ และการตรวจร่างกายเท่านั้น

แม้ว่าโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย" พบได้ในผู้ใหญ่...
แต่เราสามารถในเด็กวัยรุ่นได้เช่นกัน  ซึ่งอาการของเด็ก อาจหายไปได้เมื่อมีการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น  ทำให้การนอนหลับดีขึ้น

See also:



http://www.arthritistoday.org/about-arthritis/types-of-arthritis
/fibromyalgia/what-you-need-to-know/what-is-fibromyalgia.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น