โรค ”พาร์กินสัน” เป็นความผิดปกติของระบบสมองชนิดหนึ่ง...
ซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาท dopamine
มีรายงานว่า มีคนชาวอมริกันประมาณ 1.5 ล้านคนเป็นโรคดังกล่าว
ทุก ๆ ปี จะมีคนเป็นโรค “พาร์กินสัน” ประมาณ 50,000-100,000 ราย
อาการสำคัญคือมีอาการสั่นเทา (trembling) ของมือ, และแขน, ขา, กราม,
และใบหน้า; มีแขน-ขา และลำตัวแข็งเกร็ง; มีการเคลื่อนไหวช้า;
และมีความผิดปกติในความสมดุล และสูยเสียการประสานการเคลื่อนไหวร่างกาย
อาการต่างๆ ของคนไข้ที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” มักจะปรากฏอย่างช้า ๆ
และจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากกว่า 50 แต่มีอีกรูปแบบที่พบได้น้อยมาก
โดยเกิดในคนอายุน้อย ซึ่งอาการจะเลวลงอย่างรวดเร็ว
โดยเกิดในคนอายุน้อย ซึ่งอาการจะเลวลงอย่างรวดเร็ว
เรามีความเชื่อว่า...
พันธุกรรม (genetics) อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค “พาร์กินสัน”
มีความเปลี่ยนแปลง (mutations) ใน “ยีน” LRRK2
ซึ่งพบเห็นในคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว
Background
สารสื่อประสาท ชื่อ dopamine จะทำหน้าที่ช่วยนำคลื่นประสาทต่างๆ
ระหว่างส่วนต่างๆ ของสมอง...
ระหว่างส่วนต่างๆ ของสมอง...
ในคนที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” จะพบว่าเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ผลิต
dopamine มีจำนวนน้อยลง ซึ่งไม่ทราบว่า อะไรทำให้เกิดเช่นนั้น
เมื่อระดับของ dopamine ในสมองลดลง...
มันจะทำให้สมองส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่สำคัญต่อการบริหารจัดการ
ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สมองส่วนนี้เรียก basal ganglia
ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ “ควบคุม” และ “ประสานการทำงาน” การเคลื่อนไหว
ของร่างกายทั้งหลาย
ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สมองส่วนนี้เรียก basal ganglia
ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ “ควบคุม” และ “ประสานการทำงาน” การเคลื่อนไหว
ของร่างกายทั้งหลาย
อาการสำคัญของคนเป็นโรค “พาร์กินสัน” ได้แก่: อาการสั่น (temors),
การเคลื่อนไหวช้าลง (slowed movement), สูญเสียความสมดุล (balance),
และข้อแข็งเกร็ง (stiffness)
คนไข้ที่เป็นโรคนี้อาจมีปัญหาด้านภาษา (speech) และด้านการเขียนหนังสือ
(handwriting changes), มีปัญหาในการเคี้ยว และกลืนอาหาร
(handwriting changes), มีปัญหาในการเคี้ยว และกลืนอาหาร
(chewing and swallowing), มีปัญหาด้านการขับถ่าย, ท้องผูก,
โรคผิวหนัง, นอนไม่หลับ, และมีปัญหาด้านจิตใจ
เช่น อาการซึมเศร้า และมีปัญหาด้านความคิดความอ่าน
เนื่องจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาไม่สามารถบอกให้เราได้ทราบว่า
อะไรทำให้ปริมาณของ dopamine ลดน้อยลง
ซึ่งอาจเป็นกลไกต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรค “พาร์กินสัน”
และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบว่า...
ทำไมเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิต dopamine จึงถูกทำลายในตอนแรก
ซึ่งอาจมีความผิดปกติทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
Diagnosis and Treatment
ในการวินิจฉัยโรค “พาร์กินสัน” ...
บางครั้งก็กระทำได้ยาก เพราะอาการที่เกิดอาจมีลักษณะเหมือนกับโรคอื่นๆ
โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ของการเกิดโรค และเราไม่มีการตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการณ์ ( เลือด) เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค “พาร์กินสัน” ได้
บางครั้งก็กระทำได้ยาก เพราะอาการที่เกิดอาจมีลักษณะเหมือนกับโรคอื่นๆ
โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ของการเกิดโรค และเราไม่มีการตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการณ์ ( เลือด) เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค “พาร์กินสัน” ได้
ถึงแม้ว่าเราไม่สามารถรักษาโรค “พาร์กินสัน” ได้
แต่เรามียาหลายตัว ถูกนำมาใช้รักษา ซึ่งสามารถลดอาการของโรคได้
และยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้ คือ levodopa (L-dopa)
ซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นสาร dopamine ในสมองต่อไป
ถึงแม้ว่าสาร Levodopa จะช่วยลดปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย
แต่มันไม่สามารถแก้ปัญหา (อาการ)ได้ทุกๆอย่าง
และตัวยาที่ใช้รักษาสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
แต่มันไม่สามารถแก้ปัญหา (อาการ)ได้ทุกๆอย่าง
และตัวยาที่ใช้รักษาสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
อาจมียาตัวอื่นๆ อาจทำงานได้ดีกว่า levodopa
นอกจากยา Levodopa ที่ใช้รักษาอาการทางการเคลื่อนไหวแล้ว
เรายังไม่มียามากพอที่จะนำมาใช้รักษาอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
(non-motor symptoms) หรืออาการที่ไม่สัมพันธ์กับ
การขาดสาร dopamine ภายในสมอง
ในคนไข้โรค “พาร์กินสัน” บางรายไม่ตอบสนองต่อยารักษา
ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างอื่น เช่นการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วคลื่นไฟฟ้า
ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างอื่น เช่นการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วคลื่นไฟฟ้า
ในกรณีดังกล่าว การรักษาทางด้านศัลยกรรมอาจมีประโยชน์ก็ได้
เรียก deep brain stimulation ซึ่งกระทำได้โดยการวาง electrodes ในสมองของคนไข้
(ได้รับการยอมรับจาก FDA ให้ใช้รักษาคนไข้โรค AD ได้)
(ได้รับการยอมรับจาก FDA ให้ใช้รักษาคนไข้โรค AD ได้)
https://www.23andme.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น